W E S T E R N A R T H I S T O R Y ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
คำ นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E-BOOK ) นี้ จัดทำ ขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มา เเละศิลปะในเเต่ละยุคเพื่อนำ ไปใชในการเรียนรู้ คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทราอนิกส์ ( E-BOOK ) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำ หรับคนที่สนใจในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เเละได้ ประโยชน์จากหนังสือ E-BOOK เล่มนี้ไม่มากก็น้อย คณะผู้จัดทำ นางสาวดุสิตา สุพรรณ์ นางสาวเเพรไหม โคตรเสนา
สารบัญ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ 1ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ 1 1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (PRE-HISTORIC) 2 2. ยุคโบราณ (ANCIENT AGE) 3 3. ยุคกลาง (MIDDLE AGE) 7 4. ยุคใหม่ (MODERN AGE) 8อ้างอิง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์แยกได้เป็น 2 คำ คือ ประวัติศาสตร์ (HISTORY) และศิลป์ (ART)ประวัติศาสตร์ (HISTORY) หมายถึง วิชาว่าด้วยความเป็นมาของมนุษย์ที่เกิดขึ้น ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศิลป์ (ART) มีความหมายกว้างขวางตามแนว และทัศนะของนักปรัชญาของแต่ละ ยุคแต่ละสมัย แต่จะอย่างไรก็ตามเราพอจะสรุปความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ คือ ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิด และความงาม ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์บอกให้เราทราบถึงการสร้างสรรค์ และวิวัฒนาการศิลปะของ มนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน เราได้ศึกษาแบบอย่างงานศิลปะ ความเคลื่อนไหว ความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ ความเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรม ของแต่ละยุค เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา นำ ไปสู่การยกระดับคุณภาพของงานศิลปะใน ยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่า ของงานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษย์ทั้งโลก 1
ศิลปะตะวันตก ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึง สหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุค โบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะ สากลในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (PRE-HISTORIC) 2. ยุคโบราณ (ANCIENT AGE) 3. ยุคกลาง (MIDDLE AGE) 4. ยุคใหม่ (MODERN AGE) 1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (PRE-HISTORIC) ประมาณ 40,000 ปี – 4,000 ปี ก่อน ค.ศ. ศิลปะอียิปต์ (EGYPTIAN ART) เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุค ก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (PRE-DYNASTIC) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้าง ศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่า วิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำ มัมมี่ (MUMMY) หีบบรรจุศพทำ ด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (PYRAMIDS) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (KHUFU) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำ นวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำ ลังคม 1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้ง กลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุ พระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพ เขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำ ให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี 2
2. ยุคโบราณ (ANCIENT AGE) ประมาณ 1,400 ปี ก่อน ค.ศ. –ค.ศ. 100 ศิลปะตะวันออกใกล้ (ANCIENT NEAR EASTEM AFT) อียิปต์พัฒนาอารยธรรมเจริญรุ่งเรื่องสุดขีดในลุ่มแม่น้ำ ไนล์ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของ ทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนแถบแม่น้ำ ไทกรีส และยูเฟรทีส ได้แก่ดินแดนบางส่วนของ ประเทศอิหร่าน ซีเรีย จอร์แดน และซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน เรียกว่าแคว้นเมโสโปเตเมีย (MESOPOTAMIA) หมายถึงดินแดนในลุ่มแม่น้ำ สองสาย ชนชาติดังกล่าวมีอารยธรรมที่เจริญ รุ่งเรืองเช่นเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในวัฒนธรรมนี้ได้แก่ สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซิเรียน เปอร์เซีย ลักษณะศิลปกรรมของสุเมเรียนมีความแตกต่างจากศิลปกรรมอียิปต์ คือ อียิปต์ใช้หิน เป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนสุเมเรียนใช้อิฐเผาก้อนใหญ่ ๆ มาเรียงกัน ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วน ใหญ่จึงมีอิฐเป็นโครงสร้างหลัก สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่รู้จักกันมากที่สุดคือวิหารใหญ่ เรียกว่า ซิกูรัต (ZIGURAT) เป็นหอสูงแบบตึกระฟ้า มีทางเดินเป็นบันไดวน เป็นสถานที่ สำ หรับทำ พิธีทางศาสนา ศิลปะบาบิโลน อยู่ช่วง 700 ปี ก่อน ค.ศ. มีสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือสวนลอยแห่งบาบิโลน โดยสร้างสวน ให้สูงจากพื้นดิน ใช้อิฐซ้อนกันขึ้นไป วางผังลดหลั่นกันและมีความสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตู ต่าง ๆ ประดับด้วย ภาพสลักขนาดมหึมา ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกทับถมปรักหักพังไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะฐานรากบางส่วนเท่านั้น 3
ศิลปะอัสซิเรียน อยู่ในช่วง 900 ปี ก่อน ค.ศ. ศิลปกรรมงานแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นรูปสิงโตกำ ลังกัดเด็กหนุ่มพบในพระราชวัง เมืองนิมรุดในอัสซิเรีย งานชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติซกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ประติมากรรมลอยตัวชิ้นสำ คัญที่ติดตั้งตามทางเข้าพระราชวังมีขนาดใหญ่โต เป็นรูปสิงโตมี ปีก (WINGED LION) ส่วนงานสถาปัตยกรรมของอัสซิเรียน มีอาคารก่ออิฐเป็นโครงสร้าง หลัก เป็นรูปโค้งรับน้ำ หนักและใช้อิฐและหินก่อเป็นกำ แพง ตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรม ฝาผนัง และกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสิงโต ศิลปะเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อน ค.ศ. อารยธรรมของเปอร์เซียมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งภายใน อย่างสวยงาม มีงานประติมากรรมใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ได้แก่ เสาหินวัวคู่ ประดับ พระราชวังที่เมืองเปอร์เซโปลิส (PERSEPOLIS) 4
ศิลปะกรีก (GREEK ART) ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซ ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำ คัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษา ศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณ จนถึงปัจจุบัน ศิลปกรรมของกรีกที่สำ คัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (PARTHENON) สร้าง ด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติ ว่าควรจะ แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วย ภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบดอริก (DORIC) 2. แบบไอโอนิก (IONIC) 3. แบบคอรินเทียน (CORINTHIAN) 5
ศิลปะโรมัน (ROMAN ART) ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถ ใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำ ให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน งานประติมากรรม ของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการ สร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำ เลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบใน กรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำ ลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำ มาจากกรีก นอกนั้น ได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำ คัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิ ออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ใน สภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำ วันของชาวโรมัน นอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความ งามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (MOSAIC) อย่างประณีต สวยงาม ศิลปะไบแซนไทน์ (BYZANTINE ART) ประมาณ ค.ศ. 455 ศิลปะไบแซนไทน์ เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวัน ออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทน ถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (TEXTURE) อย่างหลากหลาย งาน สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำ หลังคาเป็นรูปกลม (CUPULA) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำ เป็นรูปโค้ง (ARCH) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (DOME) 6
3. ยุคกลาง (MIDDLE AGE) ประมาณ ค.ศ. 300 – ค.ศ. 1300 ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึง เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิว ด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโก ติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก ศิลปะโกติก (GOTHIC ART) ศิลปะโกติกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (REALISTIC ART) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอด หอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำ ให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง ช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (RENAISSANCE ART) ไมเคิล แองเจลโล (MICHEL ANGELO) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปี เตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (MOSES) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (DAVID) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่ งดงาม รูปพิเอตตา (PIETTA) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำ คัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (SISTINE) ใน พระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ราฟาเอล (RAPHAEL) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำ คัญเป็นจำ นวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (SISTINE MADONNA) ภาพงานรื่นเริง ของทวยเทพ (GALATEA) ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศ อิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศ นั้น ๆ อย่างมากมาย ทำ ให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำ คัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็น จำ นวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชน แห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้ 7
ศิลปะบารอกและรอกโกโก (BAROQUE AND ROCOCO ART) คำ ว่า BAROQUE และ ROCOCO ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับ ประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบ ของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งาน จิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (REALISTIC) แต่ใช้สีรุนแรง ขึ้น 4. ยุคใหม่ (MODERN AGE) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน ศิลปะสมัยใหม่ (MODERN ART) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศ ฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำ ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งาน จิตรกรรม ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (NEO-CLASSIC) นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคน และส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม ศิลปะแบบโรแมนติก (ROMANTICISM) ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่น เต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัว ของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์ ศิลปินที่สำ คัญของศิลปะโร แมนติก ได้แก่ เจริโคต์ 8
ศิลปะแบบเรียลิสม์ (REALISM) ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิต มนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การ ปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำ ในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำ คัญใน กลุ่มนี้ ได้แก่ โดเมียร์ (DAUMIER) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (COURBET) ชอบวาดรูปชีวิตประจำ วันและประชดสังคม มาเนต์ (MANET) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่น การประกอบอาชีพ ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (IMPRESSIONISM) กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์เริ่มเบื่อรูปแบบที่มีหลักความงามแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นสิ่งเชื่อมโยง เน้นด้วยแสง สี บรรยากาศ ศิลปินที่สำ คัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่ โคลด โมเนต์ (CLAUDE MONET) ศิลปะแบบโพสต์ – อิมเพรสชันมิสม์ (POST-IMPRESSIONISM) ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์จะไม่เลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริงโดยการสร้างรูปทรง ใหม่ แต่นำ วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การระบายสีด้วยเทคนิคขีด ๆ จุด ๆ เน้นสี แสง เงาให้เกิดมิติ บรรยากาศ ความงามและความประทับใจ ศิลปินในกลุ่มนี้ ได้แก่ แวนโกะห์ (VAN GOGH) มาติส (MATISSE) บงนาร์ด (BONNARD เซซาน (CEZANNE) โก แกง (GAUGUIN) เซอราต์ (SEURAT) 9
ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 ลัทธิโฟวิสซึม เป็นศิลปะที่แสดงออกในเรื่องสีที่สดใสรุนแรงศิลปินที่สำ คัญในลัทธินี้ ได้แก่ อองรี มาติส ศิลปะนามธรรม เป็นศิลปะที่ไม่แสดงรูปทรงเหมือนจริง แต่แสดงเรื่องสีและพลังทางอารมณ์ และความรู้สึก ศิลปะคิวบิสม์ เป็นศิลปะกึ่งนามธรรม แสดงออกด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของ ปริมาตร มีความงามตามหลักของสุนทรียศาสตร์อย่างแท้จริง ศิลปินผู้นำ ศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่ ปิกาสโซ 10
อ้างอิง HTTP://WWW.MAECHAI.AC.TH/ART/ARTHISTORY.HTM HTTPS://264SITE.WORDPRESS.COM
สมาชิก นางสาวดุสิตา สุพรรณ์ 650113120039 นางสาวเเพรไหม โคตรเสนา 650113120044 สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์