The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Innovation บ้านนี้มีรัก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by NIRAMON CHUMPHON SCHOOL, 2021-07-13 23:12:02

Innovation บ้านนี้มีรัก

Innovation บ้านนี้มีรัก

1



ชอ่ื ผลงานนวัตกรรม ระบบการบริหารจดั การสร้างสรรคค์ นดี “บ้านนมี้ รี ัก”

ชือ่ เจ้าของผลงานนวตั กรรม นางสาวสุนดิ า ศิริมงคล
นางสาวศรีประไพ พลนิล

สังกดั สถานศกึ ษา โรงเรยี นนิรมลชมุ พร ๒๕๓ หมู่ ๙ ต.ตากแดด อ.เมอื ง
จ.ชมุ พร ๘๖๐๐๐
สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการสง่ เสริมการศกึ ษาเอกชน
กระทรวงศึกษาธกิ าร โทรศัพท์ ๐๗๗ -๕๐๒๔๑๕
โทรสาร ๐๗๗-๕๐๖๗๔๑
E-mail : [email protected]
www.facebook.com/niramonchumphon

ประเภทผลงาน ดา้ นกระบวนการบริหารและการจดั การ
สอดคลอ้ งกับวิธีปฏิบตั ทิ เ่ี ปน็ เลิศ (Best Practice) ของโรงเรียน

บา้ นสีชมพู โครงการบ้านสีคุณธรรม
บ้านสฟี ้า : เปน็ ผ้นู ำ ทำด้วยใจ ให้ดว้ ยรัก
บ้านสีเขยี ว : รหู้ น้าที่ มีความคดิ จิตอาสา
บา้ นสเี หลือง : สามัคคี มีน้ำใจ อภยั เสมอ
: แบบอย่างดี มีวินยั ใส่ใจกฎ

๑. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรมที่นำเสนอ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนด
จดุ มุ่งหมายของการจดั การศึกษาเพื่อพัฒนาผเู้ รยี นใหเ้ ป็นคนดี คนเก่ง และสามารถดำรงชวี ติ ได้อย่างมีคุณภาพ
เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต โรงเรียนในฐานะหนว่ ยงานทางสังคมที่มีความใกลช้ ิดกับนักเรียนมากที่สุดจึงมีภารกิจท่ีสำคัญในการ
พัฒนานักเรียนทั้งทางด้านความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม โดยอาศัยความร่วมมือในการพัฒนาจากครอบครัว
และทกุ หนว่ ยงานทเี่ กีย่ วขอ้ ง

ทั้งนี้โรงเรียนนิรมลชุมพร มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดการศึกษาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และ
คุณธรรม ภายใต้บริบท ปรัชญา เอกลักษณ์ของนักเรียน อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน ใน
การขับเคล่ือนแผนงาน/โครงการต่างๆ ของโรงเรียน ท่ีจะสง่ เสริมใหโ้ รงเรยี นนิรมลชุมพร เป็นองค์กรคุณธรรม
โดยมุ่งพฒั นาบคุ ลากรท้ังผบู้ ริหาร ครู นักเรยี นและบคุ ลากรของโรงเรียน ให้มีทศั นคติ วิธีคิด และการประพฤติ
ปฏบิ ตั ิท่ีสะทอ้ นคุณธรรมจริยธรรม และคา่ นิยมทเี่ หมาะสมกับสังคมไทย โดยกำหนดเป้าหมาย “ปัญหาท่ีอยาก
แก้ คือ การเพิ่มระดับคุณภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ๘ ข้อ และคุณธรรมอัตลักษณ์ของ
โรงเรยี น”

จากผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนโรงเรียนนิรมลชุมพร
เปน็ ผูท้ ี่มคี วามร้คู วามสามารถและมคี ุณลักษณะท่ีพึงประสงคต์ ามอัตลักษณ์ของโรงเรียนที่วา่ “รกั รับใช้
ให้อภัย” มีความสามารถในด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ สามารถใช้
เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มี
คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้
อย่างมีสติสมเหตุสมผล มีความรู้และทักษะศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถ
ทำงานรว่ มกับผู้อืน่ และยอมรับความคดิ เห็นของผู้อ่ืน มจี ติ สงั คม

ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสังคม และจิตสำนึก
ตามวัฒนธรรมอันดีของสงั คม ภาคภมู ใิ จในท้องถน่ิ ในความเปน็ ไทย และเห็นคณุ คา่ เกี่ยวกบั ภูมิปญั ญาไทย
มีเหตุมีผลและยอมรับเหตุผลความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
อยา่ งมีความสุขอย่างย่ังยืน โรงเรียนจงึ ไดท้ ำวธิ ีปฏิบัตทิ ่ีเปน็ เลศิ (Best Practice) ของโรงเรยี น “โครงการ
บ้านสคี ุณธรรม”

๒. แนวคิดหลักการสำคัญ ทฤษฎี รูปแบบ
วธิ กี ารทีน่ ำมาใชใ้ นการออกแบบนวตั กรรม

สกินเนอร์ (B.F. Skinner) “สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “ การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคคล
แสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด
การตอบสนองจะลดลงเมือ่ น้นั ’’

สกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรม
ของมนุษยจ์ ะคงอยูต่ ลอดไป จำเป็นต้องมีการเสรมิ แรง ซงึ่ การเสรมิ แรงนม้ี ที ั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive
Reinforcement) และการเสรมิ แรงทางลบ (Negative Reinforcement)

การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใดๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น การเสริมแรงทางบวก
หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยใหพ้ ฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนการเสริมแรง
ทางลบเปน็ การเปลย่ี นแปลงสภาพการณ์อาจจะทำใหพ้ ฤติกรรมโอเปอแรนทเ์ กดิ ขน้ึ ได้จากการเสรมิ แรงนั้น

สกนิ เนอรใ์ หค้ วามสำคัญเปน็ อย่างยิ่ง โดยไดแ้ ยกวธิ กี ารเสริมแรงออกเป็น ๒ วธิ ี คอื
๑. การใหก้ ารเสรมิ แรงทุกคร้ัง (Continuous Reinforcement) เป็นการใหก้ ารเสริมแรงทุกคร้ัง
ที่ผูเ้ รยี นแสดงพฤติกรรมทพ่ี ึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
๒. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็น
ครั้งคราวโดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็น
คร้ังคราว

จากการศึกษาและทดลองของสกินเนอร์นั้น สามารถสรุปเป็นลักษณะ และทฤษฎีการเรียนรู้ของ
ทฤษฎกี ารวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนทห์ รอื ทฤษฎีการวางเง่ือนไขแบบการกระทำไดด้ ังนี้

๑. การกระทำใดๆ ถา้ ไดร้ บั การเสริมแรง จะมีแนวโน้มทจี่ ะเกดิ ขน้ึ อีก ส่วนการกระทำท่ีไม่มีการเสริมแรง
แนวโนม้ ทค่ี วามถีข่ องการกระทำน้นั จะลดลงและหายไปในท่ีสดุ

๒. การเสริมแรงที่แปรเปล่ยี นทำใหก้ ารตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงทต่ี ายตัว
๓. การลงโทษทำใหเ้ รียนรไู้ ด้เรว็ และลมื เรว็
๔. การใหแ้ รงเสริมหรือใหร้ างวัลเมือ่ ผเู้ รียนกระทำพฤติกรรมทต่ี ้องการ สามารถช่วยปรบั หรือปลกู ฝังนิสัย

ท่ตี อ้ งการได้

โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า

มนุษย์เปน็ สตั ว์ท่ีมีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตวั ให้ดำรงชีวติ อยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำ

แนวความเช่ือทางชีววทิ ยามาประยุกตก์ ับศาสตรท์ างจิตวทิ ยา

เพยี เจต์ ( Piaget) เชอ่ื ว่า จริยธรรมนนั้ มพี ัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของ
มนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น มีภูมิปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็
พฒั นาตามวุฒภิ าวะ แนวคดิ นเ้ี ปน็ แนวคดิ แบบสัมพทั ธนยิ ม (Relativism) ซง่ึ เชอ่ื ว่าถูกตอ้ ง “ความดี”
“ความงาม” ขน้ึ อย่กู บั เวลา สถานที่ และองคป์ ระกอบอื่นๆ

โรงเรียนนิรมลชุมพรมีโครงการบ้านสีคุณธธรรม (Best Practice) ซึ่งในแต่ละบ้านสีจะมีสโลแกน
เก่ยี วกับคณุ ธรรม จริยธรรม ดงั น้ี

บา้ นสีชมพู : เปน็ ผู้นำ ทำด้วยใจ ใหด้ ้วยรัก
บ้านสฟี า้ : รหู้ น้าท่ี มีความคดิ จติ อาสา
บ้านสเี ขยี ว : สามัคคี มนี ้ำใจ อภยั เสมอ
บา้ นสเี หลือง : แบบอย่างดี มีวินัย ใส่ใจกฎ

ซ่ึงในแตล่ ะบ้านสีต่างมสี โลแกนทส่ี ง่ เสริมการจัดการเรียนการสอนทส่ี อดคล้องกับคุณธรรม อัตลักษณ์
ของโรงเรียน “รัก รับใช้ ให้อภัย”และได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” ซ่ึง
เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อใช้บริหารจัดการการดำเนินงานด้านคุณธรรมของโรงเรียน ภายใต้บริบท
ของสถานศึกษาและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้หลักการ
“เขา้ ใจ เข้าถงึ พัฒนา” มเี ปา้ หมายทีน่ กั เรียน ผปู้ กครอง ครู ผูบ้ รหิ าร สง่ เสรมิ พัฒนารว่ มกันให้มีทัศนคติ
วิสยั ทัศน์เชิงบวก และการประพฤตติ นปฏิบตั หิ น้าท่เี น้นคุณธรรมและค่านยิ มท่ีเหมาะสมกบั สถานศึกษา ทำ
ให้การบริหารจัดการด้านคุณธรรมของโรงเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามเป้าประสงค์ของ
โรงเรียนสบื ไป

อัตลกั ษณข์ องโรงเรยี น “รัก รบั ใช้ ให้อภยั ”
๑. รัก หมายถึง ความรักตามหลักคริสตธรรมที่เริ่มจาก รักในพระเจาที่ตนนับถือ รักตนเอง รักเพื่อน

มนุษย มีความปรารถนาที่จะทําความดีเพื่อประโยชนสุขของสวนรวมและประเทศชาติ รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย รักความมีวินัย รักการเรียนใฝเรียนรู รักงาน มุงมั่นทํางานด้วย
ความซื่อสัตยสุจริต รักธรรมชาติสิ่งแวดลอมและใชชีวิตอยูอยางพอเพียง รักตามหลักคริสตธรรมที่
เร่มิ จากพระเจาทรงรักมนษุ ยและสิ่งสรางของพระองคความรักน้เี ปนแรงบนั ดาลใจใหมนุษยไดรัก
เชนเดยี วกับพระองค์

๒. รับใช้ หมายถึง การปฏิบัติตนพรอมที่จะอุทิศตนเองเพื่อสวนรวม มีส่วนรวมในกิจกรรมที่กอใหเกิด
ประโยชนแกสวนรวมดวยความเตม็ ใจ มีน้ำใจ เสียสละโดยไมหวงั ผลตอบแทนอาสาชวยเหลือสงั คม
ดวยแรงกาย สตปิ ญญา สรางสรรคส่งิ ทีด่ งี ามใหเกิดข้ึนในชุมชนและสงั คม รจู กั แบงปนแกทุกคนที่มี
ความตองการความชวยเหลือดวยความรักเมตตาดุจพ่ีนอง ทงั้ ในครอบครัว โรงเรียน ชมุ ชน สังคม
และประเทศชาติ

๓. ใหอภยั หมายถึงการยอมรบั ขอบกพรองและความผดิ พลาดของตนเองและผูอ่ืนดวยความเขาใจและมี
เหตุผล พรอมที่จะใหอภัยตนเองและกลาวขอโทษดวยความจริงใจ ยินดีที่จะพัฒนาตนเองใหดีข้ึน
และใหโอกาสผูอ่นื ทจี่ ะพฒั นาตนเองดวย

๓. จดุ ประสงค์และเป้าหมาย

๓.๑ จุดประสงค์
๑. เพื่อขับเคล่อื นการพฒั นาคุณธรรมสู่การปฏิบตั อิ ยา่ งเปน็ รูปธรรม
๒. เพื่อพัฒนาครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ให้มีทัศนคติ วิธีคิด และการประพฤติปฏิบัติที่เน้น
คุณธรรม และค่านยิ มทเ่ี หมาะสมกบั สังคมไทย เพิ่มพฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ และลดพฤติกรรมท่ีไม่
พงึ ประสงค์
๓. เพื่อพฒั นานวัตกรรมระบบการบริหารจัดการสรา้ งสรรคค์ นดี “บา้ นนม้ี ีรัก”
๔. เพื่อศึกษาประสทิ ธิภาพของระบบการบริหารจัดการสรา้ งสรรค์คนดี “บ้านนมี้ รี กั ”

๓.๒ เปา้ หมาย
ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรของโรงเรยี นมีคุณธรรม ตามอัตลักษณ์และอุดมการณ์

คณุ ธรรมเป้าหมายของโรงเรยี น โดยมีพฤติกรรมท่ีพึงประสงค์เพ่มิ ขนึ้ และพฤตกิ รรมทไี่ ม่พงึ ประสงค์ลดลง

๔. กระบวนการผลติ นวตั กรรม

การพัฒนานวตั กรรมระบบการบริหารจัดการสรา้ งสรรคค์ นด“ี บ้านนี้มรี กั ”แบ่งเปน็ ๔ ข้ันตอนดงั นี้
ข้นั ท่ี ๑ การศกึ ษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการพฒั นา (PLAN)

การศกึ ษาขอ้ มลู พ้ืนฐานและแนวทางในการพฒั นาระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี
“บ้านนี้มีรัก” ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี
“บา้ นน้มี รี ัก” โดยมีกรอบแนวคิดดงั น้ี

๑.๑. เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบระบบการบริหารจัดการ เช่น ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีการทำงานเป็นทีม หลักการทำงาน “เข้าใจ เข้าถึง
พฒั นา” เปน็ ต้น

๑.๒. เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มี
วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ได้แก่ โครงการบ้านสีคุณธรรม มาตรฐานวิชาชีพครูและ
ผู้บริหารสถานศึกษา คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จรรยาบรรณวิชาชีพ
คุณลักษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องโรงเรยี น คณุ ธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรยี น

โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นโยบาย
การศึกษา จุดเน้นด้านคุณธรรม หลักสูตรสถานศึกษา และบริบทของสถานศึกษาภายใต้กรอบหลักการ
คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรของผู้เรียน
และมจี ุดเน้น ความประหยัดพอเพียง ความกตญั ญูกตเวที ความซ่ือสัตย์สุจรติ ความรับผิดชอบ อุดมการณ์
คณุ ธรรม คณุ ธรรมอตั ลักษณข์ องโรงเรยี น “รกั รบั ใช้ ให้อภัย”

ข้นั ที่ ๒ การสรา้ งรูปแบบระบบการบรหิ ารจดั การ (DO)
การสร้างรูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” ในการสร้างรูปแบบการ

พฒั นาคุณธรรม จรยิ ธรรม แบ่งเป็น ๒ ขน้ั ตอน ดงั น้ี
๑.๑. การยกรา่ งรปู แบบระบบการบรหิ ารจดั การสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรกั ”
จากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยทีเ่ กีย่ วข้อง และแนวทางการสง่ เสริมคุณธรรม จริยธรรมและ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในขั้นตอนที่ ๑ มากำหนดอัตลักษณ์
และเป้าหมายคุณธรรมของโรงเรียน ประชุมวางแผนกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายความสำเร็จ
กำหนดแนวทาง/วิธีการพัฒนาคุณธรรมในรูปของโครงการ/กิจกรรม/วิถีชีวิตประจำวันที่ส่งเสริม
คุณธรรม และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียน มีการนิเทศ
กำกับติดตาม และประเมนิ ผล การดำเนนิ งานตามวงจรคุณภาพ PDCA ปีการศึกษาละ ๒ คร้ัง เพ่ือ
ศึกษาผลการดำเนนิ งานตามเป้าหมาย มีการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ PLC
และจัดทำเป็นเป็นข้อมูลสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการ โดยยกย่องผู้บริหาร ครู นักเรียน

และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง โดยการมอบเกยี รตบิ ัตร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการเป็นแบบอย่างท่ี
ดี
๑.๒. การตรวจสอบรูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” โดยศึกษาความ
เหมาะสมของรูปแบบ ระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก”โดยผู้เชี่ยวชาญ
ผู้บรหิ าร ตวั แทนครู และตัวแทนผูป้ กครองของโรงเรียน
โรงเรียนกำหนดแนวทาง วิธีการพัฒนาคุณธรรมของโรงเรียนโดยจดั ทำแผนพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา
ที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมขององค์กร ด้วยกระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA โดยมุ่งพัฒนาคนดี คนเก่ง
เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งกำหนดเป็นกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการของโรงเรียน จัด
โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรม และแต่งตั้งคณะกรรมการท่ี
รับผิดชอบแผนงาน/โครงการอย่างชัดเจน โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการในรูปแบบกิจกรรมโครงงาน
คุณธรรมนำชีวิต กิจกรรมวิถีชีวิตประจำวันและการส่งเสริมในชั้นเรียนโดยการสอดแทรกในหลักสูตรและการ
เรียนการสอน โรงเรียนได้จัดให้มีครูประจำชั้น ซึ่งเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือ
และคอยให้คำปรกึ ษานกั เรียนในดา้ นต่างๆ และประสานความร่วมมือกบั ผปู้ กครอง
นอกจากนโ้ี รงเรยี นยงั มรี ะบบสนับสนนุ ในการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรยี น ไดแ้ ก่ งานระดบั ชั้น งานระบบ
ดูแลช่วยเหลอื งานแนะแนว งานสง่ เสรมิ คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน งานพฒั นาวนิ ยั และความประพฤตินักเรียน
งานประสานและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครอง งานส่งเสริมกิจการนักเรียน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องท้ัง
ภายในและภายนอก และการสร้างเครือข่ายคุณธรรมกับโรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนในเครือคณะผู้รับใช้ฯ
ผู้ปกครอง องค์กรหลักของโรงเรียน ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมให้กับบุคลากรของโรงเรียน
โรงเรียนมีโครงการพัฒนาบุคลากร โรงเรียนมีระบบติดตาม ประเมิน รายงานผลการดำเนนิ งานให้ผู้บรหิ าร
ตามสายงาน นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ส่งเสริมคุณธรรมของ
โรงเรยี น

ขั้นที่ ๓ การทดลองใชร้ ูปแบบระบบการบริหารจัดการ (CHECK)
การทดลองใช้รูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” การทดลองใช้ระบบการ

บริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” โดยงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียน นำรูปแบบ
ระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก”ไปทดลองใช้จำนวน ๑ ปีการศึกษา จากนั้นประเมิน
การใช้รูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” โดยศึกษาจากความพึงพอใจต่อการใช้
รูปแบบ และประสทิ ธิผลเชิงประจกั ษ์

โรงเรียนมีระบบนิเทศ กำกับติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินให้ผู้บริหาร อย่างเป็น
ระบบ สะท้อนผลสำเร็จในการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนภาคเรียนละ ๒ ครั้ง ตาม อัตลักษณ์ของโรงเรียน “รัก รับใช้ ให้อภัย”และปรัชญา
ของโรงเรยี น “เดน่ คณุ ธรรม เลิศลำ้ วชิ า พัฒนาสังคม” และจัดใหม้ ีการแลกเปลีย่ นเรียนรู้กนั ในระดับ

ขัน้ ที่ ๔ รบั รอง ขยายผล และจัดทำข้อเสนอแนะ (ACT)
รับรอง ขยายผล และจดั ทำขอ้ เสนอแนะรปู แบบระบบการบริหารจดั การสรา้ งสรรค์คนดี

“บ้านนี้มีรัก” การรับรองรูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก”และแนวทางการ
เผยแพร่รปู แบบสกู่ ารนำไปปฏบิ ตั ิ

๔.๑. การรับรองรูปแบบ โดยการเสวนาเรื่อง “ระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี บ้านนี้มีรัก”
โดยผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยผูบ้ ริหาร ครู ผู้ปกครองโรงเรียนนิรมลชุมพร และโรงเรียนใน
เครือคณะผู้รบั ใช้ ฯ โดยมสี าระสำคญั ได้แก่
๔.๑.๑. องค์ประกอบของรูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดีบ้านนี้มีรัก
(หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการของรูปแบบ การวัดและประเมินผล ปัจจัย
สนับสนนุ และเงื่อนไขการนำไปใช)้
๔.๑.๒. ความเปน็ ไปไดใ้ นการขยายผลการนำรูปแบบไปใช้
๔.๑.๓. ประโยชนท์ ี่ได้รับจากการนำรูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดีบ้านนี้
มรี กั ไปใช้
๔.๑.๔. ปจั จัยสนบั สนนุ ไปส่คู วามสำเร็จของการนำรปู แบบไปปฏิบตั ิ

๔.๒. การขยายรูปแบบระบบการบริหารจัดการบ้านน้ีมรี ัก โรงเรยี นมกี ารนำเสนอและเผยแพร่การนำ
รูปแบบระบบการบริหารจัดการบ้านน้ีมีรักในรูปแบบตา่ งๆ เช่น รายงานผลการพัฒนา เว็บไซต์
โรงเรียน การศึกษาดงู านเปน็ ตน้

โรงเรยี นมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ปกี ารศกึ ษาละ ๑ ครง้ั เพ่ือประกัน
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและระบบควบคุมภายใน นอกจากนี้ยังมีการกำกับติดตาม และประเมิน
คุณภาพจากหนว่ ยงานต่างๆ เพ่อื สะท้อนผลการดำเนินงานท่ีมีคุณภาพรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โรงเรียนมีกระบวนการส่งเสริมผู้บริหาร ครู นักเรียนและบุคลากรที่มีคุณธรรมเป็น
แบบอย่างที่ดี โดยการมอบเกียรติบัตรคุณธรรมความดีเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา
คณุ ธรรมในโรงเรียนต่อเนอื่ งและยงั่ ยนื

กระบวนการมีส่วนร่วม ๔ ขนั้ ตอน

๕. ผลการดำเนินงาน / ผลสัมฤทธ์ิ / ประโยชนท์ ่ีไดร้ ับ

๕.๑ ผลการพิจารณารูปแบบ
จากการพิจารณารูปแบบระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดีบ้านนี้มีรัก พบว่า รูปแบบมีความ

เหมาะสมในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” มีความเป็นไปได้และเป็น
ประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
โดยอาศัยกระบวนการมสี ่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายทั้งฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและองค์กรหลัก
ของโรงเรียน
๕.๒ ประสิทธิผลของรปู แบบ

ระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี “บ้านนี้มีรัก” จากการนำรูปแบบระบบการบริหารจัดการ
สร้างสรรคค์ นดี “บ้านนี้มรี ัก” โรงเรยี นได้นำหลักศาสนา และหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมากำหนดเป็น
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน “สร้างวินัยให้มั่นคง ดำรงตนตามหลักศาสนา เน้นภาษา พัฒนาทักษะกระบวนการ
คิดชั้นสูง มุ่งสู่คุณธรรมนำวิชาการ ตามมาตรฐานสากล ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” และกำหนดเป้าประสงค์ของโรงเรยี น “นักเรยี นมีความรู้ทางวชิ าการ ทักษะวชิ าชพี ทักษะชวี ิต ใน
ศตวรรษท่ี ๒๑ มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม คณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ เปน็ พลเมืองดี มคี วามเปน็ ไทย สรา้ งภูมคิ ้มุ กัน
จากภัยทุกรูปแบบมีสุขภาวะที่ดี และมีวิถีชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษามี
หลักสูตร กระบวนการจัดการเรยี นการสอนและการวัดผลประเมินผล ตามสภาพจรงิ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคญั
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาพัฒนาประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภบิ าล เป็นที่ยอมรับของชุมชน ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจดั
การศึกษา และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูเป็นครูยุคใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้
รองรับการเปลีย่ นแปลงและสามารถปฏบิ ัติงานได้

ผลตอบแทน โดยกอ่ ให้เกดิ ผลจากการดำเนนิ งาน ตามรูปแบบดังนี้

๑. ผลที่เกิดขน้ึ กับนักเรยี น
นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะที่ดีตามที่โรงเรยี นกำหนด และ

ได้ลงมือปฏิบัตจิ ริง ตลอดจนมีความรับผิดชอบทัง้ ต่อตนเองและตอ่ สังคมส่วนรวม เกิดความมีวนิ ัย มีจิตอาสา
มีน้ำใจตอ่ ผูอ้ นื่ มีความเสียสละ ประหยดั อดออม ใช้ทรพั ยากรอยา่ งคุ้มค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง มี
ความกตัญญตู อ่ ผ้มู พี ระคุณ เปน็ ต้น
๒. ผลที่เกิดขน้ึ กับครู

ครูมีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความดี ทำงานเต็มเวลาและตรงเวลาอุทิศตนต่อส่วนรวม
เสียสละเวลาเพื่อการทำงานอย่างเต็มท่ี มีความพอเพียงใช้จ่ายอย่างเหมาะสมตามฐานะ มีความสุภาพย้ิม
ไหว้ทักทายกับผู้อื่น พูดจาไพเราะ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีมารยาท ช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน และเป็น
แบบอยา่ งทด่ี ีให้กบั นักเรยี น
๓. ผลที่เกดิ ขึ้นกับผูบ้ ริหาร

ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญในด้านการพัฒนาคุณธรรมขององค์กร มีภาวะผู้นำ บริหารจัดการ
งานอย่างเป็นระบบตามหลักธรรมภิบาล ยึดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ปฏิบัติหน้าที่เต็มศักยภาพ ส่งเสริม
การขับเคลื่อนคุณธรรมให้บรรลเุ ปา้ หมาย ประสบความสำเรจ็ โดยติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพฤติ
ตนเปน็ แบบอย่างที่ดี
๔. ผลที่เกิดข้นึ กบั โรงเรยี น

ผลการดำเนินงานด้านคุณธรรมมีทิศทางที่ชัดเจน จนเกิดเป็นแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best
practice) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวกในโรงเรียน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความ
ไว้วางใจต่อชุมชนในการสง่ บตุ รหลานเข้าเรียนต่อโรงเรยี นนิรมลชุมพร
๕. ผลทเ่ี กิดขนึ้ กับครอบครัวของนักเรยี น

ผู้ปกครองเห็นการเปลี่ยนแปลงและพึงพอใจในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรยี นทั้งทางด้าน
ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมของนักเรียน ทำให้ผู้ปกครอง
ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในดูแลเอาใจใส่นักเรียนและกิจกรรมของโรงเรียนมากขึ้น ตลอดจนการ
เปน็ แบบอย่างทดี่ ี
๖. ผลทเ่ี กิดขึ้นกบั ชมุ ชน

ชุมชนและสังคมเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรมให้กับนักเรียน เพื่อ
ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม โรงเรียนจึงได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
กิจกรรมการรณรงคต์ ่าง ๆ เป็นตน้

๖. ปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ

๖.๑. การจัดวางระบบการบริหารจัดการที่มีรูปแบบชัดเจน เนื่องจากโรงเรียนเป็นสถานศึกษา ๔
ระดับ ระดับชั้นปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
มีครู บุคลากรและนักเรียนจำนวนมาก ต้องอาศัยการทำงานที่มีการวางแผน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
การบรหิ ารจัดการบคุ ลากร การจัดการนำสกู่ ารปฏิบตั ิ เป็นกระบวนการทำงานที่ขับเคล่ือนอย่างเป็นระบบ

๖.๒. การสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีต่อความชัดเจนในเนื้อหาสาระของคุณธรรม จริยธรรมเพื่อ
เสริมสร้างใหเ้ กิดความร่วมมือจากบุคลากรทีเ่ กย่ี วขอ้ ง ท้ังในฝ่ายบริหาร ครู นกั เรยี น ผปู้ กครอง และชมุ ชน ใน
รปู แบบการประชมุ การรับฟงั ข้อเสนอ ผ่านช่องทางเทคโนโลยี เป็นตน้

๖.๓. การกำหนดภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่ายงานให้เกิดความชัดเจน เพื่อให้เกิดแรงหนุนและพลังการ
ทำงานอยา่ งสรา้ งสรรคต์ อ่ กัน

๖.๔. ฝ่ายบริหารมีภาวะผู้นำและมีทัศนคติที่ดี และมีความเข้าใจในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เป็น
แบบอย่างทดี่ ใี นการดำเนนิ ชีวิต

๖.๕. การมีทัศนคติหรือมุมมองเชิงบวกต่อคุณธรรมเป้าหมาย ร่วมกันกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
และลงมือปฏบิ ัติ

๖.๖. ความร่วมมือ ร่วมใจ ที่เกิดจากการร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยความสุข และเห็น
คุณคา่ ของส่ิงทท่ี ำ

๗. บทเรยี นท่ีไดร้ ับ (Lesson Learn)

จากการดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนสู่คุณธรรม ด้วยหลักการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา โดยอาศัย
กระบวนการใหท้ ุกคนมสี ่วนรว่ มคดิ รว่ มทำ รว่ มพฒั นา ตามรปู แบบนวัตกรรมระบบการบรหิ ารจัดการ
“บ้านนี้มีรัก” โดยใช้กิจกรรมโครงการ/วิถีชีวิตประจำวันที่ส่งเสริมคุณธรรม จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของ
โรงเรียนซ่ึงอาศัยกระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูด้ ้วยกระบวนการ PLC ระหว่างผู้ปฏบิ ัติงานในการพัฒนาและ
แกไ้ ขปญั หาอุปสรรคเฉพาะหนา้ ทเ่ี กิดขึน้ เพือ่ ให้การดำเนนิ งานเปน็ ไปดว้ ยความเรียบร้อย

นอกจากน้ใี นส่วนของนักเรียนยังได้จัดกจิ กรรมสอดแทรกคุณธรรมจรยิ ธรรมในการเรยี นการสอนทั้ง ๘
กลุ่มสาระการเรียนรู้ และการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้วยความรู้ที่นักเรียนได้รับเกิดจากการลงมือปฏิบัติ
สง่ ผลใหเ้ กดิ พฤตกิ รรมทีค่ งทนและยง่ั ยนื

แผนภูมิแสดงความพงึ พอใจของผ้เู กีย่ วข้องต่อการสังเกตพฤตกิ รรมนักเรยี น
ตามการดาเนนิ กิจกรรมสร้างสรรคค์ นดบี ้านนีม้ ีรัก

100

95

90

85 ปีการศึกษา 2560
ปีการศึกษา 2561

80
ปีการศึกษา 2562

75

70

จากแผนภูมิแสดงความพึงพอใจของผูเ้ ก่ยี วข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะผ้บู รหิ าร ครู
ผูป้ กครอง นกั เรียน และชมุ ชน มีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของนักเรยี นด้านคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรม
สร้างสรรค์คนดี “บ้านนม้ี รี กั ” เพ่ิมข้ึนตลอดระยะเวลา ๓ ปีติดตอ่ กัน

๘. การเผยแพร่/การได้รบั การยอมรบั

โรงเรียนนริ มลชุมพรมกี ารเผยแพร่รูปแบบระบบการบรหิ ารจดั การกจิ กรรมสร้างสรรค์คนดี
“บ้านนี้มีรัก”ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ การจัดทำรายงาน แผ่นพับ การเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของ
โรงเรียน เฟสบุ๊ค การจัดประชุมสัมมนา/การจัดกิจกรรมร่วมกันของโรงเรียนในเครือคณะผู้รับใช้ ฯ การ
นำเสนอโรงเรยี นที่มคี วามสนใจเข้าศกึ ษาดูงาน สรปุ ไดด้ งั นี้

๘.๑. โรงเรียนไดร้ บั การยอมรับจากผูป้ กครอง ชุมชนและผู้ทเ่ี กี่ยวขอ้ ง
๘.๒. ผู้บริหาร/คร/ู นกั เรยี นได้รบั รางวลั จากหน่วยงานทั้งภาครฐั และเอกชน
๘.๓. โรงเรียนไดเ้ ผยแพร่ผลงานทาง เว็บไซต์ www.niramon.ac.th

E-mail : [email protected]

๙. เง่อื นไขความสำเร็จ

๙.๑. การเสริมสร้างภาวะผนู้ ำ เพอ่ื ให้เกิดแรงหนุนและพลังการทำงาน โดยสรา้ งความตระหนกั
การรับรู้ ยอมรบั เขา้ ใจในบรบิ ทและสภาพการเปลี่ยนแปลง

๙.๒. การนำระบบเทคโนโลยมี าใชใ้ นการสนบั สนนุ การดำเนนิ งานให้มีความคลอ่ งตวั
๙.๓. ปจั จยั การบรหิ าร ๔ M ด้านบุคลากรที่มีความเข้าใจและเลง็ เห็นถึงความสำคญั ในการพฒั นา

ทางด้านคุณธรรม
M๑ (Man) การบริหารจัดการทม่ี ีประสิทธภิ าพและความตอ่ เนอ่ื ง
M๒ (Management) โรงเรียนมสี ื่อ อุปกรณ์ ทมี่ ีความพร้อม เพยี งพอ สามารถใชง้ านได้จริง
M๓ (Material) วตั ถผุ สู้ นับสนนุ ใหเ้ พยี งพอตอ่ การดำเนินงานกิจกรรม
M๔ (Money)งบประมาณจดั สรรงบประมาณอยา่ งเพยี งพอ

๙.๔. การกำกับตดิ ตาม การประเมินและรายงาน และการวิจยั เปน็ ฐานในการพฒั นาคุณธรรมของ
โรงเรยี น

การพฒั นาคณุ ธรรมโดยใชป้ ัจจยั การบริหาร ๔ M



ภาคผนวก

ผลท่ีเกิดขนึ้ กบั นักเรียน
นกั ศกึ ษาวชิ าทหารรับเกยี รตบิ ัตรผู้บำเพ็ญประโยชน์

ชว่ ยเหลอื สังคมและครอบครัว

ผลที่เกดิ ข้นึ กับครู

ครูได้รับเกียรติบัตร ครไู ด้รับเกียรติบัตร
ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ครูดีศรเี อกชน

ครูเป็นแบบอย่างท่ีดีให้กบั นักเรยี น
ครเู ปน็ แบบอยา่ งที่ดใี หก้ บั นักเรยี น

ผลที่เกดิ ขึ้นกบั ผู้บรหิ าร

ผลที่เกดิ ขึ้นกบั โรงเรียน

ผลที่เกดิ ขึ้นกบั นักเรียน

สมาชกิ ในครอบครวั มคี วามสขุ

ผลทีเ่ กดิ ข้ึนกบั ชุมชน

รว่ มพัฒนาสังคม/ช่วยผูป้ ระสบอทุ กภยั

ร่วมพัฒนาสงั คม

แบบประเมนิ ความพงึ พอใจของผู้ท่ีเกยี่ วข้องต่อการสังเกตพฤติกรรมนักเรยี น
ตามการดำเนินกิจกรรมบา้ นน้ีมีรัก

คำชี้แจง
๑. แบบประเมินนี้ใช้ ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนทุกคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง
ชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี ๖ ทมี่ ตี ่อพฤติกรรมนกั เรยี น

๒. ใหผ้ ู้ปกครองทำเครอื่ งหมาย ✓ ในช่วงระดบั ความคิดเหน็ ของทา่ นทพี่ ึงพอใจ ซง่ึ จำแนกเปน็ ๕ ระดบั
๕ หมายถงึ มคี วามพงึ พอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาระดับคุณธรรมจริยธรรมนกั เรียนมากท่ีสุด
๔ หมายถึง มีความพงึ พอใจต่อการจดั กจิ กรรมพัฒนาระดับคุณธรรมจรยิ ธรรมนักเรียนมาก
๓ หมายถึง มคี วามพงึ พอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาระดับคุณธรรมจรยิ ธรรมนักเรียนปานกลาง
๒ หมายถึง มคี วามพึงพอใจต่อการจดั กิจกรรมพฒั นาระดบั คุณธรรมจรยิ ธรรมนกั เรียนน้อย
๑ หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาระดบั คุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนอ้ ยที่สุด

ข้อที่ รายการประเมนิ ระดับความพึงพอใจ
๕๔๓๒๑
๑. บุคลากรทกุ ฝา่ ยมสี ว่ นรว่ มในการพัฒนาระดบั คณุ ธรรมจริยธรรมแบบ
นักเรียน

๒. กระบวนการพฒั นาระดับคณุ ธรรมจริยธรรมมีข้นั ตอนทีเ่ หมาะสมทำให้
นำไปพัฒนานักเรยี นไดด้ ที ุกคน

๓. มีการนิเทศติดตามเพอ่ื เสรมิ สรา้ งระดับคณุ ธรรมจรยิ ธรรมนกั เรยี น
๔. ผูป้ กครองและนักเรยี นมสี ่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมในทางทีด่ ีขนึ้
๕ นกั เรยี นมคี ณุ ธรรมจรยิ ธรรมด้านวนิ ยั
๖. นักเรยี นมคี ณุ ธรรมจริยธรรมด้านรจู้ กั บทบาทหนา้ ท่ี
๗. นักเรียนมีคณุ ธรรมจริยธรรมด้านการปฏิบัติกจิ วัตรประจำวนั
๘. นกั เรยี นมีคณุ ธรรมจริยธรรมดา้ นการปฏิบัตปิ ระหยดั น้ำประหยดั ไฟ
๙. นักเรียนมคี ณุ ธรรมจริยธรรมด้านความมนี ้ำใจ
๑๐. นกั เรยี นโรงเรยี นนริ มลชุมพร มรี ะดบั คณุ ธรรมจรยิ ธรรมทแ่ี บบอยา่ งได้

สถานะผู้ตอบแบบประเมิน  ครู  คณะกรรมการสถานศึกษา

 ผู้ปกครอง  นกั เรียน  ชุมชน

ขอ้ เสนอแนะ

……………………………………………………………………………………………….........................................…........…….........

……………………………………………………………………………………………….........................................…........…….........


Click to View FlipBook Version