The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชีววิทยาปลากุเราหนวดสี่เส้น การเลี้ยงและอนุบาลปลากุเรา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mint-jongpard, 2022-05-09 02:24:42

ปลากุเราหนวดสี่เส้น

ชีววิทยาปลากุเราหนวดสี่เส้น การเลี้ยงและอนุบาลปลากุเรา

Keywords: ปลากุเราหนวดสี่เส้น,ปลากุเรา,การเลี้ยง,การอนุบาล

ปลากุเราหนวดสี่เส้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งตราด

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ
ปลากุเราหนวดสี่เส้น

ปลากุเราหนวดสี่เส้น
(Eleutheronema tetradactylum, fourfinger threadfin)

ปลากุเราหนวดสี่เส้นเป็นปลาทะเลในวงศ์ Polynemidae
ที่พบแพร่กระจายทั่วไปเป็นวงกว้างในเขต Indo-West Pacific
ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย จนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี และตอนเหนือ
ของออสเตรเลีย และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจการประมง
ของหลายๆ ประเทศ อาทิ คูเวต อินเดีย ไทย เวียดนาม
อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บังกลาเทศ กัมพูชา เมียนมาร์
มาเลเซีย และออสเตรเลีย

สำหรับประเทศไทย ปลากุเราหนวดสี่เส้นนับว่ามีความ
สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่แพร่กระจายบริเวณ
อ่าวไทยฝั่ งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง
ชลบุรี และอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช
สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส เครื่องมือที่ใช้จับปลากุเรา
ได้แก่ อวนลอยปลากุเรา เบ็ดราว เบ็ดมือ โป๊ะ และอวนรุน

ปลากุเรา เป็นปลาที่นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร
มีเนื้อนุ่ม รสชาติดี นิยมขายเป็นปลาสด และสามารถนำมา
แปรรูปเป็นปลาเค็มได้ โดยปลากุเราเค็มได้ชื่อว่าเป็น
“ราชาแห่งปลาเค็ม” ปัจจุบันราคาปลากุเราเค็มกิโลกรัมละ
ไม่ต่ำกว่า 1,200-1,500 บาท (ปลากุเราตากใบ) ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของปลา ถึงแม้ว่าราคาปลากุเราเค็มจะมีราคาที่สูง
แต่ก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

1/3

ปลากุเราหนวดสี่เส้น

กายวิภาคและชีววิทยา

เป็นปลาที่มีรูปร่างเรียวยาว ลําตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก
จะงอยปากสั้นเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันแหลมคม มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน
ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลําตัวที่อยู่แนวสันหลังมีสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัด
ลงมามีสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทา ที่ปลายครีบอื่นๆ
มีสีเหลือง ลักษณะเด่น คือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกเป็นรยางค์ 4 เส้น
เรียกว่า หนวด โดยหนวดจะเริ่มปรากฎเมื่ออายุประมาณ 40 วัน

ปลากุเราหนวดสี่เส้นเป็นปลาที่อาศัยอยู่บริเวณกลางน้ำและพื้นทะเล ดังนั้น
แหล่งที่อยู่ของปลาชนิดนี้จะอยู่บริเวณแนวกองหินธรรมชาติ และกองปะการังเทียม
บางครั้งพบได้ในน้ำกร่อย หาอาหารจากพื้นโคลนและพื้นทราย กินลูกกุ้ง ลูกปลา
และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดินเป็นอาหาร

การสืบพันธุ์ ปลากุเราเพศเมียสามารถวางไข่ได้ตลอดปีโดยมีช่วงวางไข่สูง
ในเดือนเมษายน-มิถุนายน สิงหาคม-กันยายน และพฤศจิกายน-ธันวาคม ขนาดที่
พบโดยทั่วไปยาวประมาณ 40-60 ซม. และขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 2 ม.
จากการศึกษาของ ธเนศ ศรีถกล พบว่าขนาดความยาวแรกสืบพันธุ์ของปลากุเรา
หนวดสี่เส้นบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลาที่จับได้โดยอวนลอยปลากุเรา
เท่ากับ 32.53 ซม.

2/3

การเลี้ยงและอนุบาล
ปลากุเราหนวดสี่เส้น

การเลี้ยงและอนุบาล

ปี 2560 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชายฝั่ งตราด (สถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
จังหวัดตราดเดิม) ได้เก็บรวบรวมลูกพันธุ์ปลาจาก
ธรรมชาติช่วงฤดูฝน เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
โดยวิธีการช้อนตามโขดหิน วัตถุประสงค์เดิม
เป็นการช้อนเคยเพื่อนำมาเป็นอาหารให้ลูกปลา
ในศูนย์ฯ แต่มีลูกปลาหลากหลายสายพันธุ์ติดมาด้วย
เช่น ลูกปลาตะกรับเสือดาว ปลาสลิดทะเลจุดเหลือง
รวมไปถึงลูกปลากุเราหนวดสี่เส้น ทางศูนย์ฯ มองเห็นถึงความสำคัญของปลา
กุเราหนวดสี่เส้น เนื่องจากเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทะเลอ่าวไทย และเป็นปลา
เศรษฐกิจ จึงเริ่มทำการรวบรวมและนำมาเลี้ยงซึ่งมีลูกปลาอยู่ประมาณ 200 ตัว
ขนาดตัว 1-1.5 ซม. เลี้ยงที่น้ำความเค็ม 25 ppt ในบ่อ PE เรื่อยมาจนปลามีขนาด
ใหญ่สามารถเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ได้

- ช่วงระยะ 1 เดือนแรกที่นำลูกปลาเข้ามาเลี้ยง
ให้กินเคยที่ได้จากการช้อนในธรรมชาติเป็นอาหาร

- ปลาขนาด 2.5 นิ้ว เริ่มฝึกให้อาหารสด เช่น
กุ้งสับ ปลาสับ โดยให้วันละ 2 มื้อ ช่วงเวลาเช้า-บ่าย

- ปลาขนาด 5 นิ้ว ฝึกให้กินอาหารเม็ดลอยน้ำ
(อาหารสำหรับปลาทะเลกินเนื้อ ขนาด 1 มม.)

- อายุ 1 ปี ให้อาหารปั้ นสลับกับการให้อาหารสด
ส่วนผสมของอาหารปั้ น : อาหารปลาดุก/กะพง, สาหร่ายสไปรูไลน่า
วิตามินรวม (สำหรับการบำรุงให้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์)

3/3

ทีมงาน

ผู้ดูแลปลากุเราหนวดสี่เส้น

นายกฤษดากร เหมเวช นางสาวมิณฑิตา เจาะปาด
นักวิชาการประมงปฏิบัติการ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ

นายชัชวาลย์ ผดุงผล นายไพโรจน์ มั่นใจ นางสาวสังข์วร ทองงาม
พนักงานผู้ช่วยประมง เจ้าพนักงานประมง พนักงานผู้ช่วยประมง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งตราด
205 หมู่ 2 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
โทร. 039-510946


Click to View FlipBook Version