The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by opol555, 2021-09-14 02:28:00

book original_Sep 13

วันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔

บทอาศิรวาท

กรประนมก้มเกศเกล้า บังคม
พระราชชนนีบรม ราชไท ้

พระพ่างพิรุณพรม ฉ ่าชื่น ชนเอย
อวยสุขสลายทุกข์ให้ เหือดแห้งแล้งสูญ

ขอทูนขอเทิดไท้ พระเทพินทร ์
ทรงรักษ์ป่ารักษ์ดิน กระเดื่องด้าว
ทรงรักษ์ทะเลถิ่น ธารทั่ว หล้าเอย

เพื่อนิกรไท้ท้าว อยู่เหย้าเนาสราญ
พระสมภารโพธิพ้น พรรณนา

เป็นที่พึ่งปวงประชา ยากไร ้
ทรงรับพระราชภาร์ ระดมรับ ทุนเอย

เพื่อราษฎร์เรียนจบได ้ รอดพ้นอนธการ
ลุกาล ม.น.ข. จัดตั้ง หกสิบปี
ส านึกคุณพระชนนี ผ่านเกล้า

พระราชินูปถัมภ์ที่ พระเนื่อง หนุนเฮย
นบบาทพระมาตุเจ้า โอบเอื้อเกื้อกรุณ

ขอคุณพระสถิตทั้ง ทั่วสกล
ดาลพระเกษมเปรมกมล ผ่องแผ้ว
พระสิริสวัสดิ์ชนม์ เจริญยิ่ง ยืนนา

กษัยโศกโรคคลาดแคล้ว ตราบฟ้าดินมลาย


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต - ร้อยกรอง)


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพนปีหลวง
องค์อุปถัมภิกา มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(ภาพพระราชทาน)

ส านึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์อุปถัมภิกามูลนิธิฯ





ค านิยม



มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้
ความช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน ทั้งในเรื่องเครื่องอุปโภค บริโภค และทุนการศึกษา สมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลทื่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับมูลนิธิช่วย
นักเรียนที่ขาดแคลนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์เมื่อเดือน ตุลาคม ๒๕๐๔ ซึ่งจะครบรอบ ๖๐
ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ นี้ ซึ่งเป็นวาระส าคัญของการด าเนินงานในการมอบทุนการศึกษา
ให้กับนักเรียน นักศึกษาผู้มีฐานะยากจน มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความประพฤติ
เรียบร้อย และมีความขยันหมั่นเพียร รวมถึงการจัดหาทุนเพื่อด าเนินงานโครงการพิเศษต่างๆที่
จัดขึ้นตามวาระโอกาส โดยได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
การร่วมมือกับสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ หรือการร่วมมือกับบริษัทกรีนสปอต จ ากัดและองค์กร
เอกชนอื่นๆ เพื่อจัดหาทุนให้กับนักเรียนสายอาชีพและนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น

ข้าพเจ้า ในฐานะที่เคยเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ในช่วงเริ่มต้น ต่อเนื่องมาเป็น
ระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ข้าพเจ้า
ภูมิใจ และดีใจที่เห็นมูลนิธิฯมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนารูปแบบการท างาน

ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
พบว่ายังมี บุคคล องค์กรภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งอดีตนักเรียนทุน ได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือมูลนิธิฯตลอดมา แสดงถึงความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อมูลนิธิฯ และ
เห็นความส าคัญว่าการศึกษามีส่วนส าคัญในการพัฒนาประเทศ
ในวาระที่มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด าเนินงานมา
ครบรอบ ๖๐ ปีของการจัดตั้งมูลนิธิฯในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณ
คณะกรรมการบริหาร อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง
ผู้บริจาคส่วนบุคคล องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน อดีตนักเรียนทุนและสถาบันการศึกษาต่างๆ
ที่ช่วยสนับสนุนการท างานของมูลนิธิฯ ท าให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสศึกษาต่อ
จนจบหลักสูตรปริญญาตรี และสายอาชีพตามก าลังความสามารถของตนเอง สู่การมีอนาคตที่ดี
ขอให้ก าลังใจนักเรียนทุนของมูลนิธิฯ ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร เพื่อเป็นคนดีของ
สังคมตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิฯและเป็นก าลังส าคัญในการมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศต่อไป




นายโชติ โสภณพนิช
ที่ปรึกษากรรมการบริหารมูลนิธิฯ
ประธานกรรมการบริษัท กรีนสปอต จ ากัด



ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์




มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ม.น.ข.)
“Foundation for Needy Students under Royal Patronage of Her Majesty
the Queen” มีก าเนิดจากข้อเสนอของที่ประชุมว่าด้วยจริยศึกษาของกระทรวง
ศึกษาธิการ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ โดยเงินทุนที่ผู้ร่วม
สัมมนาบริจาคจ านวน ๒,๒๐๐ บาท เมื่อความทราบถึงพระกรรณ สมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินที่
ผู้จงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาททูลเกล้าฯถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิม
พระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นทุนด าเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
และทรงรับมูลนิธิฯ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์เมื่อเดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔
อีกทั้งยังทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชด าริเกี่ยวกับการช่วยเหลือนักเรียนที่ขาด
แคลนแก่มูลนิธิฯหลายประการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯได้รับใส่เกล้าฯ ไว้เป็น
หลักในการบริหารงานของมูลนิธิฯด้วยความส านึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ
อย่างหาที่สุดมิได้








































รายพระนาม รายนาม ประธานกรรมการบริหาร
มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบัน






พุทธศักราช ๒๕๐๔ – ๒๕๒๙
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

นายกกรรมการบริหาร


พุทธศักราช ๒๕๓๐ – ๒๕๕๒
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร

นายกกรรมการบริหาร


พุทธศักราช ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕

คุณหญิงอัมพร มีศุข
นายกกรรมการบริหาร


พุทธศักราช ๒๕๕๖ – ๒๕๖๑

หม่อมราชวงศ์โอภาศ กาญจนะวิชัย
ประธานกรรมการบริหาร


พุทธศักราช ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔

นางเดือนฉาย คอมันตร์
ประธานกรรมการบริหาร


พุทธศักราช ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน

นายสุรวัฒน์ ชมภูพงษ์
ประธานกรรมการบริหาร




๖๐ ปี ม.น.ข. ร าลึก



การศึกษาค่าเด่นล ้า ปรากฏ
สร้างรากสร้างอนาคต ทุกผ ู้
ยากไร้ ไปบังบด โอกาส
เราท่านล้วนรับรู้ ช่วยแก้ช่วยท า

น้อมน าแนวด าริสร้าง กองทุน
มูลนิธิสร้างบุญ มากล้น
ม.น.ข. น าหนุน เสริมส่ง
นานเนื่องและขุดค้น เด่นด้อยได้เรียน

ผลเพียรเกินฉ ่าชื้น หฤทัย
ได้รับอุปถัมภ์ใน สมเด็จเจ้าฯ
เวลาที่ผ่านไป หกสิบ ปีเฮย
ผลอะเคื้อ อะคร้าว เจริด แจ้ง แสดงเห็น

ดาวเด่นปรากฏด้าว แดนไทย
ถูกขุดมาเจียรนัย มากล้น
ชูช่อเบ่งบานไสว โดดเด่น
วาววับนับท่วมท้น ทั่วฟ้าสาคร

ขอพรผู้เลิศล ้า โปรดมา
อวยแด่ผู้อุตสาห์ ทั่วถ้วน
ผู้มีส่วนพัฒนา ทั้งหมด
บุญท่านสร้างมากล้วน ค่าล ้าน าไทย


ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์
ประธานกรรมการกลาง
มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้ประพันธ์





สารประธานกรรมการบริหาร
มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔






สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ รับมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์เมื่อ
เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ หลังจากมูลนิธิฯได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๒
สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๖๐ ปี ที่มูลนิธิฯได้ช่วยเหลือ
นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนให้ได้รับการศึกษาจนจบหลักสูตรปริญญาตรี มีอาชีพการ
งานที่มั่นคง เป็นพลเมืองดี สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม จ านวนมาก

ในวาระที่มูลนิธิฯด าเนินการมาอย่าง
ต่อเนื่องยาวนานครบรอบ ๖๐ ปี ในปีพุทธศักราช
๒๕๖๔ ดิฉันขอแสดงความชื่นชมและเป็นก าลังใจ
ให้คณะกรรมการบริหาร อนุกรรมการทุกท่านที่
มุ่งมั่น ตั้งใจเสียสละเพื่อช่วยเหลือและให้โอกาส
นักเรียนที่ขาดแคลนให้ได้รับการศึกษาตามสมควร
แก่ศักยภาพของตนเอง หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามูลนิธิฯ
จะก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีคุณค่า
ของประเทศสืบไป

ขออ านาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง จงดลบันดาลให้คณะ
กรรมการบริหาร อนุกรรมการ และ เจ้าหน้าที่
เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ประสงค์สิ่งใดขอให้สม
ปรารถนาทุกประการ



นางเดือนฉาย คอมันตร์

วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔





สารประธานกรรมการบริหาร

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน






มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ม.น.ข.) ก่อตั้งขึ้นด้วยความ
รักและความปรารถนาดีของท่านผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการจะเห็นเยาวชนของ
ชาติได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม จึงได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิฯ ขึ้น และได้จัดหา
ทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อให้ได้รับการศึกษาตามสมควรแก่อัตภาพ
เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เยาวชนมีความรู้ความสามารถ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับ

ความร่วมมือร่วมใจ จากสถานศึกษาหน่วยงานราชการและองค์กรการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งบริษัท
ห้างร้านและ บุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุน กิจกรรมของมูลนิธิฯ ด้วยดีเสมอมา
มูลนิธิฯ ได้จดทะเบียนก่อตั้งอย่างเป็น
ทางการเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๐๔ และ ต่อมา
ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง มูลนิธิฯ ได้รับ
พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับมูลนิธิฯไว้ใน
“พระบรมราชินูปถัมภ์” ยังความซาบซึ้งในพระ
มหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ บัดนี้มูลนิธิฯ ได้
ด าเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง มาครบ
๖๐ ปีแล้ว และในการด าเนินงานของมูลนิธิฯ ในปี

ต่อจากนี้ไปคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ จะได้มี
การประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อให้การด าเนินงาน
ในอนาคตสอดคล้องกับสถานการณ์ และความ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยไม่
ละเลยสิ่งที่คณะกรรมการบริหารชุดก่อน ๆ ได้
ด าเนินงานไว้อย่างดีเยี่ยม ในเบื้องต้นพวกเราได้
ร่วมกันก าหนดแนวทางการด าเนินงานตามปณิธาน
ที่ว่า “สืบสาน พัฒนา ก้าวหน้า ยั่งยืน”






ในวาระที่มูลนิธิฯ ได้ก่อตั้งและด าเนินงานครบ ๖๐ ปี ผมในนามของคณะ
กรรมการบริหารมูลนิธิฯ ชุดปัจจุบันขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯทุกชุด
ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ตลอดจนหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่กรุณาให้ความร่วมมือ
ส่งเสริมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการด าเนินงานของมูลนิธิฯ เป็นอย่างดีมาโดยตลอด ผม
ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ท่านเคารพนับถือดลบันดาล
และคุ้มครอง ให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยประสบความส าเร็จในชีวิต
ครอบครัวการงานและสมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
มูลนิธิฯ คงจะได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกท่านเช่นนี้ตลอดไป




นายสุรวัฒน์ ชมภูพงษ์
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔









































จากคณะผู้จัดท า


















“มูลนิธิฯ นี้ ด าเนินมา ๕๐ ปี ถ้านโยบายไม่ดีก็อยู่ไม่ถึง ๕๐ปี ก็แสดงว่าตองดีแล้ว”

พระราชด ารัสของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชด ารัส เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนสปาร์ค กรุงเทพมหานคร ในพระราชวโรกาสเสด็จพระราช
ด าเนินทรงเป็นประธานในงานฉลองครบรอบ “ห้าทศวรรษ ม.น.ข.”

บัดนี้เวลาผ่านมาอีก ๑๐ ปี ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เป็นวันครบ
๖๐ ปีของการจัดตั้งมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ม.น.ข.)
มูลนิธิฯยังคงยึดมั่นในการสืบสานพระราชปณิธานแห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์อุปถัมภิกา ของมูลนิธิฯอย่าง
ต่อเนื่อง และได้พัฒนาการด าเนินงานต่างๆให้สอดคล้องกับโลกดิจิทัล ณ ปัจจุบัน

“สืบสาน พัฒนา ก้าวหน้า ยั่งยืน” ที่ปรากฏในหนังสือที่ระลึก ๖๐ ปี ม.น.ข. เล่มนี้
ได้รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆของมูลนิธิฯตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่านจะเห็นการพัฒนา
และความก้าวหน้า ทั้งในด้านการด าเนินงาน นักเรียนทุน และผู้มีจิตศรัทธาให้การ
สนับสนุนบริจาคเงินทุนอย่างต่อเนื่อง อันน าไปสู่ความยั่งยืนของมูลนิธิฯ


ในโอกาสนี้ มูลนิธิฯ ขอขอบคุณ ภาพบางส่วนจากทายาทคุณหญิงอัมพร มีศุข พ.ศ.
๒๕๕๘ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือ “น ้าหยดเดียว” มูลนิธิจงกลนีนิธิ และบริษัท
กรีนสปอต จ ากัด ผู้สนับสนุนในการจัดพิมพ์ ท าให้หนังสือเล่มนี้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นความภาคภูมิใจของทุกๆท่านที่
เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิฯ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการ “สร้างคนดีให้สังคม”


คณะกรรมการฝ่ายจัดท าหนังสือที่ระลึก
สิงหาคม ๒๕๖๔



สารบัญ



เรื่อง

บทอาศิรวาท

ส านึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์อุปถัมภิกามูลนิธิฯ

ค านิยม สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ ก

ค านิยม คุณโชติ โสภณพนิช ข

ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิฯ ค

รายพระนาม รายนาม ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ง

๖๐ ปี ม.น.ข.ร าลึก จ

สารประธานกรรมการบริหาร ปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ ฉ

สารประธานกรรมการบริหาร ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน ช

จากคณะผู้จัดท า ฌ

สารบัญ ญ

คุณหญิงผู้มีอุปการคุณต่อ ม.น.ข. สองท่าน ฏ
คุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี ที่น่าชื่นชม ฑ

สืบสาน ๑

๖๐ ปี ม.น.ข. ๒

พัฒนา ๑๑

ทุน “ม.น.ข.” และ ทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์” ๑๒

โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ๑๔

การบริหารมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ๒๐

กระบวนการคัดเลือกนักเรียนทุน ๒๒




ก้าวหน้า ๒๕


จ านวนนักเรียนทุน “ม.น.ข.” และ “นวฤกษ” ๒๖

นักเรียนทุน “ม.น.ข.” และ “นวฤกษ” จบการศึกษาแบ่งตามภาค ๒๗

นักเรียนทุน “ม.น.ข.” และ “นวฤกษ” ส าเร็จการศึกษาวิชาชีพต่างๆ ๒๘

๖๐ ปี ม.น.ข. ให้โอกาสทางการศึกษา ๒๙

ยั่งยืน ๓๙

ความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้บริจาคทุนอย่างต่อเนื่องยาวนาน ๔๐

มอบโอกาสทางการศึกษาผ่านพินัยกรรม ๔๓

จากใจนักเรียนทุนปัจจุบัน ๔๔


ทุนนักเรียนเก่า ม.น.ข. ๔๖

เด็กบ้านนอก ผู้ใหญ่นอกบ้าน ๔๘

๖๐ ปี ม.น.ข. กับการก้าวเดินต่อไป ๕๒

แด่…มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ม.น.ข.) ๕๓

รายนามคณะกรรมการจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ ๖๐ ปี ม.น.ข. ๕๔

จากคณะกรรมการชุดปัจจุบัน ๕๙

รายนามคณะกรรมการมูลนิธิฯ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖ ๖๐


วิธีการบริจาคเงิน ๖๒

ที่ตั้งส านักงานมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ๖๓

แหล่งที่มาของภาพ ๖๔

รายละเอียดการพิมพ์ ๖๕






คุณหญิงผู้มีอุปการคุณต่อ ม.น.ข. สองท่าน





ในวาระครบรอบ ๖๐ ปี ของการสถาปนามูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรม
ราชินูปถัมภ์ ในฐานะอดีตนักเรียนทุน ม.น.ข. ที่ได้กลับมารับใช้มูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบัน
จึงขอกล่าวถึงคุณหญิงผู้มีอุปการคุณต่อ ม.น.ข. สองท่าน




ท่านแรกคือ “คุณหญิงอัมพร มีศุข”


ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมประชุมสัมมนาว่าด้วย
จริยศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดขึ้นเมื่อ
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ และน าข้อเสนอแนะจาก
การสัมมนา จัดตั้งเป็น “มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาด
แคลน” ขึ้น ต่อมาความทราบถึงพระกรรณ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใน
รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงรับมูลนิธิช่วยนักเรียนที่
ขาดแคลนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อเดือน
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ คุณหญิงอัมพร มีศุข
ท่านอยู่ในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ
มาตลอด และเป็นนายกกรรมการบริหาร ช่วงปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ ท่าน
เป็นผู้ที่ผลักดันโครงการพิเศษต่างๆของ ม.น.ข. โดยเฉพาะโครงการเรียนรู้ด้วยการ
ท างาน ท่านได้จัดหาเงินทุนมอบให้โรงเรียนตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ น าไป
ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่ออาชีพอิสระทุกอาชีพ โดยให้ฝึกปฏิบัติในลักษณะบริษัทจ าลอง อัน
จะเป็นพื้นฐานในการประกอบสัมมาชีพถ้าไม่ได้ศึกษาต่อ ท่านยังส่งเสริมโครงการ
ปลูกฝังเยาวชนให้สนใจการเกษตร โดยให้ทุนแก่โรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร บริเวณ
แนวตะเข็บชายแดน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติด้านการเกษตร และน าผลิตผลที่ได้สู่
โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

คุณหญิงอัมพร มีศุข ท่านได้ทุ่มเทท างานให้มูลนิธิฯ ยาวนานถึง ๕๓ ปี ท่านได้ถึงแก่
อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗








ท่านที่สอง คือ “ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร”

ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร เริ่มท างานให้มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรม
ราชินูปถัมภ์ ในต าแหน่งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของมูลนิธิฯ ในปี
พทธศักราช ๒๕๐๖ ซึ่งเป็นปีที่มูลนิธิฯ เริ่มให้ทุนการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เป็น

ครั้งแรก จ านวน ๑๐ ทุน และได้เพิ่มจ านวนขึ้นในปีต่อๆมา

การให้ทุนในยุคแรกๆ ทาง ม.น.ข. จะมอบเงินก้อนส่วนหนึ่งประมาณ ๙๐๐ บาท
ให้นักเรียนทุนเป็นค่าลงทะเบียนและซื้อหนังสือต่างๆ ส่วนที่เหลือนักเรียนทุน
ม.น.ข. ทุกๆ เดือนต้องเดินทางมาที่ตึกวิทยุศึกษา ภายในกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อมารับเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายประจ าเดือนๆละ ๑๖๐-๒๐๐ บาท โดยรับกับ
ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร ท่านได้ให้ความเมตตาสอบถามทุกข์สุข และให้ก าลังใจแก ่
นักเรียนทุนทุกคน ความรู้สึกของนักเรียนทุนจึงเหมือนกับมาพบญาติผู้ใหญ่ รู้สึก
อบอุ่นใจทุกครั้งที่มารับเงินทุนที่ตึกวิทยุศึกษา ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ท่านก็
ติดต่อหาสถานที่ให้นักเรียนทุนได้ฝึกงานหาประสบการณ์และรายได้พิเศษ ซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อนักเรียนทุนอย่างยิ่ง

ม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร ได้ท างานเคียง
บ่าเคียงไหล่กับคุณหญิงอัมพร มีศุข มา
ตลอด ต่อมาได้เลื่อนต าแหน่งเป็น
เลขาธิการ จนกระทั่ง พุทธศักราช
๒๕๓๑ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอุปนายก
คนที่ ๓ จนถึงแก่อนิจกรรม ในวันที่
๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๘




ถึงแม้ท่านทั้งสองจะจากพวกเราไปแล้ว แต่ความเมตตากรุณาที่ท่านมอบให้แก่นักเรียนที่ขาด
แคลนทั้งหลาย จะยังคงอยู่ในความทรงจ าของอดีตนักเรียนทุน ม.น.ข. ตลอดไป







คุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี ที่น่าชื่นชม




ในวาระครบรอบ ๖๐ ปี ของการสถาปนามูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรม
ราชนูปถัมภ์ ม.น.ข. ขอชื่นชมกรรมการบริหารท่านหนึ่งที่ท าคุณประโยชน์ให้แก่ ม.น.ข.มา

อย่างยาวนาน

“คุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี”

คุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี ในฐานะเจ้าหน้าที่บัญชี และเลขานุการ ในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
สุขุมาภินันท์ อดีตเหรัญญิกของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ยุคแรก คุณวัลลีย์ จึงมีโอกาสเข้ามารับรู้การบริหารการเงินของ ม.น.ข. พร้อมกับ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ภายหลังเมื่อคณะกรรมการบริหาร ม.น.ข. ยุคแรก
หมดวาระลง คุณวัลลีย์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเหรัญญิกในคณะกรรมการบริหารยุคต่อๆ มา
คุณวัลลีย์ จึงนับเป็นกรรมการบริหาร ม.น.ข. ที่มีอายุงานในมูลนิธิฯ ต่อเนื่องยาวนานที่สุด



คุณวัลลีย์ ได้ท าหน้าที่เหรัญญิกที่น่า
ยกย่องอย่างยิ่ง เนื่องจากเงินบริจาคที่
ได้รับของ ม.น.ข. ส่วนใหญ่ผู้บริจาค
มุ่งเน้นเพื่อการจัดตั้งเป็นทุนการศึกษา

ในบางปีเงินที่จะใช้เพื่อการบริหาร
จัดการส านักงานมีไม่เพียงพอ
คุณวัลลีย์ จึงต้องอาศัยความสามารถ
ขอรับบริจาคจากคนที่รู้จักมักคุ้นหรือ
บางครั้งก็บริจาคเงินของตนเองเพื่อให้
การด าเนินงานของมูลนิธิฯ เป็นไป
อย่างราบรื่น





ทุกๆ ปีก่อนการประชุมสามัญประจ าปีของมูลนิธิฯ คุณวัลลีย์ จะมอบเอกสารหลักฐานทาง
การเงินทั้งหมดให้แก่ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ท าการตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตาม
หลักการบริหารสากล และจัดท ารายงานส่งให้แก่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย





ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ Giving Back Association องค์กรที่ตรวจประเมินการท างานของ
มูลนิธิต่างๆ เพื่อน าข้อมูลเผยแพร่ในเว็บไซต์ ได้ประเมินการท างานของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่
ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และได้มอบ Rating Certificate ให้ ม.น.ข. ในด้าน
Good Governance, Transparency and Excellent Financial Efficiency

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงใคร่ถือโอกาสนี้ขอบคุณคุณวัลลีย์
วงศ์ภักดี ที่ได้ช่วยงานดูแลการเงินของมูลนิธิฯ อย่างดีเยี่ยมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง ๖๐ ปี
ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกจงคุ้มครองปกปักรักษาคุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี ให้ประสบแต่
ความสุขกาย สบายใจ และสุขภาพแข็งแรงตลอดไป






แด่ คุณวัลลีย์ วงศ์ภักด ี

๖๐ ปี ม.น.ข. ขอสดุด ี

คุณวัลลีย์ วงศ์ภักดี ที่เสียสละ
ช่วยการงานมูลนิธิฯมิลดละ

นับระยะเวลาหกสิบปี
กรรมการบริหารทุกยุคสมัย
คุณวัลลีย์ได้รับใช้ไม่เคยหนี

เงินขาดเหลือหาให้ได้ทุกที
ช่วยเด็กดีที่ยากไร้ได้ทุนเรียน

กุศลบุญคุณวัลลีย์ท าดีแล้ว
เป็นเกราะแก้วกันภัยให้เสถียร
จงมีสุขทุกข์โรคภัยไม่เบียดเบียน

ไม่แปรเปลี่ยนช่วย ม.น.ข. อีกต่อไป

นายวีระศักดิ์ ฮุนเมฆาเวทย์
ผู้ประพันธ์ ในนาม ม.น.ข.








สืบสาน




































๒๕๐๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

๒๕๐๔ รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด าเนินชมการแสดง

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ละครประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเรื่อง ราโชมอน จัด
โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกกรรมการ
ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากกระทรวง บริหารมูลนิธิฯ เพื่อหาทุนให้มูลนิธิฯ
ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม และพระองค์ทรงพระราชทานเงินจ านวน
๒๕๐๔ และในเดือนตุลาคมปี ๕๑,๑๑๑ บาท รวมตัวเลขได้ ๙ เป็น
เดียวกันนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ทุนประเดิม พระราชทานนามทุนนี้ว่า
พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทุน “นวฤกษ”

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับมูลนิธิ
ช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนไว้ใน
พระบรมราชินูปถัมภ์

๒๕๐๔

















๒๕๐๖

มอบทุนการศึกษา ม.น.ข. แก่ ๒๕๑๒
นักเรียนทุนระดับอุดมศึกษา
รุ่นที่ ๑ จ านวน ๑๐ ทุน นักเรียนทุนรุ่น ๑, ๒ ที่จบการศึกษาแล้วแสดง
ความกตัญญูกตเวทีต่อมูลนิธิฯ ร่วมกันจัดตั้ง
กองทุน “ม.น.ข.” โดยใช้ชื่อว่า “ทุนนักเรียน
เก่า ม.น.ข.” เป็นครั้งแรก เพื่อช่วยเหลือ
รุ่นน้องที่ขาดแคลนต่อไป และทุนนี้ได้
ด าเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน



๖๐ ปี ม.น.ข.

๒๕๑๙

ทุน“สยามรัฐ” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มอบเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคผ่าน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ แก่ ม.น.ข.เพื่อเก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน
มาจนถึงปัจจุบัน

๒๕๒๑ - ๒๕๒๕

ม.น.ข.ให้ความช่วยเหลือโครงการอาหารกลางวัน
มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๙๔๒ โรงเรียน










๒๕๓๐

















๒๕๒๙


สมาชิกสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ จัดตั้งทุนการศึกษา
แอล.เอส.เอฟ. (Luang Sit Fellowship Programme of
Scholarship Fund-Rotary Club Bangkok South)
ทุนปีแรก ๓๐ ทุน และให้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จ านวนทุนเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๕ ทุน







๒๕๓๑

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระ
กรุณาเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในการเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ ละคร
เพลงส าหรับเด็กเรื่อง “อภินิหารแม่มดแฝด” เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
ณ โรงละครแห่งชาติ และน ารายได้จ านวน ๓๗๑,๑๐๗ บาท ตั้งเป็น
กองทุนนวฤกษ์ สาขา “รัชมังคลาภิเษก”









๒๕๓๑








๒๕๓๙ - ๒๕๔๑

“โครงการเรียนรู้ด้วยการท างาน” จัดขึ้นเพื่อ
ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ปี ในปี ๒๕๓๙



๒๕๓๓

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระ
กรุณาเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในการจัดแข่งม้าการกุศลชิงถ้วยพระราชทาน
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เพื่อหารายได้
สมทบทุนมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ได้เงินจ านวน
๑,๑๔๐,๐๐๐ บาท ตั้งกองทุนนวฤกษ์ สาขา “เฉลิมสมเด็จฯ ๔๘ พรรษา”



๖๐ ปี ม.น.ข.




๒๕๕๔

ม.น.ข. จัดงาน “ห้าทศวรรษ ม.น.ข.” ในวันที่ ๕ กรกฎาคม
๒๕๕๔ ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนสปาร์ค กรุงเทพฯ มูลนิธิฯ
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด าเนินทรงเป็นประธาน
และได้พระราชทานพระราชด ารัสเป็นก าลังใจในการ
ด าเนินงานของมูลนิธิฯสืบไป









๒๕๕๔











๒๕๔๗ - ๒๕๔๘

ม.น.ข.ด าเนินการส่งเสริมการศึกษา
และทักษะอาชีพให้แก่กลุ่มเยาวชนที่มี
ความบกพร่องทางสายตา ทางการ
ได้ยิน และ ทางสติปัญญา ด้วยการ
จัดท า “โครงการฝึกอาชีพเด็กพิเศษ”

๒๕๕๐
“โครงการเทิดพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙” โดยให้ทุนแก่โรงเรียนบริเวณแนว
ตะเข็บชายแดน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติด้านการเกษตร และน า
ผลิตผลที่ได้สู่โครงการอาหารกลางวัน รวม ๕๐ โรงเรียน



พุทธศักราช ๒๕๕๕

ม.น.ข.จัดท าโครงการ “ม.น.ข.เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา” เนื่องในวโรกาส
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ โดย
มูลนิธิฯ ให้ทุนแก่โรงเรียนจ านวน ๘๔ โรงเรียน ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
น าไปปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพอิสระทุกอาชีพ โดยให้ฝึกปฏิบัติ
ในลักษณะบริษัทจ าลอง อันจะเป็นพื้นฐานส าคัญในการประกอบสัมมาชีพตาม
แนวพระราชด าริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในอนาคต โครงการนี้ด าเนินการถึง
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗























พุทธศักราช ๒๕๕๘

มูลนิธิฯได้ปรับปรุงตราสารเดิมเป็นข้อบังคับ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และ
ภารกิจที่มูลนิธิฯด าเนินการในปัจจุบัน ที่เน้นเรื่องการจัดหาทุนการศึกษาให้แก่

นักเรียนที่ขาดแคลน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชนในการด าเนินโครงการต่างๆ และในโอกาสเดียวกันนี้ มูลนิธิฯ ได้รับ
พระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลที่ ๙ ให้ปรับปรุงสัญลักษณ์ มูลนิธิฯเดิมที่เคยใช้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
โดยเพิ่มข้อความว่า “ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ในแถบผ้าสีฟ้าใต้ข้อความมูลนิธิ
ช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน โดยเชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ก.”
ภายใต้พระมหามงกุฎ ประดับเหนือข้อความดังกล่าว



๖๐ ปี ม.น.ข.



พุทธศักราช ๒๕๕๙

Giving Back Association องค์กรที่ตรวจประเมินการท างานของมูลนิธิต่างๆเพื่อ
น าข้อมูลเผยแพร่ในเว็บไซต์ ได้ประเมินการท างานของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาด
แคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และได้มอบ Rating Certificate ให้ ม.น.ข. ในด้าน

Good Governance, Transparency and Excellent Financial Efficiency






















พุทธศักราช ๒๕๖๐


มูลนิธิฯด าเนินโครงการ “ม.น.ข.เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์
พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙” เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนสายอาชีพ ระดับ
ปวช. และปวส.ตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ จนจบหลักสูตร มีโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
เข้าร่วมโครงการ ๙ โรงเรียน โครงการนี้ให้ทุนต่อเนื่องถึงปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยใช ้
เงินทุนจ านวน ๘๔๐,๐๐๐ บาท
พุทธศักราช ๒๕๖๑

ด าเนินโครงการ “ความร่วมมือระหว่างสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ และ
ม.น.ข.ให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ” โดยสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
สนับสนุนเงินทุนการศึกษาจ านวน ๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท ให้มูลนิธิฯคัดเลือก
นักเรียนระดับ ปวช. ปวส. และนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลอย่างละ ๑๐ ทุน
รวม ๓๐ ทุนให้ได้รับเงินทุนตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ จนจบหลักสูตร



พุทธศักราช ๒๕๖๒


ม.น.ข.ได้รับมอบเงินจากมูลนิธิโคเออร์ (COERR FOUNDATION)
จ านวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดสรรเงินช่วยเหลือโรงเรียนและ
นักเรียนทุน ม.น.ข.ที่ประสบอุทกภัยจากวิกฤติสถานการณ์น ้าท่วม
ใหญ่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดขึ้นในปีนี้ คณะกรรมการ
บริหารมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี มอบความช่วยเหลือให้กับ
โรงเรียนและนักเรียนทุนเมื่อวันที่ ๒๒-๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒



























พุทธศักราช ๒๕๖๓

ม.น.ข.ได้รับมอบเงินจ านวน ๑,๔๕๑,๕๕๕.๘๓ บาท จาก
“ชมรมอาสาสมัครเพื่อเด็กพิการ ๒๕” ที่เลิกกิจการไปแล้ว

โดย พ.ต.ท.คมวิชช์ พัฒนรัฐ ทายาทนายวินัย พัฒนรัฐ
(อดีตกรรมการบริหาร ม.น.ข.) และครอบครัว มอบให้ ม.น.ข.
น าไปใช้เป็นทุนการศึกษาส าหรับนักเรียนพิการและนักเรียน
ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อ











๖๐ ปี ม.น.ข.










พุทธศักราช ๒๕๖๓

ม.น.ข. จัดท า “โครงการ ม.น.ข.ปันสุข” เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ครอบครัว
ประสบปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-๑๙)
โดยมอบเงินให้โรงเรียนละ ๕๐,๐๐๐ บาท จ านวน ๕ โรงเรียน จัดสรรเป็นทุน
ช่วยเหลือแก่นักเรียนที่เดือดร้อนได้ ๒๐๐ คน
























พุทธศักราช ๒๕๖๔

ม.น.ข.ด าเนินงานมาครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการจัดตั้งในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔

คณะกรรมการบริหาร มีความมุ่งมั่นตั้งใจจัดกิจกรรม ท าบุญเพื่ออุทศส่วนกุศลแด่คณะผู้
จัดตั้งและผู้มีอุปการคุณต่อมูลนิธิฯ พร้อมทั้งจัดสัมมนาทางวิชาการ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ให้ทุนและผู้รับทุนในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้ง
นักวิชาการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อมูลนิธิฯจะได้รวบรวมข้อมูลส าหรับการวางแผน
ปรับปรุงการด าเนินงานของมูลนิธิฯ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลและบริบทของ
ประเทศไทยต่อไป แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-๑๙)
จึงจ าเป็นต้องเลื่อนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมต่อไป





พัฒนา


































๑๑

ทุน “ม.น.ข.” และ ทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์”








































ทุน “ม.น.ข.”

ทุน “ม.น.ข.” เป็นทุนการศึกษาส าหรับนักเรียนที่ขาดแคลน และประสงค์
จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐที่เปิดสอน

ระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ จนจบหลักสูตรปริญญาตรี โดยใช้เงินทุนจาก
ผู้บริจาคเป็นรายปี หรือบริจาคเป็นเงินก้อนเพื่อใช้เฉพาะดอกผล โดยเริ่มให้ทุน
ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ นับถึงปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ มีกองทุนจ านวน
๑๔๗ กองทุน

มูลค่าเงินทุน ตั้งแต่ ๘,๐๐๐ บาท/ปี ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท/ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สาขาวิชา และความประสงค์ของผู้บริจาค





๑๒

ทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานเงินทุนประเดิม เมื่อปี
พุทธศักราช ๒๕๐๘ จ านวน ๕๑,๑๑๑ บาท รวมตัวเลขได้ ๙ และทรง
พระราชทานชื่อทุน “นวฤกษ์” ให้ใช้เฉพาะดอกผลเป็นทุนการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา (ปวช. ปวส.) ส าหรับนักเรียนที่มีความประพฤติดี
แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรม
ราชานุญาต ให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ให้ตั้งชื่อทุน

“นวฤกษ” สาขา…..นับถึงปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ มีจ านวน ๑๕๐ กองทุน
มูลค่าเงินทุน ใช้เฉพาะดอกผล ปีละ ๘,๐๐๐ บาท/ปี/คน









































๑๓

โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต




ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี ภารกิจของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
นอกเหนือจากการจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนแล้ว มูลนิธิฯ ยังได้จัดหาทุน
เพื่อด าเนินงานโครงการพิเศษในวาระโอกาสต่างๆ อาทิ วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ องค์อุปถัมภิกามูลนิธิฯ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
นักเรียนที่ขาดแคลน และได้แบ่งการจัดท าโครงการเป็น ๒ ระยะ ที่มีความแตกต่างกัน ดังนี้





ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯถึงห้าทศวรรษ


รูปแบบโครงการ เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้พึ่งพาตนเอง หรือเป็นโครงการเฉลิม
พระเกียรติองค์อุปถัมภิกามูลนิธิฯ

วัตถุประสงค์ มุ่งพัฒนาให้นักเรียนคิดเป็น ท าเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยยึดหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังเจตคติที่ดีต่ออาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนที่
ได้รับคัดเลือกจากทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนน าร่อง โดยเน้นโรงเรียนชายขอบ

วิธีด าเนินการ มอบทุนให้โรงเรียนจัดการ โดยให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ส่งเสริม
ให้น าไปใช้ในชีวิตจริง และฝึกปฏิบัติจริง

เงินสนับสนุนโครงการ ได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการ องค์กรภาครัฐ และ
ภาคเอกชน เช่น โครงการอาหารกลางวัน โครงการเรียนรู้ด้วยการท างาน โครงการ
ม.น.ข. เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลที่ ๙ โครงการฝึกอาชีพเด็กพิเศษ เป็นต้น
















๑๔

หลังจากห้าทศวรรษถึงปัจจุบัน


รูปแบบโครงการ เป็นโครงการที่มูลนิธิฯ ร่วมด าเนินการกับหน่วยงาน องค์กร
เอกชน
วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพ ที่ตอบสนองความ

ต้องการของสังคม และให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติ และ/หรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันอื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

วิธีด าเนินการ มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน

เงินสนับสนุนโครงการ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรภาคเอกชน เช่น
โครงการความร่วมมือระหว่างสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ และม.น.ข. ให้ทุนการศึกษา
เพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการ ม.น.ข. ปันสุข โครงการความร่วมมือระหว่าง ม.น.ข.
กับมูลนิธิโคเออร์ เพื่อช่วยสถานศึกษาและนักเรียนทุน ม.น.ข. โครงการศิริราช
ร่วมกับ ม.น.ข. ส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการความร่วมมือระหว่าง
บริษัทเอกชน และ ม.น.ข. ให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการ ม.น.ข.ให้
ทุนการศึกษาแก่เด็กพิการและนักเรียนที่ขาดแคลน เป็นต้น




โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรม
ราชินูปถัมภ์ ได้ด าเนินการมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี มีมากกว่า ๒๐ โครงการ ทั้ง ๒ ระยะ
แม้จะมีลักษณะโครงการที่แตกต่างกัน แต่การด าเนินงานโครงการทุกโครงการประสบ
ความส าเร็จและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สามารถปลูกฝังเจตคติที่ดีส าหรับ
นักเรียนต่องานอาชีพ และสามารถสร้างบุคลากรในหลายสาขาอาชีพที่สนองความต้องการของ
สังคมได้อย่างดียิ่ง

๑๕

โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต































โครงการอาหารกลางวัน โครงการเรียนรู้ด้วยการท างาน


จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีอาหาร โดย ม.น.ข. ให้ทุนแก่โรงเรียนตาม
กลางวันรับประทาน โดย ม.น.ข. ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ น าไป
มอบเงินให้โรงเรียนเป็นทุนหมุนเวียน ปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อ
เพื่อให้โรงเรียนมีการปลูกผัก เลี้ยง อาชีพอิสระทุกอาชีพ โดยให้ฝึก
สัตว์ในโรงเรียน นักเรียนสามารถฝึก ปฏิบัติในลักษณะบริษัทจ าลอง อันจะ
กระบวนการ จดบันทึก ศึกษาค้นคว้า เป็นพื้นฐานส าคัญในการประกอบ
เพิ่มเติม การรับผิดชอบ และน า สัมมาชีพตามแนวพระราชด าริ
ผลิตผลที่ได้ไปสู่โครงการอาหาร “เศรษฐกิจพอเพียง”
กลางวัน โรงเรียนทั่วประเทศเข้าร่วม
โครงการนี้











๑๖

โครงการปลูกฝังเยาวชนให้สนใจ โครงการฝึกอาชีพเด็กพิเศษ
การเกษตร
ม.น.ข. สนับสนุนการจัดการศึกษา
โดยให้ทุนแก่โรงเรียนในท้องถิ่น ให้แก่เยาวชน รวมถึงการฝึกฝนอาชีพ
ทุรกันดาร บริเวณแนวตะเข็บ ให้แก่กลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่อง
ชายแดน ให้นักเรียนฝึกอาชีพ ทางสายตา การได้ยิน สติปัญญา
เกษตรกรรม มีความรับผิดชอบ เพื่อให้ด ารงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมี
มีทัศนคติที่ดีต่อการเกษตร มีความ ความสุข ตามอัตภาพ รวมทั้งให้ทุน
รู้จัก และมีความเข้าใจต่ออาชีพ แก่เด็กพิการทางสายตาและพิการ
เกษตร เน้นโรงเรียน ที่มีโครงการ ซ ้าซ้อนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้
อาหารกลางวัน ทั้งนี้มูลนิธิฯ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นการ
สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง และ พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ
จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความ กลุ่มที่ขาดโอกาส เพื่อน าไปสู่การ
มั่นคงของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ด ารงชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ในสังคมอย่างมี
ความสุข





๑๗

โครงการพิเศษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต




























โครงการเพื่อพัฒนานักเรียนสาย โครงการพัฒนาศักยภาพของ
อาชีพ ในสถาบันการศึกษาของรัฐ บุคลากรผู้ช่วยพยาบาล
ทั้งระดับ ปวช. และปวส.
โดยความร่วมมือระหว่างสโมสร
โดยเริ่มจาก โครงการ ม.น.ข. เฉลิม โรตารีกรุงเทพใต้ และ ม.น.ข. ให้
พระเกียรติ ๘๔ พรรษา สมเด็จ ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดสรรเงินทุนการศึกษา ส าหรับ
ในรัชกาลที่ ๙ ในปีพุทธศักราช นักเรียนผู้ช่วยพยาบาลที่ขาดแคลน
๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ และต่อมาได้ ทุนทรัพย์ ให้ได้เรียนและปฏิบัติงาน
ร่วมมือกับสโมสรโรตารีกรุงเทพใต้ เพื่อการประกอบวิชาอาชีพในสถาน
ให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ประกอบการจริง
นักเรียนทุนระดับ ปวช. รวมทั้ง
ร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชน
บริษัท กรีนสปอต จ ากัด และบริษัท
บุญเยี่ยมและสหาย จ ากัด ให้ทุน
การศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพ






๑๘

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โครงการเสริมสร้างการศึกษาเพื่อ
ธรรมชาติและผู้ได้รับผลกระทบจาก พัฒนาเยาวชน
โรคระบาด
ในวาระ ๖๐ ปี ม.น.ข. "ชมรมสรรค์
ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ ม.น.ข.ได้รับ ศิลป์ศิริราช" โดย ศ.คลินิก นพ.
มอบเงินจากมูลนิธิโคเออร์ จ านวน วิทเชษฐ พิชัยศักดิ์ และคณะศิลปิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อช่วย ผู้มีชื่อเสียงของชมรมฯ ได้ด าเนิน
สถานศึกษาและนักเรียนผู้ประสบ โครงการฯโดยจัดนิทรรศการภาพวาด
อุทกภัยจากวิกฤติสถานการณ์น ้าท่วม สีน ้าและจ าหน่ายเพื่อมอบรายได้
ใหญ่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้กับมูลนิธิฯโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์
และ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ เมื่อมี วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ศิริราชพยาบาล ให้เกียรติเป็น
(โควิด-๑๙) ม.น.ข. ได้จัดโครงการ ประธานเปิดงานเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม
ม.น.ข. ปันสุข โดยน าเงินที่เหลือจาก ๒๕๖๓ มูลนิธิฯ ได้รับรายได้จากการ
ที่มูลนิธิโคเออร์มาใช้ด าเนินโครงการ จ าหน่ายภาพวาดครั้งนี้จ านวน
มอบทุนให้นักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ๖๐๐,๐๐๐ บาท
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า (โควิด-๑๙)


๑๙

การบริหาร

มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์












ระยะเริ่มต้น มูลนิธิฯ ด าเนินงานภายใต้ตราสารของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน

ในพระบรมราชินูปถัมภ์ซึ่งเป็นไปตามก าหนดของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งใน
หมวดการจัดการ ระบุไว้ว่า ทรัพย์สินและกิจการต่างๆของมูลนิธิฯอยู่ในความรับผิดชอบของ
คณะกรรมการบริหาร โดยมีกรรมการอุปถัมภ์ และกรรมการกลางที่ได้รับเชิญจากคณะ
กรรมการบริหารคอยช่วยเหลืออุปถัมภ์ค ้าชู ให้มูลนิธิฯด ารงอยู่ด้วยดี ควบคุมนโยบายทั่วไปของ
มูลนิธิฯให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

กรรมการบริหารในวาระเริ่มแรกได้แก่บุคคลตามบัญชีผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯแนบท้ายตราสาร
องค์ประกอบส าคัญของคณะกรรมการบริหารคือ นายก ๑ คน อุปนายก ๓ คน เหรัญญิก ๑
คน ผู้ช่วยเหรัญญิก ๑ หรือ ๒ คน เลขาธิการ ๑ คน ผู้ช่วยเลขาธิการ ๑ หรือ ๒ คน และ
คณะกรรมการรวมแล้วไม่น้อยกว่า ๙ คน และไม่เกิน ๒๗ คน คณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการด าเนินงานตามนโยบายและการบริหารกิจการทั้งปวงอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของมูลนิธิฯ

ทุนและทรัพย์สินระยะเริ่มแรก คือเงินสดจ านวน ๒,๒๐๐ บาท (สองพันสองร้อยบาทถ้วน) เป็น
เงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อก่อตั้งมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน และต่อมาผู้มีจิตศรัทธาทั้ง
องค์กรภาครัฐ และหน่วยงานเอกชนหรือโดยทางอื่นๆที่ชอบด้วยกฎหมายร่วมกันบริจาค

เหรัญญิกจะต้องเป็นผู้เก็บรักษาบัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนบัญชีอื่นๆ
ที่จ าเป็นเพื่อเป็นหลักฐานและแสดงฐานะของมูลนิธิฯ ทั้งจะต้องเก็บรักษาเอกสารใบส าคัญต่างๆ
อันเกี่ยวกับบัญชีไว้ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบด้วย



๒๐

ระยะต่อมา เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ มูลนิธิฯ ได้ขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตราสารทั้งฉบับ

เพื่อให้เป็นไปตามคู่มือการด าเนินงานมูลนิธิฯของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
สาระส าคัญ ดังนี้

๑.เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจากเดิม “Foundation For the Welfare of Needy
Schoolchildren under Royal Patronage of Her Majesty the Queen” แก้ไขเป็น
“Foundation for Needy Students under Royal Patronage of Her Majesty the
Queen”

๒.เปลี่ยนวัตถุประสงค์บางข้อเพื่อให้ตรงกับภารกิจปัจจุบันของมูลนิธิฯ

๓.เปลี่ยนชื่อต าแหน่ง “นายกกรรมการบริหาร” เป็น “ประธานกรรมการบริหาร”


๔.เปลี่ยนต าแหน่ง “อุปนายก” เป็น “รองประธาน”

๕.หมวดการเงิน เดิม เหรัญญิกจะต้องเป็นผู้เก็บรักษาบัญชีรายรับ รายจ่าย บัญช ี
ทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนบัญชีอื่นๆที่จ าเป็นเพื่อเป็นหลักฐานและแสดงฐานะของมูลนิธิฯ ทั้ง
จะต้องเก็บรักษาเอกสารใบส าคัญต่างๆอันเกี่ยวกับบัญชีไว้ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบด้วย
แก้ไขเพิ่มเติม ให้เหรัญญิกและเลขาธิการเป็นผู้ดูแล



๒๑

กระบวนการคัดเลือกนักเรียนทุน



ด าเนินการโดยอนุกรรมการบริหารทุนการศึกษาซึ่งมี ๒ กองทุน คือ ทุน “ม.น.ข.” ส าหรับ
นักเรียนทุนระดับอุดมศึกษา ทุนการศึกษาพระราชทาน “นวฤกษ์” ส าหรับนักเรียนทุนระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย และสายอาชีพ ระดับ ปวช.และ ปวส. อนุกรรมการประกอบด้วย
กรรมการบริหารและผู้แทนสถาบันการศึกษา ที่ส่งมาจากส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น

พื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ส านักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์และคัดเลือกนักเรียนทุน

ทุน “นวฤกษ์” ใช้เฉพาะดอกผลจากเงินก้อนของผู้บริจาค

ทุน “ม.น.ข.” ใช้เงินบริจาคเป็นรายปี และเงินที่ได้รับจากดอกผลที่ผู้บริจาคเป็นเงินก้อน



กระบวนการส่งใบสมัครขอรับทุน


๑. มูลนิธิฯส่งเอกสารประชาสัมพันธ์ไปที่ สพฐ.





๒. สพฐ.แจ้งเขตพื้นที่การศึกษา ให้แจ้งโรงเรียนในสังกัด


๓. โรงเรียนส่งใบสมัครของนักเรียน
ที่ผ่านการพิจารณาจากโรงเรียน
เพื่อขอรับทุนส่งให้มูลนิธิฯ





ี่
๔. เจ้าหน้าทมูลนิธิฯตรวจสอบคุณสมบัติและ
เอกสารประกอบของนักเรียนที่ขอรับทุน


๕. คณะอนุกรรมการบริหารทุนการศึกษาพิจารณาคัดเลือก
นักเรียนที่สมควรได้รับทุนตามจ านวนเงินทุนที่ได้รับ




๒๒

๒๓



ก้าวหน้า


































๒๕

จ านวนนักเรียนทุน

“ม.น.ข.” และ “นวฤกษ์”

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ – ๒๕๖๓












๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ ๒๗๙ คน









๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๕๘๒ คน










๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ๖๓๐ คน









๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ ๓๔๘ คน







หมายเหตุ มูลนิธิฯ ให้ทุนการศึกษา “นวฤกษ” ต่อเนื่องตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑
จนจบหลักสูตรปริญญาตรี

๒๖


Click to View FlipBook Version