The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ธรรมนูญโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ว่าด้วยสภานักเรียน พุทธศักราช ๒๕๖๔ ฉบับสมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sorachach.ko, 2021-03-14 13:12:56

ธรรมนูญโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ว่าด้วยสภานักเรียน พุทธศักราช ๒๕๖๔

ธรรมนูญโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ว่าด้วยสภานักเรียน พุทธศักราช ๒๕๖๔ ฉบับสมบูรณ์

ธรรมนูญ
โรงเรยี นสุนทรภูพ่ ทิ ยา
วา่ ดว้ ยสภานกั เรยี น
พุทธศกั ราช ๒๕๖๔

จดั ทาโดย
คณะกรรมการสภานกั เรยี นโรงเรยี นสนุ ทรภูพ่ ทิ ยา

ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓

ธรรมนญู โรงเรยี นสนุ ทรภู่พิทยา
ว่าด้วยสภานกั เรยี น พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๔

ด้วยโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดต้ังสภานักเรียนโรงเรียนสุนทรภู่
พิทยาขึ้น โดยเห็นสมควรแก่การจัดการบริหารงานและเพ่ือเป็นกฎเกณฑ์จัดระเบียบแบ่งโครงสร้างของสภา
นักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน จึงได้ตราธรรมนูญฉบับนี้ไว้โดยผ่านความเห็นชอบของ
ผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการโรงเรียน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา โดยมีเน้ือหา
ดงั ตอ่ ไปนี้

หมวด ๑
ทวั่ ไป

ขอ้ ๑ ธรรมนญู นีเ้ รียกว่า “ธรรมนูญโรงเรียนสุนทรภพู่ ทิ ยา ว่าด้วยสภานกั เรียน พุทธศักราช ๒๕๖๔”
ข้อ ๒ ธรรมนูญน้เี รมิ่ ใชต้ ้ังแต่วนั ทีม่ ีประกาศใชเ้ ปน็ ต้นไป
ข้อ ๓ ความหมายของคา ขอ้ ความ

โรงเรียน หมายถงึ โรงเรยี นสุนทรภพู่ ิทยา
ฝ่ายบรหิ าร หมายถึง ผอู้ านวยการและรองผ้อู านวยการโรงเรยี นสุนทรภู่พิทยา
คณะครู หมายถงึ คณะครโู รงเรียนสุนทรภู่พทิ ยา
นกั เรียน หมายถงึ นกั เรียนโรงเรียนสุนทรภูพ่ ิทยา
ครูทีป่ รึกษา หมายถงึ ครูทีป่ รึกษาสภานกั เรียน
สภานกั เรียน หมายถงึ สภานกั เรยี นโรงเรียนสนุ ทรภู่พทิ ยา
คณะกรรมการสภานกั เรียน หมายถึง คณะกรรมการสภานกั เรยี นโรงเรยี นสนุ ทรภพู่ ทิ ยา
สมาชกิ สภานักเรยี น หมายถงึ ตัวแทนนกั เรยี นโรงเรยี นสุนทรภพู่ ิทยาจากทุกหอ้ งเรียน
การประชุม หมายถงึ การประชมุ คณะกรรมการสภานกั เรยี นหรือการประชมุ สภานกั เรยี น
ทีป่ ระชุม หมายถึง สถานทที่ ่ีกาหนดให้พิจารณาและใหค้ วามเห็นชอบในเรือ่ งตา่ ง ๆ
มตทิ ป่ี ระชุม หมายถงึ ข้อสรุปของที่ประชุมในการให้ความเหน็ ชอบเกี่ยวกบั เร่อื งต่าง ๆ



ข้อ ๔ ธรรมนูญน้ีถือเป็นเอกสารท่ีแสดงสิทธิ บทบาท หน้าที่ และข้อกาหนด ของสภานักเรียน
คณะกรรมการสภานกั เรยี น และสมาชิกสภานักเรยี น ประกาศ ระเบยี บ ข้อบังคับ ข้อกาหนด เอกสารอื่นๆ ที่
ออกโดยคณะกรรมการสภานกั เรียนจะขัดตอ่ ธรรมนญู นีม้ ิได้

ข้อ ๕ ใหผ้ อู้ านวยการโรงเรยี นหรอื ผทู้ ่ีได้รบั มอบหมายจากผอู้ านวยการโรงเรียนเป็นผู้ประกาศใช้และ
รกั ษาการตามธรรมนญู ฉบับนี้

ข้อ ๖ สภานักเรยี น หมายความวา่ การสรา้ งความรว่ มมือกันรับฟังปัญหา ผ่านระบวนการแสดงความ
คิดเหน็ และข้อเสนอพิจารณาต่างๆ ของคณะกรรมการสภานักเรียน และตัวแทนนักเรียน เป็นการส่งเสริมการ
สร้างกระบวนการทางวิถกี ารปกครองตามระบอบประชาธปิ ไตย อันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข

หมวด ๒
วตั ถปุ ระสงค์

ข้อ ๗ ธรรมนูญโรงเรียนสนุ ทรภพู่ ทิ ยา วา่ ด้วยสภานกั เรยี น พุทธศักราช 256๔ มวี ตั ถปุ ระสงค์ดงั นี้
(1) เพ่อื จดั ระบบของสภานกั เรียนโดยใหม้ ีส่วนร่วมของนกั เรยี น
(2) เพื่อกาหนดบทบาท หน้าท่ี สิทธิของสภานักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน และ

สมาชิกสภานักเรียน
(3) เพอื่ ส่งเสริมกิจกรรมทีป่ ลูกฝงั ความเป็นประชาธิปไตยในโรงเรยี น
(4) เพ่ือเป็นแนวทางให้นักเรียนได้เรียนรู้การทางานร่วมกัน ตามวิถีทางในระบอบ

ประชาธิปไตย อนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ
(5) เพ่อื ให้นักเรียนรู้จกั สิทธิ และหนา้ ท่ที ่ีพงึ มีต่อสว่ นรวม



หมวด ๓
คณะกรรมการสภานักเรยี น

ส่วนท่ี ๑

โครงสร้างและองค์ประกอบ

ข้อ ๘ คณะกรรมสภานกั เรยี น เป็นผู้ดาเนนิ งานดา้ นสภานักเรียน โดยมจี านวนทัง้ หมดไม่น้อยกว่า ๒๕

คน และไมเ่ กิน ๔๐ คน ซ่งึ ประกอบไปด้วย

๘.๑. คณะกรรมการบริหารสภานักเรยี นมจี านวนทั้งหมดไม่เกนิ ๙ คน ดังนี้

๘.๑.๑. ประธานสภานกั เรยี น จานวน ๑ คน

๘.๑.๒. รองประธาน จานวน ๔ คน ดงั น้ี

(1) รองประธานสภานักเรยี นฝา่ ยวิชาการ จานวน ๑ คน

(2) รองประธานสภานักเรยี นฝ่ายกจิ การนักเรยี น จานวน ๑ คน

(3) รองประธานสภานักเรยี นฝ่ายงบประมาณ จานวน ๑ คน

(4) รองประธานสภานักเรยี นฝ่ายทัว่ ไป จานวน ๑ คน

๘.๑.๓. เลขานุการ จานวน ๑ คน

๘.๑.๔. ผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร จานวน ๑ คน โดยจะแต่งตั้งหรือไม่ก็ได้

๘.๒. คณะกรรมการฝ่ายวชิ าการ มีจานวนรวมทง้ั หมดอย่างน้อย ๔ คน และไมเ่ กนิ ๘ คน

แบง่ เปน็ ๒ ส่วน ดงั นี้

๘.๒.๑. คณะกรรมการงานวชิ าการ จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๒.๒. คณะกรรมการงานประเมนิ ผล จานวนอยา่ งน้อย ๒ คน

๘.๓. คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักเรียน มีจานวนรวมท้ังหมดอย่างน้อย ๘ คน และไม่เกิน ๒๐

คน แบ่งเป็น ๔ สว่ น ดังนี้

๘.๓.๑. คณะกรรมงานกจิ กรรม จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๓.๒. คณะกรรมการงานระเบยี บวินัยและรับเรอื่ งร้องทกุ ข์ จานวนอย่างน้อย ๒ คน

๘.๓.๓. คณะกรรมการงานห้องเรียน จานวนอยา่ งนอ้ ย ๒ คน

๘.๓.๔. คณะกรรมการงานส่งเสรมิ คุณธรรม จริยธรรม จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๔. คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณ มีจานวนรวมทั้งหมดอย่างน้อย ๔ คน และไม่เกิน ๘ คน

แบง่ เปน็ ๒ ส่วน ดงั นี้

๘.๔.๑. คณะกรรมการงานงบประมาณ จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๔.๒. คณะกรรมการงานพสั ดแุ ละครุภัณฑ์ จานวนอยา่ งน้อย ๒ คน



๘.๕. คณะกรรมการฝ่ายทั่วไป มีจานวนรวมท้ังหมดอย่างน้อย ๘ คน และไม่เกิน ๒๐ คน

แบง่ เป็น ๔ ส่วน ดงั น้ี

๘.๕.๑. คณะกรรมการงานประชาสัมพันธ์ จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๕.๒. คณะกรรมการงานสวสั ดกิ าร จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คน

๘.๕.๓. คณะกรรมการงานอาคารสถานที่และส่งิ แวดลอ้ ม จานวนอยา่ งนอ้ ย ๒ คน

๘.๕.๔. คณะกรรมการงานเทคโนโลยแี ละโสตทศั นปู กรณ์ จานวนอยา่ งน้อย ๒ คน

โดยที่กรรมการ ๑ คนสามารถดารงตาแหน่งได้ไม่เกิน ๓ ตาแหน่ง ตามความเห็นชอบในการแต่งต้ัง

ของคณะกรรมการท่ีปรกึ ษาสภานักเรยี น และคณะกรรมการบริหารสภานักเรียน

ข้อ 9 โดยมีคณะกรรมการทปี่ รึกษาสภานักเรียนหรือครทู ี่ปรกึ ษาสภานกั เรยี นท่แี ตง่ ต้ังโดยฝ่ายบริหาร

เปน็ ผู้ดแู ลควบคมุ ในการดาเนินงานของคณะกรรมการสภานกั เรียน

ส่วนที่ 2
บทบาทและหนา้ ท่ี
ขอ้ 10 บทบาทของคณะกรรมการสภานักเรยี น มดี งั น้ี
(1) เป็นผูน้ าในการปฏิบตั กิ ิจกรรมเพื่อสว่ นรวมตามหลกั ธรรมาภิบาล
(2) ปกป้องคมุ้ ครองสทิ ธเิ สรีภาพของตนเองและเพื่อนนักเรยี น โดยใช้กระบวนการ
ประชาธิปไตย และแนวทางสนั ติวิธี
(3) สร้างใหน้ ักเรยี นมีสว่ นร่วมในการพัฒนาโรงเรยี น
(4) ส่งเสรมิ คณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ และพฤตกิ รรมอันดงี ามให้แก่นกั เรยี น
(5) ส่งเสรมิ สนับสนุน และมสี ว่ นรวมในกิจกรรมทเ่ี ป็นประโยชน์ต่อนกั เรยี น และส่วนรวม
ขอ้ 11 หน้าทขี่ องคณะกรรมการสภานักเรียน มีดงั น้ี
(1) ดูแลทกุ ข์ สุข ของนักเรียน รับฟงั ปัญหา แล้วนามาปรกึ ษาหารอื เพื่อแก้ไข
(2) รบั ผิดชอบงานและกจิ กรรมที่ไดร้ ับมอบหมายจากโรงเรยี น
(3) คิดริเรมิ่ โครงการ หรอื กิจกรรมทเี่ ปน็ ประโยชน์ตอ่ นกั เรียน โรงเรียน และส่วนรวม
(4) ประชาสมั พันธข์ อ้ มลู ข่าวสารทเ่ี ปน็ ประโยชน์ และทนั สมัย
(5) ดแู ลสอดส่อง และจดั การทรพั ยากรทีม่ ีอยใู่ นโรงเรยี นอยา่ งค้มุ คา่
(6) ส่งเสริมการสร้างให้นักเรียนมีนิสัย การกระทา ความประพฤติและจิตสานึกที่ดีต่อ
โรงเรยี น และสงั คม
ขอ้ 12 บทบาทหน้าที่ท่ีสาคญั ของคณะกรรมการสภานกั เรียน
ประธานสภานักเรียน มีบทบาทหน้าท่ดี ังน้ี
(1) เปน็ ประธานในการประชมุ สภานกั เรยี น และการประชมุ คณะกรรมการสภานกั เรียน

(2) นาเสนอโครงการ/กจิ กรรมของสภานกั เรยี นตอ่ ครทู ปี่ รึกษาสภานักเรยี น และฝ่ายบรหิ าร
พิจารณาเพอื่ ดาเนนิ การ



(3) ดแู ลการดาเนนิ กิจกรรมและรับผิดชอบการปฏบิ ัตงิ านของคณะกรรมการสภานกั เรียนให้
เปน็ ไปตามธรรมนูญของโรงเรียน

(4) รับฟงั หรอื รบั เรื่องร้องทุกข์ ปัญหา จากนกั เรียน แล้วนามาดาเนินการแกไ้ ข
(5) เป็นผู้ประสานงานแตล่ ะฝา่ ยๆ ในสภานกั เรยี นและโรงเรียน
(6) สร้างความสมั พันธอ์ นั ดีให้เกิดขึน้ ภายในสภานกั เรยี น
(7) ปฏบิ ตั งิ านอื่นๆ ตามท่ีได้รบั มอบหมายจากฝา่ ยบริหารและครูท่ปี รกึ ษา

รองประธานสภานกั เรียน มีบทบาทหนา้ ท่ดี งั นี้
(1) เปน็ ผชู้ ่วยประธานสภานกั เรยี นในการบรหิ ารงานฝ่ายตา่ งๆ ตามท่ีประธานมอบหมาย
(2) ปฏิบัติหน้าท่ีแทนประธานสภานักเรียนในกรณีท่ีประธานไม่อยู่ในโรงเรียน หรือไม่
สามารถปฏิบัตหิ นา้ ทไี่ ด้ โดยการปฏบิ ตั ิหนา้ ทีแ่ ทนให้เปน็ ไปตามลาดับ
(3) ปฏิบตั งิ านอืน่ ๆ ตามท่ไี ดร้ ับมอบหมาย

สภานักเรียน ฝา่ ยเลขานกุ าร มบี ทบาทหนา้ ทด่ี งั น้ี
(1) จัดเตรยี มการประชุม บนั ทกึ การประชุมของคณะกรรมการสภานกั เรยี น และการประชุม

(2) ทาหนา้ ทงี่ านสารบรรณของคณะกรรมการสภานกั เรียน
(3) สรปุ ผลการดาเนินงานสภานกั เรยี น
(4) ปฏิบตั ิงานอ่ืนๆ ตามท่ไี ดร้ บั มอบหมาย

คณะกรรมการฝ่ายวชิ าการ มบี ทบาทหน้าที่ประสานงานกบั กลุม่ บริหารวิชาการของโรงเรียน
ในกิจการท่ีเก่ียวขอ้ ง ประกอบดว้ ย ๒ งาน ได้แก่

คณะกรรมการงานวชิ าการ มีบทบาทหน้าทดี่ ังน้ี
(1) ประสานงานกับกลุม่ สาระการเรยี นรตู้ า่ งๆ ของโรงเรียนในกจิ การทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
(2) ประสานงานกับงานห้องเรียนสีเขียว ในการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและ
รักษาสิ่งแวดล้อมทงั้ ภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
(3) ประสานงานกับงานหอ้ งสมดุ เพื่อสง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นรักการอ่าน
(4) ประสานงานกับงานแนะแนว ในการนาเสนอขอ้ มลู ทางการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
ท่เี ป็นประโยชน์แก่นักเรยี นทุกคน
(5) ประสานงานกับศูนย์อาเซียน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับ
ประชาคมอาเซยี น
(6) ดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการและส่งเสริมการเรยี นรู้
(7) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามท่ีได้รบั มอบหมาย



คณะกรรมการงานประเมนิ ผล มบี ทบาทหนา้ ที่ดังนี้
(1) จดั ทาแบบประเมนิ ผลการจัดกจิ กรรมทสี่ ภานกั เรียนจดั ข้ึน
(2) แจกและรวบรวมแบบประเมนิ เพื่อนามาวิเคราะห์ผลการประเมนิ การจัดกจิ กรรม
(3) วเิ คราะห์ สรุปผลการประเมินและจดั ทารายงานเสนอตอ่ ครูที่ปรกึ ษา
(4) ปฏบิ ตั ิงานอนื่ ๆ ตามท่ไี ด้รับมอบหมาย

คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักเรียน มีบทบาทหน้าท่ีประสานงานกับกลุ่มบริหารงานบุคคล
ของโรงเรียนในกจิ การที่เก่ยี วขอ้ ง ประกอบดว้ ย ๔ งาน ไดแ้ ก่

คณะกรรมการงานกิจกรรม มีบทบาทหนา้ ที่ดงั น้ี
(1) ประสานงานกับงานส่งเสริมประชาธิปไตยและสภานักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริม
ประชาธิปไตยทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และจดั การเลือกต้ังคณะกรรมการสภานักเรยี น
(2) ประสานงานกับงานป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติด/โรคเอดส์/TO BE NUMBER ONE
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติด/โรคเอดส์/TO BE NUMBER ONE ท้ังภายในและ
ภายนอกสถานศกึ ษา
(3) เป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการสภานักเรียนของโรงเรียนต่างๆ ในเขตพ้ืนที่
ใกล้เคียงในวาระต่างๆ
(4) จัดกจิ กรรมส่งเสรมิ ความสามารถและศักยภาพของนักเรยี นในโรงเรียน
(5) ปฏิบตั ิงานอื่นๆ ตามท่ีไดร้ บั มอบหมาย
คณะกรรมการงานระเบยี บวนิ ยั และรับเรือ่ งร้องทุกข์ มบี ทบาทหน้าทีด่ ังนี้
(1) ประสานงานกบั งานพฒั นาวนิ ยั และบุคลิกภาพนักเรยี นและครูตารวจสายตรวจโรงเรียน
ในกิจการท่ีเก่ยี วขอ้ ง
(2) ชว่ ยเหลอื ครเู วรประจาสัปดาห์ในการกวดขันระเบียบวินัยในโรงเรียน
(3) สร้างความตระหนกั ในการรกั ษาระเบียบวนิ ยั และกฎระเบียบของโรงเรยี น
(4) ปอ้ งกันการเกิดปัญหายาเสพตดิ และอบายมขุ ทกุ ประเภทในโรงเรียน
(5) รับเรือ่ งร้องเรียนของนักเรียนในโรงเรียนมานาเสนอตอ่ ฝ่ายบริหารโรงเรียน เพื่อหาแนว
ทางแก้ไข
(6) ปฏิบัติงานอ่ืนๆ ตามทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
คณะกรรมการงานหอ้ งเรยี น มีบทบาทหนา้ ท่ีดังนี้
(1) ประสานงานระหวา่ งนกั เรยี นในแต่ละห้องกับคณุ ครูประจาช้ัน/คณุ ครูทปี่ รกึ ษาในการทา
กิจกรรมภายในช้นั เรยี น
(2) ดูแลความสงบเรียบรอ้ ยภายในหอ้ งเรยี น
(3) ดาเนนิ กจิ กรรมหอ้ งเรยี นสขี าว
(4) ปฏิบัติงานอ่ืนๆ ตามท่ไี ดร้ ับมอบหมาย



คณะกรรมการงานสง่ เสรมิ คณุ ธรรม จริยธรรม มีบทบาทหนา้ ที่ดังน้ี
(1) ประสานงานกับงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัด
กจิ กรรมส่งเสรมิ คุณธรรมและจรยิ ธรรม/ความรบั ผดิ ชอบต่อสังคม/กิจกรรมสวดมนต์ไหวพ้ ระ
(2) ส่งเสรมิ การสร้างคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอนั ดแี ก่นกั เรยี น
(3) ปฏบิ ัติงานอนื่ ๆ ตามที่ไดร้ บั มอบหมาย

คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณ มีบทบาทหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มบริหารงบประมาณ
ของโรงเรยี นในกจิ การทเ่ี กี่ยวขอ้ ง ประกอบด้วย ๒ งาน ไดแ้ ก่

คณะกรรมการงานงบประมาณ มีบทบาทหน้าท่ีดังน้ี
(1) จดั ทาบญั ชรี ายรับรายจ่ายเงินของคณะกรรมการสภานักเรียน
(2) ดแู ลการจดั เกบ็ เงินของคณะกรรมการสภานกั เรียน
(3) จัดกิจกรรมเพื่อหาทุนมาเปน็ งบประมาณของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
(4) ปฏบิ ตั ิงานอนื่ ๆ ตามท่ีไดร้ บั มอบหมาย
คณะกรรมการงานพัสดุและครุภณั ฑ์ มีบทบาทหน้าที่ดงั นี้
(1) ประสานงานกับงานพสั ดุของโรงเรียนในกจิ การท่เี กี่ยวข้อง
(2) จดั ทารายการพสั ดุและครุภัณฑ์ของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
(3) จดั ซอื้ พสั ดแุ ละครุภัณฑ์เพือ่ ใชใ้ นกจิ การของคณะกรรมการสภานักเรยี น
(4) ดแู ลการจดั เก็บและเบิกจ่ายพัสดุต่างๆ ของคณะกรรมการสภานกั เรียน
(5) สารวจพสั ดุและครภุ ณั ฑ์ของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
(6) ปฏบิ ตั ิงานอื่นๆ ตามท่ีได้รบั มอบหมาย

คณะกรรมการฝา่ ยท่ัวไป มีบทบาทหนา้ ท่ีประสานงานกบั กลุ่มบรหิ ารงานท่ัวไปของโรงเรียน
ในกิจการทีเ่ ก่ียวข้อง ประกอบด้วย ๔ งาน ไดแ้ ก่
คณะกรรมการงานประชาสมั พนั ธ์

(1) ประสานงานกบั งานประชาสัมพนั ธข์ องโรงเรยี นในกจิ การทเ่ี ก่ยี วข้อง
(2) จัดรายการเสียงตามสายเพ่ือเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ และนาเสนอสาระท่ีเป็นประโยชน์กับ
นกั เรยี นในโรงเรยี น
(3) จัดทาสอ่ื ส่งิ พิมพเ์ พื่อประชาสัมพันธก์ จิ กรรมของคณะกรรมการสภานักเรียน
(4) นาเสนอข้อมูลของกิจกรรมคณะกรรมสภานักเรียนผ่านทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
และเวบ็ ไซตใ์ หม้ ีความทนั สมยั ตลอดเวลา
(5) ดาเนินหน้าทีพ่ ิธกี รช่วงหน้าเสาธง
(6) เป็นพธิ กี รในกิจกรรมตา่ งๆ ของโรงเรยี นตามทไี่ ด้รบั มอบหมาย
(7) ปฏบิ ตั ิงานอนื่ ๆ ตามที่ได้รบั มอบหมาย



คณะกรรมการงานสวัสดิการ
(1) ดแู ลการจดั อาหารว่าง อาหาร และการดูแลบรกิ ารทวั่ ไปในกจิ กรรมที่เกี่ยวขอ้ ง
(2) ปฏิบัติงานอนื่ ๆ ตามที่ได้รบั มอบหมาย
คณะกรรมงานอาคารสถานท่ีและสง่ิ แวดลอ้ ม
(1) ประสานงานกบั งานอาคารสถานท่ีของโรงเรียนในกิจการทเี่ ก่ยี วข้อง
(2) จัดสถานท่ใี นกจิ กรมที่เกี่ยวข้อง
(3) ดาเนินงานกจิ กรรมวนั รกั ษ์โรงเรยี น (BIG CLEANING DAY)
(4) จดั กิจกรรมประหยัดพลงั งานทุกชนดิ ในโรงเรยี น
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการรักษาความสะอาดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ภายในโรงเรยี น
(6) ปฏบิ ัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
คณะกรรมการงานเทคโนโลยีและโสตทศั นูปกรณ์
(1) ประสานงานกบั งานโสตทัศนศกึ ษาของโรงเรียนในกจิ การท่ีเก่ยี วข้อง
(2) ถา่ ยภาพกิจกรรมต่างๆ ทีค่ ณะกรรมการสภานักเรียนดาเนนิ การ
(3) ประสานงานกับฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการสภานักเรียนในการประชาสัมพันธ์
กจิ กรรมของคณะกรรมการสภานกั เรียน
(4) จดั ทาสอ่ื วิดีทศั น์ และไวนลิ ในกิจกรรมของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
(5) ปฏิบตั ิงานอื่นๆ ตามท่ีได้รับมอบหมาย

ส่วนท่ี 3
สิทธิและอานาจ
ขอ้ 13 คณะกรรมการสภานกั เรยี นมีสิทธิในการจัดทา และดาเนินโครงการเพ่ือพัฒนานักเรียน หรือ
พัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ โดยผ่านการพิจารณาจากครูท่ีปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน ซึ่งจะมี
ครูคนใดเป็นครูที่ปรึกษาโครงการก็ได้ นักเรียนแกนนาห้องเรียน หรือนักเรียนตัวแทนสมาชิกสภานักเรียน
และนักเรยี นทุกระดบั ชั้น ควรให้ความใหร้ ว่ มมือด้วยดี
ข้อ 14 คณะกรรมการสภานกั เรยี นมอี านาจในการออกประกาศ คาสั่ง ข้อกาหนด โดยมีประธานสภา
นกั เรียนหรอื ผปู้ ฏิบตั ิงานแทนประธานสภานักเรียนเป็นผู้ลงนาม และผ่านความเห็นชอบของครูท่ีปรึกษาสภา
นักเรียน โดยถือว่าเป็นเอกสารที่มีผลบังคับใช้ต่อคณะกรรมการสภานักเรียน สภานักเรียน นักเรียนแกนนา
หอ้ งเรียน และนกั เรียนทุกคน ซึ่งจะต้องไม่ขัดกับธรรมนูญฉบับนี้ และกฎระเบยี บของโรงเรียน
ข้อ 15 คณะกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิขอความร่วมมือจากนักเรียนทุกคน ในการดาเนินงานหรือ
จัดกิจกรรมตา่ งๆ ตามนโยบายหรือไดร้ บั มอบหมาย



ขอ้ 16 ประธานสภานกั เรยี นมีอานาจเรยี กประชมุ คณะกรรมการสภานกั เรียน สภานักเรียน นักเรียน
ตวั แทน และนกั เรียนท่เี กยี่ วข้องเปน็ การดว่ นได้ ถ้ามีเหตุอนั สมควรทจี่ าเป็นเพยี งพอ โดยต้องมีครทู ่ปี รึกษาสภา
นกั เรยี นเข้ารว่ มทุกครัง้

ข้อ 17 ประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการบริหารสภานักเรียนมีอานาจในการบริหารจัดการ
คณะกรรมการสภานักเรียน และสภานักเรียนให้อยู่ในความเรียบร้อย รวมถึงการแต่งต้ังหรือปรับเปล่ียน
ตาแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการสภานกั เรียน โดยต้องผ่านความเห็นชอบของครูปรกึ ษาสภานกั เรยี น

ข้อ 18 คณะกรรมการฝา่ ยวชิ าการสทิ ธิในการประสานงานและดาเนินงานทางวิชาการในด้านตา่ งๆ
ข้อ 19 คณะกรรมการฝา่ ยกจิ การนกั เรียนมสี ทิ ธใิ นการดแู ลการจดั กิจกรรมท้ังหลายในโรงเรียนและมี
สิทธิในการดแู ลความเรียบรอ้ ยท่วั ไป และพฤติกรรมของนักเรยี นภายในโรงเรียน
ขอ้ 20 คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณมสี ทิ ธใิ นการประสานงานด้านงบประมาณ พัสดุและครุภัณฑ์ท่ี
เก่ยี วข้องในการดาเนนิ งานของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
ขอ้ 21 คณะกรรมการฝ่ายทวั่ ไปมสี ทิ ธิในการดูแลจดั การความเรยี บร้อยทั่วไป และการพัฒนาบริเวณ
สถานทตี่ า่ งๆ ในโรงเรียน
ข้อ 22 คณะกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิในการดาเนินงานตามแผนการดาเนินงานท่ีสอดคล้องกับ
นโยบายได้โดยจะต้องไม่ขัดต่อคุณธรรมจริยธรรม กฎระเบียบของโรงเรียน สิทธิเสรีภาพของนักเรียน และ
ธรรมนูญฉบบั น้ี

ส่วนที่ 4
ขอ้ กาหนด
ขอ้ 23 คณะกรรมการสภานกั เรยี นตอ้ งรับผิดชอบต่อหน้าที่ทไี่ ดร้ บั มอบหมาย
ขอ้ 24 คณะกรรมการสภานกั เรยี นตอ้ งดาเนินงานดว้ ยเหตุผล ความสมควรเหมาะสม ความรอบคอบ
เรยี บรอ้ ย และคานงึ ถงึ ประโยชน์ และผลกระทบทอี่ าจเกดิ ขนึ้
ข้อ 25 คณะกรรมการสภานักเรียนต้องส่งเสริมและรับฟังการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน และ
ตอ้ งจัดใหม้ กี ารประชมุ คณะกรรมการสภานกั เรยี น และการประชมุ สภานักเรียนในแตล่ ะเดือน
ข้อ 26 คณะกรรมการสภานักเรียนคณะหนึ่งจะอยู่ปฏิบัติงานได้แค่หนึ่งวาระคือหน่ึงปีการศึกษา
หมายความวา่ การนับตงั้ แต่วนั ประกาศผลการเลือกตัง้ จนหมดปีการศกึ ษาน้ัน และในปีการศึกษาใหม่ให้ปฏิบัติ
หน้าทร่ี ักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตัง้ ครง้ั ใหม่
เว้นแตม่ เี หตุต้องให้พน้ จากหนา้ ท่ีระหวา่ งภาคเรยี น ดงั น้ี
(1) ลาออก และประกาศยบุ สภา
(2) กระทาผิดตามขอ้ กาหนดในธรรมนญู น้ี และกฎระเบยี บของโรงเรียนอย่างร้ายแรง
(3) นกั เรยี นลงชือ่ รวมกันไมน่ ้อยกว่าหนง่ึ ในสามของจานวนนักเรียนท้ังหมด ยื่นต่อผู้อานวยการ
โรงเรียน และคณะครูพิจารณาเพ่ือถอดถอนให้พ้นจากหน้าที่

๑๐

ข้อ 27 นอกจากพ้นจากตาแหน่งตามวาระข้อ ๒๖ ให้คณะกรรมการสภานักเรียนสามารถพ้นจาก
ตาแหน่งเป็นเฉพาะบคุ คลได้ เมอ่ื

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการสภานกั เรยี นมีมติให้ออก
(4) พ้นจากความเปน็ นักเรยี นของโรงเรยี นสุนทรภู่พทิ ยา
ขอ้ 28 หากมีการพ้นจากตาแหนง่ ตามขอ้ ๒๗ คณะกรรมการสภานักเรียนสามารถแต่งตั้งผู้ที่สมควร
ดารงตาแหนง่ และปฏบิ ตั ิหน้าท่ีแทนได้
ขอ้ 29 คณะกรรมการสภานักเรยี นพงึ รักษาการกระทาท่ีเป็นตามกฎระเบียบของโรงเรียน ประพฤติ
ปฏิบัติตนให้อยู่ในจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมอันดี มีจิตสาธารณะต่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่
นกั เรยี นคนอ่นื ทว่ั ไป
ข้อ 30 คณะกรรมการสภานักเรียนพึงใช้สิทธิและหน้าที่ในการส่งเสริมปลูกฝังประชาธิปไตยใน
โรงเรียน ปกปอ้ งคมุ้ ครองสทิ ธเิ สรีภาพของตนเองและเพื่อนนักเรียน โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย และ
แนวทางสันตวิ ิธี ซงึ่ จะละเลยในบทบาทหนา้ ที่มไิ ด้

หมวด 4

ทม่ี าของคณะกรรมการสภานกั เรยี น

สว่ นที่ 1
การกาหนดการเลอื กตัง้
ขอ้ 31 การเลือกตง้ั คณะกรรมสภานกั เรียนนน้ั ใหจ้ ัดข้ึนเพ่อื ส่งเสริมกระบวนการทางประชาธิปไตยใน
โรงเรียน
ข้อ 32 การกาหนดการเลือกต้ังขึ้นอยู่กับครูท่ีปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียนและฝ่ายบริหาร
กิจการนกั เรยี นของโรงเรียนในการจัดการควบคมุ ดแู ล
ข้อ 33 กรณีหากต้องมีการเลือกต้ังครั้งใหม่ระหว่างภาคเรียนด้วยเหตุตามข้อ ๒๖ ครูที่ปรึกษา
คณะกรรมการสภานักเรยี นเปน็ ผจู้ ดั การควบคมุ ดูแล พรอ้ มดว้ ยสภานักเรียน

๑๑

สว่ นที่ 2
คณะกรรมการการเลือกตัง้
ข้อ 34 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แก่ คณะกรรมการสภานักเรียนคณะเดิมท่ีปฏิบัติหน้าที่
รักษาการตามข้อ 26 โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของครูที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน หรือ
คณะกรรมการตามคาสัง่ แตง่ ตั้งของผูอ้ านวยการโรงเรยี น
ข้อ 35 คณะกรรมการการเลอื กต้ังต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต และป้องกันการประพฤติที่มิ
ชอบในระหวา่ งการเลือกตงั้ โดยมหี น้าที่ดงั น้ี
(1) ดาเนินการจดั การเลอื กตั้ง และรบั สมคั รผูส้ มคั รรับเลือกตงั้ คณะกรรมการสภานกั เรียน
(2) อานวยความสะดวกในการใช้สิทธเิ ลอื กต้ังของคณะครแู ละนักเรียน
(3) จัดสถานทีแ่ ละดแู ลความเรยี บร้อยระหวา่ งการเลอื กต้งั
(4) ให้ความรู้ ชแี้ นะ แนะนา วธิ ี ขอ้ กาหนด หรือความรทู้ ว่ั ไปเกยี่ วกับการเลอื กต้ัง
(5) นบั คะแนนและประกาศผลการเลือกตัง้
(6) ตรวจสอบความถูกต้องและระวังการกระทาผดิ ในการเลือกตั้ง
ข้อ 36 คณะกรรมการการเลือกตง้ั ประกอบไปด้วย
(1) ครูที่ปรกึ ษาสภานักเรียน จานวน ๑ คนเปน็ ประธาน
(2) คณะกรรมการสภานักเรียนคณะเดิม จานวนไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเปน็ คณะกรรมการ
(3) ตวั แทนสภานักเรยี นหรือตัวแทนนกั เรียน จานวนอย่างนอ้ ย ๒ คนเป็นคณะกรรมการ

ส่วนที่ 3
ขอ้ กาหนดและขนั้ ตอนการเลือกตงั้
ข้อ 37 ผู้จะลงสมัครรบั เลือกตง้ั คณะกรรมการสภานักเรียนจะต้องมคี ุณสมบัตดิ ังนี้
(1) เปน็ นักเรยี นระดับช้ันมัธยมตอนปลาย
(2) ไมเ่ ปน็ นกั เรียนท่ถี ูกพกั การเรียน
(3) มีชื่อพรรค และรายชื่อผู้ท่ีจะดารงตาแหน่งประธานสภานักเรียน รองประธานสภา
นักเรียน และคณะกรรมการอยา่ งนอ้ ย
(4) สง่ ใบสมคั รภายในเวลาทมี่ กี ารกาหนด
(5) อื่นๆ ตามท่ีคณะกรรมการการเลอื กตง้ั กาหนด
ข้อ 38 ขอ้ กาหนดในการเลือกต้งั มีดังน้ี
(1) ผู้สมคั รทุกพรรคที่มีการสมคั รรับเลือกต้ัง ต้องแจ้งชื่อพรรค สโลแกน นโยบาย โดยต้อง
แจง้ แกค่ รทู ่ปี รึกษาสภานกั เรยี น และประกาศต่อคณะครู นกั เรียนทงั้ โรงเรยี น
(2) ผู้สมัครทุกพรรคมีสิทธ์ิหาเสียง ผ่านเสียงตามสาย หรือหน้าเสาธงได้โดยจะต้องไม่
รบกวนในเวลาเรยี นและไม่ใชถ้ ้อยคาหรอื ขอ้ ความท่ไี ม่เหมาะสม

๑๒

(3) ผ้สู มคั รทุกพรรคหา้ มหาเสียงโดยทุจรติ เชน่ การให้เงนิ สิ่งของตา่ งๆ แก่นักเรยี นเด็ดขาด
(4) ผสู้ มคั รทุกพรรคห้ามหาเสียงในวนั ทีม่ ีการเลือกตั้ง
(5) นักเรียนทกุ คนห้ามแสดงพฤตกิ รรมกอ่ กวนระหว่างการเลือกต้งั
(6) นกั เรียนทกุ คนตอ้ งเคารพในปฏิบตั ิตามที่คณะกรรมการการเลือกต้งั กาหนด
(7) หากผู้สมัครรับเลือกต้ัง หรือนักเรียนคนใดทาผิดข้อกาหนดน้ี ให้ลงโทษตามความผิด
หนกั เบาดังน้ี การหา้ มใชส้ ิทธิหาเสียง การตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกต้ัง การตัดสินผลคะแนนเลือกตั้งเป็นโมฆะ
การตัดคะแนนพฤติกรรม และตามท่ีฝ่ายบริหารกจิ การนักเรยี นกาหนด
ข้อ 39 ขัน้ ตอนการเลือกต้งั มดี งั น้ี
(1) คณะกรรมการการเลือกต้ังกาหนดและประกาศวันเลือกตั้ง และเปิดการรับสมัคร
นกั เรียนที่สนใจสมคั รรับเลอื กตัง้
(2) นักเรียนท่ีสนใจและมีคุณสมบัติครบ และรวบรวมรายช่ือคณะกรรมการ พร้อมระบุชื่อ
พรรค และขอ้ มูลตามท่ีมีการกาหนด ส่งภายในเวลาท่ีกาหนด
(3) คณะกรรมการการเลือกต้ังชี้แจงข้อกาหนดในการเลือกต้ัง พร้อมจับสลากหมายเลข
ผู้สมัครรับเลือกต้งั
(4) คณะกรรมการการเลือกตั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เก่ียวกับการเลือกตั้ง
รวมถงึ ข้อมลู ของผสู้ มคั รรบั เลอื กต้ัง
(5) ผูส้ มคั รรับเลือกตง้ั สามารถหาเสียง โดยนาเสนอวิสัยทัศน์ สโลแกน และนโยบายภายใน
ระยะเวลา และกฎเกณฑ์ทีก่ าหนด
(6) คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตามท่ีได้มีการกาหนด และเปิดให้คณะครู
นักเรียนลงทะเบียน รับบัตร และลงคะแนนเลือกตั้ง โดยมีคณะกรรมการเลือกต้ังตรวจสอบ และสังเกต
เหตกุ ารณ์
(7) เม่ือถึงเวลาที่เหมาะสมให้ปิดการลงคะแนนเลือกต้ัง คณะกรรมการเลือกตั้งตรวจสอบ
หีบหยอ่ นบตั รคะแนน คูหา และสถานทีล่ งคะแนน เมือ่ เรียบรอ้ ยแลว้ เปิดให้มกี ารนบั คะแนน
(8) เปิดหีบหย่อนบัตรเลือกตั้ง โดยมีคณะครู และนักเรียนเป็นพยาน คณะกรรมการ
การเลือกต้ังหยบิ บตั รเลือกต้ังขนึ้ มานับและขานคะแนน พรอ้ มบนั ทึกบนกระดานหรืออุปกรณ์ที่แสดงคะแนนท่ี
เห็นโดยประจกั ษ์ชดั เจน โดยมีคณะครู และนกั เรยี นผูส้ มคั รรับเลอื กต้ังร่วมเปน็ พยาน
(9) เม่ือนับและขานคะแนนครบแล้ว ให้แสดงภายในของหีบบัตรหย่อนบตั รเลือกต้ัง
(10) หากไม่มีการคัดคา้ นจากผ้ใู ด ใหค้ ณะกรรมการการเลือกต้งั สรปุ ผลคะแนนการเลอื กต้ัง
(11) ประกาศผลคะแนนการเลอื กตั้ง โดยพรรคท่ีไดค้ ะแนนเสียงมากท่ีสุดในการเลือกตั้งจะ
ได้เปน็ คณะกรรมการสภานักเรยี น
(12) ครูท่ีปรึกษาสภานักเรียนเสนอรายชื่อคณะกรรมสภานักเรียน และผู้อานวยการ
โรงเรยี นลงนามคาส่งั แตง่ ต้ังคณะกรรมการสภานักเรียน

๑๓

หมวด ๕
การดาเนินนโยบายพืน้ ฐาน

ขอ้ ๔๐ คณะกรรมการสภานกั เรยี นตอ้ งพทิ กั ษร์ ักษาไว้ซ่ึงธรรมนญู ฉบบั นี้
ขอ้ ๔๑ คณะกรรมการสภานกั เรียนต้องส่งเสรมิ ความสมั พันธไมตรีอนั ดรี ะหวา่ งนกั เรียนทกุ คน รวมทั้ง
ประสานประโยชนร์ ะหว่างคณะครแู ละนักเรยี นด้วย
ข้อ ๔๒ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องมีการจัดทาแผนการปฏิบัติงานของแต่ละภาคเรียนและ
ดาเนินกจิ กรรมตา่ ง ๆ ตามแผนงานทไี่ ด้กาหนดไว้แล้วน้ัน
โดยต้องมีการประชุมคณะกรรมการสภานักเรียนอย่างเดือนละ ๑ คร้ัง และสรุปรายงานการ
ปฏบิ ัตงิ านในตอนปลายของแต่ละภาคเรียนต่อฝ่ายบรหิ ารและคณะกรรมการทป่ี รกึ ษาสภานกั เรียน
ข้อ ๔๓ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องมีการดาเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยตามวิถี
ประชาธปิ ไตย สอดคลอ้ งตามหลกั การ ๓ ประการ คอื คารวธรรม สามคั คธี รรม และปัญญาธรรม
ข้อ ๔๔ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องมีการดาเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
ข้อ ๔๕ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องมีการดาเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริม/พัฒนานักเรียนให้มี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ
ข้อ ๔๖ คณะกรรมการสภานักเรยี นต้องมีส่วนรว่ มในการจดั กจิ กรรมทีส่ ่งเสริมสทิ ธเิ ด็กและเยาวชน
ข้อ ๔๗ คณะกรรมการสภานกั เรียนตอ้ งมีการสง่ เสริมการสร้างสว่ นร่วมในการป้องกันสารเสพติด/โรค
เอดส์/TO BE NUMBER ONE ในการจัดกิจกรรมท่ีเก่ียวกับการป้องกันสารเสพติด/โรคเอดส์/TO BE
NUMBER ONE และดาเนนิ กจิ กรรมห้องเรียนสีขาวใหเ้ ปน็ รูปธรรม
ข้อ ๔๘ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องมีการดาเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีการนาหลัก
ธรรมาภิบาลมาสกู่ ารปฏิบตั ิอยา่ งแทจ้ ริง
ขอ้ ๔๙ คณะกรรมการสภานักเรียนต้องจัดกิจกรรมท่ีเป็นประโยชน์แก่นักเรียน โรงเรียน และชุมชน
สว่ นรวม โดยคานึงถึงผลท่เี กิดขนึ้ เปน็ สาคัญ

๑๔

หมวด ๖
การดาเนนิ งานของคณะกรรมการสภานักเรียน

ขอ้ ๕๐ คณะกรรมการนักเรียนตอ้ งดาเนินงานตามบทบาทหน้าท่ีและนโยบายพื้นฐานตามบทบัญญัติ
แห่งธรรมนูญนี้

ข้อ ๕๑ คณะกรรมการสภานกั เรยี นต้องดาเนนิ การให้มกี ารเปิดประชุมคณะกรรมการสภานักเรยี นคร้ัง
แรกภายใน ๓๐ วนั นับแต่ไดร้ บั การแตง่ ต้ังใหเ้ ป็นคณะกรรมการสภานกั เรียน

การเรยี กประชุมตามวรรคหน่ึงให้พิจารณาและชแ้ี จงถงึ บทบญั ญตั ิตา่ งๆ ตามธรรมนูญฉบับนี้และ ให้มี
การแบง่ และมอบหมายงานคณะกรรมการฝา่ ยต่าง ๆ ตามที่ทีป่ ระชุมไดก้ าหนด

และเปิดประชุมสภานักเรยี นครงั้ แรกภายใน ๓๐ วนั นบั แต่วันประชุมคณะกรรมการสภานักเรียนตาม
วรรคหน่งึ ให้เสนอแผนการดาเนนิ งานของคณะกรรมการสภานักเรยี นใหท้ ป่ี ระชมุ สภานกั เรียนรบั ทราบ

ข้อ ๕๒ ประธานสภานักเรียนต้องแบ่งหน้าท่ีและมอบหมายงานต่างๆ ให้รองประธานสภานักเรียน
และคณะกรรมการงานต่างๆ ตามทปี่ ระชุมคณะกรรมการสภานักเรยี นเห็นชอบ

ข้อ ๕๓ คณะกรรมการสภานักเรียนทุกคนต้องรับผิดชอบในงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามที่
ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๕๔ การดาเนินการใดๆ ท่ีเป็นเร่ืองจาเป็นและเร่งด่วนที่ต้องให้คณะกรรมการสภานักเรียน
ดาเนินการให้ ประธานและรองประธานสภานักเรียนดาเนินการเท่าท่ีจาเป็นไปพลางก่อนได้โดยไม่ต้องขอ
อนุญาตทป่ี ระชุม

การดาเนินการตามวรรคหน่ึงต้องแจ้งการดาเนินการท่ีได้ทาไปน้ันต่อคณะกรรมการสภานักเรียน
ภายในคร้งั แรกทีม่ ีการเรียกประชมุ

ข้อ ๕๕ คณะกรรมการสภานกั เรยี นต้องดาเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานตามที่กาหนดไว้

๑๕

หมวด ๗
สภานักเรยี น

ส่วนท่ี 1
องคป์ ระกอบ
ข้อ ๕๖ สภานกั เรียนมีความหมายตามข้อ ๖ ประกอบดว้ ย
(1) ครทู ่ปี รกึ ษาสภานักเรยี น
(2) ประธานสภานกั เรยี น
(3) รองประธานสภานักเรยี น
(4) คณะกรรมการสภานักเรียน
(5) สมาชกิ สภานกั เรียน
(6) เลขานุการคณะกรรมการสภานักเรยี น
อีกท้ังรวมถึงผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการโรงเรียน คณะครู บุคลากรและบุคคลหรือคณะ
องค์กรตา่ งๆ ทเ่ี กีย่ วข้องกับโรงเรยี นท่จี ะช่วยเหลอื อานวยการ ให้การปรึกษา และส่งเสริมการดาเนินการของ
สภานักเรียนในด้านตา่ งๆ

สว่ นท่ี 2
สมาชกิ สภานกั เรยี น
ขอ้ ๕๗ สมาชิกสภานกั เรียน หมายความวา่ ตัวแทนทน่ี กั เรียนแต่ละห้องคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของ
ห้องเรียนและนักเรียน ในการแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการสภานักเรียน และลงมติในวาระข้อเสนอ
ต่างๆ แทนนักเรยี นในโรงเรยี น
ขอ้ ๕๘ สมาชิกสภานักเรียน มาจากตัวแทนหอ้ งเรียน ห้องละ 2 คน ดังน้ี
(1) หวั หนา้ หอ้ งของแต่ละหอ้ งเรียน
(2) ตวั แทนนักเรียนของแตล่ ะหอ้ งเรยี น
ขอ้ ๕๙ บทบาทของสมาชิกสภานักเรยี น มีดังนี้
(1) แสดงความคิดเห็นแทนนักเรียน ในการเห็นชอบต่อกิจกรรม โครงการ หรือเร่ืองท่ี
คณะกรรมสภานักเรยี นเสนอ
(2) รับฟังปัญหาจากนักเรยี น เพ่อื นามาปรกึ ษาหารือแกไ้ ขตอ่ ไป
(3) ประชาสัมพนั ธ์ขอ้ มูลข่าวสารจากสภานกั เรยี น
(4) รว่ มกันสรา้ งจิตสานึกทีด่ ีตอ่ โรงเรียน และสงั คม

๑๖

ข้อ ๖๐ หนา้ ที่ของสมาชกิ สภานกั เรียน มดี งั น้ี
(1) เขา้ ร่วมการประชมุ สภานกั เรยี นนกั เรยี นทกุ ครั้ง
(2) รับฟังปัญหาในโรงเรียนจากเพื่อนนักเรียนในห้องของตน เพ่ือนาเสนอให้สภานักเรียน

และคณะกรรมการสภานักเรียนรว่ มแกไ้ ข
(3) ประชาสัมพนั ธข์ ่าวสาร และกิจกรรมท่ีในที่คณะกรรมการสภานักเรียนได้มีการแจ้งไป
(4) รณรงค์ และสร้างความเขา้ ใจในส่งิ ที่คณะกรรมการสภานกั เรียนกาลงั ทา
(5) ร่วมลงมติเห็นชอบตอ่ ข้อเสนอทีม่ กี ารเสนอให้ทีป่ ระชุมพจิ ารณา
(6) รว่ มเสนอความคดิ เหน็ ตอ่ สภานกั เรยี นอย่างสร้างสรรค์
(7) เคารพเสยี งส่วนใหญ่และข้อตกลงของสภานักเรยี น

ขอ้ ๖๑ สทิ ธขิ องสมาชิกสภานกั เรยี น มดี งั นี้
(1) แสดงความคิดเห็นหรือนาเรอื่ งที่เปน็ ปญั หาต่างๆ มาปรึกษาต่อท่ปี ระชุมสภานักเรียน
(2) ลงมติเห็นชอบในขอ้ เสนอทก่ี ารเสนอในท่ปี ระชุมสภานกั เรยี น
(3) เสนอเรอ่ื งใหพ้ จิ ารณาเหน็ ชอบหรอื ข้อคดั ค้านในท่ีประชมุ สภานกั เรยี น
(4) เสนอโครงการ หรอื กจิ กรรมทีเ่ ปน็ ประโยชน์ต่อนกั เรยี นและโรงเรยี นผ่านคณะกรรมการ

สภานักเรียน
(5) ดาเนินการตามท่ีสภานักเรียนมอบหมายโดยอยู่ในขอบเขตของธรรมนูญสภานักเรียน

และกฎระเบียบของโรงเรียน

สว่ นที่ 3
บทบาทและอานาจ
ข้อ ๖๒ สภานักเรียนมีบทบาทในการนาเสนอปัญหาหรือเร่ืองที่เป็นประโยชน์ของนักเรียนและ
โรงเรียนในด้านตา่ งๆ โดยมีคณะกรรมการสภานักเรยี นเป็นผู้ประสานงานและดาเนนิ การ
ข้อ ๖๓ สภานักเรียนสามารถพิจารณาเห็นชอบต่อกิจกรรมหรือโครงการหรือการดาเนินการแก้ไข
ปัญหาในโรงเรยี นของคณะกรรมการสภานกั เรียน
ข้อ ๖๔ มติของที่ประชุมสภานักเรียนท่ีถือว่าเป็นที่ยอมรับของฝ่ายนักเรียน ซึ่งให้มีผลในการ
ดาเนินการตามมติน้ันในฐานะเสยี งส่วนใหญ่ของนักเรยี น
ข้อ ๖๕ สภานักเรียนมีสิทธิและอานาจในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน โดยยึดถือหลัก
ประชาธปิ ไตยและสันติวธิ ี
ข้อ ๖๖ ท่ีประชุมสภานักเรียนมีสิทธิและอานาจในการพิจารณาข้อเสนอต่างๆ แต่จะต้องมิยอมให้มี
การลงมตใิ นขอ้ เสนอทข่ี ัดต่อหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม รวมถงึ ธรรมนูญนี้ และกฎระเบยี บของโรงเรียน

๑๗

ส่วนท่ี 4
ขอ้ กาหนดและขอ้ ตกลง
ขอ้ ๖๗ ประธานสภานักเรยี นเปน็ ผมู้ อี านาจกาหนดวันและสถานทเ่ี รียกประชุมสภานักเรียน
ข้อ ๖๘ ในการประชุมสภานกั เรยี นคร้ังแรกของปีการศกึ ษา ให้มีการตกลงข้อกาหนดหรือข้อบังคับใน
การประชมุ สภานักเรียนใหแ้ ล้วเสร็จ และลงมตริ บั รอง
ข้อ ๖๙ คณะกรรมการสภานักเรียนมสี ทิ ธิในการดูแลจัดการงานสภานักเรยี น
ข้อ ๗๐ สมาชกิ สภานักเรยี นพงึ ปฏบิ ตั ติ ามบทบาทหนา้ ท่ี และขอ้ กาหนดของสภานักเรยี น

สว่ นที่ 5

การประชุมสภานักเรยี น

ข้อ ๗๑ สภานักเรียนต้องมีการประชุมสภานักเรียนตามท่ีประธานสภานักเรียนหรือที่ประชุมสภา

นักเรียนกาหนด

ข้อ ๗๒ ในการประชุมสภานักเรียนตอ้ งมอี งค์ประชมุ ท่ีต้องเขา้ ร่วมได้แก่

(1) ครทู ่ปี รึกษาสภานกั เรยี น ทปี่ รกึ ษาในการประชุม

(2) ประธานสภานกั เรยี น ปฏิบตั หิ นา้ ท่ีประธานในการประชุม

(3) คณะกรรมการสภานักเรยี น ผูด้ าเนินงานสภานักเรยี น

(4) เลขานกุ ารคณะกรรมการสภานกั เรียน ปฏบิ ัติหนา้ ท่ีผจู้ ดบนั ทึกระเบียบวาระการประชมุ

(5) สมาชกิ สภานักเรยี น องคป์ ระชุม

การปฏิบัติหน้าท่ีประธานในการประชุมใน (๑) ประธานสภานักเรียนสามารถมอบหมายให้รอง

ประธานสภานกั เรยี นปฏบิ ตั ิหน้าที่แทนได้

และตาม (๔) หากมีสมาชิกสภานักเรียนที่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุมเข้าร่วมต่ากว่าก่ึงหนึ่งของจานวน

องคป์ ระชุมทงั้ หมด ให้ประธานในที่ประชมุ สัง่ เลิกประชุม

ขอ้ ๗๓ ในการลงมติเหน็ ชอบสมาชิกสภานักเรียนมีสิทธิในการลงมติเห็นชอบเท่านั้น และถือมติเสียง

ข้างมาก หรือเกนิ กึ่งหนงึ่ ของจานวนองคป์ ระชุมในการประชุมคร้ังน้ัน หากการลงมตินั้นมีเสียงเท่ากัน ให้เป็น

หน้าทขี่ องประธานในที่ประชุมวินิจฉยั

ข้อ ๗๔ ห้ามที่ประชุมสภานักเรียนนาเรื่องที่เพิ่งลงมติเห็นชอบหรือเร่ืองที่พิจารณาเสร็จไปแล้วมา

พิจารณาหรอื เสนอลงมติเหน็ ชอบอกี เว้นแตป่ ระธานในทปี่ ระชมุ อนุญาต

ขอ้ ๗๕ การประชมุ สภานกั เรียนพงึ เปน็ ไปด้วยประโยชน์แกน่ ักเรยี น โรงเรยี น และสว่ นรวมเป็นสาคัญ

๑๘

บทเฉพาะกาล
ข้อ 1 ให้คณะกรรมการสภานักเรียนท่ีดารงตาแหน่งอยู่ ณ วันท่ีประกาศใช้ธรรมนูญนี้เป็น
คณะกรรมการสภานักเรยี นแหง่ ธรรมนญู ฉบบั นี้ และตอ้ งกาหนดหรอื ปรับนโยบายการดาเนินงานให้สอดคล้อง
กับธรรมนญู ฉบับน้ี
ขอ้ 2 การแกไ้ ขปรบั เปลีย่ นธรรมนญู ฉบบั น้ีให้เป็นตามความเห็นชอบของคณะกรรมการท่ีปรึกษาสภา
นักเรียน และสภานักเรียน

ประกาศไว้ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

( นายศกั ดา สรรเสริญ )
ผู้อานวยการโรงเรยี นสนุ ทรภพู่ ทิ ยา

๑๙

หมายเหตุ - สามารถเรียกธรรมนูญฉบับนโ้ี ดยย่อได้ดงั นี้ “ธรรมนญู ฯ วา่ ด้วยสภานักเรยี น พ.ศ. ๒๕๖๔”
- การกระทาอ่ืนๆ ท่ีไม่ได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญฉบับนี้ให้ถือแนวทางตามวิถีแห่งระบอบ

ประชาธิปไตย
- หากมีปัญหาในการบังคับใช้ธรรมนูญฉบับน้ีให้อานาจของคณะกรรมการท่ีปรึกษา

สภานักเรียนเปน็ ผพู้ ิจารณาไปตามแตล่ ะกรณี
- หากมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนธรรมนูญฉบับน้ีต้องผ่านมติเห็นชอบของสภานักเรียนและ

คณะกรรมการทป่ี รึกษาสภานักเรยี น แต่หากมกี ารจดั ทาธรรมนญู ฉบับใหม่ต้องผ่านการออกเสียงประชามติใน
โรงเรียน


Click to View FlipBook Version