The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปฏิบัติการเนปจูน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by adirak04375, 2022-01-23 07:15:24

ปฏิบัติการเนปจูน

ปฏิบัติการเนปจูน

ป ฏิ บั ติ
การ

เ น ป จู น

D-DAY

โดย
นาย พิชิตชัย บูชาพันธ์ ม.5/4 เลขที่ 28

ประวัติศาสตร์สากล
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี
หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน

เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างสหภาพโซเวียต
และฝ่ายสัมพันธมิตร การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือ
ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบก
เพื่อบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้
ยุทธการโอเวอร์ลอร์ด นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการทหาร
สูงสุดของกองกำลังพันธมิตรรบนอกประเทศ ได้มีการเตรี
ยมการวางแผนบุกโจมตีในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ 1944 แต่
ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายทำให้ต้องเลื่อนไปอีก 24
ชั่วโมงเป็นวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 (เรียก ดีเดย์)

ซึ่งเริ่มการวางแผนปฏิบัติการใน ค.ศ. 1943 หลายเดือนก่อนการบุก
ครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการลวงทางทหารอย่างมาก ชื่อรหัส
ว่า ปฏิบัติการบอดีการ์ด เพื่อลวงฝ่ายเยอรมนีให้เข้าใจผิดในวันที่และ
สถานที่
การยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ลมฟ้าอากาศในดีเดย์นั้น
ห่างไกลจากอุดมคติ แต่การเลื่อนออกไปจะหมายถึงความล่าช้า
อย่างน้อยสองสัปดาห์ เพราะนักวางแผนการบุกครองตั้งเงื่อนไข
เกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์ น้ำขึ้นลง และเวลาของวันซึ่งหมายความ
ว่า มีไม่กี่วันในแต่ละเดือนเท่านั้นที่พิจารณาว่าเหมาะสม ทางฝ่าย
เยอรมันฮิตเลอร์ผู้นำฝ่ายเยอรมันได้ตั้งจอมพล เออร์วิน รอมเมล
ของเยอรมนีให้บังคับบัญชากองทัพเยอรมันและพัฒนาป้อมสนาม
ตามกำแพงแห่งแอตแลนติกคอยการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตร

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เออร์วิน รอมเมล

ซึ่งการบุกในครั้งนี้มีการระดมทิ้งระเบิดทาง
อากาศและทะเล ตลอดจนการโจมตีส่งทาง
อากาศอย่างกว้างขวางก่อนการยกพลขึ้นบก
สะเทินน้ำสะเทินบก ทหารส่งทางอากาศอังกฤษ
อเมริกันและแคนาดา 21,000 นายลงสู่พื้นดินไม่
นานหลังเที่ยงคืน กองพลทหารราบและยาน
เกราะฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มยกพลขึ้นบกตาม
ชายฝั่งฝรั่งเศสเริ่มตั้งแต่ 6.30 น. ชายฝั่งนอร์ม็
องดีเป้าหมายยาว 80 กิโลเมตรถูกแบ่งเป็นห้า
ส่วน ได้แก่ อ่าวยูทาห์, โอมาฮา โกลด์ จูโนและ
ซอร์ด

ทหารที่ยกพลขึ้นบกถูกระดมยิงอย่างหนักจากที่
ตั้งกำบังที่มองลงมาเห็นชายหาด และชายฝั่งถูก
วางทุ่นระเบิดและเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางอย่าง
หลักไม้ แท่นสามขาโลหะและลวดหนาม ทำให้งาน
ของทีมเก็บกวาดชายหาดยากและอันตราย กำลัง
พลสูญเสียหนักที่สุดที่โอมาฮา เพราะมีหน้าผาสูง
ที่โกลด์ จูโนและซอร์ด หลายเมืองที่มีการป้องกัน
ถูกกวาดล้างในการต่อสู้แบบบ้านต่อบ้าน และที่
ตั้งปืนใหญ่หลักสองแห่งที่โกลด์ถูกรถถังพิเศษ
ทำลาย

ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่บรรลุเป้าหมายทั้งหมดในวันแรก
คารองตอง แซ็ง-โลและบาโยยังอยู่ในการควบคุมของ
เยอรมนี และกว่าจะยึดก็องอันเป็นวัตถุประสงค์หลักได้
ก็เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ในวันแรก มีเพียงสองหาด
(จูโนและโกลด์) เท่านั้นที่เชื่อมถึงกัน และหัวสะพานทั้ง
ห้าเชื่อมกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ทว่า ปฏิบัติการทำให้
ได้ที่มั่นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรค่อย ๆ ขยายในหลายเดือน
ต่อมา กำลังพลสูญเสียฝ่ายเยอรมันในดีเดย์อยู่ที่ราว
1หมื่นกว่านาย กำลังพลสูญเสียฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ที่
อย่างน้อย 12,000 นาย โดยมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับยืนยัน
4,414 นาย

เนื้อหาเพิ่มเติม
เรื่อง saving private ryan

บรรณานุกรม

ปฏิบัติการเนปจูน - ประวัติศาสตร์สากล - Google sites ค้นคว้าเมื่อ
วันที่ 27 ธันวาคม 2564 จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki

วันดีเดย์ (D-DAY) ค้นคว้ามาวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จาก
https://www.bbc.com/thai/international-48524419

แบบทดสอบ

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeL
4yHC8C6imG0KTL2YjEMpKNZHu1FX52k3fr4ET2

hsIJoQIQ/viewform?usp=sf_link


Click to View FlipBook Version