The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศิลปะการแทงหยวก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by srn.m.culture, 2021-11-11 00:54:33

ศิลปะการแทงหยวก

ศิลปะการแทงหยวก

ศิลปะการแทงหยวก

กลุ่มพิธีการศพท่ีได้รับพระราชทาน สานักงานวัฒนธรรมจงั หวดั สรุ ินทร์

ศิลปะการแทงหยวก

ศิลปะการแทงหยวก เป็นหน่ึงในงานช่าง๑๐หมู่ ประเภทงานสลักของอ่อน เป็นงานฝีมือที่สร้างสรรค์
โดยช่างผู้ชานาญ ใช้วัสดุธรรมชาติท่ีหาง่าย ผลงานมีระยะเวลาในการคงอยู่ในระยะสั้น ๆ ไม่คงทนถาวร ตาม
ลักษณะของวัสดุ โดยเป็นการนาหยวกกล้วยมาฉลุลวดลายประดับตกแต่งในงานต่างๆ ท้ังงานมงคลและงาน
อวมงคล ได้แก่ งานบวช งานโกนจุก งานกฐนิ ทาบุญขึ้นบ้านใหม่ งานพิธีทางศาสนา ทาบุษบกแห่พระวันออก
พรรษา และ งานศพ เป็นต้น

๑.การแทงหยวกประดับจิตกาธาน
พระจิตกาธาน หรอื เชิงตะกอน แรกเร่ิมคงจะมที ีม่ าจากธรรมเนียมการปลงศพของอินเดีย โดยใช้กอง
ฟนื วางซ้อนกนั ใหส้ ูงใหญ่ จานวนฟืนจะมากหรือน้อยข้ึนอยู่กับช้ันยศของผู้วายชนม์ ต่อมาจึงคิดสร้างพ้ืนยกขึ้น
เรยี กว่า “ร้านม้า” สาหรบั ต้งั ศพคร่อมเหนือกองฟืน ซึง่ ร้านม้าที่ยกขึ้นนน้ั ทาหน้าที่เป็นฐานสาหรับเผาศพ โดย
ใชไ้ มไ้ ผ่หรือต้นหมากมาปกั เรยี งกนั ประมาณ ๓ คู่ นาฟืนเรยี งใสใ่ ห้เต็มในช่องว่าง นาหีบศพวางบนร้านม้าแล้ว
จุดไฟเผา ลักษณะเช่นนี้จะพบการปลงศพตามหมู่บ้านชนบท ที่นิยมปลงศพในป่าช้า เพราะใช้วัสดุที่หาได้ง่าย
ในท้องถิน่ น้นั ๆ
เมื่อค้นหาความเป็นมาของงานแทงหยวกในพงศาวดาร พบว่า สยามประเทศ หรือประเทศไทยใน
ปัจจุบัน เป็นชาติแรกและชาติเดียวในโลก ที่มีงานช่างแทงหยวก ถือเป็นงานช่างของคนไทยโดยแท้จริง ซ่ึง
ปัจจบุ นั นี้มีไม่ก่ีประเทศท่ีมกี าใชง้ านแทงหยวกมาประกอบพิธีกรรม
ความสาคัญของการแกะสลักหยวกกล้วยท่ีปรากฎในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน เม่ือพระไวยกล่าวถึง
การทาพ้ีว่า ให้ขุดศพนางวันทองขึ้นมา แล้วกล่าวถึงการทาพิธีว่าสถานที่วางหีบศพนั้นตกแต่งอย่างสวยงาม
เเละวิจิตรพิสดารเป็นรูปภูเขา มีน้าตกมีสัตว์ต่างๆ มีกุฏิพระฤษี มีเทวดา เช่น รามสูร เมขลา ที่ตั้งศพที่เป็น
ภูเขาน้ีเห็นจะเป็นประเพณีไทยที่เก่าเเก่ ที่ทาเช่นนั้นก็คงหมายถึงว่า เขาพระสุเมรุคงเป็นที่เทวดาอยู่ตรงกับ
สวรรค์ ผู้ตายนั้น ถือว่าจะต้องไปสวรรค์ เช่น พระเจ้าแผ่นดินตาย เรียกว่า “สวรรคต” จึงนิยมทาศพให้เป็น
ภูเขา พระสเุ มรุหรือเมรุ คือ ทาท่ตี งั้ เป็นภูเขาทง้ั สน้ิ ตอ่ มาคงจะเปล่ียนแปลงไป เช่น งานหลวงเล็กทาเป็นภูเขา
เปล่ียนทาเป็นเครอ่ื งไม้เพราะอาจทาให้สวยงามให้เป็นชั้นลดหล่ันลงมาเป็นเหลี่ยมจะหักมุมย่อให้วิจิตรพิสดาร
อย่างใดกไ็ ด้ เเต่เเมจ้ ะเอาภเู ขาพระสุเมรุ จรงิ ๆ ออกไปกย็ งั คงเรยี กเมรตุ ามท่เี คยเรียกมา เมรุ จึงกลายเป็นที่ตั้ง
ศพไป
บ้างก็ว่าศิลปะการแทงหยวกเกิดข้ึนจากสมัยพระนเรศวรมหาราชล่าแผ่นดิน ในสมัยก่อนช่างอันดับ
๑ คือ ช่างเหล็ก อันดับ ๒ คือช่างแทงหยวก ไปรบท่ีไหนก็ตายท่ีนั่น เผาที่น่ัน ใช้ไม้ไผ่เป็นเชิงตะกอน
แล้วนาหยวก (ต้นกล้วย) มาคุมเชิงตะกอนก่อนจะเผา แล้วพัฒนาหยวกให้เกิดลวดลายที่สวยงาม จนเกิด
คุณค่าแห่งความงามต่อสังคมไทยเรา ในการแทงหยวกจะช่วยพัฒนาสังคมในด้านจิตใจ ให้คนเห็นคุณค่า
“ปรัชญา” ความสดสวย ไมช่ ้ากเ็ หยี่ วแหง้ เป็นธรรมดาตามหลกั ศาสนา

กลมุ่ พธิ ีการศพทไี่ ด้รบั พระราชทาน สานักงานวัฒนธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๒.การเลือกต้นกลว้ ยในการแทงหยวก
พันธ์ุกลว้ ยท่ีดีท่ีสุดในการใชแ้ ทงหยวก คอื กลว้ ยตานที ี่ยังไม่ออกเครอื ดว้ ยคุณสมบตั ขิ อง

กล้วยตานีทรี่ วงผ้งึ ดา้ นในกาบกลว้ ยค่อนขา้ งถ่ีกวา่ กลว้ ยพันธ์อุ น่ื ๆ ทาใหห้ ยวกกล้วยมีความชมุ่ น้า ส่งผล
ใหผ้ ิวของกาบกลว้ ยตานีมีความคงทน สวยงาม ไม่เปราะบาง หรอื แตกง่าย ไมเ่ นา่ เปื่อย แต่จะเหี่ยวแหง้ ไป
ตามกาลเวลา ลกั ษณะพิเศษของกล้วยตานีอกี ประการหน่ึงคือ เนื้อผิวหยวกมีสขี าวนวลสวย และมีเสน้ ใย
ท่ีสามารถมองเห็นเปน็ แนวได้ ต้นกลว้ ยที่จะนามาใชใ้ นการแทงหยวก ควรเลยี้ งให้ลาตน้ มคี วามสูงตั้งแต่ 3
เมตรข้ึนไป และมีเส้นผา่ นศูนย์กลางของโคนตน้ ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร จึงจะเหมาะกับการฉลุลายได้ดี

ในการดาเนินการตดั ต้นกลว้ ยนั้นจะตอ้ งมีการทาพิธีขอขมาต้นกล้วยเสียก่อน ซงึ่ ชา่ งแทง
หยวกจะทาพิธีขอขมาโดยใช้ใบตองห่อเศษเงนิ ท่ีมีอยู่ในกระเป๋า จากน้ันจงึ กลา่ วบทสวดขอขมา แล้วซกุ
เงนิ ไว้บรเิ วณโคนต้นกลว้ ย

การตดั ต้นกลว้ ยจะตัดในทศิ ทางทใ่ี หต้ น้ เอนลม้ ใส่คนตัด เพ่อื มใิ หต้ ้นกล้วยนั้นหล่นลงพื้น จากน้ันจึงตัด
ปลายตน้ กลว้ ยออก เพอ่ื ไม่ใหต้ ้นกลว้ ยช้า โดยจะตดั ต้นกลว้ ยในแนวทแยงเพื่อให้ต้นกล้วยนั้นได้แทงหน่อต่อไป
และเว้นระยะการตดั จากโคนต้นประมาณ ๑ คืบ เมื่อได้ต้นกล้วยตามที่ต้องการแล้วจึงนามาตัดหัวตัดท้ายออก
จากนัน้ ทาการลอกกาบออกทลี ะช้นั ด้วยความระมัดระวัง โดยใช้น้ิวมือสอดเข้าไปในกาบกล้วย แล้วค่อย ๆ ดัน
มือไปพร้อม ๆ กนั ท้ังสองขา้ ง ลอกไปจนเกือบถึงชั้นในสดุ แลว้ ทาการคดั แยกขนาดของกาบไว้เปน็ กลุ่ม ๆ
เพ่ือเตรียมใช้ในการแทงหยวกกาบกล้วยท่ีจะนาไปแทงหยวกนั้น ประกอบด้วย กาบเปลือก กาบเขียว กาบ
เขยี วทค่ี อ่ นข้างไปทางขาว และแกนหยวก ซึ่งส่วนท่ีใช้ในการแทงหยวกจริง ๆ น้ันควรเป็นกาบเขียวท่ีค่อนข้าง
ไปทางขาว เนอ่ื งจากเปน็ กาบทีม่ คี วามสมบูรณ์ มนี ้าหล่อเลย้ี งภายในรวงผึง้ ทาให้ชุม่ ฉา่ อยู่ตลอดเวลา

๓.วสั ดแุ ละอุปกรณท์ ใ่ี ชใ้ นการแทงหยวก
การสรา้ งสรรค์ศลิ ปะการแทงหยวกโดยมากจะใชว้ ัสดแุ ละอุปกรณท์ ห่ี าไดง้ ่าย มใี ชต้ าม
พ้นื บ้านทว่ั ไป ไดแ้ ก่
๓.๑ หยวกกล้วย ท่ไี ดท้ าการลอกกาบ คัดแยกขนาดของกาบกลว้ ย และเชด็ ผวิ ทาความ
สะอาดเรียบรอ้ ยแล้ว

กลุม่ พิธกี ารศพทีไ่ ดร้ บั พระราชทาน สานักงานวฒั นธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๓.๒ กระดาษสี ใช้สาหรับประกอบงานแทงหยวก เพอ่ื เนน้ ลวดลายท่ีได้ฉลุลงบนหยวกให้มี
สสี ันสวยสดงดงาม ซง่ึ นิยมใชก้ ระดาษอังกฤษสีมันวาวคล้ายกระดาษตะกวั่ ทมี่ ีคณุ สมบัติสาคัญคือ เมือ่ ถกู
น้าแลว้ ไม่ ยับย่น สีไม่ลอก เนอื่ งจากเมื่อแทงหยวกเสรจ็ แล้วตอ้ งมีการพ่นน้าอยู่เสมอ

๓.๓ มดี แทงหยวก เปน็ มีดปลายแหลมท่มี ีคมทง้ั สองดา้ น เพอื่ ให้สามารถแทงลวดลายใน
ลกั ษณะเดินหนา้ ถอยหลงั ได้อยา่ งสะดวก ทามาจากเหล็กลานนาฬกิ า หรือใบเลอ่ื ยโลหะ นามาเจียรและ
ลบั ให้คม ใบมดี มีขนาดความกว้างประมาณ ๕ มิลลิเมตร มคี วามยาวประมาณ ๓-๓ น้ิวครึง่ หรอื แตกตา่ ง
กนั ไปตามความต้องการและความถนดั ของช่างแต่ละคน

๓.๔ หนิ ลบั มดี ใชส้ าหรบั ลบั มีดแทงหยวก เน่ืองจากเมอ่ื มีการใชง้ านนาน ๆ จะทาใหม้ ีดแทง
หยวกนน้ั หมดคม ระหว่างใช้งานจึงตอ้ งหมนั่ ลบั มีดให้คมอย่เู สมอ เมื่อมีดมีความคมก็จะทาใหล้ วดลายบน
หยวกมคี วามคมชัดสวยงาม

กล่มุ พิธีการศพทไี่ ดร้ บั พระราชทาน สานักงานวัฒนธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๓.๕ ตอก ใช้สาหรบั ประกอบหยวกเข้าเปน็ ลายชุด โดยใชต้ อกรดั ตรึงหยวกทแ่ี ทงแลว้ แตล่ ะชิ้น
ให้เปน็ ส่วนเดียวกัน ตอกท่ใี ช้สาหรับงานศลิ ปะการแทงหยวกนยิ มทาจากไม้ไผ่ โดยมคี วามกว้างประมาณ
๑-๑.๕ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ซ่งึ ปลายตอกทัง้ สองข้างจะมคี วามเรียวแหลมและคม

๓.๖ ไม้เสยี บ ใชส้ าหรับปักยึด หรอื ช่วยเสริมความแขง็ แรงจากการประกอบหยวกด้วยตอกอีก
ที

๓.๗ มีดบาง หรอื มีดทาครวั ใชส้ าหรบั ตกแตง่ กาบกลว้ ย หรอื ตัดหยวกกล้วยใหไ้ ด้ขนาดตามท่ี
ต้องการ โดยเฉพาะเมอ่ื นาลายมาประกอบเป็นลายชุด และในช่วงทีต่ ้องตดั ต่อเพ่ือนาลายชดุ ไปประดบั
ตกแตง่ สถานทีต่ า่ ง ๆ

กลุ่มพิธกี ารศพทีไ่ ด้รบั พระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั สรุ นิ ทร์

๔.พธิ ีไหว้ครกู อ่ นการแทงหยวก
ก่อนจะเร่ิมทาการแทงหยวก ช่างแทงหยวกจะต้องไหว้ครูเพ่ือระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ท่ีให้
วิชาความรู้เหมือนกับช่างศิลปะแขนงอ่ืน ๆ ซ่ึงเคร่ืองไหว้ท่ีใช้ในพิธีไหว้ครูก่อนการแทงหยวกจะประกอบด้วย
ดอกไม้ ธูปเทยี น น้า เหลา้ บุหรี่ อปุ กรณ์เครือ่ งมือต่าง ๆ ท่ีใช้ และแผ่นหยวกที่แทงเป็นลายแล้วสาหรับไหว้ครู
เคร่ืองไหว้ทั้งหมดจะนามาใส่ในถาดรวมกันแล้วต้ังไว้บนโต๊ะใกล้ ๆ บริเวณที่ทาการแทง ซึ่งช่างทุกคนต้องไหว้
ครแู ละเครือ่ งมือกอ่ นทางาน
โดยว่าตามบทสวด ดังนี้
(ต้ังนะโม 3 จบ) “ลูกขอไหว้คุณครูผู้ประสาทวิชาให้แก่ตัวลูก ลูกของไหว้พระอินทร์ พระพรหม พระ
ยม พระกาฬ พระจตุโลกบาลทั้งสี่ พระภูมิเจ้าที่ พระธรณี พระแม่คงคา แม่พระพาย ส่ิงศักด์ิสิทธ์ิท้ังหลายใน
สากลโลก พระวิษณุกรรม ท้าวเวสสวุ รรณ ครูพักลักจา ครแู นะครนู า ครูสัง่ ครูสอน ทไ่ี ดป้ ระสาทพรให้แก่ลกู
มา พทุ ธังประสทิ ธเิ ม ธรรมังประสิทธิเม สังฆงั ประสิทธเิ ม” (กราบ 3 คร้ัง)

๕.ลายพ้นื ฐานการแทงหยวก
๕.๑ ลายฟันหน่ึง(ลายฟันปลา) แทงหยวกด้วยมีดฉลุท่ีคมทั้งสองด้านและปลายแหลมคมในลักษณะ
ขึน้ ลง ๆ ในลกั ษณะซิกแซก แทงหยวกเดินหน้าและถอยหลัง แนวตรงในระยะห่างท่ีเท่า ๆ กัน โดยใช้แนวเส้น
หยวกกลว้ ยเปน็ แนวหลกั ใช้เปน็ ลายประกอบได้เยอะมาก

๕.๒ ลายฟันสาม มีรูปแบบมาจากลายตาอ้อย ใช้ประกอบลายในพิธีของสามัญชนจนถึงขุนนางชั้น
ผใู้ หญ่ รวมไปถงึ พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย

กลุ่มพิธกี ารศพทไี่ ด้รบั พระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๕.๓ ลายกลบี บัว ลายแทงหยวกดว้ ยมีดฉลุทีค่ มท้ังสองด้านและปลายแหลมคมในลักษณะขึ้นลง ๆ ใน
ลักษณะซิกแซกแต่มีลักษณะลายท่ีใหญ่โค้ง แทงหยวกเดินหน้าและถอยหลัง แนวตรงในระยะห่างท่ีเท่า ๆ กัน
โดยใช้แนวเส้นหยวกกลว้ ยเป็นแนวหลกั

๕.๔ ลายน่องสิงห์ เป็นลายที่ลอกเลียนแบบจากน่องสิงห์ในงานปูนปั้นต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ท่ัวไป ซ่ึง
สงิ หเ์ ปน็ สตั วป์ า่ หิมพานต์

๕.๕ ลายหน้ากระดานแนวนอน ใช้ประกอบส่วนคาน ฐานช้ันล่าง และชั้นประกอบฉัตร ลวดลาย
พัฒนาจากลายเครือเถาที่นามาผูกกันและเล้ือยออกไปท้ังสองด้าน ช่างแทงหยวกจะต้องแทงให้เท่ากันทั้ง
ดา้ นซา้ ยและขวา

๖.ขน้ั ตอนกระบวนการแทงหยวก
กระบวนการขั้นตอนในการแทงหยวก โดยทวั่ ไปจะแบ่งออกเป็น ๕ ข้นั ตอน ดงั น้ี

๖.๑ การเตรียมหยวกกลว้ ย หลังจากทาพธิ ไี หวค้ รเู รียบรอ้ ยแลว้ ทาการตัดทอ่ นตน้ กล้วยตาม
ความยาวทต่ี ้องการ ลอกกาบออกเปน็ ชั้น ๆ โดยระวงั มใิ ห้กาบกล้วยแตกหรือช้า จากนน้ั ทาการคัดแยก
กาบทม่ี ีความยาวและสีใกลเ้ คียงกันไว้เป็นกลุ่ม ๆ

กลมุ่ พธิ ีการศพทไ่ี ด้รับพระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั สรุ ินทร์

๖.๒ การแทงหยวก นากาบกล้วยที่ได้คดั แยกไว้มาทาการแทงฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยใช้
ปลายคมมีดแทงเข้าไปในเน้ือหยวกกล้วย ซ่งึ สว่ นมากชา่ งจะนากาบมาซอ้ นกนั ๒-๓ ชั้น แลว้ แทงเปน็ ลาย
พื้นฐานอย่างลายฟันหน่ึง(ฟันปลา) ลายฟันสาม ลายฟันห้า เพ่ือความรวดเร็ว แต่จะไม่นิยมใช้วิธีนี้ในการแทง
ลายหน้ากระดาน ลายเสา หรอื ลายประยุกต์อน่ื ๆ

๖.๓ การประกอบเป็นลายชุด เมื่อไดห้ ยวกทม่ี กี ารแทงฉลุลวดลายตา่ ง ๆ แลว้ ชา่ งจะนา
กระดาษองั กฤษสแี วววาวไปชุบนาแล้วนามาตดิ กบั หยวกอีกชั้น ใช้มอื ลูบใหก้ ระดาษแนบติดสนิทกบั ความ
โค้งของหยวก จากนั้นนาหยวกอกี ชั้นที่แทงลวดลายเว้นพน้ื หลงั เรยี บร้อยแลว้ มาวางประกอบ โดยกดให้
หยวกทง้ั ๒ ชิ้นเขา้ กันไดส้ นิท เม่ือได้กาหนดลวดลายทจ่ี ะนามาเข้าชดุ กนั แลว้ จึงเลอื กลายมาจัดวางให้
เหลื่อมกนั หากวางได้รูปแบบแล้วจึงจะใชต้ อกแทงเข้าไปในเนื้อหยวก จากด้านหน่ึงทะลุออกไปอีกดา้ น
หนง่ึ ซึ่งขณะแทงตอกต้องใชม้ ือจับหยวกกลว้ ยท้ังหมดให้แนน่ ไมใ่ ห้ขยับเขยือ้ น จากน้นั ยก
ชดุ ลายคว่าเพื่อใชป้ ลายตอกสอดรดั กลบั มาดา้ นหลงั มดั ชน้ิ ลายใหค้ รบทุกส่วนตามความยาวของชดุ ลาย
เมื่อครบทุกส่วนเรียบรอ้ ยแลว้ ให้มดั เสน้ ตอกโดยการหมนุ บิดเสน้ ตอกใหแ้ น่นทง้ั สองดา้ น จากนนั้ จึงตดั
ส่วนเกนิ ของปลายหยวกทวี่ างซอ้ นกนั ออก เพื่อให้เรียบร้อยและสะดวกต่อการนาไปตดิ ต้ัง แลว้ ทาการ
แกะพ้ืนหลงั ของลวดลายออก จะปรากฏสสี ันของกระดาษอังกฤษท่ชี ัดเจนและสวยงาม พร้อมท่ีจะนาไป
ประดับตามส่วนประกอบตา่ ง ๆ

๖.๔ การประดบั เม่อื มกี ารประกอบหยวกเปน็ ลายชุดตา่ ง ๆ แล้วจึงนามาตดิ ตั้งเข้ากบั โครง
หรือฐานท่ีใช้ในงานพธิ ี โดยใช้ตะปูเป็นวสั ดุในการตอกยดึ ชดุ หยวกกลว้ ยใหต้ ิดอยูก่ บั ฐาน

๖.๕ การตกแตง่ ดว้ ยเครื่องสด เชน่ พ่มุ ดอกไม้ หรอื ดอกไม้ท่ีร้อยเปน็ ม่านรัก และการ
แกะสลักผกั ผลไม้ ทเ่ี รยี กว่า “การแทงหยวกประกอบเคร่ืองสด”

๗. หยวกทเี่ ปน็ องค์ประกอบของจิตกาธาน
๗.๑ รัดเกลา้ คือสว่ นที่อยู่ด้านบนสุดของจิตกาธาน มีส่วนประกอบของลายต่างๆประกอบเขาด้วยกัน
ได้แก่ ลายหนา้ กระดาน ลายฟนั ปลา ลายฟนั สาม ประกอบเขา้ กนั

กลุ่มพิธกี ารศพทไี่ ดร้ บั พระราชทาน สานักงานวฒั นธรรมจงั หวดั สรุ ินทร์

๗.๒ ดอกไม้ไหว คอื สว่ นที่อยู่ด้านบนปักบนรัดเกลา้ ทศิ ละ ๕ ดอก
๗.๓ กระจังทศิ คือสวนที่ประกอบดา้ นบนรัดเกล้าอย่ทู ม่ี มุ ทงั้ ๔ทิศ

๗.๔ ฐานรองโกศ คือส่วนท่ีประดับด้านล่างบริเวณของฐานรองโกศมีลายท่ีประกอบเข้าด้วยกันได้แก่
ลายกลีบบวั และลายฟนั ปลา ประกอบเขา้ กนั

กลมุ่ พธิ ีการศพทีไ่ ดร้ บั พระราชทาน สานักงานวัฒนธรรมจังหวดั สรุ ินทร์

๗.๕ เสา คือส่วนท่ีประดับเสาของจิตกาธาน มีลายที่ประกอบเข้าด้วยกันได้แก่ น่องสิงห์ และฟันปลา
ประกอบเข้าด้วยกัน

กลุ่มพธิ กี ารศพที่ได้รับพระราชทาน สานักงานวัฒนธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๘.องคป์ ระกอบของจิตกาธาน ดอกไม้ไหว
กระจังทศิ รดั เกล้า
ดอกไมแ้ ผง พวงกลาง
พูก่ ล่นิ ม่านดอก

มาลยั รัดข้อ ฐานรองโกศ
เสา
ทอ่ นฟนื
ฐานธรณี

กล่มุ พิธกี ารศพท่ไี ดร้ บั พระราชทาน สานกั งานวัฒนธรรมจังหวดั สรุ นิ ทร์

๙.เทคนิควิธกี ารทส่ี าคัญในการแทงหยวก
การแทงหยวกเป็นงานท่ีตอ้ งอาศยั ความชานาญและสมาธิอยา่ งสูง ชา่ งแทงหยวกต้องเปน็ ช่าง
ท่ีมีฝมี อื เพราะจะไมม่ กี ารวาดลวดลายหรือร่างภาพลงบนหยวกก่อน ชา่ งจงึ จาเป็นตอ้ งจดจาแบบแผน
ของลายทีจ่ ะฉลุลงไปบนหยวกไดอ้ ยา่ งแมน่ ยา ส่ิงทคี่ วรคานงึ ถึงอกี อย่างหนึ่งคือ วิธกี ารจบั มีด การลงมีด
นัน้ จะตอ้ งให้มดี ต้ังฉากกับหนา้ ตัดของหยวก

กลมุ่ พิธกี ารศพท่ีได้รับพระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั สรุ ินทร์

กลุม่ พิธกี ารศพทีไ่ ด้รับพระราชทาน
สานักงานวฒั นธรรมจังหวัดสรุ นิ ทร์

โทร ๐ ๔๔๕๑ ๒๑๔๔

กลุ่มพธิ กี ารศพท่ีได้รับพระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจังหวดั สรุ ินทร์


Click to View FlipBook Version