บทความ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ.. ตำรวจไม่ตรวจ ไม่ติดตู้แดง ถือว่าละเมิด ทางปกครอง” พ.ต.ท.ดร.ปรัชญ์ชา กระมลนิติธรรม ******************************************** วิเคราะห์คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดหมายเลขคดีแดงที่ อ.318/2555 คดีฝากบ้านไว้กับตำรวจ สวัสดีครับท่านนิติกร เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนที่สนใจเรื่อง คดีปกครองทุก ๆ ท่านโดยเฉพาะ ในส่วนหน่วยงานตำรวจทุก บช. ที่มีโครงการฝากบ้าน ฯ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว มีผลกระทบอย่างมาก ที่ ตร. จะต้องนำไปปรับ ใช้ แก้ไขจุดอ่อน รวมทั้งวิเคราะห์ประเด็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงโครงการฝากบ้าน ฯ เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ข้อพิพาทของคดีมีอยู่ว่า นาย ส. ผู้ฟ้องคดี ได้ฝากบ้านไว้ตาม “โครงการฝากบ้านไว้ กับตำรวจ” ในเขต สน.หนองค้างพลู หน่วยงานในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่เกิด เหตุคนร้ายโจรกรรมทรัพย์สินภายในช่วงระหว่างที่ฝากบ้านไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่ง ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ ตร. ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นาย สุวัฒิชัย ฯ ผู้ฟ้องคดี เป็นเงิน 55,535 บาทภายใน 30 วันนับแต่คดีถึงที่สุด ผู้เขียนเห็นว่า จาก พรบ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ หลักการของการกระทำละเมิดทางปกครองจะต้องเกิดจาก ต้องมีกฎหมาย กำหนดให้อำนาจไว้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕” ตาม มาตรา 46 (๗) สํานักงานตํารวจแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบ เรียบร้อยและอํานาจหนาที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย ประกอบกับ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 6 หน้าที่ป้องกันและปราบปราม บริการสาธารณะถือเป็นหน้าที่ที่ บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ซึ่งโดยการป้องกันและปราบปรามเป็นหน้าที่โดยทั่วไปที่ไม่มีการ เฉพาะเจาะจงบ้านหลังใด หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่โครงการฝากบ้านเป็นการที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจสมัครใจที่จะผูกพันการบริการสาธารณะโดยเฉพาะเจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดย ชัดเจน และมีกระบวนการ ขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจน ถือได้ว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจสมัคร ใจที่จะผูกพันต่อกลุ่มผู้ฝากบ้านตามโครงการฝากบ้านตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว
สตช.ได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการไว้อย่างชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่ ต้องปฏิบัติ แต่การไม่ ปฏิบัติการหรือละเลยไม่กระทำการตามอำนาจหน้าที่นั้น ๆ จน เกิดผลกระทบการกระทำหรือละเลยไม่กระทำการเป็นการละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีนี้เป็น เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดทางปกครอง ของ ตร. วิเคราะห์คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยแยกตามประเด็นองค์ประกอบ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หนองค้างพลู ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ สังกัดหน่วยงานรัฐ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) ซึ่งมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด ศาลเห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ใน การรักษาความสงบเรียบร้อย พรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ตาม มาตรา 46 (7) กับ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 6 ส่วนโครงการฝากบ้าน ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการเชิงป้องกันอาชญากรรม เชิงรุก แสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ทราบถึงความห่วงใยของ ตร. ต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และมี การกำหนดขั้นตอน วิธีการปฏิบัติหลายประการ ที่สำคัญคือการใช้สายตรวจเพิ่มความ เข้มงวดในการตรวจตราป้องกันเหตุบ้านที่เข้าร่างโครงการ ฯ โดยมีการติดตู้แดง ใส่สมุด ตรวจไว้ที่ประตูหรือรั้วหน้าบ้านสำหรับไว้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการบันทึกลงในสมุดตรวจ จะปรากฏ ระบุ วัน เวลาที่ตรวจ และชื่อผู้ตรวจ ดังนั้น ลักษณะของโครงการปฏิบัติหน้าที่ใน การรักษาความสงบเรียบร้อยตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจ จึงเข้าองค์ประกอบตาม ข้อ 2 แล้ว 3) กระทำการหรือละเลยไม่กระทำการตามอำนาจหน้าที่นั้น ๆ ศาลเห็นว่า การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯ ไม่ได้นำตู้แดงไปไว้หน้าบ้านนาย สุวัฒิ ชัย ฯ ผู้ฟ้องคดี แต่ได้นำสมุดตรวจไปสอดไว้ที่ตรงรั้วประตูบ้าน และมีเจ้าหน้าที่ ตร.ไปตรวจ และลงนามในสมุดตรวจดังกล่าววันละ 8-9 ครั้ง แต่ข้อเท็จจริง เนื่องจากบันทึกการตรวจ ระบุการตรวจตั้งแต่วันที่ 16 -21 ต.ค.2546 แต่วันที่ 16 -17 ต.ค.2546 ผู้ฟ้องคดียังไม่ เดินทางไปต่างจังหวัดและไม่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจแต่อย่างใด แม้ในวันที่เกิดเหตุ คนร้ายเข้าไปโจรกรรมคือวันที่ 21 ต.ค. 46 เจ้าหน้าที่ตำรวจลงสมุดไปตรวจเยี่ยมบ้านนาย สุวัฒิชัย ฯ ผู้ฟ้องคดี ถึง 8 ครั้ง คือช่วงเวลา 02.00 – 23.20 น. แต่ปรากฏว่าในประจำวัน
เกี่ยวกับคดี ของ สน.หนองค้างพลู ระบุว่าเวลา 14.30 น. ได้รับแจ้งว่ามีเหตุลักทรัพย์ในบ้าน ของผู้ฟ้องคดี จะเห็นได้ว่า การลงบันทึกของ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจยืนยันว่ามี การไปตรวจบ้านของนาย สุวัฒิชัย ฯ ผู้ฟ้องคดี จริง ประกอบ วิธีปฏิบัติตามโครงการฝาก บ้าน ฯ จะต้องนำตู้แดงใส่สมุดตรวจไปติดไว้หน้าที่หน้าบ้าน แต่เจ้าหน้าที่ ตร.กลับใช้วิธีสอด สมุดไว้ที่รั้วบ้าน ด้วยเหตุที่ศาลเห็นว่า “ตู้แดง” เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่า บ้านดังกล่าว เป็นบ้านที่มีการตรวจตราอย่างเข้มข้น ย่อมเป็นที่เกรงกลัวของพวกขโมยได้ ดังนั้นจึงถือได้ ว่า การกระทำการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หนองค้างพลู เป็นการละเลยไม่กระทำการตาม อำนาจหน้าที่นั้น ๆ ตามองค์ประกอบข้อ 3 และผลกระทบการกระทำหรือละเลยไม่กระทำ การเป็นการละเมิดต่อบุคคลอื่นจึงเข้าองค์ประกอบใน ข้อ 4 ผู้เขียนเห็นว่า ประเด็นที่น่าสนใจในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดนี้คือ ศาลได้ ตั้งข้อสังเกตและวางแนวทางให้ ตร. ไปปรับปรุงวิธีการทำงาน สรุปได้ดังนี้ 1. ประเด็นความพร้อมของโครงการฝากบ้าน ฯ ในช่วงเทศกาลการรับฝากบ้านของ ตร. ไม่มีการจำกัดจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ แม้ว่าโครงการฯจะเป็นการบริการ สาธารณะแก่ประชาชน แต่การดำเนินการต้องคำนึงถึงกำลังอัตราเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนภารกิจประจำอื่น ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย 2. ความสามารถที่จะปฏิบัติตามโครงการให้เกิดผลได้จริง อย่างหวังเพียงการ ประชาสัมพันธ์ 3.การออกแบบแผนการปฏิบัติหน้าที่ควรที่จะให้แต่ละท้องที่เขียนแผนงานในการ ปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นการเขียนแผนมาจาก ตร.แล้วสั่งการให้หน่วยงานล่างปฏิบัติ เพราะว่าแต่ละ พื้นที่ ภูมิประเทศ ชุมชน ไม่เหมือนกัน ดังนั้น กองคดีปกครอง สำนักกฎหมายและคดี จึงขอฝากหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ต้องไปปรับแนวทางการปฏิบัติโครงการฝากบ้าน ฯ ตามแนวทางในคำพิพากษาของ ศาลปกครองสูงสุด ต่อไป ***************************