The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สื่อการสอนวิชาศิลปะ เรื่องประวัติศาสต์ศิลป์ ยุคกลาง โดย ปฐมพร นระแสน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by getsurvey440, 2021-12-31 03:27:07

ยุคของประวัติศาตร์ศิลป์

สื่อการสอนวิชาศิลปะ เรื่องประวัติศาสต์ศิลป์ ยุคกลาง โดย ปฐมพร นระแสน

ERA OF ART HISTORY

Valuable Artist Leading the arts to the next generation

Pathomporn Narasaen

ART ED BSRU

"สื่อการสอนวิชาศิลปะ เรื่อง ยุคของประวัติศาสตร์ศิลป์ สื่อการสอนชุดนี้จะนำไปพบ
กับเรื่องราวของศิลปะในแต่ละยุค ประวัติความเป็นมา ลักษะเด่นของศิลปะแต่ละยุค
รวมไปถึงศิลปินที่เป็นแรงบรรดาลใจให้แก่คนรุ่นหลัง

คำนำ

ประวัติศาสตร์ศิลป์บอกให้เราทราบถึงการสร้างสรรค์ และ
วิวัฒนาการศิลปะของมนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึง
ยุคปัจจุบัน เราได้ศึกษาแบบอย่างงานศิลปะ ความเคลื่อนไหว
ความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ ความเปลี่ยนแปลงของ
ศิลปกรรมของแต่ละยุค เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา นำไปสู่การ
ยกระดับคุณภาพของงานศิลปะในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น การ
ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของ
งานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวล
มนุษย์ทั้งโลก ในยุคปัจจุบันได้มีการคิดค้นเทคนิควิธีการในการ
สร้างผลงานศิลปะอย่างแพร่หลาย ซึ่งเทคนิคเหล่านั้นได้ถูกพัฒนา
ต่อยอดมาจากยุคประวัติศาสตร์ศิลป์ ซึ่งศิลปินในยุคนั้นเป็นผู้
คิดค้นเทคนิคเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการของสร้างผลงานของ
ตนเอง ซึ่งศิลปินแต่ละท่านมีเทคนิควิธีการ และความเชื่อที่ต่างกัน
จึงได้เกิดเป็นเทคทางจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม
ภาพพิมพ์มีรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก และยัง
เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ทางด้านงานทัศนศลป์ให้กับ
ศิลปินในยุคปัจจุบันหลายๆท่าน ก็ได้นำกระบวนการต่างๆในยุค
ประวัติศาสตร์ศิลป์มาใช้ในการสร้างผลงานเช่นกัน การศึกษา
เรียนรู้เทคนิคต่างๆในยุคประวัติศาสตร์ศิลป์ จะเป็นส่วนสำคัญที่
จะช่วยในการพัฒนาด้านทักษะทางศิลปะ และจะช่วยสร้างเสริม
องค์ความรู้ และสารมารถพัฒนาทักษะทางด้านงานศิลปะได้

Pathomporn Narasaen

TIME LINE

renaissance Post-
Impressionism
ค.ศ. 1250 หรือ ค.ศ. 1300
ค.ศ. 1910

Baroque Expressionist
Rococo
ค.ศ. 1940.
ค.ศ. 1730
cubism
Neo classic
ค.ศ. 1908-1918.
ค.ศ. 1760

Romanticism Abstract Art

ค.ศ. 1818 ค.ศ. 1940

Realism Surrealism

ค.ศ. 1850-1880 ค.ศ.1917

Impressionism Postmodern Art

เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ค.ศ. 1949

renaissance

renaissance หรือ ยุคฟื้ นฟูศิลปะวิทยา เป็นการรื้อฟื้ นคุณค่าทางสุนทรีย
กรีกและโรมัน ในด้านทัศนศิลป์ศิลปินเริ่มตระหนักว่าศิลปะไม่จำเป็นต้องตอบ
สนองความศรัทธาทางคริสต์ศาสนาเสมอไป จึงหันไปหยิบเอาเรื่องราวที่หลาก
หลายมาเป็นสาระการทำงาน เช่น เทพเจ้า ปัจเจกชน และธรรมชาติ แต่
สำหรับรูปแบบ ศิลปินได้หันมาสู่แนวคิดศิลปะ คือ ความเหมือนจริงใน
สัดส่วน รูปทรงและสีสันเช่นงานของกรีกและโรมัน

Artist

สำหรับศิลปินที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานเป็นที่ยอมรับและส่งอิทธิพล ต่อวงการทัศนศิลป์
อย่างกว้างขวางมี 3 คน คือ ไมเคิล แองเจลโล เลโอนาร์โด ดา วินซี และราฟาเอล

Leonardo da Vinci Michelangelo di Lodovico Raffaello Sanzio da Urbino
Buonarroti Simoni รัฟฟาเอลโล ซาน
ซีโอ ดา อูร์บีโน
เลโอนาร์โด ดา วินชี
มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์
โรตี ซีโมนี

รูปแบบ (type)

จิตรกรรมและประติมากรรม – ศิลปินในสมัยนั้นสร้างสรรค์ผลงานออกมาในรูปแบบของความงามตามธรรมชาติ ได้รับอิทธิพลอีกส่วน
หนึ่งมากจากแนวคิดมนุษยนิยม มีเทคนิคการวาดภาพหรือสร้างสรรค์ผลงานออกมาใช้องค์ประกอบทางศิลปะ หลักกายวิภาค หลัก
การเขียนภาพทัศนีย์วิทยา สะท้อนภาพชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม หากเป็นงานประติมากรรมจะมีมิติที่ดูโดดเด่น เน้นการเล่น
แสงเงาทำให้เกิดความสมจริง สร้างระยะลึกตื้น งานศิลปะส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่รูปแบบลักษณะของมนุษย์และสัตว์

The school of athens ค.ศ. 1509 - ค.ศ. 1510
Raffaello

Mona Lisa ค.ศ. 1503–1507 David ค.ศ. 1501 - 1504
Leonardo da Vinci
Michelangelo

Baroque and Rococo Art

ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque & Rococo Art) – ศิลปะที่เกิดขึ้น
ในช่วงท้ายของศิลปะเรอนาซอง ทั้งสองคำมีความหมายว่า เป็นสิ่งที่มีการ
ตกแต่งที่ประดับประดาด้วยเครื่องตกแต่งอลังการ เป็นศิลปะยุคที่เชื่อมต่อ
ระยะยุคศิลปวิทยากับศิลปะยุคใหม่ มีลักษณะการจัดองค์ประกอบและแสดง
รายละเอียดย่อยอย่างฟุ่มเฟือย มีการแสดงส่วนโค้งเว้า ในงานประเภท
จิตรกรรมและประติมากรรม เน้นไปที่รูปร่าง แสดงความอ่อนไหวความเป็น
ธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ มีการใช้สีที่รุนแรง

Artist

สำหรับศิลปินที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานเป็นที่ยอมรับและส่งอิทธิพล ต่อวงการทัศนศิลป์อย่างกว้าง
ขวางมี การาวัจโจ ฟรันซิสโก โกยา ฌ็อง-ออนอเร ฟรากอนาร์ โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ และ แร็มบรันต์

Michelangelo Merisi Francisco Goya Jean-Honoré Fragonard Rembrandt
da Caravaggio ฟรันซิสโก โกยา ฌ็อง-ออนอเร ฟรากอนาร์ Harmenszoon van Rijn
การาวัจโจ
แร็มบรันต์

รูปแบบ (type)

งานจิตรกรรม – ส่วนใหญ่จะเหมือนกับยุคเรเนสซองส์ เพิ่มฝีมือและพัฒนาเทคนิคมากยิ่งขึ้น ใช้สีสดดูฉูดฉาด มักจะ
เป็นภาพวาดที่ติดตามผนังวัดหรือวังต่างๆ หรืออาจจะเป็นคฤหาสน์ของชนชั้นกลาง แสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดูหรูหรา
สุขสบาย และเป็นภาพที่แสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา
ประติมากรรม – เน้นไปที่การจัดลีลาท่าทางของคน เป็นรูปสลักที่กำลังแสดงอาการหรือกิริยาต่างๆ

DAVID WITHHEAD of GOLIATH The Anatomy Lesson of Dr. The Third of May 1808 The Swing
ค.ศ. 1609 -ค.ศ. 1610 Nicolaes Tulp ค.ศ. 1814 ค.ศ.  1767
ค.ศ. ค.ศ. 1632
Caravaggio Francisco Goya Jean-Honoré Fragonard
Rembrandt

Neo-Classic

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) เป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากการที่ชาว
ฝรั่งเศสเกิดการต่อต้านระบบฟิวดัล หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ที่แบ่งชนชั้น
จากปัญหาทางการเมืองดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยุโรปกลับมาสนใจใน
ศิลปะแบบคลาสสิกอีกครั้งหนึ่ง ภาพเขียนในยุคนี้จะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นที่ รูป
ร่างทรวดทรงและองค์ประกอบของภาพที่มีขนาดใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง มีความกลมกลืนใน
ด้านแสงและเงา

Artist

ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการ
ยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก อันโตนิโอ คาโนวา ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก
แอ็งกร์ วิลเลี่ยม-อดอล์ฟ บูเกอโร

Jacques-Louis David Antonio Canova Jean-Auguste- William-Adolphe
ฌัก-หลุยส์ ดาวีด Dominique Ingres Bouguereau
อันโตนิโอ คาโนวา

ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ วิลเลี่ยม-อดอล์ฟ บูเกอโร

รูปแบบ (type)

ด้านจิตรกรรมนั้น มีความเจริญอย่างมาก จิตรกรรมยุคนีโอคลาสสิกต่างๆ มักเป็นเนื้อหาที่ถ่ายทอดเป็นเรื่องราวตาม
เทพนิยายกรีก และมีเรื่องราวส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับสภาพสังคมและการปกครอง ภาพเขียนในยุคนี้จะสะท้อนเรื่องราว
ทางอารยธรรม เน้นที่ รูปร่างทรวดทรงและองค์ประกอบของภาพที่มีขนาดใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง มีความกลมกลืน
ในด้านแสงและเงา
ประติมากรรม – เน้นไปที่การจัดลีลาท่าทางของคน เป็นรูปสลักที่กำลังแสดงอาการหรือกิริยาต่างๆ

Napoleon Crossing the Psyche Revived by Psyche Revived by Cupid’s The Madonna of the Lilies
Cupid’s Kiss Kiss ค.ศ. 1814 ค.ศ. 1899
Alps ค.ศ. 1801 1805 ค.ศ. 1793
Jean-Auguste- Jean-Honoré Fragonard
Jacques-Louis David Antonio Canova Dominique Ingres

Romanticism

ศิลปะแบบโรแมนติกหรือจินตนิยม (Romanticism) – เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารณ์
และความรู้สึก ลดความเชื่อในเรื่องเหตและระเบียบแบบแผนเช่นเดียวกัน ให้ความสำคัญแก่
มนุษย์ในมุมมองของปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มากจากการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมือง ปฏิวัติในฝรั่งเศสปี ค.ศ.1789 อย่างไรก็ตามลัทธิโรแมนติกมีความ
แตกต่างหลากหลายในแต่ละพื้นที่ แต่ก็นับได้ว่าเป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออก
อย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของศิลปินอย่างแท้จริง โดยไม่สนใจ
ระเบียบแบบแผนและเหตุผลรองรับ จึงถือเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าของศิลปะในปลาย
ศตวรรษที่ 18 ที่เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการเมืองของตะวันตก

Artist

ศิลปินคนสำคัญในศิลปะลัทธินี้ ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) เดอลาครัว (Delacroix) วิลเลียม เทอเนอร์
(William Turner)

Eugène Delacroix Théodore Géricault Turner, Joseph
เออแฌน เดอลาครัว ธีโอดอร์ เจริโคลต์ Mallord William
วิลเลียม เทอร์เนอร์
รูปแบบ (type)

ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้
พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้
สร้างสรรค์

Liberty Guidig People The Raft of the Medusa Rain, Steam and Speed –
ค.ศ.1830 ค.ศ.1819 The Great Western
Eugène Delacroix Théodore Géricault Railway Alps ค.ศ. 1844
Turner, Joseph Mallord
William

Realism

ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism) หรือ ศิลปะสัจนิยม โดยทั่วไปหมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริง
ดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ รวมถึง การสร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม
(socially critical images) ภาพเกี่ยวกับชีวิตของคนเมืองและชนบท พวกชาวไร่ชาวนาใน
ช่วงยุคสมัย จากประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำใน
สังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด
โดยลักษณะผลงานการแสดงออกที่สำคัญของแบบอย่างศิลปะเรียลลิสต์ คือ เน้นความเหมือน
จริง นำเสนอความจริงในทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากกว่า เน้นการแสดง เรื่องราว
เนื้อหา ความงามในธรรมชาติหรือความงามที่เกินจริงแบบอุดมคติ

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ออนอเร ดูมิเยร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน กุสตาฟว์
กูร์แบ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม มาเนต์ (Manet ชอบวาดรูปชีวิตในสังคม
เช่นการประกอบอาชีพ

มาเนต์ (Manet) Jean Désiré Gustave Honoré-Victorin
Courbet Daumier
รูปแบบ (type)
ฌ็อง เดซีเร กุสตาฟว์ กูร์แบ ออนอเร ดูมิเยร์

มีรูปแบบและการแสดงออกอย่างเหมือนจริง เน้น ความจริงที่ศิลปิน ในอดีตเคยรังเกียจ โดยกล่าวหาว่าเป็นสิ่งสามัญ
และเป็นของพื้น ๆ ปราศจากคุณค่า ทางความงาม เช่น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นต่ำ ผู้ยากไร้ หรือสภาพ
อาคาร ที่อยู่อาศัยอันซอมซ่อ

A Bar at the Folies- The Third-Class Carriage The Stone Breakers
Bergère คศ.1862-1864 ค.ศ. 1849
ค.ศ. 1882. Honoré-Victorin Daumier Jean Désiré Gustave
Édouard Manet Courbet

Impressionism

Impressionism ลัทธิประทับใจ หรือกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นขบวนการที่เกิดขึ้นในช่วง
ศตวรรษที่ 19 ที่เริ่มจากการรวมตัวกันจากกลุ่มจิตรกรเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส และพวกเขา
ได้เริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 จิตกรกรกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์มักจะมีรูปแบบที่
แตกต่างจากการวาดในยุคนั้นที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต พวกเขาได้ถือว่าเป็นขบถเพราะว่า
พวกเขาวาดภาพสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบัน ให้ออกมาได้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับคนที่ได้
มาดูภาพวาดของพวกเขา จิตรกรในกลุ่มนี้มักจะปฎิเสธการนำเสนอความงามในอุดมคติ และ
มองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งที่เราได้ธรรมดาทั่วไปแทน พวกเขานิยมวาดภาพกลางแจ้ง
มากกว่าอุดอู้แต่ในห้องสตูดิโอ แบบที่ศิลปินทั่วไปในยุคนั้นนิยมทำกัน เพราะพวกเขาต้องการที่
จะดูการเปลี่ยนแปลงของที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอในมุมมองต่างๆ

Artist

ศิลปินที่สำคัญสำหรับการขับเคลื่อนคนแรกๆ ในครั้งนี้คือ โคลด มอแน แอดการ์ เดอกา อ็องรี มาติสปี
แยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์

Claude Monet Pierre-Auguste Renoir Henri-Émile-Benoît Edgar Degas
โคลด มอแน ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ Matisse แอดการ์ เดอกา

อ็องรี มาติส

รูปแบบ (type)

ลักษณะเด่นของศิลปินกลุ่มนี้ คือ ศิลปินกลุ่มนี้จะไม่สนใจรายละเอียดของผลลัพท์ที่จะออกมามากนัก มักจะเน้นการ
ใช้ฝีแปรงที่หยาบๆ เน้นการใช้สีที่มีความฉูดฉาด ส่วนมากจะวาดนอกสถานที่ เพื่อให้วาดสิ่งที่ศิลปินประทับใจเมื่อได้ไป
พบเห็น

Impression, Sunrise Le moulin de la Galette The Ballet Class Portrait of Madame
ค.ศ. 1872 ค.ศ.1876 ค.ศ. 1871 and 1874 Matisse. The Green Line
Claude Monet Pierre-Auguste Renoir Edgar Degas ค.ศ. 1905
Henri-Émile-Benoît
Matisse

Post-Impressionism

Post-impressionism หรือ ลัทธิประทับใจยุคหลัง เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดย โรเจอร์
ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและ นักวิจารณ์ศิลปะ ชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นใน
ฝรั่งเศสหลังสมัย เอดัวร์ มาแน "ลัทธิประทับใจยุคหลัง" กระตุ้นอารมณ์ผ่านความรู้สึกลึก ๆ ภายใน
มากกว่าต้องการแสดงศักยภาพหรือความสามารถ กระแสศิลปะนี้หันไปตอบสนองความต้องการตาม
ทัศนคติของตัวศิลปิน รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของการค้นหาหมายของชีวิต และอุทิศผลงานเพื่อ
ความผาสุกของเหล่ามวลมนุษย์ ศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังเชื่อว่า จิตวิญญาณกับธรรมชาติแยก
ออกจากกันแต่นำมาเชื่อมโยงกันผ่านการสังเคราะห์ด้วยการหลอมรวมจิตวิญญาณของศิลปินกับ
ธรรมชาติ ผ่านผลงานไปสู่ผู้ชม ศิลปินเสนอภาพจากภายในไม่ใช่เพียงการลอกเลียนแบบความงาม
ของธรรมชาติ แสดงเนื้อหาสำคัญอย่างนามธรรม ด้วยอารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบ รูป
ทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น

Artist

Post-Impressionism เป็นคำที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาในยุค 1880 ที่มีต่ออิมเพรสชั่นนิสม์ แต่มีรูปแบบที่
ต่างจากอิมเพรสชั่นนิสม์อยู่มากซึ่งเป็นลักษณะเด่นของศิลปินกลุ่มนี้ นำโดย Paul Cézanne, Paul
Gauguin, Vincent van Gogh Georges-Pierre Seurat

Vincent van Gogh Paul Cézanne Georges-Pierre Eugène Henri
วินเซนต์ แวนโก๊ะ ปอล เซซาน Seurat Paul Gauguin
เออแฌน อ็องรี
ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา
ปอล โกแก็ง

รูปแบบ (type)

รูปแบบของศิลปินกลุ่มนี้ มักจะใช้รูปทรงที่มีความอิสระ และมีจุดเด่นที่ลักษณะของฝีแปรง ศิลปินเสนอภาพจากภายใน
ไม่ใช่เพียงการลอกเลียนแบบความงามของธรรมชาติ แต่แสดงเนื้อหาสำคัญอย่างนามธรรม ด้วยอารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่
ยึดติดกับรูปแบบ รูปทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น

The Starry Night The Basket of Apples
ค.ศ. 1889 ค.ศ. 1872
Vincent van Gogh Paul Cézanne

Tahitian Women on The Art Institute
the Beach of Chicagoค.ศ.
ค.ศ. 1848-1903 1872
Georges-Pierre
Seurat

Expressionist

Expressionist ก่อกำเนิดและเคลื่อนไหวในเยอรมันประเทศที่เป็นแหล่งรวมศูนย์ความ
ก้าวหน้าด้านต่างๆของยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1905 ศิลปินเอกซ์เพรสชันนิสม์มีเจตนารมณ์ที่จะ
หลีกเลี่ยงความเป็นนักธรรมชาตินิยมซึ่งเคารพธรรมชาติพวกเขามีความนิยมชมชอบในรูป
ทรงง่ายๆ แต่สามารถสร้างอารมณ์ด้านใดด้านหนึ่งอย่างถึงที่สุด ศิลปินกลุ่มนี้มักจะใช้ศิลปะ
เผยความอัปลักษณ์ของสังคม ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เป็นศิลปะลัทธิที่แสดงพลัง
อารมณ์ ที่บิดเบือนอย่างรุนแรง แสดงผลทางอารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์หรือความคิด

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้และเป็นผู้นำของศิลปะกลุ่มนี้ ได้แก่ edvard munch เอ็ดวัด มุงก์ Gustav Klimt
กุสทัฟ คลิมท์ Egon Schieleเอก็อน ชีเลอ

edvard munch Gustav Klimt Egon Schiele
เอ็ดวัด มุงก์ กุสทัฟ คลิมท์ เอก็อน ชีเลอ


รูปแบบ (type)

รูปแบบของศิลปินกลุ่มนี้ มักจะใช้รูปทรง อารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบ รูปทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น เป็น
ศิลปะลัทธิที่แสดงพลังอารมณ์ ที่บิดเบือนอย่างรุนแรง แสดงผลทางอารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์หรือความคิด

The Scream Self-Portrait with Portrait of Adele
ค.ศ. 1893 Chinese Lantern Bloch-Bauer I
Edvard Munch Plant ค.ศ. 1903 -1907
ค.ศ. 1912 Gustav Klimt
Egon Schiele

cubism

เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์
และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่
รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับ
ซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูป
ทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็น ลูกบาศก์ เป็นทรง
เรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ
แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถ
แสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการ
ทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะ
ที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้และเป็นผู้นำของศิลปะกลุ่มนี้ ได้แก่ Pablo Ruiz Picasso ปาโบล ปิกาโซ
George Braque ฌอร์ฌ บรัก Paul Klee พอล คลี Juan Gris ฆวน กริส

Pablo Ruiz Picasso George Braque Paul Klee Juan Gris
ปาโบล ปิกาโซ ฌอร์ฌ บรัก พอล คลี ฆวน กริส

รูปแบบ (type)

ยุคคิวบิสม์วิเคราะห์ งานศิลปะจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์โครงสร้างและการแปรระนาบแล้วสร้างรูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็น
สันขึ้นมาโดยลดระยะในช่วงความลึกจากความเป็นอยู่ในธรรมชาติหรือทิวทัศน์จริงมาทำให้มวลสารทั้งหลายอัดรวมกัน
เหมือนภาพนูนโดยจะเน้นเรื่องน้ำหนัก ความแข็งแรงของวัตถุและปริมาตรและตัดรายละเอียดความซับซ้อนของวัตถุจริง
ออกไป

Nude, Green Leaves Violin and Candlestick Guitar and Pipe Fish Magic
and Bust ค.ศ. 1910 ค.ศ. 1913 ค.ศ. 1925
ค.ศ. 1932 George Braque Juan Gris Paul Klee
Pablo Ruiz Picasso

Abstract Art

ทัศนศิลป์ลัทธินามธรรม Abstract Art อยู่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20เป็นที่นิยมกันทั้ง
จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์แนวทางการสร้างสรรค์ตรงกับแนวคิดของนักสุนทรียศาสตร์กลุ่ม
นิยมรูปทรง ที่เชื่อว่าเป้าหมายในการสร้างสรรค์งานศิลปะก็คือเพื่อกระตุ้นอารมณ์สุนทรียะคือรูปทรง
เท่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ศิลปินแสดงออกโดยการสกัดรูปทรงจากธรรมชาติให้ง่ายปล่อยให้รูป
ทรงปรากฏขึ้นตามลีลาหรือกลวิธีในการแสดงออก บางครั้งก็สร้างรูปทรงให้ปรากฏขึ้นจากความคิด
อันเป็นนามธรรม
ศิลปินสร้างเส้น รูปทรง สี จากการใช้ญาณวินิจฉัย โดยไม่ต้องพึ่งเส้นรูปทรง สี จากธรรมชาติ การ
แสดงออกเป็นผลจากพลังจิตใต้สำนึก ตามเส้นทางของจิตวิทยา กลวิธีของการแสดงออก ได้แก่ การ
ใช้สีราด หยด หยอด ใช้แปรงละเลง ระบายอย่างหยาบกร้านการสาดสี

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้และเป็นผู้นำของศิลปะกลุ่มนี้ ได้แก่ แจคสัน พอลลอค,วาสสิลี แคนดินสกี,
พีท มองเดรียง

Paul Jackson Pollock Wassily Kandinsky Piet Mondrian
แจ็กสัน พอลล็อค วาซีลี คันดินสกี พีท โมนดรียาน

รูปแบบ (type)

รูปแบบของศิลปินกลุ่มนี้ มักจะใช้รูปทรง อารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบ รูปทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น เป็น
ศิลปะลัทธิที่แสดงพลังอารมณ์ ที่บิดเบือนอย่างรุนแรง แสดงผลทางอารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์หรือความคิด

Number 1 (Lavender Mist) Composition 8 Composition with
ค.ศ. 1950 ค.ศ. 1923 Large Red Plane,
Paul Jackson Pollock Wassily Kandinsky Yellow, Black, Gray,
and Blue
ค.ศ. 1921
Piet Mondrian

Surrealism

Surrealism หรือ ลัทธิศิลปะเหนือจริง เริ่มขึ้นตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ในประเทศฝรั่งเศส มีรูป
แบบรากฐานมาจากกลุ่มดาด้า (Dada) โดยนักทฤษฎีหลักประจำกลุ่มก็คือ อองเดร เบรตง มีจุด
หมายอยู่ ที่การคลี่คลายสภาพอันขัดแย้งระหว่างระยะห่างของความฝันและความเป็นจริง โดย
ถ่ายทอดออกมาในงานศิลปะด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น สร้างภาพซึ่งดูเหนือจริงหรือถึงขั้นหลอน หรือ
พัฒนาเทคนิคด้านภาพที่จะช่วยถ่ายทอดความฝันหรือจิตใต้สำนึกออกมา งานของกลุ่มนี้จึงมัก
เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของ
จิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจาก
มนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากซิกมันด์ ฟรอย การสร้างงานทัศนศิลป์ของพวกเขามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การ
แสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ ปราศจากการควบคุมอารมณ์ของเหตุผลเป็นการจัดการกับ
ความจริง กับสภาวะความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหลังกับสภาวะที่สัมผัสได้ในจิตใต้สำนึกที่อยู่เหนือ
การควบคุมของเหตุและผล

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้และเป็นผู้นำของศิลปะกลุ่มนี้ ได้แก่ ซัลบาดอร์ ดาลี ฟริดา คาร์โล อ็องรี รูโซ
เรอเน มากริต

Salvador Felip Frida Kahlo Henri Rousseau René Magritte
Jacint Dalí ฟริดา คาร์โล อ็องรี รูโซ เรอเน มากริต
ซัลบาดอร์ ดาลี

รูปแบบ (type)

ศิลปินกลุ่มนี้สนใจการสร้างงานโดยวิธี Automatism เป็นการระงับจิตสำนึก และปลดปล่อยจิตสำนึกในระดับต่างกัน
รูปแบบของงานที่ออกมามักมีลักษณะเป็นงานนามธรรม ซึ่งยังคงมีร่องรอยของที่มาต่างๆ และอีกแนวคิดหนึ่งคือ สร้าง
ขึ้นโดยอาศัยกรรมวิธีการวาดภาพแบบชัดเจนแน่นอนตามหลัก ออกมาเป็นจินตภาพแปลกประหลาดๆ ที่สามารถระบุ
ลักษณะกายภาพของรูปทรงได้ เป็นลักษณะที่มีความเหนือจริง เกินธรรมชาติ

Number 1 (Lavender Mist) Number 1 Number 1 (Lavender Mist) Number 1 (Lavender Mist)
ค.ศ. 1950 ค.ศ. 1950
Paul Jackson Pollock (Lavender Mist) ค.ศ. 1950 Paul Jackson Pollock

ค.ศ. 1950 Paul Jackson Pollock

Paul Jackson

Pollock

Postmodern Art

ศิลปะหลังสมัยใหม่เป็นขบวนการศิลปะที่พยายามขัดแย้งกับบางแง่มุมของลัทธิสมัยใหม่หรือบาง
แง่มุมที่เกิดขึ้นหรือพัฒนาขึ้นภายหลัง โดยทั่วไปแล้วการเคลื่อนไหวเช่นสื , ศิลปะการติดตั้ง ,
นามธรรมศิลปะและมัลติมีเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิดีโออธิบายว่าหลังสมัยใหม่
มีลักษณะหลายประการที่ทำให้ศิลปะเป็นแบบหลังสมัยใหม่
หลังจาก ศิลปินลัทธิดาดา และศิลปินป๊อปอาร์ตมีบทบาท ได้มีกระแสความคิดและการนำเสนอ
ศิลปะแนวทางใหม่เกิดขึ้นมากมาย เป็นการสร้างสันทางความคิดและการแสดงออกในยุคสมัยของ
ลัทธิหลังสมัยใหม่ ช่วงเวลาที่แสดงพหุความคิด พหุปัญญา การยอมรับความหลากหลาย ความหลาก
หลายที่ไม่ต้องการข้อสรุป ไม่ต้องการทฤษฎีหรือหลักคิดตายตัว เพราะความหลากหลายและการ
เปลี่ยนแปลงของโลกเป็นความจริง

Artist

ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้และเป็นผู้นำของศิลปะกลุ่มนี้ ได้แก่ Andy Warhol Keith Haring
Roy Fox Lichtenstein Yayoi Kusama

Andy Warhol Yayoi Kusama Keith Haring Roy Fox
แอนดี วอร์ฮอล ยาโยอิ คุซามะ คีธ แฮริ่ง Lichtenstein
รอย ลิกเทนสไตน์

รูปแบบ (type)

ศิลปะหลังสมัยใหม่ได้ดูดซับความคิด นำเสนอความคิด และการปฏิวัติทางศิลปะที่หลากหลาย แสดงบทบาทของศิลปะ
ร่วมสมัยที่มีฐานปัญญาและทฤษฎีหรือแนวคิดเป็นด้านหลัก โดยที่มิได้คำนึงถึงกระบวนแบบดังเช่นศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะ
มีความหลากหลายตั้งแต่การแสดงแนวคิดอย่างบริสุทธิ์ ไปจนถึงการแสดงภาพลักษณ์ของความคิด

Shot Marilyns Ignorance = Fear
ค.ศ. 1964 ค.ศ. 1958 -1990
Andy Warhol Keith Haring

Dots Obsession Shot Marilyns
ค.ศ. 2006 ค.ศ. 1961
Yayoi Kusama Roy Fox Lichtenstein


Click to View FlipBook Version