The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชีววิทยา และเทคนิคการบำรุงเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mint-jongpard, 2022-05-09 00:53:10

ปลากะรังจุดฟ้า

ชีววิทยา และเทคนิคการบำรุงเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์

Keywords: ปลาเก๋า,ปลากะรังจุดฟ้า,ชีววิทยา,ปลาย่ำสวาท

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งตราด

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ
ปลากะรังจุดฟ้า

ป ล า ก ะ รัง จุ ด ฟ้ า
(Plectropomus spp. , Bule spotted grouper)

ปลากะรังจุดฟ้า หรือปลากุดสลาด
นิยมเรียกในพื้ นที่ภาคตะวันออกว่าปลาย่ำสวาท
ปลากะรังจุดฟ้า มีอยู่ 2 ชนิดคือ ปลากะรังจุดฟ้า
จุดเล็ก และ ปลากะรังจุดฟ้าจุดใหญ่ ลำตัวมีสี
ตั้งแต่พื้ นสี ขาวนวล สี เขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล
สี ส้ มถึงแดง โดยสี ของปลาจะมีการเปลี่ยนแปลง
ตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย มีจุดสี ฟ้าปนเหลือง
กระจายทั่วลำตัว ยกเว้นบริเวณท้อง มีความยาว
ลำตัวยาวได้จนถึง 120 ซม. บริเวณรอบดวงตา
แบนไม่มีเกล็ด หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย
(Emarginate)

ปลากะรังจุดฟ้า เป็นปลาเก๋าอีกชนิดที่คน
นิยมนำไปบริโภค เนื่องจากเนื้อปลามีรสชาติดี
สามารถนำไปทำได้หลากหลายเมนู มีราคาสู ง
โดยราคาหน้ากระชังอยู่ที่ 1,200 บาท/กก.
ราคาลงจานอยู่ที่ 3,000-4,000 บาท/กก.

1/3

ปลากะรังจุดฟ้า

ชี ว วิ ท ย า ป ล า ก ะ รัง จุ ด ฟ้ า

ปลาชนิดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงเพศได้ โดยจะเป็นเพศเมียก่อนแล้วจึง
เปลี่ยนเป็นเพศผู้เมื่อมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น ขนาดที่เหมาะสมจะนำมาเป็นแม่พันธุ์
อยู่ที่ 2.4 กก. และขนาดของพ่อพันธุ์ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 3.5-5 กก.
การตรวจความสมบูรณ์เพศของพ่อแม่พันธุ์ปลาคือ แม่พันธุ์ที่มีไข่แก่จะมี
ลักษณะท้องอูมเป่ง นิ่มกว่าปกติ พ่อพันธุ์ที่มีน้ำเชื้อดีจะรีดออกมาได้ง่ายเมื่อ
สัมผัสส่วนท้อง โดยธรรมชาติปลากะรังจุดฟ้าจะวางไข่เกือบตลอดทั้งปี
ยกเว้นในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน แม่ปลาจะหยุดวางไข่
โดยลักษณะไข่ของปลาชนิดนี้เป็นประเภทไข่ลอย

พบในทะเลความลึกตั้งแต่ 3–100 เมตร พบชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน
อาศัยอยู่บริเวณกองหินตามแนวปะการัง พบการแพร่กระจายในจังหวัดที่อยู่
บริเวณชายทะเลฝั่ งอ่าวไทย เป็นปลากินเนื้อ เช่น กุ้ง ปลา หมึก และสัตว์น้ำ
ขนาดเล็กอื่นๆ

ปลากะรังจุดฟ้าเล็ก ปลากะรังจุดฟ้าใหญ่
(Plectropomus leopardus) (Plectropomus maculatus)

2/3

การบำรุงเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า

ก า ร เ ลี้ ย ง พ่ อ แ ม่ พั น ธุ์ ใ ห้ ส ม บู ร ณ์ เ พ ศ

การเพาะเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า
ปี พ.ศ. 2547 กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก

(Plectropomus leopardus) ได้สำเร็จครั้งแรกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง
ชายฝั่ งตราด (ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ ง
ตราด) โดย ผอ.ธวัช ศรีวีระชัย และคณะ โดยการรวบรวมลูกปลากะรังจุดฟ้า
จากธรรมชาติมาขุนเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์และสามารถวางไข่
ได้เอง

เทคนิคการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้สมบูรณ์เพศ
บำรุงพ่อแม่พันธุ์โดยให้กินอาหารสด (ปลา หมึก หอยนางรม) วันเว้นวัน

ในอัตรา 5- 7 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว โดยปลาเพศเมียจะให้ปลาสดเป็นอาหาร
โดยใส่วิตามินอี 100 IU สลับกับวิตามินซี 100 มิลลิกรัม ในท้องปลาเหยื่อ
ในอัตรา 1 เม็ดต่อ 1 ตัว ให้กินวันเว้นวัน และใน 1 สัปดาห์ให้หมึก หรือสาหร่าย
มงกุฎหนาม หรือสาหร่ายสไปรูไลนาในท้องปลาเหยื่อเพื่อเสริมความสมบูรณ์
ของไข่ เพศผู้ให้อาหารเช่นเดียวกับเพศเมียแต่เพิ่มฮอร์โมน 17 methyl-
testosterone (MT) 1 เม็ดต่อ 1 ตัว สัปดาห์ละครั้ง

3/3

ทีมงาน

ผู้ดูแลปลากะรังจุดฟ้า

นายกฤษดากร เหมเวช นางสาวมิณฑิตา เจาะปาด
นักวิชาการประมงปฏิบัติการ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ

นายชัชวาลย์ ผดุงผล นายไพโรจน์ มั่นใจ นางสาวสังข์วร ทองงาม
พนักงานผู้ช่วยประมง เจ้าพนักงานประมง พนักงานผู้ช่วยประมง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งตราด
205 หมู่ 2 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
โทร. 039-510946


Click to View FlipBook Version