The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Best Practice การนำผลการประเมินไปใช้ โรงเรียนบ้าน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thungyao2566, 2023-08-07 02:49:28

Best Practice การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์

Best Practice การนำผลการประเมินไปใช้ โรงเรียนบ้าน


๒ ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice ชื่อผลงาน : การยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ(National Test : NT) โดยใช้ชุดกิจกรรมการ สอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ผู้นำเสนอผลงาน : โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ……………………………………………………………………………………………………………………………. ๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการกำหนดนโยบายและจุดเน้นเพื่อห้ารบริหารจัดการศึกษามีความสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ วัตถุประสงค์ของแผนการปฏิรูป ประเทศด้านการศึกษาและนโยบายของรัฐบาลเรื่องการเตรียมคนให้พร้อมในศตวรรษที่ ๒๑ ใน ระดับประถมศึกษา มุ่งคำนึงถึงพหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลที่หลากหลายตามศักยภาพ โดยเฉพาะการ เรียนภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่นรวมถึงนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมให้ นักเรียนระดับประถมศึกษาคิดเลขเป็น พร้อมกับสร้างเด็กให้เกิดกระบวนการทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการ คิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาได้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน ๒ ด้าน คือความสามารถด้านภาษาไทยและความสามารถ ด้านคณิตศาสตร์ เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำผลการทดสอบนั้นไปใช้วางแผนในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาในอนาคตต่อไปได้ จากผลการทอสอบในปีการศึกษา ๒๕๖๔ พบว่า ผลการสอบ (National Test : NT) ของโรงเรียน บ้านทุ่งยาว อยู่ในระดับที่สามารถพัฒนาให้ผลการสอบอยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้ กระนั้นจึงเห็นว่า หากผู้เรียนได้รับการปรับปรุง ส่งเสริม และแก้ไขในจุดที่บกพร่องต่าง ๆ แล้ว จะทำให้เกิดการยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการสอบ (National Test : NT) ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงได้กำหนดให้มีการสร้างชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ขึ้นเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการสอบ (National Test : NT) ในปี การศึกษา ๒๕๖๕ ขึ้น


๓ ๒. จุดประสงค์ของการดำเนินงาน ๑. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ๒. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ National Test : NT ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้สูงขึ้น ๓. ขอบเขตการดำเนินงาน ๓.๑ เป้าหมายของการดำเนินงาน เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว มีผลการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) ที่สูงขึ้นหลังจากใช้ชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอด การ์ เดล (Cone of Experiences) เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านทุ่งยาวที่มีความสมัครใจเข้าร่วมทดสอบ ระดับชาติ (National Test : NT) ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวย ประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ร้อยละ 100 ๓.๒ ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า - เนื้อหาสาระวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ใช้ในการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) - เนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ใช้ในการทดสอบ ระดับชาติ (National Test : NT) - นวัตกรรมจากทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ๓.๓ ขอบเขตของระยะเวลา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕


๔ ๔. ประโยชน์ที่จะได้รับ ๑. สถานศึกษามีชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ซึ่งเป็นนวัตกรรมของสถานศึกษา ๒. สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ National Test : NT ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่สูงขึ้น ๕. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow chart) ภาพที่ ๑ Flowchart


๕ ครูผู้สอนได้คิดค้นและสร้างชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences โดยอาศัยกระบวนการวงจรควบคุมคุณภาพหรือวงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งประกอบไปด้วย ๔ ขั้นตอนคือ P(Plan) D(Do) C(Check) A(Act) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการ ทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามรูปแบบที่แสดงไว้เป็นแผนภูมิ ดังนี้ ภาพที่ ๒ วงจรควบคุมคุณภาพเด็มมิ่ง (Deming Cycle) ขั้นตอนที่ ๑. (P : Plan) : วางแผน มีการวางแผนโดยเริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ของนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบทดสอบ จากการเก็บข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า นักเรียนมีปัญหาด้านความรู้ในการทำข้อสอบ (National Test : NT) ในฐานะครูผู้สอนจึงสามารถ วิเคราะห์และสรุปสาเหตุของปัญหาดังกล่าวว่าเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยังเน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้แค่หลักการและทฤษฎี แต่ยังขาดการการจัดกิจกรรมที่สามารถบูรณาการกับการสอบ ที่สามารถ


๖ แสดงให้นักเรียนเห็นได้ จากทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่ทฤษฎีที่เป็นรูปธรรม จึงได้คิดค้นหาแนวทางและ วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวขึ้น โดยได้เลือกใช้ทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา เนื่องจากทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเรียนรู้จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม ให้นักเรียนได้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติจริง จึงเป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับการนำมาบูรณาการกับ การจัดการเรียนการสอน เมื่อทราบสาเหตุของปัญหาและวิธีการที่เลือกใช้แล้ว ก็นำเอาวิธีการมาสร้างเป็น ชุดกิจกรรม จำนวน ๑๑ ชั่วโมง ซึ่งสามารถสรุปกระบวนการในการวางแผนเป็นรูปแบบ ดังนี้ ภาพที่ ๓ กระบวนการในการวางแผน ( P : Plan) ขั้นตอนที่ ๒. (D : Do) : ลงมือปฏิบัติ เมื่อได้วิธีในการแก้ไขปัญหา จึงสร้างนวัตกรรม โดยใช้ เวลาทั้งสิ้น จำนวน ๑๑ ชั่วโมง และนำไปใช้กับนักเรียน ดัง ตารางต่อไปนี้ ชั่วโมง กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ๑ NT ในความคิดของหนู วจนสัญลักษณ์ ๒ แผนที่ของ NT ทัศนสัญลักษณ์ ๓ พิชิต NT ภาพนิ่ง และเสียง ๔ ของขวัญจาก NT ภาพยนตร์ ๕ NT ของหนูอยู่ในทีวี โทรทัศน์ ๖ NT ของหนูอยู่ไหน นิทรรศการ ๗ เส้นทางของNT การทัศนศึกษา ๘ NT รอบตัวฉัน การสาธิต ๙ นิทานสอน NT ประสบการณ์นาฏการ ๑๐ ตลาดนัด NT ประสบการณ์จำลอง ๑๑ NT ร่วมด้วยช่วยกัน ประสบการณ์ตรง วิเคราะห์ปัญหา ค้นพบปัญหา เลือกวิธีการ สร้างกิจกรรม


๗ ขั้นตอนที่ ๓. (C : Check) : ประเมิน จัดให้มีการประเมินการใช้ชุดกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือ แบบประเมินการใช้ชุดกิจกรรม เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการสร้างชุดกิจกรรม ว่าชุดกิจกรรมการ สอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) สามารถตอบโจทย์ เป้าหมายทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่วางไว้หรือไม่ และเมื่อนักเรียนได้ใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว เพื่อนำผลของการประเมินไปพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมต่อไป ภาพที่ ๔ กระบวนการในการประเมิน (C : Check) ขั้นตอนที่ ๔. (A : Act) : ปรับปรุงแก้ไข นำผลการวิเคราะห์หาจุดบกพร่องของชุดกิจกรรมมา ปรับปรุงและแก้ไขให้เกิดการพัฒนาตามวงจรควบคุมคุณภาพหรือวงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตามวงจรควบคุมคุณภาพหรือวงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) สามารถ สรุปวิธีการดำเนินงานทั้ง ๔ ขั้นตอน ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิได้ ดังนี้ ภาพที่ ๕ กระบวนการสร้างนวัตกรรมตามวงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) เมื่อใช้กระบวนการ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินงานสร้างชุดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว จึง ก่อให้เกิดเป็นชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences ขึ้น เป็นแนวทางและรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางด้าน การสอบระดับชาติ (National Test : NT) โดยอาศัยทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน กรวยประสบการณ์ เอดการ์ เดล (Cone of Experiences) เป็นรูปแบบของนวัตกรรม ดังนี้ ใช้ชุดกิจกรรม ประเมิน จุดบกพร่อง แก้จุดบกพร่อง


๘ ภาพที่ ๖ ภาพแสดงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการสอบ NT (National Test ) ๖. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านทุ่งยาวที่มีความสมัครใจเข้าร่วมทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของ เอดการ์ เดล (Cone of Experiences) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว มีผลการ ทดสอบระดับชาติ(National Test : NT) ที่สูงขึ้นหลังจากใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าว ๗. ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยที่ทำให้ชุดกิจกรรมนี้สำเร็จคือเทคนิดกรวยประสบการณ์ที่เป็นการปฏิบัติ ส่งผลต่อความ กระตือรือร้นของนักเรียน นอกจากนั้นยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้บริหาร คณะครู และที่สำคัญคือ นักเรียน ที่เปรียบเสมือนเครื่องจักรกลที่ทำให้ชุดกิจกรรม เดินหน้าและขับเคลื่อนมาจนเป็นชุดกิจกรรม การสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences)ที่สร้างนักเรียนให้ มีความรู้และพร้อมสำหรับการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) การสอบ NT ผลสัมฤทธิ์ทางการสอบ


๙ ๘. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) การสร้างชุดกิจกรรมการสอน NT ตามทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Cone of Experiences) ในครั้งนี้ ทำให้เป็นการริเริ่มที่จะคิดค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานักเรียนในด้านความรู้ที่จะ ใช้ในการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) ค้นพบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียน เกิดความรู้ และสนุกสนานกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นกับตนเองผ่านการลงมือ ปฏิบัติ จากการใช้ชุดกิจกรรมจัดการเรียนการสอนดังกล่าว นักเรียนได้แสดงศักยภาพทั้งในด้านวิชาการ และศักยภาพในการลงมือปฏิบัติ เป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ครูผู้สอนได้ทราบถึง ความสามารถและ ความถนัดในตัวของนักเรียน และพร้อมสำหรับการทดสอบระดับชาติ (National Test : NT) ๙. การเผยแพร่ผลงาน มีการเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระบบ Social Network เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เพื่อนครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ตามความเหมาะสม ภาพที่ ๗ การเผยแพร่ผลงานนวัตกรรม ๑๐. บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.


๑๐ ๑๑. ภาคผนวก กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรม NT ในความคิดของหนู : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ในข้อที่ ๑ การใช้วจนสัญลักษณ์ในการสร้างองค์ความรู้ ให้นักเรียนพูดความรู้เกี่ยวกับการสอบ ภาพที่ ๘ การจัดกิจกรรม NT ในความคิดของหนู กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมแผนที่ของ NT : กิจกรรมที่ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๒ การใช้ทัศนสัญลักษณ์ ให้นักเรียนสร้างแผนที่เพื่อนำไปสู่เนื้อหาสาระของ NT (National Test : NT) ภาพที่ ๙ การจัดกิจกรรมแผนที่ของ NT กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมพิชิต NT : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๓ การใช้ภาพนิ่ง และเสียง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้สลับกับการวาดภาพ และนำเสนอผลงานในชั้นเรียน ภาพที่ ๑๐ การจัดกิจกรรมพิชิต NT


๑๑ กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมของขวัญจาก NT : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๔ คือ การใช้ภาพยนตร์ ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากการฟัง และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้รับกับผู้อื่น ภาพที่ ๑๑ การจัดกิจกรรมของขวัญจาก NT กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรม NT ของหนูอยู่ไหน : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๕ การ ใช้โทรทัศน์ในการสอน โดยใช้บทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ในการสอบ NT (National Test : NT) โดยนักเรียนจะต้องสรุปความรู้ และนำเสนอหน้าชั้นเรียนเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ภาพที่ ๑๒ การจัดกิจกรรม NT ของหนูอยู่ในทีวี กิจกรรมที่ ๖ กิจกรรม NT ของหนูอยู่ไหน : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๖ การ สอนโดยใช้นิทรรศการ โดยให้นักเรียนสร้างความรู้เกี่ยวกับ NT (National Test : NT) ผ่านชิ้นงาน ภาพที่ ๑๓ การจัดกิจกรรมสุภาษิตของหนูอยู่ไหน


๑๒ กิจกรรมที่ ๗ กิจกรรมเส้นทางของ NT : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ในข้อที่ ๗ การ สอนโดยการทัศนศึกษา โดยครูผู้สอนจะนำนักเรียนออกเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ นอกห้องเรียน และตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการสอบได้จริง ภาพที่ ๑๔ การจัดกิจกรรรมเส้นทางของ NT กิจกรรมที่ ๘ กิจกรรม NT รอบตัวฉัน : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๘ การ สร้างองค์ความรู้โดยการสาธิต ให้นักเรียนได้นำเสนอความรู้ที่ใช้ในการสอบ NT (National Test : NT) ภาพที่ ๑๕ การจัดกิจกรรม NT รอบตัวฉัน กิจกรรมที่ ๙ กิจกรรมนิทานสอน NT : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ในข้อที่ ๙ ประสบการณ์นาฏการ โดยนำความรู้เกี่ยวกับการสอบ NT (National Test : NT) แสดงบทบาทสมมติ ภาพที่ ๑๖ การจัดกิจกรรมนิทานสอน NT


๑๓ กิจกรรมที่ ๑๐ กิจกรรมตลาดนัด NT : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๑๐ การ สอนโดยใช้ประสบการณ์จำลอง โดยครูจะกำหนดเนื้อหาสาระ NT ให้นักเรียนเลือกเพื่อพูดนำเสนอใน หัวข้อที่ตนเองมีความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ภาพที่ ๑๗ การจัดกิจกรรมตลาดนัด NT กิจกรรมที่ ๑๑ กิจกรรม NT ร่วมด้วยช่วยกัน : ใช้กรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล ข้อที่ ๑๑ การสอนโดยใช้ประสบการณ์ตรง ให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับมาจาก กิจกรรมที่จัดมาทั้งหมด และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ภาพที่ ๑๘ การจัดกิจกรรม NT ร่วมด้วยช่วยกัน ๑๒. ข้อมูลของเจ้าของผลงาน ผู้จัดทำผลงาน ๑. นายวัชระ กูมุดา ครูโรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒. นางสาวสิริวิมล หยงสตาร์ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓. นางสาวธิดารัตน์ เทพกุล ครูโรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔. นางสาวณัฐติยา หมาดหวา ครูโรงเรียนบ้านทุ่งยาว


Click to View FlipBook Version