The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalisa Hongthong, 2023-05-14 12:09:07

วรรณคดีสมัยกรุงธน

วรรณคดี

วรรณคดีดี ดีดี สมัมั มั ย มั ยกรุรุ รุ ง รุ งธนบุบุ บุ รี บุ รี รีรี รายวิวิ วิชวิ า พัพั พั ฒ พั ฒนาการของวรรณคดีดีไดีดี ทย มหาวิวิ วิ ทวิ ทยาลัลัย ลั ย ลั ราชภัภัฏ ภั ฏ ภั บ้บ้ บ้ า บ้ านสมเด็ด็ ด็ จ ด็ จเจ้จ้ จ้ า จ้ าพระยา ช่องทางการค้นหาหนังสือ www.jdbdhdujsvkd.com จัดทำ โดย นักศึกษาชั้นปีที่ ปีที่ ๑ สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.)


คำ นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย รหัสวิชา ๒๑๙๑๒๐๘ ซึ่งมี เนื้อหาเกี่ยวกับ สภาพบ้านเมืองในสมัยกรุงธนบุรี และวรรณคดีใน สมัยธนบุรี ประกอบไปด้วย บทละครเรื่องรามเกียรติ์ นิราศเมืองกวางตุ้ง กฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ ลิลิตเพชรมงกุฎ ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เล่มนี้ จะมีประโยชน์สำ หรับผู้ศึกษาไม่มากก็น้อย และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ


สารบัญ เรื่อง หน้า สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี ๑ - ๓ ลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี ๔ รูปแบบวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี ๕ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ๖ - ๑๑ นิราศเมืองกวางตุ้ง ๑๒ - ๑๖ กฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ ๑๗ - ๒๑ ลิลิตเพชรมงกุฎ ๒๒ - ๒๘ วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี บรรณานุกรม ๒๙


สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๑


สภาพสังคม สภาพสังคมและการปกครองสมัยกรุงธนบุรี หลังจากที่วรรณคดีไทยได้มีพัฒนาการเป็นลำ ดับจนนับได้ว่า ถึงจุดรุ่งเรืองในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้ แก่พม่าเมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ สภาพบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ก็ถูกทำ ลายและสูญหายไปเป็นจำ นวนมาก ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ กรุงธนบุรี พระองค์ท่านก็ทรงเพียรพยายามสร้างบ้านเมือง พระราชภารกิจที่สำ คัญที่ต้องฟื้นฟูบ้านเมืองมีหลายด้าน หลาย ประการ แต่อย่างไรก็ดีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงให้ความสำ คัญ กับวรรณคดีด้วยเช่นกัน ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีแม้มีเวลาไม่มากนัก ประมาณ ๑๕ ปี แต่ก็มีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นพอสมควร • สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองสมัยกรุงธนบุรี เหตุการณ์บ้านเมืองโดยรวมจะอยู่ในสภาพที่เพิ่งฟื้นตัวจาก การเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ ผลจากการเสียกรุงทำ ให้ สภาพโดยทั่วไปของบ้านเมือง รวมทั้งจิตใจของประชาชนอยู่ในสภาพ ที่อาจกล่าวได้ว่าเลวร้ายที่สุดหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ ทรงกอบกู้อิสรภาพคืนกลับมาได้ทรงพิจารณาเห็นว่า ๒


การที่จะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาให้คงดีดังเดิมนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยเลือกสร้างราขธานีใหม่ คือ กรุงธนบุรีแทนหลังจากสร้างราชธานีใหม่แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจที่ต้องทรงปฏิบัติอย่างเร่งด่วนมากมาย อาทิ การสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของประเทศ การสร้างความ สามัคคี เป็นน้ำ หนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ และยังทรงต้องดูแล ประชาราษฎร์ให้อยู่ดีกินดี ตลอดจนทรงต้องฟื้นฟูพระศาสนา และ สร้างสรรค์อีกด้วย เรื่องจากเวลาที่ทรงครองราชย์ในระยะเวลาเพียง ๑๕ ปี ตั้งแต่ (พ.ศ.๒๓๑๐ - ๒๓๒๕) พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ พระราชภารกิจทั้งปวงดังกล่าวอย่างเต็มที่ สภาพบ้านเมืองถือได้ว่า ได้รับการฟื้นฟูบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น ส่วนประชาชนนั้นแม้ว่าจะเทียบไม่ได้กับในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ก็ นับได้ว่าบ้านมีลักษณะที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ และมีความผาสุกพอ สมควร ๓


ลัก ลั ษณะวรรณคดี สมัยกรุงธนบุรี ลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ประกอบด้วย ๑.) วรรณคดีนิทาน-นิยาย จำ นวน ๓ เรื่อง ได้แก่ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนาคำ ฉันท์ และลิลิตเพชรมงกุฎ ๒.) วรรณคดียอพระเกียรติ จำ นวน ๑ เรื่อง ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ๓.) วรรณคดีแสดงอารมณ์ จำ นวน ๑ เรื่อง ได้แก่ นิราศกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ๔.) วรรณคดีคำ สอน จำ นวน ๑ เรื่อง ได้แก่ กฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ ๔


รูปแบบวรรณคดี สมัยกรุงธนบุรี กรุงธนบุรีจัดได้ว่ามีลักษณะอนุรักษ์ตามแบบอย่างวรรณคดีใน สมัยกรุงศรีอยุธยามีการใช้รูปแบบคำ ประพันธ์หลายชนิด ได้แก่ • โคลง • ฉันท์ • กาพย์ • กลอน วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี แม้จะมีน้อยเรื่องแต่รูปแบบการเขียนมี ความหลากหลาย และวรรณคดีมักมีขนาดสั้น ประกอบด้วย • กลอนบทละคร • ลิลิต • นิราศ ๕


วรรณคดีสดี มัยกรุงธนบุรี ๖ เรื่อง บทละครเรื่องรามเกีย กี รติ์


รามเกียรติ์ ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จุดมุ่งหมาย : เพื่อใช้เป็นบทสำ หรับเล่นละครใน ลักษณะคำ ประพันธ์ : กลอนบทละคร ๗ บทละครเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ๔ ตอน มีชื่อจริงว่า บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ไม่มีคำ ว่า ๔ ตอนแต่อย่างใด คำ ว่า ๔ ตอน นั้นหมายความ ว่าผู้แต่งได้แต่งไว้ ๔ ตอน ประกอบด้วย • ตอนพระมงกุฎประลองศร • ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน • ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ • ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด ตอนพระมงกุฎกุ ประลองศร ถูกรังต้นใหญ่สินขาด ยับเยินวินาศดังฟ้าผ่า แล้วกลับต่อว่าอนุชา น้องยาจะว่าประการใด เนื้อหา : เป็นตอนท้ายของเรื่องรามเกียรติ์อันเป็นตอนที่พระราช นิพนธ์ก่อนตอนอื่นๆ กล่าวถึง พระมงกุฎ พระลบ โอรสของพระราม กับนางสีดา ซึ่งอยู่กับพระฤๅษีวัชมฤค เพราะนางสีดาถูกขับไป


๘ ตอนหนุมานเกี้ย กี้ วนางวานริน ฤๅษีมอบศรวิเศษให้แก่สองกุมาร สองกุมารได้ประลองศรกัน จนเกิด เสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปถึงเมืองอโยธยา พระรามทำ พิธีปล่อย ม้าอุปการแสดงอำ นาจ พระมงกุฎ พระลบจับม้าไปขี่เล่น พระภรต จับพระมงกุฎไปถวายพระราม พระลบตามไปช่วยได้ แล้วพาหนีไป พระรามยกกองทัพออกติดตาม จึงรบกับพระมงกุฎ ภายหลังทราบ ว่าเป็นพ่อลูกกัน เนื้อหา : หนุมานพบนางวานรินอยู่ในถ้ำ นางวานรินซึ่งถูกพระอิศวร สาปให้เป็นนางฟ้าคอยบอกทางให้แก่หนุมานเพื่อไปฆ่าวิรุญจำ บัง วิ รุญจำ บังเห็นหนุมานแล้วไม่เชื่อว่าเป็นหนุมาน หนุมานต้องหาวเป็น ดาวเป็นเดือนให้ดู นางจึงเชื่อ แล้วหนุมานได้นางวานริน พี่คือทหารพระรามา พนิดาอย่าแหนงแคลงใจ ทรงนามชื่อหนุมาน เป็นทหารห้าวแหงผู้ใหญ่ ฝ่ายอสุรยกออกไป ชิงชัยต่อด้วยพระราชา พระองค์ทรงยิงศรผลาญ สังหารมารหมู่ยักษา ถูกวิรุญจำ บังอสุรา ยักษาหลบหลีกหนีไป จึงให้พี่มาติดตาม นางงามเจ้ารู้บ้างหรือไม่ มันไปแห่งหนตำ บลใด บอกให้หน่อยเถิดนารี


๙ เมื่อนั้น พระกอบกิจธรรมเป็นใหญ่ ครั้นจะแจ้งเหตุเภทภัย จึ่งแถลงไขสองเสนา อันองค์อัชบาลเป็นสหาย เพื่อนตายรักใคร่กูหนักหนา ร่วมชีพไว้วิญญาณ์ ซึ่งลักษมณ์รามากูไม่รู้ ด้วยพึ่งใหญ่ค่อยจำ เริญวัย ทางไกลต่างคนต่างอยู่ ช้านานไม่ได้ไปดู สุริวงศ์ในกรุงอยุธยา ไฉนจึ่งมารุกราน กรุงมารเมืองหมู่ยักษา หรือจะเกี่ยวข้องกันด้วยสีดา ว่ามาทั้งนี้กูเห็นจริง อันนอกกว่านี้ไม่มีใคร จะทำ ฤทธิไกรสุงสิง หลานรักกูศักดิ์แสงยวดยิ่ง กฤษฎาธิการมหึมา เห็นแต่ท่านท้าวอัชบาล เป็นประธานสุริวงศ์นาถา เธอเป็นสหายรักกูมา อนิจจานัดดามาผิดกัน จำ กูจะไปเกลี่ยไกล่ อย่าให้ขึ้งเคียดเดียดฉันท์ เป็นเพื่อนเผ่าพันธุมิตรกัน โดยธรรม์ธรรมเนียมมีมา ตอนท้า ท้ วมาลีว ลี ราชว่า ว่ ความ เนื้อหา : เป็นตอนต่อจากหนุมานเกี้ยวนางวาริน ทศกัณฐ์ทราบว่า วิรุณจำ บังตาย จึงเชิญท้าวมาลีวราชมาว่าความท้าวมาลีวราชเสด็จมา ว่าความที่สนามรบระหว่างทศกัณฐ์และพระรามรวมถึงนางสีดาด้วย


๑๐ ท้าวมาลีวราชตรัสให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ ยอม จึงถูกท้าวมาลีวราชสาปแช่ง และได้อวยพรให้พระราม ตอนทศกัณ กั ฐ์ตั้ ฐ์ ง ตั้ พิธีท ธี รายกรด ฝ่ายพี่จะปั้นรูปเทวดา บูชาเสียให้มันม้วยไหม้ ครั้นถ้วนคำ รบสามวันไซร้ เทวัญจะบรรลัยด้วยฤทธา ไม่ยากลำ บากที่ปราบ ราบรื่นมิพักไปเข่นฆ่า พี่ไม่ให้ม้วยแต่นางฟ้า จะพามาไว้ในธานี เนื้อหา : ด้วยความแค้น ทศกัณฐ์ได้ทำ พิธีทรายกรด ด้วยการปลุก เสกหอกกบิลพัสดุ์และเผารูปเทวดาเพื่อให้ตายที่หาดทรายกรด เพราะแค้นที่เทวดาช่วยเป็นพยานให้พระราม พระอิศวรรีบให้เทพ บุตรพาลีมาชิงทำ ลายพิธีเสียก่อน ทศกัณฐ์เข้าใจว่าพิเภกก็มีส่วนรู้ เห็น นางมณโฑยุให้ทศกัณฐ์ฆ่าพิเภกเสียเพราะชอบเอาเรื่องราวไป บอกแก่ฝ่ายพระรามพิเภกบังพระลักษมณ์ไว้ พระลักษมณ์ถูกหอก กบิลพัสดุ์สลบไปหนุมานเหาะไปหายามาแก้ โดยไปเอายาสังกรณี กับตรีชะวา ประสมกับมูลโคพระอิศวร และไปเอาแม่หินบดยาที่ เมืองลังกาซึ่งอยู่ใต้หมอนทศกัณฐ์ หนุมานได้แกล้งทศกัณฐ์ โดยเอา ผมของทศกัณฐ์ผูกติดกับผมนางมณโฑพร้อมกับสาปแช่งว่า


๑๑ ถ้าอยากให้หลุด ทศกัณฐ์ต้องยอมให้นางมณโฑตบศีรษะสามที ทศกัณฐ์จึงยอมให้นางมณโตตบศีรษะสามที ผมของทศกัณฐ์กับ นางมณโฑจึงหลุดจากกัน คุณค่าที่ได้จากเรื่อง ๑.) คุณค่าทางอักษรศาสตร์ : ใช้คำ ง่ายแก่การเข้าใจ กระบวน กลอนใช้ถ้อยคำ รวบรัด ตรงไปตรงมา มีลีลารวดเร็ว จริงจัง ฟังดูไม่นุ่ม นวลเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นบทรักก็ใช้คำ อ่อนโยน ๒.) คุณค่าทางศาสนาและศีลธรรม : ได้ให้แง่มุมคำ สั่งสอนที่ มีประโยชน์ต่อการดำ เนินชีวิตประจำ วัน เช่น สอนให้เห็นคุณค่าของ การออกบวช การประพฤติปฏิบัติธรรมจนได้มรรคผล


วรรณคดีสดี มัยกรุงธนบุรี ๑๒ เรื่อง นิราศเมืองกวางตุ้งตุ้


๑๓ ผู้แต่ง : พระยามหานุภาพ (อ้น) จุดมุ่งหมาย : เพื่อบันทึกเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นในการเดินทาง ลักษณะคำ ประพันธ์ : กลอนนิราศ มีความยาว ๓๗๒ คำ กลอน นิราศเมืองกวางตุ้ง ตุ้ เนื้อหา : กล่าวถึงการเดินทางทางเรือ ซึ่งคนจีนเป็นพนักงานรวม ๑๑ ลำ ออกจากกรุงธนบุรี ผ่านปากน้ำ เจ้าพระยา เขาสามร้อยยอด เมืองพุทไธมาศ ป่าสัก เมืองญวน เกาะมะเกา (หมาเก๊า) ถึงเมือง กวางตุ้ง ระหว่างเดินทางประสบคลื่นลมแรงพนักงานบนเรือต้องทำ พิธีบวงสรวงเทพเจ้าเนืองๆ ได้พบปลาวาฬ บรรยายถึงหญิง ค้าประเวณีชาวเรือเมืองกวางตุ้งและธรรมเนียม ห่อเท้าของหญิงจีน ภูมิฐานบ้านเรือนของเมืองกวางตุ้ง การนำ พระราชสาส์นเครื่องบรรณาการ การเดินทางเรือต่อไปยัง ปักกิ่ง การจำ หน่ายสินค้าของหลวงที่กวางตุ้งการเดินทางกลับและ สรรเสริญพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นิราศเมือง กวางตุ้งเป็นวรรณคดีสมัยธนบุรีเรื่องสุดท้าย มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ เนื่องจากบันทึกเรื่องความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรี ระหว่างไทยกับจีน และแบบธรรมเนียมการทูตไว้อย่างชัดเจน เป็น เครื่องยืนยันความถูกต้องของเอกสารด้านประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้ อีกทางหนึ่ง


๑๔ นอกจากนี้ยังได้บรรยายถึงสภาพบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวจีน และประเพณีปฏิบัติของชาวเรือทะเล ในด้านวรรณคดีนิราศ เรื่องนี้ใช้ถ้อยคำ สำ นวนและลีลาของกลอนเรียบๆ เข้าใจง่าย กระบวนพรรณาละเอียดลออเป็นนิราศเรื่องแรกของไทย ที่ใช้ฉาก ต่างประเทศบรรยายการเดินทางทางทะเลจากประสบการณ์ของกวี เอง และไม่เน้นการคร่ำ ครวญถึงหญิงคนรักตามธรรมเนียมนิราศที่มี มาในสมัยก่อน ตอนชมบ้านเมือง อันร้านรายขายของทั้งสองฟาก ประหลาดหลากล้วนทำ ด้วยฉำ ฉา ประจงเจียนเขียนวาดแล้วชาดทา ที่ตั้งหน้าตรงร้านกระดานทอง เป็นวิสัยลูกค้าบรรดาขาย จารึกรายไว้ให้ดูรู้ของ ที่กระถางธูปเทียนนั้นเขียนทอง ทั้งเตียงรองหลั่นลดนั้นรจนา อันเครื่องร้านที่สำ หรับประดับของ ล้วนแก้วแหวนเงินทองนั้นหนักหนา แพรพรรณสรรพสิ่งละลานตา ทั้งเสื้อผ้ามุ้งม่านตระการใจ ทั้งถ้วยโถโอจานแลจันอับ จะคณนานามนับไปเป็นไหนไหน บ้างหาบคอนร่อนขายอุบายไป บ้างเคาะไม้แทนปากก็มากมาย


๑๕ ตอนที่ก ที่ ล่า ล่ วถึงประเพณี การห่อเท้า ท้ ของผู้ห ผู้ ญิงจีน อันชมสาวที่ชาวสถลมาศ ไม่อุจาดเหมือนจีนประจำ ท่า อันรูปทรงสรรเสริญจำ เริญตา ครั้นพิศเบื้องบาทาก็เสียดาย เอาผ้าคาดขึงเหนี่ยวจนเรียวรัด พาวิบัติอินทรีย์ให้มีสลาย จะดำ เนินมิใคร่ตรงพอทรงกาย ย่อมใช้ชายขายค้ามาให้กิน ยอพระเกีย กี รติพระบาทสมเด็จ ด็ พระเจ้าตากสินมหาราช ชะรอยอรรถบุรุษอุดมวงศ์ ในสิบองค์โพธิสัตว์ดุสิตสวรรค์ ได้รัฐยาเพททายทำ นายพรรณ ในอนันต์สำ นักชิเณรนาน จึงดลใจให้พระองค์ทรงนั่ง บัลลังก์รัฐรสพระธรรมกัมมัฏฐาน ให้ทรงเครื่องนพรัตน์ชัชวาล พระชมฌานแทนเบญจกกุธภัณฑ์ เอาพระไตรลักษณ์ทรงเป็นมงกุฎ พระงามสุดยอดฟ้าสุทธาสวรรค์ เอาพระศีลสุจริตในกิจกรรม์ เป็นสุวรรณเนาวรัตน์สังวาลย์ เอาพระมุติธรรม์เป็นคันฉัตร เอาพระสัจจะเป็นระใบไพศาล ล้วนเครื่องศีลวัตรอันชัชวาล พระอุเบกขาญาณเป็นธารกร


๑๖ คุณค่าที่ได้จากเรื่อง ๑.) คุณค่าทางอักษรศาสตร์ : ใช้ถ้อยคำ ง่าย สำ นวนราบ เรียบ กระบวนพรรณนาละเอียดลออ มีความไพเราะไม่น้อย ทีเดียว แม้ไม่เทียบเท่านิราศของสุนทรภู่ก็ตาม กระบวนการ พรรณนาละเอียดลออ ๒.) คุณค่าทางประวัติศาสตร์ : ช่วยบันทึกเหตุการณ์ในการ เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนและแบบธรรมเนียมการทูต นับเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกที่มีฉากของต่างประเทศ ๓.) คุณค่าทางสังคม : ได้ทราบถึงสภาพบ้านเมือง ชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวจีน และประเพณีปฏิบัติของชาวเรือ


กฤษณาสอนน้อง คำ ฉันท์ วรรณคดีสดี มัยกรุงธนบุรี ๑๗ เรื่อง


๑๘ ผู้แต่ง : พระยาราชสุภาวดี และ พระภิกษุอินท์ โดยมีการ สันนิษฐานกันว่า พระยาราชสุภาวดีเเต่งตอนต้น พระภิกษุอินท์แต่ง ตอนหลัง จุดมุ่งหมาย : เพื่อเป็นสุภาษิตเตือนใจสตรีให้รู้จักหน้าที่ของตน ลักษณะคำ ประพันธ์ : คำ ฉันท์และกาพย์ เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์ สุรางคนางค์เป็นส่วนใหญ่ กฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ เนื้อหา : กล่าวถึงกษัตริย์พรหมทัต พระราชาแห่งเมืองพาราณสี มี พระราชธิดา ๒ องค์ คือ พระนางกฤษณา และ พระนางจิรประภา เมื่อพระราชบิดาทรงจัดให้มีการเลือกคู่ พระนางกฤษณาเลือกได้ ๕ คน พระนางจิรประภาเลือกได้คนเดียว พระนางกฤษณามีความ เฉลียวฉลาด มีความสามารถในการปรนนิบัติจึงมีความสุขกับสามี อย่างที่สุด ส่วนพระนางจิรประภาบกพร่องในหน้าที่จึงหามีความสุข ไม่ พระนางจิรประภาจึงขอร้องให้พระนางกฤษณาช่วยบอกวิธีการ ให้ พระนางกฤษณาจึงกล่าวสอนน้องว่า การที่จะทำ ให้สามีรักใคร่มี ความสุขด้วยกันนั้น ผู้หญิงต้องฉลาดในการเรือน รู้หน้าที่ของภริยา บำ รุงบำ เรอสามีเก่ง ทำ ตัวอยู่ในโอวาทของสามี พระนางจิรประภาก็ นำ คำ สอนของพี่ไปปฏิบัติต่อสามี


๑๙ วิธีที่ ธี ห ที่ ญิงพึงปฏิบัติต่อ ต่ ชาย กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พี่จักสอนนาถ เป็นวรโอวาท จำ ไว้เยาวมาลย์ เจ้าจักรักชาย ชมชื่นหึงนาน มิให้รำ คาญ วิโยคเจียนไกล สุดเเต่ความสัตย์ กับทางปรนนิบัติ ให้ชอบน้ำ ใจ


๒๐ มุจลินทร์จุลาการ ก็บังเกิดมหัศจรรย์ คลุ้มคลื่นตรังคัน อุโฆษศัพทเครงโครม บุษบันก็ทรงดวง สะเทือนดอกวิลาสโดม มัตสยาก็ล่องโลม ระรื่นเชยกระเเสสินธุ์ เอิบอาบ บ เอื้ออิ่ม สโรชสร้อยสวาริน ตรลบกลิ่นผกาตฤณ เเสยงเศียรสบายกาย ส่องแสงสุริโย พยอนโยกกระเเสสาย ชลทิตประพรายพราย ปทุมเมศกระจ่างบาน ภุมราภมรมัว ฤดีร่วมผสานสาร เกลือกเคล้าสุคนธาร ทวีราคนิรารมย์ สององคอ่าองค์ สบายองค์เกษมสม เเสนสนุกนิอุดม ถวัลย์เวียงวิเจษฎา ยศศักดิสมบูรณ์ อุกฤษฏ์เกียรติลือชา ทั่วเทพเทวา นราราษฎร์ก็ชมบุญ สองทรงศิลาทาน สถิตรัตนาคุณ คุ้งชันษาสุญ ชราภาพชีวา


๒๑ คุณค่าที่ได้จากเรื่อง ๑). คุณค่าทางอักษรศาสตร์ : ใช้ถ้อยคำ ง่าย ๆ จึงอ่าน เข้าใจได้ง่าย และยังช่วยให้มีการรักษาวรรณกรรมสำ คัญไว้ไม่ให้ สูญหายไป และยังมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมรุ่นหลังอีกด้วย เช่น สมเด็จพระมหากรมพระปรมานุชิตชิโนรสในสมัยรัตนโกสินท์ ได้ทรงเเต่งกฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ขึ้นมาอีกฉบับเหมือนกัน ๒). คุณค่าทางสังคม : แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ของผู้หญิง ทำ ให้ผู้หญิงรู้หลักในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องในฐานะที่เป็นภริยา อันนำ มาซึ่งความสุขในครอบครัว เเละเมื่อเเต่ละครอบครัวปฏิบัติ ตามได้ ก็จะมีความสุขทุกกครอบครัว เมื่อครอบครัวมีความสุข ย่อมส่งผลให้มีความสุขตามไปด้วย


๒๒ วรรณคดีสดี มัยกรุงธนบุรี เรื่อง ลิลิ ลิ ต ลิ เพชรมงกุฎกุ


๒๓ ลิลิ ลิ ต ลิ เพชรมงกุฎกุ เนื้อหา : ท้าววิกรมาทิตย์เสด็จประพาสป่า จับตัวเวตาลมาเป็นพาหนะ เวตาลขอเล่านิทานถวายโดยมีข้อตกลงว่า ท้าววิกรมาทิตย์ตอบปัญหา ได้จะยอมเป็นข้าตลอดไป เวตาลจึงเล่านิทานถวายท่านวิกรมาทิตย์ เวตาลจึงเล่านิทานถวายท่านวิกรมาทิตย์ โดยเริ่มจากพระเพชรมงกุฎ ทูลลาพระบิดาไปล่าสัตว์กับพี่เลี้ยงุแล้วเกิดหลงทางกันขึ้นมาจนถึง เมืองกรรณ ได้พบพระธิดาเมืองกรรณและเกิดความพึงพอใจต่อกัน พี่เลี้ยงจึงออกอุบายให้พระธิดาเมืองกรรณเป็นชายาของพระเพชรมงกุฎ พระธิดาเกิดความกลัวว่าพี่เลี้ยงจะชวนพระเพชรมงกุฎกลับเมืองจึง วางยาพระพิษหมายจะฆ่าพี่เลี้ยงให้ตาย แต่พี่เลี้ยงฉลาดกว่า จึงหาทาง พาพระเพชรมงกุฎกลับเมืองจนได้ต่อมาพี่เลี้ยงได้แนะนำ ให้พระเพชร มงกุฎ ลิลิตเพชรมงกุฎเป็นลิลิตที่แต่งโดยอาศัยเค้าจาก นิทานสันสกฤต เรื่อง เวตาลปัญจวีสติ ของศิวทาส ชาวอินเดีย สันนิษฐานว่าแต่งระหว่าง พ.ศ.๒๓๑๐ - ๒๓๒๒ ผู้แต่ง : หลวงสรวิชิต (หน) ได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็นเจ้าพระยา พระคลัง (หน) จุดมุ่งหมาย : เพื่อถวายพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ลักษณะคำ ประพันธ์ : ลิลิตสุภาพ โดยใช้ร่ายสุภาพกับโคลงสุภาพ


๒๔ พระธิดากลับมาด้วย โดยทำ กลอุบายให้พระเจ้ากรุงกรรณเข้า พระทัยผิด ขับไล่ธิดาออกจากเมือง พระเพชรมงกุฎจึงรับนางไปที่ เมืองตน และทำ หนังสือมาขอทำ ไมตรี พระเจ้ากรุงกรรณทรงทราบ ว่าถูกกลอุบายจึงตรอมพระทัยจนสิ้นพระชนม์ เวตาลแกล้งถาม ท้าววิกรมาทิตย์ว่า ความผิดควรตกอยู่ที่ผู้ใด ท้าววิกรมาทิตย์เผลอ ตอบไปว่า ความผิดอยู่ที่เจ้ากรุงกรรณ เวตาลจึงได้โอกาสที่ท้าววิกรมา ทิตย์ผิดสัญญาว่าจะไม่ตรัสอะไรตลอดทางลอยกลับไปอยู่ที่ป่าเหมือน เดิม แต่ในที่สุดเวตาลต้องยอมเป็นข้ารับใช้พระวิกรมาทิตย์ต่อไป แสดงความนอบน้อม และบอกที่ม ที่ าของเรื่อง ศรีสวัสดิ์ปรีดารารมย์ ประนมนิ้วประณต ทศนัขประชุม ต่างโกสุมภ์สุนทเรศ โอนวรเกศอภิวาท สยมภูวนาถโมลิศ องค์จักรกฤษณ์กัมเลศ ภาณุเมศศิธร ปิ่นอมรจักรพาฬ เทวสพสถาน อารักษ์ ถวัลย์ราชกษัตริย์พิเศษ จรรโลงเกศกรุงทวารา ศรีอยุธยายศ โยค ขอนฤโศกทุกข์ภัย นฤจัญไรบำ ราศ จากวรอาตมวิมลทข้อยจะ นิพนธ์ลิลิต โดยตำ นานนิตย์บูรำ ในปักระณำ เวตาลมและนิทานเป็น ประถม องค์ศรีวิกรมเสลราช ปางนรนาถเสด็จไคล สู่สิวาลัยล่วงโฆ ลุจุธาโลกสงสาร โดยโชยงการกำ หนด พระผู้มียศก็ทรง


๒๕ กล่า ล่ วถึงพระบิดา พระมารดา พระเพชรมงกุฎกุ และพี่เ พี่ ลี้ย ลี้ ง ปางก่อนกาลยังมี เจ้าธเรศตรีกษัตริย์ นามท้าวรัตน์นฤเบศร์ ครอง นัคเร ศศรีบุรี มีมเหสีเลิศนิลักษณ์ ชื่อประภาพักตร์เพ็ญพาน โฉมแล ลานเลอสวาท ปิ่นเยาวราชกัลยางค์ หกพันนางพระสนม ไอศวรรย์สม ศฤงคาร กอบพลหาญกลั่นกล้า กอบพลม้าเมือบเมือง กอบพลเรือง ราชรถ กอบพลคชคั่งคาม ปรปักษ์ขามเคียมคัล ถวายสุวรรณมาลาศ โดยบุรพาศน์ประเพณี ท้าวธมีเอารส นามปรากฏเพชรมงกุฏ เป็น ที่สุดเสนหา แห่งพระชนกามารดร ภูธรตั้งมนตรี ชื่อพุฒศรีพี่เลี้ยง บริรักษ์ราชบุตรเพี้ยง เนตรท้าวภักดี ฯ พี่เ พี่ ลี้ย ลี้ งพุฒิศรี พุฒศรีพี่เลี้ยงราช เอารส รักร่วมชีวงคต ลูกท้าว ถนอมสอนวราพจน์ วรวากย์ ฤๅห่อนห่างเสด็จก้าว หนึ่งนั้นไป่มี ฯ


๒๖ ชมโฉมพระเพชรมงกุฎกุ พระเอี่ยมโอภาสพื้น ภูวดล ดุจอินทร์จากอำ พน สู่หล้า ฤๅสุริยดำ กล จากรถ มาฤๅ ฤๅว่าจันทร์แจ่มฟ้า จากฟ้ามาดิน ฯ ควรเป็นปิ่นโลกล้ำ เลิศกษัตริย์ สมสุรางค์นิกรอัด แอบเฝ้า เฉลิมกามพธูสวัสดิ์ สังวาส แลพ่อ แม้ว่านางใดเคล้า คลาดแล้วเมือมรณ์ ฯ ฝูงนิกรนารีกล้า ชมโฉม หวังกษัตริย์ฤๅดีโลม ลูกท้าว จบทวยราษฎรโสม- นัสเสน่ห์ พระนา หญิงบ่งราชลืมย้าว หวั่นว้าสวามี ฯ ทั่วบูรีขับร้อง ชมโฉมเยาวราชพร้อง เพรียกพร้องเยินยอ ฯ


๒๗ พระบิดามารดาอาลัย ลั เมื่อ พระเพชรมงกุฎกุ เสด็จประพาสป่า ภูธรฟังลูกท้าว อำ ลา สองเสน่ห์ในบุตรา ยิ่งล้น จักทัดก็ออมอา- ดูรเทวษ ใช่พ่อ โอพ่อประพฤติพ้น ผ่อนให้โดยใจ ฯ เจ้าไปประพาสแล้ว จรลี มานา จากพ่อวันหนึ่งดุจปี หนึ่งไซร้ หนึ่งพนัสพนาศรี ข้อทุเรศ ส่วนปิศาจขานไข้ พ่อไข้ใจตาง ฯ ตรัสพลางสั่งพี่เลี้ยง เอารส ถนอมอรพระเยาวยศ ยอดฟ้า สูเตือนสู่ชนบท เวียงราช อย่าหลงเล่นละเลิงช้า ขุกไข้ภัยพาล ฯ ภูบาลตรัสเร่งให้ เตรียมพล จัตุรงค์พยุหโจษจล แกล้วกล้า เสนาเร่งมุขมน- ตรีตรวจ เตรียมแฮ มาทันทูลเจ้าหล้า เสด็จพร้อมพลากร ฯ


๒๘ คุณค่าที่ได้จากเรื่อง ๑.) คุณค่าทางอักษรศาสตร์ : ลิลิตเพชรมงกุฎเป็นวรรณคดีที่ มีอายุยาวนานถึงสองร้อยกว่าปีเป็นกวีนิพนธ์ที่มีความงดงามไม่น้อยใช้ ถ้อยคำ สำ นวนนิ่มนวลเรียบง่าย มีท่วงทำ นองคล้ายลิลิตพระลอ แต่ก็มีลักษณะเป็นของตนเองด้วย ๒.) ทางคติธรรมคำ สอน : ได้แสดงให้เห็นความรักระหว่าง พ่อแม่ลูกที่มีต่อกันซึ่งแสดงลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างคนใน ครอบครัวตามแบบอย่างไทยได้เป็นอย่างดี


๒๙ บรรณานุกรม องอาจ โอ้โลม. (๒๕๕๕). วรรณคดีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่๒). กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำ กัด สืบค้น : วันที่๒๗ เมษายน ๒๕๖๖ อุทัย ไชยานนท์. (๒๕๔๕). วรรณกรรมไทย (พิมพ์ครั้งที่๑). กรุงเทพฯ : บริษัท สำ นักพิมพ์น้ำ ฝน จำ กัด สืบค้น : วันที่๒๘ เมษายน ๒๕๖๖


Click to View FlipBook Version