The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thaplanfe, 2022-06-11 04:35:14

สังคม ม.ต้น

สังคม ม.ต้น

บทเรยี นออนไลน์

วชิ าสงั คมศึกษา

(สค 21001)
ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

บทท่ี 1
ภมู ศิ าสตรก์ ายภาพ

เรอ่ื งที่ 1 สภาพภมู ิศาสตรก์ ายภาพ
เรื่องที่ 2 ลักษณะการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการป้องกัน
อนั ตราย
เรื่องท่ี 3 วิธีใชเ้ ครอ่ื งมอื ทางภมู ิศาสตร์
เรื่องที่ 4 ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การ
จดั ลำดับความสำคัญของปญั หาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม
เร่ืองที่ 5 แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
และสิง่ แวดลอ้ ม โดยประชาชนชมุ ชน องค์กร ภาครฐั ภาคเอกชน

เร่อื งที่ 1 สภาพภมู ศิ าสตร์กายภาพ

ภมู ศิ าสตรก์ ายภาพประเทศไทย
ทำเลทตี่ ั้ง

ประเทศไทยต้ังอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ่ึงประกอบด้วยส่วนที่เป็น
แผ่นดินใหญ่หรือเรียกว่าคาบสมุทรอินโดจีนหรือแหลมทอง และส่วนท่ีเป็นหมู่เกาะใหญ่น้อย
หลายพนั เกาะ ตง้ั อยใู่ นแหลมทอง
ขนาด

ประเทศไทยมเี นอ้ื ที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตตดิ ตอ่

ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ 4 ประเทศคือ เมียนมาร์
ลาว กัมพูชาและมาเลเซยี

มที ง้ั หมด 7 ทวปี ไดแ้ ก่
1. ทวปี เอเชยี
2. ทวีปยุโรป
3. ทวปี อเมริกาใต้
4. ทวีปอเมรกิ าเหนือ
5. ทวีปแอฟริกา
6. ทวปี ออสเตรเลียและโอเซียเนยี
7. ทวปี แอนตารก์ ติก

เรอ่ื งที่ 2 ลกั ษณะปรากฏการณท์ างธรรมชาตทิ ส่ี ำคญั และ การปอ้ งกนั อนั ตราย

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือ การเปล่ียนแปลงของธรรมชาติ ท้ังในระยะยาวและระยะส้ัน
สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งเป็นระบบและไม่เป็นระบบ เป็นส่ิงที่อยู่

รอบตัวเรา มักส่งผลกระทบต่อเราในธรรมชาติ การเปล่ียนแปลงบางอย่างมีผลกระทบต่อเรา
รุนแรงมาก สาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงมีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งท่ีมนุษย์ทำ
ให้เกดิ ข้ึน ในเรอ่ื งนี้จะกล่าวถงึ สาเหตุและ ลกั ษณะปรากฏการณท์ างธรรมชาตทิ ่สี ำคญั ดงั น้ี

1.พายุ
2.นา้ ท่วม
3.แผน่ ดนิ ไหว
4.ปรากฏการณเ์ รอื นกระจก
5.ภาวะโลกรอ้ น

เรอื่ งที่ 3 วธิ ใี ชเ้ ครอ่ื งมอื ทางภมู ศิ าสตร์

แผนท่ี แผนท่ีเป็นสง่ิ ท่ีมีความสำคัญมากในการศึกษา
วิชาภูมิศาสตร์ เพราะครอบคลุมทั้งลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งส่ิงที่
เกิดขึ้นจากฝีมือของมนษุ ย์บนพ้ืนผิวโลกด้วยการจดั ทำ แผนท่ี
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการข้ึนเป็นลำดับ มีการนำเอารูป
ถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมมาช่วย ในการทำแผน
ท่ีทำให้สามารถสร้างแผนท่ีได้รวดเร็ว มีความถูกต้องและ
ทนั สมยั กว่าในอดตี

แผนที่ (Map) หมายถึง การแสดงลักษณะพื้นผิวโลกลงบนแผ่นราบ โดยการย่อส่วน
และการใช้ สัญลักษณ์ไมว่ ่าเคร่ืองหมายหรือสี แทนสงิ่ ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก แผนที่จงึ ต่างจาก
ลกู โลกและแผนผงั

เคร่ืองหมายแผนท่ี คือ เคร่ืองหมายหรือสัญลักษณ์ท่ีใช้แทนส่ิงต่าง ๆ บนพ้ืนพิภพ ที่
เกิดขึ้นเองและ ตามธรรมชาติ นอกจากเครื่องหมายแล้ว เรายังใช้สีเป็นการแสดงลักษณะภูมิ
ประเทศอีกดว้ ย คือ

1. สีดำ หมายถึง ภูมิประเทศสำคัญทางวัฒนธรรมท่ีมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร สุสาน
วัด สถานท่ี ราชการตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

2. สนี ำ้ เงิน หมายถงึ ลกั ษณะภมู ิประเทศท่ีเป็นนำ้ เช่น ทะเล แมน่ ้ำ หนอง บงึ เปน็
ตน้

3. สนี ้ำตาล หมายถงึ ลักษณะภมู ิประเทศทม่ี ีความสงู โดยทัว่ ไป เช่น เส้นชั้นความสงู
4. สเี ขียว หมายถึง พืชพันธุไ์ ม้ตา่ งๆ เช่น ปา่ สวน ไร่
5. สีแดง หมายถึง ถนนสายหลัก พ้ืนที่ย่านชุมชนหนาแน่น และลักษณะภูมิประเทศ
สำคัญ

ลกู โลก องค์ประกอบของลูกโลก องคป์ ระกอบหลักของลกู โลก
จะประกอบไปดว้ ย

1. เสน้ เมรเิ ดียนหรือเสน้ แวง เป็นเสน้ สมมตทิ ล่ี ากจาก ข้ัวโลกเหนือ
ไปจดขัว้ โลกใต้ ซ่ึงกำหนดคา่ เปน็ 0 องศา ท่ีเมอื ง กรนี ชิ ประเทศ
องั กฤษ

2. เส้นขนาน หรอื เสน้ รุ้ง เปน็ เสน้ สมมติทลี่ ากจากทศิ ตะวันตกไป
ทศิ ตะวนั ออก ทุกเสน้ จะขนานกบั เส้นศนู ย์สูตร ซึง่ มี ค่ามมุ เท่ากบั 0
องศา

การใช้ลกู โลก ลกู โลกใชป้ ระกอบการอธบิ ายตำแหนง่ หรือสถานที่ของ
จุดพ้นื ทีข่ องสว่ นต่าง ๆ ของโลก โดยประมาณ

เข็มทิศ เข็มทิศเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยวัดเป็น
องศา เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น เข็มทิศใช้ในการหา ทิศโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่าง
สนามแม่เหล็กขั้วโลก (Magnetic Pole) กับเข็มแม่เหล็ก ซ่ึงเป็นองค์ประกอบสำคัญท่ีสดุ ของ
เครื่องมือน้ี เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวได้โดยอิสระในแนวนอน เพ่ือให้แนวเข็มชี้อยู่ใน แนว
เหนือใต้ ไปยังข้ัวแม่เหล็กโลกตลอดเวลา หน้าปัดเข็มทิศซึ่งคล้าย
กับหน้าปัดนาฬิกาจะมีการแบ่งโดยรอบเป็น 360 องศา ซ่ึงเข็มทิศ
มีประโยชน์ในการเดินทาง เช่น การเดินเรือ ทะเล เคร่ืองบิน
การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบและต้องหาทิศเหนือก่อนเพื่อ
จะไดร้ ทู้ ศิ อื่น
รปู ถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทยี ม

รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการเก็บข้ อมูล
ภาคพ้ืนดิน จากกล่องที่ติดอยู่กับพาหนะ เช่น เคร่ืองบิน หรือดาวเทียม โดยมีการบันทึกข้อมูล
อย่างละเอียดหรือหยาบใน เวลาแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พ้ืนท่ีและการ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามทปี่ รากฏบนพื้นผวิ โลก เช่น การเกิดอุทกภยั ไฟปา่ การเปลีย่ นแปลง
การใช้ทด่ี ิน การกอ่ สรา้ งสถานที่ เป็นต้น

เรื่องที่ 4 ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลการจัดลำดับ
ความสำคัญของปัญหทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม

ปัญหาทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม นนั้ ได้มีการสำรวจทัศนคตขิ องประชาชน พบว่า
ปัญหาสำคัญ 5 ลำดับแรก มีดังน้ี ลำดบั ที่ 1 การสูญเสยี ทรัพยากรป่าไม้ ลำดับที่ 2 อุทกภัย
และภัยแล้ง ลำดับท่ี 3 ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ลำดับท่ี 4 มลพิษ
จากขยะ และลำดบั ท่ี 5 มลพษิ ทางอากาศ

ความสำคญั ของส่ิงแวดลอ้ ม คอื เอ้อื ประโยชน์ให้ส่งิ มีชีวติ ท้งั พืชและสัตวอ์ ยรู่ วมกนั อยา่ งมีความสุข
มีการพึ่งพากันอย่างสมดุล มนุษย์ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยอาศัยปัจจัยพื้นฐานจากส่ิงแวดล้อม ซ่ึง
ประกอบด้วยอาหาร อากาศ น้า ท่ีอยู่อาศัย และยารักษาโรค ส่ิงแวดล้อมเป็นองค์ประกอบท่ี
สำคัญของส่ิงมีชีวิตทุกชนิด แต่ “ทำไมสิ่งแวดล้อมจงึ ถูกทำลาย” และเกิดปัญหามากมายท่ัวทุก
มุมโลก เม่ือทำการศึกษาพบว่า“มนุษย์”เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมมากท่ีสุด สาเหตุท่ีมนุษย์
ทำลายส่ิงแวดล้อมเกิดจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เอง โดยมุ่ง เพื่อด้านวัตถุและเงินมา
ตอบสนองความต้องการของตนเองเมื่อสง่ิ แวดลอ้ มถูกทำลายมากข้ึน ผลกระทบก็ยอ้ นกับมาทำลาย
ตัวมนุษย์เอง เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก เกิดสภาวะเรือนกระจก ภาวะโลก
ร้อนตลอดจนเกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้าท่วม แผ่นดินถล่ม ควันพิษ น้าเน่าเสยี ขยะมูล
ฝอย และสิง่ ปฏกิ ลู ซึง่ สง่ิ เหลา่ นีม้ ผี ลโดยตรงและทางออ้ ม และไมส่ ามารถหลีกเลีย่ งได้

เรื่องท่ี 5 แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดล้อม โดยประชาชน ชมุ ชน องคก์ ร ภาครฐั ภาคเอกชน

แนวคิดในการอนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญ

ฉลาด เพอื่ ให้ เกิดประโยชนส์ งู สดุ ตอ่ ประชาชนโดยทัว่ ถงึ กัน ใช้ไดอ้ ย่างยาวนาน
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน รวมทั้งชุมชน องค์กร

ภาครัฐและ ภาคเอกชน
3. การอนุรักษ์หรือการจดั การทรัพยากร ต้องคำนึงทรัพยากรอย่างอ่ืนในเวลาเดยี วกันด้วย

เพราะทรพั ยากรทกุ อยา่ งมสี ว่ นเก่ยี วข้องและสัมพนั ธ์กนั
4. ในการวางแผนการจัดการทรัพยากร ต้องไม่แยกมนุษย์ออกจากสภาพแวดล้อม

ทางสังคมหรอื วฒั นธรรมหรอื สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
5. ผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติต้องตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ัน ๆ และใช้อย่าง

ชาญฉลาด ใหเ้ กดิ ผลดกี ับทกุ ดา้ น

บทท่ี 2
ประวตั ิศาสตร์

เรื่องที่ 1 การแบง่ ชว่ งเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เร่ืองท่ี 2 แหลง่ อารยธรรมโลก
เร่ืองที่ 3 ประวัติศาสตร์ชาตไิ ทย
เรอ่ื งท่ี 4 บุคคลสำคัญของไทยและของโลกในด้านประวตั ิศาสตร์
เรื่องท่ี 5 เหตุการณ์สำคัญของโลกทีม่ ีผลต่อปจั จบุ ัน

เรอ่ื งที่ 1 การแบง่ ชว่ งเวลาและยุคสมยั ทางประวตั ิศาสตร์

การแบง่ ชว่ งเวลา มีพนื้ ฐานมาจากยุคสมัยทางศาสนาแบ่งออกเป็น
1.การแบ่งช่วงเวลาตามประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช

(จ.ศ.) และพทุ ธศักราช (พ.ศ.) ปจั จบุ ันท่ีใชก้ ันอยูค่ ือ พุทธศกั ราช (พ.ศ.)
2.การแบ่งชว่ งเวลาตามประวัตศิ าสตร์สากล ได้แก่ คริสตศ์ กั ราช (ค.ศ.) เป็นการนบั เวลา

ทางศักราชของผู้ท่ีนับถือคริสต์ที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชท่ี 1 เริ่มนับต้ังแต่ปีท่ี
พระเยซูคริสตป์ ระสูติ (ตรงกบั พ.ศ. 543)

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวตั ิศาสตร์

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร แต่มี
ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับส่งิ แวดล้อม สิ่งที่มนุษย์สร้างข้ึน
เพ่ือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหลงเหลืออยู่ จึงเป็นหลักฐาน
แสดงใหเ้ ห็นถึงววิ ฒั นาการในยคุ กอ่ นประศาสตร์ ดงั นี้

1. ยคุ หนิ เปน็ ยุคทม่ี นุษยร์ ้จู กั นำหินมาดัดแปลงเปน็ เครื่องมอื เคร่ืองใช้
2. ยุคโลหะ ในยุคน้ีมนุษย์เร่ิมทำเครอื่ งมอื เครอื่ งใชจ้ ากโลหะแทนหินและกระดกู สัตว์

ยุคประวัตศิ าสตร์
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรและบันทึกไว้บนวัสดุต่าง ๆ เช่น แผ่นหิน

แผน่ ดนิ เหนยี ว แผน่ ผา้ ยคุ ประวตั ิศาสตรแ์ บง่ ออกเปน็ ยุคสมัยต่าง ๆ ดงั นี้
1. สมัยโบราณ
2. สมัยกลาง
3. สมัยใหมห่ รอื ยคุ ฟืน้ ฟศู ลิ ปะวทิ ยาการ
4. สมยั ปจั จุบนั คอื ช่วงเวลาตั้งแตย่ ตุ ิสงครามโลกครง้ั ท่ี 1 เร่ือยมาจนถงึ ปจั จบุ ัน

หลกั เกณฑ์การแบง่ ยุคสมยั ทางประวัตศิ าสตร์ มีดงั นี้
1. การแบง่ ยคุ สมัยทางประวัติศาสตร์สากล
2. การแบ่งยคุ สมยั ทางประวัติศาสตรไ์ ทย

เร่ืองที่ 2 แหลง่ อารยธรรมโลก

อารยธรรมของมนษุ ย์ยคุ ประวตั ิศาสตร์
พัฒนาการของมนุษย์น้ัน มิใช่เฉพาะลักษณะที่เห็นจากภายนอกเท่านั้น พัฒนาการ

ทางด้านความคิด ได้มกี ารปรับเปล่ียนไปตามสภาพแวดล้อมทางภมู ิศาสตร์และสังคมท่เี ปลยี่ นไป
ด้วย พัฒนาการทางด้านภาษา การสร้างสรรค์งานศิลปะ และการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตใน
ด้านต่าง ๆ นำไปสู่การเกิดอารยธรรม ซ่ึงต้องใช้เวลาอันยาวนานและความเจริญทั้งหลายใน
ปัจจุบันล้วนสืบสายมาจากอารยธรรมโบราณ อารยธรรมของมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
แบ่งออกเปน็ 2 สว่ น คือ

สว่ นท่ี 1 อารยธรรมของโลกตะวนั ออก ส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากแหล่งอารยธรรมที่เกา่ แก่
ของโลก คอื จีนและอินเดีย

ส่วนที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวนั ตก หมายถึง ดินแดนแถบตะวันตกของทวปี เอเชีย รวม
เอเชีย ไมเนอร์และทวปี แอฟรกิ า อยี ปิ ต์ เมโสโปเตเมีย กรีกและโรมัน

เรอื่ งที่ 3 ประวัติศาสตร์ชาติไทย

กรุงธนบรุ ี พ.ศ. 2310 – 2325
หลังจากพระเจ้าตากสนิ ได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่า
กรุง-ศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากท่ีจะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมือง
หลวงมาอยทู่ ี่กรงุ -ธนบุรีแลว้ ปราบดาภิเษกขึ้นเปน็ กษตั ริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธริ าช
ที่ 4” ครองกรงุ ธนบุรีอยู่15 ปี นับว่าเปน็ พระมหากษตั ริย์พระองคเ์ ดียวท่ปี กครองกรุงธนบุรี

กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ พ.ศ. 2325 – ปัจจบุ นั
หลังจากปราบดาภิเษกข้ึนเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ.
2325 แล้ว สมเดจ็ เจ้าพระยามหากษตั ริยศ์ ึกทรงใช้พระนามว่า
“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และได้ย้ายราช
ธานีจากกรุงธนบุรขี ้ามแม่นา้ เจา้ พระยามายังฝ่งั ตรงขา้ ม และต้ัง
ชื่อราชธานีใหม่น้ีว่า “กรุงเทพมหานคร” พร้อม ๆ กับการ
สถาปนา-ราชวงศ์จักรีขึ้นมา โดยกำหนดในวันท่ี 6 เมษายน
ของทกุ ปเี ปน็ วนั จักรี

สาเหตกุ ารเปล่ยี นแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
1. ความเสอื่ มของระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์
2. การได้รบั การศกึ ษาตามแนวความคดิ ตะวนั ตกของบรรดาชนชนั้ นำในสงั คมไทย
3. ความเคลอ่ื นไหวของบรรดาสอ่ื มวลชน
4. ความขัดแย้งทางความคดิ เกยี่ วกบั การปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย
5. สถานการณค์ ลงั ของประเทศและการแกป้ ญั หา

เรือ่ งท่ี 4 บคุ คลสำคัญของไทยและของโลกในด้านประวัติศาสตร์

บคุ คลสำคญั ของไทยและของโลก
1. สมยั กรุงสโุ ขทยั

1.1 พ่อขนุ รามคำแหงมหาราช เป็นพระราชโอรสของพอ่ ขุนศรอี นิ ทราทติ ย์ (บางกลางท่าว)
กับนางเสือง มีพระนามเดิมว่า พระราม เม่ือพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไป
ในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้า
เมืองฉอด พระบิดาจงึ เฉลมิ พระนามใหเ้ ป็น “พระรามคำแหง”

1.2 พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหา
ธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระ
ราชนัดดา (หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง ครองราชย์ พ.ศ. 1890 แต่ไม่ทราบปีส้ินสุดรัช
สมัยท่ีแน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1911 – 1966 พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงเป็น
แบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณา
ประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้
เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาและทรง
ปฏิบตั พิ ระองค์ชกั นำชนท้งั หลายใหพ้ น้ ทกุ ข์

2. สมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยา
2.1 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชกรณียกิจท่สี ำคัญ การรวมอาณาจกั รสุโขทัยเข้า

กับอยุธยา เม่ือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถข้ึนเสวยราชย์ใน พ.ศ.1991 น้ัน ทางสุโขทัยไม่มี
พระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร พระโอรสของพระมหาธรรมราชาท่ี
4 ได้รับแต่งต้ังจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง พ.ศ. 1994 พระยายุทธิษเฐียรไป
เข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครอง
เมืองพิษณุโลก ต่อมาจนสิ้นพระชนม์เม่ือ พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไป
ประทับท่ีพิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับต้ังแต่นั้นเป็น
ต้นมา

2.2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ครองราชย์ พ.ศ. 2034 ถึง พ.ศ. 2072 ใน พ.ศ. 2054 โปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับกรุงศรี
อยุธยา นับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกท่ีเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ไทยจึงเริ่มเรียนรู้
ศิลปวทิ ยาของชาวตะวนั ตก โดยเฉพาะด้านการทหาร ทำใหส้ มเด็จ-พระรามาธบิ ดีที่ 2 ทรงพระ
ราชนิพนธ์ตำราพิชัย-สงครามของไทยได้เป็นครั้งแรก นอกจากน้ีทรงให้ทำสารบัญชี คือ การ
ตรวจสอบจัดทำบัญชีไพร่พลทั้งราชอาณาจักร นับเป็นการสำรวจสำมะโนครัวครั้งแรก โดยทรง
ต้ังกรม สุรัสวดีให้มีหน้าที่สำรวจและคุมบัญชีไพร่พลทางด้านศาสนา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ทรงสร้างวัดพระศรี-สรรเพชญ์ไว้ในเขตพระราชฐาน และให้หล่อพระศรีสรรเพชญ์ สูง 8 วา
หุ้มทองคำ ไว้ในพระมหาวิหารของวัดด้วย ในรัชสมัยนี้อยุธยาและล้านนายังเป็นคู่สงครามกัน
เช่นเดิม เนื่องจากกษัตริย์ล้านนา คือ พระเมืองแก้ว (ครองราชย์ พ.ศ. 2038 – 2068)
พยายามขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ จนถึง พ.ศ. 2065 มีการตกลงเป็นไมตรีกัน สงครามจึง
สิน้ สุดลง

2.3 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชภารกิจของพระองค์ ได้แก่ การทำศึกสงคราม
โดยเฉพาะสงครามคร้ังสำคัญ คือ สงครามยุทธหัตถี ที่ทรงรบกับพม่า ที่ตำบลหนองสาหร่าย
แม้แต่ฝ่ายแพ้กย็ งั ได้รบั การยกย่องว่าเปน็ นกั รบแท้ หลังจากน้นั ตลอดระยะเวลา 150 ปี กรุงศรี

อยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง
ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งลา้ นนา ล้าน
ช้าง ไทยใหญ่ และกัมพูชา รวมถึงพม่า คร้ังสุดท้าย คือ การ
เดินทัพไปตีเมืองอังวะ ซึ่งพระองค์ประชวร และสวรรคตท่ีเมือง
หาง ใน พ.ศ. 2148 พระชนมายุได้ 50 พรรษา เสวยราช
สมบตั ไิ ด้ 15 ปี สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ทรงเปน็ วีรกษัตรยิ ์
ท่ีได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราช
ให้แก่กรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้
เปน็ มหาราช พระองค์หนง่ึ

3. สมยั กรงุ ธนบุรี
สมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราช
พระราชกรณียกิจท่ีสำคัญท่ีสุด การรวบรวมบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ เข้าอยู่ภายใต้การ

ปกครองเดียวกัน เน่ืองจากมีคนพยายามตั้งตัวขึ้นเป็นผู้นำในท้องถิ่นต่าง ๆ มากมาย เช่น
ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าเมืองพิมาย ชุมนุมเจ้าเมือง
นครศรีธรรมราช เป็นต้น ตลอดรัชกาลมีศึกสงครามเกิดข้ึนมากมาย
ได้แก่ ศึกพม่าที่บางกุ้ง ศึกเมืองเขมร ศึกเมืองเชียงใหม่ ศึกเมือง
พิชัย ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นก้ี ศึกจำปาศักด์ิ ศึกเวียงจันทน์ ซึ่ง
พระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับชัยชนะในการศึกษามาโดยตลอด ในสมัยกรุง
ธนบุรีตอนปลาย

4. สมยั กรุงรตั นโกสินทร์
4.1 พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก
พระราชกรณียกิจท่ีสำคัญ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

จุฬาโลกมหาราชทรงเป็นท้ังนักปกครองและนักการทหารท่ียอด
เย่ียมทรงแต่งต้ังให้เจ้านายท่ีเคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่
ช่วยในการปกครอง บ้านเมอื งโปรดเกลา้ ฯ

1. ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง
คือ กฎหมายตราสามดวง

2. รวมถงึ การชำระพระพทุ ธศาสนาใหบ้ รสิ ทุ ธิ์อันเปน็ เครอื่ ง
สง่ เสรมิ ความมั่นคงของกรงุ รตั นโกสนิ ทร์

3. นอกจากน้ีพระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ
ทั้งด้านวรรณกรรมท่ีทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์ โดยพระราชนิพนธ์ บทละคร
เรื่องรามเกียรต์ิ บทละครเรื่องอุณรุท บทละเครื่องอิเหนา บทละครเร่ืองดาหลัง เพลงยาวรบ
พม่าที่ท่าดินแดง นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว พระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราชยังทรงสง่ เสริมศลิ ปะดา้ นสถาปัตยกรรม ประตมิ ากรรม และนาฏกรรม

4. ภายหลังท่ีครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง 3 ปี ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย
พระองคท์ รงจดั กองทัพตอ่ สู้จนทัพพม่าแตกพา่ ย ยังความเปน็ เอกราชใหก้ บั แผ่นดินไทยมาจนทุก
วันน้ี พระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระ
มหากรณุ าธิคณุ อยา่ งลน้ พ้นต่อพสกนกิ รชาวไทย เปน็ มหาราชอีกพระองคห์ นึ่งในประวตั ศิ าสตร์
ไทย และทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ท่ีปกครองบ้านเมืองให้เกดิ ความสงบสุขจวบ
จนปัจจบุ นั

4.2 พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว
พระราชภารกิจท่สี ำคัญ

1. การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ เพ่ือแลกกับเอกราชของ
ประเทศ ยอมให้ต้ังสถานกงสุลมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต
ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี เก็บภาษีขาเข้าใน
อัตราร้อยชักสาม

2. ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ มีการต้ัง
ข้าหลวงปักปันพระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันตกร่วมกับ
อังกฤษ ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาสำรวจทำแผนที่พระราช
อาณาเขตชายแดนด้านตะวนั ออก จ้างนายทหารยโุ รปมาฝึกสอน
วิชาทหารแบบใหม่ ทรงให้ต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำและผล
จากการทำสญั ญากบั องั กฤษทำใหเ้ ศรษฐกจิ เจริญรุ่งเรอื งมาก
3. พระองค์จึงขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนข้ึน
มากมายเช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนน
บำรุงเมอื ง ถนนเฟ่ืองนคร
4. ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง เช่น ใช้รถม้าเดินทาง มีตึกแบบฝรั่ง มี
โรงสีไฟ โรงเล่ือยจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ ออก
หนงั สือราชกจิ จานุเบกษา ตั้งโรงกษาปณ์ ฯลฯ
5. พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงยอมรับวิชาการทางตะวันตกมาใช้ เช่น การ
ถ่ายรูปการก่อสร้าง และงานเครื่องจักร เป็นต้น ท้ังยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านดารา
ศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ที่ตำบลหว้ากอ แขวง
เมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้ว่าจะเกิดข้ึนวนั ที่18 สงิ หาคม พ.ศ. 2411 เวลา 10.32 นาฬิกา เวลาดวง
อาทิตย์มืดเต็มดวง คือ 6 นาที 46 วนิ าที และเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงตามท่ีทรงคำนวณไวท้ กุ
ประการ

4.3 พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว
พระราชกรณยี กจิ ทสี่ ำคญั

การปกครอง ทรงปฎิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก
แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง
แบ่งเป็นกระทรวงต่าง ๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบ
เทศาภบิ าลและการปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นในรูปสุขาภบิ าล

กฎหมายและการศาล ให้ต้ังกระทรวงยุติธรรม
รับผิดชอบศาลยุติธรรม เป็นการแยกอำนาจตุลาการ ออกจาก
ฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก ยกเลิกจารีตนครบาลที่ใช้วิธีโหดร้าย
ทารุณในการไต่สวนคดีความ ต้ังโรงเรียนกฎหมายข้ึนและ
ประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย การ
ปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางท่ีทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพ
นอกอาณาเขตได้ในภายหลัง
สังคมและวัฒนธรรม ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการ
ดำรงชีวติ ยกเลิกประเพณที ีล่ ้าสมัยและรบั เอาวัฒนธรรมตะวนั ตกเขา้ มา

4.4 สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพ
กรณียกิจทส่ี ำคัญ การศึกษา ใน พ.ศ. 2423 ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับ
การกรมทหารมหาดเล็ก จงึ เกีย่ วข้องกับการศกึ ษามาต้ังแต่นั้น เน่ืองจากมีการตั้งโรงเรียนทหาร
มหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเรียนพลเรือน จนถึง พ.ศ.
2433 ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึงปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้
ทันสมัย

4.5 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช (รัชกาลท่ี 9)
พระราชกรณียกจิ พระราชนพิ นธ์ และผลงานอนื่ โดยสงั เขป
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธ์ิบริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา 60 ปี
ท่ีพสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจท้ังหลายท่ี
พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ท่ีพระองค์ทรงมีต่อ
ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ดงั พระราชกรณยี กจิ และพระราชนิพนธ์ ดังนี้
- มลู นธิ ชิ ัยพฒั นา
- มลู นธิ ิโครงการหลวง
- โครงการสว่ นพระองคส์ วนจิตรลดา
- โครงการหลวงอา่ งขาง
- โครงการปลูกป่าถาวร
- โครงการแก้มลงิ
- โครงการฝนหลวง
- โครงการสารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน
- โครงการแกล้งดิน
- กังหนั ชัยพัฒนา
- แนวพระราชดำริ ผลติ แกส๊ โซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. 2528)
- แนวพระราชดำริ เศรษฐกจิ พอเพยี ง
- เพลงพระราชนิพนธ์

เรือ่ งที่ 5 เหตุการณส์ ำคัญของโลกที่มีผลตอ่ ปัจจบุ นั

1. สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
สงครามโลกครั้งท่ีหน่ึง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่าง
มหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพนั ธมิตร (Triple Alliance) ซงึ่ ประกอบไปด้วยเยอรมนี
และอิตาลี กับฝ่ายมหาอำนาจ(Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและ
รสั เซยี เกิดข้ึนในช่วง ค.ศ.1914-1918(พ.ศ.2547-2461)
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดย
เปน็ จดุ เร่ิมต้นของการสนิ้ สดุ ของระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธิราชย์ของยโุ รป การสนิ้ สดุ ของจักรวรรดิ
ออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีใน
สงครามครั้งน้ี ส่งผลใหเ้ กิดลัทธชิ าตนิ ยิ มขึ้นในประเทศ และเปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของสงครามโลกครง้ั
ท่สี อง เมอ่ื พ.ศ.2482 (ค.ศ.1939)

2. สงครามเยน็
สงครามเย็น (อังกฤษ : Cold War) (พ.ศ.2490-2534 หรือ ค.ศ.1947-1991) เป็นการ
ต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบการเมืองต่างกัน
เกิดข้ึนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพโซเวียต เรียกว่า ค่ายตะวันออก
ซึง่ ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนสิ ต์อีกฝ่ายหนึง่ คอื สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพนั ธมิตร เรียกว่า ค่าย
ตะวันตก ซ่งึ ปกครองดว้ ยระบอบเสรีประชาธิปไตย

3. สงครามเศรษฐกจิ
หากย้อนไปเมื่ออดีตการเกิดข้ึนของสงครามจะเป็นการแก่งแย่งชิงดินแดนและทรัพยากร
เพราะสงครามในขณะน้ันจะเป็นการขยายอาณาเขตออกไป โดยมิได้มุ่งหวังเพียงดินแดน
เท่าน้ัน แต่ยังมุ่งหวังทรัพยากรในดินแดนอีกด้วย ภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง การแข่งขัน
ด้านการค้า ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปกลางเป็นสงครามเศรษฐกิจ การทำสงคราม
เศรษฐกิจจะมีการใช้วัฒนธรรมเข้าไปแทรกแซงเป็นการกลืนชาติด้วย ที่เรียกว่า
“Crelization” หมายความว่า เป็นความพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่ง
ของวฒั นธรรมในชาติน้นั ๆ โดยครอบงำทำให้คนมีวถิ ชี วี ติ ตามแบบฉบับวัฒนธรรมของตนหรอื
ร้สู กึ วา่ เหมือนเป็นวฒั นธรรมของตน เพราะว่าวิถีชวี ิตจะมตี ัวสนิ คา้ เป็นองคป์ ระกอบ

บทท่ี 3

เศรษฐศาสตร์

เรอื่ งท่ี 1 ความรู้เบอ้ื งต้นเกี่ยวกบั เศรษฐศาสตร์
เรอ่ื งที่ 2 ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
เรื่องที่ 3 กระบวนการทางเศรษฐกิจ
เร่ืองท่ี 4 แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ
เรอ่ื งที่ 5 สถาบนั การเงินและการเงิน การคลัง
เรื่องที่ 6 ความสมั พนั ธ์และผลกระทบเศรษฐกิจระหว่างประเทศกบั
ภมู ภิ าคต่าง ๆ ของโลก
เรื่องท่ี 7 การรวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ

เรือ่ งท่ี 1 ความรู้เบือ้ งต้นเก่ียวกับเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ หมายถึง สาขาวิชาหน่ึงในสังคมศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ใน
การใช้ทรัพยากรท่มี ีอย่อู ยา่ งจำกัด โดยการจดั สรรทรัพยากรไดอ้ ยา่ งเสมอภาคและเป็นธรรมและ
เป็นทีพ่ ึงพอใจ

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องเก่ียวเน่ืองสัมพันธ์กับพฤติกรรมของคนในสังคม
กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจซงึ่ ประกอบดว้ ยการผลติ การกระจายผลติ และผ้บู ริโภค เศรษฐศาสตร์
จึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกชนิด โดยเฉพาะเร่ืองการตัดสินใจ
เก่ียวกบั การผลิต การบรโิ ภค และการซอ้ื ขายการแลกเปลีย่ นสนิ ค้าและบริการ

เศรษฐศาสตร์จึงเก่ียวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทุกระดับ ต้ังแต่ประชาชนท่ัวไป
ถึงระดับประเทศ เศรษฐศาสตร์เข้าไปมีบทบาทในด้านการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิด
ประโยชน์สงู สุดให้ประชาชนกนิ ดอี ยดู่ ี ไม่ถกู เอารัดเอาเปรยี บ

เรอ่ื งท่ี 2 ระบบเศรษฐกจิ

ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง กลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็น กลุ่มของสถาบันทาง
เศรษฐกิจซ่ึงยืดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้
สามารถบำบัดความต้องการแก่บุคคลต่าง ๆ ท่ีอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มาก
ทส่ี ดุ เกดิ ประสทิ ธิภาพสงู สุด

ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน การแบ่งระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากสภาพ
ความเป็นจริงและสถาบันทางเศรษฐกิจประกอบกัน เราอาจแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็นระบบ
ใหญ่ ๆ ได้ 3 ระบบ คือ

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลท่ัวไปเลือก
ตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและ
ราคาในการเลอื ก โดยรัฐหรอื เจา้ หนา้ ท่จี ากส่วนกลางมีบทบาทเกย่ี วข้องน้อยมาก ลกั ษณะสำคัญ
ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่ – ทรัพยส์ นิ และปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน

2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพเอกชนในการ
ดำเนนิ ธรุ กิจขนาดเล็กและขนาดกลาง รัฐเขา้ ควบคุมการผลติ และเป็นเจ้าของปัจจยั การผลิตที่เป็น
ทรพั ยากรธรรมชาติ เพือ่ ลดชอ่ งว่างทางเศรษฐกิจและจัดสวัสดิการให้สังคม

3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพเอกชนในการดำเนิน
ธุรกิจเป็นส่วนใหญ่รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมบางอย่าง เช่น เข้าแทรกแซงการผลิตและ
การตลาดเฉพาะทีจ่ ำเปน็ เพ่ือการกระจายรายไดท้ เี่ ป็นธรรม เป็นต้น

เรอื่ งท่ี 3 กระบวนการทางเศรษฐกจิ

การผลิต หมายถึง การสร้างเศรษฐทรัพย์เพื่อ
บ ำ บั ด ค ว า ม ต ้ อ ง ก า ร ข อ ง ม นุ ษ ย ์ ห รื อ ก า ร ส ร ้ า ง
อรรถประโยชน์ด้วยการเปล่ียนรูป เปล่ียนสถานที่
เลื่อนเวลาใช้สอย เปล่ียนโอนกรรมสิทธิ์ และการ
ให้บริการต่าง ๆ ส่ิงผลิตของมนุษย์เรียกว่าสินค้า
แบ่งออกเป็นสินค้าเศรษฐทรัพย์และสินค้าไร้ราคา
ในการผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยการผลิต 4 อย่าง ได้แก่ ท่ีดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ
มลี ำดับขั้นการผลิต 3 ขน้ั คือการผลิตขั้นปฐมภมู ิ ทตุ ยิ ภมู ิ และตตยิ ภูมิ การจะผลิตอะไรมากนอ้ ย
เท่าใดเป็นไปตามหลกั ของอปุ สงคแ์ ละอปุ ทานของตลาด และสำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาการ
เศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ไดแ้ บ่งประเภทของการผลิตในประเทศไทยออกเปน็ 11 ประเภท

การบริโภค หมายถึง การใช้จ่ายเพอ่ื การบริโภคสนิ คา้ และบริการต่าง ๆ ในระบบ
เศรษฐกิจการบรโิ ภคจะมากหรอื นอ้ ยขน้ึ อยกู่ บั ปจั จัยหลาย ๆ อย่าง และสว่ นหน่ึงที่เหลือจากการ
บริโภคกค็ อื เงนิ ออม

การแบ่งสรรหรือการกระจาย หมายถงึ การแบง่ สรรผลผลิตจากผูผ้ ลติ ไปยังผู้บริโภคและ
การแบ่งปนั รายได้ไปยงั เจ้าของปัจจยั การผลิตในรปู ของ ค่าเชา่ ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร ในการ

แบ่งสรรอาจจะเกดิ ความไม่เท่าเทียมกนั ของรายได้ ซึ่งเปน็ หนา้ ท่ขี องรฐั ที่จะตอ้ งดูแลการกระจาย
รายไดไ้ ปสกู่ ลมุ่ คนตา่ ง ๆ อยา่ งทวั่ ถงึ และเปน็ ธรรม

การแลกเปลยี่ น หมายถงึ การเปลยี่ นความเปน็ เจา้ ของในสนิ คา้ และบรกิ าร โดยการโอน
หรอื ย้ายกรรมสทิ ธ์ิหรือความเป็นเจ้าของระหวา่ งบุคคลหรอื ธรุ กจิ การแลกเปล่ยี นมีววิ ฒั นาการมา
ยาวนานตัง้ แตก่ ารแลกสงิ่ ของกับสงิ่ ของจนถึงปจั จุบันทีใ่ ช้ระบบเงินและเครดติ และอาศยั สถาบนั
ต่าง ๆ เปน็ ตัวกลางในการแลกเปลยี่ น

เรอ่ื งที่ 4 แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ

การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเมือง และ
เศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะท่ีเหมาะสม เพื่อทำให้รายได้ท่ีแท้จริงเฉล่ียต่อบุคคลเพิ่มขึ้นอย่าง
ตอ่ เนื่อง อนั เป็นผลทำให้ประชากรของประเทศมีมาตรฐานการครองชพี สูงขนึ้

ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจมี 4 ประการ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทาง
การเมืองปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางเทคโนโลยีประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่มี พ.ศ. 2504 โดยเร่ิมตั้งแต่ฉบับท่ี 1 จนถึงปัจจุบัน คือ
ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)

เรอื่ งที่ 5 สถาบนั การเงนิ และการธนาคาร การคลงั

เงิน หมายถึง อะไรก็ได้ท่ีมนุษย์นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปล่ียนและเป็นสิ่งท่ี
สังคมน้ันยอมรับเงินนอกจะมีความสำคัญในแง่ของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว ยังช่วย
อำนวยความสะดวกในการซือ้ ขายการวัดมูลค่าและการสะสมทรัพยส์ นิ

เงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินเครดิต เงินมี
หน้าท่ีสำคัญในด้านเป็นมาตรฐานในการเทียบค่าเป็นส่ือกลางในการแลกเปล่ียนเป็น
มาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า และเปน็ เครื่องรกั ษามลู คา่

การแลกเปลี่ยนของมนุษย์มีวิวัฒนาการจากระบบเศรษฐกิจที่ไม่ใช้เงินตรามาเป็นระบบ
เศรษฐกิจที่ใช้เงินตรา สำหรับประเทศไทยใช้เงินเบี้ยเป็นสื่อกลางในการแลกเปล่ียนมา
ตั้งแต่สมัยสุโขทยั มาจนถึงการใช้เหรียญสตางคใ์ นสมัยรัชกาลท่ี 5 ส่วนธนบัตรมีการผลิตและ
ประกาศใชพ้ ระราชบญั ญตั ิธนบตั รเปน็ ครง้ั แรกในสมยั รชั กาลท่ี 5

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีท้ังปริมาณเงินในความหมายอย่างแคบและปริมาณเงิน
ในความหมายอย่างกว้าง ปริมาณเงินจะเป็นเครื่องชี้บอกภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การวัดว่า
เงินจะมคี า่ หรอื ไม่วดั ด้วยระดับราคาทวั่ ไปหรอื ดชั นรี าคา

เศรษฐกิจภาครัฐบาล หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลในด้านรายได้
รายจ่ายนโยบายท่ีรัฐกำหนดโครงสร้างของรายได้ รายจ่าย และการก่อหนี้สาธารณะ ตลอดจน
ผลกระทบจากการจดั เก็บรายได้และการใช้จ่ายเงินของรัฐ เศรษฐกจิ ภาครัฐบาลมีความสำคัญใน
การดำเนินงานของรัฐบาล เพราะการคลงั ช่วยควบคุมภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลตาม
โครงการต่าง ๆ ในระยะเวลา 1 ปี งบประมาณแผ่นดินมี ลักษณะ คือ งบประมาณสมดุล
งบประมาณขาดดลุ งบประมาณเกินดลุ

รายไดข้ องรฐั บาลประกอบด้วยรายไดท้ เ่ี ป็นภาษีอากรและรายได้ทไี่ มใ่ ช่ภาษอี ากร เพอ่ื
นำมาใช้จ่ายในกิจการของรฐั บาลโดยไมต่ ้องให้การตอบแทนแกผ่ หู้ นง่ึ ผใู้ ดโดยเฉพาะ

ตลาดเงิน คือ ตลาดที่ระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อในระยะส้ันไม่เกิน 1 ปี ส่วนการ
ระดมเงินออมมากกว่า 1 ปีขึ้นไป เรียกว่าตลาดทุน ตลาดเงินและตลาดทุนมีท้ังในระบบและ
นอกระบบ และมีสว่ นสำคญั ในการพฒั นาเศรษฐกิจของประเทศ

ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินท่ีส่วนใหญ่เป็นของรัฐทำหน้าท่ีเป็นศูนย์กลางควบคุม
การเครดติ และระบบการเงนิ ประเทศไทยคือ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย

ธนาคารพาณิชย์ คือ สถาบันการเงินท่ีได้รับอนุญาตให้รับฝากเงิน ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือ
เรียกเกบ็ เงิน

ตามตั๋วแลกเงิน ซือ้ หรือขายเงินปริวรรตต่างประเทศ เป็นสถาบันการเงินท่ใี หญ่ที่สุดใน
ประเทศไทย

เรอื่ งที่ 6 ความสมั พนั ธแ์ ละผลกระทบทางเศรษฐกจิ ระหวา่ งประเทศกบั ภมู ภิ าคตา่ ง ๆ
ทว่ั โลก

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ การซอ้ื ขายแลกเปลยี่ นสนิ คา้ และบริการระหวา่ งประเทศซงึ่
ประกอบด้วย การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ

การคา้ ระหวา่ งประเทศ (International Trade)
การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) หมายถึง การนำสินค้าและบริการจาก

ประเทศหน่ึงแลกเปล่ยี นกับอกี ประเทศหนง่ึ

ดุลการค้าระหวา่ งประเทศ
ดุลการค้า (Balance of Trade) คือ การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าใน

เวลา 1 ปี ดลุ การคา้ มี 3 ลกั ษณะ คอื
ดุลการค้าเกนิ ดุล = มูลค่าสนิ คา้ ออก มากกวา่ มูลค่าสนิ คา้ เขา้
ดลุ การคา้ สมดุล = มลู คา่ สินคา้ ออก เท่ากบั มลู ค่าสนิ ค้าเขา้
ดลุ การค้าขาดดลุ = มูลคา่ สินคา้ ออก น้อยกวา่ มลู ค่าสนิ คา้ เขา้

การเงินระหวา่ งประเทศ (International Finance)
การเงนิ ระหวา่ งประเทศเป็นการแสดงความสัมพันธด์ ้านการเงนิ ระหวา่ งประเทศหนึ่งกับอีก

ประเทศหนึ่งอันสืบเนื่องมาจากการค้าขายระหว่างประเทศ การกู้ยืมเงินและการชำระหน้ี การ
ลงทุนระหวา่ งประเทศและการชว่ ยเหลอื กนั ระหวา่ งประเทศ

การลงทนุ ระหวา่ งประเทศ (International Investment)
การลงทนุ ระหวา่ งประเทศ หมายถงึ การที่รัฐบาลหรอื เอกชนของประเทศหนง่ึ นำเงินไป

ลงทุนดำเนนิ ธรุ กิจเพอ่ื แสวงหากำไรในอีกประเทศหนึ่ง ปจั จุบันการลงทุนระหวา่ งประเทศสว่ น
ใหญ่อยใู่ นรูปการดำเนนิ งานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงนิ เอกชนเป็นผจู้ ดั หาเงนิ ทุน
สำหรับโครงการต่าง ๆ

เรอื่ งที่ 7 การรวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ

การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ (Regional Economic integration) หมายถึง การที่ประเทศ
มากกว่า 1ประเทศขึ้นไปมารวมกันอย่างเป็นทางการ (Official integration) เพื่อเชื่อม
เศรษฐกิจของภูมิภาคเดียวกัน การรวมกลุ่มเศรษฐกิจมีหลายประเภท แต่มีลักษณะเหมือนกัน
อยูป่ ระการหน่งึ คือ “การใชก้ ำแพงภาษกี ีดกันสนิ ค้าจากประเทศนอกกล่มุ สมาชกิ และให้มีสทิ ธิ
พิเศษในการนำเข้าสินคา้ จากประเทศสมาชกิ ในกลุ่ม” การรวมกลุ่มจงึ มีลักษณะของการค้าแบบ
เสรี และการค้าคุ้มกนั อยใู่ นตวั ซ่ึงสามารถแบง่ ออกเป็นประเภทได้ ดงั นี้

1. เขตปลอดภาษี (Free Trade)
2. สหภาพศลุ กากร (Custom Union)
3. ตลาดรว่ ม (Common Market)
4. สหภาพเศรษฐกจิ (Economic Union)

ประเทศไทยได้รว่ มมือทางเศรษฐกจิ กบั ประเทศอนื่ ๆ อย่างกวา้ งขวาง และไดเ้ ขา้ ร่วมเปน็
สมาชกิ ขององคก์ รระหว่างประเทศ หลายองคก์ รดงั นี้

กลุ่มอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of
Southeast Asian Nations : ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สงิ คโปร์ บรูไน ไทย เวียดนาม ลาว กมั พูชา และเมียนมาร์ สำนักงาน
ใหญ่ตั้งอยู่ท่ีเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย องค์กรน้ีมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการเมือง
ระหวา่ งประเทศสมาชกิ

กลุ่มเอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC) ก่อต้ังขึ้นเม่ือ พ.ศ.
2532 มี สมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ญ่ีปุ่น อินโดนีเซีย แคนาดา บรูไน ออสเตรเลีย และไทย องค์กรนี้
วัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกันส่งเสริมการค้าเสรีตลอดจนการ
ปรับปรุงแบบแผนการติดต่อการค้าระหว่างกัน และเพื่อต้ังรับการรวมตัวเป็นตลาดเดียวกัน
ระหว่างประเทศ

กลุ่มเอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.
2532 มี สมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แคนาดา บรูไน ออสเตรเลีย และไทย องค์กรน้ี
วัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกันส่งเสริมการค้าเสรีตลอดจนการ
ปรับปรุงแบบแผนการติดต่อการค้าระหว่างกัน และเพื่อตั้งรับการรวมตัวเป็นตลาดเดียวกัน
ระหวา่ งประเทศ

บทท่ี 4

การเมืองการปกครอง

เรื่องที่ 1 การปกครองระบอบประชาธิปไตย
เร่ืองท่ี 2 การปกครองระบอบเผด็จการ
เรื่องท่ี 3 พฒั นาการของระบบประชาธิปไตยของประเทศตา่ ง ๆ ในโลก
เรื่องท่ี 4 เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง การปกครองของประเทศไทย
เรอ่ื งท่ี 5 เหตกุ ารณ์สำคัญทางการเมือง การปกครองของโลกท่สี ง่ ผล
กระทบตอ่ ประเทศไทย
เรื่องท่ี 6 หลักธรรมาภิบาล

เรอื่ งที่ 1 การปกครองระบอบประชาธิปไตย

1. ระบอบประชาธปิ ไตย
คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นคำไทยท่ีบัญญัติข้ึน ให้

มคี วามหมายตรงกับคำภาษาองั กฤษวา่ Democracy หมายถงึ
อำนาจของประชาชน

คำว่า “ประชา” แปลว่า ประชาชน
คำว่า “อธปิ ไตย” แปลวา่ ความเปน็ ใหญ่
สรุปว่า คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการ
ปกครองประเทศ
ดังน้ัน “การปกครองระบอบประชาธิปไตย” จึงหมายถึง ระบอบการปกครองซง่ึ ประชาชน
มีอำนาจสูงสุด โดยจะเห็นว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบนั นั้นจะแยกออกเป็น 2
แบบ คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับระบอบประชาธิปไตย
แบบมปี ระธานาธบิ ดีเป็นประมุข

2. หลกั การของระบอบประชาธปิ ไตย
ระบอบประชาธิปไตยจะมั่นคงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลและประชาชนว่าจะยึ ดม่ันใน

หลกั การของระบอบประชาธปิ ไตยมากน้อยเพียงใด ซึง่ หลักการของระบอบประชาธปิ ไตยมีดงั น้ี
2.1 หลักความเสมอภาค หมายถึง ทุกคนไม่ว่าฐานะจะเป็นอย่างไร มีสติปัญญาหรือ

ความสามารถมากน้อยแตกต่างกัน หรือแม้มีผิวพรรณแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีความเป็นมนุษย์
อยา่ งเท่าเทยี มกัน

2.2 หลกั สทิ ธเิ สรภี าพและหนา้ ท่ี
สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง บุคคลที่
ละเมิดลว่ งเกินหรือกระทำการใด ๆ ทก่ี ระทบกระเทอื นตอ่ สทิ ธิของบุคคลอืน่ ไม่ได้

เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคล การกระทำน้ันต้องไม่ขัดต่อ
กฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของผู้อ่ืน เช่น มีเสรีภาพในการเขียนแสดงความคิดเห็น แต่ถ้าไป
ละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการเขียนโจมตีซ่ึงขาดพยานหลักฐาน เช่นนี้ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็มี
สิทธิท่ีจะปกป้องชื่อเสียงของตนเอง ด้วยการฟ้องร้องได้หรือเรามีเสรีภาพที่จะเปิดวิทยุภายใน
บ้านเรือน แต่ถ้าเปิดเสียงดังเกินไปจนรบกวนผู้อ่ืน เช่นนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ปน็ ต้น

หนา้ ท่ี หมายถึง ภาระหรือความรับผดิ ชอบท่บี คุ คลจะต้องปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย

สทิ ธแิ ละเสรภี าพขน้ั พน้ื ฐานของประชาชนทร่ี ฐั บาลจะตอ้ งใหก้ ารรบั รอง ไดแ้ ก่
1) สทิ ธแิ ละเสรภี าพสว่ นบคุ คล
2) สทิ ธแิ ละเสรภี าพทางการเมอื ง
3) สทิ ธแิ ละเสรภี าพทางเศรษฐกจิ

เรอ่ื งที่ 2 การปกครองระบอบเผดจ็ การ

การปกครองระบอบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่ให้ความสำคัญแก่อำนาจรัฐและ
ผู้ปกครองอำนาจรัฐจะอยู่เหนือเสรีภาพของบุคคล คณะบุคคลเดี่ยว หรือพรรคการเมืองเด่ียว
โดยจะถอื ประโยชน์ของรัฐมากกวา่ ของประชาชน
ประเภทของการปกครองระบอบเผดจ็ การ การปกครองระบอบเผด็จการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ไดแ้ ก่

1. ระบอบเผดจ็ การอำนาจนยิ ม (Authoritarianism)
ลกั ษณะสำคญั ของระบอบเผดจ็ การอำนาจนยิ มคือ อำนาจการปกครองจะผกู ขาดอยู่ในมอื ของ
คนกลุ่มเดียว คือ รัฐบาลและจะจำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน เช่น ห้าม
ประชาชนวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ห้ามแสดงความคิดเห็นท่ีเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล ห้าม
เผยแพร่บทความด้านประชาธปิ ไตยหา้ มชมุ ชนประทว้ งรัฐบาล

2. ระบอบเผด็จการเบด็ เสร็จนิยม (Totalitarianism)
ประชาชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทุกด้าน คือ ทั้งด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ และ
สังคมรวมทั้งถูกควบคุมในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา มีการลงโทษผู้แสดงตัวเป็น
ปฏปิ กั ษต์ ่อรฐั บาลอย่างรนุ แรง

เรอ่ื งท่ี 3 พฒั นาการของระบอบประชาธปิ ไตยของประเทศตา่ ง ๆ ในโลก

1. จดุ เรมิ่ ตน้ ของระบอบประชาธปิ ไตย “ยคุ โบราณ” มหี ลายประเทศ เชน่
1.1 ประเทศกรกี
ระบอบประชาธิปไตย มจี ดุ เรมิ่ ตน้ เกดิ ข้ึน ณ นครรฐั กรกี โบราณ ในช่วงครสิ ตศ์ ตวรรษที่

5 ซึ่งเป็น“ยุคโบราณ” หรือบางที่ เรียกว่า “ยุคกรีซโบราณ” โดยในยุคน้ี ถือว่าเป็นการ
ปกครองระบอบประชาธปิ ไตย“โดยทางตรง”

1.2 ประเทศซเี รีย
ประเทศซีเรียในยุคโบราณเป็นเพียงเกาะช่ือ “เกาะอาร์วัด” ได้ถูกก่อตั้งข้ึนเม่ือคริสต์
สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลโดยชาว “ฟินิเซียน” ซึ่งถูกนับว่า เป็นตัวอย่างของประชาชาธิป
ไตยทพ่ี บในโลก เนอื่ งจากประชาชนจะถืออำนาจ “อธิปไตย” ของตนเอง
1.3 ประเทศอนิ เดยี
ประเทศอินเดีย เป็นอีกประเทศหน่ึงซ่ึงมีการพิจารณาได้ว่ามีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยโดยการปกครองของ “เวสาลี” (ปัจจุบนั คือ รัฐพิหาร” นับเป็นรัฐบาลแรกของ
โลก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีเสียงคัดค้านว่า “เวสาลี” น่าจะเป็นการปกครอง แบบ
“คณาธปิ ไตย” มากกวา่
1.4 สาธารณรฐั โรมนั
ส่วนสาธารณรัฐโรมนั นนั้ กม็ กี ารสนบั สนนุ การปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น มกี าร
ออกกฎหมาย แตก่ ็ไมเ่ ปน็ ประชาธปิ ไตยอย่างสมบรู ณ์ เนอ่ื งจากชาวโรมนั มกี ารเลือกผู้แทน
เข้าสู่สภาก็จริงแต่ไม่รวมถึงสตรี ทาสและคนตา่ งด้าวท่ีมีมากจำนวนมหาศาล

2. ยคุ กลาง
ในช่วงยุคกลาง ได้มีรูปแบบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือสมัชชา ถึงแม้ว่า

บ่อยครั้งจะเปิดโอกาสให้กับประชาชนเพียงส่วนน้อยเท่านั้น อย่างเช่น เครือจักรภพโปแลนด์
– ลิทัวเนีย ในนครรัฐเวนิช ช่วงอิตาลียุคกลาง รัฐในไทรอลเยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์
รวมไปถึงนครพ่อค้าอิสระซะไก ในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี 16 ในญ่ีปุ่น เน่ืองจากการปกครอง
รูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาน้ันประชาชนมีส่วนร่วมเพียงส่วนน้อยเท่าน้ัน จึงมักจะถูกจัดว่าเป็น
คณาธิปไตยมากกวา่ และดินแดนยโุ รปในสมยั น้ันยังคงปกครองภายใต้นักบวชและขนุ นางในยุค
ศักดนิ าเปน็ สว่ นมาก

3.ชว่ งครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 20
ในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี 20 ได้มีการเปล่ียนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นระบอบ

ประชาธิปไตยทีเ่ คารพสิทธขิ องเสียงข้างน้อยจำนวนมาก จนทำให้เกิด “กระแสประชาธปิ ไตย”
ซึ่งประสบความสำเร็จในหลายพื้นที่ของโลก ซ่ีงมักเป็นผลมาจากสงคราม การปฏิวัติ การ
ปลดปล่อยอาณานคิ มและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกจิ และศาสนา

เรอื่ งที่ 4 เหตกุ ารณส์ ำคญั ทางการเมอื งการปกครองของประเทศไทย

“ปฏิวัติ” หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิก
รัฐธรรมนูญท่ีใช้อยู่อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำ
การเปลี่ยนแปลงฐานะระบอบการปกครอง เช่น เปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสทิ ธิราชย์ เปน็ ระบอบประชาธิปไตยหรอื คอมมิวนิสต์ ฯลฯ

รัฐประหาร” หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้
รัฐธรรมนูญฉบบั เก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพ่ือให้มีการเลือกตั้งเกิดข้นึ
ในระยะเวลาไมน่ านนกั

เหตุการณ์สำคัญทางการเมอื งการปกครอง ของประเทศไทยภายหลงั ปพี ทุ ธศกั ราช 2475 มดี งั น้ี
1. กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476
2. การรฐั ประหาร พ.ศ. 2490
3. การรฐั ประหาร พ.ศ. 2501
4. วนั มหาวปิ โยค 14 ตลุ าคม พ.ศ. 2516
5. เหตกุ ารณ์ 6 ตลุ าคม พ.ศ. 2519
6. การรัฐประหาร พ.ศ. 2520
7. การรฐั ประหาร พ.ศ. 2534 (รสช.)
8. เหตกุ ารณพ์ ฤษภาทมฬิ (17 – 19 พ.ค. 2535)

กบฏ 12 ครง้ั – ปฏวิ ตั ิ 1 ครงั้ – รฐั ประหาร 8 ครงั้

เรอ่ื งที่ 5 เหตกุ ารณส์ ำคญั ทางการเมอื งการปกครองของโลก

1. สงครามโลกครง้ั ที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918)
สงครามโลกครงั้ ท่ี 1 เพมิ่ ความขัดแยง้ ระดับโลกท่ีเกิดข้ึน ตั้งแตค่ .ศ. 1914 ระหวา่ งฝา่ ย

พนั ธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซงึ่ ไมเ่ คยปรากฏสงครามขนาดใหญท่ ี่มที หารหรือสมรภูมทิ ่ี
เกี่ยวข้องมากขนาดนม้ี ากอ่ นนบั ยคุ สมัยแหง่ ความหายนะ โดยสาเหตขุ องการเกิดสงครามคร้งั นี้
เกิดจากความขดั แย้งทางการเมอื งของทวปี ยโุ รป ซง่ึ เปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ ของการสิน้ สดุ ของระบอบ
สมบรู ณาญาสทิ ธริ าชยข์ องยุโรปและการสิ้นสดุ ของ“จกั รวรรดอิ อตโตมนั ” อนั เปน็ ตน้ เหตขุ อง
การปฏิวัติรัสเซยี จุดเร่มิ ตน้ ของสงครามโลกครง้ั ท่ี 2 (ค.ศ. 1939)

2. สงครามโลกครั้งท่ี 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
สงครามโลกครั้งท่ี 2 อุบัติขึ้นอีกคร้ังในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 นับเป็นการประลอง

ความย่ิงใหญ่อีกคร้ังระหว่างเยอรมันและอังกฤษเพียง 1 ปี เยอรมันก็สามารถยึดครองยุโรปไว้
เกือบทั้งทวีป อังกฤษต้องสูญเสียอำนาจโดยส้ินเชิง สงครามคร้ังน้ีไม่เพียงแต่เกิดข้ึนในยุโรป
เท่าน้ัน ทางด้านเอเชียญ่ีปุ่นได้เข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ โดยได้บุกยึดจีนแผ่นดินใหญ่และ
ดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลให้สหรัฐฯเข้าร่วมสงครามในคร้ังน้ีอีก
สงครามเร่ิมทวีความรุนแรงข้ึนเมื่อเยอรมันได้บุก โจมตี สหภาพโซเวียตและเข้ายึดครองได้
เกือบท้ังหมด ส่วนญ่ีปุ่นเองก็โจมตีกองทัพเรือของสหรัฐฯ ที่เพริลฮาเบอร์ ทำให้สหรัฐฯ ใช้
มาตรการเด็ดขาดโจมตีญี่ปุ่นซึ่งจบลงด้วยการท้ิงระเบิดปรมาณู 2 ลูก ท่ีเมืองฮิโรชิมาและนางา
ซากิ กล่าวโดยสรปุ ไดว้ ่าการทำสงครามครงั้ นีเ้ ป็นสงครามระหวา่ ง 2 ฝา่ ย คือ สหรฐั ฯ กับญป่ี ุน่
เพื่อครอบครองเอเชียและระหว่างเยอรมันกับสหภาพโซเวียต เพ่ือแย่งชิงความเป็นใหญ่ใน
ยุโรป

3. สงครามเยน็
สงครามเย็น คือ การต่อสู้ระหว่างค่ายประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์ เป็นการทำ

สงครามกันโดยปราศจากเสียงปืนหรือการเข่นฆ่า อันเป็นผลสืบเน่ืองจากการขยายอิทธิพล
ทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของสองค่าย ต่างฝ่ายต่างก็แสวงหาพรรคร่วมอุดมการณ์ทั้ง 2
ค่ายต่างใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ท่ีจะดึงประเทศต่าง ๆ ท่ัวโลกมาเป็นฝ่ายตนให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการ

โฆษณา ประชาสมั พันธ์ การช่วยเหลอื ทางด้านเศรษฐกจิ การเมอื งหรืออาวธุ ยทุ โธปกรณต์ า่ ง ๆ
แกป่ ระเทศในโลกท่สี ามแมจ้ ะมปี ระเทศเล็ก ๆ จะรวมตวั เปน็ กล่มุ “ผ้ไู ม่ฝกั ใฝ่ฝา่ ยใด”ก็ตามก็
ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศมหาอำนาจทงั้ สองลดการแข่งขันกัน สหรัฐอเมริกาซง่ึ เป็นประเทศท่ี
มีเศรษฐกิจที่ดีมากเพราะไม่ได้รับผลจากสงครามมากนักและสามารถขายอาวุธให้กับชาติ
พันธมิตร ซ่ึงต่างจากสหภาพโซเวียตท่ีมีอำนาจมาก แต่สภาพเศรษฐกิจตกต่า เนื่องจากทำ
สงครามกับเยอรมัน อย่างไรก็ตามสหภาพโซเวียตก็ยังมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ที่จะแพร่อิทธิพล
ทางคอมมิวนิสต์ให้กว้างขวางเพื่อครองโลกโดยสหภาพโซเวียตมองว่า เม่ือยุโรปตะวันออกเป็น
บริวารของตนแลว้

เรอ่ื งท่ี 6 หลกั ธรรมาภบิ าล

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศ ท้ัง
ภาครัฐ ภาคธุรกิจภาคเอกชนและภาคประชาชนสามารถอยู่ร่วมกนั ได้อย่างสงบสุข โดยต้ังอยู่ใน
ความถกู ต้องและเป็นธรรม

หลกั ธรรมาภิบาล 6 ประการ ไดแ้ ก่
1. หลกั นิตธิ รรม (The Rule of Law)
2. หลกั คุณธรรม (Morality)
3. หลกั ความโปรง่ ใส (Accountability)
4. หลกั การมสี ว่ นรว่ ม (Participation)
5. หลกั ความรบั ผิดชอบ (Responsibility)
6. หลกั ความคมุ้ คา่ (Cost-effectiveness or Economy)


Click to View FlipBook Version