Tim Harford เขียน สฤณี อาชวานันทกุล แปล เลขเล่าโลก HOW TO MAKE THE WORLD ADD UP
เลขเล่าโลก สฤณี อาชวานันทกุล แปล HOW TO MAKE THE WORLD ADD UP TIM HARFORD พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ Salt, มีนาคม 2567 ราคา 400 บาท ISBN 978-616-8266-45-8 คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ โตมร ศุขปรีชา ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สฤณี อาชวานันทกุล สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ แอลสิทธิ์ เวอร์การา สุธรรม ธรรมรงค์วิทย์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ณภัทร ปัญกาญจน์ บรรณาธิการเล่ม ปัญญลักษณ์ มณีงาม ไพค์ ออกแบบปก น�้ำใส ศุภวงศ์ รูปเล่ม สุปราณี อภัยแสน พิสูจน์อักษร นินนารา จัดท�ำโดย บริษัท ซอลท์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด เลขที่ 63/168 ห้อง 534 ซอยวิภาวดี 16 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 E-mail: [email protected] Facebook: www.facebook.com/saltread Twitter: www.twitter.com/SaltRead Website: https://salt.co.th/ จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารอินเตอร์ลิงค์ ทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2826 8000 โทรสาร 0 2826 8999 Website: https://www.se-ed.com/
ส�ำหรับหน่วยงานรัฐ องค์กร สถาบันการศึกษา หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือเป็นจ�ำนวนมาก สามารถสั่งซื้อได้ในราคาลดพิเศษ ติดต่อสั่งซื้อได้ที่หมายเลข 099 342 0558 หรือ E-mail: [email protected] ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ฮาร์ฟอร์ด, ทิม. เลขเล่าโลก. -- กรุงเทพฯ : ซอลท์, 2567. 384 หน้า. 1. เศรษฐศาสตร์ -- แง่จิตวิทยา. I. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล. II. น�้ำใส ศุภวงศ์, ผู้วาดภาพประกอบ. III. ชื่อเรื่อง. 330.019 ISBN 978-616-8266-45-8 HOW TO MAKE THE WORLD ADD UP TIM HARFORD Copyright © Tim Harford, 2020 This edition arranged with Felicity Bryan Associates Ltd. through Andrew Nurnberg Associates International Limited ALL RIGHTS RESERVED. Thai language translation copyright © 2024 by Salt Publishing Co., Ltd. Illustrations © 2024 by Namsai Supavong
แด่ครูอาจารย์ทุกแห่งหน โดยเฉพาะครูอาจารย์ของผม ด้วยความทรงจำอันอบอุ่นแด่ปีเตอร์ ซินแคลร์
บทนำ� 11 กฎข้อแรก จงค้นหาความรู้สึกของตัวเอง 31 กฎข้อที่สอง นึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ 65 กฎข้อที่สาม หลีกเลี่ยงการแจงนับก่อนจำเป็น 85 กฎข้อที่สี่ ถอยออกมาชื่นชมทิวทัศน์ 109 กฎข้อที่ห้า หาเบื้องหลังให้เจอ 129 กฎข้อที่หก ถามว่าใครหายไป 165 กฎข้อที่เจ็ด เรียกร้องความโปร่งใสเมื่อคอมพิวเตอร์บอกว่า “ไม่” 187 กฎข้อที่แปด อย่าคิดว่าฐานรากสถิติคือของตาย 225 กฎข้อที่เก้า จำไว้ว่าข้อมูลที่ผิดก็สวยงามได้ 259 กฎข้อที่สิบ เปิดใจให้กว้าง 289 กฎทองคำ� จงอยากรู้อยากเห็น 319 หมายเหตุ 337 กิตติกรรมประกาศ 371 เครดิต 374 เกี่ยวกับผู้เขียน 376 เกี่ยวกับผู้แปล 378 รู้จักกับ SALT 380 สารบัญ
บทนำ วิธีโกหกด้วยสถิติ คุณรู้จักเรื่องเล่าเก่าแก่ที่ว่าเด็กทารกเกิดจากนกกระสาคาบมาส่งไหม ครับ มันเป็นเรื่องจริงนะ ผมพิสูจน์ได้ด้วยสถิติ ลองดูตัวเลขประเมินประชากรนกกระสาในแต่ละประเทศ จากนั้น ดูจำนวนทารกแรกเกิดในแต่ละปี2 สิ่งนี้มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นมาก ในยุโรป ยิ่งมีนกกระสามาก ก็ยิ่งมีทารกแรกเกิดมาก ยิ่งนกกระสาน้อย ทารกแรกเกิดก็ยิ่งน้อย แบบแผนนี้แข็งแรงมากจนสามารถก้าวข้ามอุปสรรคดั้งเดิมของ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการได้อันที่จริงมีบทความวิทยาศาสตร์จั่วหัวว่า “นกกระสานำส่งทารก (p=0.008)” ที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว ผมไม่อยากลง รายละเอียดทางเทคนิคมากเกินไป แต่เลขศูนย์พวกนั้นบอกเราว่านี่ไม่ใช่ เรื่องบังเอิญ2 ปัญหาที่แท้จริง...ไม่ได้อยู่ที่การพิสูจน์ว่าอะไรสักอย่างไม่จริง แต่ อยู่ที่การพิสูจน์ว่าสิ่งที่จริงแท้นั้น “แท้” จริงๆ — อุมแบร์โต เอคโค1
12 เลขเล่าโลก บางทีคุณอาจเดากลเม็ดได้แล้ว ประเทศยุโรปขนาดใหญ่อย่าง เยอรมนีโปแลนด์และตุรกีเป็นบ้านของทารกแรกเกิดและนกกระสา จำนวนมาก ประเทศขนาดเล็กอย่างแอลเบเนียและเดนมาร์กมีทารกแรกเกิด และนกกระสาจำนวนน้อย ถึงแม้ข้อมูลจะมีแบบแผนที่ชัดเจน แบบแผนนี้ ก็ไม่ได้แปลว่านกกระสาทำให้ทารกเกิดขึ้นมา ดูเหมือนว่าคุณ “พิสูจน์” ทุกเรื่องได้ด้วยสถิติกระทั่งว่านกกระสา คาบทารกมาถือกำเนิด คุณต้องคิดอย่างนั้นแน่นอนเมื่อได้อ่านหนังสือ วิธีปั่นหัวคนด้วย สถิติซึ่งตีพิมพ์ในปี1954 เขียนโดยดาร์เรลล์ฮัฟฟ์นักข่าวฟรีแลนซ์ชาว อเมริกันที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก หนังสือเสียดสียิงมุกกระจายเล่มจิ๋วนี้ ได้รับคำชมอย่างเลิศลอยจากบทวิจารณ์ใน New York Times และกลาย เป็นหนังสือฮ็อตฮิตเกี่ยวกับสถิติที่อาจจะขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์โดย ขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่ม หนังสือเล่มนี้คู่ควรกับความนิยมและคำชมทั้งปวง มันสื่อสารเชิง สถิติได้อย่างน่าทึ่ง แถมยังทำให้ดาร์เรลล์ฮัฟฟ์กลายเป็นตำนานในหมู่ เนิร์ด เบน โกลด์เอเคอร์นักวิทยาการระบาดและผู้เขียนหนังสือขายดีเรื่อง Bad Science เขียนอย่างชื่นชมว่า “เดอะฮัฟฟ์” เขียนได้“มันโคตร” ส่วนชาร์ลส์วีแลน นักเขียนชาวอเมริกัน เรียกหนังสือเรื่อง สถิติฉบับ เซ็กซี่ ของเขาว่าเป็น “เล่มบูชาครู” ที่อุทิศแด่หนังสือ “คลาสสิก” ของฮัฟฟ์ ส่วนวารสาร Statistical Science ที่น่านับถือก็จัดเสวนารำลึกถึงงานของ ฮัฟฟ์50 ปีหลังจากวันตีพิมพ์ครั้งแรก ผมเคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกัน สมัยเป็นวัยรุ่นผมรัก วิธีปั่นหัวคน ด้วยสถิติมาก มันเป็นหนังสือที่แจ่มชัด หลักแหลม เต็มไปด้วยภาพ ประกอบแบบการ์ตูนขี้เล่นตลอดเล่ม หนังสือเล่มนี้เปิดม่านของการบิดเบือน สถิติให้ผมเห็น ชี้ว่าการโกงเกิดขึ้นอย่างไร ผมจะได้ไม่ถูกหลอกอีก ฮัฟฟ์ใช้ตัวอย่างจำนวนมาก เขาเริ่มจากตั้งคำถามว่าบัณฑิตจาก
วิธีโกหกด้วยสถิติ 13 มหาวิทยาลัยเยลทำเงินได้เท่าไร ผลการสำรวจปี1950 ฉบับหนึ่งชี้ว่า บัณฑิตรุ่นที่จบในปี1924 มีรายได้เฉลี่ยเกือบ 500,000 ดอลลาร์ณ ค่าเงินปัจจุบัน ตัวเลขนี้ฟังดูเป็นไปได้จนน่าเชื่อเพราะเรากำลังพูดถึงเยล นี่นา แต่เงินครึ่งล้านดอลลาร์ต่อปีก็เยอะมากอยู่ดีค่าเฉลี่ยคือตัวเลขนี้ จริงหรือ คำตอบคือไม่จริง ฮัฟฟ์อธิบายว่าตัวเลขที่ “น่านํ้าลายหกอย่าง เหลือเชื่อ” นี้มาจากข้อมูลที่คนตอบรายงานเอง ซึ่งแปลว่าเราคาดหวัง ได้ว่าคนบอกรายได้ตัวเองสูงเกินจริงเพราะความทะนงตน ยิ่งไปกว่านั้น แบบสำรวจเลือกถามเฉพาะคนที่อยากเสียเวลาตอบและเฉพาะศิษย์เก่า ที่เยลหาตัวเจอ แล้วใครบ้างล่ะที่หาตัวง่าย คำตอบคือคนรวยและคนดัง ไงล่ะ ฮัฟฟ์ถามว่า “ใครบ้างที่เป็นแกะน้อยหลงทางที่เยลบันทึกว่า ‘ไม่พบ ที่อยู่’” เยลจะตามติดศิษย์เก่าเงินล้านทั้งหลาย แต่ศิษย์เก่าที่ทำเงินได้ น้อยกว่านั้นอาจหลุดลอดตาข่ายไป ทั้งหมดนี้แปลว่าแบบสำรวจสะท้อน ภาพที่เฟ้อเกินจริงมาก ฮัฟฟ์ไล่เรียงอาชญากรรมทางสถิติที่หลากหลาย ตั้งแต่โฆษณา ยาสีฟันที่เลือกเฟ้นเฉพาะงานวิจัยที่เข้าข้างตัวเอง ไปจนถึงแผนที่ที่เปลี่ยน ความหมายไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าคุณระบายมันด้วยสีอะไร ฮัฟฟ์เขียนว่า “พวกคนโฉดรู้กลเม็ดเหล่านี้อยู่แล้ว คนที่ซื่อสัตย์ก็ต้องเรียนรู้มันบ้างเพื่อ ปกป้องตัวเอง” ถ้าคุณได้อ่าน วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติคุณจะมองตัวเลขอย่างกังขา มากขึ้นว่ามันหลอกคุณได้อย่างไรบ้าง หนังสือเล่มนี้ฉลาดหลักแหลมและ ให้ความรู้ดีมาก แต่ผมใช้เวลามากกว่า 1 ทศวรรษในการพยายามสื่อสารความคิด เชิงสถิติและตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้ออ้างที่ใช้ตัวเลข และตลอดระยะ เวลาเหล่านี้ผมก็รู้สึกไม่สบายใจขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับวิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ และสิ่งที่หนังสือเล่มจิ๋วนั้นสะท้อนออกมา การที่หนังสือว่าด้วยสถิติที่
14 เลขเล่าโลก ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งเล่มเป็นคำเตือนเกี่ยวกับข้อมูลลวงนี้บอก อะไรเกี่ยวกับสถิติและเกี่ยวกับตัวเรากันนะ ดาร์เรลล์ฮัฟฟ์ตีพิมพ์วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติในปี1954 แต่มีอีกเหตุการณ์ หนึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกันนั้นเอง นั่นคือนักวิจัยชาวอังกฤษ 2 คนนาม ริชาร์ด ดอลล์และออสติน แบรดฟอร์ด ฮิลล์ตีพิมพ์งานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ชิ้นแรกๆ ที่สาธิตว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด3 ดอลล์กับฮิลล์ไม่มีทางเจอข้อค้นพบนี้ได้เลยถ้าปราศจากสถิติอัตรา การเกิดมะเร็งปอดพุ่งสูงขึ้น 6 เท่าในสหราชอาณาจักรในช่วงเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น พอถึงปี1950 อัตรานี้ในสหราชอาณาจักรก็สูงที่สุดในโลก และเป็นครั้งแรกที่จำนวนคนที่ตายจากมะเร็งปอดสูงกว่าคนที่ตายจาก วัณโรค แม้เพียงความตระหนักรู้ว่าเหตุการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นก็ต้องอาศัย มุมมองทางสถิติไม่มีแพทย์คนไหนหรอกที่จะรู้สึกเองมากกว่าติดใจตงิดๆ การชี้ให้เห็นว่าบุหรี่คือตัวการก็ต้องอาศัยสถิติเช่นกัน คนจำนวนมาก ในสมัยนั้นคิดว่ารถยนต์คือสาเหตุที่อัตราการเป็นมะเร็งปอดพุ่งสูงขึ้น ซึ่งก็ฟังดูมีเหตุมีผลมาก เราเริ่มพบเห็นรถยนต์ในชีวิตประจำวันในครึ่งแรก ของศตวรรษที่ยี่สิบ จึงมีควันจากท่อไอเสียและกลิ่นไอเตะจมูกจาก ยางมะตอยบนถนนลาดใหม่สถิติมะเร็งปอดพุ่งสูงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน การมองให้ทะลุถึงความจริง ซึ่งก็คือตัวการที่ก่อมะเร็งปอดคือบุหรี่ ไม่ใช่ รถยนต์ต้องอาศัยมากกว่าการมองไปรอบๆ มันต้องอาศัยนักวิจัยที่เริ่ม นับและเปรียบเทียบอย่างระมัดระวัง หรือพูดให้รวบรัดกว่านั้นคือมัน ต้องการสถิติ หลายคนมองสมมุติฐานที่ว่าบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งปอดด้วยความ ไม่ไว้วางใจ ถึงแม้สมมุติฐานนี้จะไม่ใหม่เสียทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น สมัย นาซีเยอรมันเคยมีการทำงานวิจัยชิ้นใหญ่เพื่อผลิตหลักฐานว่าบุหรี่นั้น
วิธีโกหกด้วยสถิติ 15 อันตราย เนื่องเพราะอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกลียดการสูบบุหรี่มาก แน่นอนที่ ท่านผู้นำสูงสุดต้องปลื้มปริ่มเมื่อแพทย์ชาวเยอรมันค้นพบว่าบุหรี่ก่อให้ เกิดมะเร็ง แต่ด้วยเหตุผลที่แจ่มแจ้ง การตกเป็นเป้า “ความเกลียดชังของ นาซี” ไม่ใช่อุปสรรคต่อความนิยมในใบยาสูบเลย ด้วยเหตุนี้ดอลล์กับฮิลล์จึงตัดสินใจลงมือสำรวจทางสถิติด้วยตัวเอง ริชาร์ด ดอลล์เป็นชายหนุ่มรูปหล่อ เงียบขรึม และสุภาพสุดๆ เขากลับ มาจากสงครามโลกครั้งที่สอง และเต็มไปด้วยความคิดที่ว่าสถิติจะปฏิวัติ การแพทย์ได้อย่างไรบ้าง ส่วนออสติน แบรดฟอร์ด ฮิลล์พี่เลี้ยงและ ที่ปรึกษาของเขา เคยเป็นนักบินสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก่อนป่วย เจียนตายจากวัณโรค* ฮิลล์เป็นคนมีเสน่ห์เปี่ยมไหวพริบ และว่ากันว่า เป็นนักสถิติทางการแพทย์ที่เก่งที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ4 งานของพวกเขา ทั้งคู่ในฐานะนักสืบข้อมูลจะพิสูจน์ให้โลกเห็นว่ามันช่วยชีวิตคนได้มหาศาล งานศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งของคนคู่นี้ เริ่มต้นในวันขึ้นปีใหม่ของปี1948 โดยเน้นการศึกษาโรงพยาบาลราว 20 แห่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน โดยมีริชาร์ด ดอลล์เป็น หัวหน้าทีม ทุกครั้งที่มีผู้ป่วยมะเร็งเข้ามาในโรงพยาบาล พยาบาลจะสุ่ม หาผู้ป่วยอื่นอีกคนในโรงพยาบาลที่มีเพศเดียวกันและรุ่นราวคราวเดียวกัน ทั้งผู้ป่วยเป้าหมายและผู้ป่วยที่สุ่มมาจะถูกถามคำถามอย่างละเอียดว่า พวกเขาอาศัยอยู่ที่ไหน ทำงานอะไร ไลฟ์สไตล์และโภชนาการเป็นอย่างไร รวมถึงประวัติการสูบบุหรี่ สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ผลลัพธ์ก็เริ่มทยอยมาให้เห็น ในเดือนตุลาคม 1949 ไม่ถึง 2 ปีหลังจากที่เริ่มการศึกษา ดอลล์ ก็เลิกสูบบุหรี่ เขาอยู่ในวัย 37 ปีและก่อนหน้านั้นสูบบุหรี่มาตลอดชีวิตวัย * หลังจากนั้นฮิลล์ได้ล้างแค้นแสนหวานด้วยการชี้ให้เห็นวิธีรักษาวัณโรคในการทดลอง ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่เคร่งครัดครั้งแรก ของโลก
16 เลขเล่าโลก ผู้ใหญ่ของเขา เขาและฮิลล์ค้นพบว่าการสูบบุหรี่จัดไม่เพียงแต่เพิ่มอัตรา เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอด 2 เท่า 3 เท่า หรือแม้แต่ 4 เท่า แต่มันเพิ่มอัตรา เสี่ยงมากถึง 16 เท่า5 ฮิลล์กับดอลล์ตีพิมพ์ผลการศึกษาของพวกเขาในเดือนกันยายน 1950 จากนั้นก็เริ่มการทดลองที่ใหญ่กว่า กินเวลานานกว่า และทะเยอทะยานกว่าครั้งแรกทันทีฮิลล์ส่งจดหมายหาแพทย์ทุกคนในสหราชอาณาจักรทั้ง 59,600 คน ขอให้กรอก “แบบสอบถาม” เกี่ยวกับสุขภาพ และนิสัยการสูบบุหรี่ของพวกเขา ดอลล์กับฮิลล์คิดว่าแพทย์น่าจะสามารถ ติดตามประวัติการสูบบุหรี่ของตัวเองได้ประวัตินี้จะอยู่ในทะเบียนทาง การแพทย์ดังนั้นจึงหาง่ายเสมอ และเมื่อใดที่แพทย์ล่วงลับไป การวินิจฉัย สาเหตุการตายของเขาก็จะทำได้ง่ายและดีฮิลล์กับดอลล์เพียงแค่ต้อง รอเวลาเท่านั้นเอง แพทย์มากกว่า 40,000 คนกรอกแบบสอบถามของฮิลล์แต่ไม่ใช่ ทุกคนที่ยินดีทำ เราต้องเข้าใจว่าตอนนั้นการสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ อย่างยิ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แพทย์ชาย 85 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่าง แรกของดอลล์กับฮิลล์จะเป็นสิงห์นักสูบ ไม่มีใครอยากได้ยินหรอกว่า พวกเขาอาจกำลังฆ่าตัวตายอย่างช้าๆ โดยเฉพาะด้วยวิธีฆ่าตัวตายที่ ถอนตัวยากยิ่งเช่นนี้ แพทย์คนหนึ่งมาไล่ต้อนฮิลล์ในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน “เฮ้ย นายคือคนที่อยากให้พวกเราหยุดสูบบุหรี่นี่นา” เขาประกาศ “เปล่าเลยครับ” ฮิลล์ตอบ เขาเองก็สูบกล้องยาสูบเหมือนกัน “ผม สนใจว่าถ้าคุณสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ คุณจะตายยังไง ผมสนใจด้วยว่าคุณจะ หยุดสูบไหม เพราะผมต้องการทราบว่าคุณจะตายยังไง ฉะนั้นคุณก็เลือก ได้เลยว่าจะหยุดหรือไปต่อ ผมไม่สนหรอก ยังไงๆ ผมก็บันทึกการตาย ของคุณอยู่ดี”6 ผมบอกแล้วใช่ไหมครับว่าฮิลล์เรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์มา เขา
วิธีโกหกด้วยสถิติ 17 เรียนรู้เสน่ห์แบบนี้จากวิชานั้นแหละ การศึกษาแพทย์ที่ว่านี้ดำเนินต่อไปหลายทศวรรษ แต่ไม่นานดอลล์ กับฮิลล์ก็มีข้อมูลเพียงพอที่จะตีพิมพ์บทสรุปที่ชัดเจนว่า การสูบบุหรี่ก่อให้ เกิดมะเร็งปอด และยิ่งคุณสูบมากเท่าไร ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้นเพียงนั้น และยิ่งไปกว่านั้นการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอาการหัวใจวายด้วย นี่เป็นข้อ ค้นพบใหม่ แพทย์ไม่ใช่คนโง่ ในปี1954 เมื่อผลการศึกษาได้รับการตีพิมพ์ใน British Medical Journal ซึ่งเป็นวารสารวิชาชีพด้านการแพทย์แพทย์ ที่ได้อ่านก็สรุปเองได้ฮิลล์เลิกสูบในปีนั้นและเพื่อนร่วมวงการแพทย์ของเขา อีกหลายคนก็เลิกสูบเช่นกัน แพทย์กลายเป็นกลุ่มก้อนทางสังคมกลุ่มแรก ในอังกฤษที่เลิกสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก เราจึงสรุปได้ว่าในปี1954 มีภาพ 2 ภาพเกี่ยวกับสถิติที่เผยโฉม ออกมาพร้อมกัน ในสายตาคนอ่านจำนวนมากของ วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ โดยดาร์เรลล์ฮัฟฟ์สถิติเป็นเกมที่เต็มไปด้วยคนขี้โกงและนักปอกลอก และการจับเหล่าคนเลวด้วยกลเม็ดของพวกเขาก็อาจเป็นเรื่องสนุก แต่ สำหรับออสติน แบรดฟอร์ด ฮิลล์และริชาร์ด ดอลล์แล้ว สถิติไม่ใช่เรื่อง ตลกเลย เกมของพวกเขามีเดิมพันสูงที่สุดที่ใครจะนึกได้และถ้าหากว่า เล่นเกมนี้กันอย่างซื่อสัตย์และเล่นได้ดีมันก็ช่วยชีวิตคนได้ พอถึงฤดูใบไม้ผลิปี2020 ขณะที่ผมกำลังเขียนส่วนสุดท้ายของหนังสือ เล่มนี้เดิมพันเกี่ยวกับสถิติที่เคร่งครัด ทันเวลา และซื่อสัตย์ก็ชัดเจน แจ่มแจ้ง โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่กำลังแพร่สะพัดไปทั่วโลก นักการเมืองต้องตัดสินใจที่ส่งผลกระทบมหาศาลที่สุดในช่วงเวลาหลาย ทศวรรษและต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว หลายครั้งที่การตัดสินใจเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับงานนักสืบข้อมูลที่นักวิทยาการระบาด นักสถิติการแพทย์และ
18 เลขเล่าโลก นักเศรษฐศาสตร์กระวีกระวาดทำ ชีวิตคนหลายสิบล้านคนบนโลกตกอยู่ ในอันตราย วิถีชีวิตคนอีกหลายพันล้านคนด้วย ขณะที่ผมเขียนอยู่นี้เป็นเดือนเมษายน 2020 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกประกาศปิดเมืองมาแล้ว 2 สัปดาห์อัตราการตายทั่วโลกเพิ่งทะลุ 60,000 ราย และยังไม่ชัดเจนว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร บางทีกว่าหนังสือ เล่มนี้จะอยู่ในมือคุณ เราอาจเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงครั้งใหญ่ ที่สุดนับจากทศวรรษ 1930 และอัตราการตายจะแพร่กระจายเป็นดอกเห็ด บางทีความฉลาดเฉลียวและโชคดีของมนุษย์อาจช่วยให้ความกลัวโลกแตก แบบนี้เลือนหายเป็นเพียงความทรงจำ ฉากทัศน์ต่างๆ ล้วนดูเป็นไปได้ ซึ่งนั่นแหละคือปัญหา จอห์น ไอโอนนิดิส นักวิทยาการระบาด เขียนในเดือนมีนาคมว่า โควิด-19 อาจเป็น “หายนะทางหลักฐานที่จะพบเห็นได้ครั้งเดียวใน 1 ศตวรรษ”7 นักสืบข้อมูลทั้งหลายกำลังพยายามทำอย่างดีที่สุด แต่ พวกเขาต้องรับมือกับข้อมูลที่กระจัดกระจาย ไม่ลงรอยกัน และไม่เพียงพอ อย่างน่าเศร้าต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวกับความเป็นความตายในระดับความ มั่นใจที่เราอยากเห็น ไม่ต้องสงสัยเลยว่ารายละเอียดของหายนะครั้งนี้จะได้รับการศึกษา ไปอีกนานหลายปีแต่มีบางสิ่งที่ดูเหมือนจะชัดเจนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เกิดวิกฤตใหม่ๆ การเมืองดูจะขัดขวางการไหลเวียนของสถิติที่ซื่อตรง ซึ่งเราจะกลับมาถกปัญหานี้กันอีกครั้งในบทที่ 8 ไต้หวันบ่นว่าในเดือน ธันวาคม 2019 พวกเขาได้มอบเบาะแสสำคัญเกี่ยวกับการแพร่ระบาดจาก มนุษย์สู่มนุษย์แก่องค์การอนามัยโลก แต่เวลาล่วงไปถึงกลางเดือนมกราคม องค์การอนามัยโลกยังทวีตปลอบใจผู้คนอยู่เลยว่าประเทศจีนไม่พบ หลักฐานใดๆ ของการแพร่ระบาดระหว่างมนุษย์(ไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิก ขององค์การอนามัยโลก เนื่องจากจีนอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน และเรียกร้องไม่ให้ยอมรับว่าไต้หวันเป็นรัฐอิสระ เป็นไปได้ที่อุปสรรคด้าน
วิธีโกหกด้วยสถิติ 19 ภูมิรัฐศาสตร์ข้อนี้จะนำไปสู่การประวิงเวลาที่ว่า) 8 เรื่องนี้สำคัญหรือไม่ แน่นอนเกือบแช่แป้งเลยครับ ในเมื่ออัตรา การติดเชื้อเพิ่มเป็น 2 เท่าทุก 2 หรือ 3 วัน เราไม่มีวันรู้เลยว่าถ้าหากเรา ได้รับสัญญาณเตือนล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์สถานการณ์จะเปลี่ยนไป เพียงใด ชัดเจนว่าผู้นำหลายคนต้องใช้เวลากว่าจะเข้าใจถ่องแท้ถึงระดับ ความรุนแรงของอันตรายนี้ยกตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศ ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ว่า “มันจะหายไป วันนึงมันจะหายไป เหมือน ปาฏิหาริย์เลย” 4 สัปดาห์ให้หลังเมื่อชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้ว 1,300 คนและอัตราการติดเชื้อในอเมริกาสูงกว่าทุกประเทศในโลก คุณทรัมป์ยังคงพูดอย่างเปี่ยมความหวังว่าทุกคนจะได้ไปเข้าโบสถ์ช่วง เทศกาลอีสเตอร์9 ขณะที่ผมเขียนอยู่นี้การถกเถียงหลายเรื่องยังดำเนินต่อไป วิธี ตรวจหาเชื้ออย่างรวดเร็ว [การทำ ATK—ผู้แปล] การกักตัวผู้ป่วย และ การติดตามตัวผู้สัมผัสเชื้อจะช่วยระงับการแพร่ระบาดไปได้เรื่อยๆ หรือ เพียงแต่ชะลอการแพร่ระบาดเท่านั้น เราควรกังวลกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างคนจำนวนน้อยที่รวมตัวกันในอาคารหรือคนเยอะๆ ที่รวมตัวกัน นอกอาคาร การปิดโรงเรียนชั่วคราวช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย ได้หรือไม่ หรือมันสร้างผลเสียมากกว่าเพราะเด็กๆ จะไปอยู่กับปู่ย่า ตายายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงแทน การใส่หน้ากากอนามัยช่วยได้แค่ไหน เราจะ ตอบคำถามเหล่านี้และอีกหลายคำถามได้ก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับ ผู้ติดเชื้อและเวลาติดเชื้อ แต่การติดเชื้อโรคนี้จำนวนมากไม่ได้ถูกบันทึกในสถิติของทางการ เนื่องจากไม่มีการตรวจหาเชื้อที่มากพอ และการตรวจหาเชื้อที่ทำอยู่ก็ให้ ภาพที่บิดเบี้ยว เนื่องจากเน้นตรวจบุคลากรทางการแพทย์ผู้ป่วยอาการ หนัก และที่ต้องยอมรับกันตรงๆ ก็คือคนรวยที่โด่งดัง ขณะที่ผมเขียนอยู่นี้ ข้อมูลบอกเราไม่ได้ว่ามีผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการมาก
20 เลขเล่าโลก น้อยเพียงใด ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าตกลงไวรัสตัวนี้รุนแรงเพียงใดกันแน่ ระหว่างที่อัตราการตายพุ่งสูงทวีคูณในเดือนมีนาคม โดยเพิ่มเป็น 2 เท่า ทุก 2 วัน เราก็ไม่มีเวลามารอดูผู้นำตัดสินใจแขวนเศรษฐกิจทั้งระบบ เข้าห้องไอซียูชาวอเมริกันมากกว่า 3 ล้านคนยื่นขอเงินประกันการว่างงาน ในเวลาเพียงสัปดาห์เดียวช่วงปลายเดือนมีนาคมสูงกว่าสถิติก่อนหน้านี้ ถึง 5 เท่า สัปดาห์ถัดมาเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมอีก มีคนยื่นขอเงินประกันการ ว่างงานอีก 6 ล้าน 5 แสนคน ผลพวงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นนั้นจัดเป็น หายนะพอที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับการทำลายล้างรายได้ของคน มากขนาดนี้จริงหรือ ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น แต่นักวิทยาการระบาดทั้งหลาย ทำได้เพียงคาดเดาอย่างดีที่สุดด้วยข้อมูลที่จำกัดมาก ยากที่จะนึกถึงบทสาธิตที่ดีกว่านี้ที่ว่า ปกติเรามองข้ามความสำคัญ ของข้อมูลที่ถูกต้องที่ถูกเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบว่าเป็นของตาย ขนาดไหน สถิติสำหรับเรื่องสำคัญๆ มากมายที่มาก่อนไวรัสโคโรนาถูก เก็บสะสมอย่างเลือดตาแทบกระเด็นหลายปีติดต่อกันโดยนักสถิติจอมขยัน จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะเปิดให้ทุกคนดาวน์โหลดไปใช้ฟรีๆ จากที่ใดก็ได้ในโลก แต่แล้วเราก็ถูกตามใจด้วยความหรูหรานี้ซึ่งบอกปัด “คำโกหก คำโกหกเฮงซวย และสถิติ” ราวกับมันไม่สำคัญ กรณีโควิด-19 ยํ้าเตือนเราว่าสถานการณ์จะเลวร้ายได้เพียงใดถ้าหากเราไม่มีสถิติ ดาร์เรลล์ฮัฟฟ์ทำให้สถิติดูเหมือนเล่ห์กลของนักมายากลบนเวทีนั่นคือ ดูเป็นเรื่องสนุกแต่ไม่คิดกับมันจริงจัง นานก่อนหน้าที่จะมีไวรัสโคโรนา ผม ก็เริ่มกังวลแล้วว่านี่ไม่ใช่ทัศนคติที่จะช่วยเราได้เราสูญเสียสำนึกที่ว่าสถิติ อาจช่วยให้เราเข้าใจโลก ใช่ว่าเรารู้สึกว่าสถิติทุกเรื่องเป็นคำโกหก แต่เรา รู้สึกสิ้นหวังที่จะแยกแยะให้ออกว่าอะไรคือความจริงต่างหาก ดังนั้นเรา จึงเชื่อในสิ่งที่เราอยากเชื่อ (ผมจะขยายความประเด็นนี้ในบทถัดไป) ส่วน
วิธีโกหกด้วยสถิติ 21 ที่เหลือเราก็ใช้ปฏิกิริยาตอบสนองเดียวกับฮัฟฟ์นั่นคือหัวเราะใส่มันดังๆ ยักไหล่ใส่ หรือทั้งสองอย่าง ความข้องใจในเชิงสถิตินี้ไม่ใช่เรื่องน่าอายเพียงอย่างเดียว แต่เป็น โศกนาฏกรรมด้วย ถ้าหากเรายอมแพ้ต่อความรู้สึกที่ว่าเราไม่มีทางแยกแยะ ได้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ก็เท่ากับว่าเรายอมสละเครื่องมืออันมีค่าทิ้งไป มันคือเครื่องมือที่ชี้ให้เราเห็นว่าบุหรี่นั้นอันตรายถึงชีวิต มันเป็นโอกาสเดียว ที่เราจะฝ่าฟันวิกฤตไวรัสโคโรนาไปได้หรือในมุมที่กว้างกว่านั้นคือช่วย ให้เราทำความเข้าใจกับโลกอันซับซ้อนที่เราอาศัยอยู่ แต่เครื่องมือนี้ เปล่าประโยชน์หากเราปฏิเสธข้ออ้างทางสถิติที่เราไม่ชอบใจอย่างง่ายดาย แน่นอนว่าเราไม่ควรเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ยาแก้อาการหูเบาเชื่อคนง่ายไม่ใช่ การไม่เชื่ออะไรเลย แต่อยู่ที่การมีความมั่นใจที่จะประเมินข้อมูลด้วยความ อยากรู้อยากเห็นผสมกับความข้องใจที่พองาม สถิติที่ดีไม่ใช่มายากล ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเวทมนตร์ชนิดหนึ่งก็ตาม สถิติที่ดีไม่อำพรางหรือปิดบังอะไร ที่จริงมันช่วยให้เรามองชัดขึ้น สถิติ ที่ดีนั้นเปรียบเสมือนกล้องโทรทรรศน์สำหรับนักดาราศาสตร์เป็นกล้อง จุลทรรศน์สำหรับนักแบคทีเรียวิทยา หรือรังสีเอกซเรย์สำหรับนักรังสีวิทยา ถ้าหากว่าเราปล่อยให้มันทำงาน สถิติที่ดีจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับโลกรอบตัวและเกี่ยวกับตัวเอง ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ที่เราไม่มีทาง มองเห็นได้ด้วยวิธีอื่น เป้าหมายหลักของผมในหนังสือเล่มนี้คือพยายามหว่านล้อมให้คุณ โอบรับวิสัยทัศน์ของดอลล์กับฮิลล์ไม่ใช่การถากถางของฮัฟฟ์ผมอยาก กล่อมให้คุณเชื่อว่าเราสามารถใช้สถิติส่องความจริงด้วยความแจ่มชัด และซื่อสัตย์ได้ในการทำอย่างนั้นแปลว่าผมจะต้องชี้ให้คุณเห็นว่าคุณเอง ก็สามารถใช้การใช้เหตุผลเชิงสถิติได้ด้วยตัวเอง ประเมินข้ออ้างต่างๆ ที่ล้อมรอบตัวคุณในสื่อ โซเชียลมีเดีย และบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ผม อยากช่วยคุณประเมินข้ออ้างเหล่านั้นจากศูนย์และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ
22 เลขเล่าโลก ช่วยคุณดูว่าจะหาความช่วยเหลือที่คุณไว้ใจได้จากที่ไหน ข่าวดีก็คือเรื่องนี้สนุกครับ คุณจะรู้สึกลิงโลดที่ได้ไปถึงก้นบึ้งของ เรื่องราวทางสถิติระหว่างทางคุณจะได้เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองและ ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของตัวเอง สุดท้ายจะรู้สึกว่าคุณได้บรรลุ ความเชี่ยวชาญบางอย่าง คุณจะเข้าใจแทนที่จะมองเหยียดๆ จากขอบ สนาม วิธีของดาร์เรลล์ฮัฟฟ์นั้นเปรียบกับอาหารจานด่วน มันน่ากินแบบ ผิวเผินแต่ไม่นานก็กร่อย แถมยังไม่ดีต่อสุขภาพด้วย แต่ขั้วตรงข้ามของ สถิติจานด่วนไม่ใช่ข้าวโอ๊ตดิบหรือหัวเทอร์นิป มันคือเมนูอาหารที่อร่อย และหลากหลายต่างหาก ในหนังสือเล่มนี้ผมจะอธิบายสิ่งที่ตัวผมเองได้เรียนรู้ตั้งแต่ปี2007 เมื่อบีบีซี ขอให้ผมจัดรายการวิทยุชื่อ More or Less ที่ว่าด้วยตัวเลขที่เราพบใน ข่าวและในชีวิต ผู้สร้างสรรค์รายการนี้คือไมเคิล บลาสต์แลนด์นักข่าว และเซอร์แอนดรูว์ดิลนอต นักเศรษฐศาสตร์ตอนนั้นพวกเขากำลังบอกลา รายการ จริงๆ ผมมีคุณสมบัติในการจัดรายการนี้น้อยกว่าที่บีบีซีคาดคิด เพราะผมเรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่สถิติจริงอยู่ที่สายอาชีพนี้ทำให้ ผมมั่นใจในตัวเองประมาณหนึ่งเวลาพูดเรื่องตัวเลข แต่ส่วนใหญ่เป็นใน ทางกลไกป้องกันตัวเอง ผมเรียนรู้วิธีสังเกตข้อบกพร่องและเล่ห์กล แต่ทำ อะไรมากกว่านั้นไม่เป็น ณ จุดนั้นเองที่ผมเริ่มเดินทางออกห่างจากมุมมองของดาร์เรลล์ฮัฟฟ์ สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า ผมกับเพื่อนร่วมงานจะประเมินข้ออ้าง ทางสถิติที่ออกมาจากปากนักการเมืองหรือที่ถูกตีพิมพ์ตัวใหญ่เป้งใน หนังสือพิมพ์ข้ออ้างเหล่านี้มักกล่าวอ้างเกินจริง แต่ลำพังการตรวจสอบ แค่ว่ามันจริงหรือไม่จริงไม่เคยทำให้ผมรู้สึกว่าคำตอบนั้นดีพอ เราพบว่า สิ่งที่อยู่เบื้องหลังข้ออ้างแต่ละข้อ ไม่ว่ามันจะจริง เท็จ หรือกํ้ากึ่ง คือโลก
วิธีโกหกด้วยสถิติ 23 อันมหัศจรรย์ที่เชื้อเชิญให้เราเข้าไปสำรวจและอธิบาย ไม่ว่าเราจะประเมิน ความถี่ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลักฐานที่ว่าหนี้สินส่งผลเสีย ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่จำนวนครั้งที่คำว่า “เธอ” ถูกใช้ใน เรื่อง The Hobbit ตัวเลขก็ช่วยส่องไฟหรืออำพรางโลกได้ทั้งสิ้น โรคระบาดไวรัสโคโรนาสาธิตอย่างกระจ่างแจ้งว่าเราจำเป็นต้องพึ่งพา ตัวเลขที่ไว้ใจได้ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในฐานะปัจเจก ในฐานะองค์กร และในฐานะสังคม สถิติมักถูกเก็บรวบรวมในเวลาที่เราเผชิญหน้ากับวิกฤต เหมือนกับตอนไวรัสโคโรนาระบาด ลองดูตัวเลขอัตราการว่างงานก็ได้นี่คือ มาตรวัดว่ามีคนกี่คนที่อยากทำงานแต่ไม่มีงานทำ วันนี้ตัวเลขนี้เป็นข้อมูล พื้นฐานสำหรับรัฐบาลใดก็ตามที่อยากเข้าใจสภาวะเศรษฐกิจ แต่ย้อนกลับ ไปเมื่อปี1920 ไม่มีใครบอกคุณได้ว่ามีคนกี่คนที่กำลังหางานอยู่10 ต่อเมื่อ เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงซึ่งทำให้คำถามนี้มีความสำคัญทาง การเมืองขึ้นมา รัฐบาลต่างๆ ถึงจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ตอบคำถามนี้ได้ โลกอันกว้างใหญ่และน่าพิศวงของเรานั้นเต็มไปด้วยคำถามซึ่งตอบ ได้ด้วยการใคร่ครวญถึงตัวเลขอย่างระมัดระวังเท่านั้น เฟซบุ๊กมีแนวโน้ม จะทำให้เราสุขหรือเศร้ามากกว่ากัน และเราจะพยากรณ์ได้ไหมว่าทำไม คนที่แตกต่างกันจึงมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน มีพันธุ์พืชและสัตว์กี่ชนิดที่ สุ่มเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์มันเป็นอัตราส่วนสูงหรือเปล่าเมื่อเทียบกับจำนวน พันธุ์พืชและสัตว์ทั้งโลก และมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขยายพื้นที่การเกษตรของมนุษย์หรือสาเหตุอื่นหรือเปล่า การคิดค้น นวัตกรรมของมนุษย์กำลังเร่งเร็วขึ้นหรือช้าลง วิกฤตเสพติดยาระงับปวด โอปิออยด์ส่งผลกระทบรุนแรงเพียงใดต่อสุขภาพของชนชั้นกลางใน อเมริกา วัยรุ่นดื่มสุราน้อยลงหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร ผมรู้สึกไม่สบายใจขึ้นเรื่อยๆ เมื่อแฟนรายการ More or Less เอ่ยปากชมวิธีที่เรา “หักล้างสถิติเท็จ” แน่นอนครับว่าเราทำอย่างนั้น และมันก็สนุกดีแต่ยิ่งผมได้เรียนรู้จากงาน ผมก็ค่อยๆ รู้สึกว่าความพอใจ
24 เลขเล่าโลก ที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การยิงความเท็จให้ตกกระป๋อง แต่อยู่ที่การพยายาม ทำความเข้าใจว่าแล้วความจริงคืออะไร การทำรายการ More or Less ทำให้ผมเรียนรู้ว่าหลักสามัญสำนึก ช่วยคุณได้มากเลยในฐานะนักสืบข้อมูล ผมจะสรุปหลักการเหล่านี้ใน หนังสือเล่มนี้เพื่อนร่วมทีมส่วนใหญ่ของเราที่เป็นนักวิจัยและโปรดิวเซอร์ รายการไม่ได้เรียนเรื่องวิธีรับมือกับตัวเลขอย่างเคร่งครัด ไม่ต่างจากผม แต่ถึงแม้ในสาขาที่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคขั้นสูง คำถามง่ายๆ บางคำถาม และบางทีก็รวมถึงการเสิร์ชอินเทอร์เน็ตครั้งสองครั้ง ก็มักจะทำให้เราได้ คำตอบที่น่าพอใจมาก จริงอยู่ว่าบางทีการมีปริญญาด้านสถิติขั้นสูงอาจ มีประโยชน์แต่เราไม่เคยต้องการปริญญานี้เลยสำหรับการถามคำถาม ที่ถูกต้อง คุณเองก็ไม่ต้องใช้มันเหมือนกัน ก่อนวันคริสต์มาสปี1953 นิดเดียว ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยาสูบ นัดเจอกันที่โรงแรมพลาซาในนิวยอร์ก งานศึกษาชิ้นสำคัญของดอลล์ กับฮิลล์จะได้รับการตีพิมพ์ในปีต่อไป แต่บริษัทยาสูบทั้งหลายรู้แล้วว่า วิทยาศาสตร์กำลังทำให้พวกเขาเริ่มดูแย่ พวกเขานัดกันในวันนั้นเพื่อ หารือว่าจะรับมือกับวิกฤตที่กำลังจะเกิดอย่างไรดี โชคร้ายที่คำตอบของพวกเขาปราดเปรื่องมาก และมันก็สร้าง มาตรฐานให้กับการทำโฆษณาชวนเชื่อนับแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขากวนนาํ้ให้ขุ่น ตั้งคำถามกับงานวิจัยที่มีอยู่ เรียกร้องให้ทำ วิจัยเพิ่ม ออกเงินสนับสนุนงานวิจัยในเรื่องอื่นๆ ที่คิดว่าอาจหว่านล้อมให้ สื่อตื่นเต้นได้เช่น โรคแพ้ตึกหรือโรควัวบ้า พวกเขาผลิตสร้างความสงสัย11 บันทึกลับของอุตสาหกรรมชิ้นหนึ่งเตือนความจำคนวงในว่า “ความสงสัย คือผลิตภัณฑ์ของเรา” 12 เข้าใจได้ที่เวลาเราคิดเรื่องการหว่านล้อม เราจะนึกภาพคนที่ถูก
วิธีโกหกด้วยสถิติ 25 หลอกให้เชื่อในสิ่งที่พวกเขาไม่ควรเชื่อ และเราจะคุยกันเรื่องปัญหานี้ใน บทต่อไป แต่บางครั้งปัญหาไม่ใช่ว่าเรากระหายอยากเชื่ออะไรจริงๆ ปัญหาคือเราเจอเหตุผลที่จะไม่เชื่ออะไรเลย นักสูบบุหรี่ชอบสูบ ร่างกาย ของพวกเขาพึ่งพานิโคตินและอยากสูบต่อไปให้ได้นานที่สุด สถานการณ์ ที่นักสูบจะยักไหล่แล้วบอกตัวเองว่า “ฉันไม่เข้าใจข้ออ้างน่าสับสนพวกนี้ เลย” เป็นสถานการณ์ที่ดีกับอุตสาหกรรมยาสูบ ความท้าทายของพวกเขา ไม่ใช่การหว่านล้อมให้นักสูบเชื่อว่าการสูบบุหรี่นั้นปลอดภัย แต่อยู่ที่ การสร้างความสงสัยต่อหลักฐานทางสถิติที่ชี้ให้เห็นว่ามันอันตราย ประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าความสงสัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตได้ง่ายมาก ไม่กี่ทศวรรษที่แล้ว นักจิตวิทยานามแครีเอ็ดวาร์ดส์และ เอ็ดวาร์ด สมิท ทำการทดลองโดยขอให้ชาวอเมริกันเสนอข้อสนับสนุน และข้อต่อต้านจุดยืนที่ถกกันอย่างเผ็ดร้อนทางการเมือง เช่น สิทธิการ ทำแท้ง การตีบุตรหลาน การยอมให้คู่รักเพศเดียวกันรับบุตรบุญธรรม โควตาของการจ้างงานชนกลุ่มน้อย และโทษประหารสำหรับเด็กอายุ ไม่ถึง 16 ปี13 พวกเขาพบโดยไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนมีอคติยากมากที่ จะคิดข้อสนับสนุนที่ฝั่งตรงข้ามจะใช้ปกป้องมุมมองของตัวเอง ที่น่าทึ่ง กว่านั้นคือ เอ็ดวาร์ดส์กับสมิทชี้ว่าอคติเหล่านี้มักจะแสดงออกชัดเจนกว่าเดิม ในข้อถกเถียงเชิงลบ ความไม่เชื่อไหลเวียนอย่างง่ายดายกว่าความเชื่อ ผู้เข้าร่วมการทดลองพบว่าการถกเถียงเพื่อคัดค้านจุดยืนที่พวกเขาไม่ชอบ นั้นง่ายดายกว่าการถกเถียงเพื่อสนับสนุนจุดยืนที่พวกเขาชอบ ความสงสัย มีพลังพิเศษ อีกเหตุผลที่ความสงสัยขายได้ง่ายก็คือ มันเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการสำรวจและถกเถียงทางวิทยาศาสตร์คนเราส่วนใหญ่ถูกสอน หรือไม่ก็ควรถูกสอนในโรงเรียนว่าให้ตั้งคำถามกับหลักฐาน คำขวัญของ รอยัลโซไซตีซึ่งเป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกคือ nullius in verba–“จงอย่าเชื่อคำพูดของผู้ใด” กลุ่มนักล็อบบี้ที่พยายาม
26 เลขเล่าโลก ปฏิเสธหลักฐานทางสถิติจะสามารถชี้ได้เสมอถึงจุดบางจุดในวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันที่ยังไม่มีข้อสรุป ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องนี้ซับซ้อนเหลือเกิน และ เรียกร้องให้มีการทำวิจัยอีก และข้ออ้างทั้งหมดนี้ก็จะฟังดูเป็นวิทยาศาสตร์ อาจฟังดูดีมีปัญญาด้วย แต่แล้วมันก็สร้างภาพจำที่ผิดและอันตรายที่ว่า ไม่มีใครรู้อะไรจริงๆ เทคนิคของอุตสาหกรรมยาสูบนั้นได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง 14 วันนี้มันถูกใช้อย่างชัดเจนที่สุดโดยบรรดาผู้ปฏิเสธภาวะโลกร้อน แต่ก็ ขยายไปไกลกว่าคำถามทางวิทยาศาสตร์แล้วเข้าสู่แวดวงการเมือง รอเบิร์ต พร็อกเตอร์นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาอุตสาหกรรมยาสูบมานานหลาย ทศวรรษ เรียกการเมืองสมัยใหม่ว่า “ยุคทองของอวิชชา” นักสูบบุหรี่ หลายคนอยากสูบต่อฉันใด เราหลายคนก็ยึดมั่นกับสัญชาตญาณของเรา เองเพียงนั้นในประเด็นทางการเมือง นักการเมืองเพียงแต่ต้องหว่านล้อม ให้เราสงสัยในหลักฐานที่จะท้าทายสัญชาตญาณดังกล่าว สตีฟ แบนนอน อดีตมือขวาของโดนัลด์ทรัมป์บอกกับนักเขียน ไมเคิล ลูอิส อย่างอื้อฉาวว่า “พวกเดโมแครตน่ะไม่สำคัญเลย คู่ปรับที่ แท้จริงคือสื่อมวลชนต่างหาก และวิธีรับมือก็คือปล่อยเรื่องห่วยๆ ให้ท่วม พื้นที่สื่อซะ”15 ประวัติศาสตร์ของคำอีกคำที่เกี่ยวโยงกับโดนัลด์ทรัมป์นั่นคือ “เฟกนิวส์” หรือข่าวปลอม ให้บทเรียนกับเราได้ก่อนหน้านี้คำคำนี้อธิบาย ปรากฏการณ์ที่เฉพาะเจาะจงมาก นั่นคือเว็บไซต์ที่ตีพิมพ์บทความเท็จ ด้วยความหวังว่าจะถูกคลิกในโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะทำให้ได้เม็ดเงินโฆษณา ตัวอย่างที่รู้จักกันดีคือข้ออ้างที่ว่าพระสันตะปาปาออกมาสนับสนุนทรัมป์ ตอนลงแข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพอทรัมป์ชนะก็เกิดความหวาดกลัว ทางศีลธรรมอย่างแพร่หลาย ผู้สังเกตการณ์ที่จริงจังหลายคนกลัวว่าผู้มี สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่โดนหลอกง่ายจะถูกหลอกให้ไปออกเสียงเลือก ทรัมป์เพราะเชื่อในเรื่องโกหกโต้งๆ เหล่านี้
วิธีโกหกด้วยสถิติ 27 ปรากฏว่ากระแสความหวาดกลัวนั้นผิดพลาด งานศึกษาทางวิชาการ พบว่าเฟกนิวส์ไม่เคยแพร่อย่างกว้างขวางหรือมีอิทธิพล ผู้บริโภคเฟกนิวส์ ส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้อาวุโสกลุ่มเล็กๆ ที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมสุดขั้วและ น่าจะสนับสนุนทรัมป์ตลอดมาอยู่ดีเรื่องโกหกเหล่านี้ไม่นานก็เป็นปัญหา น้อยลงมากเมื่อเว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่างๆ ตื่นขึ้นมารับมือกับมัน16 แต่ความคิดเรื่อง “เฟกนิวส์” กลายเป็นความคิดที่ทรงพลัง มัน กลายมาเป็นคำแก้ตัวที่จะปฏิเสธข้ออ้างที่เราไม่ชอบใจไม่ว่าจากแหล่งไหน ก็ตาม มันกลายเป็นเวอร์ชันสมัยใหม่ของสำนวนมองโลกในแง่ร้ายว่าด้วย “คำโกหก คำโกหกเฮงซวย และสถิติ” คุณทรัมป์ซึ่งมีพรสวรรค์วิปลาส ในการเปลี่ยนเรื่องซับซ้อนให้กลายเป็นไม้ตะบองทางการเมือง ใช้คำว่า “เฟกนิวส์” เพื่อป้ายสีนักข่าวให้ดูเลวร้าย นักการเมืองอีกหลายคนอย่าง เทเรซา เมย์นายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้น ก็ทำแบบเดียวกัน รวมถึง คู่ปรับขั้วตรงข้ามของเธออย่างเจเรมีคอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงานด้วย ข้อหา “เฟกนิวส์” โดนใจหลายคนเพราะมันเข้าถึงความจริงที่ โชคร้าย นั่นคือวันนี้มีงานข่าวชุ่ยๆ มากมายแม้แต่ในค่ายสื่อกระแสหลัก ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป แต่ในขณะเดียวกันกลายเป็นว่านักข่าวหลายคน ที่จริงจังและมีความรับผิดชอบซึ่งอ้างอิงแหล่งข่าวอย่างระมัดระวัง กลับ ถูกโยนเข้าไปอยู่ในข้องสมองข้องเดียวกับพวกต้มตุ๋นที่ขายข่าวพระ สันตะปาปาหนุนทรัมป์ ผมกังวลว่าจะเกิดโลกที่คนจำนวนมากจะเชื่อทุกเรื่อง แต่ผมกังวล มากกว่านั้นอีกว่าจะเกิดโลกที่คนไม่เชื่ออะไรเลยนอกเหนือจากความเชื่อ เดิมของตัวเอง *
28 เลขเล่าโลก ในฤดูใบไม้ผลิปี1965 คณะกรรมาธิการสภาสูงคณะหนึ่งในสหรัฐอเมริกา กำลังครุ่นคิดเรื่องคอขาดบาดตายว่า จะแปะป้ายเตือนภัยสุขภาพบนกล่อง บุหรี่ดีหรือไม่ พยานผู้เชี่ยวชาญไม่ค่อยมั่นใจนักเรื่องหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เขาเลยหันไปเล่าเรื่องนกกระสากับทารกและอธิบายว่ามีความ สัมพันธ์เชิงบวกระหว่างจำนวนทารกแรกเกิดกับจำนวนนกกระสาในละแวก เดียวกัน17 นิทานปรัมปราที่ว่านกกระสาคาบทารกมานั้นไม่จริง ผู้เชี่ยวชาญ ร่ายต่อไป แน่นอนว่ามันไม่จริง ความสัมพันธ์ไม่ใช่ความเป็นเหตุและผล นกกระสาไม่ได้คาบเด็กมาจริงๆ เพียงแต่แคว้นใหญ่ๆ มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับเด็กแรกเกิดและนกกระสา ในทำนองเดียวกัน เพียงเพราะการ สูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ย่อมไม่ได้แปลว่าการสูบบุหรี่ทำ ให้ เป็นมะเร็ง ไม่เลยสักนิดเดียว “คุณคิดจริงๆ หรือครับว่าความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับ โรคร้ายน่ะเป็นความสัมพันธ์เล่นๆ เหมือนกับเรื่องนกกระสา” ประธาน คณะกรรมาธิการตั้งคำถาม พยานผู้เชี่ยวชาญตอบว่าทั้ง 2 เรื่อง “ดูเหมือนกันสำหรับผม”18 ชื่อของพยานผู้เชี่ยวชาญคนนั้นคือดาร์เรลล์ฮัฟฟ์ เขาถูกอุตสาหกรรมยาสูบจ้างให้มาทำในสิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุด นั่นคือร้อยเรียงตัวอย่างน่าฟังเปี่ยมไหวพริบเข้ากับความเชี่ยวชาญทางสถิติ บางระดับ แถมพกด้วยความคลางแคลงใจเพื่อทำให้คนสงสัยความคิด ที่ว่าบุหรี่นั้นอันตราย เขากำลังเขียนภาคต่อของหนังสือชิ้นเอกของเขา ด้วยซํ้า แม้ว่ามันจะไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เลยก็ตาม ชื่อหนังสือตอนต่อ เล่มนั้นคือ วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติควันโขมง19 [ชื่อภาษาอังกฤษ How To Lie With Smoking Statistics ซึ่งเล่นกับคำว่า “smoking” ซึ่งมีอีก ความหมายว่าสูบบุหรี่—ผู้แปล] ความสงสัยเป็นอาวุธอันทรงพลัง และสถิติก็เป็นเป้าที่เปราะบาง เป้านี้ต้องการผู้พิทักษ์ใช่ครับ เราสามารถโกหกหรือปั่นหัวด้วยสถิติอย่าง
วิธีโกหกด้วยสถิติ 29 ง่ายดาย แต่การโกหกโดยไม่ใช้สถิตินั้นง่ายกว่ากันอีก* และที่สำคัญกว่านั้นคือ ถ้าไม่ใช้สถิติก็เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะบอก ความจริง หรือจะเข้าใจโลกเพื่อที่เราจะได้พัฒนาให้มันดีกว่าเดิมเหมือน กับริชาร์ด ดอลล์และออสติน แบรดฟอร์ด ฮิลล์สิ่งที่พวกเขาทำนั้นต้อง อาศัยความรู้ลึกซึ้งและความอุตสาหะ แต่มันไม่ต้องใช้อัจฉริยภาพหรือ เทคนิคคณิตศาสตร์ที่อยู่เหนือความเข้าใจใดๆ พวกเขาเพียงแต่นับสิ่งที่ สำคัญ นั่นคือคนสูบบุหรี่ คนไม่สูบบุหรี่ กรณีมะเร็งปอด กรณีโรคหัวใจ พวกเขานับมันอย่างเป็นระบบระเบียบด้วยความอดทนและสรุปจาก หลักฐานที่สะสมมาได้อย่างรอบคอบ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ข้อสรุปของพวกเขาช่วยชีวิตคนหลายสิบล้านคน บางทีอาจจะรวมเจ้าตัว เองด้วย หลังจากที่ฮิลล์เลิกสูบกล้องและกลายเป็นคนไม่สูบบุหรี่เหมือน กับดอลล์ชายทั้งคู่ก็มีชีวิตอยู่ถึงวัย 90 ปี เมื่อใดที่เราใช้สถิติด้วยหลักฐานยืนยันและปัญญา เราก็จะมองเห็น แนวโน้มซึ่งก่อนหน้านี้ลึกลับเกินกว่าจะมองเห็น โลกสมัยใหม่นั้นใหญ่มาก ซับซ้อนมาก และน่าสนใจมาก มันเป็นบ้านของคน 8 พันล้านคน ระบอบ เศรษฐกิจของเรามีเงินเปลี่ยนมือหลายล้านล้านดอลลาร์ในแต่ละวัน สมอง ของคนปกติมีเซลล์ประสาท 86,000 ล้านเซลล์20 อินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์ ราว 2 พันล้านเว็บ และไวรัสสายพันธุ์ใหม่ก็สามารถแพร่เชื้อจากคน 1 คน ไปยังคนนับพัน นับล้าน หรือหลายพันล้านคน ไม่ว่าเราจะพยายามทำ ความเข้าใจเรื่องอะไรเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับกันและกัน และตัวเราเอง เรา ก็ไม่มีทางไปได้ไกลโดยปราศจากสถิติเช่นเดียวกับถ้าเราจะศึกษากระดูก โดยไม่ใช้การเอกซเรย์แบคทีเรียโดยไม่ใช้กล้องจุลทรรศน์หรือฟากฟ้า โดยไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ *สำนวนนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักสถิติ ผมมักจะเห็นว่าคนอ้างอิงเฟรเดอริก มอสเทลเลอร์ นักสถิติผู้ยิ่งใหญ่ ว่าเป็นคนพูด แต่ผมไม่สามารถหาข้อยืนยันได้
30 เลขเล่าโลก มีเรื่องยอดนิยมเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ ว่า กันว่าเมื่อบิดาแห่งดาราศาสตร์โดนสถาบันคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก กล่าวหาว่านอกรีต พระคาร์ดินัลชั้นผู้ใหญ่ก็ไม่ยอมส่องกล้องโทรทรรศน์ ที่กาลิเลโอประดิษฐ์ขึ้นและประกาศว่ามันคือเล่ห์กลของนักมายากล กาลิเลโอบอกว่าเขามองเห็นภูเขาบนดวงจันทร์อย่างนั้นหรือ เลนส์ของ กล้องโทรทรรศน์ต้องสกปรกเป็นแน่ เขาเคยเห็นดวงจันทร์บริวารของ ดาวพฤหัสรึถุย! ดวงจันทร์บริวารนั่นมันอยู่ในกล้องโทรทรรศน์อยู่แล้ว พวกคาร์ดินัลไม่ยอมส่องกล้อง 4 ศตวรรษให้หลัง เป็นเรื่องง่ายดายที่เราจะหัวเราะให้กับเรื่องนี้ ซึ่งเอาจริงก็ถูกใส่สีตีไข่มาหลายปี21 แต่เราไม่ควรรู้สึกดีกับตัวเอง พวกเรา หลายคนปฏิเสธที่จะมองดูหลักฐานเชิงสถิติเพราะกลัวถูกหลอก เราคิดว่า เรากำลังทำตัวเจนโลกด้วยการใช้วิธีของฮัฟฟ์ซึ่งปฏิเสธสถิติทั้งหมดอย่าง ข้องใจ แต่เราไม่ได้เจนโลกเลย เรากำลังยอมรับความพ่ายแพ้ต่อบรรดา นักประชานิยมและนักโฆษณาชวนเชื่อที่อยากให้เรายักไหล่ เลิกใช้ตรรกะ และหลักฐาน และถอยหลังไปเชื่ออะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกดี แต่ผมอยากให้เราทำต่างออกไป ผมอยากมอบความมั่นใจให้กับ คุณที่จะหยิบกล้องโทรทรรศน์ชื่อสถิติและใช้มันเพ่งพินิจโลก ผมอยาก ช่วยคุณให้เข้าใจตรรกะเบื้องหลังความจริงทางสถิติและหลบหนีออกจาก เงื้อมมือของตรรกะบิดเบี้ยว อคติทางอารมณ์และการรับรู้ที่ก่อร่าง สร้างรูปให้กับความเท็จทั้งหลาย ดังนั้นเชิญมาส่องกล้องโทรทรรศน์ชื่อสถิติแล้วมองไปรอบๆ นะครับ คุณจะทึ่งทีเดียวว่าคุณสามารถมองเห็นได้อย่างแจ่มชัดเพียงใด
อับราฮัม เบรดิอุส ไม่ถูกใครหลอกง่ายๆ เขาเป็นนักวิจารณ์และ นักสะสมศิลปะ เป็นนักวิชาการชั้นนำของโลกในเรื่องจิตรกรชาวดัตช์ โดยเฉพาะโยฮันเนส เวอร์เมียร์จิตรกรเอกสมัยศตวรรษที่สิบเจ็ด เมื่อครั้ง ยังหนุ่มในทศวรรษ 1880 เบรดิอุสสร้างชื่อด้วยการจับผิดผลงานที่ถูก อ้างผิดๆ ว่าเป็นฝีมือเวอร์เมียร์และเมื่อเขาอยู่ในวัย 82 ปีในปี1937 เขา ก็เพลิดเพลินกับความรุ่งโรจน์ในวัยเกษียณ และเพิ่งตีพิมพ์หนังสือที่ ได้รับการยอมรับอย่างยิ่งยวด ว่าด้วยการไล่เรียงผลงาน 200 ชิ้นที่ปลอม หรือเลียนแบบเรมบรานต์2 ณ จุดนี้เองของชีวิตเบรดิอุสที่นักกฎหมายเสน่ห์ล้นนามเจอราร์ด บูน ได้ไปเยี่ยมเยือนวิลล่าของเบรดิอุสในโมนาโก บูนอยากขอความเห็น เกี่ยวกับจิตรกรรมที่เพิ่งถูกค้นพบได้ไม่นานชื่อ พระเยซูที่เอมมาอุส (Christ at Emmaus) ซึ่งลือกันว่าวาดโดยเวอร์เมียร์เบรดิอุสซึ่งเป็น กฎข้อแรก จงค้นหาความรู้สึกของตัวเอง ลุก สกายวอล์กเกอร์: “ไม่จริง…มันไม่จริง เป็นไปไม่ได้!” ดาร์ท เวเดอร์: “จงค้นหาความรู้สึกของเจ้า เจ้ารู้ว่ามันจริง!” —The Empire Strikes Back (1980) 1