The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อารยธรรมกรีกและโรมัน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pphumphakdi, 2021-09-10 07:35:13

อารยธรรมกรีกและโรมัน

อารยธรรมกรีกและโรมัน

อารยธรรมกรีกและโรมัน

นางสาวปณุ ยวรี ์ พ่มุ ภักดี ชั้นม.6/5 เลขท่ี 14

ความรุ่งเรอื งของอารยธรรม

อารยธรรมโรมนั

ชาวโรมันได้ใช้เวลานานกว่า 600 ปีในการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของตน ซึ่งได้
เผยแพร่ไปทวั่ จักรวรรดิโรมันที่กวา้ งใหญ่ ความโดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่ง
ได้รับจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผสานกับความ
เจริญกา้ วหนา้ ทีเ่ ป็นภูมปิ ัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นและสรา้ งระบบตา่ งๆ เพอ่ื ดำรงความยิ่งใหญ่
ของจกั รวรรดิโรมันไว้ ทำให้จกั รวรรดโิ รมันเจรญิ ก้าวหนา้ ทัง้ ด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสงั คม

ด้านการปกครอง อารยธรรมด้านการปกครองเป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันที่ได้พัฒนาระบอบการ
ปกครองของตนขึ้นเป็นระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับจักรวรรดิโรมัน
จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการบรหิ ารราชการส่วนกลาง และการ
ปกครองโดยใช้หลกั กฎหมาย

ดา้ นเศรษฐกิจ จักรวรรดโิ รมนั มนี โยบายสง่ เสรมิ การผลติ ทางดา้ นเกษตรกรรม และอุตสากหรรม
รวมทัง้ การค้ากับดนิ แดนภายในและภายนอกจกั รวรรดิ

ด้านเกษตรกรรม เดิมชาวโรมนั ในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก และพึ่งพิงการผลิต
ภายในดินแดนของตน ตอ่ มาเม่ือจักรวรรดิโรมนั ขยายอำนาจออกไปครอบครองดนิ แดนอื่นๆ การเพาะปลูก
พืชและข้าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐส่งเสริมให้ดินแดนอื่นๆ นอกแหลมอิตาลีปลูกข้าว โดย
วิธกี ารปฏิรูปทดี่ ิน ดนิ แดนท่ีปลูกขา้ วส่วนใหญ่อยใู่ นแคว้นกอล (Gaull) เขตประเทศฝร่งั เศสปัจจุบัน และ
ตอนเหนอื ของแอฟรกิ า สว่ นพนื้ ที่การเกษตรในแหลมอติ าลสี ว่ นใหญ่เปล่ียนไปทำไรอ่ งนุ่ และเลย้ี งสัตว์

ด้านการคา้ การคา้ ในจกั รวรรดิโรมันรุ่งเรอื งมาก มีท้ังการคา้ กับดินแดนภายในและนอกจักรวรรดิ
ปัจจัยสำคญั ที่ทำให้การค้าเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ ขนาดของดินแดนที่กว้างใหญ่และจำนวนประชากร ซึ่งเป็น
ตลาดขนาดใหญส่ ามารถรองรับสนิ คา้ ตา่ งๆได้มาก นอกจากนก้ี ารจัดเก็บภาษีการค้าก็อยใู่ นอตั ราต่ำและยังมี
การใช้เงินสกุลเดียวกันทั่วจักรวรรดิ ประกอบกับภายในจักวรรดิโรมันมีระบบคมนาคมขนส่งทางบก คือ
ถนนและสะพานทต่ี ิดต่อเชือ่ มโยงกับดนิ แดนตา่ งๆ ไดส้ ะดวก ทำให้การติดตอ่ ค้าขายสะดวกรวดเรว็

ด้านอุตสาหกรรม ความรุ่งเรืองทางกาค้าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอตุ สาหกรรมท่ีสำคัญไดแ้ ก่ แหลมอิตาลี สเปน และ
แคว้นกอล ซึ่งผลิตสินค้าประเภทเครื่องปั้นดนิ เผาและสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขตจักรวรรดิ
โรมันส่วนใหญเ่ ป็นอตุ สาหกรรมขนาดเลก็ ทีใ่ ช้แรงงานคนเป็นหลัก

ด้านสงั คม จักรวรรดโิ รมันมีความเจริญด้านสังคมมาก ทส่ี ำคญั ได้แก่ ภาษา การศึกษา วรรณกรรม
การก่อสร้าง และสถาปตั ยกรรม วิทยาการต่างๆ และวถิ ดี ำรงชีวติ ของชาวโรมนั

ภาษาละติน ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสคันนำมาใช้ใน
แหลมอติ าลี ภาษาละตนิ มพี ยัญชนะ 23 ตัว ใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลยั ของยุโรปสมยั กลาง

ด้านวรรณกรรม โรมันได้รับอิทธิพลด้านวรรณกรรมจากกรีก ประกอบกับได้รับการส่งเสริมจาก
จักรพรรดิโรมนั จึงมีผลงานด้านวรรณกรรมจำนวนมากทัง้ บทกวีและร้อยแกว้ มีการนำวรรณกรรมกรีกมา
เขยี นเป็นภาษาละตนิ เพอ่ื เผยแพรใ่ นหมู่ชาวโรมนั และยงั มผี ลงานดา้ นประวัตศิ าสตร์

อารยธรรมกรกี

ความรุง่ เรืองของอารยธรรมกรีก ชาวกรกี ได้สรา้ งสรรคค์ วามเจริญให้เป็นมรดกแกช่ าวโลกจำนวน
มาก ที่สำคญั ไดแ้ ก่ ความเจริญด้านศลิ ปกรรม ปรัชญา การศกึ ษา วรรณกรรมและวิทยาการต่างๆ

ศิลปกรรม ความเจรญิ ด้านศลิ ปกรรมเป็นจุดเด่นอยา่ งหนึ่งของอารยธรรมกรีกซ่ึงได้รับการยกย่อง
ว่าเป็นต้นแบบของงานศิลปกรรมของโลก ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความ
ศรทั ธาทางศาสนา โดยสรา้ งข้นึ เพ่ือแสดงความเคารพบูชาและบวงสรวงเทพเจ้าของตน

ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลก
จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร
ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของ
สดั สว่ นทีส่ มบูรณแ์ บบ

ด้านประตมิ ากรรม ผลงานด้านประติมากรรมจัดวา่ เป็นสิ่งท่ีโดดเด่นที่สุดในงานศิลปกรรมของกรีก
ชาวกรกี สรา้ งงานประติมากรรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เปน็ รปู ปนั้ เทพเจา้ ของกรกี

ด้านจิตรกรรม ที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เขียนบนเครื่องป้ันดินเผา เช่น แจกัน คนโท
ฯลฯ และจติ รกรรมฝาผนงั ที่พบในวิหารและกำแพง

ศิลปะการแสดง ชาวกรีกได้คิดค้นศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการจัดแสดงเพื่อ
เฉลิมฉลองพิธีบวงสรวงเทพเจ้าของตน เช่น ละครกลางแจ้งซ่ึงเป็นต้นแบบของการแสดงละครในปัจจุบัน
ดนตรแี ละการละเลน่ อืน่ ๆ

การศึกษา มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวกรีก เพราะทำให้มีสถานะที่ดีในสังคม ผู้ที่ได้รับ
การศึกษาสูงจะมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะชาวเอเธนส์เช่ือว่าระบอบประชาธิปไตยจะ
ประสบความสำเร็จไดถ้ า้ หากผู้นำมีการศึกษา ดงั นั้นจึงจัดการศึกษาขั้นประถมให้แก่เดก็ ชายโดยไม่ต้องเสีย
ค่าเลา่ เรยี น

ประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทาง
ประวัตศิ าสตรซ์ ง่ึ ได้แก่ การสบื ค้นข้อมลู การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใชข้ อ้ มูล

อารยธรรมกรีก

• กำเนิดบรเิ วณชายฝั่งทะเลอีเจียน หมู่เกาะต่าง ๆ และดนิ แดนกรซี
• สภาพภมู ปิ ระเทศเป็นหบุ เขา ทำใหแ้ ต่ละรฐั จึงเปน็ อสิ ระต่อกนั เปน็ รฐั เล็ก ๆ มากมาย
• เกาะครีต Crete เป็นเกาะใหญ่และมคี วามสำคญั ของกรกี
กรกี สมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตร์
• 4000 B.C. มีการค้นพบเครื่องมอื และหลกั ฐานการตั้งถิ่นฐานบา้ นเรอื น รวมถึงปอ้ มปราการ
• บนเกาะครีต มีการใช้โลหะทองแดง สำริด
กรกี สมยั ประวตั ศิ าสตร์
• 2000 B.C. กำเนดิ อารยธรรมไมนวน Minoan การคน้ พบดนิ เผาจารกึ ตัวอกั ษรบนเกาะครตี
มีการกอ่ สร้างวังใหญ่โต
• ตอ่ มาถกู รกุ รานจากพวก ไมซเิ นียน Mycenaean และต่อมาเป็นพวก ดอเรยี น Dorian
• 1120-800 B.C. ถือเป็นยุคมดื การคา้ ขายถูกพวกฟนิ ิเชยี นเข้ามาขยายอิทธิพล
• 800 B.C. ยุคคลาสสคิ มลี กั ษณะเปน็ นครรฐั เรยี กวา่ “โพลิส” Polis มกี ษตั รยิ ์และขนุ นาง
ปกครองนคร เริ่มใชร้ ะบอบประชาธิปไตย
• 500 B.C. ศนู ยก์ ลางอยู่ท่ี เอเธนส์ แคว้นแอตตกิ Attica ไดร้ ว่ มกันกับนครรัฐกรีกอื่น ป้องกนั
การรุกรานจากเปอรเ์ ซยี กลายเป็นยุคทองแหง่ เอเธนส์
• 431-404 B.C. สงครามเพโลพอนนีเชียน ระหวา่ งเอเธนส์ กับสปารต์ า ผลทำให้ มาซโี ดเนีย
เข้าครอบครองกรกี สมยั พระเจ้าอเลก็ ซานเดอร์มหาราช เรียกวา่ ยุค “เฮลเลนสิ ตกิ ” ขยายดินแดน
ครอบคลมุ ถึงอียิปต์ และอินเดยี

อารยธรรมโรมัน

โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี อุปนิสัยของโรมันคอื ความเคร่งขรมึ และสร้างสรรค์
สิ่งต่าง ๆ อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ความสามารถทางทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทนมากกว่ายุทธวิธที ี่ฉลาด
ปราด เปรือ่ ง

ประมาณ 600 ปี ก่อน ค.ศ. บรรดาผู้อพยพต่างรวมตัวกันตั้งนครรัฐแห่งโรมขึ้น ทางเหนือของ
โรมติดต่อกับ อีทรูเนีย เป็นที่อยู่อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึ่งเป็นพวกที่วางรูป
วัฒนธรรมของชาวโรมนั แตเ่ ร่มิ แรก

ใน ราว 509 ก่อน ค.ศ. ขุนนางโรมันประสบความสำเร็จในการล้มกษัตริย์อีทรัสกัน และ
เปลี่ยนแปลงระบอบกษตั รยิ ์มาเปน็ สาธารณรัฐปกครองโดยชนช้ันขนุ นาง ชนช้นั สงู คอื แพทริเชยี น ส่วนชน
ช้นั ตำ่ หรือ เพลเบียน นนั้ เกอื บไม่มีสิทธทิ างการเมอื งเลย

พวกเพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง พวกเพลเบียนเลือก
ตัวแทนของตนเรียกว่า ทรีบูน ให้เป็นปากเสียงและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดย
แพทรเิ ชียน

450 ปีก่อน ค.ศ. ได้มีการนำกฎหมายเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ
กฎหมายนี้ช่วยพิทักษ์บรรดาเพลเบียน ให้พ้นจากอำนาจตามอำเภอใจของชนชั้นแพทริเชียน กฎหมายสิบ
สองโตะ๊ น้นี บั ว่ามคี วามสำคัญมากต่อพฒั นาการทางกฎหมายรฐั ธรรมนญู ของ โรมัน

สาเหตคุ วามเสื่อมของจักรวรรดิ

1. หลังปี ค.ศ. 180 ไมม่ กี ำหนดการสบื ตำแหน่งไวใ้ นรัฐธรรมนูญ ทำใหเ้ กิดการแย่งอำนาจในหมนู่ ายพล
2. การถกู โจมตจี ากศตั รูภายนอก และเกดิ รัฐอิสระขนึ้ ตามชายแดนท่ีถกู คุกคาม
3. ที่ดินแทบทั้งจักรวรรดิตกอยู่ในเงื้อมมือชนชั้นสูงส่วนน้อยเท่านั้น ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัวกลายเปน็
โคโลนสุ (Colonus) ซึ่งจะไดร้ ับทีด่ นิ ชิ้นหน่งึ จากเจา้ ของท่ีดิน เพื่อทำการเพาะปลกู โดยเสรี แตจ่ ะตอ้ งชดใช้
เจ้าของท่ีดนิ ดว้ ยแรงงานของตน เมอ่ื นานวันเขา้ กเ็ ปล่ียนสภาพเป็นกึง่ ทาส (serdom)
4. สงครามกลางเมือง ทำให้กระทบกระเทือนระบบการคา้


Click to View FlipBook Version