The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียนอาเซียน ม.5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by krufar30, 2019-11-26 11:19:01

เอกสารประกอบการเรียนอาเซียน ม.5

เอกสารประกอบการเรียนอาเซียน ม.5

เอกสารประกอบการเรียน
รายวิชา ส30219 สหอาเซียน
ชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5

เล่มท่ี 1 พฒั นาการของอาเซียน

ผจู้ ดั ทา
นางสาววราภา ทองพาศน์

กลุม่ สาระการเรยี นรสู้ ังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนสตรวี ทิ ยา
สานักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษามัธยมศกึ ษา เขต 1

คานา

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อต้ังขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย
และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกาเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิก
เริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพ่ิมอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม
วฒั นธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธารงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภมู ิภาค และเปิดโอกาสให้คลาย
ข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพ่ิมข้ึนจนมี
10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซ่ึงทาให้อาเซียนมีสถานะ
คล้ายกับสหภาพยุโรปมากย่ิงขึ้นเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เร่ิมประกาศใช้ต้ังแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และก้าวสู่
ความเป็นประชาคมอาเซียน ซ่ึงจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความม่ันคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ในฐานะ
ที่เราเป็นประเทศสมาชกิ ของอาเซยี น จงึ ต้องศึกษาเรื่องของอาเซียนให้เข้าใจ เพ่ือจะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกตอ้ งและ
อยรู่ ่วมกบั ผู้อ่นื ได้อยา่ งมคี วามสขุ

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30219 สหอาเซียน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเน้ือหา
เกี่ยวกับความเป็นมาของอาเซียนตั้งแต่เริ่มก่อต้ังจนกระท่ังมีปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางการดาเนินงานในอนาคต
รวมทั้งหมดจานวน 5 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กว่าจะมาเป็นอาเซียน หน่วยการเรียนรู้ท่ี 2
ร่วมเรียนรู้จากอดีต หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 ใกล้ชิดเป็นประชาคม หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บรรลุเจตนารมณ์
ความรว่ มมือ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 คอื อาเซียนในทศวรรษหน้า แต่ละหนว่ ยการเรียนรู้ประกอบด้วย แบบทดสอบ
ก่อนเรียน เน้ือหา ใบงานและแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมเฉลยแบบทดสอบและเฉลยใบงาน ซ่ึงจะทาให้นักเรียน
เกิดการเรยี นรไู้ ดด้ ว้ ยตนเองและมคี วามเขา้ ใจในเนื้อหาสาระไดเ้ ป็นอยา่ งดี

ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างย่ิงว่าเอกสารประกอบการเรียนรู้ฉบับน้ี จะช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจ
เก่ียวกับอาเซียน สามารถนาความรู้ที่ไดไ้ ปใช้ในพัฒนาตนเองใหม้ ีความพร้อมกบั สถานการณ์ต่างๆ ตอ่ ไป

วราภา ทองพาศน์
ตุลาคม 2561
ผจู้ ดั ทา

สารบัญ หนา้
1
เร่ือง 25
หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 กวา่ จะมาเป็นอาเซียน 45
หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 2 รว่ มเรยี นรู้จากอดตี 56
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 3 ใกล้ชดิ เป็นประชาคม 71
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4 บรรลุเจตนารมณค์ วามรว่ มมือ
หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 5 คอื อาเซยี นในทศวรรษหน้า

คาชีแ้ จง

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30219 สหอาเซียน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทาข้ึน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาหาความร้ดู ้วยตนเองให้มากท่ีสุด เพ่ือให้นักเรียนมีนิสัย ใฝ่เรียนใฝ่รู้อยเู่ สมอ ภายใน
เล่มประกอบดว้ ย

1. คาแนะนาสาหรับครู
2. คาแนะนาสาหรบั นักเรียน
3. แผนภมู กิ ารใช้เอกสารประกอบการเรียน
4. แบบทดสอบก่อนเรยี น
5. เน้ือหาพัฒนาการของอาเซียน
6. ใบงาน
7. แบบทดสอบหลังเรยี น
8. เฉลยใบกจิ กรรม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

คาแนะนาสาหรับครู

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30219 สหอาเซียน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 ครูควร
ปฏบิ ตั ิดงั นี้

1. ศึกษาเอกสารประกอบการเรยี นคกู่ ับแผนการจัดการเรยี นรู้ในเรื่องเดียวกันมาลว่ งหนา้ อย่างละเอยี ด
2. เตรียมส่ืออุปกรณ์การเรียนการสอนท่ีจะต้องใช้ทากิจกรรมในแต่ละครั้งให้พร้อมก่อนสอน หากมี
ปัญหาจะได้แกไ้ ขกอ่ นทาการสอน
3. การสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้มากท่ีสุด เพ่ือให้นักเรียนมีนิสัย ใฝ่เรียน
ใฝ่รู้อยู่เสมอ
4. ขณะปฏบิ ัติกจิ กรรม ครสู งั เกตและประเมินพฤตกิ รรมนักเรยี นทงั้ รายบุคคลและรายกลุ่ม
5. ตรวจคาตอบจากเฉลยใบงาน เพ่อื ดูการพฒั นาการเรียนรขู้ องนักเรยี น
6. เม่ือทาศึกษาเอกสารประกอบการเรียนและทากิจกรรมเสร็จแล้ว ให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน
ลงในกระดาษคาตอบ
7. ตรวจกระดาษคาตอบของแบบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรียน
8. กระตุ้นให้นักเรียนเรียนรู้อย่างตั้งใจและสนใจปฏิบัติกิจกรรมตามท่ีครูมอบหมาย เพื่อให้การเรียน
การสอนบรรลตุ ามจุดประสงค์อย่างมปี ระสิทธภิ าพ
9. ครตู ้องควบคุมการใช้เอกสารประกอบการเรยี นอย่างระมัดระวงั และรวดเร็วทนั เวลา
10. เม่ือเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ครูต้องให้นักเรียนเก็บส่ือการเรียนให้เป็นระเบียบ
เรยี บร้อย หากฉบับใดชารดุ ก็ซ่อมแซมเพ่ือเก็บไว้ใช้ครั้งต่อไป

คาแนะนาสาหรบั นักเรยี น

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30219 สหอาเซียน สาหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียน
ควรปฏบิ ัตดิ ังนี้

1. ทาแบบทดสอบก่อนเรยี น 10 ข้อลงในกระดาษคาตอบ
2. ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนตามลาดับและทาใบงานตามท่ีกาหนดให้
3. ครตู รวจใบกจิ กรรม ให้คะแนน
4. ขณะปฏิบัติกิจกรรม ครูจะสงั เกตและประเมนิ พฤติกรรมผู้เรียนทัง้ รายบคุ คลและรายกลุ่ม
5. เมอ่ื ทากิจกรรมแล้วตรวจคาตอบจากเฉลยใบงานเพื่อดูการพฒั นาการเรยี นรขู้ องตนเอง
6. เมอ่ื ทาใบงานครบทุกกจิ กรรมแลว้ ทาแบบทดสอบหลงั เรยี นลงในกระดาษคาตอบ
7. ตรวจกระดาษคาตอบของแบบทดสอบก่อนเรยี น หลังเรียน เพ่อื ดกู ารพฒั นาการเรยี นร้ขู องตนเอง
8. การเรียนรู้นักเรียนควรต้ังใจและสนใจปฏิบัติกิจกรรมตามท่ีครูมอบหมาย เพื่อให้การเรียนรู้ของ
นกั เรยี นบรรลุตามจดุ ประสงคอ์ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
9. นกั เรยี นควรใช้เอกสารประกอบการเรยี นอย่างระมดั ระวังและรวดเรว็ ทันเวลา
10. เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ครูต้องใหน้ ักเรียนเก็บสื่อการเรียนให้เป็นระเบียบ
เรยี บร้อย หากชุดใดชารุดก็ซ่อมแซมเพ่อื เก็บไวใ้ ชค้ ร้ังต่อไป

แผนภมู กิ ารใช้เอกสารประกอบการเรยี น

ศึกษาคาแนะนาในการใชเ้ อกสารประกอบการเรยี น
ทดสอบกอ่ นเรยี น

ศกึ ษาเอกสารประกอบการเรยี นตามลาดับ
ทากิจกรรมแต่ละใบงาน
ทดสอบหลังเรยี น

ผ่าน ไม่ผ่าน
จบ พบครูรายบคุ คล

1

หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1

กวา่ จะมาเปน็ อาเซยี น

...เปดิ ประตสู ู่อาเซียน…

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 11 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์

อินโดนีเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนา บรูไน และติมอร์ - เลสเต ในบรรดาประเทศทั้งหลายซึ่งอยู่ในภูมิภาคนี้

ยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นท่ีเป็นเอกราช นอกนั้นแล้วก่อนสงครามครั้งที่ 2 ประเทศเหล่าน้ี

ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอานาจ ได้แก่ ฝร่ังเศส อังกฤษ โปรตุเกส และสหรัฐอเมริกา ทุกประเทศ

ต่างต่อสู้จนได้รับเอกราชจากมหาอานาจผู้ปกครองอาณานิคมเหล่านั้น

มี หลายประเทศท่ี หลุ ดพ้ นจากการเป็ นอาณานิ คมด้ ว ย ค ว า ม ร า บ รื่ น

แ ต่ มี ป ร ะ เ ท ศ ท่ี ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง ต่ อ สู้ แ ล ะ สู ญ เ สี ย เ ลื อด เ น้ื อไ ป เ ป็ น

จานวนมาก จนกลายเป็นสงครามยืดเย้ือยาวนานคือสงครามอินโดจีน

ในช่วงหัวเล้ียวหัวต่อดังกล่าว ได้เกิดภาวะความไม่สงบภายในประเทศ

ต่าง ๆ อยู่ท่ัวไป เน่ืองจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ประชาชนเกิด

ความไม่สงบภายในประเทศต่าง ๆ อยู่ท่ัวไป เน่ืองจากปัญหาทาง

เศรษฐกิจ ประชาชนเกิดความยากจนขัดสน จึงเกิดขบวนการปฏิรูป

สังคมภายใน โดยได้รับการสนบั สนนุ จากฝา่ ยคอมมิวนิสต์ ซ่ึงกาลงั แผ่

ขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคนี้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเงื่อนไขทาง

เศรษฐกิจดังกล่าวเป็นแรงผลักดัน ดังนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงประสบปัญหาร่วมกันจากภาวะกดดัน รปู ที่ 1 แผนทปี่ ระเทศในภูมิภาค
เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้
ท้ังภายในและภายนอกประเทศ การก่อต้ังอาเซียนจึงเกิดขึ้นจาก

ความจาเป็นทางการเมืองและเพ่ือสร้างความม่ันคงทางเศรษฐกิจ

(ชนดิ า นาคประเสรฐิ . 2554 : 28)

โลกหลังสงครามโลกครั้งท่ีสองหวั่นไหวด้วยเหตุจากภัยคุกคามทางอุดมการณ์ทางการเมืองท่ีสองค่าย

มหาอานาจโลกแบ่งขั้วความคิด วิถีชีวิตการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติออกเป็น “ทุนนิยมและ

เสรีนิยมประชาธิปไตย” ฝ่ายหน่ึงกับ “สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์” อีกฝ่ายหนึ่งแยกข้ัวเป็น “ฝ่ายขวา” นาโดย

สหรฐั อเมรกิ าและชาติยโุ รปตะวนั ตก กับ “ฝา่ ยซ้าย” นาโดยสหภาพโซเวียต (รสั เซยี ) และสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศขนาดเล็กบนโลกเดียวกันก็หวั่นไหวในความม่ันคงปลอดภัย เพราะขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของ

สองกลุ่มค่ายมหาอานาจจัดกลุ่มรวมพวกเผชิญหน้ากันชัดเจน มนุษยชาติเพ่ิงจะผ่านความพินาศอันเกิดจาก

สงครามโลกครัง้ ท่ีสองมาได้เพียงไม่นานจากสงครามแบบท่ีเคยร้อนระอุจากการสู้รบโดยใช้ยทุ โธปกรณ์ โลกกลบั มา

ตกอยู่ในสงครามรูปแบบใหม่ เป็นสงครามของอุดมการณ์และการแบ่งกลุ่มขั้วมหาอานาจ สงครามชนิดใหม่นี้

เรียกว่า “สงครามเยน็ ”

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศต่างๆ ท้ังบนภาคพื้นทวีปและในมหาสมุทร พยายามหาทาง

เลือกท่ีม่ันคงปลอดภัย เพื่อจะได้มีโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า พ้นจากสภาวะท่ีเรียกกันตอนน้ันว่า

“ด้อยพฒั นา” ไปให้จงได้ ซงึ่ ก่อนการกาเนิดอาเซียนมีการรวมกลมุ่ ประเทศทสี่ าคัญ ดังน้ี (พิชาติ แก้วพวง. 2556

: 3 - 5)

2

1. อ ง ค์ ก า ร ส น ธิ สั ญ ญ า ป้ อ ง กั น เ อ เ ชี ย

ตะวันออกเฉียงใต้หรือซีโต้ (SEATO) ผลจากภายหลัง

สงครามโลกครง้ั ท่ี 2 ทาให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้มีความสาคัญในทางยุทธศาสตร์ของการสกัดก้ัน

การขยายตัวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ของสหรัฐอเมริกา

นามาซึ่งการก่อตั้งองค์กรพันธมิตรทางการทหารข้ึน

เรียกว่า องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้หรือซีโต้ (SEATO : Southeast Asia Treaty

Organization) ขึ้นเม่ือวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497

ประเทศที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้มี 8 ประเทศ รูปท่ี 2 ผูน้ าของชาติสมาชิกซโี ต้

ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝร่ังเศส ออสเตรเลีย ด้านหน้าอาคารรัฐสภาหลังเกา่ ในกรงุ มะนลิ า

นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย โดยมี เมอ่ื วนั ท่ี 24 ตุลาคม พ.ศ. 2509

วัตถุประสงค์เพื่อสกัดก้ันการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์

ในเอเชียพร้อม ๆ กับการพัฒนาความม่ันคงและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา สนธิสัญญา

ขอ้ ที่สาคัญทีส่ ุดของความร่วมมือน้ี คือ ประเทศสมาชิกตกลงเห็นพ้องกันจว่าหากดนิ แดนของประเทศใดถูกรกุ ราน

หรือถูกโจมตีด้วยอาวุธ ประเทศที่เป็นสมาชิกท่ีเหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกันและจะเผชิญหน้าร่วมกัน

ซึ่งสนธสิ ัญญาปอ้ งกันเอเชียตะวนั ออกเฉียงใตม้ ผี ลบังคับใชเ้ มือ่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

องค์การซีโต้สลายตัวลงไปใน พ.ศ. 2520 เน่ืองจากสถานภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน

และสหรัฐอเมริกาได้เปล่ียนแปลงไปในทางท่ีดีข้ึน กิจกรรมของซีโต้ซึ่งแต่เดิมเน้นหนักในเร่ืองทางการทหารได้

ลดระดับลงเหลือเพียงโครงการฝึกอบรมการต่อต้านการก่อการร้ายเท่าน้ัน และรัฐบาลของประเทศในภูมิภาค

ทสี่ หรัฐอเมรกิ าสนับสนุนกต็ ่างพา่ ยแพ้ในสงคราม ทงั้ ในเวียดนาม กมั พูชา และลาว จนในที่สุดซีโต้ก็ตอ้ งสลายตัวลง

อยา่ งเป็นทางการ

2. สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาสา (Association of Southeast Asia : ASA) จาก

ความล้มเหลวขององค์การซีโต้ ทาให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดความคิดในการจัดตั้งองค์การ

ส่วนภูมิภาคท่ีปราศจากการแทรกแซงของประเทศภายนอก เพ่ือที่จะสร้างเสรีภาพและความมั่นคงภายในภูมิภาค

ใหเ้ กิดข้นึ

ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยได้ร่วมกันก่อตั้ง “สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ข้ึน ในวันท่ี

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมไปถึง

การแลกเปล่ียนข่าวสารด้านต่าง ๆ ที่มปี ระโยชน์ระหว่างกัน และยังสร้างกลไกความร่วมมอื ในการหาผลประโยชน์

จากทรัพยากรธรรมชาติ การพฒั นาการเกษตร การปรบั ปรุงระบบการขนส่ง และความร่วมมอื ทางดา้ นการค้า

ภายหลังการดาเนินงานไปได้ 2 ปี สมาคมอาสาก็เกิดกรณีความขัดแย้งของประเทศสมาชิกในกรณี

ซาบาห์ ระหว่างฟิลปิ ปินส์และมาเลเซีย แตภ่ ายหลังสามารถระงับความรุนแรงได้ สมาคมอาสาก็กลบั มาดาเนินการ

อีกครั้งในปี พ.ศ. 2509 มีการคิดต่อยอดพัฒนาไปสู่องค์การใหม่เป็นการรวมสมาคมอาสากับประเทศอื่น ๆ

ในภูมิภาคเข้าด้วยกัน จึงทาให้สมาคมอาสาล้มเลิกไปโดยปริยาย และนาไปสู่การจัดตั้งองค์การระดับภูมิภาคใหม่

รูจ้ ักกนั ในชือ่ สมาคมประชาชาติแหง่ เอเชียตะวันออกเฉยี งใต้หรืออาเซยี น นนั่ เอง

3

3. กลมุ่ ประเทศมาฟิลนิ โด (MAPHILINDO) เปน็ การรวมตัวท่ีมีจดุ ประสงคเ์ พอื่ ขจัดความขดั แย้งระหว่าง
ประเทศที่ประกอบด้วยประชาชนเช้ือสายมาเลย์เป็นหลัก ได้แก่ มาเลเซีย ฟลิ ิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยผู้นา
ของท้ัง 3 ประเทศ ได้มีการลงนามร่วมกันในปฏิญญามะนิลา (Manila Declaration) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.
2506 ในการประชุมสุดยอดผนู้ าของทง้ั 3 ประเทศ ณ กรงุ มะนลิ า ประเทศฟลิ ปิ ปินส์ โดยสาระสาคัญของปฏิญญา
นน้ั สามารถสรปุ ใจความสาคญั ได้ ดังน้ี

1) การรักษาไว้ซ่งึ ความสัมพันธ์ฉันทพ์ ี่น้องของประเทศสมาชกิ
2) ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนาไปสู่ความก้าวหน้าทาง
เศรษฐกิจของภมู ิภาค
3) ต่อตา้ นลทั ธิอาณานิคมและจักรวรรดนิ ิยมในทุกรปู แบบ
เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มน้ีนับวันยิ่งทวีความรุนแรงข้ึน โดยเฉพาะ
ปัญหาระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียในเรื่องทัศนคติของผู้นา ทาให้ในที่สุดแล้วองค์การมาฟิลินโดก็ประสบ
ความล้มเหลวในการรวมตัว

…คลนื่ ลมแห่งสนั ตภิ าพ...

คล่ืนลมแห่งสนั ติภาพและความร่วมมืออย่างยั่งยืน พัดสู่ฝั่งทะเลตะวันออกของไทย ณ หาดทรายบางแสน
อันสงบ วันท่ี 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) รัฐบาลไทยสมัย ฯพณฯนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
โดยพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เริ่มความคิดท่ีจะก่อต้ังสมาคม
เพื่อความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งหน่ึง จึงได้เชิญรัฐมนตรีผู้กากับดูแลนโยบาย
ด้านการต่างประเทศจาก 4 มิตรประเทศเพื่อนบ้าน มาร่วมประชุมหารือกันอย่างจริงจังเป็นทางการ ใช้บ้านพัก
แหลมแท่น ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นท่ีประชุมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่สาหรับภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉยี งใต้

หนังสือพิมพ์ “หลักเมืองยุคใหม่” วันเสาร์ท่ี 5 สิงหาคม พ.ศ. 2510 พาดหัวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ
ฟิลิปปินสม์ าประเทศไทยครง้ั น้ีอาจมาเจรจาเร่ืองปัญหาดนิ แดนซาบาห์ทพี่ ิพาทกับมาเลเซีย แทนท่ีจะเป็นเรื่องการ
ต้ังสมาคมระดับภูมิภาคซึ่งเป็นเร่ืองที่กว้างกว่า ครอบคลุมความร่วมมือแบบพหุภาคี (หลายประเทศรวมกัน)
นอกจากนั้นยังได้กล่าวเพิ่มเติมก่อนออกเดินทางมากรุงเทพฯ ว่า ความร่วมมือกันในระดับภูมิภาคใหม่ท่ีไทยริเร่ิม
เชิญมาประชุมนี้คร้ังนี้จะไม่มาแทนการรวมกลุ่มใดๆ ที่มีอยู่ในเวลานั้น ฟิลิปปินส์ยังไม่คิดว่าจะเกิดอาเซียนหรือ
องค์กรสมาคมใหมใ่ ด ๆ ท่ีจะสามารถมาแทนที่ SEATO, ASA หรอื Maphilindo ได้

แต่ปัญหาโลกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็นและการเผชิญหน้าระหว่างสองค่าย
มหาอานาจนนั้ ซบั ซอ้ นเกนิ กว่าองคก์ รเล็ก ๆ ทีข่ าดเอกภาพและเปน็ เพียงส่วนย่อยของภูมิภาคจะแกไ้ ขได้

รายงานจากหนังสือพิมพ์ “Bangkok Post” วันท่ี 3 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ย้าความจาเป็นท่ีจะต้องต้ัง
องค์กรใหม่ในภูมิภาค เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าจะเรียกช่ือว่าอย่างไร โดยใช้ช่ือชั่วคราวในตอนน้ันว่า “Southeast
Asia Association for Regional Cooperation” ใช้ชื่อย่อชั่วคราวว่า “SEAARC” หรือ “สมาคมความร่วมมือใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยหวังกันว่าองค์กรหรือสมาคมใหม่นี้จะมาแทน ASA ท่ีไม่ประสบความสาเร็จ
เป็นรูปธรรมนัก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เหตุผลท่ีจะทาให้ SEAARC หรือสมาคมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้เกิดเปน็ ความจริงได้ก็คือ : “เม่ือเปรียบเทียบกับ ASA และ ASPAC (สภาแห่งเอเชียและแปซิฟิก) แล้ว
สัมพันธมิตรองค์กรใหม่ท่ีเสนอ (โดยฝ่ายไทย) นี้ มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ขอบเขตพ้ืนท่ีภูมิศาสตร์และพรมแดน

4

ของแต่ละประเทศท่ีจะมารวมกันก็ชัดเจน แม้ความคิดทางการเมืองของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน
อย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีหลายเร่ืองท่ีมีความคล้ายคลึงกัน เรื่องสาคัญที่สุดคือท้ัง 5 ประเทศมีความห่วงใยในปัญหา
ความม่ันคงในภูมิภาคโดยภาพรวม สมาคม SEAARC จะไม่ใหญ่โตเท่ากับ ASPAC และไม่เล็กเหมือน ASA อีกทั้ง
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของสมาคมใหม่น้ีก็มีมากมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น 5 ประเทศที่กาลังจะมาร่วมกันต้ังสมาคม
ใหม่นี้ได้มีความร่วมมือกันในหลายๆ เร่ืองมาก่อนหน้านี้แล้ว บางประเทศก็ร่วมมือกันแบบ “ทวิภาคี” (ประเทศ
ตอ่ ประเทศ) บางประเทศก็ร่วมมือกันแบบ “พหภุ าคี” ผ่าน ASA เฉพาะอินโดนเี ซียกับมาเลเซยี น้ันได้ลงนามกนั ไป
ก่อนหน้าแล้วในความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการลงทุนร่วมกันในด้านการค้าพาณิชย์ระหว่างประเทศ
ความตกลงท่ีว่าน้ีสามารถจัดเข้าระบบของสมาคมใหม่ได้เลย ท่ีสงสัยกันว่าสมาคม SEAARC จะทาเรื่องภาษี
ศุลกากรร่วมกัน และสร้างเขตการค้าเสรีในภูมิภาคได้หรือไม่นั้น ขอให้เป็นเรื่องท่ีผู้เชี่ยวชาญท้ังหลายจะพิจารณา
หลังจากได้ตั้ง SEAARC แล้วก็ได้ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าสัมพันธมิตรใหม่น้ีจะมีอนาคตท่ีสดใสใหญ่ยิ่ง ผู้นาจาก
5 ชาตจิ ะได้หารือถึงกลไกสาหรบั องค์กรใหม่ (ทีม่ ชี ือ่ ชัว่ คราววา่ SEAARC) นี้ มีเหตผุ ลดจี รงิ ๆ วา่ ทาไมผนู้ าทัง้ 5 จึง
มคี วามรสู้ ึกมน่ั ในยง่ิ นัก สาหรบั ภารกิจท่ีรอคอยอยขู่ า้ งหน้า”

เวลา 11 : 20 น. เชา้ วนั พฤหัสบดที ี่ 3 สงิ หาคม พ.ศ. 2510 คุณเทห่ ์ จงคดีกจิ ผสู้ ือ่ ขา่ วและผชู้ ่วยบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ Bangkok Post รายงานว่า : “ฯพณฯ เอส. ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้รับการต้อนรับจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีต่างประเทศ พ.อ. (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ ของไทย
ท่านเปน็ ผูน้ าคนแรกที่เดนิ ทางมาถงึ ประเทศไทย”

เวลา 23 : 10 น. ค่าวันเดียวกัน ฯพณฯ รัฐมนตรีต่างประเทศ นาซิโซ รามอส แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
เป็นผนู้ าคนทส่ี องท่ีเดนิ ทางมาถงึ สนามบินดอนเมือง

เวลา 11 : 05 น. รุ่งข้นึ เชา้ วันศุกร์ท่ี 4 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ฯพณฯ อาดมั มาลิก รฐั มนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และ ฯพณฯ ตุน อับดุล ลาซัค ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐ
มาเลเซีย มาถึงในเวลาใกล้เคียงกัน จดุ มุ่งหมายของการมาประเทศไทยของผู้นาทั้ง 4 ในคร้ังนี้กเ็ พื่อหารือถึงการที่
จะตั้งสมาคมใหม่ของ 5 ชาติเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ท่ียังไม่มชี ่ือท่แี น่นอน ทเ่ี รียกชอ่ื กันไปกอ่ นอย่างไมเ่ ป็นทางการ
ก็ใช้ช่ือ “Southeast Asia Association for Regional Cooperation” เรียกย่อ ไปก่อนว่า “SEAARC” อาจจะ
แปลเป็นไทยว่า “สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อความร่วมมือในภูมิภาค” หรือ “สมาคมเพื่อความร่วมมือ
แหง่ ชาตใิ นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้” จะเรยี กอยา่ งไรกย็ งั ไม่แน่นอน

พ.อ. (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ผู้ริเร่ิมจัดการประชุม
ในคร้ังนี้ กล่าววา่ : “เรือ่ งชื่อนน้ั ไม่สาคญั มากนกั สิ่งท่สี มาคมนี้จะทาตา่ งหากทเ่ี ปน็ ความสาคัญ”

...จติ วญิ ญาณแห่งบางแสน...

คุณเท่ห์ จงคดีกิจ แห่งหนังสือพิมพ์ Bangkok Post รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า มีความพยายาม
จากพวกพรรคคอมมิวนิสต์ในการโฆษณาชวนเช่ือทาลายองค์กรหรือสมาคมชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีกาลัง
จะเกิดข้ึนในประเทศไทยครง้ั น้ี

นายเอส. ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์บอกว่าท่านมีความหวังสูงยิ่งในความเป็นไปได้ท่ีจะ
ร่วมกับประเทศไทยก่อตั้งสมาคมภูมิภาค สมาคมใหม่นี้ และแสดงความเห็นต่อไปตามรายงานของหนังสือพิมพ์
Bangkok Post : “ในส่วนของเราท่ีสงิ คโปร์น้นั เราเช่ือว่าสมาคมเพอื่ ความรว่ มมือระหว่างประเทศในระดบั ภูมิภาค

5

คือแนวโน้มของความร่วมมือในโลกทุกวันน้ี ประเทศท่ีก้าวหน้ามากกว่าคนอื่นก็จะรวมตัวกันร่วมมือกันทาง
เศรษฐกจิ ทยี่ ดึ ขนาดเป็นเกณฑ์ ก่อตวั เปน็ หน่วยเศรษฐกิจขนาดใหญ่”

“ทวีปอเมริกาเป็นหน่วยเศรษฐกิจร่วมเป็นหนึ่งเดียว พวกชาติคอมมิวนิสต์ก็รวมกันเป็นกลุ่มค่าย
ขนาดใหญ่ ชาตยิ ุโรปตะวนั ตกกห็ ันมารวมตวั กันเพ่ือสรา้ งกระบวนการฟืน้ ฟูทางเศรษฐกิจ”

“หากว่าประเทศที่ด้อยพัฒนาเช่นพวกเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มัวแต่ยึดติดอยู่กับระบบเศรษฐกิจ
ชาตินิยมล้าหลงั แบบสมยั ศตวรรษที่ 18 - 19 ถา้ คดิ กันแบบน้ี ผมวา่ มีปัญหาแน่ๆ”

“ในเมื่อประเทศที่เจริญแล้วมีความเชื่อว่าอนาคตผูกติดกับการรวมกลุ่มประเทศ แล้วถ้าพวกเราวางตัวอยู่
โดดเด่ียวตามลาพังนอกกลุ่ม พวกเราก็จะถูกท้ิงห่างในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราก็จะเป็นประเทศด้อยพัฒนา
ไปตลอดกาล”

“ถ้าอิสรภาพทางการเมืองของเราจะมีความหมายเป็นจริงอย่างใดบ้าง ก็จาจะต้องให้มีมาตรการสร้าง
ความแข็งแกรง่ ทางเศรษฐกิจให้ได้ อยา่ งน้อยๆ กเ็ อาไว้เป็นอานาจต่อรองกบั ชาติที่เข้มแข็งกว่า”

“เพราะภาพกว้างๆ ในใจที่ว่าน้ีน่ันเอง ทาให้เราต้องมาปรึกษากันกับรัฐมนตรีต่างประเทศของอีก
4 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างน้อยๆ เพ่ือหาหนทางวางรากฐานเล็กๆ เพื่อความร่วมมือกันทาง
เศรษฐกจิ ในภมู ภิ าค”

“ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มความร่วมมือกันได้ในเวลาน้ี ผมก็ไม่ถึงถึงขนาดจะเชื่อ แม้เพียงในระดับพอถ่อมตน
ได้ว่า เราจะสามารถมีความร่วมมือในระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้น ดูตัวอย่างในยุโรป
ตะวันตกก็เห็นได้ว่า เขาใช้เวลาเกือบสองทศวรรษกว่าจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจได้อย่างเป็นปึกแผ่น
แนบแนน่ ผมหวงั ว่าเราจะไมต่ ้องใช้เวลานานเทา่ ยุโรป เพราะผมไม่คิดวา่ เรามเี วลามากนัก แต่มันก็จะไม่เร็วอย่างที่
อยากใหเ้ ปน็ นนั้ แนน่ อน”

“ทีน่ ่าจะดีทสี่ ุดสาหรบั การประชุมท่ีกรุงเทพฯครั้งน้ีก็คือว่า เราอยา่ ไปทะเยอทะยานมากเกินไปนัก อยา่ ไป
ค้นหาความร่วมมือในเรอ่ื งท่ีเห็นชดั ๆ ว่าเป็นปญั หาซับซ้อน เราควรจะมาเลือกตกลงในเร่ืองงา่ ยๆ ไม่มีผลประโยชน์
แอบแฝงท่ีหวังจะให้ได้เพียงกับเศรษฐกิจของประเทศตนเอง หากว่าเรื่องง่ายๆ ท่ีเราจะหารือกันเป็นผลสาเร็จ
เรอ่ื งอนื่ ท่ยี ากกว่า บางทีกอ็ าจทาจนสาเร็จได”้

รัฐมนตรีต่างประเทศ ราชารัตนัม จากสิงคโปร์ มาประเทศไทยด้วยทัศนะท่ีเป็นบวก มีความหวัง
และต้องการให้ความคิดริเร่ิมของไทยในการต้ังสมาคมประชาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมาคมใหม่น้ี
เป็นผลสาเร็จอย่างแท้จริงต่อคาถามที่ว่า ท่านมองเห็นอุปสรรคอันใดขวางหน้าอยู่บ้างในความพยายามท่ีจะก่อต้ัง
สมาคมใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากความคิดริเริ่มจากไทยในคร้ังน้ี รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
ตอบว่า

“สมาคมทั้งหลายแบบนี้นั้นตั้งได้ยากอยู่แล้ว บางสมาคมที่ต้ังมาก่อนถูกฝังกลบในสุสานไปแล้ว ก็มีแต่
สาหรับคราวน้ีผมไม่เห็นปัญหายุ่งยากอันใดเลย หากเราไม่ทะเยอทะยานสูงเกินไป ทาอะไรที่พอประมาณ แน่ใจได้
เลยวา่ จะได้ผลอะไรออกมาจากการประชุมหารอื กนั ครัง้ น้ี”

ฯพณฯ รัฐมนตรีต่างประเทศ นาร์ซิโซ รามอส แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กล่าวกับหนังสือพิมพ์
Bangkok Post วา่

“องค์การใหม่น้ีมีศักยภาพสูงสุดที่จะบรรลุความสาเร็จย่ิงกว่าองค์กรระดับภูมิภาคอื่นใด เพราะมีขนาดที่
เล็กว่า ASPAC และสะดวกในการที่จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกว่าประเทศที่จะรวมตัวกันในองค์กรใหม่นี้
ก็ล้วนแล้วแต่มีความม่ังคั่งด้านทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นหน่ึงในบรรดาประเทศทั้งหลายที่มีความม่ันคงทาง
การเมือง”

6

ดร.ถนัด คอมันตร์ ในฐานะเจ้าภาพ ได้พาผู้นามิตรประเทศทั้ง 3 ท่าน ยกเว้นรัฐมนตรีต่างประเทศ
อินโดนีเซีย เดินทางไปพักท่ีบ้านพักรับรองเขาสามมุข บางแสน ทันที ในวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2510
เพือ่ เตรียมพร้อมสาหรับการประชุมในวนั เสารแ์ ละวันอาทิตย์ ซงึ่ จะใชบ้ า้ นรับรองอีกหลังหน่ึงไมไ่ กลกันเป็นสถานที่
ประชุม บ้านหลังน้ันเรียกว่า “บ้านแหลมแท่น” อยู่ติดทะเลชายหาดบางแสน ห่างจากกรุงเทพฯ 105 กิโลเมตร
เป็นบ้านรับรองในสานักนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลไทย ในกาลที่ผ่านมาบ้านแหลมแท่นเป็นท่ีประชุมหารือ
อนั นาไปส่กู ารตัดสนิ ใจสาคัญๆ ในเรือ่ งความสมั พันธ์ระหวา่ งประเทศมากมาย

วันเสาร์ท่ี 5 และวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) โดยการนาความคิดของรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ผู้นา 5 ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ที่บ้านแหลมแท่น การประชุม
สร้างประวตั ิศาสตรใ์ หก้ บั เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ เร่ิมตอนบ่ายวนั เสารท์ ่ี 5 สิงหาคม พ.ศ. 2510 หลังจาก ดร.ถนัด
คอมันตร์, รัฐมนตรีตุน อับดุล ราซัค และรัฐมนตรีนาซิสโซ่ รามอส กลับจากสนามกอล์ฟบางพระและรัฐมนตรี
ราชารัตนัมกลับจากพัทยา ส่วนรัฐมนตรีอาดมั มาลิก มิได้พกั ทีบ่ ้านเขาสามมขุ ในคนื วนั ศุกร์ท่ี 4 สงิ หาคม แต่ท่าน
เดินทางมาจากกรงุ เทพฯ ตรงสู่บ้านแหลมแท่นในตอนสายวันเสาร์ บรรยากาศท่ีบ้านแหลมแท่นบรรยายได้ว่าเป็น
“Spirit of Bangsaen” หรือ “จิตวิญญาณแห่งบางแสน” อันจะนาไปสู่กาเนิดขององค์การใหม่เพื่อความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจระดับภมู ิภาค

รปู ที่ 3 ผนู้ า 5 ชาตเิ อเชียตะวันออกเฉียงใตร้ ่วมกัน
สร้างประวัตศิ าสตร์ทบี่ ้านแหลมแท่น

การประชมุ เร่ิมเวลา 16 : 00 น. ผู้นาทุกท่านแต่งตัวตามสบายในบรรยากาศแบบคนในครอบครวั เดียวกัน
เพื่อหาข้อตกลงในหลักการความร่วมมือระหว่างกัน แต่เน้ือหาสาระท่ีหารือกันนั้นจะส่งผลประโยชน์ต่อประชากร
เกือบ 200 ล้านคนในทั้ง 5 ประเทศรวมกัน การประชุมในบรรยากาศไม่เป็นทางการ ไม่มีพิธีรีตองใดๆ ไม่มี
ข้าราชการมาเป็นผชู้ ่วยเตรียมข้อมูลหรอื จดบันทึกใดๆ จนใกล้ชิด ระหว่างที่ผู้นาท้ัง 5 คุยกัน จะน่ังคุยไปด่ืมน้าชา
กินแซนด์วิทช์ไป คุยกันในห้องนั่งเล่นก็ได้ จะย้ายออกไปยืนรับลมทะเลไปคุยกันไปที่ระเบียงบ้านก็ได้เช่นกัน
เม่ือจบการประชมุ แต่ละช่วงแล้วเทา่ นั้นจึงจะมกี ารแยกหอ้ งปรกึ ษากับคณะขา้ ราชการผู้ช่วยงานของแตล่ ะประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) เป็นวันที่สองของการคุยกันแบบกันเองของผู้นาท้ัง 5
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เช้าวันรุ่งข้ึนพาดหัวเป็นข่าวใหญ่ที่สุดประจาวันว่า
“รฐั มนตรตี ่างประเทศทั้งหลายพรอ้ มกอ่ ตั้งสมาคม SEAARC แล้ว ตกลงกนั ไดใ้ นหลักการสาคัญและการเจรจาเรื่อง
ดินแดนซาบาห์กเ็ ร่ิมเดินหน้าไปด้วย”

7

...ประชาคมเศรษฐกจิ ใหม่…

คาว่า “the new economic community” หรือ “ประชาคมเศรษฐกิจใหม่” ถูกใช้เป็นคร้ังแรกท่ี
บ้านแหลมแท่น เป็นการอธิบายเป้าหมายของสมาคมใหม่ที่จะเกิดข้ึน ซึ่งก็ยังคงใช้ช่ือช่ัวคราวไปก่อนว่า
“SEAARC” หรือ “สมาคมความรว่ มมือในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้”

“The Spirit of Bangsaen” หรือ “จิตวิญญาณแห่งบางแสน” ก่อกาเนิดความรู้สึกเป็นญาติมิตร
รอมชอมในเร่ืองท่ีเคยเห็นต่างกัน แผ้วถางทางไปสู่การก่อตั้งสมาคมแห่งประเทศในภูมิภาคสมาคมใหม่ได้อย่างน่า
พึงพอใจ ฟิลิปปินส์กับมาเลเซียมีปัญหาขัดแย้งกันมาก่อนเร่ืองดินแดนซาบาห์ เมื่อมาได้พลังจิตวิญญาณบางแสน
ก็มีทางออกตกลงผ่อนปรนปัญหาระหว่างกันได้ โดยสัญญาว่าจะหารือเรื่องที่ขัดแย้งกันในอีกเดือนหรือสองเดือน
ถัดไป จะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการก่อต้ังสมาคมความร่วมมือในภูมิภาคใหม่นี้ ผู้นามาเลเซียกับฟิลิปปินส์แยกคุย
เร่ืองปัญหาดินแดนซาบาห์ออกไปต่างหากแบบตัวต่อตัวหรือทวิภาคี โดยไม่ทาให้การหารือในภาพรวมของ
5 ประเทศตอ้ งหยุดชะงัก

วันอาทิตย์ท่ี 6 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) เป็นวันที่สองของการคุยกันแบบครอบครัวของผู้นาท้ัง 5
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนแล้วจนรอดก็ยังหาช่ือเหมาะสาหรับสมาคมใหม่น้ีไม่ได้ จนถึงขนาดมีข้อเสนอให้จัด
ประกวดการตั้งชื่อด้วยซ้าไป ชื่อช่ัวคราวที่เรียกย่อว่า SEAARC นั้น ฝ่ายฟิลิปปินส์บอกว่าฟังไปแล้วใกล้เคียงกับคาว่า
“shark” แปลว่าปลาฉลาม ทา่ ทางจะนา่ กลัวไปหน่อย

เรื่องยากเร่ืองหนึ่งท่ีตกลงกันได้คือ เร่ืองวัตถุประสงค์ของสมาคม ซ่ึงตกลงให้เน้นเร่ืองความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจเปน็ สาคัญมากกว่าเรื่องการเมือง ก็ทาให้ทุกฝ่ายพอใจ เร่ืองใดท่ีไม่แน่ใจ แต่ละฝ่ายก็จะติดต่อขอความเห็น
ตรงถึงรัฐบาลของแต่ละประเทศตลอดเวลา รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ต้องขอความเห็นขั้นสุดท้ายเป็นเด็ดขาด
จากประธานาธิบดีท่ีกรุงมะนิลา ท่านบอกว่า “ผมตื่นเต้นใจระทึกเลย ตอนรอคาตอบจากกรุงมะนิลา ผมอยาก
ให้เร่ืองน้สี าเรจ็ ลลุ ่วงใหไ้ ด้ จรงิ ๆ” รองนายกรฐั มนตรีมาเลเซีย พอใจในผลการประชมุ

รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ก็แ สดงความพอใจในผลการหารือเช่นกัน รัฐมนตรี
ต่างประเทศของไทยบอกว่า ปัญหาต่างๆ ท่ีสาคัญได้รับการแก้ไขครบถ้วนหมดส้ินแล้ว เหลือเพียงเรื่องช่ือสมาคม
หากยังหาชื่อไม่ได้ ก็เห็นทีว่าจะต้องจัดการประกวดต้ังชื่อใน 5 ประเทศผู้ก่อต้ังกันเลย ทานองเดียวกับที่เคยจัด
ประกวดภาพสัญลักษณ์สมาคม ASA มาแล้วก่อนหน้าน้ี ท่ีประชุมมิได้ตัดสินใดๆเกี่ยวกับอนาคตของสมาคม ASA
ท่ียังคงอยู่ โดยมีมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย โดยกาหนดว่าจะคุยกันทีหลังท่ีกัวลาลัมเปอร์
ในตอนปลายเดือนสิงหาคม หลังการประชุมที่บา งแสน หลังอาหารกลางวันท่ีแหลมแท่น คณะรัฐมนตรีท้ัง 5
เดินทางกลับกรุงเทพ ฝ่ายไทยจดั งานเล้ยี งอาหารคา่ แบบเป็นทางการทกี่ ระทรวงการตา่ งประเทศ วงั สราญรมย์

...ชือ่ อาเซยี น (ASEAN)...

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) เป็นวันประชุมอย่างเป็นทางการ เพ่ือตกลงกันในเร่ือง
ท่ียังไม่เรียบร้อยจากบ้านแหลมแท่น เพ่ือให้ได้เป็นเอกสารเป็นทางการสาหรับเตรียมลงนามก่อต้ังสมาคมใหม่
ในวนั องั คารที่ 8 สิงหาคม ต่อไป

ดุจปาฏหิ าริย์ ชื่อของสมาคมทคี่ ้นหามาจนเกอื บสิ้นหวัง วันน้ีได้ช่ือแลว้ ว่า “ASEAN” เขียนเป็นภาษาไทยว่า
“อาเซียน” อ่านว่า “อาเซี่ยน” ช่ือเต็มเป็นภาษาอังกฤษว่า “Association of Southeast Asian Nations”
ช่ือภาษาไทยในคร้ังน้ันยังเรียกไม่เหมือนกันอยู่ในส่ือมวลชนไทย หนังสือพิมพ์ “ประชาธิปไตย” ฉบับเดียวกัน

8

เรยี กชื่อวา่ “สมาคมสหประชาชาติเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้” เรียกยอ่ ว่า “เอเชยี น” ในทหี่ น่งึ ไปอีกที่หนึ่งกเ็ รียกว่า
“สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” อีกที่หน่ึงก็เรียกว่า “สมาคมชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
การสะกดคาวา่ “อาเซยี ” “อาเซยี ” “เอเซีย” หรือ “เอเชยี ” ยงั คงใชก้ ันสลบั สบั สนอยูเ่ ป็นปรกติ

ปัจจุบัน ณ ปี พ.ศ. 2553 กระทรวงการต่างประเทศของไทยให้เรียกช่ือเต็มเป็นทางการว่า “สมาคม
ประชาชาติแหง่ เอเชียตะวันออกเฉยี งใต้” หรอื “อาเซียน” (ออกเสยี งวา่ “อา - เซ่ยี น” - ไมใ่ ช่ “อาเซียน”)

ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ท่ีประชุมพอใจในช่ืออาเซียนเพราะความใกล้เคียงในการออกเสียงว่า
“อา - เซ่ียน” ใกล้กับคาว่า “เอเชียน” เจ้าของความคิดตั้งช่ือ ASEAN และเป็นผู้กาหนดให้ออกเสียงคาย่อ
ASEAN ว่า “อาเซี่ยน” ไม่ให้ออกเสียงเรียบๆ ว่า “อาเซียน” นั้น ก็คือรัฐมนตรีต่างประเทศ อาดัม มาลิก
แห่งอินโดนีเซีย ระหว่างการประชุมมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งกล่าวยกย่องว่าอินโดนีเซียนั้นมีช่ือเสียงมากในการต้ังช่ือ
องค์กรต่าง ๆ ซึ่งมักจะได้ช่ือท่มี ีความหมายลึกซึ้งและเปน็ สิรมิ งคล

การประชุมเป็นทางการที่กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์ ณ กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาเพียง 40 นาที
จาก 12 : 20 น. ถึง 13 : 00 น. เท่านั้นเอง เพราะ “จิตวิญญาณแห่งบางแสน” ระหว่างการพูดคุยกันดุจญาติพี่น้อง
ในครอบครวั เดียวกัน ณ บ้านแหลมแทน่ นั้นทรงทรงพลังย่ิงนัก ดร. ถนัด คอมันตร์ รฐั มนตรีตา่ งประเทศไทย ผู้
ริเริ่มความคิดใน การก่อตั้งอาเซียนแถลงด้วยความพึงพอใจย่ิงว่า การเจรจาก่อตั้งอาเซียนเต็มไปด้วยบรรยากาศ
ของการรอมชอมผ่อนปรนกันมาก ท่านย้าว่า อาเซียนน้ันเปิดกว้าง ยินดีต้อนรับสมาชิกประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
เสมอ รวมท้ังกัมพูชาซงึ่ ขณะนน้ั มปี ัญหาขดั แยง้ กบั ไทยอยู่ ในเรื่องสิทธิเหนือเขาพระวหิ าร และเจา้ สีหนุกท็ รงทราบ
เรอ่ื งนด้ี ีแต่ต้น เช่นเดยี วกับนาย Herbert de Ribbing ผ้แู ทนพเิ ศษขององคก์ ารสหประชาชาติ วา่ ไทยยงั คง ขอ
สงวนสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคาตัดสินของศาลโลกอยู่ ค่าวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติ
ขจร นายกรัฐมนตรีของไทย จัดงานเล้ียงท่ีทาเนียบรัฐบาลเป็นเกียรติ แก่รัฐมนตรีผู้ก่อต้ังอาเซียนซ่ึงมีรายนาม
ดงั ตอ่ ไปนี้

นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีฝา่ ยการเมือง /
จากอนิ โดนเี ซีย รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ

นายตนุ อับดุล ราซัค บิน ฮุสเซน รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมและ
จากมาเลเซยี รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงพฒั นาการแห่งชาติ

นายนาซสิ โซ่ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
จากฟิลปิ ปินส์

นายเอส. ราชารัตนมั รฐั มนตรีว่าการกระทรวงการตา่ งประเทศ
จากสิงคโปร์

พันเอก (พิเศษ) ถนดั คอมันตร์ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ
จากไทย

9

…ปฏญิ ญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือปฏญิ ญาอาเซียน (ASEAN Declaration)…

คาประกาศปฏิญญาก่อตั้งอาเซียน เรียกว่า “ASEAN Declaration (ปฏิญญาอาเซียน)” หรือ “Bangkok
Declaration (ปฏิญญากรุงเทพ)” ร่างเสร็จสมบูรณ์ แล้วลงนามอย่างเป็นทางการ หลังการประชุมที่เร่ิมเวลา
10 : 30 น. เช้าวันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ท่ีกระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์
กรงุ เทพมหานคร

หนังสอื พมิ พ์ “ประชาธปิ ไตย” ฉบบั วันต่อมาพาดหัวข่าวหน้าหนึง่ วา่ “ท่ีประชมุ 5 ชาติเอเชียลงนามแล้ว
ไทยวา่ เพื่อลบลา้ งสภาพอันกดขี่” โดยรายงานขา่ วว่า

“หลังจากได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศเอเชีย 5 ประเทศ มีฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย อย่างไม่เป็นทางการ 2 วัน และอย่างเป็นทางการ 2 วัน ท้ังที่บางแสนและกรุงเทพฯ
ระหว่างวันที่ 5 - 8 เดือนน้ีแล้ว ได้มีการลงนามในปฏิญญาของประเทศทั้ง 5 ณ กระทรวงการต่างประเทศ
เม่ือเวลา 10.50 น. วันท่ี 8 เดือนน้ี เพือ่ ก่อต้งั สมาคมสหประชาชาติเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้หรอื ที่เรยี ก (ยังเรียกช่ือ
ผดิ อย)ู่ วา่ เอเชียน (ASEAN) ขึน้ โดยทปี่ ระชมุ ได้ลงมตดิ งั นี้

1. รับปฏิญญาของสมาคม ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ประกาศการก่อต้ังสมาคม
ประชาชาติเอเซยี ตะวันออกเฉียงใต้

2. ให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คร้ังท่ี 2 ณ
กรุงจาการ์ตา ในปี ค.ศ. 1968 และในระยะเวลาก่อน และระหว่างการประชุมน้ัน คณะกรรมการประจาของ
สมาคมจะดาเนนิ งานอยู่ ณ กรุงจาการต์ า

3. ตกลงที่จะมอบหมายให้คณะกรรมการประจาพิจารณาข้อเสนอบางประการเก่ียวกับความร่วมมือส่วน
ภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การขนส่งทางเรือและการประมง และวิธีทางท่ีจะขยายการค้าในส่วน
ภมู ิภาค

อยา่ งไรกต็ ามจุดหมายและประสงคข์ องสมาคมมีดงั น้ี :
1. เพ่ือเร่งรัดความเจริญ ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรมในส่วน
ภมู ิภาค เพื่อเสรมิ รากฐานสาหรับประชาชนทมี่ ีความรุ่งเรอื งและสนั ติสุขแหง่ สหประชาชาติ
2. สง่ เสริมสันตภิ าพและเสถียรภาพในภมู ิภาค โดยเคารพแนว่ แน่ในความยุติธรรมและหลักแห่งเนติธรรม
ในการดาเนนิ ความสมั พันธแ์ ละกฎบตั รสหประชาชาติ
3. สง่ เสรมิ ความรว่ มมือจริงจังในดา้ นเศรษฐกิจ สังคม วฒั นธรรม วชิ าการ วิทยาศาสตรแ์ ละการบรหิ าร
4. จัดให้มีความช่วยเหลือซ่ึงกัน (และกัน) ในรูปของการอานวยความสะดวกทาง การฝึกอบรมและและ
วจิ ัยด้านการศกึ ษาวิชาชพี วิชาการ และการบรหิ าร
5. รว่ มมือเพอื่ ประโยชน์ในการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
6. ส่งเสริมการศึกษา
7. ดารงไว้ซึ่งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและมีประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค (ท่ี)
มวี ัตถุประสงคค์ ลา้ ยคลึงกนั
หลังจากลงนามแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศของ 5 ประเทศได้กล่าวปราศรัย เริ่มต้ังแต่ฟิลิปปินส์
อินโดนีเซีย มาเลเซีย สงิ คโปร์ และไทย ตามลาดับ นายรามอสได้กล่าวถึงสมาคมเอเชียนนวี้ ่าเป็นสมาคมท่ีร่วมมือ
กนั ในทางสนั ตแิ ละความเข้าใจซง่ึ กันและกัน

10

ดร.อาดัม มาลิก กล่าวว่า เป็นสมาคมที่แสดงให้เห็นว่าประเทศในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้สามารถ
ยืนหยัดอยู่ตามลาพังได้สาหรับตน อับดุลราซัคแห่งมาเลเซีย กล่าวว่า แม้จะไม่ได้มีการบอกกล่าวกันมากนัก
แต่สมาคมนี้ก็เป็นสมาคมที่ตั้งข้ึนเพ่ือสวัสดิภาพของประชาชน นายราชารัตนมั แหง่ สิงคโปร์ กลา่ วว่า สมาคมน้ีเป็น
สมาคมทไี่ ม่มวี ตั ถุประสงคจ์ ะตอ่ ตา้ นผู้ใด แตเ่ พื่อความม่นั คงและกา้ วหน้าของภูมภิ าคเอเซยี ”

อาเซียนกาเนิดขึ้นเวลา 10 : 50 น. เช้าวันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ที่กระทรวง
การตา่ งประเทศ วังสราญรมย์ กรงุ เทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย (สมเกยี รติ อ่อนวมิ ล. 2554 : 1)

รูปที่ 4 ผ้นู า 5 ชาติ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพหรอื ปฏิญญาอาเซยี น
ณ วงั สราญรมย์ กรงุ เทพมหานคร

ในเวลาตอ่ มามีประเทศต่างๆ เขา้ เป็นสมาชิกเพิม่ เตมิ ไดแ้ ก่ (พษิ ณุ เพชรพัชรกลุ และคณะ. 2554 : 3)

บรไู นดารุสซาลาม (6) วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527

เวียดนาม (7) วนั ท่ี 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

ลาวและเมียนมาร์ (8 , 9) วนั ท่ี 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540

กัมพูชา (10) วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

11

...กฎบตั รอาเซียน (ASEAN CHARTER)…

กฎบตั รอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนทจ่ี ะทาให้อาเซยี นมีสถานะเป็นนิติบคุ คล เป็นการ
วางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่ งท่ีถือเป็นค่านิยม หลักการ
และแนวปฏบิ ตั ิในอดีตของอาเซียนมาประกอบกนั เปน็ ข้อปฏบิ ัตอิ ย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแลว้ ยังมกี าร
ปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ข้ึน พร้อมกาหนดขอบเขตหน้าท่ีความรับผิดชอบขององค์กรที่สาคัญในอาเชียน
ตลอดจนความสัมพันธ์ในการดาเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปล่ียนแปลงในโลกปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดาเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างย่ิง
การขับเคล่ือนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามท่ีผู้นาอาเซียนได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้
ผู้นาอาเซียนได้ลงนามรบั รองกฎบตั รอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน คร้ังท่ี 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกาลังแสดง
ให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กาลั งจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่ างมั่นใจระหว่างประเทศ
สมาชกิ ตา่ งๆ ทัง้ 10 ประเทศ และถือเปน็ เอกสารประวตั ิศาสตร์ชนิ้ สาคญั ทีจ่ ะปรับเปลีย่ นอาเซยี นให้เป็นองคก์ รที่มี
สถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะท่ีเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบท้ัง
10 ประเทศแล้วเม่ือวันท่ี 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับต้ังแต่วันที่ 15 ธันวาคม
พ.ศ. 2551 เปน็ ตน้ ไป (ศูนย์ขอ้ มลู ความร้ปู ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. 2557 : 1)

วตั ถุประสงคข์ องกฎบตั รอาเซยี น
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทาให้อาเซียนเป็นองค์กรท่ีมีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็น
ศนู ย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทางานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน
เป็นองคก์ รระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสรา้ งกฎบัตรอาเซยี น
กฏบตั รอาเชียน ประกอบด้วยบทบญั ญตั ิ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมงุ่ ประสงค์และหลกั การของอาเซยี น
หมวดท่ี 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดท่ี 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สทิ ธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่)
หมวดท่ี 4 โครงสร้างองคก์ รของอาเซยี น
หมวดท่ี 5 องค์กรท่ีมคี วามสัมพนั ธก์ ับอาเซยี น
หมวดท่ี 6 การคุ้มกันและเอกสิทธ์ิ
หมวดท่ี 7 กระบวนการตดั สินใจ
หมวดท่ี 8 การระงบั ข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงนิ
หมวดท่ี 10 การบรหิ ารและข้ันตอนการดาเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดท่ี 12 ความสมั พนั ธก์ ับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบญั ญตั ทิ ว่ั ไปและบทบญั ญตั ิสดุ ทา้ ย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากข้ึน เสริมสร้างกลไกการติดตาม
ความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยมี
รายละเอยี ด ดงั น้ี

12

หมวด 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการของอาเซียน
ในดา้ นต่างๆ ท้ังความรว่ มมือทางเศรษฐกจิ สังคม การเมอื งและความมน่ั คง ส่ิงแวดล้อม ฯลฯ

หมวด 2 สภาพบุคคลตามกฎหมายและสภาพบคุ คลตามกฎหมายของอาเซยี น เป็นการระบุว่า อาเซยี น
คือองค์การระหว่างประเทศในระดับรฐั บาล และได้รบั สภาพบคุ คลตามกฎหมายโดยกฎบัตรน้ี

หมวด 3 สมาชิกภาพ กล่าวถึงประเทศใดบ้างท่ีเป็นสมาชิกอาเซียน แต่ละประเทศมีสิทธิและพันธกรณี
อย่างไรบ้าง รวมทั้งระบุถึงกฎเกณฑ์การรับสมาชิกใหม่ ซ่ึงต้องเป็นประเทศท่ีตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐสมาชกิ อาเซยี นยอมรับโดยฉนั ทามติในที่ประชมุ สุดยอดอาเซยี น

หมวด 4 องค์กร กล่าวถึงโครงสร้างองค์กรและหน้าท่ีของคณะกรรมการการทางานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ซ่ึงให้จัดประชุมปีละสองคร้ัง โดยให้รัฐสมาชิกที่เป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงคณะทางานต่างๆ ประกอบด้วย คณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคม
อาเซียน องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจาอาเซียน เลขาธิการและ
สานักเลขาธกิ ารอาเซียน องค์กรสทิ ธิมนษุ ยชนอาเซียน มลู นิธอิ าเซยี น

หมวด 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน ระบุว่าองคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนระบุอยู่ใน
ภาคผนวก 2

หมวด 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ กล่าวถึงเอกสิทธ์ิต่างๆ ของอาเซียนที่จะได้รับความคุ้นกันในดินแดน
ของรัฐสมาชิก รวมท้ังเร่ืองเอกสิทธ์ิทางการทูตของอาเซียน เลขาธิการอาเซียน พนักงานของสานักเลขาธิการ
อาเซียน ซึง่ จะไดร้ บั ความคุ้มกันและเอกสทิ ธิ์ท่ีจาเป็นในการปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ภี ายใต้ข้อบังคบั

หมวด 7 การตัดสินใจ กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินท่ีอยู่บนหลักการปรึกษาหารือและฉันทามติ รวมท้ัง
ข้ันตอนการดาเนินงานต่างๆ เช่น หากมีเรื่องละเมิดกฎบัตรร้ายแรงหรือไม่ปฏิบัติตาม ก็ต้องเสนอเร่ืองดังกล่าว
ไปยังท่ปี ระชุมสุดยอดอาเซียน เพ่ือตัดสนิ ใจ

หมวด 8 การระงับข้อพิพาท กลา่ วถึงวิธรี ะงับขอ้ พพิ าท ซึ่งระบวุ ่า รัฐสมาชกิ ตอ้ งพยายามระงับข้อพิพาท
อย่างสันติให้ทันท่วงที ผ่านการสนทนา ปรึกษาหารือ หรือเจรจา รวมทั้งอาจใช้คนกลางที่น่าเช่ือถือ
การประนีประนอม และการไกล่เกลี่ยก็ได้ ซ่ึงอาจมีการจัดต้ังกลไกเพ่ือระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดข้ึน แต่หากมี
ขอ้ พิพาททรี่ ะงับไมไ่ ด้ กใ็ หเ้ สนอขอ้ พพิ าทดังกล่าวไปให้ทีป่ ระชมุ สดุ ยอดอาเซียนเป็นผู้ตดั สนิ ในชอ่ งทางสดุ ทา้ ย

หมวด 9 งบประมาณและการเงิน ระบุถึงการจัดทางบประมาณของสานักเลขาธิการอาเซียน ซ่ึงต้องได้รับ
การตรวจสอบภายในและภายนอก โดยงบประมาณจะมาจากรฐั สมาชิกอาเซยี นจ่ายค่าบารงุ ประจาปี

หมวด 10 การบริหารและขั้นตอนการดาเนินงาน กล่าวถึงวาระของประธานอาเซียน ซ่ึงจะหมุนเวียน
ตาแหน่งกันทุกปี ตามลาดับตัวอักษรช่ือภาษาอังกฤษของประเทศ พร้อมกับระบุบทบาทของประธานอาเซยี นที่จะ
เสรมิ สรา้ งและส่งเสริมความสมั พนั ธใ์ ห้ดขี ้นึ ทั้งในและนอกอาเซียน รวมทัง้ ระบถุ ึงพิธกี ารและแนวปฏิบัตทิ างการทูต

นอกจากนี้ ในหมวด 10 ยังระบใุ ห้ ภาษาองั กฤษ เปน็ ภาษาที่ใชใ้ นการทางานรว่ มกนั
หมวด 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ กาหนดให้มีคาขวัญของอาเซียนว่า “One Vision, One Identity,
One Community” หรือ “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว” พร้อมกับกาหนดลักษณะของ
ธงอาเซยี น ดวงตราอาเซียน เพลงประจาอาเซยี น และให้วันท่ี 8 สงิ หาคม เปน็ วันอาเซียน
หมวด 12 ความสัมพันธ์ภายนอก กล่าวถึงแนวทางและขั้นตอนการเจรจาของอาเซียนกับคู่เจรจา
เพื่อดาเนินความสัมพันธ์กับภายนอกองค์กร โดยต้องยึดมั่นตามหลักเกณฑ์ท่ีกฎบัตรกาหนดไว้ รวมท้ังกาหนด
บทบาทของผู้ประสานงานกับคู่เจรจา พร้อมกับระบุความสัมพันธ์กับสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ
สถาบนั อืน่ ดว้ ย

13

หมวด 13 บทบัญญัติทั่วไป และบทบัญญัติสุดท้าย กล่าวถึงการลงนาม การใช้สัตยาบัน การเก็บรักษา
การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข อานาจหน้าท่ี การทบทวน การตีความบัตร ความต่อเนื่องทางกฎหมาย ต้นฉบับ
การจดทะเบียนกฎบัตรอาเซยี น สินทรัพยข์ องอาเซียน

จากโครงสร้างบทบัญญัติ 13 หมวดข้างต้น หากนามาสรุปสาระสาคัญเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เพ่ือให้เห็น
ภาพรวมชัดขึน้ ว่า กฎบตั รอาเซยี นมีวตั ถุประสงค์ และสาระสาคญั อย่างไรบา้ ง กจ็ ะสรุปได้ดังนี้

1. ภาพรวมของประชาคมอาเซียน การรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ การเพิ่ม
ความร่วมมือด้านการเมือง ความม่ันคง เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรม เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธ
ทม่ี อี านภุ าพทาลายล้างสงู

2. ด้านเศรษฐกิจ สร้างตลาดฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมตัวทาง
เศรษฐกิจที่มกี ารเคลอื่ นยา้ ยเสรขี องสินค้า/บริการ การลงทนุ และแรงงาน การเคล่อื นยา้ ยทุนเสรีย่งิ ขนึ้

3. ด้านความมั่นคงของมนุษย์ บรรเทาความยากจน และลดช่องว่างการพัฒนา ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากร
มนุษยผ์ า่ นความรว่ มมือด้านการศกึ ษาและการเรียนร้ตู ลอดชีพ

4. ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนท่ีมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างสังคมที่ปลอดภัยม่ันคงจากยาเสพติด
เพิ่มพูนความกินดีอยู่ดีของประชาชนอาเซียน ผ่านโอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการ
และความยตุ ิธรรม

5. ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนท่ีคุ้มครองสภาพแวดล้อม ความย่ังยืนของ
ทรัพยากรธรรมชาติ

6. ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทาง
วฒั นธรรม

7. ด้านการเมืองและความมน่ั คง คุ้มครองสิทธิมนษุ ยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสรา้ งประชาธิปไตย
เพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความม่ันคง เช่น การก่อการร้าย เป็นต้น หลักการ
ของกฎบัตรน้ี อยู่บนพ้นื ฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาท
โดยสันติวิธี สิ่งที่เน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทาให้กฎบัตรน้ีเป็นเสาหลักของ
การสรา้ งประชาคมอาเซียนและตอกยา้ ถงึ ขอ้ ผูกมัดทางกฎหมายของขอ้ ตกลงอาเซียนตา่ ง ๆ

กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากข้ึนได้อย่างไร มีข้อกาหนดใหม่ๆ ที่ช่วย
ปรับปรุงโครงสร้างการทางานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากข้ึน และเพ่ิมความยืดหยุ่นใน
การแกไ้ ขปัญหา เชน่

1. กาหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 คร้ัง เป็นปีละ 2 คร้ัง เพื่อให้ผู้นามีโอกาส
หารือกันมากขึ้น พร้อมท้ังแสดงให้เห็นถึงเจตจานงทางการเมืองท่ีจะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็น
ประชาคมในอนาคต

2. มีการต้ังคณะมนตรีประจาประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง
เศรษฐกจิ สงั คมและวัฒนธรรม

3. กาหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจาอาเซียนไปประจาทกี่ รุงจาการ์ตา ซ่ึงไมเ่ พียงแต่
จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนท่ีจะทางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพ่ือมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็น
ประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก

4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตาม
ทผ่ี นู้ ากาหนด

14

5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกาหนดว่าหากเกิดปัญหา
ที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกัน
เพอ่ื แกป้ ญั หา และกาหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

...โครงสร้างและกลไกในการดาเนินงานของอาเซียน…

กฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางโครงสร้างองค์กรและกลไกในการดา เนินงาน
ของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือในการดาเนินกิจการของสมาคม
ได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งภาคีสมาชิกได้ร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียนในระหว่าง
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี 13 เม่ือวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้เม่ือวันท่ี 15 ธันวาคม
พ.ศ. 2551 ส่งผลใหอ้ าเซยี นมีโครงสร้างองค์กรและกลไกในการดาเนนิ งาน ดังนี้

1. โครงสรา้ งของอาเซยี นภายใตก้ ฎบัตรอาเซยี น ประกอบด้วยหนว่ ยงาน ดังนี้
1.1 สานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ก่อตั้งข้ึนตามผลของ “ความตกลงจัดต้ังสานัก

เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศภาคีสมาชิกในระหว่าง
การประชุมสุดยอดอาเซียนที่เดนปาซาร์ ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519
เพ่ือทาหน้าที่ประสานงานและดาเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรทั้งหลายของอาเซียน
เป็นสื่อกลางในการติดต่ออย่างเป็นทางการระหว่างองค์กรและคณะกรรมการต่างๆ และระหว่างรัฐบาลของ
ประเทศสมาชิกกับสถาบันอ่ืนๆ ตลอดจนประสานงานให้ความสะดวกและช่วยเหลือสนับสนุนโครงการอาเซียน
ท่ีได้รับการอนุมัติ รวมทั้งริเริ่มโครงการ เพ่ือความร่วมมือในภูมิภาค ประสานงานการประชุมรัฐมนตรีและ
คณะกรรมการประจาสานักเลขาธิการอาเซียน ต้ังอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการ
ติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN) เป็นหัวหน้าสานักงาน
ท่ีผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดารงตาแหน่งเลขาธิการอาเซียนแล้ว 2 คน คือฯพณฯ นายแผน วรรณเมธี
ระหว่างปี 2527 - 2529 ดร.สรุ ินทร์ พศิ สวุ รรณ ระหวา่ งปี 2551 - 2555

รูปที่ 5 สานกั เลขาธกิ ารอาเซียน (ASEAN Secretariat)
ณ กรงุ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

15

1.2 สานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติหรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat) เป็น
หน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซยี น ซ่ึงแต่ละประเทศได้จัดตั้งข้ึนเพ่ือทา
หน้าที่รับผิดชอบประสานกิจการอาเซียนและตดิ ตามผลการดาเนินงานในประเทศน้ัน ให้ความช่วยเหลือสนบั สนุน
การประชุมประจาปีรัฐมนตรีอาเซียนหรือการประชุมพิเศษ ตลอดจนการประชุมและการดาเนินงานของ
คณะกรรมการประจาหรือคณะกรรมการอืน่ ๆ ท่ีจัดตั้งข้ึนต่อไป ทาหน้าที่เช่ือมโยงและประสานงานระหวา่ งรัฐบาล
และองค์การอาเซียนในกิจการต่างๆ ระดับชาติ เพ่ือให้กิจกรรมของอาเซียนดาเนินไปตามเป้าหมายท่ีประเทศ
สมาชิกได้ตกลงไว้ นับว่าเป็นองค์กรสาคัญท่ีทาให้โครงการและการดาเนินงานของอาเซียนเป็นจริงในทางปฏิบัติ
สาหรับประเทศไทยหน่วยงานท่ีรับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการผู้แทนถาวร
ประจาอาเซียน (Committee of Permanent Representatives - CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูต
ที่ได้รับการแต่งต้ังมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุนการทางานของคณะมนตรีสมาคมอาเซียนและ
องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียน เฉพาะสาขา รวมท้ังประสานงานกับสานักเลขาธิการอาเซียน และสานักเลขาธิการ
อาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
ผแู้ ทนถาวรประจาอาเซยี นและมคี ณะผ้แู ทนถาวรไทยประจาอาเซียน ณ กรุงจาการต์ า

2. กลไกกาหนดนโยบายและการดาเนินงานของอาเซียน ประกอบด้วยหน่วยงานท่ีสาคัญและมีกลไก
กาหนดนโยบายและการดาเนนิ งาน ดงั นี้

2.1 ทป่ี ระชมุ สุดยอดอาเซยี น (ASEAN Summit) ประกอบด้วย ประมขุ ของรัฐหรอื หัวหน้ารฐั บาล
ของประเทศสมาชิก เปน็ องค์กรสงู สุดในการกาหนดนโยบายของอาเซยี น ซ่ึงทปี่ ระชุมสดุ ยอดอาเซียนมีหนา้ ที่ ดงั น้ี

2.1.1 พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบายและตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุ
วัตถุประสงค์ของอาเซียน ในเรื่องสาคัญที่เป็นประโยชน์ของประเทศสมาชิก และในทุกประเด็นท่ีได้มีการนาเสนอ
ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน และองค์กรระดับ
รัฐมนตรีเฉพาะสาขา

2.1.2 ส่ังการให้รัฐมนตรีท่ีเกี่ยวข้อง ในแต่ละคณะมนตรีให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่าง
รัฐมนตรีและหารือประเด็นสาคัญที่เกี่ยวกับอาเซียนซ่ึงคาบเก่ียวระหว่างคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ ทั้งน้ี
ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนรบั กฎการดาเนนิ การประชมุ ดังกลา่ ว

2.1.3 อนุมัติการจัดต้ังและการยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอ่ืนๆ ของ
อาเซยี น

2.1.4 แต่งต้ังเลขาธิการอาเซียนท่ีมีข้ันและสถานะเทียบเท่ารัฐมนตรีซ่ึงจะปฏิบัติหน้าที่
โดยไดร้ ับความไว้วางใจและความพอใจของประมุขของประเทศ หรอื หวั หน้ารัฐบาล ตามข้อเสนอแนะของท่ีประชุม
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซยี น

2.2 คณะมนตรปี ระสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วย รัฐมนตรีต่างประเทศ
ของอาเซยี น ซ่ึงมีการประชมุ กันอยา่ งนอ้ ย 2 ครั้งต่อปี โดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน มีหน้าทดี่ ังน้ี

2.2.1 เตรยี มการประชมุ ของที่ประชมุ สดุ ยอดอาเซียน
2.2.2 ประสานการอนุวตั คิ วามตกลงและข้อตัดสินใจของท่ปี ระชุมสุดยอดอาเซยี น
2.2.3 ประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ เพ่ือเพ่ิมความสอดคล้องกันของ
นโยบายประสิทธิภาพและความรว่ มมอื ระหวา่ งกัน
2.2.4 ประสานการเสนอรายงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่อท่ีประชุมสุดยอด
อาเซียน
2.2.5 พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเกย่ี วกบั งานของอาเซียน

16

2.2.6 พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเก่ียวกับหน้าท่ีและการดาเนินงานของ
สานักงานเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอ่นื ๆ ท่ีเกย่ี วขอ้ ง

2.2.7 เห็นชอบการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าท่ีของรองเลขาธิการอาเซียน ตามข้อเสนอแนะ
ของเลขาธกิ ารอาเซยี น

2.3 คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils) ประกอบด้วยคณะมนตรีประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมสังคมและ
วัฒนธรรมอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน แต่ละคณะมีองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาท่ีเกี่ยวข้อง
ในขอบข่ายการดาเนินงานของตน และประเทศสมาชิกแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนของประเทศตนสาหรับ
การประชุมคณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะ เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละเสาหลักของประชาคม
อาเซียน ใหค้ ณะมนตรปี ระชาคมแต่ละคณะปฏิบตั ิตาม ดงั นี้

2.3.1 ทาให้แนใ่ จว่ามกี ารอนุวตั ิข้อตัดสนิ ของท่ปี ระชุมสุดยอดอาเซียนท่เี กีย่ วขอ้ ง
2.3.2 ประสานการปฏิบัติงานของสาขาต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการดาเนิน งานของตนและ
ในประเด็นซงึ่ คาบเกย่ี วกับคณะมนตรปี ระชาคมอืน่ ๆ
2.3.3 เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซยี นเก่ียวกบั เร่ืองที่อยใู่ นขอบข่าย
การดาเนินงานของตน โดยให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะประชุมกันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และมี
ประธานการประชุมเปน็ รฐั มนตรีทเ่ี หมาะสมจากประเทศสมาชิกซึง่ เปน็ ประธานอาเซยี น
2.4 องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sect oral Ministerial Bodies) มีหน้าที่
ดังน้ี
2.4.1 ดาเนินงานตามอานาจหนา้ ที่ของแต่ละองค์กรท่ีมีอยู่
2.4.2 อนวุ ตั กิ ารความตกลงและข้อตัดสินใจของท่ปี ระชมุ สุดยอดอาเซียนท่ีอยู่ในขอบข่ายการ
ดาเนินงานของแต่ละองคก์ ร
2.4.3 เสรมิ สรา้ งความร่วมมือในสาขาของแต่ละองคก์ รให้เข้มแขง็ ขนึ้ เพ่ือสนับสนุนการรวมตัว
ของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน
2.4.4 เสนอรายงานและข้อเสนอแนะตอ่ คณะมนตรีประชาคมอาเซยี นของแตล่ ะองค์กร
2.5 เลขาธิการอาเซียน (Secretary - General of ASEAN) ได้รับการแต่งตั้งโดยท่ีประชุมสุดยอด
อาเซียน โดยมีวาระการดารงตาแหนง่ 5 ปี ที่ไมส่ ามารถตอ่ อายุได้และให้ไดร้ ับการเลือกจากคนของประเทศสมาชิก
อาเซียน บนพ้ืนฐานของการหมุนเวียนตามลาดับตัวอักษร โดยคานึงถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึง
ประสบการณท์ างวชิ าชพี และความเทา่ เทยี มกันทางเพศ
2.6 คณะกรรมการผแู้ ทนถาวรประจาอาเซยี น (Committee of permanent representatives to
ASEAN) ประเทศสมาชกิ อาเซยี นแต่ละประเทศแตง่ ต้ังผู้แทนถาวร ประจาอาเซียน 1 คน ในชั้นเอกอัครราชทูตที่มี
ถ่ินพานกั ณ กรงุ จาการต์ า
2.7 สานักเลขาธิการอาเซยี นแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats) ทาหนา้ ที่ ดังนี้
2.7.1 เป็นผปู้ ระสานงานกลางแหง่ ชาติ
2.7.2 เปน็ หน่วยงานระดบั ชาติ ซง่ึ เก็บรักษาขอ้ สนเทศในเรือ่ งทัง้ ปวงเกี่ยวกบั อาเซียน
2.7.3 ประสานระดบั ชาตเิ กยี่ วกับการอนวุ ตั ิการข้อตัดสนิ ใจของอาเซียน
2.7.4 ประสานงานและสนับสนนุ การเตรียมการระดับชาติของการประชุมอาเซยี น
2.7.5 ส่งเสริมอัตลกั ษณแ์ ละความสานกึ เกย่ี วกับอาเซียนในระดบั ชาติ
2.7.6 มสี ่วนร่วมสร้างประชาคมอาเซยี น

17

2.8 องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body) จัดต้ังขึ้นเพ่ือให้สอดคล้องกับ
ความมุ่งประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเก่ียวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้ัน
พ้นื ฐาน

2.9 มลู นิธิอาเซยี น (ASEAN foundation) สนับสนนุ เลขาธิการอาเซยี นและดาเนนิ การร่วมกบั
องค์กรของอาเซยี นทเี่ กยี่ วขอ้ งในการสนบั สนุนการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการสง่ เสริมความสานกึ ทเ่ี พ่ิมขึ้น
เกี่ยวกบั อัตลักษณ์ของอาเซียน การมีปฏสิ ัมพันธร์ ะหว่างประชาชนและการดาเนินการท่ีใกลช้ ิดระหว่างภาคธุรกจิ
ภาคประชาสงั คม นักวชิ าการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสยี อน่ื ๆ ในอาเซยี น (ประชาคมอาเซยี น.net. 2559 : 1)

…สรุป กว่าจะมาเป็นอาเซยี น...

อาเซียน (ASEAN) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East
Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งข้ึนโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซ่ึงได้มีการลงนามท่ีวังสราญรมย์
เมื่อวันท่ี 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง
5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีตา่ งประเทศอินโดนเี ซยี ) นายตุน อับดุล ราชัก บินฮสุ เซน (รองนายกรฐั มนตรี รฐั มนตรี
กลาโหมและรฐั มนตรีกระทรวงพฒั นาการแห่งชาตมิ าเลเซยี ) นายนาซิโซ รามอส (รฐั มนตรตี ่างประเทศฟลิ ิปปินส์)
นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ
ไทย)

วัตถุประสงค์ของการก่อต้ังอาเซียน เพ่ือส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธารงไว้
ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนา
ทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพ้ืนฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของ
ประเทศสมาชกิ

ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพ่ิมเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกลาดับที่ 6)
เวียดนาม (เป็นสมาชิกลาดับท่ี 7) สปป.ลาว เมียนมาร์ (เป็นสมาชิกพร้อมกัน ลาดับท่ี 8 และ 9) และกัมพูชา
เข้าเป็นสมาชิกล่าสดุ (ลาดับที่ 10) ทาใหป้ จั จบุ ันมสี มาชิกอาเซียนทง้ั หมด 10 ประเทศ

กฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนท่ีจะวางโครงสร้างองค์กรและกลไกในการดา เนินงาน
ของอาเซียน เพ่ือให้อาเซียนสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือในการดาเนินกิจการของสมาคม
ได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซ่ึงภาคีสมาชิกได้ร่วมลงนามในกฎบัตรอาเซียนในระหว่าง
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันท่ี 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อวันท่ี 15 ธันวาคม
พ.ศ. 2551 ส่งผลให้อาเซียนมีโครงสร้างของอาเซียน ประกอบด้วยหน่วยงานทส่ี าคัญคือ สานักเลขาธิการอาเซียน
และสานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และกลไกในการดาเนินงาน ประกอบด้วย ท่ีประชุมสุดยอดอาเซียน
คณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียน องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
เลขาธิการอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจาอาเซียน สานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ องค์กร
สิทธมิ นษุ ยชนอาเซียน และมลู นิธอาเซียน

24

บรรณานุกรม

เนอื้ หา

ชนิดา นาคประเสริฐ. (2554). “เร่อื งของอาเซยี น” ใน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ส20207
อาเซียนศกึ ษา ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1. ตาก : โรงเรียนตากพิทยาคม.

ประชาคมอาเซียน.net. (2559). โครงสรา้ งและกลไกการดาเนนิ งานของอาเซยี น. สืบค้นคืนวนั ท่ี 30 เมษายน
2559 จาก https://www.trang.psu.ac.th/asean/?p=71

พิชาติ แก้วพวง. (2556). อาเซียนศกึ ษา ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 4 – 6. กรงุ เทพฯ : แมคเอด็ ดเู คชน่ั จากัด.
พิษณุ เพชรพัชรกุล และคณะ. (2554). หนงั สือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 – 3

อาเซยี นศึกษา. กรงุ เทพฯ : สานกั พิมพ์วฒั นาพานชิ .
สมเกียรติ อ่อนวมิ ล. (2554). กาเนิดอาเซยี น. สบื คน้ คืนวนั ท่ี 20 กันยายน 2556 จาก

http://www.facebook.com/notes
ศูนย์ขอ้ มูลความรูป้ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2557). กฎบตั รอาเซียน. สบื คน้ คืนวนั ท่ี 30 เมษายน 2557

จาก http://www.thai-aec.com/

รูปประกอบ

รูปท่ี 1 แผนที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ (ออนไลน)์ . สบื คน้ คืนวันที่ 25 ตุลาคม 2556
จาก http://th.wikipedia.org/wiki/

รปู ที่ 2 ผู้นาของชาตสิ มาชิกซีโต้ด้านหนา้ อาคารรฐั สภาหลังเกา่ ในกรงุ มะนิลา เม่อื วันที่ 24 ตลุ าคม 2509
(ออนไลน์). สบื ค้นค้นวนั ที่ 25 ตุลาคม 2556 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/

รปู ที่ 3 ผูน้ า 5 ชาตเิ อเชยี ตะวนั ออกเฉียงใตร้ ่วมกันสร้างประวตั ศิ าสตร์ทบี่ ้านแหลมแท่น (ออนไลน์).
สบื คน้ คน้ วันท่ี 25 ตลุ าคม 2556 จาก http://www.facebook.com/notes

รูปท่ี 4 ผนู้ า 5 ชาติ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพหรอื ปฏิญญาอาเซยี น ณ วังสราญรมย์ กรงุ เทพมหานคร
(ออนไลน)์ . สืบค้นค้นวันท่ี 27 ตุลาคม 2556 จาก http://www.facebook.com/notes

รูปที่ 5 สานักงานเลขาธกิ ารอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซยี (ออนไลน์). สืบค้นคืนวันท่ี
30 เมษายน 2559 จาก https://www.google.com/search?q=สานักงานเลขาธกิ ารอาเซยี น

แบบทดสอบกอ่ นเรยี น – หลังเรยี น
รายวิชาสหอาเซียน หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 พัฒนาการของอาเซยี น

คาช้แี จง ให้นักเรียนเลอื กคาตอบท่ีถูกต้องทีส่ ดุ เพยี งคาตอบเดียวแล้วทาเคร่ืองหมาย  ลงในชอ่ ง

1 , 2 , 3 หรือ 4 ทเ่ี ลือกนน้ั

1. ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN)
ก. Asia South East Association Nations
ข. Association of South East Asian Nations
ค. Asia South East Association National
ง. Association for South East Asian National

2. ขอ้ ใดไม่ใช่เหตุการณ์ท่ีเก่ียวข้องกบั กาเนดิ อาเชยี น
ก. ปัจจยั ทางการเมือง – กระบวนการให้ เอกราช/การปลดปล่อย (decolonization process)
ข. การลงนามในปฏญิ ญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวนั ที่ 8 สิงหาคม 2510
ค. การรวมตวั ดา้ นเศรษฐกิจ
ง. สงครามโลกคร้ังท่ี 1

3. ขอ้ ใดคือวัตถุประสงค์ของการรว่ มกลุ่มเศรษฐกจิ ในระดับภมู ิภาค
ก. เพ่ือให้ประเทศสมาชิกมีการค้าอยา่ งเสรีมากข้ึน
ข. เพื่อใหป้ ระเทศสมาชกิ ตดิ ตอ่ ค้าขายกันได้ง่ายขึน้
ค. เพือ่ ให้ประเทศสมาชกิ นาสนิ ค้าของประเทศตนมาขายมากขน้ึ
ง. เพื่อใหป้ ระเทศสมาชิกไดร้ ่วมมือกันต่อตา้ นสินคา้ ของประเทศนอกกล่มุ

4. การลงนามปฏิญญาอาเซียนลงนามทใี่ ด
ก. พระราชวังจนั ทรเกษม
ข. พระบรมมหาราชวงั
ค. พระราชวังสราญรมย์
ง. พระราชวงั ดสุ ติ

5. ทาไมจงึ เรียกประเทศไทยวา่ เป็นบา้ นเกิดของอาเซียน
ก. เพราะไดเ้ ปน็ ส่วนหน่งึ ของประเทศผู้ก่อต้ังอาเซยี น
ข. เพราะมีการหารอื รว่ มกันที่บา้ นแหลมแทน่ จังหวัดชลบุรี
ค. เพราะมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ
ง. ถกู ต้องทง้ั ข้อ ข และ ค

6. บคุ คลท่ีถอื วา่ เปน็ ผู้กอ่ ตั้งอาเซียนแรกเริม่ คอื ใคร
ก. ดร.ถนัด คอมันต์
ข. นายศุภชยั พานชิ ยศกั ดิ์
ค. ดร.สุรนิ ทร์ พศิ สวุ รรณ
ง. นายอานนั ท์ ปนั ยารชุน

7. ประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ยงั ไมไ่ ดเ้ ขา้ มาเปน็ สมาชิกอาเซยี น
ก. ติเมอร์ - เลสเต
ข. อินเดยี
ค. เมยี นมาร์
ง. ศรีลังกา

8. ลาวเขา้ มาเปน็ สมาชิกอาเซยี นเป็นอันดับเทา่ ไรพร้อมกับประเทศอะไร
ก. อันดบั ที่ 6 พร้อมบรูไน
ข. อนั ดับท่ี 7 พร้อมเวียดนาม
ค. อนั ดัยท่ี 8 พร้อมเมยี นมาร์
ง. อันดบั ที่ 9 พร้อมกัมพชู า

9. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกย่ี วกับอาเซยี น (ASEAN)
ก. อาเซยี นมีวตั ถปุ ระสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกจิ ในภมู ภิ าคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
ข. อาเซียนมวี ัตถปุ ระสงค์ทางการเมืองเพอื่ ใหเ้ อเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตเ้ ปน็ เขตสนั ติภาพแสรภี าพและ
ความเป็นกลาง
ค. อาเซียนประสบความสาเร็จในการขยายการค้าระหวา่ งประเทศสมาชิกและลดการค้ากบั ประเทศ
นอกภมู ิภาค
ง. อาเซียนประสบความสาเร็จในการยุตปิ ัญหาความขดั แย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค

10. ข้อใดเป็นประโยชนข์ องการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ก. เปล่ยี นมาใช้เงนิ ตราสกลุ เดียวกัน
ข. ทาใหน้ ักลงทนุ ไมก่ ล้ากกั ตุนสนิ คา้
ค. มอี านาจต่อรองทางการค้ากบั ตา่ งชาติเพม่ิ ข้นึ
ง. ทาให้ชนพ้ืนเมอื งมีสิทธใ์ิ นการลงทนุ มากกวา่ ต่างชาติ

11. ข้อใดเรยี งลาดับกล่มุ หรือองค์การทเี่ ริม่ รวมตวั กันกาเนดิ ขน้ึ ในดนิ แดนเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ได้ถูกต้อง
ก. SEATO , MAPHILINDO , ASEAN , ASA
ข. SEATO , MAPHILINDO , ASA , ASEAN
ค. SEATO , ASA , MAPHILINDO , ASEAN
ง. SEATO , ASEAN , ASA , MAPHILINDO

12. ส่งิ ใดเปรียบเสมือนธรรมนญู ของอาเซียนท่ีจะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสรา้ งองค์กรเพ่ือเพ่มิ
ประสทิ ธิภาพของอาเซยี นหรือทาให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบคุ คล
ก. กฎบตั รอาเซียน
ข. ปฏิญญาอาเซียน
ค. วิสัยทศั น์อาเซยี น
ง. สญั ลกั ษณอ์ าเซียน

13. ข้อใดไมถ่ ูกต้อง
ก. กรณขี องกลุ่มมาลิฟนิ โดมีปญั หาในการขยายสมาชกิ ท่ีไมส่ ามารถทาไดเ้ น่ืองด้วยข้อจากัดเร่ืองเชอื้ ชาติ
ข. กรณีขององคก์ ารซโี ตม้ จี ุดออ่ นดา้ นการรวมตัวกับประเทศนอกภูมิภาคและมปี ระเทศสมาชกิ อาเซยี น
แค่ 2 ประเทศเทา่ นัน้ ท่ีเขา้ รว่ ม
ค. กรณขี ององค์การอาสาต้องถูกยกเลกิ ไปเพราะเกิดความขดั แยง้ ของประเทศสมาชิกในกรณซี าบาห์
ง. กรณีของอาเซียนพ่ึงรบั ติมอร์ – เลสเต เขา้ เปน็ ประเทศสมาชกิ อาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2554

จงใช้เสน้ เวลาดงั ต่อไปนี้ตอบคาถามขอ้ 14 - 15 ช่วงแหง่ การก่อต้ังอาเซียน
ปี พ.ศ.

2510 ...(ข้อ 4).... 8 สงิ หาคม

2527 .....(A)...... 7 มกราคม

2538 .....(B)…… 28 กรกฎาคม ชว่ งแหง่ การขยายสมาชิกอาเซียน
2540 .....(C)...... 23 กรกฎาคม

เมยี นมาร์ 30 เมษายน
2542 .....(C)......

14. จากเสน้ เวลาดังกลา่ วขอ้ ใดเป็นประเทศสมาชิก 5 ประเทศ จากช่วงแหง่ การก่อตงั้ อาเซยี น ในวันที่
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ก. สิงคโปร์ ไทย บรไู น มาเลเซยี อินโดนีเซยี
ข. อนิ โดนีเซีย มาเลเซยี ฟิลปิ ปินส์ สงิ คโปร์ ไทย
ค. สงิ คโปร์ ไทย ฟลิ ิปปนิ ส์ มาเลเซีย บรไู น
ง. อินโดนเี ซีย สงิ คโปร์ มาเลเซีย ไทย บรูไน

15. จากเส้นเวลาที่แสดงตวั อักษร A B C และ D หมายถงึ ประเทศใด
ก. ลาว กัมพชู า เวียดนาม บรไู น
ข. ลาว บรไู น กัมพูชา เวียดนาม
ค. บรไู น เวียดนาม ลาว กมั พูชา
ง. บรไู น ลาว กมั พูชา ติมอร์ - เลสเต

16. “กรณปี ระเทศเมยี นมาร์มปี ญั หาการเรยี กร้องประชาธิปไตยระหวา่ งกลุ่มของนางอองซาน ซูจี กับรัฐบาลทหาร
แตอ่ าเซยี นก็ไม่สามารถเขา้ ไปดาเนินการใดๆ ได้ โดยปล่อยใหร้ ัฐบาลเมยี นมาร์แก้ไขปัญหาดงั กล่าวเอง”
จากข้อความดงั กล่าวสะท้อนให้เหน็ ถงึ การปฏบิ ตั ติ ามวถิ ีอาเซียนในข้อใด
ก. การอาศยั การระงับข้อพิพาทโดยสันติ
ข. การปรกึ ษาหารือและการยดึ หลกั ฉันทามติ
ค. การไม่แทรกแซงกจิ การภายในของรัฐสมาชกิ อาเซยี น
ง. การยดึ มนั่ ในหลกั การแห่งบรู ณภาพดินแดนและอัตลกั ษณแ์ ห่งชาติ

17. “ASEAN Day” มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากทีส่ ดุ
ก. ASEAN Flag
ข. ASEAN Charter
ค. ASEAN Declaration
ง. ASEAN Vision

18. ภายหลังการบังคบั ใช้กฎบัตรอาเซยี นสง่ ผลให้อาเซยี นมฐี านะตามขอ้ ใด
ก. นติ บิ คุ คล
ข. กล่มุ ประเทศ
ค. องคก์ ารมหาชน
ง. องคก์ ารระหวา่ งประเทศ

19. การดาเนินการจัดตั้งเครือขา่ ยมหาวิทยาลยั อาเซยี นสะท้อนใหเ้ ห็นถงึ การดาเนินงานตามจุดหมายและ
ความมุง่ ประสงค์ของอาเซียนในขอ้ ใด
ก. ธารงความร่วมมืออย่างใกลช้ ดิ กบั องค์กรระหวา่ งประเทศ
ข. ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกบั เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้
ค. จัดให้มีความชว่ ยเหลอื ซ่ึงกนั และกันในรปู ของการอานวยความสะดวกการฝึกอบรม
ง. เร่งรัดความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพฒั นาทางวัฒนธรรมในภมู ภิ าค

20. “การเจรจาเพื่อบรรเทาปัญหาหมู่เกาะสแปรตลียใ์ นท่ปี ระชุมอาเซียน ส่งผลใหอ้ าเซยี นและจนี บรรลขุ ้อตกลง
ในการแกไ้ ขปญั หาหม่เู กาะสแปรตลยี ์ โดยการลงนามในสัญญาการแจ้งการเคลื่อนยา้ ยกาลงั พล โดยแตล่ ะ
ประเทศทมี่ กี องกาลงั อยู่ในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ จะตอ้ งแจง้ ใหแ้ ตล่ ะประเทศท่เี กี่ยวข้องทราบถงึ การ
เคลื่อนย้ายกองกาลังของตนในบรเิ วณดงั กลา่ ว” จากขอ้ ความดังกลา่ วสะทอ้ นให้เห็นถงึ การดาเนินงานตาม
หลกั การพนื้ ฐานอาเซยี นในขอ้ ใด
ก. การอาศยั การระงบั ข้อพิพาทโดยสันติ
ข. การไมแ่ ทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชกิ อาเซยี น
ค. การยึดมั่นตอ่ หลักนติ ิธรรม ธรรมาภบิ าล หลักการประชาธิปไตย และรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
ง. การเคารพเสรภี าพพน้ื ฐาน การสง่ เสรมิ และคมุ้ ครองสทิ ธิมนุษยชน และการสง่ เสรมิ ความยตุ ิธรรม
ทางสังคม



19

ใบงานท่ี 2
เร่ือง บา้ นเกดิ ของอาเซียน

ช่ือ-สกลุ ........................................................................................................หอ้ ง ม. .................. เลขที.่ ..................

คาชี้แจง จงเขียนเคร่ืองหมาย √ หน้าข้อความท่ีถูกตอ้ ง และเขยี นเครอื่ งหมาย × หน้าข้อความที่ผิด (10 คะแนน)

.................. 1. จากการหารือร่วมกนั ท่ี “บ้านแหลมแทน่ ” นามาซ่ึงการรา่ งปฏิญญาขนึ้ เพ่อื จดั ตั้งองคก์ รทีม่ ีช่อื วา่
ซโี ต้ (SEATO)

.................. 2. ผู้นาอาเซยี น 5 ประเทศ ไดร้ ่วมกันลงนามในปฏญิ ญาอาเซยี น ณ วังสราญรมย์ จึงอาจเรยี ก
ปฏญิ ญาดังกล่าววา่ ปฏิญญากรุงเทพฯ

.................. 3. ประเทศสมาชกิ ทร่ี ว่ มกอ่ ต้ังอาเซยี นมีทง้ั หมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซยี มาเลเซยี เวยี ดนาม
สงิ คโปร์ ไทย

.................. 4. ผู้แทนประเทศไทยทีร่ ่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ คือ พนั เอก (พิเศษ) ดร.ถนดั คอมนั ตร์
(รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงต่างประเทศ)

.................. 5. การลงนามในปฏิญญาอาเซียนเมื่อวันท่ี 8 สงิ หาคม พ.ศ. 2510 เป็นทม่ี าของวนั อาเซียน
(ASEAN Day)

.................. 6. ประเทศตมิ อร์ - เลสเต ได้เขา้ ร่วมเปน็ สมาชกิ ในลาดบั ท่ี 10 เมือ่ วนั ท่ี 30 เมษายน พ.ศ. 2542

.................. 7. ปฏิญญาอาเซียนไดร้ ะบจุ ุดหมายและความมุ่งประสงค์ของอาเซยี น เพื่อส่งเสริมให้มีความรว่ มมอื กัน
ทางด้านเศรษฐกิจ สงั คม วฒั นธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบรหิ าร

.................. 8. การจัดให้มีความช่วยเหลอื ซงึ่ กนั และกนั ในรูปของการอานวยความสะดวกการฝกึ อบรม และวิจัย
ทางดา้ นการศึกษา วชิ าชพี วชิ าการและการบริการ เปน็ จุดหมายและความมุง่ ประสงคท์ ่ีได้ระบุไว้
ในปฏิญญาอาเซียน

.................. 9. อาเซียนสามารถเขา้ ไปแทรกแซงหรือเข้าไปมีส่วนรวมกจิ การภายในของประเทศสมาชิกอาเซยี น
เพ่อื ใหเ้ กดิ ความสงบเรียบรอ้ ยของประเทศสมาชิก ซึ่งได้ระบุไว้ในหลักการพ้นื ฐานของอาเซยี น

.................. 10. ASEAN Charter หรอื กฎบัตรอาเซยี น เปรยี บเสมอื นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งเปน็
สนธสิ ัญญาทีท่ ารว่ มกันระหว่างประเทศสมาชกิ อาเซียน


Click to View FlipBook Version