แผนการจัดการเรียนรู้ วิชานาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร นางสาวศุลีพร เขยไชย รหัสประจำตัวนักศึกษา ๖๓๐๔๐๑๐๕๒๑๘ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๒ รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๒ (INTERNSHIP IN SCHOOL ๒) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชานาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร นางสาวศุลีพร เขยไชย รหัสประจำตัวนักศึกษา ๖๓๐๔๐๑๐๕๒๑๘ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๒ รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๒ (INTERNSHIP IN SCHOOL ๒) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ รายวิชา นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) จำนวน ๔๐ ชั่วโมง โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร คำนำ การจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๒ เล่มนี้จัดทำขึ้น เพื่อกลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ครูนำไปพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพ การ พัฒนาหลักสูตรในระดับชั้นเรียนมีการดำเนินการจัดทำอย่างเป็นระบบ หลักสูตรมีความ สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๔๔๑ และได้มาจากความร่วมมือของผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการให้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ สามารถปรับปรุงและยืดหยุ่น ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้ มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความเจริญงอกงามของผู้เรียน ในทุกด้าน รวมทั้งส่งเสริม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เหมาะสมกับธรรมชาติและความต้องการของผู้เรียน นอกจากนี้ยังต้องมีแนวทางการวัด และประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับ สภาพการดำรงชีวิตจริง เนื้อหาของหลักสูตรเล่มนี้ประกอบไปด้วยความเป็นมาและความสำคัญ สมรรถนะ สำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้าง รายวิชานาฏศิลป์และหน่วยการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาเซียนและสวน พฤกษศาสตร์โรงเรียน การเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้สามารถนำไปสู่การเขียน แผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
คุณภาพผู้เรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ • รู้และเข้าใจเรื่องทัศนธาตุและหลักการออกแบบและเทคนิคที่หลากหลายในการสร้างงานทัศนศิลป์ ๒ มิติ และ ๓ มิติ เพื่อสื่อความหมายและเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ วิเคราะห์รูปแบบเนื้อหาและ ประเมินคุณค่างานทัศนศิลป์ของตนเองและผู้อื่น สามารถเลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่าง เหมาะสมสามารถออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ กราฟิกในการนำเสนอข้อมูลและมีความรู้ ทักษะที่จำเป็นด้าน อาชีพที่เกี่ยวข้องกันกับงานทัศนศิลป์ • รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของงานทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย เห็น คุณค่างานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและสามารถเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ที่มาจากยุคสมัยและวัฒนธรรม ต่างๆ • รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านเสียง องค์ประกอบ อารมณ์ ความรู้สึกของบทเพลงจาก วัฒนธรรมต่างๆ มีทักษะในการร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งเดี่ยวและเป็นวงโดยเน้นเทคนิคการร้องบรรเลง อย่างมีคุณภาพ มีทักษะในการสร้างสรรค์บทเพลงอย่างง่าย อ่านเขียนโน้ตในบันไดเสียงที่มีเครื่องหมาย แปลง เสียงเบื้องต้นได้ รู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของผลงานทางดนตรี องค์ประกอบของผลงานด้าน ดนตรีกับศิลปะแขนงอื่น แสดงความคิดเห็นและบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง สามารถนำเสนอบท เพลงที่ชื่นชอบได้อย่างมีเหตุผล มีทักษะในการประเมินคุณภาพของบทเพลงและการแสดงดนตรี รู้ถึงอาชีพ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีและบทบาทของดนตรีในธุรกิจบันเทิง เข้าใจถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและ สังคม • รู้และเข้าใจที่มา ความสัมพันธ์ อิทธิพลและบทบาทของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมในยุคสมัยต่าง ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ท าให้งานดนตรีได้รับการยอมรับ • รู้และเข้าใจการใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแปลความและสื่อสารผ่านการแสดง รวมทั้งพัฒนารูปแบบการแสดง สามารถใช้เกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาคุณภาพการแสดง วิจารณ์เปรียบเทียบ งานนาฏศิลป์ โดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบทางนาฏศิลป์ร่วมจัดการแสดง นำแนวคิดของการแสดงไปปรับ ใช้ในชีวิตประจำวัน • รู้และเข้าใจประเภทละครไทยในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย และละครพื้นบ้าน เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของการแสดงนาฏศิลป์จาก วัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์และ ละคร มีความเข้าใจ ความสำคัญ บทบาทของนาฏศิลป์และละครในชีวิตประจำวัน
ทำไมต้องเรียนศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มี จินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรม ทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไป สู่การพัฒนา สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐาน ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ เรียนรู้อะไรในศิลปะกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการทาง ศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่างๆ ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ทัศนศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนำเสนอผลงาน ทางทัศนศิลป์จาก จินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการ ของศิลปินในการสร้างงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญา ไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดนตรี มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรี ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรี ในรูปแบบ ต่างๆ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณี วัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ นาฏศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์เบื้องต้น ทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญา ไทย และสากล
สาระและมาตรฐานการเรียนรู สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์ มาตรฐาน ศ ๑.๑ สรางสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสรางสรรค์วิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณคุณค่างานทัศนศิลป์ถ่ายทอดความรูสึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน ทัศนศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาทองถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล สาระที่ ๒ ดนตรี มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสรางสรรค์วิเคราะห์วิพากษวิจารณ คุณค่า ดนตรี ถ่ายทอดความรูสึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใชในชีวิตประจำวันมาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทองถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสรางสรรค์วิเคราะห์วิพากษวิจารณคุณค่า นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลปะที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.๑ ๑.เลียนแบบการเคลื่อนไหว • การเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ - การเลียนแบบธรรมชาติ - การเลียนแบบคน สัตว์ สิ่งของ ๒.แสดงท่าทางง่ายๆ เพื่อสื่อความหมายแทน คำพูด • การใช้ภาษาท่าและประดิษฐ์คำพูด ประกอบเพลง • การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับการ เลียนแบบธรรมชาติ ๓.บอกสิ่งที่ตนเองชอบจากการดูหรือร่วมการ แสดง • การเป็นผู้ชมที่ดี ป.๒ ๑.การเคลื่อนไหว ขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ • การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ - การนั่ง - การยืน - การเดิน ๒.การแสดงเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ ของตนเองอย่างอิสระ • การประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหว อย่างมีรูปแบบ • เพลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อ ๓.แสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด • หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่าสื่อความหมายแทน อากัปกิริยา - การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนลำตัว ๔.แสดงท่าทางประกอบจังหวะอย่าง สร้างสรรค์ • การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ประกอบจังหวะ ๕.ระบุมารยาทในการชมการแสดง • มารยาทในการชมการแสดง การเข้า ชม หรือการมีส่วนร่วม
ป.๓ ๑.สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ สถานการณสั้นๆ • การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ - รำวงมาตรฐาน - เพลงราชนิพนธ์ - สถานการณ์สั้นๆ - สถานการณ์ที่กำหนดให้ ๒.แสดงท่าทางประกอบเพลงตามรูปแบบ นาฏศิลป์ • หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่าสื่ออารมณ์ของมนุษย์ - การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนขา ๓.เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้แสดง และผู้ชม • หลักการชมการแสดง - ผู้แสดง - ผู้ชม - การมีส่วนร่วม ๔.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสม กับวัย ๕.บอกประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ใน ชีวิตประจ าวัน • การบูรณาการนาฏศิลป์กับสาระการ เรียนรู้อื่นๆ ป.๔ ๑.ระบุพื้นฐานทางนาฏศิลป์และการละคร ที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์ • หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่า - การฝึกนาฏยศัพท์ ๒.การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ ทางการละครง่ายๆ ในการถ่ายทอด เรื่องราว • การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราช นิพนธ์ • การใช้ศัพท์ทางการละครในการ ถ่ายทอดเรื่องราว ๓.การแสดงเคลื่อนไหวในจังหวะตาม ความคิดของตนเอง • ประดิษฐ์ท่าทางหรือท่ารำประกอบ จังหวะเพลงพื้นเมือง ๔.แสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่และเป็นคู่ • การแสดงนาฏศิลป์ประเภทคู่และหมู่ - รำวงมาตรฐาน - ระบำ
๕.เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดงโดยเน้น จุดสำคัญของเรื่องและลักษณะเด่นของตัว ละคร • การเล่าเรื่อง - จุดสำคัญ - ลักษณะเด่นของตัวละคร ป.๕ ๑.บรรยายองค์ประกอบนาฏศิลป์ • องค์ประกอบนาฏศิลป์ - จังหวะ ทำนอง คำร้อง - ภาษาท่า นาฏยศัพท์ - อุปกรณ์ ๒.แสดงท่าทางประกอบเพลงหรือเรื่องราว ตามความคิดของตน • ประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลงหรือ ท่าทางประกอบเรื่องราว ๓.แสดงนาฏศิลป์ โดยเน้นการใช้ภาษาท่า และนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมายการ แสดงออก • การแสดงนาฏศิลป์ - ระบำ - ฟ้อน - รำวงมาตรฐาน ๔.มีส่วนร่วมในกลุ่มกับการเขียนเค้าโครง เรื่องหรือบทละครสั้นๆ • องค์ประกอบของละคร - การเลือกและเขียนเค้าโครงเรื่อง - บทละครสั้นๆ ๕.เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ • ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ ๖.บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการชมแสดง • หลักการชมการแสดง • การถ่ายทอดความรู้สึกและคุณค่าของ การแสดง ป.๖ ๑.สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดง โดยเน้นการถ่ายทอดลีลาและอารมณ์ • การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลง ปลุกใจหรือ เพลงพื้นเมือง หรือท้องถิ่น เน้นลีลาหรืออารมณ์ ๒.ออกแบบเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์การ แสดงอย่างง่าย • ออกแบบสร้างสรรค์ - เครื่องแต่งกาย - อุปกรณ์ ฉากประกอบการแสดง
๓.แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ • การแสดงนาฏศิลป์และการละคร - รำวงมาตรฐาน - ระบำ - ฟ้อน - ละครสร้างสรรค์ ๔.บรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่องาน นาฏศิลป์และการละครอย่างสร้างสรรค์ • บทบาทและหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ และการละคร ๕.แสดงความคิดเห็นในกา รชมการแสดง • หลักหารชมการแสดง - วิเคราะห์ - ความรู้สึกชื่นชน ๖.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ และการละครกับสิ่งที่ประสบใน ชีวิตประจำวัน • องค์ประกอบทางนาฏศิลป์และการ ละคร
สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.๑ ๑.ระบุและการละเล่นของเด็กไทย • การละเล่นของเด็กไทย - วิธีการเล่น - กติกา ๒.บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดง นาฏศิลป์ • การแสดงนาฏศิลป์ ป.๒ ๑.ระบุและการละเล่นพื้นบ้าน • การละเล่นพื้นบ้าน - วิธการเล่น - กติกา ๒.เชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่น พื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิตของ คนไทย • ที่มาของการละเล่นพื้นบ้าน ๓.ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจใน การละเล่นพื้นบ้าน • การละเล่นพื้นบ้าน ป.๓ ๑.เล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็นใน ท้องถิ่น • การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านหรือท้องถิ่น ของตน ๒.ระยุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ ของการแสดงนาฏศิลป์ • การแสดงนาฏศิลป์ - ลักษณะ - เอกลักษณ์ ๓.อธิบายความส าคัญของการแสดง นาฏศิลป์ • ที่มาของนาฏศิลป์ - สิ่งที่เคารพ ป.๔ ๑.อธิบายความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุด การแสดงอย่างง่ายๆ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์ • ที่มาของชุดการแสดง ๒.เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์กับการ แสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น • การชมการแสดง - นาฏศิลป์ - การแสดงของท้องถิ่น
๓.อธิบายความสำคัญของการแสดงความ เคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์ - การทำความเคารพก่อนเรียนและก่อน แสดง ๔.ระบุเหตุผลที่ควรรักษาและสืบทอดการ แสดงนาฏศิลป์ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์ - คุณค่า ป.๕ ๑.เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่างๆของ ไทยในแต่ละท้องถิ่น • การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆ - การแสดงพื้นบ้าน ๒.ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี • การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆ - การแสดงพื้นบ้าน ป.๖ ๑.อธิบายต่อสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดง นาฏศิลป์ • ความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญ ของ นาฏศิลป์และการละคร - บุคคลสำคัญ - คุณค่า ๒.ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือ การชมการแสดงนาฏศิลป์และการละคร • การแสดงนาฏศิลป์และการละครในวัน สำคัญของโรงเรียน
คำอธิบายรายวิชา รายวิชา นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา ๔๐ ชั่วโมง จำนวน ๑ หน่วยกิต ............................................................................................................................................................... มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ตะวันออก การแสดงนาฏศิลป์ไทย และการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ตลอดจนสามารถวิเคราะห์การแสดงโดยใช้ศัพท์ทางการแสดงได้ มีทักษะความสามารถในการแสดงนาฏศิลป์ไทยและการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านได้อย่างถูกต้อง สวยงาม สามารถสร้างสรรค์การแสดงและบูรณาการการแสดงกับการเรียนวิชาอื่น ๆ เห็นคุณค่าและชื่นชมในการแสดงนาฏศิลป์ไทย แสดงนาฏศิลป์ตะวันออก การแสดงนาฏศิลป์ไทย และการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง วิจารณ์การแสดงโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการพัฒนา รหัสตัวชี้วัด ศ ๓.๑ ม.๒/๑,๒,๓,๔,๕ ศ ๓.๒ ม.๒/๑,๒,๓ รวม ๘ ตัวชี้วัด
กำหนดการสอนรายวิชานาฏศิลป์ ศ๒๒๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวศุลีพร เขยไชย หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ จำนวนชั่ว โมง รวม ๑.นาฏศิลป์ตะวัน ออก ศ ๓.๒ ศ ๓.๒ ๑.นาฏศิลป์อินเดีย ๒.นาฏศิลป์ญี่ปุ่น ๓.นาฏศิลป์จีน ๔.นาฏศิลป์อินโดนีเซีย ๕.นาฏศิลป์เขมร ๖.นาฏศิลป์พม่า ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๖ ๒.นาฏศิลป์ไทย เบื้องต้น ศ ๓.๒ ศ ๓.๒ ๑.ละครโนรา-ชาตรี ๒.ละครนอก ๓.ละครใน ๔.ละครดึกดำบรรพ์ ๕.ละครพันทาง ๖.ละครเสภา ๗.ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๗ ๓.นาฏยศัพท์ ศ ๓.๑ ศ ๓.๑ ๑.นาฏยศัพท์และภาษาท่า ๑ ๑ ๔.การแสดงนาฏ ศิลป์ไทย ศ ๓.๑ ศ ๓.๒ ๑.โขน ๒.ระบำอธิฐาน ๓.รำสีนวล ๔.ระบำเบ็ดเตล็ด ๕.รำวงมาตรฐาน เพลงคืนเดือนหงาย ๖.รำวงมาตรฐานดวงจันทร์วันเพ็ญ ๗.รำวงมาตรฐาน ดอกไม้ของชาติ ๘.หลักการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ ไทย ๒ ๑ ๑ ๑ ๒ ๒ ๑ ๑ ๑๑
๕.การแสดงนาฏ ศิลป์พื้นเมือง ศ ๓.๒ ศ ๓.๒ ๑.นาฏศิลป์พื้นเมืองและการอนุรักษ์ นาฏศิลป์ไทย ๒.ฟ้อนเล็บ ๓.รำลาวกระทบไม้ ๔.ตารีกีปัส ๕นาฏศิลป์พื้นเมืองที่แสดงเป็นเรื่อง ลิเก ๖.นาฏศิลป์พื้นเมืองที่แสดงเป็นเรื่อง หุ่นกระบอก ๗.การออกแบบเครื่องแต่งกาย การ ผลิตการแสดง และการประดิษฐ์ท่ารำ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๒ ๘ ๖.ความสัมพันธ์ ของนาฏศิลป์ประ วัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ เป็นภูมิปัญญาไทย ศ ๓.๑ ศ ๓.๒ ๑.ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับ วิชาอื่นๆ ๒.ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับ ประเพณีวัฒนธรรม ๓.ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับ ศิลปะแขนงต่างๆ ๑ ๑ ๑ ๓ กลางภาค ๑ ปลายภาค ๑ รวม ๔๐
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะรายวิชานาฏศิลป์ ศ๒๒๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ นาฏศิลป์ตะวันออก เวลา ๖ ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวศุลีพร เขยไชย ................................................................................................................................................................. ๑.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐาน ศ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ตัวชี้วัด ศ๓.๒ (๓) อธิบายอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อเนื้อหาของละคร ๒.สาระสำคัญ นาฏศิลป์เป็นศิลปะการแสดงที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเป็นอารยชาติที่ได้ สร้างสรรค์สืบทอดกันมาช้านาน โดยมีมูลเหตุมาจากความเชื่อทางศาสนา ประกอบกับพื้นฐานอารมณ์ สะเทือนใจของมนุษย์ ๓.สาระการเรียนรู้ ๓.๑ นาฏศิลป์ตะวันออก ๑.นาฏศิลป์อินเดีย ๒.นาฏศิลป์ญี่ปุ่น ๓.นาฏศิลป์จีน ๔.นาฏศิลป์อินโดนีเซีย ๕.นาฏศิลป์เขมร ๖.นาฏศิลป์พม่า ๔.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการคิด ๑.ทักษะการคิดวิเคราะห์ ๒.ทักษะการจัดกลุ่ม ๓.ทักษะการตั้งเกณฑ์ ๔.ทักษะการประเมิน
๕.ทักษะการนำความรู้ไปใช้ ๔.๒ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑.ใฝ่เรียนรู้ ๒.มุ่งมั่นในการทำงาน ๓.มีจิตสาธารณะ ๖.ชิ้นงาน/ภาระ (รวมยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๗.การวัดและการประเมินผล ๗.๑ การประเมินก่อนเรียน - ทดสอบความรู้ก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องนาฏศิลป์ตะวันออก ๗.๒ การประเมินระหว่างการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ ๑.ประเมินการเรียนของผู้เรียน ๒.สังเกตพฤติกกรรมการทำงานรายบุคคล ๓.สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ๔.สังเกตคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ ๗.๓ การประเมินหลังเรียน - ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่อยการเรียนรู้ที่ ๑ ๗.๔ การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวมยอด) ๑. หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒
๘.กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ ๑ นาฏศิลป์อินเดีย ( ๑ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry Method : 5E ) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑.ครูถามคำถามเข้าสู่บทเรียน (แนวคำถาม เช่น มีใครรู้จักไหมว่านาฏศิลป์หมายถึง อะไร นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงการร่ายรำในรูปแบบ ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดงเป็นเรื่องราวที่เรียกว่า ละคร มี ใครเคยดู หรือพบเห็นตามงานเทศกาลต่างๆบ้างหรือไม่ เป็นการแสดงแบบใด ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ให้ เพื่อนๆร่วมชั้นเรียนได้ฟัง ) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง นาฏศิลป์อินเดียจากหนังสือเรียน หรือแหล่งข้อมูล สารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายรายละเอียดเรื่องนาฏอินเดีย โดยใช้สื่อนำเสนอ ( PowerPoin ) ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่อง เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาลักษณะการ แสดง เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ๒.ครูเปิดตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์ตะวันออกชุด ภารตนาฏยัม สลับกับการบรรยาย และคำถาม กระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในรูปแบบ mind mappingเนื้อหาประกอบไป ด้วยซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่องตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์ตะออกชุด ภารตาฏยัม โดยให้ทำเป็นงานเดี่ยว ลงในกระดาษ A4 โดยอนุญาตให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.นักเรียนนำเสนอ mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วม อภิปลายความรู้ในประเด็นต่างๆ ร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตกบกพร่องหรือสงสัยครู สรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้ อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งถัดไป
เรื่องที่ ๒ นาฏศิลป์ญี่ปุ่น ( ๑ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry method : 5E ) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑.ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน ( แนวคำถาม มีใครเคยดูละครเก่าญี่ปุ่นไหม เช่น ละครโนะ ละครคาบูกิ ละครเคียวเง็น ละครหุ่นบุนรากุ เป็นรูปแบบใด ( ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนๆร่วมชั้น เรียนได้ฟัง ) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ญี่ปุ่นจากหนังสือเรียน หรือ แหล่งข้อมูลสารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายละเอียดเรื่องการแสดงนาฏศิลป์ญี่ปุ่น โดยใช้สื่อนำเสนอ (Powerpoint) และสื่อวิดิโอการแสดงนาฏศิลป์ญี่ปุ่น ได้แก่ ละครโน ละครบูกิ ละครเคียวเง็น ละครหุ่นบุ นรากุ โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และ อธิบายว่าการแสดงนาฏศิลป์ญี่ปุ่นมีรูปแบบการแสดงและ เอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไร ๒.ครูเปิดตัวอย่างการแสดงทั้ง ๔ ชุดให้นักเรียนดู สลับกับบรรยาย และถามคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ (Expand) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบ Mind mapping กำหนดเนื้อหาประกอบไป ด้วยซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ญี่ปุ่น ได้แก่ ละครโนะ ละครบูกิ ละครเคียวเง็น ละครหุ่นบุ นรากุ โดยให้ทำเป็นงานเดี่ยวลงในกระดาษขนาด A4 โดยอนุญาตให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตได้ ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (Evluate) ๑.นักเรียนนำเสนอ Mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วมอภิปรายความรู้ใน ประเด็นต่างๆร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตกบกพร่องหรือสงสัย ๒.ครูสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้ อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป
เรื่องที่ ๓ นาฏศิลป์จีน ( ๑ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑.ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน (แนวคำถาม เช่น มีใครเคยไปงานที่มีการแสดงงิ้ว บ้าง เช่น เทศกาลต่างๆ ได้พบเห็นการแสดงนาฏศิลป์บ้างหรือไม่ เป็นรูปแบบใด ( ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ฟัง ร่วมชั้นเรียนได้ฟัง ) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา (Explore) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง การแสดงงิ้วในโอกาสต่างๆจากหนังสือ หรือ แหล่งข้อมูลสารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ (Expand) ๑.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายรายละเอียดเรื่องการแสดงงิ้วในโอกาสต่างๆโดยนำเสนอ (Powerponit) ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่องเกี่ยวกับลักษณะการแสดงงิ้ว การแต่งกาย เสื้อผ้าและการ แต่งหน้าเป็นสำคัญ สมาชิกแต่ะกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และ อธิบายว่าการแสดงนาฏศิลป์จีนมีรูปแบบการแสดง และเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไร ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ (Expand) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบ mind mapping กำหนดเนื้อหา ประกอบไปด้วยซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่อง ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์จีนได้แก่ การแสดงงิ้ว โดยให้ทำเป็น งานเดี่ยวลงในกระดาษขนาด A4 โดยอนุญาตให้ ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตได้ ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (Evaluate) ๑.นักเรียนนำเสนอ mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วม อภิปรายความรู้ใน ประเด็นต่างๆร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตกบกพร่องหรือสงสัย ๒.ครูสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนครั้งต่อไป
เรื่องที่ ๔ นาฏศิลป์อินโดนีเซีย (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน (แนวคำถาม มีใครรู้จักประเทศอินโดนีเซียไหม และมีใครรู้จัก นาฏศิลป์ของอินโดนีเซียหรือไม่ เป็นรูปแบบใด ครูและนักเรียนแชร์ประสบการณ์ร่วมกันในชั้นเรียน ) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา (Explore) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาหาความรู้เรื่องนาฏศิลป์อินโดนีเซียจากหนังสือหรือแหล่งข้อมูล สารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ (Explain) ๒.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายรายละเอียดเรื่องนาฏศิลป์อินโดนีเซียโดยใช้สื่อนำเสนอ (PowerPoint) ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่อง การแสดงเชิดหุ่นเงา นาฏศิลป์สุมาตรา นาฏศิลป์ชวา นาฏศิลป์บาหลี สมาชิกในห้องเรียนร่วมกันวิเคราะห์และอธิบายว่าการ แสดงนาฏศิลป์อินโดนีเซียมีรูปแบบ การแสดงลักษณะใดและเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไร ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ (Expand) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้ที่ได้ในรูปแบบ mind mapping กำหนดเนื้อหาประกอบ ไปด้วยเรื่อง นาฏศิลป์อินโดนีเซีย ได้แก่ การแสดงเชิดหุ่นเงา นาฏศิลป์สุมาตรา นาฏศิลป์ชวา นาฏศิลป์ บาหลี โดยให้ทำเป็นงานเดี่ยวลงในกระดาษ A4 โดยอนุญาตให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (Evaluate) ๑.นักเรียนนำเสนอ mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วมอภิปรายความรู้ใน ประเด็นต่างๆร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตก บกพร่องหรือสงสัย ๒.ครูสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้ อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่จะเรียกในครั้งถัดไป
เรื่องที่ ๕ นาฏศิลป์เขมร (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน (แนวคำถาม เช่น มีใครรู้จักประเทศเขมรไหม มีใครเคยไปบ้าง และใครเคยเห็นนาฏศิลป์เขมรบ้างหรือไม่ เป็นรูปแบบใด ให้นักเรียนแชร์ประสบการณ์ในห้องเรียน ) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา (Explore) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง นาฏศิลป์เขมรจากหนังสือเรียนหรือแหล่งข้อมูล สารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ (Explain) ๑.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายรายละเอียดเรื่องนาฏศิลป์เขมรโดยใช้สื่อนำเสนอ (PowerPoint) ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่อง การแสดงของขมรแต่ดั้งเดิมใช้ผู้หญิงแสดง ลักษณะการรำ การแต่งกาย สมาชิกในห้องเรียนร่วมกันวิเคราะห์และอธิบายการแสดงนาฏศิลป์เขมรมีลักษณะแบบใด เอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างไร ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ (Expand) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบ mind mapping กำหนดเนื้อหา ประกอบไปด้วย นาฏศิลป์เขมร โดยให้ทำเป็นงานเดี่ยวลงในกระดาษ A4 อนุญาตให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจาก อินเทอร์เน็ตได้ ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (Evaluate) ๑.นักเรียนนำเสนอ mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วมอภิปรายความรู้ใน ประเด็นต่างๆร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตกบกพร่องหรือสงสัย ๒.ครูสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้ อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่เรียนครั้งถัดไป
เรื่องที่ ๖ นาฏศิลป์พม่า (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน (แนวคำถาม มีใครรู้จักประเทศพม่าหรือไม่แล้วมีใครเคยเห็น การแสดงนาฏศิลป์ของประเทศพม่าหรือไม่ เป็นรูปแบบใด ครูและนักเรียนแชร์คำตอบกันในห้องเรียน) ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา (Explore) ๑.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่องนาฏศิลป์พม่า จากหนังสือเรียนหรือแหล่งข้อมูล สารสนเทศ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ (Explain) ๑.ครูพูดเชื่อมโยงเข้าสู่การบรรยายรายละเอียดเรื่องนาฏศิลป์พม่า โดยใช้สื่อนำเสนอ (PowerPoint) ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่อง ศาสนาและประเพณี นาฏศิลป์ที่เก่าแก่ของพม่า สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกัน วิเคราะห์และอธิบายว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่าไร ๒.ครูเปิดตัวอย่างการแสดงทั้งนาฏศิลป์พม่า ชุดระบำบวงสรวงเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สลับกับการ บรรยายและถามคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ (Expand) ๑.ครูมอบหมายให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบ mind mapping กำหนดเนื้อหา ประกอบไปด้วยซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยเรื่องนาฏศิลป์พม่า โดยให้ทำเป็นงานเดี่ยวลงในกระดาษ A4 โดย อนุญาตให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตได้ ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (Evaluate) ๑.นักเรียนนำเสนอ mind mapping ด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ดหลังห้อง และร่วมอภิปรายความรู้ ประเด็นต่างๆร่วมกัน ครูอธิบายเสริมในประเด็นที่นักเรียนขาดตกบกพร่องหรือสงสัย ๒.ครูสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในครั้งนี้ อธิบายเพิ่มเติมพร้อมแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนครั้งถัดไป
๙.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ สื่อการเรียนรู้ ๑.หนังสือเรียน นาฏศิลป์ ม.๒ ๒.สื่อ PowerPoint ๓.สื่อวิดีโอการแสดง ๔.ตรวจใบงานที่ ๑.๑ เรื่องนาฏศิลป์ตะวันออก ๕ตรวจใบงานที่ ๑.๒ เรื่องนาฏศิลป์ตะวันออกที่สนใจ ๙.๒ แหล่งการเรียนรู้ ๑.ห้องสมุด ๒.แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 10. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ ๑.๑ - ๑.๒ ใบงานที่ ๑.๑ – ๑.๒ ร้อยละ ๖๐ผ่านเกณฑ์ ประเมินการนำเสนอผลงาน แบบประเมินการนำเสนอผลงาน ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน กลุ่ม ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตการใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการ ทำงานและมีจิตสาธารณะ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่วยการ เรียนรู้ที่ ๑ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการ เรียนรู้ที่ ๑
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะรายวิชานาฏศิลป์ศ๒๒๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น เวลา ๗ ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวศุลีพร เขยไชย ................................................................................................................................................................. ๑.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐาน ศ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ตัวชี้วัด ศ๓.๒ (๓) อธิบายอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อเนื้อหาของละคร ๒.สาระสำคัญ ละคร เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเรื่องราวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ ๒ ประเภท คือ ละครรำและละครที่ไม่ใช่ละครรำ ซึ่งละครแต่ละประเภทมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง ๓.สาระการเรียนรู้ ๓.๑ ละครรำ ๑.ละครโนรา-ชาตรี หรือละครชาตรี ๒.ละครนอก ๓.ละครใน ๔.ละครดึกดำบรรพ์ ๕.ละครพันทาง ๖.ละครเสภา ๓.๒ ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ๑.ละครร้อง ๒.ละครสังคตี ๓.ละครพูด ๔.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการคิด ๑.ทักษะการคิดวิเคราะห์
๒.ทักษะการจัดกลุ่ม ๓.ทักษะการตั้งเกณฑ์ ๔.ทักษะการประเมิน ๕.ทักษะการนำความรู้ไปใช้ ๔.๒ ความสรถในการนำไปใช้ทักษะชีวิต ๕.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑.มีวินัย ๒.ใฝ่เรียนรู้ ๓.มุ่งมั่นในการทำงาน ๔.มีจิตสาธารณะ ๖.ชิ้นงาน/ภาระ (รวมยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๗.การวัดและการประเมินผล ๗.๑ การประเมินก่อนเรียน - ทดสอบความรู้ก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่องนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น ๗.๒ การประเมินระหว่างการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ ๑.ตรวจใบงาน ๒.๑ เรื่องประวัติละครไทย ๒.ตรวจใบงาน ๒.๒ เรื่องลีลาท่ารำละครไทย ๓.ตรวจใบงาน ๒.๓ เรื่องละครไทยที่ชื่นชอบ ๔.ตรวจใบงาน ๒.๔ เรื่องละครไทย ๕.ตรวจใบงาน ๒.๕ เรื่องประเภทละครไทย ๖.ประเมินการเรียนของผู้เรียน ๗.สังเกตพฤติกกรรมการทำงานรายบุคคล ๘.สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ๙.สังเกตคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
๗.๓ การประเมินหลังเรียน - ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่อยการเรียนรู้ที่ ๒ ๗.๔ การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวมยอด) ๑. หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๘. กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ ๑ เรื่องละครโนรา-ชาตรี หรือละครชาตรี(๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูให้ผู้เรียนแสดงบทสมมุติเป็น พระเอก นางเอก และตัวตลกโดยผู้เรียนคิดบทขึ้นเอง เพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑. ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครชาตรี ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดงที่ ได้ชมนั้นคือละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้ บ้างหรือไม่ โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจประสบ การณ์ของตนเอง ๒. ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครโนรา-ชาตรี ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่องละครโนรา-ชาตรี หรือละครชาตรีถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย เรื่องที่แสดงว่า ๑.๑ ประวัติเป็นต้นเค้าละครประเภทอื่นๆ มีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ๑.๒ วิธีการแสดง แต่เดิมมีผู้แสดง ๓ ตัว คือ ตัวนายโรง ตัวนาง และตัวตลก ละครชาตรี มีปี่นอกและ เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ได้แก่ ทับหรือโทน กลองตุ๊ก ฆ้องคู่ ฉิ่ง แกระ ส่วนโนราใช้ซอหรือปี่ ๑.๓ การแต่งกาย ละครชาตรีแต่งยืนเครื่องพระนาง โนราแต่งแบบโนรา ๑.๔ เรื่องที่แสดง สมัยโบราณนิยมแสดงเรื่องมโนราห์และเรื่องรถเสน
ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand) ๑.ครูแจกใบงานเรื่อง ละครโนรา-ชาตรี ให้ผู้เรียนศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม ที่มีผลต่อการแสดงละครโนรา-ชาตรีและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดงการแต่งกาย และเพลงร้อง และเรื่องที่แสดง โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน นาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑. ครูสุ่มให้ผู้เรียนตอบคำถาม โดยเขียนคำถามที่มีอยู่ในใบงานบนกระดาน แล้วให้ ผู้เรียนร่วมกันตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน ๒. ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครโนรา-ชาตรี โดยครูคอยให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์ การเรียนรู้และแนะนำเนื้อหาที่จะเรียกในครั้งถัดไป เรื่องที่ ๒ เรื่อง ละครนอก ( ๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูขออาสาสมัครให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติ เป็นตัวละครในเรื่องแก้วหน้าม้า โดยครูคอยให้คำแนะนำตัวละครและบทบาทการแสดงเพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครนอก ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดง ที่ได้ชมนั้นคือละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้ บ้างหรือไม่โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ความเข้าใจ และประสบ การณ์ของตนเอง ๒.ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครนอก ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ละครนอก ถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย โดยและเพลงร้อง ๑.๑ ประวัติ เป็นละครที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สันนิษฐานว่ามาจากการละเล่นพื้นเมืองของชาวบ้าน ๑.๒วิธีการแสดง เดิมใช้ผู้ชายแสดงล้วน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน ต่อมามีผู้หญิงร่วมแสดงด้วย
๑.๓ การแต่งกาย ระยะแรกแต่งอย่างคนธรรมดาสามัญ ต่อมาแต่งเลียนแบบละครใน ๑.๔ ดนตรีและเพลงร้อง ใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่ ๑.๕ เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูเปิดวิดีโอละครนอกให้ผู้เรียนชมอีกครั้งแล้ววิเคราะห์ลักษณะการแสดงจากความรู้ที่ได้เรียน ร่วมกันแล้วครูอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ ๒.ครูแจกใบงานเรื่อง ละครนอก ให้ศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแสดงละครนอกและ วิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกายและเรื่องที่แสดง โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล (( Evaluate ) ๑.ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครนอก โดยครูคอยให้ความรู้เพิ่มเติม ในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำเนื้อหาที่จะเรียน ในครั้งถัดไป เรื่องที่ ๓ เรื่องละครใน (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูขออาสาสมัครให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์โดย ครูคอยให้คำแนะนำตัวละครและบทบาทการแสดงเพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครใน ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดงที่ได้ชมนั้นคือ ละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้บ้างหรือไม่ โดยให้ผู้เรียนแสดง ความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเอง
ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ละครใน ถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกายดนตรีและ เพลงร้อง เรื่องที่แสดงว่า ๑.๑ ประวัติ เกิดขึ้นหลังละครนอก เดิมเรียกละครข้างใน ละครนางในหรือ ละครในพระราชฐาน ต่อมาเรียกให้สั้นว่า ละครใน ๑.๒ วิธีการแสดง เน้นความงามของกระบวนท่ารำ บทกลอนมีความสละสลวย ไม่นิยมแสดง ตลกขบขัน ๑.๓ การแต่งกาย แต่งกายแบบยืนเครื่อง ๑.๔ ดนตรีและเพลงร้อง นิยมใช้ปี่พาทย์เครื่องคู่ เพลงร้องมีจังหวะช้า ๑.๕ เรื่องที่แสดง มี ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา ๒.ครูให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะการแสดงละครนอกและละครในว่ามีความเหมือนหรือ แตกต่างกันอย่างไร แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูแจกใบงานเรื่อง ละครใน ให้ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแสดงละครใน และวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้องและเรื่องที่แสดงโดยศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครใน โดยครูคอยให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วน ที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งถัดไป เรื่องที่ ๔ เรื่อง ละครดึกดำบรรพ์ ( ๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูให้ผู้เรียนช่วยกันบอกลักษณะของการแสดงละครโอเปร่าตามความเข้าใจของผู้เรียน แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความสนใจ
ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดง ที่ได้ชมนั้นคือละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้ บ้างหรือไม่ โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจและ ประสบการณ์ของตนเอง ขั้นที่ ๓ อธิบายความเข้าใจ ( Explain ) ๑.ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครดึกดำบรรพ์ถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้อง เรื่องที่แสดงว่า ๑.๑ ประวัติ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ให้กำเนิดคือ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ๑.๒ วิธีการแสดง ผู้แสดงต้องร้องรำเอง ๑.๓ การแต่งกาย แต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง ๑.๔ ดนตรีและเพลงร้อง ใช้ปี่พาทย์เครื่องดึกดำบรรรพ์ ยึดปี่พาทย์เครื่องใหญ่เป็นหลักตัด เครื่องดนตรีเสียงแหลม ๑.๕ เรื่องที่แสดง ส่วนมากเป็นบทที่นำมาจากละครใน-ละครนอก ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑. ครูแจกใบงานเรื่อง ละครดึกดำบรรพ์ ให้ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อ การแสดงละครดึกดำบรรพ์และวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้องและเรื่องที่แสดง โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครดึกดำบรรพ์ โดยครูคอยให้ความรู้ เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำเนื้อหาที่จะเรียน ในครั้งถัดไป
เรื่องที่ ๕ เรื่องละครพันทาง (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติเป็นชนชาติจีนและพม่าตามความเข้าใจของ ผู้เรียนแล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครพันทาง ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดง ที่ได้ชมนั้นคือละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้ บ้างหรือไม่โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ความเข้าใจและประสบ การณ์ของตนเอง ๒.ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครพันทาง ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ละครพันทาง ถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลง ร้อง เรื่องที่แสดงว่า ๑.๑ ประวัติเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรง ดัดแปลงจากการแสดงละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ๑.๒ วิธีการแสดง ละครพันทางเป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในใช้ท่ารำไทยผสมกับลีลาของ ชนชาติต่างๆ ๑.๓ การแต่งกาย แต่งกายตามลักษณะเชื้อชาติของเรื่องที่แสดง ๑.๔ ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่และเพิ่มเครื่องภาษาเข้าไปด้วย ๑.๕ เรื่องที่แสดง มีการแสดงเรื่องที่เป็นพงศาวดารของชาติต่างๆ หรือปรับปรุงมาจากละครนอกตอนที่มี ตัวละครเป็นชาวต่างชาติ
ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูแจกใบงานเรื่อง ละครพันทาง ให้ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการ แสดงละครพันทางและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้องและเรื่องที่ แสดง โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.ครูสุ่มให้ผู้เรียนตอบคำถาม โดยเขียนคำถามที่มีอยู่ในใบงานบนกระดานแล้วให้ผู้เรียนร่วมกันตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน ๒. ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครพันทาง โดยครูคอยให้ความรู้ เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำเนื้อหา ที่จะเรียนในครั้งถัดไป เรื่องที่ ๖ เรื่องละครเสภา (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูสอบถามผู้เรียนว่าเมื่อได้ยินคำว่าละครเสภาผู้เรียนนึกถึงอะไรบ้าง เพราะเหตุใด เพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครเสภา ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดงที่ได้ชมนั้นคือ ละครประเภทใดมีลักษณะการแสดงอย่างไรและผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้บ้างหรือไม่ โดยให้ผู้เรียน แสดงความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเอง ๒.ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครเสภา
ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ละครเสภา ถึงประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรี และเพลงร้อง เรื่องที่แสดงว่า ๑.๑ ประวัติ ละครเสภาเป็นละครที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงปรับปรุงการแสดงละครชนิดนี้ โดยนำการ แสดงเสภารำมาผสมกับละครพันทาง ๑.๒ วิธีการแสดง ใช้การขับเสภาในการดำเนินเรื่อง ๑.๓ การแต่งกาย แต่งตามท้องเรื่องเหมือนกับละครพันทาง ๑.๔ ดนตรีและเพลงร้อง นิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ๑.๕ เรื่องที่แสดง นำมาจากนิทานพื้นบ้าน ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูแจกใบงาน เรื่อง ละครเสภา ให้ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแสดงละครเสภา และวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้อง และเรื่องที่แสดงโดยศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.ครูสอบถามผู้เรียนว่าละครรำทั้ง ๖ ชนิด ได้แก่ ละครโนรา-ชาตรี ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ละครพันทาง และละครเสภา ผู้เรียนชอบละครชนิดใดมากที่สุดเพราะอะไร ๒.ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครเสภา โดยครูคอย ให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่องที่ ๗ เรื่องละครที่ไม่ใช่ละครรำ (๑ ชั่วโมง) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ (Engage) ๑.ครูให้ผู้เรียนบอกความรู้เรื่องละครร้องจากความเข้าใจและประสบการณ์เดิมของ ผู้เรียนที่มีมาก่อนเริ่มเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ
ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นคว้า ( Explore ) ๑. ครูเปิดวิดีโอการแสดงละครร้อง ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า การแสดงที่ได้ชมนั้นคือ ละครประเภทใด มีลักษณะการแสดงอย่างไร และผู้เรียนเคยชมการแสดงเหล่านี้บ้างหรือไม่ โดยให้ผู้เรียนแสดง ความคิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเอง ๒. ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ว่ามี ๓ ชนิด คือ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด ๑.๑ ละครร้อง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ละครร้องล้วนๆ และละครร้องสลับพูด ละครร้องล้วนๆ ๑.ประวัติ ผู้ให้กำเนิดคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒. วิธีการแสดง ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง เล่าเรื่องเป็นเพลง ๓. การแต่งกาย แต่งกายตามท้องเรื่อง ๔. ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม ๕. เรื่องที่แสดง เช่น สาวิตรี ศกุนตลา พระเกียรติรถ ละครร้องสลับพูด ๑.ประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดัดแปลงนำ เค้ามาจากการแสดงของชาวมลา ๒.วิธีการแสดง มีทั้งบทร้องและบทพูด ๓.การแต่งกาย แต่งกายตามท้องเรื่อง ๔.ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม ๕.เรื่องที่แสดง เช่น ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน สาวเครือฟ้า ๑.๒ ละครสังคีต ๑.ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น ๒.วิธีการแสดง ใช้ผู้แสดงชายและหญิงแสดงจริงตามท้องเรื่อง ๓.การแต่งกาย แต่งกายตามท้องเรื่อง ๔.ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม ๕.เรื่องที่แสดง บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑.๓ ละครพูด ๑.ประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น ๒.วิธีการแสดง - ละครพูดล้วนๆ ดำเนินเรื่องด้วยการพูด - ละครพูดสลับลำ มีเพลงเข้ามาแทรก - ละครพูดแบบร้อยกรอง ดำเนินเรื่องด้วยการพูดเป็นกลอน ๓.การแต่งกาย แต่งกายตามท้องเรื่อง ๔.ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมหรือวงดนตรีสากล ๕.เรื่องที่แสดง - ละครพูดล้วนๆ เช่น โพงพาง เจ้าข้าสารวัด - ละครพูดสลับลำ เช่น ชิงนาง - ละครพูดแบบร้อยกรอง เช่น เวนิสวานิช ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑. ครูแจกใบงานเรื่อง ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ให้ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแสดง ละครที่ไม่ใช่ละครรำและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา วิธีการแสดง การแต่งกาย ดนตรีและเพลงร้อง และเรื่องที่แสดง โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ๒. ครูสุ่มให้ผู้เรียนตอบคำถาม โดยเขียนคำถามที่มีอยู่ในใบงานบนกระดาน แล้วให้ผู้เรียน ร่วมกันตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑. ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ละครที่ไม่ใช่ละครรำโดยครูคอย ให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และแนะนำ เนื้อหาที่จะเรียนในครั้งถัดไป
๙.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ สื่อการเรียนรู้ ๑.หนังสือเรียน นาฏศิลป์ ม.๒ ๒.สื่อวิดีโอการแสดง ๓.ตรวจใบงานที่ ๒.๑ เรื่องประวัติละครไทย ๔.ตรวจใบงานที่ ๒.๒ เรื่องลีลาท่ารำละครไทย ๕.ตรวจใบงานที่ ๒.๓ เรื่องละครไทยที่ชื่นชอบ ๖.ตรวจใบงานที่ ๒.๔ เรื่องละครไทย ๗.ตรวจใบงานที่ ๒.๕ เรื่องประเภทละครไทย ๙.๒ แหล่งการเรียนรู้ ๑.ห้องสมุด ๒.แหล่งข้อมูลสารสนเทศ ๑๐. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ ๒.๑ – ๒.๕ ใบงานที่ ๒.๑ – ๒.๕ ร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์ ประเมินการนำเสนอผลงาน แบบประเมินการนำเสนอผลงาน ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน กลุ่ม ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตการใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการ ทำงานและมีจิตสาธารณะ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่วยการ เรียนรู้ที่ ๒ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการ เรียนรู้ที่ ๒
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะรายวิชานาฏศิลป์ ศ๒๒๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ นาฏยศัพท์ เวลา ๑ ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวศุลีพร เขยไชย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ๑.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความ คิดอย่างอิสระ ชื่นชม แลประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวชี้วัด ศ ๓.๑ (๒) สร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร ๒.สาระสำคัญ นาฏศิลป์เป็นศิลปะแห่งการละครและรำ ซึ่งท่าทางต่างๆได้นำมาจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เช่น การยืน การเดิน หรือจากกิริยาอารมณ์ต่างๆ เช่น ร้องไห้ ดีใจ อาย มาประดิษฐ์ให้งดงามขึ้น นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์เฉพาะที่ใช้เป็นที่รู้กันในวงนาฏศิลป์ ภาษาท่า หมายถึง การแสดงท่าทางที่สื่อความหมายแทนคำพูด ๓. สาระการเรียนรู้ ๑.นาฏยศัพท์ - นาฏยศัพท์ - ภาษาท่า ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการคิด ๑.ทักษะการวิเคราะห์ ๒.ทักษะการจัดกลุ่ม ๓.ทักษะการตั้งเกณฑ์ ๔.ทักษะการประเมิน ๕.ทักษะการนำความรู้ไปใช้ ๔.๒ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑.รักชาติศาสน์กษัตริย์ ๒.มีวินัย ๓.ใฝ่เรียนรู้ ๔.มุ่งมั่นในการทำงาน ๕.รักความเป็นไทย ๖.มีจิตสาธารณะ ๖.ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๗. การวัดและการประเมินผล ๗.๑การประเมินก่อนเรียน - ทบทวนความรู้เดิมก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง นาฏยศัพท์ ๗.๒ การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๑.ตรวจใบงานที่ ๓.๑ เรื่อง นาฏศัพท์ ๒.ตรวจใบงานที่ ๓.๒ เรื่อง ภาษาท่า ๓.ตรวจใบงานที่ ๓.๓ เรื่อง เพลงเราสู้ ๔.ประเมินการนำเสนอผลงาน ๕.สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ๖.สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ๗.สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๗.๓ การประเมินหลังเรียน - ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ ๗.๔ การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒
๘.กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ ๑ นาฏยศัพท์( ๑ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry Method : 5E ) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑. ครูให้ผู้เรียนแสดงท่าทางสื่อสารกับเพื่อนแทนการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิต ประจำวันเพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑. ครูเปิดวิดีโอการแสดงระบำเทพบันเทิง ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า ทราบหรือไม่ว่าท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นเรียกว่าท่าอะไร โดยให้ผู้เรียนแสดงความ คิดเห็นและอภิปรายตามความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเอง ๒. ครูเชื่อมโยงเรื่องที่ผู้เรียนตอบกับเรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง นาฏยศัพท์ แล้วสาธิตให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๑ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าล่อแก้ว ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๒ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าม้วนจีบ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๓ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าโบกจีบ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๔ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าสอดจีบ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๕ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าส่ายแขน ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๖ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าจรดเท้า ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๑.๗ ครูสาธิตนาฏยศัพท์ ท่าถัดเท้า ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ภาษาท่า แล้วสาธิตให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๑ ครูสาธิตภาษาท่า ท่าไหว้ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๒ ครูสาธิตภาษาท่า ท่าโศกเศร้า ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๓ ครูสาธิตภาษาท่า ท่าเดิน ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๔ ครูสาธิตภาษาท่า ท่าชี้นิ้ว ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๕ ครูสาธิตภาษาท่า ท่ากล้าหาญหรือสู้ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ๒.๖ ครูสาธิตภาษาท่า ท่ายิ่งใหญ่ ให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม
ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูให้ผู้เรียนร่วมกันฝึกท่านาฏยศัพท์และภาษาท่า แล้วให้ผู้เรียนออกมาปฏิบัติท่า นาฏยศัพท์และภาษาท่าหน้าชั้นเรียน ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑. ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า ใช้เป็นพื้นฐาน ในการเรียนนาฏศิลป์ในระดับที่สูงขึ้น และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ๒. ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยครูคอยให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงประเด็นกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ และแนะนำเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งถัดไป ๙.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ สื่อการเรียนรู้ ๑.หนังสือเรียน นาฏศิลป์ ม.๒ ๒.สื่อวิดีโอการแสดง ๓.ตรวจใบงานที่ ๓.๑ เรื่องนาฏยศัพท์ ๔.ตรวจใบงานที่ ๓.๒ เรื่องภาษาท่า ๕.ตรวจใบงานที่ ๓.๓ เรื่องเพลงของเรา ๙.๒ แหล่งการเรียนรู้ ๑.ห้องสมุด ๒.แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
๑๐. การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ ๓.๑ – ๓.๓ ใบงานที่ ๓.๑ – ๓.๓ ร้อยละ ๖๐ ผ่านเกณฑ์ ประเมินการนำเสนอผลงาน แบบประเมินการนำเสนอผลงาน ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน กลุ่ม ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ สังเกตการ รักชาติ ศาสตร์กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์ ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่วยการ เรียนรู้ที่ ๓ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการ เรียนรู้ที่ ๓
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะรายวิชานาฏศิลป์ ศ๒๒๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่องการแสดงนาฏศิลป์ไทย เวลา ๑๒ ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวศุลีพร เขยไชย …………………………………………………………………………………………………………………………………………................ ๑.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด อิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ตัวชี้วัด ศ ๓.๑ (๓) วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ ทางการละครที่เหมาะสม (๔) เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง ศ ๓.๒ (๒) ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้น บ้านหรือมหรสพอื่น ที่เคยนิยมกันในอดีต ๒.สาระสำคัญ การแสดงนาฏศิลป์ไทยแต่ละชุดมีความงดงามอ่อนช้อยแตกต่างกัน ตามลักษณะการแสดงของชุดนั้นๆ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้ประดิษฐ์ ๓.สาระการเรียนรู้ ๑.นาฏศิลป์ไทย ๒.รำวงมาตรฐาน ๓.หลักการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ไทย ๔. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๔.๑ ความสามารถในการคิด ๑.ทักษะการวิเคราะห์ ๒.ทักษะการจัดกลุ่ม ๓.ทักษะการตั้งเกณฑ์
๔.ทักษะการประเมิน ๕.ทักษะการนำความรู้ไปใช้ ๔.๒ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑.รักชาติศาสน์กษัตริย์ ๒.มีวินัย ๓.ใฝ่เรียนรู้ ๔.มุ่งมั่นในการทำงาน ๕.รักความเป็นไทย ๖.มีจิตสาธารณะ ๖. ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๗. การวัดและการประเมินผล ๗.๑ การประเมินก่อนเรียน - ทบทวนความรู้เดิมก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทย ๗.๒ การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๑.ตรวจใบงานที่ ๔.๑ เรื่อง ระบำอธิฐาน ๒.ตรวจใบงานที่ ๔.๒ เรื่อง รำสีนวล ๓.ตรวจใบงานที่ ๔.๓ เรื่อง เพลงคืนเดือนหงาย ๔.ตรวจใบงานที่ ๔.๔ เรื่อง เพลงดวงใจวันเพ็ญ ๕.ตรวจใบงานที่ ๔.๕ เรื่อง เพลงดอกไม้ของชาติ ๖.ตรวจใบงานที่ ๔.๓ เรื่อง วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ไทย ๗.ประเมินการนำเสนอผลงาน ๘.สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ๙.สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ๑๐.สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๗.๓ การประเมินหลังเรียน
- ตรวจแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ๗.๔ การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด) ๑.หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ นาฏศิลป์ ๒ ๘.กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ ๑ เรื่อง ระบำอธิฐาน ( ๒ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry Method : 5E ) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑.ครูให้ผู้เรียนแสดงท่าทางแทนคำพูดที่ครูบอก แล้วให้เพื่อนในชั้นเรียนทายว่า เพื่อนต้องการสื่อสารอะไรเพื่อกระตุ้นความสนใจ ๒.ครูอ่านเนื้อเพลงระบำอธิษฐานให้ผู้เรียนฟัง แล้วให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ท่าทาง ประกอบเพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงระบำอธิษฐาน ให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า เคยชม การแสดงชนิดนี้หรือไม่ การแสดงชุดนี้มีลักษณะ วิธีการแสดง การแต่งกายอย่างไร และมีอุปกรณ์อะไรเพื่อใช้ประกอบการแสดง โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นตาม ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเอง และให้ผู้เรียนชม ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ลักษณะ ท่ารำ เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อท่ารำ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑.ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง ระบำอธิษฐาน เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะและวิธีการแสดง เนื้อ เพลง การแต่งกาย และวิธีการปฏิบัติท่ารำ ว่าระบำอธิษฐานเป็นระบำที่แทรกอยู่ในละครเรื่องอานุภาพพ่อขุน รามคำแหง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง ผู้แสดงถือพานดอกไม้ ๑.๑ ครูสาธิตท่ารำ เพลงระบำอธิษฐานทีละท่า พร้อมอธิบายวิธีการปฏิบัติ แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติ ตามจนสามารถปฏิบัติได้ ๑.๒ ครูให้ผู้เรียนแสดงท่ารำ เพลงระบำอธิษฐาน พร้อมเปิดเพลงประกอบ โดย ครูปฏิบัตินำและให้ผู้เรียนปฏิบัติตามในครั้งแรก จากนั้นครูให้ผู้เรียนลองปฏิบัติเอง หลายๆ ครั้งจนชำนาญและ สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
๑.๓ ครูสอบถามผู้เรียนถึงข้อสงสัยในการปฏิบัติท่ารำ เพลงระบำอธิษฐาน ครูตอบข้อสงสัย และ สาธิตท่ารำระบำอธิษฐานอีกครั้งให้กับผู้เรียนที่ยังปฏิบัติไม่ได้ จนเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ ขั้นที่ ๔ ขยายความเข้าใจ ( Expand ) ๑.ครูแจกใบงานเรื่อง ระบำอธิษฐาน ให้ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์ถึงประวัติความเป็น มา ลักษณะและวิธีการแสดง เนื้อเพลง ท่ารำ อุปกรณ์ประกอบการแสดง และการแต่งกาย โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนนาฏศิลป์ ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หรือจากอินเทอร์เน็ต ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบผล ( Evaluate ) ๑.ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสรุปเรื่อง ระบำอธิษฐาน และ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน โดยครูคอยให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์และ แนะนำเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งถัดไป เรื่องที่ ๒ เรื่อง รำสีนวล ( ๒ ชั่วโมง ) วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry Method : 5E ) ขั้นที่ ๑ กระตุ้นความสนใจ ( Engage ) ๑.ครูให้ผู้เรียนแสดงท่านาฏยศัพท์ตามคำบอก เพื่อกระตุ้นความสนใจ ๒.ครูอ่านเนื้อเพลงรำสีนวลให้ผู้เรียนฟัง แล้วให้ผู้เรียนทดลองสร้างสรรค์ท่าทางประกอบ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ ๒ สำรวจค้นหา ( Explore ) ๑.ครูเปิดวิดีโอการแสดงรำสีนวลให้ผู้เรียนชม แล้วซักถามผู้เรียนว่า เคยชมการแสดงชนิดนี้หรือไม่การ แสดงชุดนี้มีลักษณะ วิธีการแสดง การแต่งกายอย่างไร โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นตามความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองและให้ผู้เรียนวิเคราะห์ลักษณะท่ารำ เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อท่ารำ ขั้นที่ ๓ อธิบายความรู้ ( Explain ) ๑. ครูนำเสนอเนื้อหาเรื่อง รำสีนวล เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะและวิธีการ แสดง เนื้อเพลง และการแต่งกาย ว่ารำสีนวลเป็นไปในทางบันเทิงรื่นรมย์ของหญิงสาวแรกรุ่น ที่มีจริตกิริยางดงามใช้ผู้หญิงแสดงล้วน เหมาะสำหรับใช้แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป