The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ไตรมาส 3/2566

วิเคราะห์MMCภูเก็ต_Q3.66 (ใช้)

1


2 .d ฉบับที่3/2566 วันที่ 30 กันยายน 2566 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ปี2566 และ ปี 2567 เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 62.2 ต่อปี จากการขยายตัวของภาคบริการ และการบริโภคภาคเอกชน ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และคาดว่าในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 12.9 1. เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ในปี 2566 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 62.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ61.8-62.6) ขยายตัวจากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 56.2 ตามการขยายตัวของภาคอุปทานและอุปสงค์ภายใต้สมมติฐาน ดังนี้ ด้านอุปทาน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 67.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 67.0-67.9) เป็นการขยายตัวจาก ภาคบริการ ที่ขยายตัวร้อยละ 80.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 80.0-81.0) จากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการยกเลิกข้อจำกัดในการ เดินทางของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งของประเทศไทยและประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากจีน หลังจากที่รัฐบาลจีนได้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวต่างประเทศได้ทั้งแบบ เดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (FIT) และแบบ Group tour และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน ด้วยมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) เพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติจีนและสัญชาติ คาซัคสถาน เป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 5 เดือน โดยเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง (Golden Week) ไปจนถึงช่วงตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหลังทางการอินเดียยกเลิกมาตรการตรวจ RT-PCR ก่อนกลับเข้าประเทศ อีกทั้งในช่วงGreen seasonจำนวนนักท่องเที่ยวตลาดหลักจะเริ่มลดลง ซึ่งเดิม ตลาดหลัก ได้แก่ จีน ยุโรป สแกนดิเนเวีย และอเมริกา และมีตลาดเสริมเข้ามา คือ ตลาดอินเดีย นอกจากนี้ มีสายการบินที่เปิดใหม่มาจากไต้หวัน เวียดนาม และตะวันออกกลาง ส่งผลให้ชาวต่างชาติที่เดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางอากาศและทางเรือเพิ่มขึ้น โดยมีนักท่องเที่ยวที่มากับเรือสำราญขนาดใหญ่เดินทาง มาจอดทอดสมอเรือบริเวณอ่าวป่าตอง และท่าเรือน้ำลึกอ่าวมะขาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นมาท่องเที่ยวแบบ One Day Trip อีกส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการเราเที่ยวกัน ระยะที่ 5 นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รายงานประมาณการเศรษฐก ิ จจงัหวดัภเ ู กต ็ ส านักงานคลังจังหวัดภูเก็ต ศาลากลางจังหวัด ถ.เจ้าฟ้า ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โทรศัพท์ 0-7621-2215 โทรสาร 0-7621-2215 ต่อ 322 http://www.cgd.go.th/pkt


3 ได้ออกทำการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้เกิด การเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.0-8.6) จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าอุตสาหกรรม และทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2-5.5) จากปริมาณผลผลิตกุ้ง และ สัตว์น้ำรวมมีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 20.5-20.8) เป็นผลจาก การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ร้อยละ 62.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 61.9-62.8) จากการ ขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัว ของการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค และกำลังซื้อของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 41.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 40.9-41.5) จากการขออนุญาตพื้นที่ก่อสร้างและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัว ตามการฟื้นตัว ของการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.1 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.1-1.2 จากการขยายตัวของการเบิกรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน สำหรับ รายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 5.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3-6.3) 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัดภูเก็ตปี 2566 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์เฉลี่ยร้อยละ 1.4-1.6) ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ สถานการณ์ด้านราคาพลังงานที่ลดลง จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน ในตลาดโลก รวมถึงการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2566 ส่งผลให้ต้นทุน ค่าขนส่งและราคาสินค้าและบริการลดลง และภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัว ต่อเนื่องจากมาตรการเปิดประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจากภาครัฐ ซึ่งจะเข้ามา ช่วยหนุนให้เกิดการจ้างงาน และรายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว สำหรับการจ้างงาน ในปี 2566 คาดว่าจะมีการจ้างงานทั้งหมด 345,682 คน ขยายตัวร้อยละ10.6 เป็นการขยายตัว ตามภาคบริการ เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวสามารถกลับมาเปิดกิจการ ได้ตามปกติส่งผลให้ความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น


4 2. เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ในปี 2567 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 12.6-13.3 ต่อปี) โดยเป็นการขยายตัวทั้งด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ภายใต้สมมติฐาน ดังนี้ ด้านอุปทาน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15.7-16.4) เป็นการขยายตัวจาก ภาคบริการ ที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 17.4-18.1) คาดว่า ภาคการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น จากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกา และหลายประเทศทั่วโลกที่มีความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนและคาซัคสถานที่มีปัจจัยบวกจากมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ออกทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อกระตุ้น ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 2.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6-2.8) เนื่องจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานและ ทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 1.6-1.8 ต่อปี) จากปริมาณผลผลิตยางพารา กุ้ง และสัตว์น้ำรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามความต้องการ ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 4.5-4.8) เป็นผลจาก การบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.7-13.6 ต่อปี) จากการที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งผลให้รายได้จากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวชาวไทย จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.2-4.3 ต่อปี) จากการขออนุญาต พื้นที่ก่อสร้าง สินเชื่อเพื่อการลงทุน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัว ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและ ธุรกิจที่ต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3-1.5 ต่อปี) คาดว่าจะขยายตัวตามรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน สำหรับรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9-5.5) จากความต้องการของผู้บริโภคและมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัดภูเก็ตปี 2567 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์เฉลี่ยร้อยละ 1.9-2.1 ต่อปี) ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อจังหวัดภูเก็ตคือ ต้นทุนราคา อาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด ราคาพลังงานและโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ในขณะที่การจ้างงานในปี 2567 คาดว่า จะมีการจ้างงานทั้งหมด 353,247 คน ขยายตัวร้อยละ 2.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1-2.3 ต่อปี) เป็นการขยายตัวตามภาคบริการและธุรกิจที่ต่อเนื่อง จากการท่องเที่ยว เนื่องจากแรงงานในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ


5 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจในปี 2566 -2567 ของจังหวัดภูเก็ต ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง 1. ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่อาจจะ กลับมาระบาดซ้ำอีกครั้งจากการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ และการทวีความตึงเครียดระหว่าง อิสลาเอล-กลุ่มฮามาส ราคาพลังงานในประเทศที่มีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้นจากสถานการณ์โลก และความเสี่ยง ในการเกิดวิกฤตของสถาบันการเงิน ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นใจของประชาชน 3. การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายส่งผลให้ ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น และภาระหนี้ของภาคครัวเรือน 4. ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น รวมทั้ง ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ ที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค 5. วิกฤตภัยธรรมชาติ รวมถึงปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมและหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน 6. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว เช่น เหตุการณ์เรือล่ม การก่อการร้าย และโรคระบาดต่าง ๆ 7. ปัญหาการจ้างงาน จากการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในปี 2566 – 2567 ของจังหวัดภูเก็ต 1. ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจากการเปิดประเทศของจีน และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน เป็นผลให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2. มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อการบริโภคภายในประเทศของภาครัฐ เช่น โครงการช้อปดีมีคืน และการใช้สิทธิสวัสดิการตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 3. การจ้างงานปรับดีขึ้นโดยเฉพาะแรงงานในภาคบริการ และสนับสนุนกำลังซื้อให้ฟื้นตัว ต่อเนื่อง


6 ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ปี 2566 (ณ เดือนกันยายน 2566) Estimate : การประมาณการ ที่มา : กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต F = Forecast : การพยากรณ์ ปรับปรุง : 9 ตุลาคม 2566 เฉลี่ย สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) ปริมาณผลผลติ : ยางพารา(ร้อยละตอ่ ปี) -50.2 -18.2 0.9 0.9 1.0 2) ปริมาณผลผลติ : กงุ้ (ร้อยละตอ่ ปี) 5.4 8.0 1.5 1.4 1.6 3) ปริมาณผลผลติ : สตัวน์ ้า รวม (ร้อยละตอ่ ปี) -38.3 3.0 1.9 1.8 2.0 4)ราคาทเี่กษตรกรขายไดเ้ฉลี่ย: ยางพารา(บาทตอ่ก.ก.) 54.5 48.0 49.0 48.9 49.0 5)ราคาทเี่กษตรกรขายไดเ้ฉลี่ย: กงุ้ทะเล(บาทตอ่ก.ก.) 251.5 230.4 250.0 249.1 251.0 6)ราคาทเี่กษตรกรขายไดเ้ฉลี่ย: สตัวน์ ้า รวม (บาทตอ่ก.ก.) 56.7 60.6 61.0 61.0 61.1 7) ปริมาณการใชไ้ฟฟ้าภาคอตุสาหกรรม (ร้อยละตอ่ ปี) 24.0 16.4 4.6 4.4 4.8 8)จา นวนโรงงานในจงัหวดั (โรง) 300 280 284 283 284 9) ทนุจดทะเบยีนของอตุสาหกรรม (ลา้นบาท) 11,667 11,813 11,903 11,899 11,908 10)จา นวนนกัทอ่งเทยี่วเฉลี่ย (ผา่นทางน้า + ผา่นสนามบนิ ) 7,861,273 14,912,835 17,940,140 17,918,949 17,961,332 11)จา นวนเทยี่วบนิลงทจี่งัหวดั (เทยี่ว) 57,470 87,929 100,063 99,639 100,488 12) ภาษบีา รุงทอ้งถิ่นจากโรงแรม (ร้อยละตอ่ ปี) 398.2 96.6 18.6 18.1 19.1 13) ภาษมีูลคา่เพิ่มทจี่ดัเกบ็ได้(ร้อยละตอ่ ปี) 98.7 65.2 14.0 13.5 14.5 14)รถยนตจ์ดทะเบยีนใหม่(คนั ) 7,920 11,840 12,811 12,765 12,857 15)รถจกัรยานยนตจ์ดทะเบยีนใหม่(คนั ) 20,606 26,272 27,958 27,879 28,037 16) สินเชื่อเพื่อการลงทนุ (ลา้นบาท) 58,381 56,186 56,916 56,880 56,953 17) พ้ืนทอี่นุญาตกอ่สร้าง(ตารางเมตร) 801,445 1,639,756 1,648,365 1,647,935 1,648,796 18)รถยนตเ์พื่อการพาณิชย์(คนั ) 2,045 2,802 2,893 2,888 2,897 สมมติฐานด้านนโยบาย 21)รายจ่ายประจา ภาครฐั (ลา้นบาท) 2,647.1 2,672.0 2,706.8 2,705.0 2,708.5 (ร้อยละตอ่ ปี) -4.9 0.9 1.3 1.2 1.4 22)รายจ่ายลงทนุภาครฐั (ลา้นบาท) 1,184.1 1,206.8 1,229.8 1,228.6 1,230.9 (ร้อยละตอ่ ปี) -12.4 1.9 1.9 1.8 2.0 ผลการประมาณการ 1)อตัราการขยายตวัทางเศรษฐกจิ (ร้อยละตอ่ ปี) 121.5 62.2 12.9 12.6 13.3 2)อตัราการขยายตวัของภาคเกษตรกรรม (ร้อยละตอ่ ปี) -20.3 5.4 1.7 1.6 1.8 3)อตัราการขยายตวัของภาคอตุสาหกรรม (ร้อยละตอ่ ปี) 10.8 8.3 2.7 2.6 2.8 4)อตัราการขยายตวัของภาคบริการ(ร้อยละตอ่ ปี) 303.9 80.5 17.8 17.4 18.1 5)อตัราการขยายตวัของการบริโภคภาคเอกชน (ร้อยละตอ่ ปี) 91.9 62.4 13.2 12.7 13.6 6)อตัราการขยายตวัของการลงทนุภาคเอกชน (ร้อยละตอ่ ปี) -7.1 41.2 4.3 4.2 4.3 7)อตัราการขยายตวัของการใชจ้่ายรฐับาล(ร้อยละตอ่ ปี) -6.5 1.1 1.4 1.3 1.5 8)อตัราการขยายตวัของรายไดเ้กษตรกร(ร้อยละตอ่ ปี) -21.2 5.8 5.2 4.9 5.5 9)อตัราเงินเฟ้อ(ร้อยละตอ่ ปี) 4.3 1.5 2.0 1.9 2.1 10)จา นวนผมู้ีงานทา (คน) 312,560 345,682 353,303 353,104 353,503 เปลี่ยนแปลง(คน) 24,225 33,121 7,622 7,423 7,821 8.4 10.6 2.2 2.1 2.3 2565 2567 F ณ กนัยายน 2566 ช่วง 2566 E


7 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจ 1. ด้านอุปทาน ในปี 2566 เศรษฐกิจภูเก็ตมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 67.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 67.0-67.9) จากการขยายตัวของภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 8.3 และ 80.5 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ปริมาณผลผลิตยางพารา ในปี 2566 คาดว่าปริมาณผลผลิตจะลดลงร้อยละ (-18.2) (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ (-18.7)-(-17.7)) ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจาก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการของประเทศคู่ค้าลดลง อีกทั้งสต็อกยางยังอยู่ในระดับสูง ส่งผล ต่อความต้องการใช้ยางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบลดลง และปรากฎการณ์เอลนีโญในปี 2566 ทำให้เกิดภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราลดลง สำหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 0.9–1.0) ภาพที่ 1 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณผลผลิตยางพารา ที่มา: การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต 1.2 ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเล คาดว่าในปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 7.9-8.1) เนื่องจากภายหลังการเปิดประเทศ ความต้องการบริโภคกุ้งภายในประเทศและ ต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงขยายเนื้อที่เพาะเลี้ยงและปรับเพิ่มจำนวนลูกพันธุ์และลงลูกกุ้ง มากกว่าช่วงที่ผ่านมา และภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนด้านการผลิต การตลาด และ มาตรฐานคุณภาพสินค้า กุ้งทะเลร่วมกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้กุ้งทะเลได้มาตรฐานสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่อปีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.4-1.6) ภาพที่ 2 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณผลผลิตกุ้งทะเล ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต, ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต


8 1.3 ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำรวม ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.9-3.2) ขยายตัวจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยสัตว์น้ำที่นำขึ้น ท่าเทียบเรือมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคอาหารทะเลอื่นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 1.8–2.0) ภาพที่ 3 ประมาณการอัตราการขยายตัวของสัตว์น้ำรวม ที่มา : ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต 1.4 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 16.4 (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15.9-16.9) ขยายตัวจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจาก ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 4.4–4.8) ภาพที่ 4 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ที่มา: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต


9 1.5 จำนวนโรงงานในจังหวัด ในปี 2566คาดว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 280 โรง (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่จำนวน 279–281 โรง) อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ตคือ อุตสาหกรรม การขนส่ง ประกอบด้วยการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์เป็นหลัก และการประกอบ ดัดแปลงซ่อมเครื่องยนต์ เครื่องกังหัน รวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งจะสนับสนุนการท่องเที่ยวและบริการ ในปี 2567 คาดว่า จะมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 284 โรง (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่จำนวน 283-284 โรง) ภาพที่ 5 ประมาณการจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต 1.6 ทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม ในปี 2566 คาดว่าจะมีจำนวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรม จำนวน 11,813 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 11,806–11,820 ล้านบาท) ชะลอตัวจากที่คาดการณ์ไว้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการขนส่งประกอบด้วย การซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์เป็นหลักและการดัดแปลงเครื่องยนต์ เครื่องกังหัน รวมถึงธุรกิจที่สนับสนุน การท่องเที่ยวและบริการ ในปี 2567 คาดว่าจำนวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมจะขยายตัวอยู่ที่ จำนวน 11,903 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 11,899-11,908 ล้านบาท) ภาพที่ 6 ประมาณการจำนวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม ที่มา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต


10 1.7 จำนวนนักท่องเที่ยว (จำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบินและนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง) คาดว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวจำนวน 14.9 ล้านคน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 14.8–14.9 ล้านคน) ขยายตัวจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทางของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งของประเทศไทยและประเทศต้นทาง ของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจากจีน หลังจากที่รัฐบาลจีนได้ประกาศมาตรการเปิดประเทศ ซึ่งคาดว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนจะเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ เช่น รัสเซีย อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น อีกทั้งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน ด้วยมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) เพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติจีนและสัญชาติคาซัคสถาน เป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 5 เดือน โดยเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้น การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง (Golden Week) ไปจนถึงช่วงตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางอากาศและทางเรือเพิ่มขึ้น โดยมี นักท่องเที่ยวที่มากับเรือสำราญขนาดใหญ่เดินทางมาจอดทอดสมอเรือบริเวณอ่าวป่าตอง และท่าเรือน้ำลึกอ่าวมะขาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นมาท่องเที่ยวแบบ One Day Trip อีกทั้งภาครัฐ ได้ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และการเพิ่มวันหยุดยาวต่อเนื่องทำให้จำนวน นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับภาคเอกชนได้ร่วมกันทำการตลาดส่งเสริมการขายและเจรจาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น งาน Amazing Phuket Roadshow to China 2023, งาน Phuket Tourism Symposia 2023 ณ ออสเตรเลีย และงาน Phuket Roadshow to Saudi Arabia 2023 เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนยังร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น งานมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดภูเก็ต ณ บริเวณถนนถลาง งานเทศกาล ท่องเที่ยวระดับนานาชาติ Phuket Peranakan Festival 2023และเทศกาลถือศีลกินผัก เป็นต้น ซึ่งเป็นสัญญาณ ที่ดีว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้ครัวเรือน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ปี 2567คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจำนวน 17.9ล้านคน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 17.9–18.0 ล้านคน) ภาพที่ 7 ประมาณการอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว ที่มา: ท่าอากาศยานภูเก็ต, ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต


11 1.8 จำนวนเที่ยวบินขึ้น-ลงที่สนามบิน ในปี 2566 คาดว่าจำนวนเที่ยวบินจะอยู่ที่ประมาณ 87,929 เที่ยวบิน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 87,625-88,234 เที่ยวบิน) ขยายตัวจากที่ประมาณการไว้เดิม เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้นทั้งการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ของชาวไทยและการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ จากการยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทาง ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้อัตราการเติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินตรงจากจีนเข้ามาในพื้นที่ภูเก็ตจากการกลับมาเปิดประเทศของจีนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นต้นมา และมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) เพื่อการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวจีนและ คาซัคสถาน ตั้งแต่ 25 กันยายน 2566 –29 กุมภาพันธ์ 2567 ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สายการบินต่างๆ ได้เพิ่มจำนวนเที่ยวบินและเส้นทางบินเพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เที่ยวบินระหว่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยสายการบินได้ ขอเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน เช่น เส้นทางสมุย- ภูเก็ต,เส้นทางอัลมาตี - ภูเก็ต และเส้นทาง ฉางอาน - ภูเก็ต เป็นต้น และ เปิดเที่ยวบินใหม่เพิ่มขึ้น เช่น เส้นทาง Xiian -Phuket,เส้นทาง Hanoi -Phuket,และเส้นทาง Zhukovsky –Phuket เป็นต้น ในปี 2567 คาดว่าจำนวนเที่ยวบินจะอยู่ที่ประมาณ 100,063 เที่ยวบิน (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ 99,639-100,488 เที่ยวบิน) ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ภาพที่ 7 ประมาณการจำนวนเที่ยวบิน ที่มา : ท่าอากาศยานภูเก็ต 1.9 ภาษีบำรุงท้องถิ่นจากโรงแรม ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 96.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 96.1-97.1) ขยายตัวจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 จากสถานการณ์ท่องเที่ยว ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของชาวไทย และการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ของชาวต่างชาติ อีกทั้งภาครัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเพิ่มขึ้น เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 และมาตรการกระตุ้น การท่องเที่ยวระยะเร่งด่วนในช่วง High Season ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 18.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 18.1-19.1)


12 ภาพที่ 9 ประมาณการภาษีบำรุงท้องถิ่นจากโรงแรมที่จัดเก็บได้ ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 2. ด้านอุปสงค์ในปี2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 20.5-20.8) เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 62.4 41.2 และ 1.1 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 65.2 (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 64.7-65.7) ขยายตัวจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตอยู่ในทิศทางฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการหลังการเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการทั้งภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยวมีผลประกอบการที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนจากการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 14.0(โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 13.5-14.5) ภาพที่10 ประมาณการภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ที่มา: สำนักงานสรรพากรพื้นที่ภูเก็ต


13 2.2 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ ในปี 2566 คาดว่าจะมีจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ จำนวน 11,840 คัน (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 11,801–11,880 คัน) เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เดิม เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัว ของภาคการท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูเก็ต เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคบริการด้านการท่องเที่ยวฟื้นตัว เกิดการจ้างงานทำให้ประชาชนหลายภาคส่วน มีรายได้เพิ่มขึ้น และผู้บริโภคต้องการการเดินทางที่เป็นส่วนตัวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลายอีกทั้งการส่งเสริมการขายของผู้จำหน่ายรถยนต์ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น ปี 2567 คาดว่าจะมีจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ จำนวน 12,811 คัน (โดยมีช่วงการคาดการณ์ อยู่ที่ 12,765–12,857 คัน) ภาพที่ 11 ประมาณการจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่มา: สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต 2.3 รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ คาดว่าในปี 2566 จะมีจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ จำนวน 26,376 คัน (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 26,272–26,482 คัน) เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เดิม เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 จากการเปิดประเทศและมาตรการกระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านโครงการ เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลดี ต่อยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น จากกลุ่มธุรกิจให้เช่ารถจักรยานยนต์และผู้ใช้รถจักรยานยนต์ มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้แรงงานในภาคบริการและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวดี ปี 2567คาดว่าจะมีจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ จำนวน 27,958 คัน (โดยมีช่วงการคาดการณ์ อยู่ที่ 27,879–28,037 คัน)


14 ภาพที่ 12 ประมาณการจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่มา: สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต 2.4 สินเชื่อเพื่อการลงทุน ของสถาบันการเงินในจังหวัดภูเก็ต ในปี 2566 คาดว่ามีจำนวนเงิน 56,186 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 56,076–56,296 ล้านบาท) ลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิม เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากสถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดและความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ มากขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในภาพรวม โดยเฉพาะผลกระทบ ต่อต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น ปี 2567 คาดว่ามีจำนวนเงิน 56,916 ล้านบาท (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 56,880–56,953 ล้านบาท) ภาพที่ 13 ประมาณการปริมาณสินเชื่อเพื่อการลงทุน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


15 2.5 พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้าง ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 104.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 104.1-105.1) ขยายตัวจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 หลังการฟื้นตัว จากโรคระบาด การท่องเที่ยวของภูเก็ตฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ ในภูเก็ตมีการเติบโต ส่งผลให้ค่าเช่าทั้งคอนโดและพูลวิลล่าปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยมีศักยภาพผลตอบแทน ที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น เกิดการขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการ ไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับการพัฒนามาก่อน ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ตมีการเติบโตอย่างมาก จากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มจากความต้องการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพักอาศัยและเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น สะท้อนจากการขออนุญาตพื้นที่ก่อสร้างขยายตัว ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการขออนุญาตก่อสร้างในเขตอำเภอถลาง ปี 2567คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 0.5-0.6) ภาพที่ 14 ประมาณการพื้นที่อนุญาตก่อสร้าง ที่มา: สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต 2.6 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ คาดว่าในปี 2566 จะมีจำนวนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,802 คัน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 2,792-2,811 คัน) เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทำให้ ความต้องการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวตามการฟื้นตัวของภาคการขนส่ง ปี 2567 คาดว่าจะมีจำนวน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,893 คัน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 2,888-2,897 คัน)


16 ภาพที่ 15 ประมาณการจำนวนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2.7 การใช้จ่ายของภาครัฐ ในปี 2566 คาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 1.1 (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 1.1-1.2) จากรายจ่ายประจำที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 0.9-1.0) และรายจ่ายลงทุนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.8-2.0) เนื่องจากจังหวัด ได้มีการประชุมติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของสวนราชการ เพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และจัดโครงการ “คลินิกหมอคลังช่วยได้” เพื่อช่วยเหลือส่วนราชการและ เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ปี 2567 คาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัว ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 1.3-1.5) จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ล่าช้า ส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ ในเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 ที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวของรายจ่ายประจำ ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต ที่มา: สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต


17 ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของรายจ่ายลงทุน ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมไว้ที่ร้อยละ 93.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายในภาพรวม โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำไว้ที่ร้อยละ 98.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ และเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ที่ร้อยละ 75.0 ของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายลงทุน และเป้าหมายการใช้จ่ายและการเบิกจ่ายรายไตรมาสประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566ดังนี้ เป้าหมายการเบิกจ่ายและ การใช้จ่ายภาครัฐ ปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย รายจ่ายประจำ 35.0 35.3 55.0 55.8 80.0 81.8 98.0 100.0 รายจ่ายลงทุน 19.0 29.0 39.0 58.2 57.0 81.8 75.0 100.0 รายจ่ายภาพรวม 32.0 34.1 52.0 56.2 75.0 81.7 93.0 100.0 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายจ่ายรัฐบาล สามารถเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ได้ทั้งสิ้น 3,635.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ที่ร้อยละ84.8 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม โดยรายจ่ายประจำสามารถเบิกจ่ายได้ 2,571.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ(-3.8) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้1,064.1 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 64.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน เนื่องจากจังหวัดได้มีการจัดประชุมติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน งบประมาณของส่วนราชการ และลงพื้นที่เพื่อติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด


18 ตารางผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ จัดสรร ผลการเบิกจ่าย สะสมตั้งแต่ต้นปี งปม.จนถึงเดือน กันยายน 2566 ร้อยละการเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่าย คาดการณ์เบิกจ่าย คาดการณ์ร้อยละ การเบิกจ่าย 1.งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รายจ่ายประจำ 2,647.3 2,571.2 97.1 รายจ่ายลงทุน 1,638.8 1,064.1 64.9 รายจ่ายภาพรวม 4,286.1 3,635.3 84.8 2.งบประมาณเหลื่อมปี ปี 2565 652.1 607.2 93.1 .8 รวมงบเหลื่อมปี 652.1 607.2 93.1 กราฟผลการเบิกจ่ายผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนกันยายน 2566 ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต กราฟผลการเบิกจ่ายผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนกันยายน 2566 ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต


19 3. รายได้เกษตรกร ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 5.3-6.3) จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจต่างๆ จากภาครัฐ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรมีรายได้ลดลง จากภาระต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์การปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น ปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.6-1.8) 3.1 ราคายางพารา ในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 48.0 บาท โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 47.8–48.3 บาท ทรงตัวเท่ากับที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการของประเทศคู่ค้าลดลง อีกทั้งสต็อกยางยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวลง ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 49.0 บาท (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 48.9–49.0 บาท) ภาพที่ 18 ประมาณการราคายางพารา ที่มา: สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต 3.2 ราคากุ้ง ในปี 2566 คาดว่าราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ลดลงโดยอยู่ที่กิโลกรัมละ 230.4 บาท (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 229.4-231.5 บาท) ชะลอตัวจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 จากปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลขยายตัวสูง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยและการเร่งผลิตตามความ ต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรลดลงจากปริมาณผลผลิตล้นตลาดและคำสั่งซื้อ ของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ปี 2567 คาดว่าราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่กิโลกรัมละ 250 บาท (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 249.1-251.0 บาท) ภาพที่ 19 ประมาณการราคากุ้งทะเล ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ,ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต


20 3.3 ราคาสัตว์น้ำรวม ในปี2566 คาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 60.6 บาท (โดยมี ช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 60.4–60.7 บาท) ทรงตัวเท่ากับที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ปี2567 คาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 61.0 บาท (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ 61.0–61.1 บาท) ภาพที่ 20 ประมาณการราคาสัตว์น้ำรวม ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต, ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต 4. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตปี 2566 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงการคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.4-1.6) ลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือน มิถุนายน 2566 โดยปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อจังหวัดภูเก็ต จากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง ทั้งค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และราคาน้ำมันที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลก อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ความเชื่อมั่น ผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งมาตรการจากภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน อาทิเช่น โครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น ปี 2567 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงการคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 1.9-2.1) ในขณะที่การจ้างงานในปี 2566 คาดว่าจะมีการจ้างงานทั้งหมด 345,682 คน (โดยมี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 345,457-345,907 คน) ขยายตัวร้อยละ 10.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 10.5–10.7) เป็นการขยายตัวตามภาคบริการ เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวสามารถ กลับมาเปิดบริการได้ตามปกติทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะสูง ปี 2567 คาดว่าจะมีการจ้างงานทั้งหมด 353,303 คน (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 353,104-353,503 คน)


21 ตารางสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มของจังหวัดภูเก็ต ource: Phuket Update: 09.50 am. 09/10/23 indicator unit 2560 2561 2562 2563 2564 2565 MIN CONCENSUS MAX MIN CONCENSUS MAX Economic Growth GPP current price Million Baht 212,851 236,213 248,473 136,189 99,545 230,660 376,343 377,488 378,633 432,220 433,873 435,526 %yoy 5.3 8.4 2.7 -41.6 -22.0 131.7 63.2 63.7 64.2 14.5 14.9 15.4 GPP constant price Million Baht 151,683 163,872 169,771 101,153 74,304 164,614 266,269 266,964 267,660 300,599 301,501 302,404 %yoy 4.6 8.0 3.6 -40.4 -26.5 121.5 61.8 62.2 62.6 12.6 12.9 13.3 population person 507,052 515,559 523,480 530,841 537,665 543,981 549,267 549,811 550,355 554,634 555,184 555,734 %yoy 1.8 1.7 1.5 1.4 1.3 1.2 1.0 1.1 1.2 0.9 1.0 1.1 GPP per capita baht/person 371,632 407,301 422,669 228,802 165,343 424,022 685,173 686,578 687,980 779,289 781,494 783,696 Agriculture : API (Q) %yoy -25.4 21.3 0.4 21.4 -24.1 -20.3 5.2 5.4 5.5 1.6 1.7 1.8 Industry : IPI (Q) %yoy 5.2 4.0 0.5 -11.9 -7.0 10.8 8.0 8.3 8.6 2.6 2.7 2.8 Service : SI (Q) %yoy 17.2 11.6 -3.8 -63.6 -64.7 303.9 80.0 80.5 81.0 17.4 17.8 18.1 Private Consumption : Cp Index %yoy 13.0 12.6 1.9 -41.3 -44.8 91.9 61.9 62.4 62.8 12.7 13.2 13.6 Private Invesment : Ip Index %yoy -6.7 17.0 0.5 -22.3 -10.9 -7.1 40.9 41.2 41.5 4.2 4.3 4.3 Government Expenditure : G Index %yoy -22.8 2.4 -2.5 7.3 41.7 -6.5 1.1 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Border trade %yoy Farm Income %yoy -15.6 27.6 -1.2 23.2 -22.0 -21.2 5.3 5.8 6.3 4.9 5.2 5.5 Economic Stability Inflation Rate % per annual 0.8 1.4 0.2 -1.3 1.1 4.3 1.4 1.5 1.6 1.9 2.0 2.1 GPP deflator %yoy 0.7 0.4 -0.9 -1.2 4.6 10.2 1.4 1.5 1.6 1.9 2.0 2.1 Employment person 320,569 320,393 320,659 313,647 288,336 312,560 345,457 345,682 345,907 353,104 353,303 353,503 yoy 2,388 -176 267 -7,012 -25,311 24,225 32,896 33,121 33,346 7,423 7,622 7,821 %yoy 0.8 -0.1 0.1 -2.2 -8.1 8.4 10.5 10.6 10.7 2.1 2.2 2.3 2566E 2567F


22 คำนิยามตัวแปรและการคำนวณในแบบจำลองเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต GPP constant price ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน GPP current prices ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีปัจจุบันรายจ่ายรัฐบาลสามารถเบิกจ่าย งบประมาณภาพรวมได้ทั้งสิ้น GPPS ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปทาน GPPD ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปสงค์ API ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร IPI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม SI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ Cp Index ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน Ip Index ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน G Index ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล GPP Deflator ระดับราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต PPI ดัชนีราคาผู้ผลิตระดับประเทศ Inflation rate อัตราเงินเฟ้อจังหวัดภูเก็ต Farm Income Index ดัชนีรายได้เกษตรกร Population จำนวนประชากรของจังหวัดภูเก็ต Employment จำนวนผู้มีงานทำของจังหวัดภูเก็ต %yoy อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Base year ปีฐาน (2560 = 100) Min สถานการณ์ที่คาดว่าเลวร้ายที่สุด Consensus สถานการณ์ที่คาดว่าจะเป็นได้มากที่สุด Max สถานการณ์ที่คาดว่าดีที่สุด


23 การคำนวณดัชนี ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (Supply Side หรือ Production Side: GPPS) ประกอบด้วย 3 ดัชนีได้แก่ (1) ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมจังหวัดภูเก็ต โดยให้น้ำหนัก 0.07 (2) ดัชนีผลผลิตภาคบริการจังหวัดภูเก็ต โดยให้น้ำหนัก 0.88 (3) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต โดยให้น้ำหนัก 0.05 การกำหนดน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบของดัชนี โดยหาสัดส่วนจากมูลค่าเพิ่มราคาปี ปัจจุบัน ของเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม (สาขาเกษตร + สาขาประมง) เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม (สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน สาขาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าและสาขาการจัดหาน้ำ) และเครื่องชี้ เศรษฐกิจภาคบริการ (14 สาขา ตั้งแต่สาขาก่อสร้าง - สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ) จากข้อมูล GPP ของ สศช. เทียบกับ GPP รวมราคาปีปัจจุบันของ สศช. จัดทำขึ้นเพื่อใช้ติดตามภาวการณ์ผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของจังหวัดภูเก็ตเป็นรายเดือน ซึ่งจะล่าช้าประมาณ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) โดยการคำนวณ API (Q), IPI (Q), SI (Q) ได้กำหนดปีฐาน 2548 ซึ่งคำนวณจากเครื่องชี้ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของจังหวัดภูเก็ตรายเดือน อนุกรมเวลาย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็น ต้นมา ➢ ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร (Agricultural Production Index: API) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ - ปริมาณผลผลิต : ยางพารา โดยให้น้ำหนัก 0.04 - ปริมาณผลผลิต : กุ้งทะเล โดยให้น้ำหนัก 0.31 - ปริมาณผลผลิต : สัตว์น้ำรวม โดยให้น้ำหนัก 0.64 • โดยตัวชี้วัดทุกตัวได้ปรับฤดูกาล (Seasonal Adjusted : SA) แล้ว การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ API (Q) ให้น้ำหนักของเครื่องชี้ข้างต้น ได้ จากสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของเครื่องชี้ ณ ราคาปีปัจจุบัน กับ GPP แบบ Bottom up ณ ราคาปีปัจจุบันภาค เกษตรกรรม (สาขาเกษตร และสาขาประมง) ➢ ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม โดยให้น้ำหนัก 0.53 - จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้น้ำหนัก 0.02 - ทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.45 การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ IPI ให้น้ำหนักของเครื่องชี้จากหา ความสัมพันธ์ Correlation ระหว่าง เครื่องชี้เศรษฐกิจผลผลิตอุตสาหกรรมรายปี กับ GPP (สศช.) ณ ราคาคงที่ ภาคอุตสาหกรรม (สาขาเหมืองแร่ สาขาการผลิต สาขาไฟฟ้า และสาขาการจัดหาน้ำ)


24 ➢ ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ (Service Index: SI) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ - จำนวนนักท่องเที่ยวเข้า-ออกสนามบิน โดยให้น้ำหนัก 0.33 - จำนวนเที่ยวบินลงที่จังหวัด โดยให้น้ำหนัก 0.34 - ภาษีบำรุงท้องถิ่นจากโรงแรม โดยให้น้ำหนัก 0.33 การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ SI ให้น้ำหนักของเครื่องชี้ โดยเครื่องชี้ ภาคบริการ ด้านขายส่งขายปลีก บริหารราชการ การศึกษา สุขภาพ และที่พักแรมฯ โดยหาสัดส่วนของ GPP ณ ราคาปีปัจจุบัน (2564) ของสาขาขายส่ง ขายปลีกฯ สาขาที่พักแรมและร้านอาหาร สาขาบริหารราชการฯ สาขาการศึกษา สาขาสุขภาพฯ เทียบ GPP รวมภาคบริการ (ตั้งแต่สาขาก่อสร้าง ถึงสาขากิจกรรมบริการด้าน อื่น) ณ ราคาปีปัจจุบัน (สศช.) หารด้วยจำนวนเครื่องชี้ในด้านนั้นๆ ➢ ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์(Demand Side: GPPD) • ประกอบไปด้วย 3 ดัชนีได้แก่ (1) ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน โดยให้น้ำหนัก 0.22 (2) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน โดยให้น้ำหนัก 0.35 (3) ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ โดยให้น้ำหนัก 0.43 การกำหนดน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบของดัชนี โดยหาค่าเฉลี่ยในแต่ละดัชนี เทียบกับ GPP constant price โดยเฉลี่ยเพื่อหาสัดส่วน และคำนวณหาน้ำหนักจากสัดส่วนของแต่ละดัชนีเทียบผลรวม สัดส่วนดัชนีรวมทั้งหมด จัดทำขึ้นเพื่อใช้ติดตามภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการ ใช้จ่ายภาครัฐของจังหวัดภูเก็ตเป็นรายเดือน ซึ่งจะล่าช้าประมาณ 1เดือนครึ่ง (45 วัน) โดยการคำนวณ Cp Index, Ip Index, G Index ได้กำหนดปีฐาน 2560 ซึ่งคำนวณจากเครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ภาคเอกชน การลงทุน และใช้จ่ายภาครัฐของจังหวัดภูเก็ตเป็นรายเดือน อนุกรมเวลาย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ➢ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index : Cp Index) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ - ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ โดยให้น้ำหนัก 0.86 - จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.12 - จำนวนรถมอเตอร์ไซด์จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ำหนัก 0.02 การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ Cp Index ให้น้ำหนักของเครื่องชี้ จากการหา ค่าเฉลี่ยของเครื่องชี้ในการจัดทำ Cp Index และแปลงเป็นมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ำหนักจาก สัดส่วนมูลค่าเครื่องชี้ฯ เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด


25 ➢ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index: Ip) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ - สินเชื่อเพื่อการลงทุน โดยให้น้ำหนัก 0.40 - พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างรวม โดยให้น้ำหนัก 0.58 - รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยให้น้ำหนัก 0.02 การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ Ip Index ให้น้ำหนักของเครื่องชี้ จากการหา ค่าเฉลี่ยของเครื่องชี้ในการจัดทำ Ip Index และแปลงเป็นมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ำหนักจาก สัดส่วนมูลค่าเครื่องชี้ฯ เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด ➢ ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ (Government Expenditure Index: G) • ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 2 ตัว คือ - รายจ่ายประจำภาครัฐ โดยให้น้ำหนัก 0.69 - รายจ่ายลงทุนภาครัฐ โดยให้น้ำหนัก 0.31 การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดทำ Ip Index ให้น้ำหนักของเครื่องชี้ จากการหา ค่าเฉลี่ยของเครื่องชี้ในการจัดทำ Ip Index และแปลงเป็นมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ำหนักจาก สัดส่วนมูลค่าเครื่องชี้ฯ เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด ➢ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ (GPP constant price) • ประกอบไปด้วยดัชนี 2 ด้าน - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (GPPS) โดยให้น้ำหนัก 0.97 - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์(GPPD) โดยให้น้ำหนัก 0.03 ➢ ดัชนีชี้วัดด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ • GPP Deflator : ระดับราคา ประกอบไปด้วย - ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยให้น้ำหนัก 0.97 - ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต (CPI) โดยให้น้ำหนัก 0.03 • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้มีงานทำ คำนวณจาก GPP constant price X 0.193 (อัตราการพึ่งพาแรงงาน) ➢ อัตราการพึ่งพาแรงงาน คำนวณจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) โดยมีรูปแบบความสัมพันธ์ คือ ln(Emp) = +(ln(GPP)) โดยที่ Emp = จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศของจังหวัดภูเก็ต ข้อมูลWebsite สำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งใช้ ปี 2549 – 2564 โดยไม่รวมจำนวนผู้มีงานทำในสาขาการก่อสร้าง GPP = ผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดภูเก็ต ณ ราคาคงที่ ข้อมูลจาก สศช.ซึ่งใช้ปี 2549 – 2564 โดยไม่รวม GPP สาขาการ ก่อสร้าง


26 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตที่สนับสนุนข้อมูล 1. ดัชนีผลผลิตภาคเกษตร (Agriculture Production Index : API) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * ปริมาณยางพารา - ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต - เกษตรจังหวัดภูเก็ต - เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต - ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต * ปริมาณกุ้งทะเล - ประมงจังหวัดภูเก็ต - หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมง * ปริมาณสัตว์น้ำ - ประมงจังหวัดภูเก็ต - หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมง 2. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index : IPI) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * ปริมาณการใช้ไฟฟ้า - ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต - ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอถลางจังหวัด ภูเก็ต - ผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคป่าตอง อ.กะทู้ จังหวัดภูเก็ต * จำนวนโรงงานในจังหวัด * ทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม - อุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต - ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต


27 3. ดัชนีผลผลิตภาคบริการ (Service Index : SI) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * จำนวนนักท่องเที่ยวเข้า-ออกสนามบิน - การท่าอากาศยานภูเก็ต - ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต - ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต - นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว * จำนวนนักท่องเที่ยวผ่านด่านตม. (ขาเข้า) - ผู้กำกับการด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยาน ภูเก็ต - ผู้กำกับการด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต * ภาษีบำรุงท้องถิ่นจากโรงแรม - นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต - สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต * จำนวนเที่ยวบินขึ้น-ลงที่จังหวัด - การท่าอากาศยานภูเก็ต 4. ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index: Cp Index) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ - สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต * รถยนต์จดทะเบียนใหม่ * มอเตอร์ไซด์จะทะเบียนใหม่ - ขนส่งจังหวัดภูเก็ต - พาณิชย์จังหวัดภูเก็ต - สถิติจังหวัดภูเก็ต - ประธานหอการค้า


28 5. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index: IP Index) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * พื้นที่อนุญาตก่อสร้างรวม - สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต * สินเชื่อรวม - ประธานชมรมธนาคารจังหวัดภูเก็ต - ผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาภูเก็ต - ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตภูเก็ต -ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรจังหวัดภูเก็ต * รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ - ขนส่งจังหวัดภูเก็ต 6. ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล (Government Expenditure Index: G Index) รายการเครื่องช้ี หน่วยงาน * รายจ่ายประจำ * รายจ่ายลงทุน - คลังจังหวัดภูเก็ต - หัวหน้ากลุ่มระบบบริหารการคลัง สำนักงาน คลังจังหวัดภูเก็ต 7. ดัชนีระดับราคาของจังหวัด (GPP Deflator) รายการเครื่องชี้ หน่วยงาน * ดัชนีผู้ผลิต * ดัชนีผู้บริโภค - พาณิชย์จังหวัดภูเก็ต


Click to View FlipBook Version