The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปผลการดำเนินโครงการ IFTE

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สรุปผลการดำเนินโครงการ IFTE

สรุปผลการดำเนินโครงการ IFTE

Keywords: สรุปรายงาน IFTE

รายงานผลการดำเนนิ งาน

โครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) นวตั กรรมการศกึ ษา เพอื่ พฒั นาการศกึ ษา
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

กลุม่ นเิ ทศ ติดตามและประเมนิ ผล
สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

สำนักงานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

บทสรุปผบู้ รหิ าร

การดำเนินงานตามโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา
เพื่อพัฒนาการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการศึกษา
ที่มีคุณภาพประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ กระบวนการบริหารจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ
กระบวนการนิเทศการศึกษา ซึ่งจะต้องมีความร้อยรัดสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี โดยต้องอาศัยความร่วมมือกัน
ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน การสร้างเครือข่ายในการทำงานในแต่ละพื้นท่ีจึงมีความสำคัญอย่างย่ิง
ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการร่วมคิด ร่วมทำร่วมประเมินผลอย่างตอ่ เน่ือง มีการพัฒนากระบวนการ
ทำงานและสร้างนวัตกรรมในการทำงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทและความต้องการของแต่ละพื้นที่
รองรบั การพฒั นาผูเ้ รยี นให้มีความรูแ้ ละทกั ษะในศตวรรษท่ี 21

จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการ IFTE (Innovation
For Thai Education) ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยการนำผลการวิเคราะห์และการวิจัยการพัฒนารูปแบบ
และแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการวิเคราะห์และการวิจัยแนวทาง
การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา จากโครงการ TFE (Teams For Education)
และโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 มาสรุป
หลอมรวมและใช้ในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่าย
ความร่วมมือของบุคลากรในทุกภาคส่วนมาร่วมกันสร้างนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านกระบวนการ
บริหารจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพ
ของผเู้ รยี นในดา้ นทกั ษะการเรียนรู้ ทักษะอาชพี และทกั ษะชีวติ ในศตวรรษ ที่ 21

การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้และการนิเทศ
ติดตาม และประเมนิ ผล ตามบรบิ ทแต่ละพื้นทีใ่ นท้องถ่ินของจงั หวัดอุบลราชธานี ในส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาการ
ให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อให้มีศูนย์กลางข้อมูล
สารสนเทศ นวัตกรรมและการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด 2) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรม
การบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล 3) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย
และเผยแพร่นวตั กรรมการบริหารจัดการศกึ ษา การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล 4) เพื่อสร้าง
ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้สถานศึกษามีคะแนน
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตขิ ้นั พ้นื ฐานผ่านเกณฑ์เพิม่ ข้ึน

กิจกรรมดำเนินงาน
1. ประชุมช้แี จงการดำเนินโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวตั กรรมการศึกษา

เพือ่ พัฒนาการศกึ ษา วิเคราะหข์ อ้ มูลสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. ประชมุ ปฎิบัตกิ ารสรา้ งความรู้ ความเขา้ ใจในรูปแบบและแนวการพฒั นานวัตกรรมดา้ นการบริหาร

จดั การศกึ ษา ดา้ นการจัดการเรยี นรแู้ ละดา้ นการนเิ ทศ ตดิ ตามและประเมนิ ผล เพื่อพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

3. นิเทศ กำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหาร
จัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนานักเรียนที่คะแนน
ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาตขิ ั้นพ้นื ฐานแตล่ ะวิชาต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนรอ้ ยละ 50 เพ่มิ ข้ึน

4. คัดเลอื กรูปแบบและแนวการพฒั นานวัตกรรมดา้ นการบรหิ ารจัดการศึกษา ดา้ นการจดั การเรียนรู้และ
ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานักเรียนของสถานศึกษามีร้อยละของนักเรียน
ทค่ี ะแนนผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาตขิ ้ันพ้ืนฐานแตล่ ะวิชาต่ำกวา่ เกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 เพ่มิ ขน้ึ

5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานทางวิชาการรูปแบบและแนวการพัฒนานวัตกรรม
ดา้ นการบริหารจดั การศึกษา ดา้ นการจดั การเรียนรูแ้ ละดา้ นการนเิ ทศ ตดิ ตามและประเมินผล

6. ประชุมสรุปรายงาน ตดิ ตามและประเมินผลการดำเนนิ งานตามโครงการ IFTE (Innovation For Thai
Education) นวตั กรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศกึ ษา

7. จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการและจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงานโครงการ IFTE
(Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศกึ ษา
สรุปผลการดำเนนิ งาน

สรุปผลการดำเนินโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศกึ ษา เพ่อื พฒั นา
การศึกษา ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี โดยมนี วัตกรรมรปู แบบและแนวทางทั้ง 3 ดา้ น ได้แก่

1) ดา้ นการบรหิ ารการจดั การศกึ ษา คือ รูปแบบการบริหารงานโดยใช้ K – SAWANGKHUM MODEL
เพ่อื พัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นาของนักเรียนโรงเรยี นโคกสวา่ งคุ้มวทิ ยานสุ รณ์

รูปแบบการบริหารสถานศกึ ษาสคู่ วามเป็นเลิศ
“ K-SAWANGKHUM MODEL ”

สำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

2) ดา้ นการจัดการเรียนรู้ คอื รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรม 4 ส. For Thai Model
เพ่อื ยกระดับผลสมั ฤทธ์ิการทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาติขนั้ พ้นื ฐาน (O-NET) รายวชิ าภาษาไทย

3) ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล คือรูปแบบการนิเทศภายในแบบ POCRPK เพื่อพัฒนา
สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 บูรณาการความรู้ ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี
ระดบั ประถมศึกษา

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

ผลทไ่ี ดร้ ับจากการดำเนินงาน
1. ผลท่ีเกิดกบั สถานศึกษา/ชุมชนและสังคม
สถานศึกษามีกระบวนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมภายใน

สถานศึกษาและบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมีกระบวนการขับเคลื่อนมีผลการดำเนินงานที่สอด คลองกับ
วัตถุประสงคแ์ ละเป้าหมาย สรุปได้ดังนี้

1. สถานศึกษามีข้อมลู สารเทศ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู ทางการศกึ ษาในระดับสถานศึกษาและระดับ
ห้องเรียน จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานได้ครบถ้วน ครอบคลุมการใช้งานและสารสนเทศที่จัดเก็บไว้
มีความถูกต้องสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เป็นระบบทันสมัยต่อการใช้งานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำข้อมูลและ
สารสนเทศไปใช้ในการบรหิ ารและจดั การงานของสถานศึกษา และพฒั นาการจัดการเรียนการสอนไดเ้ กิดประโยชน์
ค้มุ ค่า มีการเผยแพร่ขอ้ มูลสารสนเทศ และกจิ กรรมในสถานศึกษาโดยใชว้ ิธกี ารท่หี ลากหลายและนา่ สนใจมีผลงาน
ปรากฎชัดเจน

2. สถานศึกษามีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการพัฒนา จัดทำแผน
ปฏิบัติการประจำปี แผนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET โดยกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน ออกแบบและ
จัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมนิ ผล ตามปฏิทินการพฒั นานวัตกรรม

3. สถานศึกษามีกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning
Community) สัปดาห์ละครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหา
เกย่ี วกับการจดั กจิ กรรมการเรยี นร้เู พ่อื นำมาหาแนวทางในการแกป้ ัญหาร่วมกันทกุ คน

4. สถานศกึ ษามีกระบวนการการนเิ ทศภายใน แก้ปญั หาการจดั การเรียนรูใ้ นการพฒั นาคุณภาพ
การจัดการศึกษา

5. สถานศึกษาได้บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเป็นภาคี
เครือข่ายประสานความรว่ มมือ ส่งเสรมิ สนับสนนุ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และระดมทรพั ยากร เพอ่ื การศึกษา
สถานศกึ ษามเี ครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. ผลทีเ่ กดิ ข้ึนดา้ นครผู ้สู อน
1. ครูผู้สอนมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน

โดยยดึ ปญั หาเป็นฐาน (Problem base)
2. ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีนักเรียนมีส่วนร่วม

ในการจัดกิจกรรมรู้ท่ี (Active Learning) มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ มีการเรียนรู้ที่หลากหลายและ
ได้รบั การนเิ ทศเพือ่ การพัฒนาคณุ ภาพการจัดการเรียนรู้

3. ครูผู้สอนมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยครูออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี
เพ่อื ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการจดั การเรียนรู้

4. ครผู ู้สอนมีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและมีประสิทธภิ าพ

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

3. ผลทีเ่ กิดขึ้นด้านผเู้ รยี น
1. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะ

ในการเรียนรู้และนวัตกรรม มีความคิดริเริ่มสรา้ งสรรค์แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยแี ละสืบค้นข้อมูลคิดอยา่ ง
มีวจิ ารณญาณสามารถแก้ปัญหาได้

2. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน มีส่วนร่วมในกระบวนการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ผู้เรียนได้ฝึกการปฏิบัติจริง มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการ
จดั กจิ กรรมการเรียนรู้ไดฝ้ ึกทกั ษะวชิ าชีพโดยบรู ณาการหนว่ ยการเรยี นรู้ของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระการเรียนรู้
ทุกกลุม่ สาระการเรียนรู้

3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สืบสานประเพณี วัฒนธรรมท้องถ่ิน
ปรับตัวเขา้ กบั สถานการณ์ และสามารถดูแลตนเองได้

4. ผู้เรียนมีความนอบน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสม มีสมาธิในการ
เรยี นรู้ดขี ึ้นตามแนวทางจิตศกึ ษาและส่งผลต่อการพัฒนาคณุ ภาพผู้เรียนทกุ ดา้ นอยา่ งย่ังยนื

4. ผลทเี่ กดิ ขน้ึ อ่ืน ๆ
มเี ครือขา่ ยด้านการศึกษาทุกภาคส่วนร่วมมือกนั พัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจดั การศึกษา

ดา้ นการจดั การเรียนรู้ และด้านการนิเทศ ตดิ ตามและประเมินผล
ปัญหา อุปสรรค

ในการดำเนินงานกิจกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การคัดเลือกนวัตกรรมรูปแบบ และ
แนวทางการบริหารการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE)
นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระหว่าง
สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ ต่อ ( COVIC - 19 ) ทำใหก้ ระบวนการทำงานไมเ่ ตม็ ที่

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

คำนำ

รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา
เพ่ือพัฒนาการศึกษา ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 เล่มนี้ จัดทำขนึ้ เพอ่ื สรุปและรายงานผลการดำเนินงานการ
พัฒนานวัตกรรมรูปแบบและแนวทางด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการนิเทศ
ตดิ ตามและประเมนิ ของสำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี โดยได้รูปแบบด้านการบริหารจัดการศึกษาคือ
รูปแบบการบริหารงานโดยใช้ K – SAWANGKHUM MODEL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนาของนักเรียน
โรงเรียนโคกสว่างคุ้มวทิ ยานุสรณ์ ด้านการจัดการเรียนรู้คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรม 4 ส. For
Thai Model เพื่อยกระดับผลสมั ฤทธ์ิการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาติขัน้ พื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาไทย
และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมิน คือรูปแบบการนิเทศภายในแบบ POCRPK เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้าน
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บูรณาการความรู้ ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา
เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการศึกษา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้มีความยั่งยืน เน้นให้
ผู้เรียนมคี ุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและ
สติปัญญาเป็นการเสริมสร้างความพร้อมก่อนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา เป็นกระบวนการนำ
กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน และใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เป็นแนวทาง
ขับเคลื่อนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ผู้เรียนได้ฝึกการปฏิบัติจริง ได้ฝึกทักษะ
ฝึกวิชาชีพ เพ่อื ยกระดบั ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาติข้นั พน้ื ฐาน (O-NET) ให้สูงข้ึน

ขอขอบคุณ ศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี ผทู้ รงคุณวฒุ ิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภฏั อุบลราชธานี
อาจาย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการ
จังหวัดอุบลราชธานี และหน่วยงานทางการศึกษาที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ Innovation
For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา จนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ทต่ี ง้ั ไวด้ ว้ ยดี

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผล
สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

สารบญั หน้า

เรอื่ ง 1
บทสรปุ ผู้บริหาร 1
คำนำ 2
สารบญั 3
ส่วนที่ 1 ความเปน็ มาของโครงการ ...................................................................................... 4
4
1.1 หลกั การ ................................................................................................................. 4
1.2 วัตถปุ ระสงค์ ........................................................................................................... 5
1.3 ขอบเขตการดำเนนิ งาน ......................................................................................... 5
1.4 กิจกรรมดำเนินงาน ................................................................................................ 5
1.5 สาระสำคญั ของโครงการ ....................................................................................... 5
1.6 กลมุ่ เปา้ หมาย ........................................................................................................ 6
1.7 ระยะเวลาดำเนินการ ............................................................................................. 7
1.8 งบประมาณ ............................................................................................................ 7
1.9 ความสำคัญของโครงการ ....................................................................................... 12
1.10 นยิ ามศัพทข์ องโครงการ ...................................................................................... 14
1.11 ตัวชว้ี ัดความสำเร็จของโครงการ ......................................................................... 21
สว่ นที่ 2 แนวคดิ และงานวิจัยท่ีเกย่ี วข้อง ............................................................................. 21
1. แนวคดิ ทฤษฎที ่ีใช้ในการสรา้ งรูปแบบการบรหิ ารงาน ............................................ 29
2. แนวคิดทฤษฎีท่ีใช้ในการสรา้ งรปู แบบการจดั การเรียนรู้ ......................................... 29
3. แนวคดิ ทฤษฎีทใ่ี ชใ้ นการสร้างรปู แบบการนิเทศการศึกษา ...................................... 30
สว่ นท่ี 3 ผลการดำเนนิ งาน ปัญหาอปุ สรรค และข้อเสนอแนะ ............................................. 30
3.1 ผลการดำเนินงานตามขอบเขตการดำเนนิ งาน ...................................................... 30
3.2 สรุปผลการดำเนนิ งานภาพรวม ตามเคร่ืองมือที่กำหนด .......................................

3.1.1 ผลท่เี กิดขน้ึ กบั สถานศึกษา ...........................................................................
3.1.2 ผลทเ่ี กดิ ขึน้ ครูผูส้ อน ...................................................................................
3.1.3 ผลทีเ่ กดิ ข้ึนครผู ้สู อน ผู้เรยี น .......................................................................
3.3 ปัญหา อุปสรรค ………………… ................................................................................

สำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

สารบญั

เรอ่ื ง หน้า

ภาคผนวก 32
ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาตขิ ้นั พื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนที่ 35
จดั การศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน ............................................................................................. 37
นวัตกรรมการศึกษา .................................................................................................. 39
โรงเรียนในโครงการ ..................................................................................................
ภาพกจิ กรรม .............................................................................................................. 43
ประกาศสำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง ผลการคดั เลือกนวัตกรรม 45
รปู แบบและแนวทางโครงการ ........................................................................................
คณะผู้จดั ทำ ...............................................................................................................

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

ส่วนที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาของโครงการ
1.1 หลกั การ
การที่จะพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในอนาคตนั้น จะต้องให้
ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง และมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการ
การพัฒนาทั้งในระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะ “การพัฒนาคน” ให้มีการเตรียมความพร้อมรับ
การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทักษะการเรียนรู้และการเสริมสร้างปัจจัย
แวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ทั้งในเชิงระบบและโครงสร้างของสังคมไทย
ใหม้ ภี มู ิค้มุ กันตอ่ การเปลีย่ นแปลงตา่ ง ๆ ทีจ่ ะเกิดขน้ึ
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง
ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอยา่ งต่อเนือ่ ง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” พัฒนาคนใน
ทกุ มติ ิและในทุกชว่ งวยั ให้เป็นคนดี เกง่ และมคี ณุ ภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโต
บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และ
วางเป้าหมายทสี่ ามารถตอบสนองการพัฒนาทสี่ ำคญั ในด้านต่าง ๆ คือ ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 ยทุ ธศาสตร์พัฒนาหลกั สูตร
กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ที่มุ่งหวังให้คนไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งตอบสนองการพัฒนาในด้านคุณภาพและด้านการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 ยทุ ธศาสตรผ์ ลติ พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทมี่ ุง่ หวงั ให้มกี ารผลติ ครูได้สอดคล้อง
กับความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถใช้ศักยภาพ
ในการสอนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตอบสนองการพัฒนาในด้านคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนา
กำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งหวังให้กำลังคนได้รับการผลิต
และพัฒนาเพ่ือเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขนั ของประเทศ และมอี งค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการ
พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนซึ่งตอบสนองการพัฒนาในด้านคุณภาพ และด้านการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ที่มุ่งหวังให้การบริการการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกวัยในระดับที่เหมาะสมกับสภาพบริบทและสภาพพื้นท่ี
ซึ่งตอบสนองการพฒั นาในด้านการเขา้ ถึงการให้บริการและด้านความเท่าเทียม ยทุ ธศาสตร์ 5 ยทุ ธศาสตร์ส่งเสริม
และพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่มุ่งหวังให้คนไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ ซ่งึ ตอบสนองการพัฒนาในดา้ นการเข้าถึงการให้บริการ ดา้ นความเท่าเทยี ม และด้าน
ประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบรหิ ารจัดการ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใน

สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี 1

การจัดการศึกษาที่มุ่งหวังให้มกี ารใชท้ รัพยากรทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรไดอ้ ย่างคุม้ ค่า ไม่เกิดการสูญเปล่า
และมคี วามคล่องตวั ซงึ่ ตอบสนองการพัฒนาในด้านประสทิ ธิภาพ

จากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562 พบว่า ในแผนแม่บทด้านการพัฒนา
การเรียนรู้ ซึ่งมีเป้าหมายให้วัยเรียน วัยรุ่น มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิดวิเคราะห์ รักการเรียนรู้
มีสำนกึ พลเมือง มีความกล้าหาญทางจรยิ ธรรม มคี วามสามารถในการแก้ปญั หา ปรับตวั สอ่ื สารและทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชีวิตดีขึ้น ผลการประเมินด้านทักษะ อยู่ที่ 62.30 คะแนน ต่ำกว่า ปี 2561
ซึ่งผลการประเมินอยู่ที่ 63.00 และจากรายงานวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ปัญหาคุณภาพ
การศึกษาไทยสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง เกิดจากระบบการศึกษาไทยไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ
(Accountability) หลักสูตรและตำราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
การทดสอบยังคงเน้นการจดจำเน้อื หามากกวา่ การเรียนเพ่ือใหม้ ีความรู้ ความเขา้ ใจอยา่ งแทจ้ ริง

กระบวนการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
กระบวนการจดั การเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศกึ ษา ซงึ่ จะต้องมีความรอ้ ยรดั สัมพนั ธก์ ันเปน็ อย่างดี
โดยต้องอาศัยความร่วมมือกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน การสร้างเครือข่ายในการทำงานในแต่ละพื้นที่
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการร่วมคิด ร่วมทำร่วมประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
มีการพัฒนากระบวนการทำงาน และสร้างนวัตกรรมในการทำงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทและ
ความตอ้ งการของแต่ละพ้ืนท่ี รองรับการพฒั นาผ้เู รียนใหม้ ีความรแู้ ละทกั ษะในศตวรรษที่ 21

จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการ IFTE (Innovation
For Thai Education) ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยการนำผลการวิเคราะห์และการวิจัยการพัฒนารูปแบบ
และแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและผลการวิเคราะหแ์ ละการวิจัยแนวทาง
การนเิ ทศ ตดิ ตามและประเมินผลการบริหารการจดั การศึกษา จากโครงการ TFE (Teams For Education) และ
โครงการ “ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 มาสรุป
หลอมรวมและใช้ในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่าย
ความร่วมมือของบุคลากรในทุกภาคส่วนมาร่วมกันสร้างนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านกระบวนการ
บริหารจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพ
ของผ้เู รยี นในดา้ นทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชพี และทกั ษะชีวติ ในศตวรรษ ท่ี 21

1.2 วตั ถุประสงค์ของโครงการ

1. เพอ่ื ให้มีศนู ย์กลางข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจยั ทางการศกึ ษาระดับจงั หวดั
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและ
ประเมนิ ผล
3. เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ
ติดตามและประเมินผล
4. เพื่อสร้างเครือข่ายความรว่ มมอื ในการพฒั นาคุณภาพการศึกษา

สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี 2

5. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้สถานศึกษามีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ข้นั พนื้ ฐานผา่ นเกณฑเ์ พ่ิมขน้ึ

1.3 ขอบเขตของการดำเนนิ งาน
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่ สถานศึกษาจากโครงการ TFE (Teams For Education) และโครงการ

Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 โรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 - 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มธั ยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โรงเรียนสังกัดองค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั อบุ ลราชธานี โรงเรยี นสงั กัดสำนัก
บริหารงานการศึกษาพิเศษ เขต 10 โรงเรียนสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนสังกัด
กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 จังหวัดอบุ ลราชธานี โรงเรียนสังกดั องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
โรงเรียนสงั กัดสำนักงานคณะกรรมการสง่ เสรมิ การศกึ ษาเอกชน รวมจำนวน 44 แห่ง

1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาจากโครงการ TFE (Teams For Education) และโครงการ
Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 โรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 - 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มธั ยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจรญิ โรงเรยี นสังกดั องค์การบริหารส่วนจงั หวดั อุบลราชธานี โรงเรียนสงั กดั สำนัก
บริหารงานการศึกษาพิเศษ เขต 10 โรงเรียนสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนสังกัด
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 จังหวัดอบุ ลราชธานี โรงเรียนสงั กดั องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น และ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รวมจำนวน 10 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ TFE (Teams For Education) และโครงการ
Coaching Teams เพ่อื ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษา ดว้ ยความสมัครใจ

2. นวตั กรรมรูปแบบและแนวทางด้านการบรหิ ารจัดการศึกษา ดา้ นการจัดการเรียนรู้ และดา้ นการนิเทศ
ติดตามและประเมินผล ได้แก่ สถานศึกษาจากโครงการ TFE (Teams For Education) และโครงการ Coaching
Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศกึ ษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต 1-5 โรงเรยี นสังกัดสำนกั งานเขตพน้ื ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษาอบุ ลราชธานี
อำนาจเจริญ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษา
พิเศษ เขต 10 โรงเรียนสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนสังกัดกองบัญชาการตำรวจ
ตระเวนชายแดน ที่ 22 จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยการจัดทำเป็นนวัตกรรมรูปแบบและแนวทาง
ด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผลของสถานศึกษา
ทัง้ 10 แหง่

สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี 3

1.4 กจิ กรรมดำเนนิ การ (Activity)
1. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศึกษา

เพือ่ พฒั นาการศกึ ษา วเิ คราะห์ขอ้ มลู สารสนเทศทางการศึกษาเพ่ือยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. ประชุมปฎิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบและแนวการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหาร

จดั การศึกษา ดา้ นการจัดการเรียนรแู้ ละดา้ นการนิเทศ ติดตามและประเมนิ ผล เพือ่ พฒั นาคุณภาพการศกึ ษา
3. นิเทศ กำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหาร

จัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนานักเรียนที่คะแนน
ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาติข้ันพ้นื ฐานแต่ละวิชาต่ำกวา่ เกณฑ์คะแนนรอ้ ยละ 50 เพ่มิ ขึน้

4. คัดเลอื กรปู แบบและแนวการพัฒนานวัตกรรมดา้ นการบรหิ ารจัดการศกึ ษา ดา้ นการจดั การเรียนรู้และ
ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานักเรียนของสถานศึกษามีร้อยละของนักเรียน
ทค่ี ะแนนผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาตขิ ้ันพืน้ ฐานแต่ละวชิ าตำ่ กวา่ เกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 เพ่มิ ขึ้น

5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานทางวิชาการรูปแบบและแนวการพัฒนานวัตกรรม
ดา้ นการบรหิ ารจดั การศกึ ษา ดา้ นการจดั การเรยี นรูแ้ ละดา้ นการนิเทศ ตดิ ตามและประเมินผล

6. ประชมุ สรุปรายงาน ตดิ ตามและประเมินผลการดำเนนิ งานตามโครงการ IFTE (Innovation For Thai
Education) นวตั กรรมการศกึ ษา เพ่ือพัฒนาการศกึ ษา

7. จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการและจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงานโครงการ IFTE
(Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศกึ ษา เพื่อพัฒนาการศึกษา

1.5 สาระสำคญั ของโครงการ
1.1 เป็นการพัฒนาศนู ย์กลางขอ้ มลู สารสนเทศเพอื่ พฒั นาคุณภาพการศึกษาระดบั จังหวัด
1.2 เป็นการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้และการนิเทศ ติดตามและ

ประเมินผล เพ่ือพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา ระดบั จังหวดั
1.3 เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้และ

การนเิ ทศ ติดตามและประเมนิ ผล เพอื่ พัฒนาคณุ ภาพการศึกษาระดับจังหวดั
1.4 เปน็ การสรา้ งเครือข่ายความรว่ มมือในการพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาระดับจังหวัด
1.5 เป็นการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้สถานศึกษามีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

ขั้นพ้นื ฐานผา่ นเกณฑเ์ พิม่ ขน้ึ
1.6 กลุม่ เป้าหมายของโครงการ
ผ้บู ริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผูเ้ รยี นในสถานศกึ ษาทุกสังกดั รวมทง้ั ภาคเี ครือขา่ ยท่เี ก่ียวข้อง

ในพน้ื ที่จงั หวัดอบุ ลราชธานี

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 4

1.7 ระยะเวลาดำเนินการ
โครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศกึ ษา เพอ่ื พฒั นาการศกึ ษา

เริม่ ดำเนนิ การในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ตลุ าคม 2563 - กนั ยายน 2564)
1.8 งบประมาณ 284,000 บาท
1.9 ความสำคญั ของโครงการ
1. มีศนู ยก์ ลางข้อมลู สารสนเทศ นวตั กรรม และการวิจยั ทางการศกึ ษาระดบั จังหวัด
2. มีนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนา

คณุ ภาพการศกึ ษาท่หี ลากหลายในระดับจงั หวัด
3. มีผลงานการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยจากการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้

การนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพ่อื พัฒนาคุณภาพการศกึ ษาในระดับจงั หวดั
4. มีการสรา้ งเครือขา่ ยความร่วมมือในการพฒั นาคุณภาพการศึกษาในระดบั จังหวดั
5. มีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้สถานศึกษามีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

ข้ันพน้ื ฐานผ่านเกณฑ์เพมิ่ ข้ึน
6. มีการบูรณาการด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลระหว่าง

สถานศกึ ษาและหน่วยงานทางการศึกษาในระดับจังหวัด ในการพัฒนาคนให้พร้อมเข้าส่สู ังคมคุณภาพในศตวรรษท่ี 21
เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งผลใหผ้ ลสมั ฤทธิ์ทางการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตามสมรรถนะของผู้เรียนเพิ่มข้ึน

1.10 นิยามศัพทข์ องโครงการ
1. ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตขิ ั้นพืน้ ฐาน

(O-NET) นวัตกรรมทางการศึกษา และงานวิจัยทางการศึกษา ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา ใหส้ อดคล้องกบั สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความตอ้ งการของแตล่ ะพนื้ ท่ี

2. นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง แนวคิด วิธีการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนา ปรับปรุงหรือ
ดัดแปลงให้มคี วามเหมาะสมและสอดคลอ้ งกับการนำมาใชใ้ นการพฒั นาคุณภาพการศึกษา

3. งานวิจัยทางการศึกษา หมายถึง ผลงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานเกี่ยวกับการบริหาร
จดั การศกึ ษา การจัดการเรยี นรู้ การนิเทศ ตดิ ตามและประเมินผล โดยผา่ นกระบวนการแสวงหาความรคู้ วามจริง
ที่มรี ะบบและวธิ ีการทเี่ ชอ่ื ถือได้และเปน็ ทย่ี อมรับ

4. เครอื ขา่ ยความรว่ มมือ หมายถึง การสร้างความรว่ มมอื จาก หนว่ ยงาน องค์กรท้ังภาครัฐ เอกชน และ
ประชาชน เพื่อพฒั นาคณุ ภาพการศึกษา

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั อุบลราชธานี 5

1.11 ตัวชีว้ ดั ความสำเร็จของโครงการ
1. มขี ้อมลู สารสนเทศทางการศกึ ษาทม่ี คี วามถูกต้อง ครอบคลมุ ชดั เจน และเปน็ ปจั จบุ นั
2. มีนวตั กรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนเิ ทศ ตดิ ตามและประเมินผล
3. มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผล
4. มีการขยายผล เผยแพร่ นวัตกรรมการการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและ

ประเมนิ ผล
5. มเี ครอื ข่ายความรว่ มมือ เพ่ือพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาในระดบั จงั หวัด
6. มี Supervisor Teams เพือ่ พัฒนาคณุ ภาพการศึกษาในระดบั จังหวดั
7. ผู้เรียนในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มข้ึน

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 6

สว่ นที่ 2

แนวคิดและงานวิจยั ทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง

แนวคิดทฤษฎีท่ีใช้ในการสร้างรปู แบบ

แนวคิดทฤษฎีทใี่ ช้ในการสรา้ งรปู แบบการบริหารงาน มดี งั นี้
1) ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือ
ความเช่อื ทเ่ี กดิ ข้นึ อย่างมหี ลักเกณฑ์มกี ารทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจทฤษฎเี ป็นเซท (Set) ของมโนทัศน์
ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา
อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจนบ์ ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดทีม่ ีเหตุผลและ
สามารถนำไปประยกุ ต์ และปฏิบัตไิ ด้ ทฤษฎมี บี ทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกบั ปรากฎทั่วไปและชแี้ นะการวิจยั
2) ทฤษฎีทางการบริหารและววิ ัฒนาการการบรหิ ารการศกึ ษา
ระยะท่ี 1 ระหวา่ ง ค.ศ. 1887–1945 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยด้ังเดิม (The Classical organization
theory) แบง่ ย่อยเป็น 3 กลุม่ ดังน้ี (ภาวดิ า ธาราศรีสทุ ธิ, 2542)

1. กลุ่มการจดั การเชิงวทิ ยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management) คอื จัดการบริหารธรุ กจิ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ได้กล่าวไว้ว่า ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือ
โรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถ
ปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงาน
สูงสดุ จะเกิดข้นึ ไดต้ ้องข้ึนอย่กู ับสงิ่ สำคญั 3 อยา่ งคือ

1. เลอื กคนที่มีความสามารถสูงสดุ (Selection)
2. ฝึกอบรมคนงานใหถ้ ูกวธิ ี (Training)
3. หาสิ่งจงู ใจใหเ้ กดิ กำลงั ใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies”
เวลาและการเคลื่อนไหว เชอื่ ว่ามวี ธิ กี ารทางวิทยาศาสตรท์ ่จี ะบรรลวุ ตั ถุประสงค์เพียงวิธีเดยี วทดี่ ีท่สี ดุ เขาเชื่อในวิธี
แบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน (จ่ายเงิน)
บนพ้ืนฐานการสรา้ งแรงจงู ใจ สรปุ หลกั วทิ ยาศาสตรข์ องเทเลอร์สรุปงา่ ยๆประกอบด้วย 3 หลักการดงั น้ี
1. การแบง่ งาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบญั ชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสรา้ งแรงจูงใจ (Incentive payment)

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี 7

2. กล่มุ การบรหิ ารจัดการ (Administration Management) ทฤษฎบี ริหารองค์การอย่างเป็นทางการ
(Formal Organization Theory ) ของ องั รี ฟาโยล (Henri Fayol) บดิ าของทฤษฎกี ารปฏบิ ัตกิ ารและการจัดการ
ตามหลักบริหารทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน+วธิ ีการทำงานไดป้ ระสิทธิภาพและประสิทธผิ ล
แต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542) Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรือ่ งหลักเกี่ยวกบั การบรหิ าร
ทัว่ ไป 14 ประการแตล่ ักษณะท่สี ำคญั มดี ังน้ี

1. หลกั การทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คอื การแบ่งงานใหเ้ กดิ ความชำนาญเฉพาะทาง
2. หลักสายบงั คับบญั ชา เร่มิ จากบังคับบัญชาสงู สุดสรู่ ะดบั ตำ่ สุด
3. หลกั เอกภาพของบงั คบั บัญชา (Unity of Command)
4. หลกั ขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึง่ คนตอ่ 6 คนที่จะอยูใ่ ต้
การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพทสี่ ดุ
5. การสอื่ สารแนวด่งิ (Vertical Communication) การส่ือสารโดยตรงจากเบอ้ื งบนสเู่ บอ้ื งล่าง
6. หลกั การแบ่งระดบั การบังคบั บัญชาให้น้อยท่ีสดุ คือ ไม่ควรมสี ายบังคับบญั ชายืดยาวหลาย
ระดับมากเกินไป
7. หลกั การแบ่งความรบั ผิดชอบระหวา่ งสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff
Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์
(Max Weber) ที่กลา่ วถงึ หลักการบรหิ ารราชการประกอบดว้ ย
1. หลกั ของฐานอำนาจจากกฎหมาย
2. การแบ่งหนา้ ท่แี ละความรับผิดชอบ ท่ีต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3. การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
4. การแบง่ งานไม่เกยี่ วกับผลประโยชน์สว่ นตวั
5. มรี ะบบความมัน่ คงในอาชีพ

จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายดื
ยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “ Red tape”
ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบแต่ใน
ปจั จบุ ันระบบราชการกำลังถกู แทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เรม่ิ มีปญั หา

ระยะที่ 2 ระหวา่ ง ค.ศ.1945–1958 ยุคทฤษฎมี นุษยสัมพนั ธ์ (Human Relation) Follette ไดน้ ำเอา
จติ วิทยามาใชแ้ ละได้เสนอการแกป้ ญั หาความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ 3 แนวทางดงั นี้ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542)

1. Domination คอื ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครง่ึ ทาง เพือ่ ให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 8

3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ)
นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร”
(ภาวิดา ธาราศรีสทุ ธิ, 2542: 25)

การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่เมโย (Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่
ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการคน้ พบจากการทดลองคือมีการสร้าง
กลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก
ซง่ึ ผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปไดด้ งั น้ี

1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จติ ใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเปน็ เรอื่ งสำคัญในการทำงาน
2. เงนิ ไม่ใช่ สงิ่ ลอ่ ใจท่ีสำคญั แต่เพียงอย่างเดยี ว รางวลั ทางจิตใจมผี ลตอ่ การจูงใจในการทำงานไม่
น้อยกวา่ เงนิ
3. การทำงานขึน้ อยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกวา่ สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพคับทีอ่ ยู่ได้
คบั ใจอยู่อยาก
ข้อคิดทสี่ ำคญั การตอบสนองคน ดา้ นความต้องการศกั ดศ์ิ รี การยกยอ่ ง จะส่งผลต่อ
ประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผลในการทำงานจากแนวคดิ “มนษุ ยสมั พันธ”์ *
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory) หรือ
การศกึ ษาเชงิ พฤตกิ รรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)
ยึดหลักระบบงาน ความสัมพันธ์ของคน พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆ
คนไดแ้ สดงไว้ดังตอ่ ไปนี้ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542)
1. เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The
Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และ
เป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดลุ กัน
2. ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow –
Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความ
ต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย
คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน
แตค่ วามตอ้ งการเหล่านัน้ ตอ้ งไดร้ ับการสนองตอบตามลำดับข้ัน
3. ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรกี อร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้
เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X (The
Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนเ้ี กิดขอ้ สมมติฐานดงั นี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลยี่ งความรบั ผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คดิ รเิ ร่ิม ชอบใหก้ ารส่ัง
3. คนเหน็ แก่ตนเองมากกวา่ องค์การ

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี 9

4. คนมักต่อตา้ นการเปล่ียนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกงา่ ย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการ
ควบคุม การสัง่ การ เป็นตน้
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมมตฐิ าน
ดงั น้ี
1. คนจะให้ความร่วมมอื สนบั สนุน รับผิดชอบ ขยนั
2. คนไม่เกียจครา้ นและไวว้ างใจได้
3. คนมคี วามคิดรเิ ร่ิมทำงานถา้ ไดร้ ับการจงู ใจอยา่ งถกู ต้อง
4. คนมกั จะพัฒนาวธิ ีการทำงาน และพฒั นาตนเองอยเู่ สมอ
ผ้บู งั คับบัญชาจะไม่ควบคุมผูใ้ ตบ้ งั คับบญั ชาอยา่ งเข้มงวด แตจ่ ะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรอื ของกลุ่ม
มากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่าง
ระบบท่เี นน้ การควบคมุ กบั ระบบท่ีค่อนข้างให้อสิ ระภาพ
4. อชู ิ (Ouchi ) ชาวญป่ี นุ่ ไดเ้ สนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่ง
มหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน
แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการ
หนา้ ทขี่ องผบู้ ริหารจงึ ต้องปรับเปา้ หมายขององค์การใหส้ อดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรปุ เพอ่ื ออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบท่สี ำคัญ 4 ประการคอื

1. การทำใหป้ รัชญาท่กี ำหนดไว้บรรลุ
2. การพฒั นาผ้ใู ตบ้ ังคับบญั ชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแกผ่ ู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผใู้ ต้บังคบั บัญชามีสว่ นร่วมในการตัดสนิ ใจ
3) แนวคดิ บรหิ ารของนักคดิ
3.1) แนวคิดของเฟรดริก ดับบลิว เทยเ์ ลอร์
วิศวกรชาวอเมริกันเปน็ ผู้ท่ีใชแ้ นวความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับการบริหารเป็นคนแรก
แนวความคิดที่สำคัญ คือ แนวความคิดที่ว่า หนทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน (one best way) โดยมองว่า
การทำงานทุกอย่างในองค์การ จะมีวิธีการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว การที่จะได้มาซึ่ง one best way ต้องไปศึกษา
เรื่อง time and motion นอกเหนือจากนี้ เทย์เลอร์ยังเป็นคนแรกที่จ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้
คนทำงาน
3.2) แนวคดิ ของอองรี ฟาโยล
วิศวกรชาวฝรง่ั เศส เป็นเจ้าของแนวความคดิ ของการบรหิ ารงานตามหน้าท่ี โดยกระบวนการ
จดั การ 5 อยา่ ง หรือ (POCCC) P=Planning O=Organizing C=Commanding C=Coordinating

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 10

C=Controlling และเป็นคนคดิ หลกั การบรหิ ารทว่ั ไป 14 ข้อ ได้แก่
1. หลกั อำนาจหน้าทแี่ ละความรบั ผิดชอบ ซงึ่ ตอ้ งอย่คู ู่กนั ในลักษณะท่เี หมาะสมและสมดลุ กัน
2. หลักของการมีผบู้ งั คับบัญชาเพียงคนเดยี ว เพื่อไม่ใหส้ บั สนในการตดั สินใจ
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีนโยบายที่ชดั เจน
4.หลกั การธำรงไวซ้ งึ่ สายงาน มกี ารกำหนดสายการบังคับบัญชาท่ีชดั เจน จากระดบั สูงหาตำ่
5.หลกั ของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกีย่ วกบั ระเบียบวนิ ัย
7.หลกั ของการถือประโยชน์ส่วนบคุ คล
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไวส้ ่วนกลาง ในขณะเดยี วกนั กต็ ้องมีการกระจายอำนาจดว้ ยบางส่วน
10.หลักของความมรี ะเบียบแบบแผน
11.หลกั ของความเสมอภาค
12.หลกั ของความมีเสถียรภาพของการว่าจา้ ง
13.หลักของความคิด

4) แนวคิดทฤษฎเี ก่ยี วกับระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้บริโภค

จะมีสิทธิเลือกสินค้าจากผู้ขายที่ให้สินค้าที่มีคุณค่า หรือคุณภาพมากที่สุด การจัดการด้านคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นความจำเป็นของธุรกิจการบริหาร
คุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management หรือ TQM นับเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมสูงมาก
W. Edwards Deming และ Joseph M. Juran เจ้าของความคดิ เรอื่ ง TQM อธิบายวา่ TQM คอื ปรัชญาปรับปรงุ
คุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ (2539) และ
วิฑูรย์ สิมะโชคดี, (2542) กล่าวว่าการบริหารคุณภาพระดับสูงสุด คือการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ ซึ่งจะต้อง
มกี ารปรับปรงุ คณุ ภาพอยา่ งต่อเนือ่ ง จงึ เปน็ ปรัชญาสำคญั ของ TQM ผูบ้ ริหารระดับสูงต้องมีความมงุ่ ม่ันและผูกพัน
กับการปรบั ปรุงคณุ ภาพอย่างต่อเนื่อง ดว้ ยความร่วมมือของพนักงานทุกๆ หนว่ ยงานผู้บริหารต้องใหก้ ารสนับสนุน
ในทุกด้าน และองค์การต้องมีมุมมองเป็นระบบ พนักงานเป็นส่วนสำคัญที่ทำงานในระบบ ซึ่งหลักการสำคัญของ
การจัดการคุณภาพทั้งองค์การ (TQM) ประกอบด้วย 3 ประการ คือ 1) การมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือ
ผู้รับบริการ 2) การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และ 3) การมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ
ของทุกคนในองค์การ และเนตร์พัณณา ยาวิราช (2553) กล่าวว่า จากการศึกษาของ Thomas Peters and
Robert Waterman เรื่องความเป็นเลิศธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปว่า ความเป็นเลิศทางการบริหาร
ประกอบด้วย องค์ประกอบต่อไปนี้ 1) การมุ่งที่การกระทำ 2) การศึกษาความต้องการของลูกค้า 3) การส่งเสริม
ให้มีอิสระในการทำงาน 4) การบรรลุความสำเร็จในการเพิม่ ผลผลติ โดยใหค้ วามสนใจกับความต้องการของบุคคล
ในองคก์ ารมรี ปู แบบการจูงใจและการสรา้ งแรงบนั ดาลใจให้แก่พนักงาน 5) คำนึงถึงปรัชญาขององค์การคุณค่าของ

สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี 11

ผู้นำองค์การ ค่านิยมขององค์การ 6) เน้นความเข้าใจและมีความรู้ในธุรกิจนั้นเป็นอย่างดี 7) มีโครงสร้างองค์กร
ท่งี ่ายและคลอ่ งตวั 8) มกี ารรวมอำนาจและกระจายอำนาจในขณะเดยี วกันได้อยา่ งเหมาะสม

ดังน้นั แนวความคิดการบริหารท่ีมุง่ ความเปน็ เลิศมีพืน้ ฐานมาจากแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพท่ีเน้น
ความพึงพอใจของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับกระบวนการทำ งานซึ่งสอดคล้องกับ
ปรัชญา TQM

แนวคิดทฤษฎที ่ีใช้ในการสรา้ งรปู แบบการจดั การเรยี นรู้ มดี งั น้ี
แนวคดิ ในการยกระดับผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น
Peter Senge (รศ. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ออนไลน์, 2560) กล่าวว่า การประยุกต์ใช้แนวคิด เรื่ององค์การ
แห่งการเรียนรู้ (Learning organization) การสร้างสรรค์ให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งก็คือ การทำ
ใหค้ นในองค์การรู้จกั เรียนรู้การทำงานรว่ มกันเปน็ ทีมงานท่ีดีจนสามารถยกระดับผลสำเรจ็ ขององค์การให้สูงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในกระบวนการพัฒนาทีมงานให้เป็นทีมงานชั้นยอด จนสามารถร่วมสร้างและร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ร่วม
(Shared vision) ได้นั้น สมาชิกแต่ละคน ของทีมงานจะได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่ใช้ปฏิบัติงาน
เพื่อยกระดับผลงานให้สูงขึ้น และจากการมีโอกาสทำงานร่วมกันเช่นนี้ทำให้สมาชิกของทีมงานไ ด้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมไปกับการเรียนรู้วิธีทำงานของตนให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดย Senge หลักการ
(หรอื วินยั ) ๕ เพือ่ สร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning school) ตามกรอบแนวคดิ ของ Senge ดงั นี้

หลกั การที่ 1 : ต้องพฒั นาความรอบรูแ้ หง่ ตน (Personal mastery) ของสมาชิก
ความรอบรแู้ หง่ ตน หมายความวา่ ทุกคนทอ่ี ย่ใู นโรงเรยี นทเี่ ปน็ องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเขา้ ใจว่าตน
มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการสร้างผลงานหรือความสำเร็จของโรงเรียนโดยรวม ครูแต่ละคนจะต้องตระหนักว่าตน
ต้องปฏิบัติงานในฐานะเป็นสมาชิกของทีมงานที่จะต้องร่วมกัน นำพาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ตลอดจนความสำเรจ็ ของผู้ปกครองและของชุมชนให้ สงู ข้ึน ความรอบรแู้ ห่งตน จึงหมายความว่า ครทู กุ คนจะต้อง
มีพันธะผูกพันต่อการประกอบวิชาชีพ ครูของตนเยี่ยงมืออาชีพ และต้องเป็นสมาชิกที่ดี เพื่อช่วยเหลือให้ทีมงาน
ของตนมีผลงานระดับสูง ยิ่งขึ้นเท่าที่จะทำได้ ครูแต่ละคนจะต้องมีความผูกพันต่อเพื่อนร่วมงานด้วยการสร้าง
บรรยากาศที่ดี ของที่ทำงาน และร่วมมือร่วมใจกันยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของนักเรียนให้ดีท่ีสุด
การสร้างความรอบรู้แห่งตนของครูก็คือ การร่วมการเรียนรู้ไปกับนักเรียน ครูจึงมีบทบาทต้องเป็นผู้เรียนรู้
(Teachers as learners) ในขณะท่ีปฏบิ ตั งิ านสอนอีกดว้ ย

หลกั การท่ี 2 : ตอ้ งมแี บบแผนความคิดอา่ น (Mental model)
แบบแผนความคิดอ่าน หมายถึง ความเชื่อที่ฝังลึกอยู่ภายในบุคคล (unconscious assumptions)
ที่มีต่อสิ่งต่างๆ จึงเป็นปทัสถานที่มีลักษณะไม่เป็นคำพูด (unspoken norms) แต่มีอิทธิพลในการกำหนด
ว่าโรงเรียนของตนจะดำเนินการต่อภารกิจต่าง ๆ อย่างไร เช่น แบบแผนความคิดอ่านของคนที่เป็นนักการศึกษา
จะต้องตอบตนเองให้ได้ว่า ในฐานะที่เป็นมืออาชีพตนจะมีหลักคิดและวิธีการจัดกิจกรรมด้านการเรียนรู้การสอน

สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 12

การบริหารพฤติกรรมบุคคลในโรงเรียน ตลอดจนการใช้ภาวะผู้นำได้อย่างไร เป็นต้น เนื่องจากแบบแผนความคิด
อ่านเหล่านี้มักไม่ได้ถูกหยิบ ยกขึ้นมาพิจารณาว่ามีความเหมาะสมเพียงไร มีอะไรบ้างที่โรงเรียนได้ทำ
หรือมีอะไรบ้างที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ดังนั้นถ้าเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้แล้ว ประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผน
ความคิดอ่าน ดังกล่าวเหล่านี้ จะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบร่วมกัน ของทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย
(Stakeholders) เช่น สิ่งที่โรงเรียนเชื่อและใช้เป็นแนวทางจัดการศึกษาอยู่นั้น สอดคล้องกับสิ่งที่ เป็นวิสัยทัศน์
ของโรงเรียนซึ่งทุกฝ่ายร่วมกำหนดขึ้นหรือไม่ หรือนักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
หรือไม่ และสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนเพียงไร ตลอดจนกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ
และวธิ ีการต่าง ๆ ทีโ่ รงเรยี นใช้ดำเนนิ การอยู่น้นั มคี วามสอดคล้องหรือขัดแยง้ กับความเช่ือ วิถีชีวิต และวิสัยทัศน์
ที่สังคมคาดหวงั ต่อโรงเรยี นหรือไม่เพียงไร เป็นต้น

หลักการท่ี 3 : ตอ้ งสรา้ งวิสยั ทัศน์รว่ ม (Shared vision) ของโรงเรยี น
วิสัยทัศน์ร่วม หมายถึง ภาพในอนาคตของโรงเรียนที่ทุกคนร่วมกันวาดฝัน และ ปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้น
จริงกับโรงเรียนของตน วิสัยทัศน์ร่วมจึงทรงพลังที่ช่วยยึดเหนี่ยวทุกคนให้เกิด ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดี ยวขึ้น
และมคี วามรสู้ กึ ร่วมในเปา้ หมายท่จี ะตอ้ งก้าวไปให้ถงึ ดงั นน้ั วิสัยทศั นร์ ว่ ม จงึ เปน็ พลงั ขับเคลือ่ น ใหภ้ ารกิจทุกอย่าง
ของโรงเรยี นมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน วสิ ัยทศั น์ร่วมมิไดเ้ กดิ ข้ึนหรือเป็นของผู้หนึง่ ผู้ใดโดยเฉพาะ วิสัยทัศน์ร่วมที่ดี
ควรมีความชดั เจนท้ังเป้าหมายและแนวทางท่ีสามารถบรรลุไดจ้ ริง และไมค่ วรเป็นเพียงแต่ข้อความส้ันๆ ท่ีกระชับ
ชัดเจน ดึงดูดใจเท่านั้น แต่ควรมีพลังในการกำกับพฤติกรรมของบุคคลให้ปฏิบัติงานสอนได้ตรงกับความคาดหวัง
อย่างมีความหวัง และมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติภารกิจทั้งของส่วนตนและของทีมงานโดยเต็มความสามารถ
โดยยึดหลกั การทำเพ่อื ส่วนรวมรว่ มกนั

หลักการท่ี 4 : ส่งเสริมใหเ้ กิดการเรียนรู้แบบทีม (Team learning)
การเรียนรู้แบบทีมเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับโรงเรียนแห่งการได้โดยการใช้วิธีเสวนา (Dialogue) และวิธี
อภิปรายถกปัญหา (Discussion) โดยทีมงานอาจประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองมาร่วมกันถก
ปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่ เช่น วิธีการจัดชั้นเรี ยน (Classroom structure)
การจัดตารางสอน เทคนิควิธีสอน วิธีวัดผลประเมินผล วิธีจูงใจให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ตลอดจนการบริหาร
จดั การโรงเรียนในดา้ นตา่ ง ๆ

หลักการท่ี 5 : พัฒนาการคิดอยา่ งเป็นระบบ (System thinking)
การคิดอย่างเป็นระบบ หมายถึง ความสามารถของสมาชิกในองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถมองเห็น
องค์การในลักษณะของภาพรวม ซึ่งประกอบขึ้นจากองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ (See the forest for the trees)
กล่าวคือ ในโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ครูจะมีแนวโน้มที่เห็นว่า การปฏิบัติงานของแต่ละคนก็ดี หรือกิจกรรมต่างๆ
ที่จดั ข้นึ ก็ดี ลว้ นมคี วามสัมพนั ธ์เชอื่ มโยงต่อการดำเนนิ ภารกจิ โดยรวมทัง้ หมดของโรงเรยี น การคดิ อย่างเป็นระบบ
ของโรงเรียนแห่งการเรยี นรู้ก็คือ สมาชกิ จะมีทักษะในการพิจารณาเหน็ ความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ท่ีมีต่อองค์รวม

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 13

ของโรงเรียน และให้การยอมรับว่าถ้าการดำเนินงาน ณ จุดใดจุดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นก็จะส่งผลกระทบ ต่อ
การดำเนินงานของจุดอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนหนึ่งเกิดปัญหา
ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนตามมา หรือถ้าการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะ
คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษเกิดปัญหาก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ E – learning
ของนักเรียน เปน็ ตน้ กล่าวโดยสรปุ การคดิ อยา่ งเป็นระบบเปน็ วธิ ีการคดิ ของบุคคลในการมองสิ่งต่างๆ ในลักษณะ
ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวม (Part – whole relationship) ทำให้แต่ละคนมองภาพรวมของ
โรงเรียนขณะปฏบิ ัตงิ านไดช้ ัดเจน
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างรูปแบบการนเิ ทศการศึกษา มดี ังน้ี

จันทมา นนทิกร (2552) โดยโครงการพัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้ (Healthy School
by Knowledge Management) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (มสวร.) ได้สังเคราะห์วิธีการปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศ (Best Practices) เรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก 16 โรงเรียนดีเด่น แล้วจำแนกเป็น
ประเด็นหลกั เพื่ออธบิ ายวธิ ปี ฏิบัติ ดังนี้

1. การบรหิ ารจดั การเพื่อยกระดบั ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน มีวิธกี ารดำเนินการ ดงั นี้
1.1 การจดั การความร้เู พอ่ื กำหนดนโยบายและจดั ทำแผนพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาของโรงเรียน
1.2 การวเิ คราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรยี น
1.3 การกำหนดยทุ ธศาสตร์ในการพฒั นากระบวนการยกระดับผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี น
1.4 การนเิ ทศภายในแบบกัลยาณมิตร
1.5 การประสานงานกบั ผปู้ กครองเพ่ือเฝา้ ระวงั และติดตามแก้ไขปัญหา

2. วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น ดำเนินการได้ ๓ รูปแบบ คอื
2.1 รูปแบบที่ 1 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามเกณฑ์ที่คาดหวัง

มวี ิธีการดำเนนิ การ ดังน้ี
2.1.1 การปรับเปลี่ยนทา่ ทีของครใู นการจดั การเรียนรู้
2.1.2 การกำหนดเกณฑ์ทีค่ าดหวังและเกณฑ์การประเมนิ ผล
2.1.3 การจัดกลมุ่ ผูเ้ รยี นที่เหมาะสม
2.1.4 การกำหนดรปู แบบการพัฒนาการเรียนร้แู ละการจัดกิจกรรม

2.2 รูปแบบที่ 2 การยกระดบั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นเพอ่ื มุ่งสูค่ วามเป็นเลศิ
2.2.1 การจดั การเรียนรแู้ บบห้องเรียนพิเศษ
2.2.2 การจดั กิจกรรมการเรียนร้เู พอ่ื สง่ เสริมความเปน็ เลิศ

2.3 รปู แบบที่ 3 การช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่ผา่ นเกณฑก์ ารจบหลักสตู ร
2.3.1 การดแู ลใกล้ชดิ เพ่อื ปรับพฤติกรรมและให้โอกาสนักเรียน
2.3.2 การเพ่มิ พนู ผลสัมฤทธเ์ิ พ่ือใหไดต้ ามเกณฑ์การจบหลกั สูตร

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี 14

ศักดา กะแหมะเตบ (2561) ศึกษาแนวทางการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของสถานศกึ ษาในสงั กัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานครศรธี รรมราช เขต 2 สรปุ ได้ ดังนี้

1. ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีแนวทางพัฒนา 7 ประเด็น ได้แก่ 1) ต้องมีการจัดทำและปรับปรุงพัฒนา
หลักสูตรอย่างจริงจัง ชัดเจน เป็นประจำต่อเนื่อง โดยให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคม
โลก 2) มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ตลอดจนการวิจัยหลักสูตรของสถานศึกษา เพื่อจะได้จัดทำและปรับปรุง
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและผู้เรียน 3) ต้องให้ทุกฝ่าย ทั้งผู้เรียน
องค์กรชุมชน ผู้ปกครอง และครู มีส่วนร่วมในการพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษา 4) ควรมีบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตร 5) ควรส่งเสริมสนับสนุนหรือให้การอบรมพัฒนา
ในการให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาอยู่เสมอ 6) มีการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสม
กับผู้เรียน สอดคล้องกับช่วงอายุหรือช่วงชั้น 7) สถานศึกษาต้องจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลาง และตรงกับความต้องการของชมุ ชน

2. ด้านการจัดการเรียนการสอน มีแนวทางพัฒนา 6 ประเด็น ได้แก่ 1) มีการวิเคราะห์ผู้เรียนก่อน
เพื่อนำผลมาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงความแตกต่างของบุคคล 2) ส่งเสริม
และสนับสนุนให้ครูมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใหผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และ ตรงตามความต้องการของ
ผู้เรียน ใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย และต้องสอดคล้องตรงตามหลักสูตร สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด
หลักสูตร ตลอดจนตามตัวชี้วัดที่ใช้ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3) การจัดการ
เรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นใหผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น 4) พัฒนาและส่งเสริมการสอน
ซ่อม-เสริมให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ทั้งในกลุ่มผู้เรียนที่เก่ง อ่อน ปานกลาง รวมถึงเด็กพิเศษด้วย
โดยคำนึงถึงความสามารถและความแตกต่างของบุคคล 5) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาให้ครูและบุคลากรมีการ
พัฒนาตนเองอยู่เสมอในด้านการจดั การเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจและหลากหลาย ตรงกบั ความตอ้ งการของ
ผู้เรียน ตลอดจนมีเทคนิคใหม่ ๆ ที่ทันสมัย 6) มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการปรับปรุง
พัฒนาอยู่เสมอ ตลอดจนให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรและตามตัวชี้วัดของการทดสอบ
ทางการศกึ ษาระดบั ชาตขิ นั้ พนื้ ฐาน (O-NET)

3. ดา้ นสอื่ และนวตั กรรมทางการศึกษา มีแนวทางพฒั นา 6 ประเดน็ ไดแ้ ก่ 1) การจดั สรรงบประมาณและ
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ 2) แผนการผลิตและ
พัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน 3) มีการจัดตั้งศูนย์
เครือข่ายเพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา มีการแลกเปลี่ยน ผลิตและพัฒนาตลอดจนการนำสื่อมาใช้
ร่วมกัน อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม 4) ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้และผลิตสื่อท่ี
ทันสมัยอย่างตอ่ เนื่อง 5) มกี ารจัดทำหรือพัฒนาสอ่ื และนวัตกรรมทางการศกึ ษาตา่ งๆ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 15

ร่วมกับกลุ่มสาระต่าง ๆได้ 6) จัดให้มีและพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนให้สามารถใช้งานได้ดี เพื่อใช้ใน
การผลิตและพัฒนาสอื่ และนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยและเปน็ ท่สี นใจของผเู้ รยี น

4. ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา มีแนวทางพัฒนา 4 ประเด็น ได้แก่ 1) สนับสนุนการนเิ ทศแบบ
กัลยาณมิตรเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจกับบุคลากร และสร้างความตระหนักในการนิเทศการศึกษา 2) จัดให้มี
การนิเทศอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร 3) นำผลการนิเทศมาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข
อย่างจริงจังและเป็นระบบเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) มีระบบการนิเทศ
ที่ชัดเจน และมีผู้เชี่ยวชาญการนิเทศ ตลอดจนการอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอก
สถานศึกษา

5. ด้านการนิเทศการศึกษา มีแนวทางพัฒนา 5 ได้แก่ 1) ควรวัดและประเมินผลตามสภาพจริงโดย
คำนึงถึงความสามารถและความแตกต่างของผูเ้ รียน โดยอาศัยพืน้ ฐานของตวั ผู้เรียนเองและมีวิธีการทีห่ ลากหลาย
2) ควรมีการวัดและประเมินผลท่ีหลากหลายและสอดคล้องตรงตามสาระ มาตรฐานและตัวชีว้ ัด ตามหลักสูตรของ
สถานศึกษาและหลกั สตู รแกนกลาง 3) ควรมีจุดมุ่งหมายและวัตถปุ ระสงค์ของการวัดและประเมินผลไปในทศิ ทาง
เดียวกัน มีส่วนร่วมของทกุ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกสถานศกึ ษา 4) มีการวัดและประเมินผลอย่างมี
ระบบ มีเกณฑ์และแนวทางการวัดผลและประเมินผลอย่างชัดเจน และควรวัดหลายๆครั้ง 5) มีการนำผลการ
ประเมินมาปรับปรุงแกไ้ ข สามารถนำไปสกู่ ารพฒั นาการเรยี นรขู้ องผเู้ รียน

ประหยัด อนุศิลป์ (2559) ศึกษาผลของรูปแบบการบริหารสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ดำเนินการยกระดับ
ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นของนักเรียน โดยใชร้ ูปแบบการบริหารสู่การยกระดบั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการบริหารสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน
ชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ 6 ซึง่ มีกระบวนการทำงานเป็น 4 ขั้นตอน ดงั น้ี

ขั้นตอนที่ 1 ก่อการณ์งานวิเคราะห์ หมายถึง การสร้างความตระหนักร่วมกันระหว่างครูและบุคลากร
ทางการศึกษาทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โดยนำผลโอเน็ตไปคิดคะแนนปลายภาค นำผลโอเน็ตไปใช้ศึกษา และนำผลโอเน็ตไปสร้างชื่อเสียง
โรงเรยี น มีวิเคราะห์สภาพปญั หา โดยพิจารณาผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-Net)
วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อกำหนดแผนงาน เป้าหมายความสำเร็จและหาทางเลือกในการพัฒนา
อย่างมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ผลโอเน็ตรายมาตรฐาน เพื่อหามาตรฐานที่เป็นจุดอ่อน จุดแข็ง วิเคราะห์จำนวน
นักเรยี นทผ่ี า่ นรอ้ ยละ 50 ตัง้ เปา้ หมายร่วมกัน

ขั้นตอนที่ 2 บ่มเพาะ เสริมเพิ่มพลัง หมายถึง โรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยมีการสร้างบรรยากาศ
ในการเรียน จัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้ สื่อพอเพียง ประดิษฐ์ จากวัสดุที่หาได้รอบตัว ครูดำเนินการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอนซ่อมเสริม เพิ่มเวลาในการเรียน มีการทดสอบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 16

โดยการรวบรวมข้อสอบโอเน็ต 10 ปีย้อนหลัง แล้วแยกข้อสอบเป็นหมวดหมู่ ตามตัวชี้วัด แล้วนำไปทดสอบ
ร่วมกบั การเรียนการสอนตามตวั ชี้วดั ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง องคก์ รต่าง ๆ มสี ่วนร่วม นำไปสูก่ ารยกระดับผลสมั ฤทธ์ิ
ทางการเรียน ตลอดจนนำความรูไ้ ปใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั

ขั้นตอนที่ 3 จริงจัง งานเกาะติด หมายถึง การดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
ทั้งระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน โดยมีการให้คำแนะนำในการจัดการเรียนการสอน
มีการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ทำการตรวจสอบประเมินคุณภาพผู้เรียนใน 5 วิชาหลัก ได้แก่
วิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนที่ 4 พิชิตผลเป็นเลิศ นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในโรงเรียนและผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และนำผลการปฏิบัติงานที่ดีของแต่ละโรงเรียน บุคคลไปเผยแพร่
เป็นแบบอย่างต่อโรงเรยี นทวั่ ไป โดยการยกย่อง ชมเชยต่อสาธารณชน และประกาศเกยี รติคณุ

การนิเทศภายในเป็นกระบวนการที่ดำเนินการอยู่ภายในสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุน
ช่วยเหลือ ชี้แนะ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ
ก่อให้เกดิ กระบวนการเรียนรู้ที่มคี ุณภาพ ผ้เู รยี นไดร้ บั การพัฒนาใหม้ ีทักษะในศตวรรษท่ี 21 เพื่อรองรับการปฏิรูป
การศกึ ษาประเทศไทย 4.0 ตอบสนองต่อมาตรฐานการศึกษาชาติท่มี ุ่งเนน้ ใหผ้ ูเ้ รยี นมีคณุ ภาพ มีคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ มีทักษะวิชาการ มีทักษะอาชีพ มีทักษะชีวิต มีทักษะการเป็นผู้นำ และมีทักษะการนำไปสู่การผลิต
นวัตกรรม การนิเทศภายในจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องมีในสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาท
หนา้ ท่โี ดยตรงในการสร้างกลไก รูปแบบและการปฏบิ ัตเิ พื่อให้การนิเทศภายในเป็นไปอย่างมปี ระสิทธิภาพ เพ่ือให้
ครูมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะหรือมีสมรรถนะที่ตอบนองต่อการเป็นครูไทย 4.0 ที่มีสมรรถนะในการจัดการ
เรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการทักษะการคิดขั้นสูง
เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความ
คิดเห็น มีประสบการณ์กับคนอื่น จึงจะเป็นการพัฒนาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (Clark, 2013) เทคนิคหรือวิธีการ
นิเทศภายในสามารถทำได้หลากหลายวิธี จากการทบทวนวรรณกรรมท่เี ก่ยี วขอ้ งของพอสรปุ ได้ ดงั นี้ คือ

การนิเทศภายในด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning
Community: PLC) เป็นกระบวนการนิเทศภายในที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมสู่ความเป็นองค์การแห่งการ
เรียนรู้ สร้างการรับรู้ตลอดจนความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นความสําเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสําคัญและสรา้ งความสุขของการทํางานร่วมกัน
ของครอู ย่างยัง่ ยืน

การนิเทศภายในด้วยการสังเกตการสอน (Observation : O) เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ได้ผลเป็นอย่างดี
ในการนิเทศภายในและได้รับความนิยม ผู้นิเทศจะดำเนินการสงั เกตการสอนและบันทึกข้อมลู และวิเคราะห์ข้อมูล
จากการสังเกตและแปลความหมายข้อมูล จากนั้นแจ้งผลให้กับครูผู้รับการนิเทศทราบ เพื่อการปรับปรุงพัฒนา
ที่สอดคล้องกับปัญหา และความต้องการของครู การนิเทศภายในจําเป็นต้องนำเทคนิคการสังเกตไปใช้เสมอ
การนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทําให้เห็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้นิเทศมีความรู้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจ

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี 17

เทคนิคกระบวนการเรยี นการสอน สามารถใหค้ ำแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสม ซ่งึ ครสู ามารถนำคำแนะนำไปใช้ใน
การปรับปรุงการจดั กจิ กรรมการเรยี นรูใ้ หก้ ับผเู้ รียนมีประสิทธิภาพ

การนิเทศภายในแบบโค้ชชิ่ง (Coaching: C) เป็นการนิเทศภายในที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ของการทำงาน การโค้ชชิ่งเป็นพื้นฐานสำคัญเพราะทีมงานสามารถทำงานได้อย่างอิสระสามารถทำงานได้ด้วย
ตัวเอง การโค้ช (Coaching) ผู้นำสามารถดึงศักยภาพและประสิทธิภาพผู้ใต้บังคับบัญชาและทีมงานในการ
ปฏิบัติงานให้ไดต้ ามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญมากอย่างหนึง่ ของผู้นำทีมและหัวหน้างานในการ
บริหารผลการปฏิบัติงาน การโค้ชคือกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยเหลือชวนคิดหรือช่วย
ปลดบางอย่างในตัวผรู้ ับการโคช้ ใหม้ ีศักยภาพสูงข้นึ หรอื มคี วามสุขอย่างทเี่ ขาต้องการผ่านวธิ ีการ เพ่ือให้ผู้รับการ
โค้ช ได้เรียนรู้ ตระหนักในตัวเองและเปลี่ยนแปลงและลงมือทำด้วยความคิด ความถนัด ความสามารถของตัวเอง
การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ช (Coach) และผู้รับการโค้ช (Coachee) เพื่อให้ถึงจุดหมายที่ผู้โค้ช
ต้องการ

การนิเทศภายในแบบการสะท้อนคิด (Reflective: R) เป็นเครื่องมือในการนิเทศภายในที่นักวิชาการให้
การยอมรับเพราะช่วยให้ครูได้สะท้อนการจัดการเรียนรู้ของตนเองอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ครูทำความเข้าใจสิ่งที่
เกิดขึ้นในห้องเรียนและให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือในการทำงานระหว่าง ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศใน
ฐานะที่เป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกัน ผู้นิเทศมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุน ช่วยให้ผู้รับการนิเทศจัดการปัญหาใน
การทำงานโดยมุ่งความสนใจไปที่ผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่คาดหวังและทำให้ผู้รับการนิเทศได้ค้นพบ
ศักยภาพหรอื สมรรถนะท่ีดใี นการทำงาน

การนิเทศภายในแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เป็นการนิเทศภายในเพื่อให้
เกิดความรู้ต่อยอดจากความรู้เดิม เป็นการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
ภายในองค์การ เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ที่กระจัดกระจายในตัวบุคคลหรอื ในเอกสาร โดยนำความรู้นั้น
มาพัฒนาให้เป็นระบบ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้
ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา
เล่าเรียนจากการคน้ คว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏบิ ัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศ
ที่ได้รับจากประสบการณ์สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยินได้ฟังการคิด หรือการปฏิบัติในแต่ละสาขาความรู้ในองค์การ
หรือความรู้ที่อยู่ในตัวครูถ้ามีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดการทำงาน
ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ การถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบ และเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว หรือความรู้ที่ครูได้
จากการเข้ารับการอบรม สัมมนา ก็มีการนำมาถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมเกิดความรู้และสามารถนำไป
ประยุกตใ์ ชไ้ ดเ้ ชน่ เดยี วกับผ้เู ข้ารับการอบรม (ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2554: 2)

จะเห็นได้ว่า เทคนิคหรือวิธีการนิเทศภายในนั้นสามารถดำเนินการได้อย่างหลากหลายและแต่ละเทคนิค
หรือวิธีการนิเทศภายในมีจุดเด่นจุดด้อยในตัวเอง ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาควรเลือกใช้หรือผสมผสานการใช้งาน
ในแต่ละชว่ งของการนิเทศภายในได้อย่างเหมาะสม เพราะไม่มีเทคนิคหรือวิธีการนิเทศภายในแบบใดแบบหนึ่งท่ีดี

สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 18

ที่สุด จำเป็นต้องเลือกใช้ให้เข้ากับลักษณะของครูที่ต้องการพัฒนาและบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
(กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2553: 112)

การนิเทศภายในเป็นกระบวนการภายในสถานศกึ ษาที่มีจุดมุ่งหมายพัฒนาคุณภาพของครูในสถานศึกษา
เมื่อครูมีคุณภาพก็จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของการจัดการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน เป้าหมายของ
การพัฒนาครูในปัจจบุ ันมีอยา่ งหลากหลาย หากจะแบง่ มิติของการพฒั นาครูสามารถแบ่งเปน็ 3 ดา้ นคือ ด้านพุทธิ
พิสัย (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
ในปัจจุบันการพัฒนามิติทั้งสามด้านนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะแนวคิดของการพัฒนาครูยุคใหม่มุ่งเน้นการพัฒนา
สมรรถนะของครูเป็นสำคัญ (Competency-based Teacher Development) สมรรถนะ คือ ความรู้
ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะส่วนบุคคล คุณสมบัติความสามารถ พฤติกรรม ที่มีความเหมาะสมกับงาน
ที่ปฏบิ ัติมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวสิ ยั ทัศน์ เปา้ หมายของสถานศึกษา ค่านยิ ม เพ่ือให้การปฏบิ ตั ิงานในหน้าที่
ของบุคคลเปน็ ไปอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พนื้ ฐาน ท่เี กยี่ วขอ้ งกบั สมรรถนะของครูในการพัฒนาคุณภาพการปฏบิ ัติงานตามตำแหน่ง เพอ่ื ยกระดับคุณภาพ
สถานศึกษาให้สูงขึ้น สมรรถนะที่จำเป็น ประกอบด้วยสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน เพื่อใช้เป็นกรอบ
ประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนประกอบด้วย 6 สมรรถนะ คือ 1) การบริหารหลักสูตร 2) การพัฒนา
ผู้เรียน 3) การบริหารจัดการชั้นเรียน 4) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5) ภาวะผู้นำครู
6) การสร้างความสัมพันธ์และ ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พน้ื ฐาน, 2553: 9)

สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะที่ครูจะต้องพัฒนาให้ก้าวทัน
การเปลย่ี นแปลงของโลกในศตวรรษน้คี ือ ครูต้องมีความรู้ ความสามารถ สง่ิ ทค่ี รูจะต้องพัฒนาอยา่ งมีประสิทธิภาพ
คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการเทคโนโลยี (TPACK) พัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการ
เรียนรู้ของครูที่พัฒนาผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 พัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรสู่การจัดการเรียนรู้
ในห้องเรียน พัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 พัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัย
ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ซึ่งครูระดับชั้นประถมศึกษาจะต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะดังกล่าวเพื่อจะได้
สง่ ผลให้ผเู้ รียนไดร้ บั การพัฒนาทกั ษะ ในศตวรรษท่ี 21 ต่อไป

กรอบแนวคิดของการพัฒนาสมรรถนะครูเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งจะสะท้อนเป้าหมายของการนิเทศภายใน
ในงานวิจัยน้ี ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (Technological
Pedagogical and Content Knowledge: TPACK) โดยจุดเริ่มต้นของกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธี
สอนและเทคโนโลยีเกิดมาจากกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน (Pedagogical Content Knowledge:
PCK) นำเสนอโดย Shulman ในปี ค.ศ. 1986 กล่าวถึง การบรู ณาการระหว่างความรู้ในเนื้อหา (Content Knowledge)
และความรู้เกี่ยวกับวิธีสอน (Pedagogical Knowledge) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักของ PCK คือความรู้ที่จะสอน
เนื้อหาด้วยกระบวนการเฉพาะและใช้กลยุทธ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งต่อมาเมื่อเทคโนโลยี

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 19

ทางการศึกษามีความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ในปี 2006 Mishra และ Koehler ได้ขยายแนวคิดของ Shulman
(1986) โดยการบูรณาการเทคโนโลยีเข้าไปในความรูใ้ นเน้ือหาผนวกวิธสี อนเพ่ือให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
มากยิง่ ข้นึ

ดังนั้นความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ประกอบไปด้วยความรู้ 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้
ในเนื้อหา (Content Knowledge : CK) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสาระวิชาที่ครูรับผิดชอบในการสอน
ให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาระดับประถมศึ กษา ความรู้ในวิธี
การจัดการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge : PK) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ รวมถึง
กลยุทธ์และวิธีการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี
(Technological Knowledge : TK) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทั้งแบบเดิมและแนวคิดสมัยใหม่ที่สามารถ
บูรณาการเข้าไปในหลักสูตร จากความรู้ที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานของแนวคิด สามารถนำมาผสมผสานและ
จำแนกแจกแจงองค์ประกอบของ TPACK ได้อีก 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความรู้ในเนื้อหาที่เป็นเทคโนโลยี
(Technological Content Knowledge : TCK) หมายถึงความรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกันระหว่าง
เทคโนโลยีและเนื้อหา ที่ครูจะต้องมีความรู้ที่สอน และวิธีการที่เนื้อหานั้นถูกปรับให้เข้ากับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ความรู้ 2) เนื้อหาที่เป็นกระบวนการสอน (Pedagogical Content Knowledge : PCK) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สัมพันธ์กับเนื้อหาตามแนวคิดของ Shulman ที่ครูจะต้องรู้วิธีจัดการเรียน
การสอน ที่เหมาะสมกับเนื้อหา และองค์ประกอบของเนื้อหาที่นำมาสอน โดยอาศัยการวิเคราะห์ ตีความ และ
บูรณาการเนื้อหากับกระบวนการ 3) ความรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technological
Pedagogical Knowledge : TPK) หมายถงึ ความเขา้ ใจเก่ียวกบั การใชเ้ ทคโนโลยีท้งั ข้อจำกัด และวิธใี ช้เทคโนโลยี
ในกระบวนการเรียนรู้ความรู้ในเนื้อหา และ4) กระบวนการสอนและเทคโนโลยี (Technological Pedagogical
Content Knowledge : TPACK) หมายถงึ ความรทู้ เี่ กีย่ วกับความสัมพันธ์ระหวา่ งเทคโนโลยกี ับกระบวนการเรียน
การสอนและเนื้อหาเป็นความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยี ที่ครูต้องพยายามเข้าใจและสามารถจัดการ
ความสัมพันธ์ระหว่าง PCK-TCK TPK และความเข้าใจต่อการบูรณาการความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและ
เทคโนโลยี จะช่วยให้ครูสามารถบูรณการเนื้อหาในลักษณะต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสม และนำไปใช้
ในการออกแบบการจัดการเรยี นรไู้ ดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

Yang and Chen, (2010) ได้วิจัยเกี่ยวกับการสร้างความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีผ่าน Web
Quest และการเรียนรู้แบบผสมผสานแก่ครูระดับประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูระดับ
ประถมศึกษาสามารถเพิ่มสมรรถนะขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี อีกทงั้ พฒั นาความรู้ในเนื้อหาผนวกวธิ ีสอนและ
เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน ครูมีการจัดลำดับความสำคัญ และความยากง่ายของเนื้อหา
ที่จะสอนทำให้มองเห็นความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันของเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ครูรู้ว่า
ตนเองจะสอนอะไร รูว้ า่ ต้องทำอย่างไรจงึ จะชว่ ยให้ผูเ้ รียนปฏบิ ัติงานไดด้ ี และมีทักษะในศตวรรษที่ 21

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 20

ส่วนท่ี 3

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินงานโครงการ IFTE (Innovation For Thai

Education) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษา
ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของจังหวัด
อบุ ลราชธานี ซ่งึ ไดด้ ำเนินการตามกรอบของโครงการปรากฎผลงานเชิงประจกั ษ์ สรปุ ผลการดำเนนิ งาน ดงั นี้

3.1 ผลการตามขอบเขตการดำเนินงาน
1. ประชุมช้ีแจงการดำเนินโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศึกษา
เพ่ือพัฒนาการศึกษา วิเคราะหข์ อ้ มลู สารสนเทศทางการศึกษาเพ่ือยกระดบั คุณภาพการศึกษา
2. ประชุมปฎิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบและแนวการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหาร
จดั การศึกษา ดา้ นการจดั การเรียนรู้และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพ่ือพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา วันท่ี
30 มนี าคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รสี อร์ท อำเภอวารนิ ชำราบ จังหวดั อบุ ลราชธานี
3. นิเทศ กำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหาร
จัดการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนานักเรียนที่คะแนน
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้ันพนื้ ฐานแต่ละวชิ าต่ำกวา่ เกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 เพ่ิมข้ึน ระหว่างวันท่ี
1 -15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education)
นวัตกรรมการศึกษา เพ่ือพัฒนาการศกึ ษา ในจงั หวดั อุบลราชธานี
4. คดั เลอื กรปู แบบและแนวการพฒั นานวัตกรรมดา้ นการบริหารจัดการศึกษา ดา้ นการจดั การเรียนรู้และ
ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานักเรียนของสถานศึกษามีร้อยละของนักเรียน
ที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานแต่ละวิชาต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 เพิ่มข้ึน
วนั ท่ี 17 สิงหาคม 2564 ณ โรงแรมบา้ นสวนคุณตา กอลฟ์ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารนิ ชำราบ จงั หวดั อบุ ลราชธานี
5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานทางวิชาการรูปแบบและแนวการพัฒนานวัตกรรม
ด้านการบริหารจดั การศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้และดา้ นการนิเทศ ติดตามและประเมินผล วันที่ 17 สิงหาคม
2564 ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอลฟ์ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารนิ ชำราบ จังหวดั อบุ ลราชธานี
6. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลรายงานการดำเนินงานตามโครงการ IFTE (Innovation For
Thai Education) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา วันที่ 15-16 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุม 1
สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี
7. จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการและจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงานโครงการ IFTE
(Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศกึ ษา เพื่อพฒั นาการศึกษา

สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 21

3.2 สรปุ ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนา
การศกึ ษา ของสำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวัดอบุ ลราชธานี โดยมีนวตั กรรมรปู แบบและแนวทางทัง้ 3 ด้าน ไดแ้ ก่
1) ดา้ นการบรหิ ารการจัดการศึกษา คอื รปู แบบการบรหิ ารงานโดยใช้ K – SAWANGKHUM
MODEL พ่อื พฒั นาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นาของนักเรยี นโรงเรยี นโคกสว่างค้มุ วทิ ยานสุ รณ์

รปู แบบการบริหารสถานศกึ ษาสู่ความเปน็ เลศิ
“ K-SAWANGKHUM MODEL ”

รปู แบบ K-SAWANGKHUM MODEL สำหรบั โรงเรียนโคกสวา่ งคุ้มวทิ ยานสุ รณ์ อำเภอสำโรง จงั หวดั
อุบลราชธานี สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ
ยอ่ ย ไดแ้ ก่

1) ความรู้ด้านหลักการ ทฤษฎี แนวคิด และความหมาย (K)
2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (S)
3) กิจกรรมเชิงสร้างสรรคอ์ ยา่ งหลากหลาย (A)
4) ความพยายามทำงานให้เสร็จ (W)
5) ความตอ่ เนื่อง (A)
6) เครอื ข่าย (N)
7) หลักธรรมาภิบาล (G)
8) ความรู้เชงิ กระบวนการ ขั้นตอนการวจิ ยั การทดลอง การลงมอื ทำ (K)
9) ความสขุ (H)
10) ความสามคั คี ความเปน็ เอกภาพ (U)
11) คณุ ธรรม (M)

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี 22

ภายใต้แนวคิดการบริหารงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Model ; PDCA) เพื่อให้เกิด
ประสิทธภิ าพในการบริหารงาน โดยมรี ายละเอียดแตล่ ะองคป์ ระกอบ ดันนี้

1) K : Knowledge ความรูด้ ้านหลกั การ ทฤษฎี แนวคดิ และความหมาย
ความรู้ด้านหลักการ หมายถึง การนำความร้มู าใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ไมว่ ่าจะเปน็ การประชุมช้ีแจง
การวางแผนการทำงาน การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ ตลอดจนการแตง่ ตั้งคณะทำงานในแตล่ ะฝา่ ยใหส้ อดรับ
กับองคค์ วามรใู้ นแต่ละสาขาท่ีตนถนัด
2) S : Sufficiency Economy หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ
ดำเนนิ งาน ดว้ ยหลกั การพอประมาณ เพ่ือให้เกิดความย่ังยนื ในการดำเนินงานแต่ละด้าน
3) A : Activity กจิ กรรมเชิงสร้างสรรคอ์ ยา่ งหลากหลาย
กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การจัดหาแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้มีความ
หลากหลาย ครอบคลมุ มาตรฐาน ตัวบง่ ช้ี เกณฑช์ ีว้ ดั คณุ ภาพ และความหลากหลายของแต่ละบคุ คล
4) W : Wade though พยายามทำงานให้เสร็จอย่างค่อยๆ ทำ มงุ่ เนน้ ปฏบิ ัติ
ความพยายามทำงานให้เสร็จ หมายถึง การใช้เวลา โอกาส ความพยายามและความอดทน ในการทำให้
งานประสบผลสำเร็จตามทีไ่ ดว้ างแผนไว้
5) A : At a stretch ความต่อเนอ่ื ง
ความต่อเนื่อง หมายถึง การทำงานของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ต้องทำงานของตนตาม
บทบาทหนา้ ทีท่ ไ่ี ด้รบั มอบหมายอย่าง จรงิ จงั ต่อเน่ือง สมำ่ เสมอและเป็นปัจจบุ ัน
6) N : Network เครอื ขา่ ย
เครือข่าย หมายถึง การทำงานโดยประสานความร่วมมือกับผู้อื่น ก่อเกิดเป็นภาคีเครือข่า ยที่เข้มแข็ง
สง่ ผลตอ่ การดำเนนิ งานท่ีมคี ณุ ภาพ
7) G : Good governance หลกั ธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การที่ผู้บริหารและคณะทำงาน ปฏิบัติงานครบถ้วนถูกต้องตามที่ได้รับ
มอบหมาย โดยยดึ หลักธรรมาภบิ าล
8) K : Know-how ความร้คู วามชำนาญ กระบวนการ การลงมอื ทำ
ความรู้ความชำนาญ หมายถึง การท่ีคณะทำงานลงมือปฏบิ ตั ิดว้ ยตนเองโดยใช้ความรู้ในการทำงานจนเกิด
ความชำนาญ
9) H : Happy ความสขุ
ความสขุ หมายถึง การปฏิบัตหิ นา้ ท่อี ยา่ งมีความสุข ซงึ่ จะก่อใหเ้ กิดผลลัพธ์ของการทำงานในภาพรวมท่ีมี
ความสุขเช่นกัน
10) U : Unity ความสามคั คี ความเป็นเอกภาพ

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 23

ความสามัคคี หมายถึง การทำงานอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะทำงาน ก่อเกิดเป็นความสามัคคี
ในองค์กร ส่งผลใหส้ ถานศึกษามีความเป็นเอกภาพ

11) M : Moral คณุ ธรรม
คณุ ธรรม หมายถงึ การทำงานทุกขัน้ ตอนคณะทำงานต้องทำงานโดยยึดหลักคุณธรรม อนั จะนำไปสู่การมี
คณุ ธรรมประจำตนท่ีสามารถนำไปใช้ในชวี ติ ได้จริง
2) ดา้ นการจดั การเรยี นรู้ คือรปู แบบการจดั การเรยี นรู้ โดยใชน้ วตั กรรม 4 ส. For Thai Model
เพือ่ ยกระดับผลสัมฤทธ์กิ ารทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาติขนั้ พ้นื ฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาไทย

แนวทางการพฒั นานวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรม 4 ส. For Thai Model มีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมตามขั้นตอน และ

มีการปรับปรุงตลอดจนการพัฒนาอย่างตอ่ เนื่อง โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เป็นกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงให้
มคี ุณภาพและเกิดผลสำเรจ็ ดังน้ี

ข้นั ตอนที่ 1 วางแผน (Plan)
1. สร้างความตระหนักให้ครู ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนถือว่าเปน็
“เจ้าของโรงเรยี นร่วมกัน” และมีเป้าหมายอยูท่ ่ีคณุ ภาพของผู้เรยี น
2. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอก (SWOT Analysis) ที่มีผลต่อการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา
ขนั้ ตอนที่ 2 ปฏิบตั ิ (Do)
3. ผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community : PLC)
4. รว่ มพฒั นานวตั กรรมการจัดการเรียนรู้
5. ร่วมดำเนนิ การตามนวัตกรรมการจดั การเรยี นรู้อยา่ งต่อเนอ่ื ง

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 24

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบการปฏิบัตติ ามแผน (Check)
6. ร่วมเก็บขอ้ มูล วเิ คราะห์ผลการปฏิบตั ิผ่านวง PLC
7. ประเมินผล สรุปผลการนำนวัตกรรมกรรมไปใช้
ขัน้ ตอนท่ี 4 ปรับปรุงแกไ้ ข (Act)
8. นำผลการนำนวตั กรรมไปใช้ มาปรบั ปรุง พฒั นานวตั กรรมใหม้ ีประสิทธภิ าพมากยง่ิ ขึน้
เคร่ืองมอื ในการเก็บรวบรวมขอ้ มลู
1) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้นวตั กรรม 4 ส. For Thai Model
2) แบบประเมนิ คณุ ภาพของการจดั การเรยี นรู้ โดยใช้นวัตกรรม 4 ส. For Thai Model
3) แบบประเมินผลการจดั การเรยี นรู้ โดยใชน้ วตั กรรม 4 ส. For Thai Model
การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการเก็บรวบรวมจากแบบประเมิน เพื่อติดตามผล
การดำเนินงาน จะมกี ารสะท้อนผลและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพยงิ่ ขนึ้
การจัดกระทำและวิเคราะห์ขอ้ มูล
1. นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม จากแบบประเมินมาวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการตามแผน
การปฏบิ ัตงิ าน
2. ศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล สะท้อนผล
การพัฒนาเพื่อนำสู่การตัดสินใจ ปรับปรุง พัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ และเรียบเรียงนำเสนอผลสำเร็จ
ของรปู แบบการบรหิ ารจดั การยกระดบั คุณภาพการศกึ ษา
กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใชน้ วตั กรรม 4 ส. For Thai Model
1) ส.สร้าง คือ การสรา้ งคลงั ข้อสอบ
2) ส.สอน คอื การสอนเพอื่ สรา้ งองคค์ วามรู้
3) ส.เสริม คอื การสอนเสรมิ เพ่ิมความรู้
4) ส.สอบ คอื การวัดผลและประเมินผล
1) ส.สรา้ ง เปน็ การสร้างคลงั ข้อสอบ โดยการวิเคราะหข์ ้อสอบ (O-NET) ย้อนหลัง 4 ปี โดยมขี น้ั ตอนดังนี้

1.1) ผู้บริหารประชุมวางแผน วางระบบการจัดการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
คำแนะนำในการแก้ไขปัญหายกระดับผลสัมฤทธ์ิการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาติข้ันพืน้ ฐาน (O-NET)

1.2) ครูวิเคราะห์ข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่
ปีการศกึ ษา 2559 ถึงปีการศกึ ษา 2562

1.3) ครูแยกข้อสอบตามมาตรฐานตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกับ ตารางวิเคราะห์การออกแบบการสร้าง
แบบทดสอบ (Test Blueprint) ปกี ารศึกษา 2563

1.4) ครสู ร้างคลงั ขอ้ สอบตามมาตรฐานตวั ชวี้ ัด ให้สอดคล้องกับตารางวเิ คราะห์ การออกแบบการสร้าง
แบบทดสอบ (Test Blueprint) ปกี ารศึกษา 2563

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 25

2) ส.สอน เป็นการสอนเพื่อสร้างองค์ความรู้ โดยการเรียงลำดับความสำคัญของมาตรฐานตัวชี้วัด
ที่ต้องรู้และควรรู้ ให้สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์การออกแบบการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint)
ปีการศึกษา 2563 โดยมขี ั้นตอนดังนี้

2.1) วิเคราะห์ เรียงลำดับความสำคัญ ของมาตรฐานตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้รายวิชาภาษาไทย
ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 6

2.2) เตรยี มเนื้อหาในการสอน ให้สอดคลอ้ งกบั มาตรฐานตวั ช้ีวัดทต่ี อ้ งรแู้ ละควรรู้
2.3) จัดเตรียมสอ่ื การสอนเพ่ือสง่ เสริมการเรยี นรตู้ ามมาตรฐานตวั ชวี้ ดั
2.4) จดั เตรียมใบงาน เนน้ การปฏิบัติ การคิดวเิ คราะหใ์ ห้สอดคลอ้ งกับเนื้อหาโดยตรง
2.5) ตรวจใบงาน เพ่ือประเมินความร้คู วามเข้าใจของผเู้ รยี น
3) ส.เสริม เป็นการสอนซอ่ มเสรมิ เพ่อื แก้ไขและพัฒนาคุณภาพผ้เู รียน โดยมขี ั้นตอนดงั น้ี
3.1) แยกนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอ่อน กลุ่มปานกลาง และกลุ่มดี โดยใช้เกณฑ์การทดสอบ
ดา้ นการอา่ น การเขียน การคดิ วิเคราะห์ และการสงั เกต
3.2) จดั ทำแผนการสอนซ่อมเสรมิ เพือ่ นำมาสอนเสรมิ กล่มุ ออ่ น
3.3) นำข้อสอบจากคลงั ขอ้ สอบมาใชใ้ นการสอนซ่อมเสรมิ กลุม่ ปานกลาง และกลมุ่ ดี
3.4) ผู้เรยี นเลือกขอ้ สอบตามท่ีสนใจคนละ 3 ขอ้ ต่อสปั ดาห์ แลว้ อธิบายการวิเคราะห์ข้อสอบให้เพ่ือนฟัง
ตามความเข้าใจของตนเอง โดยมคี รเู ปน็ ผ้สู นบั สนุนการเพม่ิ เนื้อหาความรู้
3.5) ครแู ละนักเรียนสรุปองค์ความรู้ทีไ่ ดร้ ับรว่ มกนั
4) ส.สอบ เป็นการสอบเพื่อวัดผลและประเมินผล โดยการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบที่ครูจัดทำเป็นคลัง
ขอ้ สอบตามมาตรฐานตวั ชวี้ ดั ทส่ี อดคล้องกับตารางวิเคราะห์การออกแบบการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint)
ปกี ารศึกษา 2563 โดยมีขั้นตอนดังน้ี
4.1) นักเรียนทำแบบทดสอบ Pre-Test จากคลังข้อสอบตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับตาราง
วิเคราะหก์ ารออกแบบการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) ปีการศึกษา 2563
4.2) ผู้เรียนจับสลากเลือกข้อสอบจากคลังข้อสอบ 1 ข้อ ต่อสัปดาห์ แล้ววิเคราะห์โจทย์
ตาม ความเขา้ ใจของตนเองให้เพอ่ื นฟัง เพือ่ แลกเปลยี่ นวิธีคิด โดยมคี รเู พ่ิมเติมเนื้อหาให้
4.3) นักเรียนทำแบบทดสอบ Post-Test จากคลังข้อสอบตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับ
ตารางวิเคราะหก์ ารออกแบบการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) ปกี ารศึกษา 2563
4.4) การวัดผลและประเมินผลจากการเปรียบเทียบคะแนน Pre-Test กับ Post-Test เพื่อจัดเก็บ
ข้อมูลนำมาพฒั นาผ้เู รียนต่อไป

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี 26

3) ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล คือรูปแบบการนิเทศภายในแบบ POCRPK เพื่อพัฒนา
สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บูรณาการความรู้ ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี
ระดับประถมศึกษา

รปู แบบการนเิ ทศภายในแบบ POCRPK เพอื่ พฒั นาสมรรถนะครูด้านการจดั การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21
บูรณาการความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีระดับประถมศึกษา หมายถึง รูปแบบการนิเทศภายใน
ทสี่ รา้ งและพฒั นาข้นึ ทีป่ ระกอบดว้ ย 6 องค์ประกอบ คือ

1.1 การจดั เตรียมการ (Preparation: P)
1.2 การสงั เกต (Observation: O)
1.3 การสอนแนะ (Coaching: C)
1.4 การสะทอ้ นผล (Refection: R)
1.5 การแลกเปลย่ี นเรยี นรู้ (Professional Learning Community: PLC)
1.6 การจดั การความรู้ (Knowledge Management: KM)
โดยมขี นั้ ตอนในการนิเทศภายในดงั นี้
ขั้นท่ี 1 สำรวจ สภาพปัจจุบนั ปัญหา ความตอ้ งการของครทู ี่มตี ่อการนเิ ทศภายใน
ขน้ั ที่ 2 ชี้แจงวัตถปุ ระสงค์การนเิ ทศภายใน
ขั้นที่ 3 การต้งั เปา้ หมายที่ท้าทายและเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้
ข้ันที่ 4 ปฏบิ ัติตามแผนการจดั การเรยี นรู้
ข้นั ที่ 5 ตรวจ ตดิ ตาม วัดประเมนิ ผล
ขัน้ ท่ี 6 การทบทวน สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ให้ครทู ราบ

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั อุบลราชธานี 27

2. สมรรถนะครูดา้ นการจัดการเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี 21 หมายถงึ ทักษะและความสามารถของครูท่ีส่งผล
ตอ่ การพัฒนาผเู้ รยี นได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ ในการพฒั นาสมรรถนะ 5 สมรรถนะ ดังนี้

C1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรบู้ รู ณาการเทคโนโลยี (TPACK)
C2 สมรรถนะด้านการจดั การเรียนรู้ของครูท่ีพัฒนาผ้เู รยี นในศตวรรษที่ 21
C3 สมรรถนะด้านการบรหิ ารหลกั สตู รสู่การจัดการเรียนรใู้ นห้องเรยี น
C4 สมรรถนะด้านการบริหารจดั การช้ันเรียนในศตวรรษท่ี 21
C5 สมรรถนะดา้ นการวิจัยในชนั้ เรยี นเพอื่ พัฒนาผเู้ รียน
3. C1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการเทคโนโลยี (TPACK) หมายถึง พฤตกิ รรมทค่ี าดหวัง
จากการพัฒนาสมรรถนะครู คอื
3.1 ครมู คี วามรู้ในเนอ้ื หาที่สอนเป็นอย่างดี (CK)
3.2 ครมู วี ธิ ีการสอนที่หลากหลาย (PK)
3.3 ครรู ้จู ักเทคโนโลยีในการจดั การเรียนรู้ (TK)
3.4 ครูนำเทคโนโลยมี าใชใ้ นการจัดการเรยี นรู้ (TPACK)
4. C2 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 หมายถึงพฤติกรรมที่คาดหวัง
จากการพฒั นาสมรรถนะครู ครตู อ้ งรู้ทกั ษะของผูเ้ รียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3Rx8C
3R คอื 1) อ่านออก 2) เขยี นได้ 3) คิดเลขเป็น
8C คือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา 2) ทักษะด้าน
การสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ 4) ทักษะด้านความเข้าใจ
ต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ 5) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ 6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ 8) มีคุณธรรม มีเมตตากรุณา
มีระเบยี บวนิ ัย
5. C3 สมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรสู่ห้องเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังจากการพัฒนา
สมรรถนะครู
5.1 ครูออกแบบการสอนโดยบรู ณาการเทคโนโลยไี ด้อย่างเหมาะสม
5.2 ครอู อกแบบการจัดการเรยี นรู้เพอ่ื พฒั นาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผเู้ รียน
6. C4 สมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวัง
จากการพัฒนาสมรรถนะครู
6.1 ครจู ดั การช้ันเรียนเพอ่ื การเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี 21
6.2 ครจู ดั การบรรยากาศการเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 28

7. C5 สมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวัง
จากการพฒั นาสมรรถนะครู

7.1 ครวู เิ คราะหผ์ เู้ รยี นรายบุคคลเพื่อระบุปญั หาในการเรยี นรู้
7.2 ครแู ก้ปัญหาให้ผเู้ รยี น เปน็ ระบบตามขน้ั ตอนการวิจยั ในชั้นเรยี น

จึงได้มีการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
ดา้ นการจัดการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงการใช้เทคนิคการนเิ ทศแบบ PLC เทคนิคแบบสอนแนะ
Coachching เทคนิคแบบ KM เทคนิคแบบสะท้อนคิด และเทคนิคแบบสังเกตการสอน Observation นำเอา
เทคนิคดังกล่าวมาใช้พัฒนาสมรรถนะครูร่วมทั้งนำกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี
(TPACK) มาใช้เปน็ กรอบแนวคิดในการพฒั นาสมรรถนะครดู ้านการจดั การเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21

ผลทไี่ ด้รบั จากการดำเนินงาน
1. ผลทเ่ี กดิ กับสถานศึกษา/ชุมชนและสงั คม
สถานศึกษามีกระบวนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมภายใน

สถานศึกษาและบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมีกระบวนการขับเคลื่อนมีผลการดำเนินงานที่สอด คลองกับ
วัตถปุ ระสงค์และเปา้ หมาย สรุปได้ดังน้ี

1. สถานศึกษามีข้อมูลสารเทศ ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู ทางการศกึ ษาในระดับสถานศึกษาและระดับ
ห้องเรียน จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานได้ครบถ้วน ครอบคลุมการใช้งานและสารสนเทศที่จัดเก็บไว้
มีความถูกต้องสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เป็นระบบทันสมัยต่อการใช้งานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำข้อมูลและ
สารสนเทศไปใช้ในการบริหารและจัดการงานของสถานศึกษา และพฒั นาการจดั การเรยี นการสอนไดเ้ กิดประโยชน์
คมุ้ คา่ มกี ารเผยแพรข่ อ้ มูลสารสนเทศ และกจิ กรรมในสถานศึกษาโดยใช้วิธกี ารท่ีหลากหลายและนา่ สนใจมีผลงาน
ปรากฎชดั เจน

2. สถานศึกษามีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมท่ีสอดคล้องกับนวัตกรรมการพัฒนา จัดทำแผน
ปฏิบัติการประจำปี แผนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET โดยกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน ออกแบบและ
จัดการเรียนรู้ การนิเทศตดิ ตามและประเมินผล ตามปฏิทนิ การพัฒนานวตั กรรม

3. สถานศึกษามีกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning
Community) สัปดาห์ละครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหา
เกี่ยวกบั การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้เพอ่ื นำมาหาแนวทางในการแกป้ ญั หาร่วมกันทุกคน

4. สถานศกึ ษามกี ระบวนการการนิเทศภายใน แก้ปัญหาการจดั การเรยี นร้ใู นการพฒั นาคุณภาพ
การจดั การศกึ ษา

5. สถานศึกษาได้บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเป็นภาคี
เครือข่ายประสานความร่วมมือ ส่งเสริมสนบั สนุนการพฒั นาคุณภาพการศึกษา และระดมทรัพยากร เพอื่ การศกึ ษา
สถานศกึ ษามเี ครอื ข่ายการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา

สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 29

2. ผลทเี่ กดิ ข้ึนดา้ นครูผ้สู อน
1. ครูผู้สอนมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน

โดยยดึ ปัญหาเปน็ ฐาน (Problem base)
2. ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีนักเรียนมีส่วนร่วม

ในการจัดกิจกรรมรู้ที่ (Active Learning) มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ
ไดร้ ับการนเิ ทศเพือ่ การพัฒนาคณุ ภาพการจัดการเรียนรู้

3. ครูผู้สอนมีการพฒั นาสื่อการเรียนรู้ โดยครูออกแบบและพัฒนาสื่อนวตั กรรมเทคโนโลยี เพื่อใช้
ประกอบการจดั กิจกรรมการจัดการเรยี นรู้

4. ครูผูส้ อนมกี ารวดั และประเมนิ ผลที่หลากหลายและมีประสทิ ธิภาพ
3. ผลท่เี กิดข้นึ ด้านผ้เู รียน

1. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะ
ในการเรียนรู้และนวัตกรรม มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีและสืบค้นข้อมูลคิดอยา่ ง
มวี ิจารณญาณสามารถแก้ปญั หาได้

2. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน มีส่วนร่วมในกระบวนการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ผู้เรียนได้ฝึกการปฏิบัติจริง มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการ
จดั กิจกรรมการเรียนรู้ ไดฝ้ ึกทักษะวชิ าชีพโดยบูรณาการหน่วยการเรยี นร้ขู องเศรษฐกจิ พอเพยี งกับสาระการเรียนรู้
ทุกกล่มุ สาระการเรียนรู้

3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สืบสานประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
ปรบั ตัวเข้ากบั สถานการณ์ และสามารถดูแลตนเองได้

4. ผู้เรียนมีความนอบน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสม มีสมาธิ
ในการเรยี นรู้ดขี นึ้ ตามแนวทางจติ ศกึ ษาและส่งผลตอ่ การพัฒนาคุณภาพผ้เู รยี นทุกดา้ นอย่างย่งั ยืน

4. ผลที่เกดิ ขึน้ อ่ืน ๆ
มีเครือข่ายด้านการศึกษาทุกภาคส่วนร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการศึกษา

ด้านการจดั การเรียนรู้ และดา้ นการนิเทศ ตดิ ตามและประเมนิ ผล
ปญั หา อปุ สรรค

ในการดำเนินงานกิจกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การคัดเลือกนวัตกรรมรูปแบบและ
แนวทางการบริหารการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE)
นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระหว่าง
สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดต่อ ( COVIC - 19 ) ทำใหก้ ระบวนการทำงานไมเ่ ตม็ ท่ี

สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 30

ภาคผนวก

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 31

แบบเกบ็ ขอ้ มูลสารสนเทศ นวตั กรรม และงานวิจัยทางการศึกษา
1. ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาตขิ นั้ พืน้ ฐาน (O-NET) โรงเรยี นที่จัดการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน

จำนวนโรงเรยี นทั้งหมด ปีการศึกษา 2561=1132 การศึกษา 2562=1134 ปีการศึกษา 2563=1038 แหง่
1.1 ค่าเฉลยี่ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้นั พ้ืนฐาน (O-NET) ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6

สงั กัด/ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภาษาองั กฤษ

กล่มุ สาระ 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563

สพป. 51.39 45.26 40.86 32.5 29.28 27.28 36.83 32.64 35.93 32.5 28.93 35.36
สพม. - - - - - -

สช. 49.43 43.28 39.17 30.7 27.52 27.36 36.35 31.37 35.05 35.22 31.08 39.9
อปท. 48.87 43.86 38.38 28.6 27.92 25.74 34.2 30.9 33.6 31.32 27.57 35.27
พศ. 37.96 35.52 30.79 21.72 23.06 22.26 29.43 27.81 28.65 26.98 26.05 27.17

ตชด. 45.88 40.78 35.21 25.05 25.65 24.08 32.92 28.18 30.67 28.27 26.1 28.72
สกอ. 54.05 58.01 50.67 50.34 48.82 42.56 44.55 45.45 52.8 57.07 59.04 71.34
กศ. 47.66 39.21 30.79 40.94 25 20.53 43.91 25.66 33.08 35.16 25.89 27.11
สพล. - - - - - - - - - - - -
รวม/เฉล่ยี 51 44.89 40.5 32.08 28.97 27.53 36.65 32.37 35.71 32.85 29.23 35.92

จำนวนโรงเรียนทงั้ หมด ปกี ารศึกษา 2561= 420 การศกึ ษา 2562 = 418 การศึกษา 2563 = 346 แห่ง

1.2 คา่ เฉลย่ี ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาติข้นั พื้นฐาน (O-NET) ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3

สังกัด/ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาองั กฤษ

กล่มุ สาระ 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563

สพป. 46.72 49.66 48.98 23.95 21.45 20.43 32.39 28.46 27.19 25.68 27.55 27.61
สพม. 54.58 56.31 56.5 29.89 26.69 27.22 36.18 30.25 30.4 28.8 32.57 35.35

สช. 48.41 49.58 50.11 24.7 21.65 20.96 32.16 28.52 27.65 27.33 30.33 31.19
อปท. 50.19 51.18 49.99 25.88 22.51 22.75 33.26 28.33 28.11 26.4 28.69 30.16

พศ. 38.71 39.5 37.49 22.04 19.01 20.5 28.7 26.18 25.41 25.95 26.29 24.83
ตชด. - - - - - - - - - - - -
สกอ. - - 60.34 - - 33.79 - - 36.57 - - 49.74
กศ. 44.88 47.48 44.74 24 20.96 18.34 31.14 28.33 25.41 27.1 0 28.88
สพล. 47.29 48.33 42.48 23.48 20.25 20.14 31.52 26.8 28.03 5.48 0 25

รวม/เฉลีย่ 50.64 52.65 52.49 26.89 23.94 23.8 34.1 29.23 28.78 27.36 30.1 31.71

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี 32

รวม/เฉล่ีย สพล. ตชด. พศ. อปท. สช. สพม. สพป. สงั กดั /
กศ. กลุม่ สาระ

43.59 31.46 37.6 - 30.46 40.11 37.46 45.29 38.21 2561 ภาษาไทย จำนวนโรงเรยี นทง้ั หมด ปกี ารศึกษา 2561= 124 การศกึ ษา 2562 = 124 การศึกษา 2563 = 131 แห่ง
39.31 30.78 35.49 - 29.74 35.63 34.55 40.77 38.02 2562 1.3 ค่าเฉล่ียผลการทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาติข้ันพ้นื ฐาน (O-NET) ชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 6
40.85 34.24 34.94 - 28.52 37.22 36.27 42.41 37.46 2563 คณติ ศาสตร์
25.37 16.8 17.64 - 16.39 21.82 20.25 26.87 20.54 2561
สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี 33 21.45 15.32 16.36 - 15.1 18.51 17.68 22.61 17.27 2562 วทิ ยาศาสตร์
22.92 17.15 16.93 - 17.13 19.98 19.09 24.11 19.3 2563
28.52 23.31 25.38 - 22.95 26.98 25.84 29.27 25.94 2561 ภาษาอังกฤษ สงั คมศกึ ษา

27.17 22.49 25.49 - 23.33 25.92 25.07 27.76 25.15 2562

30.34 26.9 26.95 - 23.91 28.05 26.87 31.34 27.82 2563

27.14 20.02 22.29 - 20.8 23.92 26.15 28.05 21.39 2561
25.59 21.71 22.48 - 21.02 22.52 24.56 26.39 23.26 2562
26.09 20.35 21.3 - 21.2 23.16 24.94 26.93 23.46 2563
33.6 30.47 31.58 - 28.95 32.61 31.24 34.17 31.26 2561
33.79 29.95 31.44 - 29.78 32.28 30.97 34.52 30.16 2562
34.57 30.74 30.09 - 29.27 33.19 32.23 35.28 33.05 2563

1.4 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้ันพื้นฐาน (O-NET) ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6 รอ้ ยละของจำนวน

นกั เรียนทม่ี ีคะแนนเฉลี่ยผา่ นเกณฑร์ ้อยละ 50 ข้นึ ไป

สังกดั / ภาษาไทย คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

กล่มุ สาระ 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563

สพป. 9237 5989 7288 2904 1648 795 2267 1558 1685 1614 893 2113

สพม. - - - - - - - - - - - -

สช. 1499 999 1006 455 248 124 393 262 245 480 321 501

อปท. 383 265 292 84 48 22 63 49 50 56 32 95

พศ. 7 3 10 1 1 0 2 0 1 1 0 1

ตชด. 42 26 45 5 5 1 6 1 5 0 0 3

สกอ. 22 29 36 13 18 16 11 14 23 17 22 29

กศ. 12 3 2 4 1 0 5 0 1 0 0 0

สพล. - - - - - - - - - - - -

รวม/เฉลย่ี 11202 7314 8679 3466 1969 958 2747 1884 2010 2168 1268 2742

1.5 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขนั้ พืน้ ฐาน (O-NET) ช้นั มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 ร้อยละของจำนวน

นกั เรยี นท่ีมีคะแนนเฉล่ียผา่ นเกณฑ์ร้อยละ 50 ขึ้นไป

สังกัด/ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภาษาองั กฤษ

กลุ่มสาระ 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563 2561 2562 2563

สพป. 2415 3022 1971 55 60 20 215 22 18 6 25 59

สพม. 5329 6037 3617 792 682 486 1012 242 230 422 859 850

สช. 881 985 621 43 31 13 69 9 7 57 114 95

อปท. 917 1016 497 59 38 39 102 8 13 16 33 53

พศ. 85 97 18 1 0 0 5 1 0 0 1 0

ตชด. -- --------- -

สกอ. - - 23 - - 7 - - 3 - - 12

กศ. 22 38 9 1 1 0 0 0 0 1 0 1

สพล. 25 20 13 2 0 0 1 0 0 0 0 0

รวม/เฉลยี่ 9674 11215 6769 953 812 565 1404 282 271 502 1032 1070

สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี 34

1.6 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตขิ ้ันพ้ืนฐาน (O-NET) ช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ 6 ร้อยละของจำนวน

นกั เรียนที่มีคะแนนเฉลย่ี ผา่ นเกณฑ์ ร้อยละ 50 ขึ้นไป

สงั กดั / ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศกึ ษา
กล่มุ สาระ
3373 2 8 - 7 295 180 2873 8 2561
สพป. 2003 0 3 - 7 135 93 1755 10 2562
สพม. 2757 7 7 - 10 224 132 2359 18 2563
855 0 0 - 0 45 23 786 1 2561
สช. 561 0 0 - 0 26 11 524 0 2562
613 0 0 - 0 30 15 567 1 2563
อปท. 338 0 0 - 0 9 6 323 0 2561
303 0 1 - 0 15 7 280 0 2562
พศ. 627 2 1 - 0 23 14 587 0 2563
ตชด. 644 0 1 - 0 13 51 579 0 2561
กศ. 736 0 0 - 0 6 24 402 1 2562
สพล. 514 0 0 - 0 9 27 477 1 2563
รวม/เฉลย่ี 215 0 0 - 0 16 3 196 0 2561
341 0 1 - 2 24 11 303 0 2562
349 0 0 - 0 14 8 327 0 2563

2. นวตั กรรมทางการศึกษา

ด้านการบรหิ ารจัดการ ดา้ นการจัดการเรียนรู้ ดา้ นการนเิ ทศการศกึ ษา

ชอ่ื นวัตกรรม โรงเรยี น ชือ่ นวัตกรรม โรงเรียน ช่อื นวัตกรรม โรงเรยี น

1.รปู แบบการ โคกสว่าง 1.การจดั การเรยี นรู้ 1.บ้านนำ้ ขุ่น 1.การนเิ ทศภายใน ชมุ ชนบ้าน
บริหารงาน โดยใช้ K – ค้มุ วทิ ยา โดยใช้นวัตกรรม ๔ ส. คำนกเปลา้ แบบ POCRPK เพ่ือ หนองบอ่
SAWANGKHUM นสุ รณ์ For Thai Model พฒั นาสมรรถนะครู (วจิ ติ รราษฎร์
MODEL เพอ่ื พฒั นา ดา้ นการจัดการเรยี นรู้ สามัคค)ี
ผลสัมฤทธ์ิทางการ ในศตวรรษที่ ๒๑
เรยี นของนักเรียน บูรณาการความรู้ ใน
โรงเรียนโคกสวา่ งคมุ้ เนื้อหาผนวกวิธสี อน
วิทยานสุ รณ์ และเทคโนโลยี

สำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี 35

นวตั กรรมทางการศึกษา (ต่อ)

ด้านการบรหิ ารจัดการ ด้านการจัดการเรยี นรู้ ดา้ นการนิเทศการศึกษา

ชื่อนวัตกรรม โรงเรียน ชอ่ื นวัตกรรม โรงเรียน ช่ือนวัตกรรม โรงเรยี น

2.การพัฒนารปู แบบ เทศบาล 2.การพัฒนาการ 2.ชมุ ชนบ้าน 2.การนิเทศ ตดิ ตาม เชยี งแก้ว
การบรหิ ารจดั การโดย วารนิ จดั การเรียนรโู้ ดยใช้
ใชก้ ระบวนการเรยี นรู้ วชิ าชาติ วงจรคุณภาพ PDCA หนองบอ่ และประเมนิ ผล พิทยาคม
เชงิ รกุ รว่ มกับกลยุทธ์ (วจิ ติ รราษฎร์
สามัคค)ี โดยใช้ CPK SMILE

MODEL

5T เพ่ือยกระดบั

ผลสมั ฤทธ์ทิ างการ

เรยี น ของนักเรยี นชน้ั

ประถมศกึ ษาปีท่ี 6

โรงเรียนเทศบาลวาริน

วิชาชาติ

3.การบรหิ ารจัดการ บา้ นนำ้ 3.POPULAR 3.บา้ น
ยกระดับคณุ ภาพ ข่นุ คำนก MODELเพื่อ หนองเม็ก
การศึกษาโดยใช้ เปล้า พฒั นาการจัดการ
“CARE Modle :
แคใ่ ส่ใจ” เรยี นรู้กลมุ่ สาระการ
เรียนรภู้ าษาไทย

โรงเรยี นบ้าน

หนองเม็ก

สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี 36

บัญชีรายชื่อโรงเรียนโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE)
นวัตกรรมการศึกษา เพ่ือพัฒนาการศึกษา

ลำดบั โรงเรยี น สังกัด อำเภอ

๑. ดอนมดแดง (บา้ นดงบัง) สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๑ ดอนมดแดง

๒. ชมุ ชนบา้ นหนองบอ่ สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๑ เมอื ง

(วิจติ รราษฎร์สามคั คี)

๓. บ้านผาแกว้ สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๑ เมอื ง

๔. โรงเรียนบ้านหนองฮาง สำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๑ ม่วงสามสิบ

๕. บา้ นคำมณี สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๒ โพธิไ์ ทร

๖. บ้านห้วยที สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒ ตระการพชื ผล

๗. โรงเรียนบ้านหนองเต่า สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาอบุ ลราชธานี เขต ๒ นาตาล

เพชรเจรญิ

๘. โรงเรียนบา้ นดอนใหญ่ สำนกั งานเขตพนื้ ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๒ ตระการพชื ผล

๙. บา้ นมว่ งโคน สำนกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๓ ตาลสุม

๑๐. บ้านคำกอ้ ม สำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๓ สริ ินธร

๑๑. บ้านคนั ไร่ สำนกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๓ สิรนิ ธร

(อาภากโรครรุ าษฎร)์

๑๒. โรงเรียนชุมชนบา้ นระเว สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๓ พิบลู มงั สาหาร

๑๓. โรงเรียนบา้ นหนองเม็ก สำนกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาอบุ ลราชธานี เขต ๓ สริ ินธร

๑๔. บา้ นหนองศิลา สำนักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔ สำโรง

(พรชุมชนวทิ ยา)

๑๕. โรงเรียนบา้ นน้ำเทย่ี ง สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต ๔ วารินชำราบ

๑๖. โรงเรียนบา้ นปา่ ข่า สำนักงานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๔ สวา่ งวรี ะวงศ์

๑๗. บา้ นม่วงนาดี สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๕ เดชอดุ ม

๑๘. บ้านอดุ มสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ เดชอุดม

๑๙. บ้านน้ำขุ่นคำนกเปล้า สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๕ ทุ่งศรีอุดม

๒๐. โรงเรียนชุมชนบ้านปลาขาว สำนกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต ๕ น้ำยืน

๒๑. วัดไรน่ ้อย สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสรมิ การศึกษาเอกชน เมือง

๒๒. ประสทิ ธิ์ศกึ ษาสงเคราะห์ สำนักงานคณะกรรมการการสง่ เสรมิ การศึกษาเอกชน เมอื ง

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี 37

บญั ชีรายช่ือโรงเรียนโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE)
นวตั กรรมการศึกษา เพอ่ื พฒั นาการศึกษา

ลำดับ โรงเรียน สงั กัด อำเภอ
ดอนมดแดง
๒๓. สีทองอุปภัมภ์ สำนกั งานคณะกรรมการการส่งเสรมิ การศกึ ษาเอกชน เข่ืองใน
โพธิ์ไทร
๒๔. นนั ตาศกึ ษา สำนักงานคณะกรรมการการสง่ เสริมการศกึ ษาเอกชน ดอนมดแดง
เมอื ง
๒๕. วุฒิศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการสง่ เสรมิ การศึกษาเอกชน ตาลสุม
สำโรง
๒๖. ดอนมดแดงวทิ ยาคม สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษามธั ยมศึกษาอบุ ลราชธานี อำนาจเจริญ วาริน
พบิ ลู
๒๗. หนองบ่อสามคั ควี ิทยา สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษามัธยมศกึ ษาอบุ ลราชธานี อำนาจเจรญิ เมือง
ตาลสมุ
๒๘. เชียงแก้วพทิ ยาคม สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
เดชอุดม
๒๙. โคกสว่างคุม้ วทิ ยานุสรณ์ สำนกั งานเขตพนื้ ทกี่ ารศึกษามัธยมศกึ ษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
โขงเจยี ม
๓๐. โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ กองการเทศบาลเมืองวารนิ ชำราบ สริ นิ ธร
สริ ินธร
๓๑. โรงเรยี นโนนกลางวทิ ยาคม องคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั อบุ ลราชธานี บณุ ฑริก
น้ำยืน
๓๒. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒ สำนกั บรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ เขต ๑๐ น้ำยนื
น้ำยืน
๓๓. โรงเรียนวดั หนองเปด็ สำนกั งานพระพุทธศาสนาจงั หวัดอบุ ลราชธานี/ น้ำข่นุ
๓๔. โรงเรียนวดั เวยี งเกษม เขมราฐ
สำนักเขตการศกึ ษาพระปรยิ ัตธิ รรม แผนสามัญศกึ ษา เขต ๙
กดุ ข้าวปุน้
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวดั อบุ ลราชธานี

สำนกั เขตการศกึ ษาพระปรยิ ัติธรรม แผนสามัญศกึ ษา เขต ๙

๓๕. ตชด.บ้านปากลา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๒ จังหวดั อบุ ลราชธานี

๓๖. ตชด.บ้านแกง่ ศรโี คตร กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ท่ี ๒๒ จงั หวดั อุบลราชธานี

๓๗. ศนู ย์การเรยี นรู้ ตชด.ชมุ ชนป่าหญา้ คา กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ท่ี ๒๒ จังหวดั อบุ ลราชธานี

๓๘. ตชด.ศจ.ดร.เนวิน สครมิ ชอว์ กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๒ จังหวดั อบุ ลราชธานี

๓๙. ตชด.บา้ นท่าแสนคูณ กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๒ จงั หวัดอบุ ลราชธานี

๔๐. ศนู ย์การเรียนรู้ ตชด.บา้ นหนองบัวพัฒนา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ท่ี ๒๒ จงั หวดั อุบลราชธานี

๔๑. ตชด.บา้ นคำสะอาด กองบญั ชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๒ จงั หวดั อุบลราชธานี

๔๒. ตชด.บา้ นตาเอ็ม กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ท่ี ๒๒ จงั หวัดอบุ ลราชธานี

๔๓. ศูนยก์ ารเรยี นรู้ ตชด.เอ ไอ เอ ประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ท่ี ๒๒ จังหวัดอบุ ลราชธานี

(บา้ นบา๋ ฮี)

๔๔. ศนู ย์การเรยี นรู้ ตชด.พิทกั ษป์ ญั ญา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๒๒ จังหวดั อุบลราชธานี

(บ้านดงตาหวาน)

หมายเหตุ โรงเรยี นในโครงการ TFE (Teams For Education)

โรงเรยี นในโครงการ Coaching Teams

โรงเรียนในโครงการท่ีซำ้ ทัง้ ๒ โครงการ

สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี 38

รปู ภาพประกอบผลการดำเนนิ โครงการ
สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี 39

นเิ ทศ กำกับ ตดิ ตาม ณ โรงเรียนกลุม่ เป้าหมาย
สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี 40

ประชมุ เสวนาแลกเปลี่ยนเรยี นรู้และคัดเลือกนวตั กรรมระดับจงั หวัดอบุ ลราชธานี
ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารนิ ชำราบ จงั หวดั อบุ ลราชธานี

สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี 41


Click to View FlipBook Version