The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

1. ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจร
1.1 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ (มาตรา 209)
1.2 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210)
1.3 ความผิดฐานประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 211)
1.4 ความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 212)
1.5 การลงโทษกรณีสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรได้กระทำความผิด (มาตรา 213)
2. ความผิดฐานช่วยผู้กระทำความผิดเป็นปกติธุระ (มาตรา 214)
3. ความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม
3.1 ความผิดฐานมั่วสุม (มาตรา 215)
3.2 ความผิดฐานไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก (มาตรา 216)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Salinee Wongpipan, 2022-09-15 21:48:50

ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

1. ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจร
1.1 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ (มาตรา 209)
1.2 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210)
1.3 ความผิดฐานประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 211)
1.4 ความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 212)
1.5 การลงโทษกรณีสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรได้กระทำความผิด (มาตรา 213)
2. ความผิดฐานช่วยผู้กระทำความผิดเป็นปกติธุระ (มาตรา 214)
3. ความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม
3.1 ความผิดฐานมั่วสุม (มาตรา 215)
3.2 ความผิดฐานไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก (มาตรา 216)

กฎหมายอาญา

ความผิดเกี่ยวกับ
ความสงบสุข
ของประชาชน

จัดทำโดย
นางสาวอภิชญา ทิมแก้ว
รหัสนิสิต 641081396 (S104)

เสนอ
อาจารย์วีณา สุวรรณโณ



มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

คำนำ

หนังสือเล่มนี้ (E-BOOK) เป็นส่วนหนึ่งของรหัสวิชา 0801241
รายวิชากฎหมายอาญา ภาคความผิด เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องความ
ผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือผู้


ที่กำลังศึกษาหรือสนใจในข้อมูลเรื่องดังกล่าว
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) จะ

เเปกิ็ดนผหลนัสงัมสืฤอทที่ธสิ์ตร้าางมคควาาดมหรู้คว
ังวามเข้าใจให้กับผู้อ่านและสามารถนำไปใช้ให้

ผู้จัดทำ
นางสาวอภิชญา ทิมแก้ว

สารบัญ

1. ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจร 1-5
1.1 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ (มาตรา 209) 5-8
1.2 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210) 8-9
1.3 ความผิดฐานประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 211) 10-11
1.4 ความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 212) 12-14
1.5 การลงโทษกรณีสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรได้กระทำความ
15-16
ผิด (มาตรา 213)
2. ความผิดฐานช่วยผู้กระทำความผิดเป็นปกติธุระ (มาตรา 214) 17-20
3. ความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม 21-23

3.1 ความผิดฐานมั่วสุม (มาตรา 215) 24
3.2 ความผิดฐานไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก (มาตรา 216)

บรรณานุกรม

ความผิดเกี่ยวกับ
ความสงบสุขของประชาชน

มาตรา 209-216

ลักษณะ 5 1

ความผิดเกี่ยวกับ
ความสงบสุขของประชาชน

การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นเป้าหมายหลักของกฏหมายอาญา โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการรักษาความสงบสุขซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐในการสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่า
จะใช้ชีวิตได้โดยปกติสุข การกระทำที่อาจกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนที่สำคัญ
ได้แก่ การรวมตัวกระทำความผิดทั้งที่เป็นการสมคบกันทั่วๆไป จนถึงขั้นเป็นองค์กร
อาชญากรรม การรวมตัวดังกล่าวอาจสร้างความเสียหายแก่รัฐและสร้างความหวาดกลัวให้
แก่ประชาชนอย่างมาก ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องป้องปรามด้วยการกำหนดความผิดและโทษ
สำหรับบุคคลที่สมคบกันหรือเป็นสมาชิกของสมาคมลับหรือองค์กรอาชญากรรมตลอดจนผู้
เกี่ยวข้องแม้ว่าการลงมือกระทำความผิดตามที่สมคบกันยังไม่เกิดขึ้นเลยก็ตาม

ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชนไว้
จำนวน 8 มาตรา ซึ่งจำแนกเป็น 3 ฐานความผิดใหญ่ๆ ได้แก่ ฐานความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่
และซ่องโจร(มาตรา 209 จนถึงมาตรา 213) ฐานความผิดเกี่ยวกับการช่วยผู้กระทำความผิด
เป็นปกติธุระ (มาตรา 214) และฐานความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม (ตามมาตรา 215 และ
มาตรา 216)

2

1.ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจร

ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจรมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดทั่วไป
ตรงที่ทั้งสองฐานความผิดจะลงโทษผู้ที่ยังไม่ทันได้กระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้เลย
แต่กฎหมายอาญาได้กำหนดให้เป็นความผิดตั้งแต่การเป็นเพียงสมาชิกของกลุ่มองค์กรที่
อาจกระทำการอันมิชอบด้วยกฏหมายหรือเพียงแต่สมคบกันเพื่อกระทำความผิดเท่านั้น
ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนตระเตรียมการหรือลงมือกระทำความผิด ทั้งนี้เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิด
การกระทำความผิดที่อาจส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามมาได้

1.1 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ (มาตรา 209)
ก.บทบัญญัติ

มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่ง

หมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฏหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น

ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท




ข.องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใด

(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคล

(3) ปกปิดวิธีดำเนินการ

(4) มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

ข.2 องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

3

ค. เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง รับโทษหนักขึ้นถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มี
ตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น

ง. คำอธิบาย
ง.1 เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
“เป็นสมาชิกของคณะบุคคล” หมายความว่า เป็นสมาชิกของกลุ่มบุคคลตั้งแต่สอง

คนขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรที่สมาชิกมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เช่น เป็นสมาชิกของ
กลุ่มบุคคลเพื่อช่วยเหลือหาพยานเท็จและออกเงินช่วยเหลือเมื่อสมาชิกตกเป็นผู้ต้องหาในคดี
อาญา

ถ้าการรวมตัวกันกระทำความผิดซึ่งมิใช่ลักษณะในเชิงคณะบุคคล ผู้กระทำไม่มีความ
ผิดฐานนี้ เช่น เพียงแต่นัดหมายมาเล่นการพนันกันเป็นครั้งคราว แต่เจ้าของบ่อนกับผู้ร่วม
ก่อการจัดให้มีการเล่นพนันเป็นประจำ เข้าข่ายกระทำในเชิงคณะบุคคล ย่อมมีความผิดฐานนี้

ความผิดฐานนี้สำเร็จเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้กระทำ
การตามความมุ่งหมายเลยก็ตาม อีกทั้งยังเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกหรือ
มีตำแหน่งหน้าที่อยู่

ง.2 ปกปิดวิธีดำเนินการ
คณะบุคคลที่ข้าเป็นสมาชิกนั้นปกปิดวิธีดำเนินการ เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่รู้วิธี
ดำเนินการ ซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก เช่น ใช้วิธีการซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ
ใช้ป้ายชื่อสำนักงานทนายความมาปิดบังไม่ให้รู้ว่าเป็นสถานที่ใช้เล่นการพนัน
ง.3 มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฏหมาย
นอกจากจะปกปิดวิธีดำเนินการแล้ว คณะบุคคลดังกล่าวยังมีความมุ่งหมายเพื่อการ
อันมิชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งการอันมิชอบดังกล่าวไม่จำต้องถึงขนาดเป็นความผิดอาญาเสียที
เดียวแต่หมายความรวมถึงการอื่นใดที่ไม่มีกฎหมายรับรองให้กระทำได้เพราะขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การที่สถาบันกวดวิชาช่วยเหลือกลุ่มผู้เข้าสอบ
เข้าเรียน หรือเข้าทำงานให้โกงการสอบ

4

ง.4 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
ผู้เป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลซึ่งเป็นตำแหน่ง
บริหาร เช่น เหรัญญิก ต้องระวางโทษหนักขึ้น
จ. คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2565 ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่เป็นความผิด
ทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมาย
เพื่อการอันมิชอบด้วยกฏหมาย และความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรก็เป็นความผิดสำเร็จ
เมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้
ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งตามองค์ประกอบของความผิดสองฐานนี้ จึงอาจ
เป็นความผิดต่างกรรมกันได้ แต่เมื่อการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กร
อาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กร
อาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 5 (1) และ (2) มีองค์ประกอบของความผิดใน
ลักษณะเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่และความผิดฐานร่วมกันเป็น
ซ่องโจร ความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าการเข้าเป็น
สมาชิกหรือการสมคบกันนั้นก็เพื่อจะกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดง
ตนเป็นคนอื่นและด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็น
เท็จ ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่ ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันมี
ส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันและโดยมีเจตนามุ่ง
หมายอันเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและฐาน
ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็นเท็จ ความผิดฐาน
ต่างๆดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แต่ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินนั้น พ.ร.บ.
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

5

(ต่อ)
มีเจตนารมณ์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดมูลฐานที่ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิดมากระทำการในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการฟอกเงินเพื่อนำเงินหรือ
ทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ความผิดฐานร่วมกันฟอก
เงินจึงเป็นการกระทำความผิดที่เกิดภายหลังเมื่อมีการกระทำความผิดฐานอื่นๆดังกล่าว
สำเร็จแล้ว และเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกเจตนาและการกระทำต่างๆจาก
การกระทำความผิดฐานอื่นนั้นได้ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างกรรมกัน

1.2 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210)
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเปรียบเทียบได้กับความผิดฐานสมคบในระบบคอมมอนลอว์
ความผิดฐานนี้เอาผิดตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการลงมือกระทำความผิดที่สมคบกัน ซึ่งสาระสำคัญ
ของความผิดได้แก่การตกลงกันว่าจะกระทำความผิด

ก. บทบัญญัติ

มาตรา 210 ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่าง
ใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้น
ไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าเป็นการสมคบเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารถึงชีวิต จำคุก
ตลอดชีวิตหรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึง
สิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

6

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ - เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติ

ไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
ค. เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง รับโทษหนักขึ้นถ้าเป็นการสมคบกันโดยมีเจตนา

พิเศษเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูง
ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป

ง. คำอธิบาย
ความผิดฐานนี้มุ่งพิจารณาถึงลักษณะการกระทำที่เป็นการสมคบกันโดยมีจำนวน
ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ถ้าไม่ถึงห้าคนย่อมไม่เป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจรซึ่งลักษณะการกระทำ
แตกต่างจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตรงที่ว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่นั้นพิจารณาจากการเป็น
สมาชิกของคณะบุคคลโดยไม่พักต้องคำนึงว่าจะมีบุคคลจำนวนเท่าใด ส่วนความผิดฐานเป็น
ซ่องโจรนั้นผู้กระทำไม่จำต้องเป็นสมาชิกของคณะบุคคลใด เพียงแต่แสดงให้เห็นว่ามีการ
สมคบกันจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนก็เป็นความผิดฐานนี้ นอกจากนี้ การเป็นอั้งยี่นั้นมีการ
ปกปิดวิธีดำเนินการอันมิชอบด้วยกฏหมายแต่อาจไม่ถึงกับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญาภาค 2 ก็ได้ ในขณะที่การเป็นซ่องโจรต้องสมคบกันกระทำความผิดตามภาค 2 แห่ง
ประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น

7

ง.1 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
คำว่า “สมคบ” หมายความว่า ร่วมกันคิดและตกลงกันกระทำการในทางที่
ไม่ชอบ ความผิดสำเร็จเมื่อมีการตกลงกันกระทำความผิด ซึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการตกลง
กันเช่นนั้นอย่างแน่ชัด กล่าวคือ มีการประชุมหารือร่วมกันและตกลงกันว่าจะกระทำความ
ผิดอะไร เพราะการ “ตกลงกัน” เป็นสาระสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการกระทำความผิด
ฐานเป็นซ่องโจรหรือไม่ และเป็นความผิดสำเร็จเมื่อสมคบกัน ถ้าไม่อาจแสดงให้เห็นได้
ว่ามีการตกลงกัน หรือเพียงแต่มาประชุมหารือกันโดยมิได้ตกลงอะไรกันหรือยังตกลงกันไม่
ได้ ก็ย่อมไม่เป็นการสมคบกันเป็นซ่องโจร
คำว่า “ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป” หมายความถึงบุคคลที่มีความสามารถกระทำ
ความผิดและร่วมสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพียงผู้บรรลุนิติภาวะ
หรือมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีเท่านั้น ดังนั้นผู้กระทำอาจเป็นเด็กที่พอรู้เดียงสา หรือ
บุคคลที่มีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนที่พอจะรู้ผิดชอบได้บ้างก็ได้ ถ้าการกระทำ
อันเป็นความผิดมีจำนวนผู้กระทำไม่ถึงห้าคนก็ไม่อาจลงโทษฐานเป็นซ่องโจรได้
ง.2 เจตนาพิเศษ - เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้
ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
นอกจากผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดและ
ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลแล้ว ยังจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดอย่าง
หนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 กล่าวคือ เป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดดังที่
บัญญัติไว้ในลักษณะ 1 จนถึงลักษณะ 13 ของภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เช่น
การก่อการร้าย การฆ่าหรือการทำร้ายร่างกาย การข่มขืนใจหรือหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง
ทการลักทรัพย์ การชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ การฉ้อโกง โจทก์มีหน้าที่บรรยายฟ้องให้
ชัดเจนเพียงพอว่าจำเลยได้ตกลงกระทำความผิดฐานใด ด้วยวิธีการอย่างไร หาไม่แล้ว
อาจเป็นการฟ้องที่ไม่ชอบซึ่งศาลอาจยกฟ้องได้

8

ง.3 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
ถ้าหากการสมคบกันนั้นมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึง
ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบขึ้นไป ผู้กระทำต้องได้รับโทษ
หนักขึ้นตามวรรคสอง ผู้กระทำเพียงแต่รู้ว่าสมคบกันไปกระทำความผิดอะไร แต่ไม่จำต้อง
รู้ว่าระวางโทษของความผิดนั้นเป็นเท่าใด

1.3 ความผิดฐานประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 211)
ก. บทบัญญัติ

มาตรา 211 ผู้ใดประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็น
อั้งยี่หรือซ่องโจร เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงได้ว่า ได้ประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่
หรือซ่องโจร

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร
(3) เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงได้ว่าได้ประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่

หรือซ่องโจร
ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

9

ค. คำอธิบาย
นอกจากการเข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่ตามมาตรา 209 หรือการสมคบกันเป็นซ่องโจรตาม
มาตรา 210 แล้ว บุคคลที่ร่วมประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจรก็ถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่หรือ
ซ่องโจร ซึ่งเป็นกรณีกลับหน้าที่นำสืบให้แก่จำเลย
คำว่า “ประชุม” ในที่นี้ หมายความถึง มารวมกันปรึกษาหรือหารือตกลงกัน การ
ประชุมนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับการเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยเฉพาะ ถ้าหากผู้ใดเข้าร่วม
ประชุมกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะมีความผิดตามมาตรานี้
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมต้องมี “เจตนา” เข้าร่วมประชุมด้วย กล่าวคือ รู้ว่าตน
เข้าร่วมการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร ถ้าไม่รู้ว่าการรวมตัวกันดังกล่าวเป็นการประชุม ผู้
นั้นก็ไม่มีความผิดเพราะไม่รู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 59 วรรค
สาม
กรณีบุคคลรู้ว่าตนกำลังประชุมในที่ประชุม ประเด็นปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ
บุคคลนั้นจำเป็นต้องรู้หรือไม่ว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร
(1) กรณีเข้าประชุมโดยรู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร บุคคลนั้นก็มีความ
ผิดนับแต่เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรตามมาตรา 211 แต่อาจ
จะมีเหตุยกเว้นโทษอย่างอื่น เช่น การกระทำโดยจำเป็นต้องเข้าร่วมประชุมเพราะถูก
บังคับให้อยู่ในที่ประชุมนั้นซึ่งเป็นเหตุยกเว้นโทษตามมาตรา 67 (1)
(2) กรณีเข้าประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของอั้งยี่หรือซ่องโจร บุคคลนั้นจะมี
ความผิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถแสดงได้ว่าตนประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นการประชุมของ
อั้งยี่หรือซ่องโจร ซึ่งกรณีนี้เป็นบทสันนิษฐานซึ่งผลักภาระการพิสูจน์ให้แก่จำเลยเพื่อ
พิสูจน์หักล้างว่าตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น ถ้าจำเลยพิสูจน์ได้ก็
ไม่มีความผิด แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็มีความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรตามมาตรา 211 นี้

10

1.4 ความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจร (มาตรา 212)
ก. บทบัญญัติ

มาตรา 212 ผู้ใด
(1) จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร
(2) ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
(3) อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่น หรือ
(4) ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร แล้วแต่กรณี

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(2.1) จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร
(2.2) ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
(2.3) อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่น หรือ
(2.4) ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำความผิด
ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

ค. คำอธิบาย
ความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจรเป็นความผิดที่แยกต่างหากจากความผิด

ฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร แต่ระวางโทษเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 209 หรือมาตรา
210 ผู้กระทำผิดตามมาตรานี้เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลให้การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่
หรือซ่องโจรดำเนินไปได้อย่างสะดวกในลักษณะที่เป็นผู้สนับสนุน แต่การสนับสนุนตาม
มาตรานี้เป็นได้ทั้งก่อน ขณะหรือหลังความผิดที่สมคบกันได้ถูกกระทำลง ซึ่งการช่วยเหลือดัง
กล่าวเป็นไปตามข้อหนึ่งข้อใดตาม ง.1 จนถึง ง.4

11

ง.1 จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร
ผู้กระทำช่วยจัดหา “ที่ประชุม” หรือ “ที่พำนัก” ให้แก่อั้งยี่หรือซ่องโจร ทั้งสถานที่
ประชุมและสถานที่พำนักโดยไม่จำต้องเป็นของผู้กระทำ เพียงแต่ผู้นั้นช่วยจัดหาให้ ความผิดก็
สำเร็จลงแล้ว ทั้งยังไม่ต้องพิจารณาว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรได้ใช้สถานที่นั้นประชุมหรือพำนักแล้ว
หรือไม่ เช่น โทรศัพท์ไปจองโรงแรมให้ประชุมหรือเข้าพักก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ไม่ว่าจะมี
การประชุมหรือเข้าพักหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากผู้กระทำได้กระทำการ “จัดหา” ลุล่วงไปแล้ว การ
ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรจะมาประชุมหรือพำนักหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดหา
แล้ว
ง.2 ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
การชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรเป็นการช่วยเหลือหรือ
ส่งเสริมให้กลุ่มอั้งยี่หรือซ่องโจรมีกำลังหรืออิทธิพลมากยิ่งขึ้น ผู้กระทำจึงมีความผิดตามมาตรา
นี้
ความผิดฐานนี้สำเร็จเมื่อผู้กระทำได้ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรค
พวกซ่องโจร ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเข้าเป็นสมาชิกหรือพรรคพวกตามที่ได้รับการชักชวนหรือไม่
เพราะการกระทำอันเป็นการ “ชักชวน” เสร็จสิ้นลงแล้ว
ง.3 อุปการะอั้งยี่หรือซ่องโจรโดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่น
อุปการะ หมายถึง ช่วยเหลือเกื้อกูลหรืออุดหนุนอั้งยี่ด้วยการให้ทรัพย์หรือการอื่นใด
โดยสมัครใจ เช่น ให้เงินสนับสนุนการดำเนินการ บอกสถานที่หรือชี้ตัวบุคคลที่จะไปกระทำ
ความผิด แนะนำวิธีหาทรัพย์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าถูกบังคับให้ช่วยเหลือ ผู้กระทำไม่มี
ความผิดตามอนุมาตรานี้ เช่น สมาชิกอั้งยี่เรียกเก็บค่าคุ้มครองโดยขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
ง.4 ช่วยจำหน่ายทรัพย์ที่อั้งยี่หรือซ่องโจรได้มาโดยการกระทำความผิด
ช่วยจำหน่ายทรัพย์ หมายถึง ช่วยให้ทรัพย์เปลี่ยนมือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอีก
คนหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้วิธีซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือวิธีอื่นใด โดยทรัพย์นั้นไม่จำต้องอยู่ใน
ความครอบครองของผู้กระทำ เช่น ประกาศทางอินเทอร์เน็ตช่วยขายทรัพย์ที่ซ่องโจรลักมา
แม้ว่าซ่องโจรนั้นจะเลิกไปเพราะกระทำความผิดที่สมคบกันสำเร็จแล้ว ผู้ช่วยเหลือก็
ยังคงมีความผิดอยู่ ความผิดสำเร็จเมื่อช่วยจำหน่าย ถ้าหากผู้กระทำช่วยแล้ว แต่ยังจำหน่าย
ทรัพย์นั้นไม่ได้ ผู้กระทำยังคงต้องรับผิิดตามอนุมาตรานี้

12

1.5 การลงโทษกรณีสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรได้กระทำความผิด (มาตรา 213)
ก. บทบัญญัติ

มาตรา 213 ถ้าสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคนใดได้กระทำความผิดตาม
ความมุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรที่อยู่ด้วยใน
ขณะกระทำความผิด หรืออยู่ด้วยในที่ประชุมแต่ไม่ได้คัดค้านในการตกลงให้กระทำความ
ผิดนั้น และบรรดาหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น ต้อง
ระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นทุกคน

ข. เงื่อนไขและผล
ข.1 เงื่อนไข
ถ้าสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคนใดได้กระทำความผิดตามความมุ่ง

หมายของอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น
ข.2 ผล
สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
(1) ที่อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด
(2) ที่อยู่ด้วยในที่ประชุม แต่ไม่ได้คัดค้านในการตกลงให้กระทำความผิดนั้น

หรือ
(3) ซึ่งเป็นบรรดาหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือ

ซ่องโจรนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นทุกคน

13

ค. คำอธิบาย
มาตรา 213 นี้ เป็นบทบัญญัติทีีลงโทษผู้ที่เป็นสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรทั้ง
ที่อยู่ด้วยหรือไม่อยู่ด้วยขณะกระทำความผิดตามความมุ่งหมายต้องได้ระวางโทษสำหรับ
ความผิดที่สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรบางคนไปกระทำลง ซึ่งเป็นความรับผิดทาง
อาญาสำหรับการกระทำของบุคคลอื่น
การที่สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรจะรับผิดตามผลของมาตรานี้ได้จะต้อง
เป็นการกระทำของหนึ่งในสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหมาย
ของอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น เช่น พรรคพวกซ่องโจรมีความมุ่งหมายในการชิงทรัพย์ เมื่อพรรค
พวกซ่องโจรคนใดก็ตาม ได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว ก็ถือได้ว่าอยู่ในขอบเขตของ
ความมุ่งหมายของซ่องโจรดังกล่าว
ในทางตรงข้าม ถ้าหากการกระทำของสมาชิกอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นไม่ได้อยู่ในความ
มุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจร ย่อมไม่ผูกพันให้สมาชิกหรือพรรคพวกคนอื่นต้องรับผิดร่วม
ด้วย
ผลของบทบัญญัติมาตรานี้คือบุคคลบางกลุ่มจะต้องร่วมรับผิดโดยมีระวางโทษใน
ความผิดตามความมุ่งหมายที่สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคนใดได้กระทำลง
เพราะบุคคลเหล่านี้ได้เป็นสมาชิกอั้งยี่หรือซ่องโจรมาแต่แรก จึงต้องรับผิดสำหรับการกระ
ทำซึ่งสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรด้วยกันกระทำขึ้น
บุคคลที่จะต้องรับผิดในการกระทำของสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรที่กระทำ
ความผิดตามความมุ่งหมาย ได้แก่

14

(1) สมาชิกอั้งยี่่หรือพรรคพวกซ่องโจรที่อยู่ด้วยในขณะกระทำความผิด
การอยู่ด้วยในขณะกระทำความผิดอาจหมายถึงการอยู่ด้วยในฐานะตัวการหรือในฐานะอื่น
ก็ได้ กรณีเป็นตัวการซึ่งมีเจตนาและได้ลงมือกระทำความผิดด้วยกัน ตัวการก็ระวางโทษ
ตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดหลักดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 83 นอกจากนี้ยังอาจ
มีการอยู่ด้วยในลักษณะที่ไม่เป็นตัวการเนื่องจากไม่ได้เจตนากระทำความผิดหรือไม่ได้ร่วม
ลงมือกระทำผิดด้วย หรืออาจเป็นเพียงผู้สนับสนุน เช่น นาย ก. ตกลงกับพรรคพวก
ซ่องโจรมาปล้นบ้านบิดาซึ่งตนอาศัยอยู่ด้วยแม้ว่านาย ก. จะไม่ได้ลงมือกระทำความผิด
ร่วมด้วย แต่เมื่อนาย ก. อยู่ด้วยกับพรรคพวกซ่องโจรขณะเกิดเหตุ นาย ก. ก็ต้องรับ
โทษตามระวางโทษในความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยถึงแม้จะไม่ได้เป็นตัวการก็ตาม

(2) สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรที่อยู่ด้วยในที่ประชุม แต่ไม่ได้คัดค้าน
ในการตกลงให้กระทำความผิดนั้น การอยู่ด้วยในที่ประชุมและไม่ได้คัดค้าน กฎหมาย
ถือว่าผู้ที่อยู่ด้วยนั้นยินยอมพร้อมใจให้เกิดความผิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุอันใดที่จะอ้าง
ให้พ้นความรับผิดตามความผิดที่ผู้อื่นได้กระทำลงไปได้

(3) เป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น
เนื่องจากการเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรไม่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีหัวหน้าหรือผู้มีบทบาทสำคัญ
ในการบังคับบัญชาหรือบริหารอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้น กฎหมายจึงให้บุคคลที่เป็นหัวหน้า ผู้
จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับสมาชิก
หรือพรรคพวกที่ได้กระทำความผิดตามความมุ่งหมายลงแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยใน
ขณะกระทำความผิด หรือจะได้คัดค้านในการตกลงให้กระทำความผิดนั้นแล้วก็ตาม

15

2. ความผิดฐานช่วยผู้กระทำความผิด
เป็นปกติธุระ (มาตรา 214)

ก. บทบัญญัติ

มาตรา 214 ผู้ใดประพฤติตนเป็นปกติธุระเป็นผู้จัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้นหรือที่
ประชุมให้บุคคลซึ่งตนรู้ว่าเป็นผู้กระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดนั้น เป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยา
ของผู้กระทำ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ประพฤติตนเป็นปกติธุระ เป็นผู้จัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้น หรือที่ประชุม
(3) ให้บุคคลซึ่งตนรู้ว่าเป็นผู้กระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้
ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

ค. เหตุที่ศาลอาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษได้
ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามีหรือภริยา
ของผู้กระทำ

16

ง. คำอธิบาย
ความผิดตามมาตรานี้เป็นกรณีให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นหลัง
จากได้กระทำความผิดมาแล้ว โดยเฉพาะการจัดหาที่พักหรือที่หลบซ่อนเพื่อไม่ให้ถูกจับ
ตัวไปดำเนินคดีหรือจัดหาที่ประชุมเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อ
ผู้กระทำมีความผิดตามมาตรา 214 ก็ต่อเมื่อได้จัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้น หรือที่
ประชุมแก่ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ซึ่งความผิดดังกล่าวมีลักษณะใกล้
เคียงกับความผิดฐานช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจรตามาตรา 212 แต่มาตรานี้จำกัดอยู่เฉพาะ
การจัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้น หรือที่ประชุมเท่านั้น และผู้กระทำความผิดไม่จำต้องเป็น
สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร
การจัดหาสถานที่ตามมาตรา 214 เป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นธุระจัดการให้ ผู้
นั้นไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จัดหานั้น และการจัดหาอาจเป็นเพียงการ
ติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีที่พำนัก ที่ซ่อนเร้นหรือที่ประชุมก็มี
ความผิดตามมาตรานี้แล้ว
นอกจากนี้ การกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องได้ความว่าผู้กระทำได้
ประพฤติตนเป็นปกติธุระ กล่าวคือ มีการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเป็นประจำ ไม่ใช่
เพียงครั้งเดียว ซึ่งผู้นั้นอาจช่วยผู้กระทำคนเดียวกันซ้ำๆ หรือช่วยเหลือคนหลายคนใน
หลายโอกาสก็ได้
การจัดหาที่พำนัก ที่ซ่อนเร้น หรือที่ประชุมจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อผู้นั้นรู้ว่าผู้ที่ได้
รับการช่วยเหลือเป็นผู้กระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ถ้าหากไม่รู้ว่าเป็นผู้กระทำ
ความผิด ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิด
ความในวรรคสองให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะไม่ลงโทษผู้กระทำหากได้กระทำไปเพื่อช่วย
บิดา มารดา บุตร สามีหรือภริยาของตน ซึ่งเป็นธรรมดาที่บุคคลต้องช่วยเหลือผู้ที่มีความ
สัมพันธ์ใกล้ชิดกับตนเอง

17

3. ความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม

ความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุมมี 2 ฐานความผิด ได้แก่ ความผิดฐานมั่วสุม (มาตรา 215)
และความผิดฐานไม่ยอมเลิกมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)

3.1 ความผิดฐานมั่วสุม (มาตรา 215)
ก. บทบัญญัติ

มาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้
กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความผิดต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิด
นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึี่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
(3) ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการ

อย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

18

ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

ค. เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
ค.1 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง รับโทษหนักขึ้นถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่ง

คนใดมีอาวุธ
ค.2 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสาม รับโทษหนักขึ้นอีกถ้าผู้กระทำความผิดเป็น

หัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น

ง. คำอธิบาย

ง.1 มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป

คำว่า “มั่วสุม” หมายความว่า มารวมกันเพื่อก่อการในทางไม่ดีในลักษณะ

ที่เป็นพวกเดียวกัน ซึ่งการมารวมกันนี้ผู้กระทำจะรู้จักกันมาก่อนหรือวางแผนมาก่อนหรือ

ไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญ ถ้าครบจำนวนตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเมื่อใดก็เข้าองค์ประกอบข้อแรกนี้

ตัวอย่างเช่น รวมกลุ่มกันไปพังร้านรวงต่างๆ ในบริเวณนั้น

ง.2 ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการ

อย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

การมั่วสุมตามมาตรา 215 นี้ไม่ใช่การมั่วสุมกันอยู่เฉยๆ เช่น นั่งล้อมวงดื่ม

สุราหรือเล่นการพนันเท่านั้น แต่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ด้วยจึงเป็น

ความผิด (1) ใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งมีขอบเขตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1

(6) เช่น รวมกลุ่มกันทำร้ายร่างกาย หรือหลอกให้ดื่มเครื่องดื่มที่ใส่ยานอนหลับ

(2) ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะ

ถูกใช้กำลังประทุษร้าย เช่น รวมตัวกันขู่ว่าจะทำร้ายถ้าไม่ออกไปจากพื้นที่

19

(3) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่ง
ต้องแสดงให้เห็นว่าเกิดความไม่สงบขึ้นในที่ต่างๆ และก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
แก่ประชาชนได้ เช่น จุดไฟเผาทรัพย์สินของผู้อื่น รวมกลุ่มกันขับรถจักรยานยนต์เร็ว
กว่าที่กฎหมายกำหนดและปิดช่องทางจราจรทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการ
สัญจร

ง.3 เจตนา
แม้ว่าผู้ที่มามั่วสุมกันจะต่างคนต่างมาในตอนแรก แต่ถ้ามีเจตนาร่วมกันใช้
กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นใน
ตอนที่มาชุมนุมกันโดยไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน ผู้ที่
กระทำไปโดยมีเจตนาร่วมกันต้องรับผิดตามมาตรานี้ แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวไม่ได้เกิด
จากเจตนาร่วมกัน แม้ว่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้น ผู้กระทำก็ไม่มีความผิดฐานมั่วสุมตาม
มาตรา 215 นี้
ง.4 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
หากผู้ร่วมมั่วสุมคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ ผู้ร่วมกระทำทั้งหมดมีความผิดตาม
วรรคสองนี้ อย่างไรก็ตาม การมีอาวุธหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้กระทำรับโทษ
หนักขึ้น ผู้กระทำจำต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้นตามความในมาตรา 62 วรรคท้าย มิฉะนั้นจะ
ลงโทษตามวรรคสองนี้ไม่ได้
ง.5 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสาม
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความ
ผิดนั้น เช่น จำเลยได้รับมอบหมายจากหัวหน้าให้เป็นผู้สั่งการในการมั่วสุมได้สั่งให้เปา
ทำลายสถานที่ราชการหรือร้านค้าต่างๆ หรือจำเลยสามารถอนุญาตให้รถยนต์คันใด
แล่นผ่านจุดที่ชุมนุมมั่วสุมไปได้ ผู้นั้นต้องระวางโทษหนักขึ้นตามมาตรา 215 วรรคสาม
นี้

20

จ. คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 5573/2554 การที่ชาวบ้านร่วมชุมนุมและเดินขบวนกัน
เพราะไม่พอใจที่ทางราชการมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอนาทมในที่อื่น ที่ไม่ใช่ตำบลนาทม
โดยมีชาวบ้านร่วมกันกว่า 200 คน ไม่ปรากฏว่ามีการร่วมกันวางแผนหรือคบคิดกระทำ
การในสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีผู้ใดมีอาวุธ จึงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความ
สงบปราศจากอาวุธ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยชอบ
ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้การรับรองตลอดมา การกระทำความ
ผิดมาเกิดขึ้นในภายหลัง ต้องถือว่าเป็นเจตนาของผู้กระทำความผิดของแต่ละคน
แต่ละกลุ่ม จะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้เข้าชุมนุมทุกคนไม่ได้ ลำพังแต่จำเลยเป็นผู้
ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้าน 2 กลุ่มที่มีคนร้ายบางคนกระทำความผิดก่อให้เกิดความวุ่นวาย
ขึ้นในบ้านเมือง หรือพฤติการณ์อันใดที่แสดงการขัดขวางมิให้ ศ. กับพวกนำรถดับ
เพลิงเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเผาสะพาน ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วม
กระทำความผิดกับคนร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 กรณีต้องถือว่า
จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่
รัฐธรรมนูญรับรองไว้

21

3.2 ความผิดฐานไม่เลิกมั่วสุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก (มาตรา 216)
ก. บทบัญญัติ

มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ให้
เลิกไป ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ให้

เลิกไป
(2) ผู้กระทำไม่เลิก

ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

ค. คำอธิบาย
เจตนารมณ์ของความผิดมาตรา 216 ก็คือเพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้การมั่วสุมนั้น
ลุกลามไปถึงขั้นกระทำความผิดตามมาตรา 215 ด้วยเหตุนี้ การกระทำความผิดหลัก
ตามมาตรา 215 ยังไม่เกิดขึ้น แต่เจ้าพนักงานได้สั่งให้เลิกไปเสียก่อน ถ้าผู้มั่วสุม
เลิกไปตามคำสั่งเจ้าพนักงานก็ไม่มีความผิด แต่ถ้าไม่เลิกมั่วสุมและยังขืนมั่วสุมกัน
ต่อไป ผู้ที่มั่วสุมกันมีความผิดตามมาตรา 216 แม้จะยังไม่ได้กระทำความผิดตามที่
มั่วสุมเลยก็ตาม

22

เหตุที่ทำให้เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งเลิกตามมาตรา 216 นี้จะต้องปรากฏเสีย
ก่อนว่ามีการมั่วสุมคือการมารวมกันเพื่อกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในทางที่ไม่ชอบ เช่น
มารวมตัวกันเพื่อจะทำเสียงเอะอะโวยวายก่อกวนชาวบ้าน เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก
มั่วสุม เช่น นั่งฟังปราศรัยทางการเมืองด้วยอาการสงบ เจ้าพนักงานก็ไม่มีอำนาจสั่ง
ให้เลิก และเมื่อผู้นั้นไม่ยอมเลิก ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

นอกจากนี้ ถ้าหากการมั่วสุมนั้นได้กระทำจนถึงขั้นที่ได้กระทำความผิดตามที่
มั่วสุมกันขึ้นแล้วตามมาตรา 215 แม้เจ้าพนักงานจะสั่งให้เลิก แต่ผู้ที่ร่วมมั่วสุมไม่
ยอมเลิก ผู้มั่วสุมนั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 216 อีก

ตัวอย่าง
จำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและเป็นผู้จุดไฟ

เผาทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นการเข้าร่วมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและกระทำการ
อย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ การกระทำของจำเลย
ที่ 1 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 215 วรรคสอง 217 และ 358 ต่อมาเจ้าพนักงาน
ตำรวจได้ประกาศผ่านเครื่องกระจายเสียงว่าไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำผิด
กฎหมายซึ่งเป็นการสั่งให้เลิกมั่วสุมในการก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองภายหลังจาก
ที่จำเลยที่ 1 ได้มั่วสุมและกระทำการก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองแล้ว จำเลยที่ 1
จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 216 ที่มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน
อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215

อนึ่ง ผู้กระทำต้องทราบว่าผู้สั่งเป็นเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานได้สั่งให้เลิก มิ
ฉะนั้นไม่ผิดมาตรา 216 เช่น ไม่ได้ยินที่เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุม เป็นต้น

23

ง. คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 346-347/2535 การมั่วสุมตามมาตรา 215 ผู้มั่วสุมไม่จำต้อง
มีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นความผิดแล้ว
และผู้ที่มามั่วสุมก็ไม่จำต้องรู้จักหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน ความผิดตาม
มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุม
กันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้
ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดการวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตาม
มาตรา 215 เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งให้จำเลยกับพวกเลิกการมั่วสุมภายหลังที่มีการกระ
ทำผิดตามมาตรา 215 แล้ว แม้จำเลยทุกคนไม่เลิกการกระทำของจำเลยทุกคน ก็คง
เป็นความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้น ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 216 ด้วย

24

บรรณานุกรม

ศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทน์หอม. 2565. คำอธิบายกฎหมายอาญา
ภาคความผิด เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิญญูชน


Click to View FlipBook Version