Saltread
-
65
-
0
ทดลองอ่าน ความยุติธรรม (Justice)
จากวิชาเรียนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกว่า 2 ทศวรรษของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สู่หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้ว 5 ครั้งอย่าง “ความยุติธรรม”
ในปัจจุบันที่กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกตั้งคำถาม ความขัดแย้งแบ่งแยกเลือกข้างในสังคมไทยที่ไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย และความยุติธรรมในสังคมก็ดูจะเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมเสียเหลือเกิน “ความยุติธรรม” ที่เรากล่าวอ้างและถกเถียงกันมาตลอด ตั้งแต่เรื่องภายในครอบครัวไปจนถึงเรื่องระดับประเทศ มักจบลงที่การเอาผลประโยชน์เข้าพวกตัวเอง ตีตราชี้หน้าว่า ‘ฉันถูก แกผิด’ ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมต่างๆ แบ่งโลกออกเป็นขาว-ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายและซ้อนกว่านั้น
ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน
เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ
หนังสือ “ความยุติธรรม” จึงยังจะเป็นหนังสือ “ร่วมสมัย” ในสังคมไทยไปอีกนาน ‘ไมเคิล แซนเดล’ ผู้เขียนซึ่งเป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเป็นแว่นขยาย ส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ
แซนเดลได้ถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียนยอดนิยมแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา อย่างมีชีวิตชีวาลงในหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผู้อ่านนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกแล้ว ยังจะได้ตระหนักว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงจำเป็น
-
Follow
-
0
-
Embed
-
Share
-
Upload