The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Best Practice (ระดับปฐมวัย) บ้านสีคุณธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by NIRAMON CHUMPHON SCHOOL, 2021-07-09 01:57:25

Best Practice (ระดับปฐมวัย) บ้านสีคุณธรรม

Best Practice (ระดับปฐมวัย) บ้านสีคุณธรรม

วธิ กี ารปฏิบัติทีเ่ ป็นเลศิ

(Best Practices)

เร่อื ง บ้านสคี ณุ ธรรม (การไหว้)

นางสาวภัสทรา ยอดแก้ว ตำแหน่ง ครูผสู้ อน
โรงเรยี นนิรมลชมุ พร

ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชมุ พร จงั หวัดชุมพร
สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

วธิ ีปฏิบตั ทิ ่เี ป็นเลศิ ( Beat Practices)

๑. ช่ือผลงาน บา้ นสคี ุณธรรม (การไหว)้

๒. ชื่อเจา้ ของผลงาน นางสาวภสั ทรา ยอดแกว้ ฝ่ายกจิ การเด็กปฐมวัย

โรงเรยี นนิรมลชมุ พร สังกัด สำนกั งานคณะกรรมการสง่ เสรมิ การศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ

ท่อี ยู่ ๒๕๓ ตำบล ตากแดด อำเภอ เมือง จังหวดั ชุมพร รหสั ไปรษณีย์ ๘๖๐๐๐

โทรศพั ท์ ๐๗๗ – ๕๐๒๑๔๕ เว็บไซต์ www.niramon.ac.th E – mail : [email protected]

๓. สอดคลอ้ งกบั หัวข้อตอ่ ไปน้ี (ทำเครื่องหมาย ในชอ่ งส่เี หลย่ี ม ที่สอดคล้อง )
การพฒั นาหลกั สูตรสถานศกึ ษา

 การจดั ประสบการณ์การเรียนรู้ / การประเมินพฒั นาการ

√ การแก้ไขปญั หาผเู้ รียน
อ่นื ๆ ระบุ .......................................................................

๔. หลกั การเหตุผล/ความเปน็ มา
ในปัจจุบันสงั คมไทยมีการเปลีย่ นแปลงล้ำหน้าไปหลายด้าน มีการรับเอาวัฒนธรรมจากต่างประเทศ

เข้ามาจำนวนมาก เช่นการทักทายกันโดยการจับมือกัน โบกมือให้กัน เดินชนไหลก่ ัน เป็นต้น และการทักทาย
เหลา่ นีไ้ ด้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยเดก็ ซึง่ เป็นเยาวชนเกิดการคล้อยตามวัฒนธรรมทไ่ี มเ่ หมาะสม สง่ ผลให้
เกิดกิริยามารยาทที่แข็งกระด้าง ขาดความนอบน้อม และขาดการแสดงความเคารพต่อผู้อาวุโส จาก
ความสำคัญและที่มาของปัญหาดังกล่าว โรงเรียนนิรมลชุมพร จึงเห็นควร จัดกิจกรรมการไหว้เพื่อทักทายกัน
ของเด็ก เพื่อสร้างความ ตระหนักปลูกฝังคุณธรรมด้านการไหว้ อันเป็นการส่งสัญญาณแห่งมิตรภาพ เป็น
วัฒนธรรมที่ดีงาม ของชาติ ที่ควรธำรงรักษาไว้อยู่คู่สังคมไทยสืบไป การไหว้ทักทายกันจะทำให้เด็กมี
ปฏิสมั พนั ธ์ที่ดี ตอ่ กนั ซง่ึ นำไปสู่ความปรองดองกนั ภายในโรงเรียน ตลอดจนทำใหเ้ ด็กเปน็ ผู้ที่มีสัมมาคารวะ มี
ความ สุภาพอ่อนน้อมต่อผู้อื่น และเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี สร้างความประทับใจต่อผู้ที่พบเห็น วิธีปฏิบัติตาม
แบบขนบธรรมเนียมไทย ให้กับเด็กสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์
วฒั นธรรมไทยใหด้ ำรงอยูต่ อ่ ไป

การไหว้ เป็นอตั ลักษณ์ของโรงเรียนนิรมลชมุ พร โรงเรียนจึงเนน้ ให้เดก็ ได้แสดงออกการทำความ
เคารพต่างๆ ด้วยการไหว้ เป็นมารยาทไทยทเ่ี ปน็ วัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรอื ลาจากกนั
นอกเหนือจากการกลา่ วคำวา่ “สวัสดี” แลว้ ยงั แสดงออกถึงความหมาย “การขอบคุณ” และ “การขอโทษ”
การไหว้เป็นขนบธรรมเนยี มประเพณอี ันดีงาม ยกมือขึ้นในระดับตา่ งๆ ตามฐานะบุคคล และเมอ่ื มีผู้ทำความ
เคารพด้วยการไหวต้ ้องรบั ไหว้ทกุ คร้งั นอกจากการมารยาทในการไหว้แล้วเราควรรู้จกั การไหว้ ท่ีถูกวิธี ซงึ่ เป็น
ส่งิ ท่ีควรจะรจู้ ักวธิ ีปฏิบัติอยา่ งถูกต้องเพื่อความเหมาะสมผา่ นกจิ กรรมบ้านสีคณุ ธรรม

๕. วตั ถปุ ระสงค์
๕.๑.๑. เพ่อื ใหเ้ ดก็ ปฐมวัยรจู้ ักการไหว้ ทำความเคารพเม่อื พบผู้ใหญ่
๕.๑.๒. เพื่อให้เด็กปฐมวยั มีมารยาทในการอยูร่ ว่ มกนั

๖. แนวคดิ และทฤษฏที ่เี กี่ยวข้อง
ทฤษฎพี ัฒนาการทางจริยธรรมของเพยี เจท์
เพียเจท์ เป็นผรู้ ิเริม่ ความคิดท่วี ่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับความฉลาดที่จะทำ

ให้รับรู้กฎเกณฑ์และลักษณะต่างๆ ทางสังคม พัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจึงขึ้นอยู่กับพัฒนาการทาง
สตปิ ญั ญาของบุคคลน้นั ๆ เขาเชื่อวา่ จริยธรรมเป็นกระบานการทซ่ี ับซ้อน (Complex Process) ระหว่างความรู้
ความรุ้สึก และการสร้าง ในการศึกษาค้นคว้าเขาพบว่าเด็กจะพัฒนาการทางสติปัญญาได้ถึงขั้นสูงสุดเมื่ออายุ
ประมาณ ๘ – ๑๐ ปี ดังน้ันพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กจะบรรลุถงึ ขั้นสูงสดุ เม่ืออายปุ ระมาณ ๘ – ๑๐ ปี
เช่นกนั เพียเจทไ์ ดแ้ บ่งข้นั การพัฒนาจรยิ ธรรมของมนุษย์เปน็ ๓ ขั้น คอื

ขั้นที่ ๑ ขัน้ ก่อนจรยิ ธรรม เริ่มต้ังแตเ่ ด็กแรกเกดิ จนถึง ๒ ขวบ ในข้นั นี้เด็กยังไม่มีความสามารถในการ
รับรู้สิ่งแวดลอ้ มอย่างละเอียด มีแต่ความต้องการทางกาย ซึ่งต้องการที่จะได้รับบำบัดโดยไม่คำนึงถงึ กาลเทศะ
เมอ่ื เดก็ มีความสามารถในการพูดก็จะเรมิ่ เรียนรสู้ ภาพแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อบคุ คลอ่นื

ข้ันที่ ๒ ข้นั ปฏบิ ัตติ ามคำสงั่ เรมิ่ ต้ังแตอ่ ายุ ๒ ถึง ๘ ปี เด็กจะมีพัฒนาการในข้นั ปฏบิ ตั ติ ามคำส่งั มี
ความเกรงกลวั ผูใ้ หญ่ และเห็นว่าคำส่ังของผใู้ หญค่ ือสิ่งทต่ี นต้องการทำตาม

ข้ันที่ ๓ ข้ันยึดหลกั แหง่ ตน เกิดจากการพฒั นาทางสติปัญญาและประสบการณ์ในการมีในกลมุ่ เพื่อน
เดก็ ด้วยกัน ความเกรงกลัวอำนาจภายนอกกลายเปน็ หลกั ภายในจติ ใจของเด็กเกี่ยวกับความยตุ ิธรรม เม่อื เดก็
พบวา่ กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมทางบ้าน ทางโรงเรยี น และทางสงั คมแตกต่างกนั เดก็ จะตัดสินใจเลือกเกณฑ์เอง
โดยปรับเกณฑ์ทัง้ หลายเข้าดว้ ยกนั (อ้างในดวงเดือน พนั ธุมนาวนิ , ๒๕๒๔)

ทฤษฎีพัฒนาการทางจรยิ ธรรมของโคลเบอร์ก
โคลเบอร์ก (อา้ งในอารบ์ ัทโนต์, แจ็ก, สุดใจ บญุ อารีย์ แปล, ๒๕๔๑) ได้ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรม
โดยศึกษาตามแนวทฤษฎีของเพียเจท์แล้วพบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ส่วนมากไม่ได้บรรลุถึงขั้น
สูงสุดเมื่ออายุ ๑0 ปี แต่จะมีพัฒนาการอีกหลายขั้นตอนจากอายุ ๑๑ ปี ถึง ๒๕ ปี โคลเบอร์เชื่อว่าการบรรลุ
นิติภาวะเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นจะแสดงออกทางการให้เหตุผลทางจริยธรรม ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับเก ณฑ์ของ
สังคมใดสังคมหนึ่ง เป็นเหตุผลท่ีลึกซึ้งบริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นสากล กว้างขวาง มีหลักการไม่ขัดแย้ง ไม่เข้าข้าง
ตนเอง และเป็นอดุ มคติ
โคลเบอรก์ ไดแ้ บง่ พฒั นาการทางจริยธรรมเป็น ๓ ระดับ
๑. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เป็นระดับที่บุคคลดำเนินตามบทบาทถูกต้องและไม่ถูกต้อง บุคคลจะ
สนองตอบกฎเกณฑ์โดยกระทำตามทีม่ ีอำนาจเหนือตน และพจิ ารณาสิ่งต่างๆ ท่ีเกยี่ วข้องกบั การถูกลงโทษหรือ
การได้รบั รางวลั พัฒนาการระดบั นแ้ี บง่ ออกเปน็ ๒ ขั้น คอื
ขั้นที่ ๑ ขั้นหลบหลีกการลงโทษ ช่วงอายุ ๒ – ๗ ปี ในขั้นนี้จะใช้หลักการหลีกเลี่ยงมิให้ได้รับโทษใน
การกระทำ เด็กจะทำดีตามกฎเกณฑ์ของผู้มีอำนาจเหนือตน และอยู่ใต้อำนาจของผู้ใหญ่เพราะกลัวการถูก

ลงโทษ ถา้ ถกู ลงโทษในส่ิงทกี่ ระทำเด็กจะไมก่ ระทำอีก แตถ่ ้าไม่ไดร้ ับการลงโทษในสิ่งท่จี ะกระทำเขาจะกระทำ
อีก

ขน้ั ท่ี ๒ ข้ันแสวงหารางวลั ช่วง ๗ – ๑๐ ปี ในข้ันนีเ้ ด็กไม่ไดค้ ิดว่ากฎระเบียบเป็นส่ิงที่แน่นอนตายตัว
ถือความพอใจของตนเองเป็นหลักในการตัดสินการกระทำตามใจตนเอง จะเห็นความสำคัญของการได้รางวัล
หรอื คำชมเชยซ่งึ เปน็ แรงจูงใจในการกระทำความดี

๒. ระดับกฎเกณฑ์ เป็นระดับที่เด็กจะเห็นความสำคัญของหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มที่ตนเป็น
สมาชิกอยู่ เช่น ครอบครัว กลุ่มชนหรือชาติ เด็กจะสนับสนุนการกระทำและอ้างเหตุผลสนับสนุนตามสังคม
รู้จักรกั ษากฎเกณฑ์ จะไม่กระทำความผดิ เพราะตอ้ งการใหผ้ ู้อ่นื ยอมรับ พัฒนาการระดบั นแ้ี บ่งเปน็ ๒ ขน้ั คือ

ขนั้ ท่ี ๑ ข้ันทำตามสิง่ ท่ีคนอน่ื เหน็ ว่าดี ช่วงอายุ ๑๐ – ๑๓ ปี ในขั้นนเ้ี ดก็ เริม่ เข้าสู่วัยรุ่นซ่ึงเข้าใจว่าสิ่ง
ใดเป็นสิ่งที่คนดีควรกระทำเด็กจะกระทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าคนอื่นจะเห็นด้วยและพอใจเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบ
ของเพือ่ นฝูงเพราะตอ้ งการยอมรบั จากผูอ้ น่ื

ขั้นที่ ๒ ขั้นการกระทำตามหน้าที่และระเบียบทางสังคม ช่วงอายุ ๑๓ – ๑๖ ปี ขั้นนี้ความคิดขยาย
กว้างขึ้นครอบคลุมถึงระเบียบสังคมทั่วๆ ไปบุคคลจะเข้าใจในกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานของสังคม ตลอดจน
บทบาทและหน้าท่ีที่พงึ ปฏบิ ัตติ ามกฎเกณฑ์ของกลุ่มสังคมท่ตี นเป็นสมาชิกอยู่ เพอ่ื ประโยชน์ต่อกลุ่มสังคมของ
ตน

๓. ระดับเหนือกฎเกณฑ์หรือระดับหลักการ ระดับนี้บุคคลจะเข้าใจถึงค่านิยม คุณค่าทางจริยธรรม
หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้โดยพิจารณาถึงสภาพการณ์ที่แตกต่างกนั ออกไป พยายามเลียนแบบค่านิยมทางศลี ธรรม
จรรยาสากล ซง่ึ เป็นท่ยี อมรบั อย่างกวา้ งขวางเหมาะสมและเท่ียงธรรม ระดับนแ้ี บง่ ออกเป็น ๒ ข้ันคอื

ขนั้ ท่ี ๑ ขน้ั การมีเหตุผลและการเคารพตนเอง หรอื ขน้ั ทำตามสญั ญา ช่วงอายุ ๑๖ ปขี นึ้ ไป ในช่วงนี้จะ
เห็นความสำคัญของคนหมู่มากความถูกต้องเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงค่านิยมเฉพาะตัวบุคคล โดยคำนึงถึง
สภาพการณ์และกฎเกณฑ์ที่มีเหตุผลซึ่งได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ มีทัศนะต่อกฎเกณฑ์ในลักษณะท่ี
ยืดหยุ่นได้ ถ้ามีเหตุผลที่เหมาะสมกว่า เคารพมติที่มาจากการลงความเห็นอย่างเป็นประชาธิปไตย และมี
ข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน บุคคลจะทำตามสัญญาที่ให้กับผู้อื่น คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และเห็นค่าแก่ประโยชน์
ส่วนรวมเปน็ สำคญั

ขั้นที่ ๒ ขั้นทำตามหลักอุดมคติสากล เป็นขั้นในวัยผู้ใหญ่ บุคคลมีความคิดรวบยอดทางนามธรรม
เกี่ยวกับการสากล ความถูกต้อง คือ ความสำนึกถึงคุณค่าของความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่บุคคลนั้นได้
พิจารณาโดยคำนึงถึงเหตุผลอย่างกว้างขวางตามหลกั สากลของผูท้ ี่เจริญแล้ว คำนึงถึงประโยชน์ของมนุษยชน
มีความเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน คุณธรรมในขั้นนี้จะเกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีความเจริญทางสติปัญญาใน
ข้นั สงู มคี วามร้แู ละประสบการณ์กว้างขวาน

โคลเบอร์กเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะเป็นไปตามลำดับขัน้ จากขั้นที่ ๑ ไปจนถึงขั้นท่ี
๖ จะพฒั นาข้ามขั้นไม่ได้ เพราะการใหเ้ หตุผลในข้นั ทส่ี ูงขึ้นไดน้ ัน้ จะต้องการความสามารถจากขนั้ ทีต่ ่ำกว่า และ
ต่อมาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางสังคมใหม่ๆ หรือเข้าใจประสบการณ์เก่าได้ดีขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
ความคิดและเหตุผล ทำให้การให้เหตุผลในข้ันสูงมีมากขึ้นเหตุผลข้ันทีต่ ่ำกว่าก็จะถูกใช้น้อยลงและละทิ้งไปใน

ที่สุด พัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องไปถึงขั้นสูงสุด อาจจะหยุดชะงักอยู่ในขั้นหนึ่งก็ได้
ทั้งนข้ี น้ึ อยู่กับความสามารถทางสตปิ ญั ญาและประสบการณท์ างสังคมของบุคคลน้นั ๆ
๗. การดำเนนิ งาน /กระบวนการ/วิธีปฏิบัติ

ทางโรงเรยี นได้ศึกษาสภาพปัจจบุ ัน ปัญหา และอุปสรรคในการจดั กจิ กรรมของฝา่ ยกิจการเด็กการนำเรื่องการ
ไหว้ การจัดกจิ กรรมเสริมสรา้ งคณุ ธรรมโดยการไหว้ทักทายกนั ของเดก็ โดยใชว้ งจรคุณภาพ PDCA

ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน

รูปแบบ / กระบวนการ กิจกรรมปฏิบตั ิ
P (Plan) การวางแผน - สรา้ งความตระหนักและเห็น ความสำคญั ของการเสรมิ สร้าง
คุณธรรม เดก็ ดา้ นการไหวท้ กั ทาย
-วางแผนออกแบบและกำหนดปฏทิ นิ การดำเนินงาน
-ออกแบบวิธีการปฏิบัติกจิ กรรม

D (Do) การปฏิบตั ิ -ปฏิบตั กิ ิจกรรมและจดั การเรียนรูโ้ ดยใช้ กจิ กรรมโครงงาน
คณุ ธรรมตามที่วางแผน และออกแบบไว้
-ครูประจำช้นั และครูผู้สอนในแต่ละวชิ า เนน้ ย้ำเรือ่ งการทกั ทาย
กัน
ของเด็กที่ ถูกต้องโดยการ ไหว้ทักทายกัน
-กิจกรรมหนา้ เสาธง บา้ นสีคุณธรรม พี่สอนน้องไหว้
- กจิ กรรมหนา้ เสาธงเด็กไหว้ครู
- จัดการประกวดกิจกรรมมารยาท

C (Check) การ ตรวจสอบและ -ผู้บริหารนิเทศ กำกบั ติดตามอย่าง จรงิ จังและต่อเน่ือง

ประเมนิ ผล ครูประจำชั้น กำกบั ติดตาม กระต้นุ ให้ เด็กทักทายกันโดยวิธีท่ี

ถูกต้องโดย การไหวท้ ักทายกัน

-ครูและเดก็ รว่ มกันตรวจสอบ ประเมินผล และวเิ คราะห์ผลการ

จัดกจิ กรรมในแตล่ ะสัปดาห์

A (Action) การปรับปรุง แก้ไข -นำผลการประเมินมาวเิ คราะห์ร่วมกัน เพ่ือท่จี ะได้นำไปเป็น
ให้ดขี ึน้ ข้อมูลในการวางแผนพฒั นาให้ดยี ิ่งขึ้นตอ่ ไป

แผนผงั การดำเนนิ งาน
วางแผนการดาเนินการจดั ประสบการณ์
แบบบรู ณาการกจิ กรรมบา้ นสคี ณุ ธรรม

การไหว้

คณะผบู้ รหิ าร ครู
รบั ทราบการดาเนินงาน

ระดบั อนบุ าลปีท่ี ๑ ระดบั อนบุ าลปีท่ี ๒ ระดบั อนบุ าลปีท่ี๓

ประเมนิ การไหวข้ องเดก็ รายบคุ คล ไมบ่ รรลุ

บรรลเุ ป้าหมายทว่ี างไว้

๘. แผนการดำเนนิ งาน / ระยะเวลาในการดำเนนิ งาน
พฤษภาคม ๒๕๖๐ – มนี าคม ๒๕๖๒

๙. ผลจากการปฏิบตั ิงาน
ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมบ้านสีคุณธรรมเรื่องการไหว้ ในระยะเวลาตลอดปีการศึกษา

๒๕๖๐ –๒๕๖๒ พบว่า เดก็ ปฐมวยั รูจ้ กั การไหว้ ทำความเคารพเมื่อพบผใู้ หญ่ และ มมี ารยาทในการอยู่ร่วมกัน
มีพฒั นาการทส่ี ูงข้นึ ตามลำดับ

๙.๑ เด็กปฐมวัยรู้จักการไหว้ ทำความเคารพเมอื่ พบผใู้ หญ่

87.5 ปีการศกึ ษา 2560
87 ปีการศึกษา 2561
ปีการศึกษา 2562
86.5
86 ปฐมวยั ปีท่ี 2 ปฐมวยั ปีท่ี3

85.5
85

84.5
84
ปฐมวยั ปีที่ 1

ระดับช้ัน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
อนุบาลปที ่ี ๑ ๘๖.๒๘ ๘๗.๓๖ ๘๗.๑๗
อนบุ าลปที ่ี ๒ ๘๕.๓๖ ๘๖.๔๐ ๘๗.๒๔
อนุบาลปีท่ี ๓ ๘๕.๓๖ ๘๕.๘๑ ๘๗.๒๓

๙.๒ เด็กปฐมวยั มมี ารยาทในการอย่รู ่วมกนั

87.5 ปีการศึกษา 2560
87 ปีการศกึ ษา 2561
ปีการศึกษา 2562
86.5
86 ปฐมวยั ปีที่ 2 ปฐมวยั ปีที่3

85.5
85

84.5
ปฐมวยั ปีที่ 1

ระดับชนั้ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๑ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๒
อนุบาลปที ่ี ๑ ๘๕.๗๒ ๘๗.๑๓ ๘๗.๑๕
อนบุ าลปีท่ี ๒ ๘๖.๔๓ ๘๖.๐๘ ๘๗.๒๔
อนบุ าลปีท่ี ๓ ๘๕.๖๗ ๘๕.๖๒ ๘๗.๑๗

๑๐. ปจั จยั ความสำเร็จ
การบริหารงานในโรงเรียนนิรมลชุมพรดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้

ความสำคัญกับเด็กและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ปรับปรุงระบบการบริหารให้มีความคล่องตัว ส่งเสริมให้ครูและ
บุคลากรของโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์การ เพื่อยกระดับ
คุณภาพขององค์กรและยกระดบั ผลสัมฤทธิข์ องกิจกรรมโครงการ พ่ีสอนน้องไหว้ ดงั นี้

๑๐.๑ ผ้บู ริหารและครูประพฤตติ นเป็นแบบอย่างทดี่ ีแก่เด็กดว้ ยการแสดงกริ ิยามารยาททส่ี ภุ าพ มี
การไหว้ท่ถี กู ตอ้ ง

๑๐.๒ ผู้บริหารโรงเรียน ให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้กำลังใจ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนา
คณุ ธรรม
จริยธรรมเรอื่ งการไหว้ทชี่ ดั เจน สรา้ งความตระหนกั และความเข้าใจแก่ทกุ ฝ่าย

๑๐.๓ ครูทุกคนมีส่วนร่วม ให้ความร่วมมือ ร่วมใจอย่างเต็มที่ และเต็มใจ มุ่งมั่นตั้งใจจริงและทุ่มเท
ทง้ั แรงกายแรงใจเพ่อื พฒั นาเด็ก เป็นแบบอย่างทด่ี ีใหก้ บั เดก็ เอาใจใส่และให้คำแนะนำ ทีด่ ีแก่เด็ก

๑๐.๔ มีการดำเนนิ งานอยา่ งเปน็ ระบบตามวงจรคุณภาพ PDCA
๑๑. การเผยแพร่ / การไดร้ ับการยอมรับ

๑๑.๑. เดก็ ได้รบั คำชมเชยจากผบู้ ริหารโรงเรียนและคณะครู
๑๑.๒. เดก็ ย้มิ ทักทาย มีมารยาทในการไหวต้ ่อแขกทีม่ าเยือนโรงเรยี นและคณะที่มาศึกษาดงู าน
โรงเรียน
๑๑.๓. ได้ทำการเผยแพร่ผลงาน / นวัตกรรม เรอื่ ง พี่สอนน้องไหว้ ของเด็กโรงเรียนนริ มลชมุ พร
ในเว็ปไซต์และเฟซบ๊กุ ของโรงเรยี นนิรมลชุมพร
๑๑.๔ ไดร้ บั รางวัลการปฏบิ ัติทเ่ี ปน็ แบบอย่างทดี่ ี ระดับ ดี จากฝ่ายการศึกษาสงั ฆมณฑลสรุ าษฎร์
ธานี เม่ือวนั ท่ี ๑๑ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ภาคผนวก

รปู กจิ กรรม บา้ นสีคณุ ธรรม (การไหว)้

เดก็ รว่ มกนั ทำกจิ กรรมบ้านสคี ุณธรรม (การไหว)้
เด็กปฏิบตั กิ ารไหว้เป็นประจำทกุ วัน



รางวัลการปฏบิ ตั ิท่เี ป็นแบบอยา่ งที่ดี ระดบั ดี


Click to View FlipBook Version