The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปี3 เทอม 2 เสน่ห์แห่งแดนดิน ถิ่นเมืองเขาชัยสน2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prang_taniya, 2021-03-31 11:18:40

เสน่ห์แห่งแดนดิน...ถิ่นเมืองเขาชัยสน

ปี3 เทอม 2 เสน่ห์แห่งแดนดิน ถิ่นเมืองเขาชัยสน2

หนังสือเรียน รายวชิ าเพม่ิ เตมิ ภาษาไทย

ชุดสาระการเรียนรู้ท้องถิน่
ฐานิญา วิจิตรโสภา

เสนห่ ์แห่งแดนดิน…ถิน่ เมืองเขาชยั สน

ชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

หนงั สือเรียนรายวิชาเพ่มิ เติม

ภาษาไทย

ชุดสาระการเรยี นรทู้ ้องถิ่น

เสน่ห์แห่งแดนดิน…ถิน่ เมืองเขาชัยสน

ช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขน้ั พื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้เรียบเรียง
นางสาวฐานิญา วิจติ รโสภา

รหัสนิสิต ๖๑๑๐๑๑๔๙๒
หลักสตู รศิลปศาสตรบัณฑติ
สาขาวชิ าภาษาไทย มหาวิทยาลยั ทักษณิ

พิมพ์ครั้งที่ ๑

คานา

หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มน้ี ได้กาหนดให้เป็นแบบเรียนในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๑
ผู้จัดทา ได้จัดทาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพ และการ
เรียนรู้ เพอ่ื ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกตอ้ ง ทั้งทักษะในเร่ือง
ของการอา่ น ทักษะในเร่ืองของการเขียน รวมถึงทักษะท่ีเกี่ยวกับเร่ืองของ
หลักภาษา สามารถนาความ ความเข้าใจท่ีได้รับจากการเรียนไปใช้เป็น
เครอ่ื งมือในการสอ่ื สาร และศึกษาหาความรู้ได้

หนังสือแบบเรียนภาษาไทยฉบับน้ีมีการสอนท่ีสอดแทรกความรู้ใน
เร่ืองราวของอาเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ท่ีได้หยิบยกความเป็นมา
เร่ืองราวของแต่ละตาบลมาสอน เพ่ือให้ผู้เรียนได้ความรู้ และเข้าใจจาก
เน้ือหาท่ีเรียน นอกจากน้ียังมีการสอดแทรกความรู้ในเร่ืองการอ่านออก
เสียงร้อยแก้ว ภาษาพูด ภาษาเขียน และหลักการเขียนจดหมาย เป็นต้น
ซึ่งในแตล่ ะบทมีเน้ือหาเพื่อเสรมิ ทักษะให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางการคิด
การอ่าน และความรู้ในเร่ืองของหลักภาษาได้เข้าใจจนเกิดประสิทธิภาพ
ต่อตนเอง ผู้จัดทาได้มีแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้ฝึก
ทบทวนเน้ือหาบทความในแต่ละบท และเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิง่ ข้นึ

ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือแบบเรียนภาษาไทย ชุดสาระการ
เรียนรู้ท้องถิ่น “เสน่ห์แห่งแดนดิน…ถิ่นเมืองเขาชัยสน” เล่มน้ี จะเป็นส่ือ
การเรียนการสอนให้แก่นักเรียน ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ ได้ฝึกทักษะ
การเรียนรขู้ องนักเรยี นให้มีประสทิ ธภิ าพมากยิ่งข้นึ

ผู้จดั ทา
ฐานิญา วิจติ รโสภา

สารบญั

บทที่ ๑ เขาชยั สน…ถ้านี้มตี านาน
เล่าเร่อื งเขาชยั สน…ถ้านมี้ ีตานาน…………………………………………………………..๑-๘
อ่านเสรมิ เตมิ ความรเู้ รื่อง อาบน้าแร่ แช่นา้ รอ้ น……………........................๙
พจ่ี าปามาเล่าใหฟ้ ัง……………………………………………………………………………..๑๐-๑๒
คาศพั ท์ชวนจา…………………………………………………………………………………….๑๓-๑๔
ภาษาใต้น่ารู้…………………………………………………………………………………………….๑๕
หลกั วิชาการน่ารู้เรอ่ื ง การอ่านร้อยแก้ว…………………………………………….๑๖-๒๕
กิจกรรมท้ายบท………………………………………………………………………………….๒๖-๒๗
บทที่ ๒ สืบสานแห่ผา้ วดั เขยี น
เล่าเรอ่ื งสบื สานแหผ่ า้ วดั เขยี น…………………………………………………………….๒๘-๓๓
อ่านเสรมิ เตมิ ความรเู้ รื่อง เล่าขานเรอ่ื ง พระบรมธาตเุ จดีย์……………..๓๔-๓๕
พจ่ี าปามาเล่าให้ฟงั …………………………………………………………………………….๓๖-๓๗
คาศพั ท์ชวนจา…………………………………………………………………………………..๓๘-๓๙
ภาษาใต้น่าร…ู้ …………………………………………………………………………………………๔๐
หลกั วิชาการน่ารู้เรอ่ื ง ภาษาพูด ภาษาเขียน………………………………………๔๑-๔๖
กิจกรรมท้ายบท…………………………………………………………………………………๔๗-๔๘
บทที่ ๓ จากเพือ่ น…พาเยือนสวนศลิ ป์ถน่ิ โนรา
เล่าเรอ่ื งจากเพอ่ื น…พาเยอื นสวนศิลปถ์ ิน่ โนรา………………………………….๔๙-๕๔
อ่านเสรมิ เตมิ ความรเู้ รื่อง ต้นกาเนิดของโนรา………………………………….๕๕-๕๗
พจ่ี าปามาเล่าให้ฟัง…………………………………………………………………………….๕๘-๕๙
คาศพั ท์ชวนจา………………………………………………………………………………………..๖๐
หลกั วิชาการน่ารู้เรอ่ื ง การเขยี นจดหมาย…………………………………………..๖๑-๗๒
กิจกรรมท้ายบท…………………………………………………………………………………๗๓-๗๔
บรรณานุกรม

สารบัญภาพ

ภาพที่ ๑…………………………………………………………………………………….๑๒
ภาพที่ ๒.……………………………………………………………………………………๑๒
ภาพที่ ๓.……………………………………………………………………………………๓๔
ภาพที่ ๔.……………………………………………………………………………………๓๕
ภาพที่ ๕…………………………………………………………………………………….๓๖
ภาพที่ ๖…………………………………………………………………………………….๓๗
ภาพที่ ๗……………………………………………………………………………………๓๗
ภาพที่ ๘…………………………………………………………………………………….๕๖
ภาพที่ ๙…………………………………………………………………………………….๕๗

คาแนะนาสาหรบั ครู

การวางแผนการจดั การเรียนร้ภู าษาไทย ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ ๑
๑. ศึกษาหลักสูตรการเรียนรู้เพ่ือให้เข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ และ
ตวั ช้ีวดั หรือส่งิ ทีจ่ าเป็นแก่นักเรยี น
๒. ศึกษาหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมภาษาไทย ชุดสาระการเรียนรู้
ทอ้ งถิน่ เสนห่ ์แห่งแดนดิน…ถิ่นเมืองเขาชัยสน แล้ววางแผนจดั การเรียนรู้
๓. ศึกษาพ้ืนฐานความรู้ ความสามารถด้านภาษาไทยของนักเรียน
ระดบั ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เพอ่ื เตรียมพร้อมก่อนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ครูจาเป็น
จะต้องเข้าใจในแนวทางการนาเสนอเน้ือหาแต่ละบทของหนังสือรายวิชา
เพิ่มเติมภาษาไทย ชุดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เสน่ห์แห่งแดนดิน…ถิ่นเมือง
เขาชยั สน ซึง่ มีสว่ นประกอบดงั รายละเอียดต่อไปน้ี
บทอ่าน : มีลักษณะเป็นบทอ่านร้อยแก้วขนาดสั้น นาเสนอเร่ืองราวโดย
ผูกเร่ืองให้มีตัวละคร เหตุการณ์ รวมถึงนาเสนอเร่ืองราวเป็นเร่ืองเล่าใน
จดหมาย เพ่อื ให้นกั เรยี นสนกุ สนานเพลิดเพลินในการอ่าน ส่งเสริมนิสัยรัก
การอ่าน รู้จักใช้ภาษาไทยท่ีถูกต้อง และมีการแทรกเน้ือหาความคิดท่ี
บูรณาการความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น สาระความรู้รอบตัว และส่งเสริม
คุณธรรม
อ่านเสริม เติมความรู้ และพี่จาปา มาเล่าให้ฟัง : เป็นบทอ่านเสริม จัด
ไว้เพิ่มเติมจากบทอ่าน เรียบเรียงให้สอดคล้องกับเร่ืองแต่ละบท ลักษณะ
การเรียบเรียงจะเปน็ ร้อยแก้ว

คาแนะนาสาหรับครู

คาศัพท์ชวนจา และภาษาใต้น่ารู้ : เสนอความรู้ และความหมายของ
คาศัพทจ์ ากบทอา่ น และบทอา่ นเสริมทีน่ ักเรยี นควรท่จี ะศึกษา
หลักวิชาการน่ารู้ : นาเสนอเน้ือหาสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักภาษา และ
การใช้ภาษาไทยท่ีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ จาเป็นท่ีจะต้องรู้ โดย
ครอบคลมุ สาระการอ่าน การเขยี น และหลกั การใช้ภาษา
กิจกรรมท้ายบท : เป็นส่วนเสนอแนะให้นักเรียนได้ฝึกทักษะภาษาไทย
ตามบริบทของเน้ือหาสาระในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งน้ีสามารถ
ปรบั เปลย่ี นได้ตามความเหมาะสม

คาแนะนาการใช้หนังสือ

หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมภาษาไทย ชุดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เสน่ห์
แห่งแดนดิน…ถิ่นเมืองเขาชัยสน เป็นหนังสือเรียนที่จัดทาข้ึน สาหรับผู้ท่ี
ต้องการเรียนรู้ การอ่าน การเขียน และหลักภาษาไทย ในการศึกษา
หนังสือหนังสือรายวิชาเพิ่มเติมภาษาไทย ชุดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
เสนห่ ์แห่งแดนดิน…ถิ่นเมืองเขาชยั สน ผู้เรยี นควรปฏิบตั ดิ งั น้ี

๑. ศึกษาโครงสร้างรายวิชาให้เข้าใจในหัวข้อ และสาระสาคัญ ผล
การเรียนรทู้ ่คี าดหวงั และขอบข่ายเน้ือหารายวิชานน้ั ๆ โดยละเอยี ด

๒. ศึกษารายละเอยี ดเนอื้ หาของแต่ละบทอย่างละเอียด ทากิจกรรม
แล้วตรวจสอบกับแนวตอบกิจกรรม หากผู้เรียนตอบผิดควรกลับไป
ศึกษา และทาความเข้าใจในเน้ือหาน้ันใหม่ให้เข้าใจก่อนท่ีจะศึกษาเร่ือง
ตอ่ ๆ ไป

๓. ปฏิบัติกิจกรรมท้ายบทในแต่ละเร่ือง เพื่อเป็นการสรุปความรู้
ความเขา้ ใจเน้อื หาในเรอ่ื งนนั้ ๆ อีกครั้ง

๔. หนังสอื เรียนเลม่ นีม้ ี ๓ บท
บทท่ี ๑ เขาชัยสน…ถ้าน้ีมีตานาน
บทท่ี ๒ สบื สานแห่ผ้าวดั เขียน
บทท่ี ๓ จากเพื่อน…พาเยือนสวนศิลป์ถ่นิ โนรา

โครงสรา้ งรายวชิ า

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชา ชุดการเรียนรู้ท้องถิ่น
ชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๑๕ ชว่ั โมง
ภาคเรียนที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ตารางตัวชีว้ ดั

ชือ่ สาระ ตวั ชีว้ ดั จุดประสงค์ คณุ เนื้อหา ชวั่ โมง
หนว่ ย ลกั ษณะอนั สาคญั
การ พึงประสงค์ ๕
เรียนรู้ - อา่ นออก
- มีวินยั เสียงร้อย
เขา สาระที่ ๑ ๑. การ 1. เพื่อรู้และ - ใฝ่เรียนรู้ แก้วจาก
ชัย การอา่ น อา่ นออก เข้าใจประวัติ เรือ่ ง เขาชยั
สน… มาตรฐาน เสียงร้อย ความเป็นมา สน…ถ้านมี้ ี
ถ้าน้มี ี ท ๑.๑ ใช้ แก้ว และ ของอาเภอเขา ตานาน
ตานา กระบวนกา ร้อยกรอง ชยั สน - มีมารยาท
น รอา่ นสร้าง ให้ถูกต้อง 2. เห็น ในการอา่ น
ความรู้ เหมาะสม ความสาคัญ
และ กบั เรือ่ งที่ และถ่ายทอด
ความคิด อา่ น (ท ภมู ิปญั ญา
เพ่อื นาไปใช้ ๑.๑ สอน ท้องถิ่นได้
ตัดสนิ ใจ ม.๑) 3. เพือ่ รู้และ
แก้ปญั หา ๒. มี เข้าใจ
ในการ มารยาท สามารถอา่ น
ดาเนนิ ชีวิต ในการอา่ น บทร้อยแก้วได้
และมีนิสยั (ท ๑.๑ ถกู ต้องและ
รักการอา่ น สอน ม.๑) เหมาะสม
๔. เพื่อให้
นักเรียนมี
มารยาทใน
การอา่ น

ช่อื สาระ ตวั ชี้วัด จดุ คุณ เนือ้ หา ช่ัวโมง
หนว่ ย ประ ลักษณะ สาคัญ
การ สาระที่ ๔ ๑. สงค์ อันพึง ๕
เรียนรู้ หลกั การใช้ วิเคราะห์ ประสงค์ - เรียนรู้
ภาษาไทย ความ 1. เพือ่ รู้ ประเพณี
สืบสาน มาตรฐาน ท แตกต่าง และเข้าใจ - มีวินัย ท้องถิน่
แห่ผ้า ๔.๑ เข้าใจ ของ ประวัติ - ใฝ่เรียนรู้ ประเพณี
วัดเขียน ธรรมชาติของ ภาษาพูด ความเปน็ มา - รักความ แห่ผ้าห่ม
ภาษา และ และ ของ เปน็ ไทย พระบรม
หลัก ภาษา ประเพณีแห่ ธาตเุ จดีย์
ภาษาไทย เขียน (ท ผ้าห่มพระ - เสรมิ
การ ๔.๑ บรมธาตุ ความรู้
เปลีย่ นแปลง สอน ม. เจดีย์วดั หลักภาษา
ของภาษา ๑) เขียนบาง เรือ่ ง
และพลังของ แก้ว ภาษาพูด
ภาษา ภูมิ 2. เพือ่ ให้ และภาษา
ปญั ญาทาง นกั เรียน เขียน
ภาษา และ เปรียบเทียบ
รกั ษา ภาษาพดู
ภาษาไทยไว้ และภาษา
เปน็ สมบตั ิของ เขียนได้
ชาติ 3. เพือ่ รู้
และเข้าใจ
สามารถพดู
และเขียน
ภาษาไทยได้
ถูกต้องและ
เหมาะสม

ชอ่ื สาระ ตวั ชี้วดั จดุ คุณ เนื้อหา ชั่วโม

หนว่ ย ประ ลักษณะอนั สาคัญ

การ สงค์ พึงประสงค์

เรียน

รู้

จาก สาระที่ ๒ ๑. เขียน 1. รู้และเข้าใจ - มีวินัย - เรียนรู้
เพื่อน… การเขียน จดหมาย เกี่ยวกับ - ใฝ่เรียนรู้ ศิลปะ
พา มาตรฐาน ท ส่วนตวั ประวัติความ วฒั นธรรม
เยือน ๒.๑ ใช้ และ เปน็ มาของ มโนราห์ใน
สวน กระบวนการ จดหมาย มโนราห์2. เรื่อง จาก
ศิลป์ถิน่ เขียน เขียน กิจธรุ ะ(ท เห็นคณุ ค่าและ เพื่อน…พา
โนรา สื่อสาร เขียน ๒.๑ สอน ความสาคัญ เยือนสวน
เรียงความ ม.๑) ของมโนราห์ที่ ศิลป์ถิ่น
ย่อความ เป็น โนรา
และเขียน ศิลปะการแสด - เสรมิ
เรือ่ งราวใน งของภาคใต้ ความรู้
รปู แบบต่าง ๓. สามารถ เรื่องการ
ๆ เขียน เขียนสือ่ สาร เขียน
รายงาน โดยใชถ้ ้อยคา จดหมาย
ข้อมลู ถกู ต้อง ชดั เจน
สารสนเทศ เหมาะสมได้
และรายงาน ๔. เพอื่ ให้
การศึกษา นกั เรียนเขียน
ค้นคว้าอย่าง จดหมาย
มี ส่วนตวั และ
ประสิทธิภาพ จดหมายกิจ
ธุระได้

รวม ๑๕

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ ๑

เขาชัยสน…ถา้ นม้ี ตี านาน

ตวั ชีว้ ดั
ท ๑.๑ ม.๑/๑ อา่ นออกเสยี งร้อยแก้ว และรอ้ ยกรองให้ถูกต้องเหมาะสม

กบั เร่อื งทีอ่ า่ น
ท ๑.๑ ม.๑/๙ มีมารยาทในการอา่ น

มโนทัศน์
เร่ืองราวเกี่ยวกับตานานเล่าขาน ประวัติความเป็นมาของเขาชัยสน โดย

ถ่ายทอดเร่ืองราวผ่านการเล่าแบบนิทาน ทาให้เห็นถึงความเป็นมา และภูมิ
ปัญญาอันโดดเด่นของอาเภอเขาชัยสนท่ีได้มีการสืบทอดจากอดีตจนถึง
ปัจจบุ ัน

จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
1. เพ่อื รแู้ ละเขา้ ใจประวตั คิ วามเปน็ มาของอาเภอเขาชยั สน
2. เห็นความสาคญั และถา่ ยทอดภมู ิปญั ญาท้องถิ่นได้
3. เพอ่ื รแู้ ละเขา้ ใจ สามารถอ่านบทรอ้ ยแก้วไดถ้ กู ตอ้ งและเหมาะสม



เขาชยั สน…ถา้ นีม้ ีตานาน

เช้าวันปิดเทอมท่ีแสนสดใส เป็นวันท่ีเด็กวัยรุ่นสาวท่ีชื่อว่า มะปราง
ตง้ั ตารอคอยมานานแสนนาน เพราะเป็นวันท่ีเด็กบ้านนอกเข้ากรุง จะได้
กลับไปยังบ้านเกิดท่ีแสนจะอบอุ่น อยู่ในเมืองใหญ่น้ีพบเจอแต่ความ
วุ่นวาย รถรากข็ วกั ไขวเ่ ตม็ ไปหมด ปดิ เทอมน้ีมะปรางตั้งใจจะกลับไปสูด
อากาศให้เต็มปอด และพักให้เต็มท่ี และจุดหมายปลายทางของมะปราง
นั่นก็คอื เขาชยั สน จงั หวดั พัทลุง บา้ นเกดิ ของเธอนั่นเอง

เขาชัยสนเป็นอาเภอท่ีมีธรรมชาติท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ทั้ง ป่า เขา
ลาเนาไพร ผู้คนต่างมีน้าใจ เอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
พึ่งพาอาศัยกันมาโดยตลอด มะปรางเดินทางกลับด้วยรถบัสเป็นเวลา
16 ชั่วโมง เมื่อใกล้จะถึงหน้าบ้าน เธอก็ได้ตะโกนบอกคนขับรถอย่าง
สดุ เสยี ง…



“พีค่ ะ ๆ จอดท่ศี าลาข้างหน้าดว้ ยค่ะ”
เมื่อรถจอดเทียบข้างถนนอย่างสนิท มะปรางก็เดินลงจากรถ ภาพแรก
ท่ีเห็นคือ คุณปู่ พ่อ และแม่ของเธอท่ีออกมายืนรอรับอยู่ท่ีหน้าบ้าน
มะปรางโผวิ่งเข้ากอดท่านท้ังสามด้วยความดีใจ และความคิดถึงท่ีได้หอบ
กลับมาเตม็ กระเปา๋

“ปู่ พ่อ แม่ หวัดดคี ะ่ นยุ้ หลบมาแลว้ คดิ ถึงจังหู”
“ทุกคนก็คิดถึงลูกเหมือนกัน นั่งรถมาเหน่ือยหม้ายลูก ไปอาบน้า
อาบท่า แลว้ เดยี วมากินข้าว แม่ทาของชอบ ของหรอย ๆ ไว้ให้ลูกเต็มหมด
ทงั้ แกงน้าเคย แกงสม้ ปลาหวั โบ้ง ไขเ่ จยี ว ของชอบลูกทง้ั เพ”
“ไปค่ะ ไปกินกัน อ้อ..ทุกคน ตอเช้าเราไปเท่ียวกันดีหวา ไปเท่ียว
ถ้าน้าร้อน แล้วเห็นว่าท่ีวัดเขียนก็กาลังจะจัดงานแห่ผ้าพอดี นุ้ยอยากไป
เท่ียว อยากทาบุญ อยากไปร่วมแห่ผ้ากัน นะปู่ นะพ่อ นะแม่ ไปนะ ๆ” ปู่
ยิ้มร่า และพูดข้นึ มาว่า



“ฮา่ ฮา่ ฮา่ เออ ดีเหมือนกัน ไม่ไดเ้ ข้าไปนานแล้ว หวางน้ีน่าจะ
เปล่ียนไปจากแรกแต่ก่อนลุยแล้ว พาไปตะคม พาไอสาวไปเท่ียว ได้
พกั ผ่อนมัง่ ” ปู่ได้หันไปพูดกับพ่อ และพ่อก็ตกลงที่จะพาไป

เชา้ วนั รุ่งข้นึ มะปรางกไ็ ด้ต่นื ไปตักบาตรกับแม่ ซึ่งเป็นกิจวัตรประจา
วันทีจ่ ะตอ้ งต่ืนมาตักบาตรทุกคร้ังเมื่อได้กลับมาท่ีบ้าน ครู่หน่ึง มีเสียง
เรียกจากพ่อทด่ี งั มาจากขา้ งหลงั ถามว่า…

“ไอสาว วันน้ีจะไปไหนมั่ง จัดแจงมาให้เรียบร้อย พ่อได้พาไป
ตามโปรแกรมจะได้ไม่เสยี เวลา”

“นุ้ยว่าจะไปแวะท่ีถ้าน้าร้อนก่อน แล้วก็ไปวัดเขียนค่ะพ่อ”
มะปรางบอก

“ได้ ๆ พร้อมกันแล้วหม้าย ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย” มะปราง
พยักหน้ารบั แลว้ รีบเดินตามหลงั พ่อ และแม่ไป



เมื่อมาถึงถ้าเขาชัยสนแล้ว ทุกคนต่างตกตะลึงถึงความ
เปล่ยี นแปลง และจานวนนกั ท่องเทย่ี วทีม่ ากมาย

“โอ้..โฮะ..โฮ.. เปล่ียนไปมาก ๆ และคนก็มากข้ึนจากเมื่อก่อน
สาวรู้หม้ายเมื่อกอ่ นแทบจะไม่มีคนเลย” ปบู่ อก

“จริงเหอปู่ นยุ้ กไ็ ม่คอ่ ยได้มา แต่กร็ ู้สกึ ว่าเปล่ยี นแปลง และแปลก
ตาไปมากเลยคะ่ ”

“หมันแลว้ เมือ่ ก่อนตรงนไี้ ม่มี ตรงน้ีก็เพิ่มมา ตรงนั้นก็หายไป” ปู่
กับมะปรางได้เดินสารวจบริเวณถ้า อย่างต่ืนเต้น และพูดถึงความ
เปล่ยี นแปลงของสถานที่นี้ พ่อ และแม่กเ็ ดนิ ตามหลังกนั มาติด ๆ

“แล้วสาวรู้เกี่ยวกับประวัติหรือตานานของถ้าเขาชัยสนหม้าย ”
คณุ ปู่ถาม

“ไม่รคู้ ะ่ ปู่ มีตานานวา่ พนั พรือคะ”
“มา ๆ มาน่ังกันตรงน้ีก่อน เดียวปู่จะเล่าให้ฟัง” คุณปู่ก็ได้เร่ิม
เล่าถึงตานานของถ้าเขาชยั สนท่เี ลา่ ขานต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสรู่ ุ่นว่า…



“แรกก่อนนั้นในบริเวณพื้นท่ีบ่อน้าร้อนหรือถ้าเขาชัยสน เป็น
ทะเลสาบท้ังหมดทั้งเพ และเป็นทะเลสาบท่ีกว้างใหญ่ มีตายายคู่หน่ึง
ชื่อว่าตาสั้น และยายซุ้น เขาได้พายเรือมาหาปลาบริเวณน้ี แต่ก่อนท่ี
ตากับยายจะลงเรือหาปลา ตาไม่ได้สารวจเรือมาก่อนว่ามันใช้การได้
หม้ายหรอื วา่ มีตรงไหนชารดุ ผุพงั พอถึงกลางเล นา้ ได้ทะลุ แทงเข้ามา
ในเรอื ของตา และยายจนพงั ยากที่จะซ่อมจากนน้ั ตาและยาย เขาก็ได้
อธิษฐานว่า ถ้าหากตนตายไป ขอให้ตนได้เป็นเจ้าของบริเวณน้ี และ
ขอให้มีส่ิงมหัศจรรย์เกิดข้ึน จากน้ันเมื่อตากับยายจมน้าเสียชีวิตลง
กลางทะเลสาบ ทะเลจากท่ีมีน้าก็กลับกลายเป็นแห้งแล้งลงในพริบตา
พวกเศษดิน เศษหิน ใต้ท้องทะเลมันก็เข้ามารวมตัวกัน จนเกิดเป็น
ภูเขาสูง ซึ่งน่ันทาให้กลายเป็น เขาชัยสน ในปัจจุบันน้ี ต่อมาก็ได้มีบ่อ
นา้ ร้อน และธารน้าเย็นเกิดขนึ้ จนกลายมาเป็นท่ีท่องเท่ียวจนถึงตอนน้ี
นน้ั แหละหลาน”



“ออ พันน้ีน่ีเอง เป็นส่ิงท่ีมหัศจรรย์จริง ๆ นะปู่ แลตะเขาชัยสน
บ้านเราเต็มไปด้วยทรัพยากรท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชพันธุ์ ป่าไม้
และแหล่งนา้ ” มะปรางตอบ

“ใช่แล้วหลาน ไม่เป็นเพยี งแค่ธรรมชาติสร้างมาอย่างเดียวเท่านั้น
แต่มนุษย์หรือชาวบ้านทุกคนก็จะต้องช่วยกันดูแล รักษาธรรมชาติ อย่า
เพียงแค่รบั ผลประโยชน์จากมันเพียงฝ่ายเดียว เราต้องช่วยกันพัฒนาให้
ดียิ่งข้ึน เหมือนกับท่ีน้ีทาให้เราได้เห็นว่า ถ้าหากเราร่วมด้วยช่วยกัน
ดูแลสถานท่ีท่ีสาคัญท่ีถือว่าเป็นบ้านของเราเอง ช่วยกันคนละไม้คนละ
มือ ไม่พัฒนาจนทาให้เกิดความเสียหาย ทุก ๆ อย่างก็จะอยู่กับเราไป
อกี นาน เราก็จะได้ผลตอบรับกลับมาดีนั่นเอง แล้วท่ีน้ีก็ยังเปิดโอกาสให้
ชาวบ้านนาผลิตภัณฑ์ และของดีท่ีเป็นภูมิปัญญาท่ีข้ึนชื่อของอาเภอเรา
มาให้นักท่องเท่ียวได้ชม และได้ซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนอ่ืน ซึ่ง
เป็นการทาอาชีพทีส่ จุ ริต อนรุ ักษภ์ มู ิปัญญาอันดงี ามของบ้านเราเปน็
การสรา้ งรายได้ให้แก่อาเภอเรา และสร้างงาน สรา้ งเงินให้ชาวบา้ น



และทาให้ชาวบ้านมีความขยันทามาหากิน ดาเนินชีวิตได้อย่างไม่
เดือดรอ้ นอกี ด้วยนะ” มะปรางพยกั หน้าอย่างเหน็ ดว้ ย

“จริงค่ะปู่ นุ้ยเห็นด้วย แล้วเขามีไอ้ไหร่ขายบ้างคะปู่ นุ้ยจะซื้อ
กลับไปฝากเพอ่ื น ๆ” มะปรางถาม คณุ ปจู่ ึงตอบกลบั ไปวา่

“ขายลยุ หมดสาวเหอ ไปแลทางโน่นตะ เดียวปู่พาไป” ปู่บอกและ
พาจูงมือกันไปเลือกซือ้ ของ

มะปรางได้คิดในใจวา่ ตวั เองนั้นโชคดีท่ีได้เกิดมาเป็นลูกหลานท่ีแห่งน้ี
สัญญากบั ตัวเองว่าไม่วา่ จะอยู่ในที่แห่งใด ทกุ ๆ ท่นี ั่นคอื บ้าน จงช่วยกัน
ดูแลรักษาให้เหมือนกับบ้านของตน และพัฒนาให้มีความเจริญยิ่งข้ึน
และจงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท่ีดีงามเอาไว้ เพื่อท่ีจะได้ถ่ายทอดให้ผู้อ่ืนหรือ
ชนรนุ่ หลงั ไดร้ ู้ ได้เหน็ ถึงวิถขี องภูมิปัญญาน่ันเอง

(ฐานญิ า วิจติ รโสภา)



อ่านเสริม เติมความรู้

อาบน้าแร่ แช่นา้ ร้อน

บ่อน้าพุร้อน เป็นบ่อน้าท่ีชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า เป็นบ่อน้าท่ีมีความ
ศกั ดิ์สิทธ์ิ เป็นแอง่ น้าร้อนที่มีอุณหภูมิของน้า ประมาณ ๖๐ องศาเซลเซียส มี
สรรพคุณท่ีสามารถรักษาโรคบางชนิดได้ เช่น โรคผิวหนัง โรคอัมพฤกษ์
บรรเทาโรคไขขอ้ และกระดูก บรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย เป็นต้น ซึ่ง
เป็นบ่อน้าพุร้อนตามธรรมชาติท่ีมีคุณประโยชน์แก่ร่างกายของเรามาก จาก
คุณสมบัติท่ียอดเยี่ยมของบ่อน้าพุร้อนเขาชัยสนนั้น จึงได้รับการรับรอง
มาตรฐานแหลง่ ท่องเทย่ี วเชิงสขุ ภาพ จากกรมการทอ่ งเทีย่ วในระดับดีเยีย่ ม

นอกจากนี้การอาบน้าแร่ จะกระตุ้นให้ร่างกายมีระบบไหลเวียนโลหิตท่ีดี
ข้นึ ทาให้ร่างกายมีความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด เมื่อข้ึนจากบ่อน้าร้อน
จะสบายตัว และสดชื่นเป็นอย่างมาก การอาบน้าแร่ แช่น้าร้อนถือเป็น
ทางเลอื กหน่งึ ในการบาบดั สุขภาพไดเ้ ป็นอย่างดี

(สานักงานวฒั นธรรมจงั หวัดพัทลงุ )

๑๐

พ่จี าปา มาเล่าใหฟ้ งั

น้อง ๆ รู้ไหมจ๊ะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นหมายถึงอะไร ถ้าหากน้อง ๆ
ไม่รู้หล่ะก็ วันน้ีพี่จาปาจะมาอธิบายให้ฟังนะคะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายถึง หลักความรู้อันเกิดจากความสามารถ ประสบการณ์ และ
ความเฉลียวฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นของคนในท้องถิ่น โดยเป็นผล
มาจากการส่ังสมประสบการณ์ท่ีผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร
พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน
เพอ่ื นามาใช้ประโยชนใ์ นการดาเนินชีวติ

ธรรมชาติเป็นส่ิงท่ีมีมาก่อนมนุษย์ เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยอยู่
ร่วมกบั ธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ท่ีจาเป็นต่อการ
ดาเนินชีวิต ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน
เชน่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์
แผนไทย เป็นตน้

๑๑

การปรับตัวของมนุษย์ เพ่ือให้เข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จึง
ก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่าง ๆ เช่น การทายาสมุนไพรตารับเงาะป่าของ
ชาวบา้ นในตาบลเขาชยั สน เปน็ การนาสมุนไพรท่ีมีอยู่ในชุมชนมาแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ โดยมีสรรพคุณท่ีช่วยในการป้องกัน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ
และผลิตภัณฑ์จากการแกะหนังตะลุงของชาวบ้านในตาบลเขาชัยสน
เป็นการผลิตเพื่อใช้สาหรับเชิดในการแสดงหนังตะลุง ซึ่งทางกลุ่ม
ชาวบ้านนั้น ได้ทาการแกะรูปหนังตะลุง เพื่อท่ีจะอนุรักษ์ภูมิปัญญา
ดงั้ เดิมไว้

ต่อมาได้พัฒนาต่อยอดการแกะหนังให้เป็นภาพศิลป์ ติดฝาผนังใน
รูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มคุณค่า และ
มูลค่าเพม่ิ ทางเศรษฐกิจจากการแกะหนัง ท้ังน้ี ผลงานแต่ละชิ้นก็ยังแฝง
ไปด้วยเอกลักษณ์ ซึ่งพัฒนามาจากการแกะรูปหนังตะลุง มีการอนุรักษ์
ลวดลายทั้งแบบด้ังเดิม และรูปแบบลวดลายท่ีพัฒนาข้ึนมาใหม่ และมี
การตอกลายที่มีความประณีต งดงามอีกดว้ ย

๑๒

ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
อย่างสมดุล และย่ังยืน มีประโยชน์ต่อการดารงชีวิต ท้ังยังช่วยอานวย
ความสะดวก และช่วยทาให้คนในท้องถิ่นน้ันสามารถพึ่งพาตนเองได้
น่ันเองค่ะ ดังน้ัน เราควรช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทย
รวมถึงถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และนาไปปฏิบัติ เพื่อให้ภูมิ
ปญั ญาไทยอยู่คู่กบั สงั คมตลอดไปนะคะน้อง ๆ

(ฐานญิ า วิจติ รโสภา)

ภาพที่ ๑ ภาพยาสมนุ ไพร : Otop phatthalung

ภาพที่ ๒ ภาพหนังตะลุง : Otop phatthalung

๑๓

คาศัพท์ชวนจา

คา ความหมาย

ขวักไขว่ อาการเคลือ่ นไหวสวนกันไปมา
อย่างสบั สน
จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง จดุ หรือสภาวะทต่ี อ้ งพยายามไป
ให้ถึง, จุดหรอื สภาวะทต่ี งั้ ใจจะให้
บาบดั บรรลุถึง
เชน่ เชน่ การเดนิ ทางครั้งน้มี ี
ประณีต จุดหมายปลายทางทีจ่ งั หวดั พทั ลุง
โผ , คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายใน
ชีวติ
ทาให้คลาย, ทาให้หาย เช่น
บาบดั ทกุ ข์
ทาให้ทเุ ลาลง เชน่ บาบัดโรค
ละเอียดลออ, เรียบรอ้ ยงดงาม

อา้ แขนโถมตัวเขา้ หา

๑๔

คาศพั ทช์ วนจา

คา ความหมาย
ศักดิส์ ิทธ์ิ
ท่เี ชอ่ื ถือวา่ มีอานาจอาจบันดาล
สมดุล ให้สาเร็จไดด้ งั ประสงค์
สรรพคณุ เสมอกัน, เท่ากนั

หตั ถกรรม คุณสมบตั ิของสิง่ ท่เี ปน็ ยา,
คณุ สมบัติ
อนุรกั ษ์ งานช่างที่ทาด้วยมือ โดยถือ
ประโยชนใ์ ช้สอยเป็นหลัก
รกั ษาให้คงเดิม

๑๕

ภาษาใตน้ ่ารู้

คา ความหมาย
แกงไตปลา
แกงนา้ เคย มาก
จงั หู คาสรรพนามบุรุษที่ 1 แทนตัวเอง
นยุ้ หมายถึง ฉัน
ปลาหัวอ่อน
ปลาหวั โบ้ง ทะเล
เล ใช่, ถกู ตอ้ ง
หมัน อรอ่ ย
หรอย อะไร
ไอ้ไหร่

๑๖

หลักวิชาการนา่ รู้

การอา่ นรอ้ ยแก้ว
การอา่ นออกเสยี งรอ้ ยแก้ว

กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช (2559 : หน้าท่ี ๔๕-๕๐) ได้กล่าวว่า
การอา่ นออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง เป็นการถ่ายทอดตัวอักษรออกมา
เป็นความคิด แล้วจึงถ่ายทอดความคิดนั้นออกมาเป็นน้าเสียง โดยเป็น
การส่ือสารท่ีถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และอารมณ์ของ
ผู้ประพันธ์ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหน่ึง โดยอาศัยอารมณ์ น้าเสียง
และสีหน้าท่าทางของผู้อ่าน เป็นส่ือกลางเพ่ือส่งไปยังผู้ฟัง เพ่ือให้รับรู้
เข้าใจ เข้าถึงเน้ือหาของตัวบท และอารมณ์ของผู้พูด โดยการอ่านร้อย
แก้วมีท้ังการอ่านออกเสียง และการอา่ นในใจ

๑๗

การอา่ นรอ้ ยแกว้ แบบอา่ นออกเสยี ง
เป็นการอ่านหนังสือท่ีมีทานองแต่งเป็นร้อยแก้ว ซึ่งหมายถึง

หนังสือท่ีเป็นความเรียงเป็นถ้อยคาธรรมดา โดยการอ่านถ้อยคาท่ีมีผู้
เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ ด้วยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้
เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเร่ืองท่ีอ่าน เพ่ือถ่ายทอด
อารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทาให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับ
เรื่องราว
การอา่ นรอ้ ยแก้วแบบอา่ นในใจ

เป็นการอ่านถ้อยคาท่ีมีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยท่ีผู้อ่าน
ไม่ได้เปล่งเสียงออกมา เป็นการอ่านเพื่อเก็บใจความสาคัญเพ่ือทา
ความเข้าใจเน้ือหา ท้ังน้ี การอ่านในใจเป็นการอ่านเพ่ือแสวงหาความรู้
ความบันเทิง การอ่านในใจจะช่วยให้เข้าใจเน้ือความได้เร็วกว่าการอ่าน
ออกเสยี ง

๑๘

หลักเกณฑใ์ นการอา่ นออกเสยี งร้อยแก้ว
๑. ศึกษาเร่ืองท่ีอ่านให้เข้าใจ เพื่อให้ทราบถึงสาระสาคัญของเร่ือง

อารมณ์ และความรู้สึกท่ีผู้เขียนตั้งใจจะส่ือให้ผู้อ่านทราบ แล้วแบ่ง
วรรคตอนในการอ่านให้ถกู ต้อง

๒. ศึกษาหลักการอ่านคาในภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
โดยเฉพาะ ร ล คาควบกลา้ การอา่ นคาที่นิยมมาจากภาษาต่างประเทศ
ตอ้ งอ่านให้ถูกต้องโดยยึดพจนานุกรม ตอ้ งออกเสยี งให้ชัดเจน

๓. ต้องมีสมาธิในการอ่าน คือ ต้องมีความม่ันใจตัวเอง ไม่อ่านผิด
อ่านตก อ่านเติม หรืออ่านผิดบรรทัด ควรกวาดสายตามองตัวอักษร
สลับกับการเงยหน้าข้ึนมาสบตากับผู้ฟัง ในลักษณะท่ีเหมาะสม และดู
เป็นธรรมชาติ

๔. อ่านด้วยน้าเสียงท่ีเป็นธรรมชาติ คือ การอ่านให้มีน้าเสียง
เหมือนเสียงพูด ออกเสียงให้ชัดเจน ไม่ดัดเสียงหรือใช้เสียงแหลมเกินไป
เน้นเสียงหนัก-เบา สูง-ต่า ตามน้าหนักความสาคัญของใจความ ให้
เป็นไปตามธรรมชาติโดยสอดคลอ้ งกบั เรือ่ งท่ีอา่ น

๑๙

๕. อ่านออกเสียงให้ดังพอประมาณ ไม่ตะโกนหรือเสียงแผ่วจนเกินไป
หากอ่านเสียงดังผ่านไมโครโฟนควรให้ปากห่างจากไมโครโฟน และ
ระมดั ระวังอย่าให้เสยี งหายใจเขา้ ไมโครโฟน

๖. อา่ นเวน้ วรรคตอนให้ถูกต้อง เป็นการกาหนดการอ่านให้เหมาะสม
ไม่อ่านเร็วหรือช้าจนเกินไป ต้องอ่านให้จบคา และจบความ ถ้าหากเป็น
คาท่ยี าวหรือเปน็ คาท่มี ีหลายพยางค์ ไม่ควรหยุดกลางคาหรือตัดประโยค
จนเสยี ความ

๗. อ่านอย่างมีลีลา และอารมณ์ตามเน้ือเร่ืองท่ีอ่าน คือ เน้นคา
สาคัญ และคาท่ีต้องการ เพ่ือให้เกิดภาพพจน์หรือจินตนาการ ควรเน้น
เฉพาะคาไม่ใช่เนน้ ทั้งวรรคหรือเน้นทง้ั ประโยค

๘. อ่านเคร่ืองหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง เช่น คาท่ีใช้อักษรย่อต้อง
อา่ นให้เต็มคาดังตัวอย่าง

“คณะกรรมการแม่บ้าน ทบ. ลงพนื้ ทีช่ ว่ ยเหลือผู้ประสบภยั น้าทว่ ม”
ต้องอ่านออกเสียงว่า “สมาคมแม่บ้านกองทัพบก ลงพื้นท่ีช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยน้าทว่ ม”

๒๐

๙. การผ่อนลมหายใจ เมื่ออ่านจบย่อหน้า ควรผ่อนลมหายใจ
เล็กน้อย เมื่ออ่านย่อหน้าใหม่จึงเน้นเสียงหรือทอดเสียง เพื่อดึงดูดความ
สนใจ จากน้ันก็อ่านตามปกตติ ามเน้อื หาทอ่ี า่ น

๑๐. การจับหนังสือ ควรวางหนังสือหรือบทอ่านบนฝ่ามือซ้าย ยกข้ึน
ให้ได้ระดับตามความเหมาะสม มือขวาคอยพลิกหนังสือหน้าถัดไป ไม่
ควรใช้น้ิวชี้ตามตัวหนังสือ และท่ายืน ควรยืนอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ก้มหน้า
หรือเงยหนา้ จนเกนิ ไป

ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว การแบ่งวรรคตอนการอ่านเป็นอีก
ประเด็นสาคัญ ก่อนท่ีจะเริ่มต้นการอ่านออกเสียง ผู้อ่านจะต้องอ่านในใจ
และกาหนดวรรคตอนให้ถูกต้องตามความหมายท่ีผู้เขียนต้องการส่ือสาร
โดยกาหนดสัญลักษณ์เพ่ือแสดงให้เห็นถึงการแบ่งวรรคตอนในการอ่าน
ดังน้ี

เคร่ืองหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค ส้ันหรือการหยุดเว้นช่วง
จงั หวะส้ัน ๆ

๒๑

เคร่ืองหมาย // หมายถึง การเว้นวรรคยาวหรือการหยุดเว้นช่วง
จงั หวะทีย่ าวกวา่ เครือ่ งหมาย /

เครอ่ื งหมาย _ (ขดี เสน้ ใต้) หมายถึง การเนน้ หรือการเพิ่มน้าหนักของ
เสียง

เครอ่ื งหมาย ↘ หมายถึง ระดับเสยี งต่าลง
เคร่อื งหมาย ↖ หมายถึง ระดบั เสยี งสูงข้นึ
ปัจจยั สาคญั ในการอ่านร้อยแก้ว
ความเข้าใจสาระของบทอา่ น
ก่อนจะอ่านให้ผู้อ่ืนฟัง เราต้องอ่านข้อความนั้นให้เข้าใจเน้ือหา
เสียก่อน เพื่อจะได้ปรับน้าเสียง และกิริยาอาการให้สอดคล้องกับบทอ่าน
รวมถึงสามารถออกเสยี งคาได้อย่างถกู ต้อง ชดั เจน
ความพร้อมทางร่างกาย และจติ ใจ
สุขภาพถือเป็นส่ิงท่ีมีความสาคัญ และมีผลต่อการอ่าน ผู้ท่ีสามารถ
อ่านได้น่าฟัง จะต้องเป็นผู้ท่ีสุขภาพท่ีดี คือ ไม่เหน็ดเหน่ือย ไม่ว้าวุ่น
สบั สนหรอื ตื่นเต้นเกินไปในขณะท่ีอา่ น

๒๒

คณุ ภาพของเสียง
๑. การอ่านชา้ หรอื เร็วจะขึน้ อยู่กับเน้ือหาของบทท่ีอ่าน เร่ืองท่ีเข้าใจง่าย

นนั้ อาจจะทาให้อ่านได้เร็วกว่าเรื่องเขา้ ใจยาก
๒. ความดังในการเปล่งเสียง จะข้ึนอยู่กับจานวนผู้ฟัง และสถานท่ีเป็น

สาคัญ ไม่ควรตะโกนในการอ่าน นอกจากเน้นเสียงหรือบังคับความดังของ
เสียงให้สอดคลอ้ งกับความหมาย และความรู้สึกในบทที่อา่ น

๓. ควรปรับระดับเสียงให้สอคล้องกับความหมายของข้อความ หากใช้
เสียงระดับเดียวกันตลอด จะทาให้ผู้ฟังเกิดความเบ่ือหน่าย ดังนั้น จึง
จะต้องมีการใช้เสยี งสงู บ้าง ตา่ บา้ ง ในการอา่ นอย่างเหมาะสม

๒๓

มารยาทในการอ่าน
ผู้อ่านทด่ี คี วรมีมารยาทในการอ่าน ดังน้ี
๑. ไม่อ่านเสยี งดังรบกวนผู้อ่ืน
๒. มีสมาธจิ ดจอ่ ต่อสง่ิ ที่อา่ น และไม่เลน่ กนั ในขณะที่อ่าน
๓. วางท่าทางทีถ่ ูกต้อง เหมาะสมในขณะท่ีอา่ น
๔. ไม่ทาลายหนังสือหรือทาหนงั สอื ให้ชารดุ เสยี หาย เจ้าของหนังสือ

อาจขีดเส้นเน้นข้อความสาคัญลงในหนังสืออย่างเรียบร้อยได้ แต่ถ้า
หากเปน็ หนังสือสว่ นรวมหรอื หนงั สอื ท่ขี อยืมมาไม่ควรขดี เขียน

๒๔

ตัวอย่างการแบง่ วรรคตอนในการอา่ นออกเสยี งรอ้ ยแก้ว
บทอ่านรอ้ ยแกว้ เรื่อง เกวยี นชรา

เกวียนโขยกขลุกขลักไปอย่างเชื่องช้า/เสียงเพลาเสียดสีไปกับดุม/ดัง
เสียงแหลมเล็ก/สลับกับเสียงกระด่ิงวัว/ดังตามจังหวะการก้าวเดินของวัว
ชราสองตัวนั้น/ฟังเป็นเพลงมาร์ชประจาทุ่ง/ท่ีมีตัวโน้ตธรรมชาติเป็นผู้
กาหนดทานอง//บางคร้ัง/มนั ฟังดูเศร้าซึม/เหมือนอย่างเสียงของเกวียนเล่ม
น้ี//ชายชราน่ังขยับไม้แส้อยู่บนเกวียน/แกแกว่งไม้อยู่กลางอากาศ/ขณะไล่
วัวด้วยเสียงแหบพร่า/แกคงไม่กล้าเอาไม้แส้แตะหลังวัว/ให้มันระคายเคือง
และเจ็บปวดใจ/สังขารอันร่วงโรยของไอ้แก้วไอ้ไหม/วัวคู่ยากก็ไม่ต่างจาก
เจ้าของมากนัก//หนังหย่อนยานรัดรูปลงไปโชว์กระดูก/เรี่ยวแรงของมัน
ค่อยหมดลงไป/จนเกือบจะลากขาตนเองไม่ไหว//ถ้าแกม่ังมีหรือพอมีใช้/ก็
จะปลดเกษียณให้วัวคู่ยาก/มันได้พักผ่อนยามชราบ้าง//แต่มันจนใจ/เพราะ
แม้แต่ตัวแกเองก็ยังไม่ได้พัก/แม้ย่างเข้า ๖๕ แล้ว/ชีวิตท่ีเข้มข้นเมื่อตอน
หนุ่มๆ/ได้กลายเป็นความหลังอันยืดยาว/มีนิยายชีวิตที่เล่าให้ลูกหลานฟัง
ไดห้ ลายวนั หลายคนื กว่าจะจบ//

๒๕

ตะวนั คล้อยตา่ ลงไป/พาดยอดไม้ชายทุ่งโนน่ แลว้ /ววั เดินช้าลงๆ//เหมือนมัน

จะล้มลง/ส้ินใจตายเสียก่อนถึงท่ีหมาย/แกหันมามองดูฟืนในเกวียน//แล้ว

หันไปมองวัว/รู้สึกสงสารไอ้แก้วไอ้ไหมจนหัวใจสะท้อน//แกรู้ดีว่า/มัน

เหน่ือยสายตัวแทบขาด//แม้แต่แกน่ังมาบนเกวียน/ยังเหน่ือยเพลียจนจะ

หมดแรง//แกหยิบฟืนโยนทงิ้ ข้างทางเสียสองสามดุ้น//

ไอ้แก้ว/ไอ้ไหม/อยู่กับแกมาตั้งแต่เป็นวัวรุ่นหนุ่ม/ยังไม่รู้งาน//แกจาได้

ว่า/วันแรกเอาไอ้วัวหนุ่มสองตัวเทียมเกวียน/มันต่ืนพาแกวิ่งไปตลอดทุ่ง//

กว่าจะฝึกให้บ่ามันเคยแบกเกวียนได้ต้องใช้เวลานาน//พอมันเป็นวัวหนุ่ม

ฉกรรจ์งานคล่อง/เทียมเกวียนลัดอ้อมยังไม่ทันเสร็จ//มันก็วิ่งกรากราวกับ

ม้ายนต์/ไม้แสไ้ ม่เคยใช้เลย/ทง้ั เวลาไถนาและลากเกวยี น

ชีวิตของชาวนาจน ๆ อย่างลุงอ่า/ต้องด้ินรนอยู่กลางทุ่งนาอันเปล่า

เปล่ียว//ยิ่งห่างไกลความเจริญมากเท่าไร/มือกฎหมายก็เข้าไปไม่ถึง/

กลายเป็นกฎหมู่/กฎนักเลง//ต้องพึ่งตัวเอง/พึ่งพี่น้อง//ชีวิตท่ีซื่อ/ราบเรียบ

เป็นเส้นตรงของแก/ไม่มีอานาจพอจะเป็นท่ีเกรงใจของใคร//นักเลงไม่เคย

กลวั ความดี/มนั กลวั ปืน//

(เกวียนชรา : นิมิตร ภูมถิ าวร)

๒๖

กิจกรรมทา้ ยบท

๑. ให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงร้อยแก้วจากตัวบท อ่านเสริม เติมความรู้
ให้ถูกต้อง

๒. ให้นักเรียนแบ่งวรรคตอนในการอ่านออกเสียงร้อยแก้วจากตัวบท
ดงั ตอ่ ไปนี้ ให้ถูกต้อง

บทอ่านรอ้ ยแก้ว เรื่อง ชาติก้าวไกลดว้ ยคนไทยรกั การอา่ น
ในปจั จบุ นั กล่าวกันวา่ เรากาลงั อยู่ในยุคโลกาภิวตั น์ หรือเรียกอีกอย่างว่า
โลกไร้พรมแดน แต่จะเรียกอย่างไรก็ตามเถิด การอ่านก็เป็นกระบวนการ
สาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนในทศวรรษน้ีเพราะโลกของการศึกษามิได้
จากัดอยู่ภายในห้องเรียนท่ีมีลักษณะรูปทรงส่ีเหล่ียมแคบ ๆ เท่านั้น แต่
ข้อมูลข้าวสารสารสนเทศต่างๆ ได้ย่อโลกให้เล็กลงเท่าท่ีเราอยากรู้ได้
รวดเร็ว ในชั่วลัดน้ิวมือเดียวอย่างท่ีคนโบราณกล่าวไว้ จะมีส่ือให้อ่านอย่าง
หลากหลายให้เลือกท้ังส่ือส่ิงพิมพ์ท่ีเราคุ้นเคยไปจนส่ืออิเล็กทรอนิกส์ท่ี
เรียกว่า "อนิ เทอร์เนต็ " เพราะการต่อสรู้ ุกรานกนั ของมนษุ ย์ยคุ ใหม่จะใช้

๒๗

ข้อมูล สติปัญญา และคุณภาพของคนในชาติ มากกว่าการใช้กาลังอาวุธ
เข้าประหัตประหารกัน หากคนในชาติด้อยคุณภาพ ขาดการเรียนรู้จะถูก
ครอบงาทางปัญญาได้งา่ ย ๆ จากสอ่ื ต่าง ๆ จากชาติที่พัฒนาแล้ว

หากคนไม่อ่านหนังสือก็ยากท่ีจะพัฒนาสติปัญญา และความรู้ได้
โดยเฉพาะประเทศท่ีกาลังพัฒนาจะต้องทุ่มเทให้คนมีนิสัยรักการอ่าน มี
ทักษะในการอ่านและพัฒนาวิธีการอ่านให้เป็นนักอ่านท่ีดี นักอ่านท่ีดีจะมี
ภูมิคุ้มกันการครอบงาทางปัญญาได้เป็นอย่างรู้เท่ากันคน และสามารถ
แก้ปญั หาได้ดี

(ชาติก้าวไกลด้วยคนไทยรักการอา่ น : มานพ ศรีเทียม)

๓. ให้นักเรียนทาแผนผังความคิดสรุปความรู้ท่ีได้รับจากเร่ืองการอ่าน
ออกเสยี งร้อยแก้ว

หนว่ ยการเรยี นรูท้ ี่ ๒

สืบสานแหผ่ ้าวดั เขยี น

ตัวชีว้ ัด
ท ๔.๑ ม.๑/๔ วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูด และภาษาเขียน

มโนทศั น์
เร่ืองราวเกี่ยวกับประเพณีท่ีสาคัญของอาเภอเขาชัยสน คือ ประเพณีแห่

ผ้าขนึ้ ธาตุ อธบิ ายถึงประวตั คิ วามเป็นมาวดั เขียนบางแก้ว ท่ีมาของประเพณี
และองค์ประกอบของพิธีท่ีได้สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยนาเสนอ
เรือ่ งราวผ่านการเลา่ แบบนทิ าน

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
1. เพื่อรแู้ ละเข้าใจประวัตคิ วามเป็นมาของประเพณีแห่ผ้าห่มพระบรมธาตุ

เจดีย์วัดเขยี นบางแก้ว
2. เพ่อื ให้นกั เรยี นเปรียบเทยี บภาษาพูด และภาษาเขยี นได้
3. เพ่อื รู้ และเข้าใจ สามารถพดู และเขียนภาษาไทยได้ถกู ตอ้ งและ

เหมาะสม

๒๙

สืบสานแหผ่ ้าวดั เขียน

ปู๊นน..ปู๊นน..ฉึกฉัก..ปู๊นน..ปู๊นน เสียงรถไฟท่ีกาลังแล่นผ่าน ขณะน้ี
มะปราง และครอบครัวกาลงั มุ่งหน้าสสู่ ถานทอ่ี นั ศักด์ิสิทธ์ิ อยู่คู่บ้านคู่เมือง
เขาชัยสน และชาวจังหวัดพัทลุงมาอย่างยาวนาน น่ันก็คือ วัดพระบรมธาตุ
เจดีย์เขยี นบางแก้วหรอื ท่ชี าวบา้ นเรียกว่า วัดเขยี นบางแก้ว น่นั เอง

“ปู่คะ วัดเขียนบางแก้วสร้างมานานแล้วหม้ายคะ” มะปรางถามด้วย
สงสยั

“สร้างมานานแล้วสาวเหอ แรกคราวท่ีปู่มาอยู่ท่ีน่ี วัดเขียนก็มีอยู่นาน
แล้ว ถ้าตามตานานท่ีเล่าต่อ ๆ กันมาว่า สร้างข้ึนมาแรกปีพุทธศักราช
๑๔๘๒ ท้ังโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ เสร็จในปีพุทธศักราช ๑๔๙๐ วัดเขียน
บางแก้ว เป็นวัดท่มี ีมาต้ังแต่สมัยบรรพบุรุษเป็นพันหวาปีมาแล้ว มีส่ิงท่ีเป็น
มรดกทางวัฒนธรรมท่ีลุยเสียหมด เช่น พระธาตุเจดีย์ ท่ีบรรจุอัฐิ
พระพทุ ธเจ้า รูปปัน้ พระนางเลอื ดขาว แม่ทวดวัดเขยี นบางแก้ว

๓๐

หลักเมืองพัทลุงเก่า บ่อน้าศักด์ิสิทธ์ิ วิหารถือน้าพิพัฒน์สัตยา พิพิธภัณฑ์
สถานของชาติวัดเขียนบางแก้ว โบสถ์ โอะ..ลุยหมด เดียวสาวก็เห็นเอง
เราไปแลกนั ท่นี นู่ หวานะสาวนะ” ปตู่ อบ

“แห่ผ้า คอื ไอไ้ หร่ แล้วเขาแห่ไซร่อะป”ู่
“มา ๆ มานงั่ ตรงน้ี ปู่จะเล่าให้ฟัง ประเพณีแห่ผ้าห่มธาตุ ก็คือ เป็นการ
แห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระพุทธเจ้า โดยการนาข้ึนห่มโอบล้อมรอบองค์
เจดีย์ ถ้าตามความเชื่อแล้ว คนจะเชื่อว่าการทาบุญ และการกราบไหว้
บชู าทีใ่ ห้ไดก้ ุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบตั ใิ ห้ใกล้ชดิ กับพระพุทธเจ้าให้มากท่ีสุด
ถึงแม้วา่ พระพทุ ธเจ้าทา่ นจะปรินิพพานไปแล้ว แต่คนก็ได้สร้างสัญลักษณ์
ของท่านอยู่ ท้ังท่ีเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูปน่ันแหละ การได้มา
กราบไหว้บูชาสัญลักษณ์น้ี ก็เหมือนเป็นการกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า
โดยตรง คนจึงเชื่อกันมาว่า การนาผ้าไปบูชาเจดีย์ ถือเป็นการใกล้ชิดกับ
พระพุทธเจ้านั่นแหละสาว” คุณปู่อธิบายให้มะปรางฟังอย่างตั้งใจ
มะปรางยมิ้ และตอบกลับว่า

๓๑

“ออ่ ถ้าเปน็ พันน้ีเราก็สามารถปลูกฝงั ให้คนได้หันมาเข้าวัดทาบุญ
และยังช่วยอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของเราไว้ได้ด้วย หมันหม้ายคะปู่”
มะปรางถาม

“หมนั แล้วสาวเหอ งานประเพณีแห่ผ้าห่มธาตุ จัดยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี
อยากให้คนได้มาแสดงความเคารพบูชาสถานท่ีสาคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็น
การสืบสาน การสง่ เสรมิ ฟื้นฟู อนุรกั ษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นเท่าน้ี
ยังไม่พอนะหลาน ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์ และ
วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นของเรา ประเพณีน้ีเป็นประเพณี
และวัฒนธรรมท่ีสวยงามของชาวเขาชัยสน ชาวพัทลุงเรา ท่ีเหมาะสม
และควรคา่ ในการอนรุ ักษ์ และไดส้ บื ทอดไว้ใหร้ นุ่ ลูก รุ่นหลานโหมสูได้แล
ได้ทาต่อไป เพราะพันน้ีแล้ว หลานอย่าหลงลืมตัว นาวัฒนธรรมดี ๆ
อย่างน้ีไปเผยแพร่ให้คนอ่ืน ๆ ได้รู้ ว่าบ้านเราก็มีดีไม่แพ้ใคร อย่าหลง
ระเริงไปกบั ค่านยิ มใหม่ ๆ จนหลงลมื วัฒนธรรมบ้านเรานะสาวนะ เข้าใจ

หม้าย”

๓๒

“เข้าใจแล้วค่ะคุณปู่สุดหล่อ นุ้ยจะไม่หลงลืมวัฒนธรรมบ้านเกิด
ของตนเอง จะนาไปเผยแพร่ และสืบทอดให้รุ่นต่อ ๆ ไปได้เห็นส่ิงท่ีบรรพ
บุรุษได้สร้างข้ึน และสืบทอดต่อกันมาแน่นอน นุ้ยสัญญาเลยเจ้าค่ะ”
มะปรางตอบด้วยรอยยิ้มท่ีสดใสของเธอ คุณปู่ก็ยิ้มรับด้วยความเอ็นดู
หลานสาว และรู้สึกดีใจท่ีหลานของตนยังคงรักในความเป็นเอกลักษณ์
ทอ้ งถิ่นของบ้านเกิดของตน และไม่หลงลืมวฒั นธรรมที่ดีงามเหลา่ นี้

“น่หี วันกม็ ุ๊งมิง๊ แล้ว สาวอยากไปไหนเหลย พ่อจะพาลกู ไป”
“หลบเรินเลยก็ได้ค่ะ แต่ว่าปู่คะ ตอเดียวเราไปเดินเล่นท่ีสวนศิลป์
กันดีหม้ายคะ” มะปรางพดู
“ได้สิ ถ้าสาวอยากไป เดียวปู่จะพาไป”
“เย้” มะปรางเผลอตะโกนอกี ครง้ั
“เอาแลว้ ลา่ วนะ เสียงดังอีกแล้ว” แม่หันมาดมุ ะปราง
“ฮา่ ๆ นยุ้ ขอโทษ สงสยั นุ้ยคงตน่ื เตน้ มากไปเหมือนที่พอ่ วา่ นัน่ แหละ
มาแล่นไปแล้วลา่ ว”

๓๓

ทุกคนต่างพากันหัวเราะ และแสดงรอยยิ้มอย่างมีความสุข
ถึงแม้ว่าวันน้ีจะเป็นวันท่ีเหน่ือยล้าจากการเดินทางไปตามสถานท่ีต่าง ๆ
แต่ทุกคนก็มีความสุข และยินดีท่ีได้เดินทางไปเห็นสถานท่ี วัฒนธรรมท่ีดี
งามในบ้านเกิดของตนอย่างสุดจะบรรยาย นับว่าเป็นความสุขเล็ก ๆ
ความทรงจา และเร่ืองราวท่ีดีท่ีครอบครัวของมะปรางจะเก็บไว้นึกถึง
ตลอดไป

(ฐานญิ า วิจติ รโสภา)

๓๔

อ่านเสรมิ เตมิ ความรู้

เล่าขานเรอ่ื ง พระบรมธาตุเจดีย์

พระบรมธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว มีตานานพ้ืนเมืองเล่าขานต่อ ๆ
กันมาวา่ เจ้าพระยากุมารกับพระนางเลอื ดขาวนั้น เป็นผู้สร้างพระบรมธาตุ
เจดีย์ขึ้น เสร็จแล้วให้จารึกเร่ืองราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคา ท่ี
เรียกว่า เพลาวัด สร้างเสร็จเมื่อปี พุทธศักราช 1492 และต่อมาในปี
พุทธศักราช 1493 เจ้าพระยากุมาร และพระนางเลือดขาวได้อัญเชิญ
พระบรมสารีรกิ ธาตุจากเกาะลังกา มาบรรจุไวใ้ นพระมหาธาตเุ จดีย์

ภาพที่ ๓ ภาพพระธาตเุ จดยี ์วดั เขียนบางแก้ว : www.thairath.co.th

๓๕

พระบรมธาตเุ จดีย์มีการประกอบสร้างพืน้ ทีศ่ กั ดิ์สิทธ์ิผ่านเร่ืองเล่า และ
ตานาน โดยชาวบ้านเชื่อว่าพระนางเลือดขาวเป็นคนสร้างพระบรมธาตุ
เจดีย์ข้ึนมา พระบรมธาตุเจดีย์มีรูปแบบสถาปัตยกรรมท่ีสวยงาม นับว่ามี
ความสาคัญกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสถานท่ียึดเหน่ียวทาง
จิตใจของชาวบ้าน มีประเพณี และวัฒนธรรมท่ีเป็นมรดกตกทอดของ
บรรพบุรุษท่ีสืบเน่ือง และปฏิบัติต่อกันมาแต่สมัยโบราณ อีกท้ังยังเป็น
สถานท่ศี ักดิ์สิทธ์ทิ ช่ี าวบา้ นให้ความเคารพนบั ถือ

(นมิ ิตชัย ชูป,ู ๒๕๕๙)

ภาพที่ ๔ ภาพพระธาตุเจดยี ์วดั เขียนบางแก้ว : www.thairath.co.th

๓๖

พจ่ี าปา มาเล่าใหฟ้ งั

น้อง ๆ คะ วันข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๓ ของทุกปี สาหรับชาวพุทธจะเป็นท่ี
รับรู้กันดีว่าเป็น “วันมาฆบูชา” ตามหลักพระพุทธศาสนาได้บอกว่า เป็น
วันท่ีมีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ท่ีเรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ซึ่ง
เป็นวันท่ีพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็น
ครง้ั แรก ให้พระสงฆ์ได้นาไปประพฤติปฏิบัติ วันมาฆบูชา นอกจากชาวพุทธ
จะทาบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ก่อนเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในช่วงค่าแล้ว
น้ัน สาวพัทลุงอย่างพี่จาปาก็ยังมีประเพณีทางศาสนาอันดีงามของจังหวัด
พัทลุง ท่ีปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น มาบอกเล่าน้อง ๆ ด้วยนะ
คะ น่ันคอื การ “แห่ผ้าห่มพระธาตวุ ัดเขียนบางแก้ว” นั่นเองจ้า

ภาพที่ ๕ ภาพการแห่ผ้าขึน้ ธาตุ : www.thairath.co.th

๓๗

โดยประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเริ่มจากพิธี
บวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์ พธิ กี วนข้าวมธุปายาส (ยาคู) การแห่ผ้าพระบฏ
ทางน้า และทางบก การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน มโนราห์ เพลงบอก
ลิเกป่า และหนังตะลุงจากคณะต่าง ๆ ตลอดท้ังการแห่ผ้าข้ึนห่มพระบรม
ธาตุเจดีย์ นับเป็นเอกลักษณ์ เป็นประเพณี และวัฒนธรรมท่ีสวยงามของ
ชาวพัทลุง ท่ีควรค่าในการอนุรักษ์ และสืบทอดไว้ให้ลูกหลานต่อไปนั่นเอง
คะ่ น้อง ๆ

(นมิ ิตชยั ชูปู, ๒๕๕๙)

ภาพที่ ๖ ภาพการแสดงมโนราห์
: www.thairath.co.th

ภาพที่ ๗ ภาพการกวนข้าวมธปุ ายาส : www.thairath.co.th

๓๘

คาศัพทช์ วนจา

คา่ นิยม คา ความหมาย
เจดีย์
ตะเบ๊ะ สง่ิ ทีบ่ ุคคลหรอื สงั คมยึดถือเป็น
ตานาน เครอ่ื งช่วยตัดสินใจ และ
ตาหนิ กาหนดการกระทาของตนเอง
ส่ิงซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มี
ยอดแหลม บรรจุสง่ิ ที่นับถือมีพระ
ธาตุ
ทาความเคารพอย่างคนใน
เครอ่ื งแบบ คอื ทาวันทยหัตถ์
เร่ืองราวท่ีเล่าสืบกันมา แสดง
ความเป็นมาแต่ก่อนของสถานท่ี
บุคคล หรือพิธีกรรม
ตวิ ่าบกพรอ่ ง

๓๙

คาศัพทช์ วนจา

คา ความหมาย
บรรพบรุ ษุ
ผู้เป็นต้นวงศต์ ระกูลซ่งึ มีผู้สบื
เพลา สายโลหิตมา, บคุ คลท่นี ับตงั้ แต่
ปยู่ ่าตายายข้นึ ไป
มรดก ชือ่ กระดาษสาชนดิ บาง โบราณใช้
ระเริง ร่างหนังสอื ดว้ ยดินสอดาหรือใช้
สารวม ประโยชนอ์ ย่างอ่นื เชน่ ใช้ปดิ หุ่น
หัวโขน เรียกว่า กระดาษเพลา
สง่ิ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรษุ
หรือท่สี บื ทอดมาแตบ่ รรพกาล
ร่าเริงบนั เทิงใจ, สนกุ สนานเบิก
บาน
ระมดั ระวงั


Click to View FlipBook Version