The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-18 13:49:00

Bio(final)

Bio(final)

Reproduction
in Angiosperm

นางสาวอลิศา รัตนกิตติกุล ชั้น ม.5/2 เลขที่22



CONTENTS

FLOWER STRUCTURE
ALTERNATION GENERATION

& GAMETE
POLLINATION
& DOUBLE FERTILIZATION

FRUIT

SEED



FLOWER STRUCTURE

ดอกไม้(Flower)
จัดเป็นโครงสร้างสำคัญในกระบวนการสำคัญ
ของพืชดอก ดอกมีส่วนประกอบต่างๆ 4 ชั้น
เรียงเป็นวงที่ฐานรองดอก(receptacle)
ได้แก่

1.วงกลีบเลี้ยง (calyx) - ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง(sepal)ทำหน้าในการป้องกันอันตรายกับดอกตูมและ
ช่วยลดการคายน้ำของดอก

2.วงกลีบดอก (corolla) - ปาะกอบด้วยกลีบดอก(petal)โดยทั่วไปมักมีสีสันสวยงามสำหรับใช้ล่อแมลง
มาช่วยในการถ่ายละอองเรณู

3.วงเกสรเพศผู้ (androecium) - ประกอบด้วยเกสรเพศผู้(stamen)ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
ประกอบด้วย - อับเรณู (anther) เป็นบริเวณที่มีการสร้างละอองเรณู (pollen/pollen grain)
- ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament)

4.วงเกสรเพศเมีย (gynoecium) - ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย(pistil)ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศ
เมีย

ประกอบด้วย - ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นบริเวณที่จับกับละอองเรณู มักมีการสร้างสารเหนียว
คล้ายกาวเพื่อจับละอองเรณู

- ก้านชูเกสรตัวเมีย(style)
- รังไข่(ovary) เป็นโครงสร้างเฉพาะที่ภายในจะมีก้อนกลมหรือรีขนาดเล็กที่เรียกว่า

ออวุล(ovule)

NOTE :

ดอกของพืชจะวางอยู่บน receptacle ซึ่งเป็นส่วนของก้านชูดอก (peduncle) ที่ขยายขนาดขึ้นมา
ริ่วประดับ (bract) ส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปร่างมาอยู่บริเวณฐานรองดอกช่วยในการรองรับดอก ในพืช

บางชนิดใบประดับอาจมีสีสันส่วยงาม เช่น ดอกเฟื่ องฟ้า ดอกของต้นคริสต์มาส ดอกหางนกยูงไทย



FLOWER STRUCTURE

ประเภทของดอกไม้ที่แบ่งตามเกณฑ์ต่างๆ

1.การแบ่งประเภทดอกตามองค์ประกอบของชั้นต่างๆทั้ง 4 ชั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

ดอกสมบูรณ์(coเmพิ่pมleข้tอeคflวoาwมeใr)น-สด่วอกนที่มเีนสื่้วอนปหระากเอลบ็กขอนง้ดออยกครบทั้ง 4 ชั้น

เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ ลิลลี่ พริก ต้อยติ่ง มะลิ เป็นต้น
ดอกไม่สมบูรณ์(incomplete flower) - ดอกที่มีองค์ประกอบไม่ครบทั้ง 4 ชั้น

เช่น หญ้า ตำลึง มะละกอ ฟังทอง ข้าวโพด เป็นต้น

complete flower

incomplete flower

2.การแบ่งประเภทดอกตามองค์ประกอบของชั้นที่มีการสร้างgamete แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
ดอกสมบูรณ์เพศ(perfect flower) - ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอก
เดียวกัน เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ เป็นต้น
ดอกไม่สมบูรณ์เพศ(imperfect flower) - ดอกที่มีเพียงเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศ
เมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฟักทอง แตงกวา มะเดื่อ มะยม หมาก ข้าวโพด เป็นต้น

*ดอกสมบูรณ์ทุกชนิดจะต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกไม่สมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่สมบูรณ์

imperfect flower

perfect flower



FLOWER STRUCTURE

ประเภทของดอกไม้ที่แบ่งตามเกณฑ์ต่างๆ

3.การแบ่งประเภทดอกตามตำแหน่งรังไข่เทียบกับฐานรองดอกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
ดอกที่มีรังไข่เหนือฐานรองดอก (superior ovary) - เช่น จำปี ยี่หุบ บัว บานบุรี
พริก ถั่ว มะละกอ เป็นต้น
ดอกที่มีรังไข่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary) - เช่น แตงกวา บวบ ฝรั่ง กล้วย
ทับทิม พลับพลึง

4.การแบ่งประเภทของดอกตามจำนวนของดอกบนก้านชูดอก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ดอกเดี่ยว(solitary flower) - ดอกที่มี1ดอกกบนก้านชูดอกแต่ละดอกเจริญมาจาก
ตาดอก เช่น มะเขือเปราะ จำปี บัว กุหลาบ ชบา พู่ระหง เป็นต้น
ดอกช่อ(inflorescence) - ดอกซึ่งมียอดดอกมากกว่า1ดอกบนก้านชูดอก
เช่น จามจุรี ทานตะวัน บานไม่รู้โรย กล้วยไม้ ข้าว มะลิ ผักบุ้ง กล้วย กะเพรา

*ช่อดอกบางชนิดอาจอยู่รวมกันบนฐานรองดอกเดียวกันทำให้อาจดูคล้ายกับดอกเดี่ยว
เช่น ทานตะวัน

solitary flower inflorescence



ALTERNATION GENERATION
& GAMETE

ลักษณะเด่นของวัฐจักรชีวิตของพืชคือวัฐจักกรชีวิตแบบสลับ(alternation generation)
ระหว่างระยะที่เป็นsporophyteและgametophyte ในพืชดอกที่เราพบเห็นทั่วไปมักจะอยู่
ในระยะsporophyteซึ่งจะสามารถสร้างสปอร์(spore)และผ่านกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ
meiosisจากนั้นsporeเหล่านี้จะพัฒนาต่อไปในระยะgametophyteเพื่อสร้างgamete
ผ่านกระบวนการแบ่งเซลล์แบบmitosisท้ายที่สุดgameteจะรวมกันใหม่อีกครั้งผ่านการ
ปฏิสนธิและพัฒนาเป็นต้นสปอโรไฟต์ต่อไป



ALTERNATION GENERATION
& GAMETE

Microsporogenesis

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้จะเกิดขึ้นบริเวณิับเรณู (anther) ของเกสรตัวผู้ ซึ่งภายใน
อับเรณูจะมีลักษณะเป็นโพรง ภายในเรียกว่า pollen sac หรือ microsporangium
สำหรับทำหน้าที่สร้างละอองเรณู

microsporocyte(2n)

mitosis 1 ครั้ง

microspore(n) จำนวน 4 cells

mitosis 1 ครั้ง
ที่นิวเคลียส

pollen grain ภายในมีนิวเคลียส 2 ชนิด
คือ generative nucleus และ
tube nucleus



ALTERNATION GENERATION
& GAMETE

Megasporogenesis

กระบวนการสร้างออวุลและเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกจะเกิดในรังไข่ (ovary)
megasporocyte(2n)

mitosis 1 ครั้ง
megaspore(n) จำนวน 4cells

megaspore 3 cells
สลายตัวไป

megaspore(n) จำนวน 1cell

แบ่งนิวเคลียส
แบบmitosis 3 ครั้ง

embryo sac มี 7 cells 8 nucleus

*ถุงเอมบริโอ (embryo sac) ถือว่าเป็นเเกมีโตไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)



POLLINATION

การถ่ายละอองเรณู (pollination) - การที่ละอองเรณูตกลงมาบนยอดเกสรเตัวเมีย
โดยเมื่อละอองเรณูเเก่เต็มที่แล้ว จะหลุดออกจากอับเรณูปลิวไปในที่ต่างๆแต่ถ้าตกลงบนยอด
เกสรตัวเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะพยายามจับเอาไว้โดยใช้สารที่มีลักษณะเหนียว นอกจากนี้
สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีส่วนช่วยในการถ่ายละอองเรณู เช่น แมลง สัตว์ต่างๆ เรียกสัตว์เหล่านี้
ว่า pollinator รวมไปถึงน้ำและลมที่อาจมีส่วนช่วยในการถ่ายละอองเรณูอีกด้วย
การถ่ายละอองเรณูมี 2 แบบ ได้แก่

การถ่ายละอองเรณูภายในต้นเดียวกัน(self-pollination)
การถ่ายละอองเรณูข้ามต้นกัน(cross-pollination)

self-pollination

cross-pollination



DOUBLE
FERTILIZATION

เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมียจะเกิดการสร้างหลอด (pollen tube)
ขึ้นจากส่วนของ tube nucleus จากนั้นส่วนของ generative nucleus จะเกิดการ
แบ่งเซลล์แบบ mitosis ทำให้ได้เป็นสเปิร์ม 2 ตัว ซึ่งถือเป็นส่วน male gamete ของ
พืชดอก โดยเสปิร์มเเต่ละตัวจะมีการปฏิสนธิแยกกัน 2 ครั้ง เมื่อเข้าไปในถุงเอมบริโอ คือ

ครั้งที่ 1 sperm1(n) + egg(n) —> zygote(2n) —> embryo(2n)
ครั้งที่2 sperm2(n) + polar nuclei(2n) —> endosperm(3n)

หลังจากเกิดการปฏิสนธิ ส่วนของ antipodals และ synergids จะสลายตัวไป
ส่วนของออวุล (ovule) จะพัฒนาไปเป็นเมล็ด และส่วนของรังไข่(ovary)จะพัฒนาไปเป็นผล
ต่อไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิสนธิของพืชดอกจะเกิดขึ้น 2 ครั้ง จึงเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน
(double fertilization) จัดเป็นลักษณะเฉพาะของพืชดอก



FRUIT

ผลของพืชส่วนใหญ่เจริญมาจากส่วนของผนังรังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ ยกเว้นผลบางชนิด
ที่เจริญมาจากฐานรองดอก ได้แก่ ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ ฝรั่ง เรียกผลเหล่านี้ว่า accessory fruit

ในบางครั้งผลก็อาจจะเจริญมาจากผนังรังไข่โดยไม่ได้รับการปฏิสนธิ หรืออาจจะเกิด
การปฏิสนธิแต่ออวุลไม่เจริญก็ได้ เช่น กล้วยหอม หรือ องุ่นไร้เมล็ด เป็นต้น
สำหรับผลโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามรูปแบบการเจริญจากโครงสร้างของดอก



FRUIT

ประเภทของผล

1.ผลเดี่ยว (simple fruit) - ผลที่เกิดมาจากรังไข่เพียง1รังไข่เท่านั้น แต่อาจจะมี1ออวุล
(1เมล็ด) หรือมากกว่า1ออวุล (มากกว่า1เมล็ด) โดยอาจจะเจริญมาจากดอกเดี่ยวหรือ
ดอกช่อก็ได้ เช่น มะม่วง ทุเรียน ส้ม มะเขือเทศ องุ่น ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ เป็นต้น

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) - ผลที่เกิดมาจากดอกเพียง1ดอก ที่มีรังไข่อยู่บน
ฐานรองดอกมากกว่า1อัน รังไข่แต่ละอันเจริญไปเป็นผลย่อย1ผล ผลย่อยอาจจะรวมกัน
หรือแยกกันก็ได้ เช่น จำปี จำปา กระดังงา การเวก น้อยหน่า สตรอเบอร์รี่ มณฑา เป็นต้น



FRUIT

ประเภทของผล

3. ผลรวม (multiple fruit) - ผลที่เกิดมาจากช่อดอก โดยเเต่ละดอกจะเจริญเป็นผลย่อยๆ
จากนั้นผลย่อยๆแต่ละอันจะเกิดการเชื่อมติดเป็นผลเดียวกัน
เช่น ยอ ขนุน สาเก สับปะรด หม่อน มะเดื่อ เป็นต้น



SEED

Seed Structure

1.เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
- ส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ด มี 2 ชั้น โดยเปลือกหุ้มชั้นนอกจะหนากว่าชั้นใน
- ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับต้นอ่อนภายในเมล็ดเเละป้องกันการสูญเสียน้ำ

2. เอนโดเสปิร์ม (endosperm)
- เนื้อเยื่อที่มีการสะสมอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเอมบริโอภายในเมล็ด
เจริญมาจาก polar nuclei

3. เอมบริโอ (embryo)
- ส่วนที่เจริญเป็นต้นพืช ประกอบด้วย
• ใบเลี้ยง (cotyledon)
•ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl)
•ส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl)
•รากแรกเกิด (radicle)

**เมล็ดบางชนิด เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดดอกทานตะวัน เมื่อโตเต็มที่จะไม่มีเอนโดเสปิร์มอยู่ภายในเรียกเมล็ดแบบนี้ว่า
exalbuminous seed แต่ถ้ามีเอนโดเสปิร์มสะสมอยู่จะเรียกว่า albuminous seed **



SEED

Seed Germination

1.การงอกของเมล็ดแบบ epigeal germination
- การงอกของเมล็ดแบบที่ส่วนของ hypocotyl มีการเจริญทำให้ส่วนของใบ
โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน เช่น การงอกของเมล็ดถั่วเขียว เป็นต้น

2. การงอกของเมล็ดแบบ hypogeal germination
- การงอกของเมล็ดแบบที่ส่วน hypocotyl ไม่เจริญ ทำให้ส่วนของใบเลี้ยง
อยู่ใต้ดิน เช่น การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา เป็นต้น

การงอกเมล็ดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิด เช่น ข้าวโพดจะมีเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด
(coleoptile) และ เนื้อยื่อหุ้มรากแรกเกิด (coleorhiza) ขณะงอกเพื่อป้องกันอันตราย
ให้กับต้นอ่อน นอกจากนี้ยังมีการเจริญของรากแก้ว (primary root) ในช่วงแรกก่อนจะ
สลายไป แล้วมีรากพิเศษ (adventitious root) เข้ามาแทนที่



SEED

ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

1. น้ำหรือความชื้น
- น้ำมีบทบาทสำคัญในการทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดนุ่มลง อากาศและก๊าซต่างๆจึงสามารถ
เข้าไปในเมล็ดได้ นอกจากนี้น้ำที่เข้าไปในเมล็ดยังทำหน้าที่กระตุ้นกระบวนการเมเเทบอลิซึม
ภายในเมล็ด ทำให้เมล็ดเกิดการสร้างพลังงานผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ได้

2.ก๊าซออกซิเจน
- มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการหายใจแบบใช้ออกซิเจน เมล็ดพืชบางชนิดจำเป็นต้องได้
รับก๊าซออกซิเจนที่เพียงพอต่อการงอกของเมล็ด

3.อุณหภูมิ
- พืชที่เติบโตในสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด
ที่แตกต่างกันออกไป

4.แสง
- ปัจจัยที่จำเป็นต่อการงอกของเมล็ดพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น หญ้า และ วัชพืชกลุ่มต่าง


Click to View FlipBook Version