สมรส
(ไม่)
เท่าเทียม
นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา
ชั้นปีที่ 3
มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สมรส (ไม่) เทา่ เทยี ม
จัดทำโดย
นางสาวจนิ ดารตั น์ มโี พธ์ิ รหัส 6281126031
นายวีรพัฒน์ ศาสนาอภิชาติ รหัส 6281126032
นายไท คงคลา้ ย รหัส 6281126043
นายอนวุ ัฒน์ ไกรกูล รหสั 6281126045
นางสาวคตี าวนั แสนโสม รหสั 6281126051
นายนฤดล แผว้ พลสง รหสั 6281126053
นางสาววรศิ รา รตั นวมิ ล รหัส 6281126054
นางสาวสิริพร สวุ รรณสะอาด รหัส 6281126055
สาขาสงั คมศึกษา (ค.บ. 4ป)ี ชน้ั ปีท่ี 3
เสนอ
อาจารย์ฐิติกร สังขแ์ ก้ว
รายงานฉบับน้ีเป็นส่วนหนึ่งของรายวชิ า 2194334 ปรชั ญาการเมืองเบอ้ื งตน้
ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564
คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภฏั บ้านสมเดจ็ เจ้าพระยา
ก
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2194334 ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา
ความหมายของสมรสไม่เท่าเทียม ปัจเจกชนกับความเท่าเทียม ความไม่เท่าเทียมทางเพศ สังคมปฏิบัติต่อ
ทุกอยา่ งเท่าเทียมหรือไม่ สังคมไทยยอมรับว่าทุกเพศเท่าเทียมกนั จริงหรือไม่ กฎหมายมคี วามเท่าเทียมจริง
หรือไม่ ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามหลักกฎหมายระหว่าง
ประเทศ
คณะผู้จัดทําได้ดำเนินการจัดทำรายงานฉบับน้ีจนสำเรจ็ ลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทําขอขอบคุณ
อาจารย์ฐิตกิ ร สงั ขแ์ ก้ว ท่ไี ดใ้ หค้ วามร้แู ละคำแนะนาํ ในการเขยี นรายงานฉบับน้เี สรจ็ สมบรู ณ์
คณะผู้จัดทำหวังเปน็ อยา่ งยง่ิ ว่ารายงานฉบับนจี้ ะเป็นประโยชน์ต่อผทู้ ่ีสนใจเพ่ือใช้ในการศึกษาเรื่อง
สมรสไมเ่ ทา่ เทยี มได้เปน็ อย่างดี และสามารถเผยแผค่ วามรทู้ ไี่ ด้รับไปสู่ผู้อืน่ ต่อไป
คณะผจู้ ัดทำ
20 พฤษภาคม 2565
ข
สารบญั หนา้
เรื่อง
ก
คำนำ ข
สารบัญ 1
บทนำ 2
ความหมายของสมรสไมเ่ ทา่ เทียม 4
แนวความคดิ และหลักพนื้ ฐานการอนุญาตใหม้ ีการสมรสเพศเดียวกัน 4
ปัจเจกชนของมนษุ ย์ สัมพนั ธ์กับความเท่าเทียมอยา่ งไร 5
ความไมเ่ ทา่ เทียมทางเพศคืออะไร 7
คนในสงั คมปฏิบัติตอ่ ทุกอยา่ งเท่าเทยี มหรือไม่ 9
สังคมไทยยอมรบั ว่าทุกเพศเท่าเทียมกันจริงหรือไม่ 21
กฎหมายมคี วามเท่าเทยี มจริงหรือไม่ 35
ปญั หาเกี่ยวกบั การยอมรับว่ามนษุ ย์ทุกคนมสี ิทธิ์เท่าเทยี มกันตามหลักกฎหมายระหวา่ ง
ประเทศ 35
แนวทางแก้ไขปัญหาเกยี่ วกบั การยอมรับวา่ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกนั ตามหลัก
กฎหมายระหวา่ งประเทศ 36
บรรณานกุ รม
1
สมรส (ไม่) เทา่ เทียม
1. บทนำ
สังคมในปัจจุบันเริ่มมีเพศทางเลือกเพิ่มมากขึ้น มีทั้งคนที่แสดงออกว่าเป็นเพศทางเลือก
พงษ์สิทธิ์ นิจไพบูลย์ ได้ให้สาเหตุของเพศทางเลือกไว้ว่า เพศทางเลือกหรือคนรักเพศเดียวกัน คือ
บุคคลท่ีมีความต้องการทางเพศกับบุคคลท่ีมีเพศเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
เพศทางเลือก คือ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง
ไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ กลุ่มที่มีความหลากหลายด้าน
อัตลักษณ์ทางเพศ คือ คนที่มีเพศที่ปรากฏทางร่างกายและจิตใจไม่ตรงกัน กลุ่มที่มีความหลากหลาย
ด้านรสนิยมทางเพศ คนเราสามารถมีความรู้สึกรัก รู้สึกดึงดูด หรือมีอารมณ์ทางเพศต่อกันใน
ลักษณะที่หลากหลายได้ มีทั้งรักเพศตรงข้าม รักเพศเดียวกัน รักทั้งสองเพศหรือไม่มีความรู้สึกต่อ
เพศใดเลย ก็ได้ และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่มีความหลากหลายด้านการแสดงออกทางเพศเป็นการ
แสดงออกภายนอกของแต่ละบุคคลซึ่งอาจถูกความตามบริบทของสังคมนั้นๆว่าเป็นเพศน้ันเพศน้ี
ถึงแม้วา่ กลุ่มคนท่ีมีความหลากหลายทางเพศจะสามารถเข้ามามีบทบทในสงั คมไทยมากข้ึนแต่ก็ยัง
เป็นเพียงแค่สว่ นหน่งึ เทา่ นั้น ส่ือสาธารณะมักใช้ภาพคนเหล่านีเ้ ปน็ ตวั ประกอบ ตัวตลก ผู้ร้าย หรอื มักส่ือว่า
บุคคลเหล่านี้มีความบกพร่องทางจิตที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจของสังคมไทยต่อคนเหล่านี้ แม้ดู
เหมอื นว่าสังคมเปิดกว้าง แตก่ ไ็ มไ่ ดย้ อมรับว่าคนเหล่าน้ีเป็นคนปกตเิ หมือนประชากรคนอื่นๆท่ีนิยามตัวเอง
ว่า “ชาย” หรือ “หญงิ ”
สังคมไทยมักใช้คำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” ในการเรียกคนที่ไม่ปฏิบัติตามแบบแผนหรือบทบาท
ทางเพศที่สังคมกำหนด สื่อถึงความบกพร่องไม่ปกติในการมองกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศใน
ลักษณะดังกล่าวนั้น บ่มเพาะให้เกิดอคติและความรุนแรงที่แอบแฝงอยู่ในสังคมหลายคนยังดูถูก เหยียด
หยามและไม่ได้รบั สิทธทิ ่ีเคา้ พึงจะไดร้ ับ
ปัจจุบันมีคู่ชีวิตเพศเดียวกันจำนวนมากใช้ชีวิตร่วมกันดังครอบครัวทั่วไป แต่สถานภาพของชีวิตคู่
ดังกลา่ วไมม่ ีกฎหมายรบั รองไว้ จงึ ทำใหบ้ ุคคลเหลา่ นัน้ ไมไ่ ด้รบั การคมุ้ ครองจากรัฐและตามกฎหมายในเร่ือง
สิทธิและหน้าที่อันพึงมีพึงได้ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา
26 และมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญและตามหลักการในการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนษุ ยชน จึงควรให้มี
กฎหมายเพื่อคุ้มครองสทิ ธิและรบั รองการจดทะเบยี นคู่ชีวิตเพศเดยี วกนั
ปัจจุบันเริ่มมีการเปิดกว้างและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ในสังคมไทยดังตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดเจน คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ มาตรา 3 วรรค 1
“การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างประเทศ” หมายความว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใดการ
แบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมโดยปราศจากความชอบธรรม
เพราะเหตุที่บคุ คลน้ันเปน็ เพศหญิงหรอื เพศชาย หรอื ท่มี ีการแสดงออกแตกตา่ งจากเพศโดยกำเนดิ
2
รักเพศเดียวกันมีในสังคมมนุษย์มาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แรก ๆ รูปแบบบางอย่างเกี่ยวกับการ
ดึงดูดทางเพศและความต้องการทางเพศระหว่างผู้ชายด้วยกันฝั่งแน่นมานา นเป็นการยอมรับว่าเป็นส่วน
หน่งึ ของบรรทัดฐานสงั คม
ส่วนในประเทศไทยขนึ้ ชื่อว่าเปน็ ประเทศท่ีอดกลั้นและเป็นมติ รต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย
ทางเพศมากที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียโดยที่กิจกรรมทางเพศของเพศทางเลือกนั้นชอบด้วยกฎหมาย
มาตั้งแต่ พ.ศ. 2400 รัฐบาลไทยยังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติท่องเที่ยวในประเทศไทยเพราะ
เป็นประเทศที่ต้อนรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างดีทว่าการเลือกปฏิบัติและการดูถูก
เหยยี ดหยามกลุ่มบคุ คลทีม่ ีความหลากหลายทางเพศกย็ ังปรากฏอยู่กวา้ งขวางในสังคมไทย
ปัจจุบันสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่มีการรับรองและคุ้มครองในทาง
กฎหมายเทียบเท่ากับบุคคลต่างเพศ แต่ก็มีความพยายามจากนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อรณรงค์
การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ทั้งนี้ หากประเทศไทยผ่านร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตจะทำให้
ประเทศไทยเปน็ ประเทศแรกในทวีปเอเชยี ทีม่ กี ารรบั รองสถานะความสมั พนั ธ์ระหวา่ งบุคคลเพศเดียวกัน
2. ความหมายของสมรสไม่เทา่ เทียม
2.1 สมรส
เพจห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (2562, ออนไลน์) ให้ความหมายของคำว่า สมรส ไว้ว่า การสมรส
หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจมาอยู่กินฉันสามีภริยากันชั่วชีวิต โดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับ
บุคคลอื่น โดยมีเงือ่ นไขแห่งการสมรส 8 ประการ 1. ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอนั
ควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ 2. ไม่เป็นบุคคล
วิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่
บดิ ามารดา 4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น 5. ผรู้ ับบุตรบญุ ธรรมจะสมรสกบั บุตรบญุ ธรรมไม่ได้ 6. ชายและ
หญิงทั้งสองคนต้องยินยอมเป็นสามีภริยากัน 7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสคร้ังก่อนได้สิ้นสดุ ไป
แล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ (คลอดบุตรแล้วในระหวา่ งน้ัน, สมรสกับคู่สมรสเดมิ , มีใบรับรองแพทย์ว่า
ไม่ได้ตั้งครรภ์, ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้, มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้) 8. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับ
ความยนิ ยอมจากผู้มอี ำนาจใหค้ วามยินยอมได้ตามกฎหมาย
วิกพิ ีเดียสารานุกรมเสรี (2564, ออนไลน)์ ใหค้ วามหมายของคำว่า สมรส ไว้วา่ เป็นการรวมกนั ทาง
สังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่างคู่
สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละ
วัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชดิ
หรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรม
3
สากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำใหเ้ ป็นทางการผา่ นพิธแี ต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย
รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มี
เพศภาวะตรงข้ามกนั ในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการ
สมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศ
เดยี วกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสกอ่ นมกี ิจกรรมทางเพศใด ๆ
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ แห่งราชบัณฑิตยสถาน (2551, ออนไลน์)
ได้ให้คำอธิบายคำว่า การสมรส ไว้ว่า การสมรส หรือ marriage หมายถึง การอยู่ร่วมกันของบุคคล 2 คน
ในฐานะคู่สามีภรรยา ซึ่งทั้งคูม่ ีท้ังสทิ ธิ (right) และพันธะ (obligations) ที่กำหนดโดยกฎหมาย วัฒนธรรม
ประเพณี หรือพิธีกรรมทางศาสนา ในปัจจุบันการสมรสเน้นเรื่องการจดทะเบียนและการรับรองทาง
กฎหมายมากกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม ในหลายสังคมการสมรสไม่ได้มีความหมายเฉพาะในมิติด้าน
กฎหมายเทา่ นัน้ แต่ยังหมายรวมถงึ การอยู่ร่วมกันฉนั สามภี รรยา ซงึ่ เป็นท่ียอมรับของครอบครวั สงั คม หรือ
ศาสนา ในหลายสังคมการสมรสนอกจากจะเชอ่ื มโยงคสู่ มรสแลว้ ยงั เป็นการเชอื่ มโยงความสมั พันธร์ ะหว่าง
ครอบครัวและเครอื ญาติของทงั้ สองฝ่ายดว้ ย
2.2 ความไมเ่ ทา่ เทยี ม
Tiger Rattana (ม.ป.ป., ออนไลน)์ ได้ให้ความหมายของคำวา่ ไมเ่ ท่าเทยี ม ไว้ว่า ความไม่เท่าเทียม
หมายถงึ ความไมเ่ ทยี มทางสิทธิ์ โอกาส รายได้ หรอื ความรำ่ รวย ระหว่างบุคคลสองกลุ่ม โดยมักจะถูกใช้ใน
มุมมองความไม่เท่าเทียมทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน และสิทธิทางสังคม โดยสาเหตุหลักมาจากระบบ
ของสังคม และความรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณ์ของกลุ่มคนท่ีมีอำนาจ
สุทธิชัย หยุน่ (2563, ออนไลน)์ ไดใ้ ห้ความหมายของคำว่า ไมเ่ ท่าเทยี ม ไวว้ า่ “ความไม่เท่าเทียม”
หมายถึงการที่คนบางกลุม่ ในสงั คมไม่มโี อกาสเข้าถึงโอกาสเหมือนคนอีกกลุ่มหน่ึง โดยมีสาเหตุของความไม่
เท่าเทียมนี้อาจจะมาจากกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐ หรือการกระจายรายได้และโอกาสที่กระจุกอยู่กับ
คนเพียงกลุ่มเดียวที่เรียกว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” บางครั้งความไม่เท่าเทียมเป็นผลจากโครงสร้าง
สงั คมและเศรษฐกจิ ทเี่ อื้อต่อคนบางกลุ่มมากกว่าคนกลุ่มอน่ื ๆ ทำใหเ้ กดิ “ระบบอุปถัมภ์” อันหมายถงึ การท่ี
คนส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจและโอกาสในสังคมมากกว่า พอกลุ่มหน่ึงมีอำนาจและบารมี
มากกว่าคนส่วนอื่นๆ ของสังคม คนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจเพราะสามารถกำหนดความ
เป็นไปของสังคมได้เพราะมีเครื่องมือและสถานภาพตามกฎหมายหรือในสังคมนั้นๆ ในอันที่จะสั่งการให้
อะไรเกดิ หรอื ไม่เกิดกไ็ ด้
สรุปไดว้ า่ สมรสไม่เท่าเทียม หมายถงึ สทิ ธิมนษุ ยชน สิทธกิ ารก่อตั้งครอบครวั หรือความเรียบง่าย
ทมี่ นษุ ย์คนหน่งึ จะสรา้ งครอบครัวโดยมขี อ้ จำกัดมาเป็นอปุ สรรคในการสร้างครอบครัว
4
3. แนวความคิด และหลกั การพน้ื ฐานการอนญุ าตให้มีการสมรสเพศเดยี วกนั
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลายประเทศในสหภาพยุโรปต่างได้
พยายามผลักดันให้การสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือ การสมรส
ระหวา่ งบคุ คลเพศเดยี วกันย่อมได้รับการยอมรบั จากรัฐว่าเปน็ การกระทำทชี่ อบด้วยกฎหมายและประชาชน
สามารถ ทำไดห้ ากเป็นไปตามหลกั เกณฑ์และเงือ่ นไขที่รฐั กำหนดทัง้ น้ี การสมรสระหว่างบุคคลเพศเดยี วกัน
ทรี่ ัฐรับรองให้เป็นการกระทำที่ชอบดว้ ยกฎหมายย่อมนำมาซึ่งการส่งเสริมความเทา่ เทียมกนั ระหว่างคู่สมรส
ต่างเพศกัน (Heterosexual couples) และคู่สมรสเพศเดียวกัน (same-sex couples) โดยไม่ว่าจะเป็น
ชายรักชาย หญิงรักหญิงและชายรักหญิงที่ประสงค์จะอยู่กินร่วมกันฉันคู่รักแล้ว หากกฎหมายรับรองหรือ
สถาปนาสิทธิท่ี จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมแล้วก็จะสามารถสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ภายใตเ้ งื่อนไข แห่งการสมรสของรฐั ได้วางเอาไว้ดว้ ยเหตนุ ้ี ฝา่ ยนติ บิ ญั ญตั ิ ฝา่ ยบรหิ ารและฝ่ายตุลาการของ
หลายประเทศ ในสหภาพยุโรปต่างเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนบั สนุนให้การสมรสระหว่างบุคคล
เพศเดียวกันสามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือมีกฎหมายเข้ามารองรับการสมรสระหว่างบุคคล
เพศเดียวกัน เพราะการสนับสนุนดังกล่าวจากภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่เพียงแค่ทำให้คู่สมรสเพศ
เดียวกันสามารถ ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่าง
ประชาชนและส่งเสรมิ การตอ่ ต้านการเลือก
4. ปัจเจกชนของมนุษย์ สมั พันธ์กบั ความเท่าเทยี มอยา่ งไร
ปัจเจกชน คือ เฉพาะคน หรือ บุคคลแต่ละคน ลัทธิปัจเจกชนนิยม (Individualism) เป็นแนวคิด
แบบมนุษย์นิยมแบบหนึ่งท่ีมองว่า ตัวบุคคลหนึ่งคนสำคัญเท่าๆ กันอย่างเสมอภาค ไม่มีใครสูง ต่ำ ดีเลวไป
กว่ากัน ลทั ธปิ ัจเจกชนนยิ มเป็นลัทธิทางสังคมที่เกดิ ข้ึนในยุคกลางที่เช่ือมัน่ ในศักยภาพของความเป็นมนุษย์
ท่ีอยู่เหนือชะตาชีวิตและยังเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง แนวคิดนี้เป็นรากฐานการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยเสรีนยิ ม (ทุนนิยม) ดว้ ย และยังเปน็ ฐานคติแบบสิทธมิ นุษยชนอีกดว้ ย
ความหมายของปัจเจกชนนี้ยังไม่รวมสัตว์หรือต้นไม้ไปด้วย ความเป็นปัจเจกชนหมายถึงการ
ยอมรบั ความมอี ัตลกั ษณ์และความเป็นเอกเทศของบุคคลคนหนงึ่ โดยคุณค่าของลทั ธปิ จั เจกนยิ มในทางบวก
นั้นอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีอิสระทางความคิดและการสร้างสรรค์ ตัว
บุคคลหนึ่งคนสำคัญเทา่ ๆ กันอย่างเสมอภาค
ดงั นนั้ ปัจเจกชน คอื ความเสมอภาค ความเสมอภาค คอื ความเท่าเทียมในสิทธิ หน้าที่ และโอกาส
ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งความแตกต่างทางเพศต้องไม่เป็นเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิและโอกาส
ของบุคคลในสังคม ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศเป็นสาเหตุหนึ่งของความไม่เท่าเทียมและเป็นที่มาของ
5
การกระทำความรุนแรงที่ส่งผลกระทบทั้งทางกาย จิตใจ สังคม ของบุคคล อคติทางเพศเป็นความรุนแรงที่
สรา้ งปญั หามากมาย เชน่ การกีดกนั ด้านการศึกษา อาชพี คา่ จา้ ง โอกาสก้าวหนา้ ในตำแหนง่ งาน การเข้าถึง
บรกิ ารสาธารณะ การมสี ่วนรว่ มทางการเมือง ความรนุ แรงทางเพศ รวมทง้ั การคกุ คามทางเพศ
5. ความไม่เทา่ เทยี มทางเพศคอื อะไร
คำว่า “เท่าเทียม” ไม่ได้หมายถึงการให้ทุกคนได้ทุกอย่างที่เหมือนกันหมด แต่คำว่า “ความเท่า
เทยี ม” น้ันคอื การให้เท่ากันบนพื้นฐานของความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยไม่สนฐานะทางเศรษฐกิจ
หรือรายได้ของบุคคล การประกอบอาชีพ อายุ และภูมิลำเนา ซึ่งหากพูดถึง “ความไม่เท่าเทียม” นั่นจึง
หมายถึงการท่ีมีบุคคลบางกลุ่มภายในสังคมไม่สามารถเขา้ ถึงโอกาสได้เหมือนอีกบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งได้อย่าง
มีความเป็นธรรมหรือมีความยุติธรรม ซึ่งความไม่เท่าเทียมที่ว่านี้อาจมีสาเหตุมาจากกฎหมาย นโยบายท่ี
ออกโดยรฐั บาล การกระจายรายและโอกาสตา่ งๆ ท่อี าจกระจกุ อย่กู ับเพยี งบุคคลเพยี งบางกลมุ่ เท่าน้ัน
เมื่อพูดถึงคำว่า “เพศ” คนเรามักที่จะเอาอวัยวะสืบพันธุ์มาตีกรอบให้กับความเป็นเพศเสมอ
นับแต่อดีตความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงทางกายภาพ ได้นำไปสู่ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงและ
ผู้ชายมีความแตกต่างกันในด้านอื่นๆด้วย อาทิ ด้านสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด การตัดสินใจ
อารมณ์ ฯลฯ ซ่งึ มักถูกมองว่าเปน็ ความแตกตา่ งท่ีมีมาตามธรรมชาติ กลา่ วคอื ไมส่ ามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่ง
นำไปสู่สถานะของผหู้ ญิงทด่ี อ้ ยกวา่ ผชู้ าย ตวั อยา่ ง ความเชือ่ ทว่ี า่ ผหู้ ญิงเปน็ เพศที่ไม่มเี หตุผล ชอบใช้อารมณ์
ส่งผลให้สังคมไม่ยอมรับผู้หญิงในฐานะผู้นำเพราะมคี ุณสมบัตทิ างเพศที่ไม่เหมาะสม ความเช่ือท่ีว่าผู้หญิงไม่
เก่งทางคณิตศาสตร์ ไม่คิดเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่ได้การสนับสนุนให้ประกอบอาชีพด้านนี้ เพราะถูก
มองข้ามว่าไม่มีความสามารถทางช่าง และความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงมีคุณสมบัติหรือความสามารถทางเพศใน
การดูแลผู้อื่น ทำให้ผู้หญิงกลายเป็นผู้รับภาระหลักในการดูแลลูกและคนในครอบครัว เป็นต้น ดังท่ี
อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า โดยธรรมชาติผู้ชายอยู่เหนือกว่าและ
อยู่ในฐานะผู้ปกครอง ส่วนผู้หญิงนั้นด้อยกว่า อยู่ในฐานะผู้ถูกปกครองและผู้หญิงก็คือผู้ชายที่เสื่อม
สมรรถภาพน่ันเอง รวมถึงเสนอความแตกต่างของผู้หญิงและผู้ชายไวว้ ่าผู้หญิงมีความนุม่ นวลในการจัดการ
เรอ่ื งตา่ งๆมากกว่าผชู้ าย
ความไม่เท่าเทียมทางเทศนี้มีความสัมพันธ์กับนโยบาย กฎหมาย การกระทำที่เลือกปฏิบัติและ
ความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นเหตุให้เพศในสังคมไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือบุคคลที่มีความ
หลากหลายทางเพศ ไม่สามารถเข้าถึงหรือได้รับสิทธิ หน้าที่ โอกาส การศึกษา สุขภาพ ตามหลักการสิทธิ
มนษุ ยชนไดอ้ ย่างเท่าเทยี มดว้ ยความเป็นธรรมหรือยุตธิ รรมได้ ซึง่ ปัญหาความไมเ่ ท่าเทยี มทางเพศในสังคมนี้
มีหลายปัจจัยที่ทำใหเ้ กิดการพัฒนาความคิดจนนำมาสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศขึ้นภายในสังคมอนั
เนื่องมาจากหลากหลายปจั จัยที่กอ่ รูปขนึ้
6
อาทิเช่น ปัจจัยทางธรรมชาติและชีวภาพ แน่นอนว่าส่ิงที่บ่งบอกเพศสภาพหรือความแตกต่างของ
เพศท่เี ห็นไดช้ ัด คือความแตกต่างของอวัยเพศท่ีเป็นตัวกำหนดเพศหรือความเปน็ หญิงหรือชายในจิตใจของ
บุคคล อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันทางด้านโครงสร้างทางกายภาพหรือโครงสร้างของร่างกายของเพศชาย
และหญิงที่มักถูกมองว่าโครงสร้างร่างกายของเพศชายจะมีความแข็งแกร่งกว่าเพศหญิง ซึ่งเรามักจะได้ยิน
กนั อยบู่ ่อยครั้งวา่ เพศหญิงเป็นที่อ่อนแอกวา่ เพศชายอยู่เสมอ นอกจากปัจจัยทางด้านธรรมชาติและชีวภาพ
ที่เป็นตัวกำหนดเพศของแต่ละบุคคลในสังคม ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความหลากหลาย
ทางเพศได้อีกด้วย เช่น อิทธิพลของฮอร์โมน ยีนส์ โครโมโซม และอื่นๆ มีส่วนทำให้เกิดพฤติกรรมหรือ
ลักษณะภายนอกท่ีแสดงออกมาแตกต่างกนั
ความเช่ือเรื่องความแตกต่างทางสรีระเปน็ ตวั กำหนดความแตกตา่ งทางสถานภาพและบทบาทของ
หญงิ และชาย เป็นความคิดทีแ่ คบและไมเ่ ปน็ เหตุเป็นผล ความแตกต่างทางชวี ภาพระหว่างเพศ มิได้มีความ
เกี่ยวข้องที่จำเป็นต่อการกำหนดลกั ษณะของพฤติกรรมและสังคมของมนุษย์ ความเป็นผู้หญิงและผู้ชายจงึ
ข้ึนกับการตคี วามทางชวี วิทยาทส่ี ัมพันธก์ ับวถิ ชี ีวติ ของแตล่ ะวัฒนธรรมนัน่ เอง
เมื่อดูปัจจัยที่ใหญข่ ้นึ มาอีกข้นั หน่ึงนน้ั ก็คือ ปัจจยั โครงสรา้ งทางครอบครัว ซ่งึ เป็นปจั จัยที่ทำให้เกิด
การแบ่งงานระหว่างเพศนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมทางเพศขึ้นได้ เนื่องจากเกิดการพัฒนาแนวความคิดใน
สังคมตะวันตกจนไปสู่สังคมต่างๆที่ว่าผู้ชายต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ส่วนผู้หญิงต้องทำงานบ้าน ฉะน้ัน
รายได้เพื่อมาใช้จ่ายต่างๆ ภายในครอบครัวที่ฝ่ายชายหามาจึงอาจมีอิทธิพลหรือมีอำนาจมากกว่าผู้หญิงท่ี
ทำงานอยู่บ้านดูแลครอบครวั ได้อีกด้วยนั่นเอง ซึ่งเป็นผลมาจากกรอบความคิดและวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่
ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเพศขึน้ ความไม่เท่าเทียมทางเพศหากพูดถึงทางด้านอาชีพ บางอาชีพยัง
อาจถูกมองว่าเป็นอาชีพที่เหมาะกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แม้ว่าโอกาสทางการศึกษาของเพศชายและเพศ
หญิงหรือบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจะสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันแล้ว แต่
ทางเลือกอาชีพสังคมยังคงกำกับด้วยการแบ่งบทบาทหน้าที่ ตำแหน่ง ตามเพศอยู่ และที่น่าสนใจคืออัตรา
การว่างงานของเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงถูกมองว่าเมือ่ มีครอบครัวแลว้ จะไม่สามารถ
ทุ่มเทให้กับงานที่ทำอยู่มากกว่างานบ้านภายในครอบครัวได้ อีกทั้งในอนาคตเมื่อเพศหญิงมีครอบครัวก็
อาจจะมีบุตร ซึ่งการมีบุตรนี้ผู้ประกอบการมักมองว่าการลาคลอดของเพศหญิงตามกฎหมายจะส่งผล
กระทบต่อต้นทุนแรงงานในการผลิตมากกว่าการรับเพศชายเข้าทำงาน แม้ว่าปัจจุบันผู้หญิงออกไปทำงาน
นอกบ้านกันมากขึ้น แต่ทว่าก็ยังมคี วามคิดของสังคมท่ีมองว่าหากฝ่ายชายทำงานบ้านดูแลครอบครัวจะเป็น
ผู้ชายทีไ่ ม่มคี วามเป็นผูน้ ำไมส่ ามารถพึ่งพาได้ นก่ี ็คือปญั หาหนง่ึ ทีเ่ กิดขึ้นภายในสงั คมดว้ ยเชน่ กัน
ปัจจัยสำคญั ที่ถอื เป็นรากฐานของบุคคลภายในสังคมนั่นกค็ ือ ปัจจยั ทางวฒั นธรรมและบรรทัดฐาน
ทางสังคม ไมว่ ่าจะเปน็ วัฒนธรรมการอบรมเล้ยี งดู เจตคติของพ่อแม่ ความคาดหวังของสังคม ซึ่งครอบครัว
มีบทบาทสำคัญอย่างมากท่ีจะปลูกฝังใหบ้ ุคคลที่จะเติบโตในอนาคตน้ันมีอุปนสิ ยั หรือความคิดท่ีแตกต่างกัน
7
ได้ หากครอบครัวอบรมเลี้ยงดูบุคคลสร้างความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการแสดงอัตลักษณ์ของตนเองก็จะ
สามารถชว่ ยปลกู ผังคา่ นยิ มของสังคมท่ีดขี ึ้นตามไปด้วยในอนาคต
ซ่ึงปัจจัยทั้งหลายที่ได้กลา่ วมานี้ล้วนหล่อหลอมให้สงั คมเกิดลักษณะที่เรียกว่าความเปน็ ผู้ชายหรือ
ความเป็นผู้หญิง ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งเพศที่สังคมกำหนดไว้ทั้งเพศชายและเพศหญิงยังมีความไม่เท่าเทียมกนั
หลากหลายด้านแล้วนี้ ยังมีปัญหาของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่มักถูกละเลยหรือถูกมองว่าไม่
ตรงกับบรรทัดฐานของสังคม จึงเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการกีดกันทางเศรษฐกิจและสังคม ในบางประเทศ
นำไปส่คู วามรนุ แรงเปน็ อย่างมากไมว่ ่าจะเป็นการมุ่งเปา้ ทำร้าย ถกู ลักพาตวั ถกู คุกคามทางเพศ ถูกทรมาน
ร่างกายและจิตใจ หรือแม้กระทั่งถกู ฆ่าในที่สดุ ซ่ึงต้องใช้ชีวติ อยา่ งหวาดกลวั แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุให้ทุก
คนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่ถูกละเมิดสิทธเิ หล่านี้อยู่ จะเห็นได้ว่าปัจจุบนั คนในสังคมได้
หันมาให้การยอมรับหรือให้ความสนใจความหลากหลายทางเพศกันมากขึ้น แต่ยังคงต้องมีการต่อสู้เพ่ือ
กฎหมายที่มีความเป็นธรรมและยุติธรรมให้สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางด้าน
กฎหมาย สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และอาชีพกันมากขึ้นเพื่อขจัดปัญหาการแบ่งแยกทางเพศหรือ
ความไม่เทา่ เทียมทางเพศทไี่ มใ่ ช่แค่เพียงเพศชายและเพศหญงิ ที่มีภายในสังคมเท่านั้น
จะเหน็ ได้ว่าปัจจบุ ันสังคมไทยไดเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงจากอดีตในแง่สงั คมวิทยา อาทเิ ช่น ความเชื่อ
ค่านิยมพฤติกรรมของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว แต่บรรทัดฐานของสังคม
หลายอย่าง ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น สังคมทั่วไปเปลี่ยนแปลงค่านิยมจากการกดขี่ทางเพศสู่
การเคารพสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคทางเพศระหว่างชายหญิง แต่ปัจจุบันสังคมไทยยังคงยึดติดใน
บทบาท หน้าที่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแบบเดิม ๆ ส่ือตา่ งๆ ยังคงนำเสนอขอ้ มูล ขา่ วสาร ความบันเทิง
ในลักษณะกดขี่ผู้หญิง ผู้คนในสังคมยังคงยกย่องอำนาจผู้ชายเป็นใหญ่ ในขณะเดียวกันก็กดทับและมีอคติ
ต่อผู้หญิง เรื่องเพศของสังคมไทยจึงมีลักษณะมาตรฐานเชิงซ้อน (Double standard) ที่ลำเอียงเข้าข้าง
ผู้ชายแทบทุกกรณี รวมไปถึงกรณีปัญหาความรนุ แรงทางเพศที่ส่วนใหญ่ผู้กระทำคือผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญงิ
เป็นผู้ถูกกระท ที่จริงแล้วผู้หญิงควรเป็นฝ่ายที่ได้รับการช่วยเหลือและได้รับเห็นใจจากสังคมในฐานะเป็น
ผู้เสียหายท่ีได้รับผลกระทบ แต่ในทางกลับกันเป็นที่นา่ แปลกใจว่าในหลายกรณีสังคมกลับซ้ำเติมและต้ังขอ้
สงสยั ในตวั ผู้หญิงว่าเป็นต้นเหตทุ ่ีก่อใหเ้ กดิ ปญั หานเ้ี อง
6. คนในสงั คมปฏิบัตติ อ่ ทกุ อย่างเทา่ เทียมหรือไม่
นบั แตอ่ ดตี ความแตกตา่ งระหวา่ งเพศชายและเพศหญิงทางกายภาพ ได้นำไปส่คู วามเชือ่ ท่ีว่าผู้หญิง
และผู้ชายมีความแตกต่างกันในด้านอื่น ๆ ด้วย อาทิเช่น ด้านสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด
การตัดสินใจ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นความแตกต่างที่มีมาตามธรรมชาติ กล่าวคือไม่สามารถ
8
เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งนำไปสู่สถานะ ของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย ตัวอย่าง ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มี
เหตผุ ล ชอบใช้อารมณ์ ส่งผลให้สังคมไม่ ยอมรับผูห้ ญงิ ในฐานะผู้นำเพราะมคี ุณสมบัติทางเพศที่ไม่เหมาะสม
ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงไม่เก่งทางคณิตศาสตร์ ไม่คิดเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่ได้การสนับสนุนให้ประกอบ
อาชีพด้านนี้ เพราะถูกมองข้ามว่าไม่มีความสามารถทางช่าง และความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงมีคุณสมบัติหรือ
ความสามารถทางเพศในการดูแลผู้อื่น ทำให้ผู้หญิงกลายเป็น ผู้รับภาระหลักในการดูแลลูกและคนใน
ครอบครัว เป็นตน้ ดังทอี่ รสิ โตเตลิ (Aristotle) นกั ปรชั ญาชาวกรกี ได้ กล่าวไว้อยา่ งชดั เจนว่า โดยธรรมชาติ
ผู้ชายอยู่เหนือกว่าและอยู่ในฐานะผู้ปกครอง ส่วนผู้หญิงน้ันด้อยกว่า อยู่ในฐานะผู้ถูกปกครองและผู้หญิงก็
คือผู้ชายที่เสื่อมสมรรถภาพนั่นเอง รวมถึงเสนอความแตกต่างของผู้หญิง และผู้ชายไว้ว่าผู้หญิงมีความ
น่มุ นวลในการจัดการเร่อื งตา่ ง ๆ มากกว่าผชู้ าย
อย่างไรก็ตาม สองศตวรรษที่ผ่านมา สังคมมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีการใ ห้
ความสำคัญกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น มีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชน
การเคารพซึ่ง ความเป็นคนของแต่ละคน เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเกษตรให้เป็นการผลิตแบบ
อุตสาหกรรม ฯลฯ ส่งผลให้ผูห้ ญิงส่วนหนึง่ ได้รับโอกาสในด้านตา่ ง ๆ มากขึ้น ถึงกระนั้นความแตกต่างทาง
เพศนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหา ความไม่เท่าเทียมทางเพศขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สังคมให้ความสนใจอย่างมากใน
ปัจจุบัน โดยการวิเคราะห์ปัญหา ดังกล่าว ได้ใช้ความคิดรวบยอดที่ชื่อว่า เพศสภาวะ(gender) เป็น
เคร่อื งมอื ในการวเิ คราะห์ทสี่ ำคญั
ถ้าจะให้พูดถึงการปฏิบัติของทุกคนอย่างเท่าเทียม มันก็จะนำไปสู่ความเสมอภาค คือ ความเท่า
เทียมในสิทธิ หน้าที่ และโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองซึ่ง ความแตกต่างทางเพศต้องไม่เปน็ เงื่อนไข
ในการกำหนดสิทธิและโอกาสของบุคคลในสังคม ความไม่เสมอภาค ระหว่างเพศเป็นสาเหตุหน่ึงของความ
ไม่เท่าเทียมและเป็นที่มาของการกระทำความรุนแรงที่ส่งผลกระทบทั้ง ทางกาย จิตใจ สังคม ของบุคคล
อคติทางเพศเป็นความรุนแรงที่สร้างปัญหามากมาย เช่น การกีดกันด้าน การศึกษา อาชีพ ค่าจ้าง โอกาส
ก้าวหน้าในตำแหน่งงาน การเข้าถึงบริการสาธารณะ การมีส่วนร่วมทางการ เมือง ความรุนแรงทางเพศ
รวมทั้งการคุกคามทางเพศ
ในอดตี ยงั ไม่มีกฎหมายเฉพาะทช่ี ดั เจน เพือ่ ชว่ ยเหลอื ผู้เสียหายจากการถกู เลอื กปฏบิ ตั ทิ างเพศ โดย
ไม่เป็นธรรม หรือผู้เสียหายจากการถูกกระทำความรุนแรงเพราะสาเหตุแห่งเพศ ซึ่งอาจเป็นผู้ชาย ผู้หญิง
หรือเพศอื่น ๆ ดังนน้ั เพ่ือเป็นการแก้ไขปัญหาในเร่ืองดังกล่าว จงึ มกี ารตรากฎหมายท่ีเกี่ยวข้องขึ้นเพ่ือเป็น
เครื่องมือในการปกป้องสิทธิ ปอ้ งกนั การกระทำใด ๆ อันเป็นการแบง่ แยก กดี กัน ไม่ยอมรบั และจำกัดสิทธิ
หรือทำให้เสียสิทธิใด ๆ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมเพราะสาเหตุแห่งเพศ เพราเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้มันจึง
นำไปสูก่ ารปฏบิ ตั ติ ่อทกุ คนในสังคมท่ีไมเ่ ท่าเทียม
9
7. สังคมไทยยอมรบั ว่าทกุ เพศเท่าเทียมกันจริงหรอื ไม่
สถานภาพถ้ามองตามเพศสภาพคือ เพศหญิง และเพศชาย ความไม่เท่าเทยี มกนั มีมาตัง้ แต่อดีตฝงั
รากลึกมาจนถึงปัจจุบัน ถึงสมัยนี้ผู้หญิงจะสามารถทำอะไรได้หลายอย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย แต่ด้วย
วัฒนธรรมประเพณีก็ยังทำให้เพะศหญิงถูกกดขี่ คนที่ทำตัวแตกต่างออกไปจากเพศสภาพก็ถูกดูถูดดูแคลน
เราจะมายอ้ นดูตัง้ แต่อดตี ตั้งแตย่ ังไม่มีการเปดิ รบั ความหลากหลายทางเพศ ผูห้ ญงิ กับผ้ชู ายมคี วามเท่าเทียม
กนั หรือไม่
การกำหนดคุณค่าของความเป็นหญิงและชายที่แตกต่างกัน โดยเพศภาวะที่สังคม กำหนดน้ัน
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ใน แต่ละสังคม เช่น ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา ชนชั้น
วรรณะ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา สภาพการณ์ และเงื่อนไขสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมากความเป็นชาย มักอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าและได้รับการยกย่องในสังคมมากกว่าหญิง ทั้งน้ี
สืบเนื่องมาจากกรอบคิดของระบบปิตาธิปไตย (Patriarchy) สังคมที่นิยมชายหรือ สังคมที่ชายเป็นใหญ่
ส่งผลให้ผู้หญิงอยู่ในสถานะทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองที่ด้อยกว่าและส่งผลให้เกิดการเลือก
ปฏิบตั ิต่อสตรี เพศภาวะสง่ ผลถึงความเช่ือ บทบาท และการแบง่ หน้าท่ีของผู้หญงิ และผูช้ ายในแต่ละสังคม
โดย Hurlock ได้อธิบายถึงบทบาทหญิงชายแบบดั้งเดิม (Traditional Gender Roles) และบทบาทหญิง
ชายแบบเทา่ เทยี ม (Egalitarian Gender Roles) ดงั น้ี
7.1 บทบาทหญงิ ชายแบบด้งั เดมิ (Traditional Gender Roles)
แนวคิดบทบาทหญิงชายแบบดั้งเดิม คือ แนวคิดเชื่อว่าหญงิ ชายมีบทบาทท่ีแตกต่างกัน ผู้ชายจะมี
บทบาทความเป็นชายสูงแต่เพียงอย่างเดียว (High masculinity) ส่วนผู้หญิงจะมบี ทบาทความเป็นหญิงสูง
แต่เพียงอย่างเดียว (High femininity) นอกจากนี้ แนวคิดนี้ยังเชือ่ ว่าบทบาทหญงิ ชายถูกกำหนดเนื่องจาก
ความแตกต่างทางเพศทางชีววิทยา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก่อให้เกิดความเชื่อ ความคาดหวังและการแบ่ง
บทบาทหน้าทข่ี องผู้หญงิ และชายในสงั คม
7.2 บทบาทเพศภาวะแบบเสมอภาค (Egalitarian gender roles)
แนวคิดบทบาทเพศภาวะแบบเสมอภาค คือ แนวคิดที่ยอมรับว่าหญิงชายนั้นมี ความเท่าเทียมกัน
และบทบาทของหญิงชายนั้นไม่มีความแตกต่างกัน บทบาทของหญิง ชายไม่มีลักษณะตายตัวสามารถ
ปรับเปลี่ยนได้สังคมที่มีความเชื่อในเรื่องเพศภาวะแบบ ความเสมอภาค จากการที่สังคมกำหนดและ
คาดหวังต่อหญิงชายแตกต่างกัน ทำให้ผู้หญิงและชายถูกกำหนดอยู่ในสถานะทางสังคมที่แตกต่างกัน เช่น
สังคมเชื่อว่าผู้ชาย มีความเป็นเหตุเปน็ ผลจึงกำหนดให้เป็นผู้นำมีบทบาทอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ทำงาน
นอกบ้าน ผู้นำชุมชน นักการเมือง ในขณะที่ผู้หญิงถูกมองว่าเป็นผู้ที่ อ่อนแอและมีอารมณ์อ่อนไหวจึงถูก
กำหนดบทบาทอยูในพื้นที่ส่วนตัว เช่น เป็นผู้ให้การดูแลสมาชิกในครอบครัวอยู่ในบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของ
10
ปญั หา ภาพเหมารวมในเรือ่ งเพศภาวะ หรือการตตี ราในเร่ืองบทบาทเพศ (genderstereotype) โดยเช่อื ว่า
บทบาทเหล่านี้เปลย่ี นแปลงไม่ได้ ทำใหม้ กี ารจำกดั สิทธิ และโอกาสของผู้หญิง การกดี กนั และอคติ นำไปสู่
การเลือกปฏิบัติทางเพศ (gender discrimination) เช่น การที่ผู้หญิงต้องรับภาระในการเล้ียงดูบุตรและ
ความรับผดิ ชอบในครัวเรือน การจำกดั สทิ ธขิ องผหู้ ญิงในการเขา้ ศึกษาในสาขา ใดสาขาหน่ึง การไม่ส่งเสริม
ใหผ้ ู้หญงิ เป็นผ้นู ำในทกุ ระดับ ในส่วนของกล่มุ คนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศก็ไดร้ ับผลกระทบจากระบบ
ปิตาธิปไตย ซึ่งทำให้ถูกเลือกปฏิบัติและจำกัดสิทธิและโอกาสต่าง ๆ เช่น สิทธิในการสร้างครอบครัว
ตามกฎหมาย การจำกดั สทิ ธใิ นการเข้าสถานทบ่ี างแห่ง โอกาสในการเขา้ ทำงาน เปน็ ตน้
7.3 แนวคิดเพศภาวะกับการดำเนนิ งานภาครฐั
การนำแนวคิดเพศภาวะเขา้ สูก่ ารดำเนินงานภาครฐั น้ัน มีเปา้ หมายสำคัญ คอื การสร้าง ความเสมอ
ภาคระหว่างเพศ (Gender equality) ความเสมอภาคทางเพศ หมายถึง การเข้าถึงและได้รับสิทธิ หน้าที่
และ โอกาสที่เท่าเทียมของบุคคล ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลาย ทางเพศ
นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงความต้องการจำเพาะ และโอกาสที่แตกต่างกัน ของผู้หญิง ผู้ชาย และกลุ่ม
บคุ คลผมู้ ีความหลากหลายทางเพศ และการขจดั อปุ สรรค ซ่งึ เป็นผลมาจากเพศภาวะและความทับซ้อนด้วย
เหตุและปัจจัยอื่น ๆ (intersectionality) เพื่อให้บุคคลเข้าถึงสิทธิ โอกาส และทรัพยากรในการพัฒนา
อย่างเต็มศกั ยภาพ
ความเท่าเทียมระหว่างเพศ คือ การขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ หรือ การแสดงออกท่ี
แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด เพื่อให้บุคคลทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และกลุ่ม บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เข้าถึงและได้รบั สทิ ธิ หน้าท่ี และโอกาส ตามหลกั การสทิ ธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกนั โดยไมถ่ ูกเลอื กปฏิบัติ
ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม สหประชาชาติได้เห็นพ้องร่วมกันในการนำแนวคิดเพศภาวะเข้าสู่กระบวนการ
กำหนดนโยบายแผนงาน โครงการและกิจกรรมของรัฐ ในการประชุมระดับโลก ว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ 4
ซึ่งแนวคิดนี้ เรียกว่า การบูรณาการเพศภาวะให้เป็นกระแสหลัก (Gender Mainstreaming) คือ
กระบวนการในการประเมินผลทผ่ี ู้หญิงและผ้ชู ายได้รบั จากการปฏิบัติใด ๆ ไม่วา่ จะเปน็ กฎหมาย นโยบาย
แผนงานในทุกประเด็นและทุกระดับ เพอื่ ให้ความตอ้ งการจำเพาะ สง่ิ ทจี่ ำเป็น และประสบการณ์ของผู้หญิง
และผู้ชายได้ถูกบรรจุ เป็นประเด็นสำคัญในการออกแบบ การดำเนินการ การติดตามและการประเมินผล
นโยบายและแผนงานในมิติทาง การเมืองเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อที่ผู้หญิงและผู้ชายจะได้รับประโยชน์
อย่างเท่าเทียม และขจัดความไม่ เสมอภาค ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการบูรณาการเพศภาวะให้เป็นกระแส
หลักคือการ บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ (ข้อมติคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่ง สหประชาชาติ
1997/2)
11
เครอื่ งมือในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ในหน่วยงาน ภาครัฐ ประกอบด้วยการนำมิติเพศภาวะ
เข้าสู่กระบวนการนโยบายตั้งแต่การกำหนด เป้าหมาย การออกแบบนโยบาย การกำหนดนโยบาย
การดำเนินการ และการติดตาม และประเมนิ ผลต่าง ๆ
การวิเคราะห์มิติเพศภาวะ (Gender Analysis - GA) คือ การวิเคราะห์ถึงวิธีการ การได้รับ
ประโยชน์ และผลกระทบจากโครงการ กิจกรรมต่างๆ ท่ีรัฐกำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ข้อจำกัด
ปัญหาและ อุปสรรคของผู้หญิงและชายท่ีแตกต่างกัน เพื่อกำหนดนโยบาย รวมทั้งที่ส่งผลให้ ผู้หญิง ผู้ชาย
และกลมุ่ บคุ คลตา่ ง ๆ ในสังคม ได้รับผลประโยชนจ์ ากการดำเนินการของรัฐอยา่ งสูงสุด
การจัดทำข้อมูลจำแนกเพศ (Sex-disaggregated data) คือ การจัดเก็บข้อมูลจำแนกเพศ เพศ
สภาพ อายุ และสถานะต่าง ๆ เชน่ ความพกิ าร สถานะทางเศรษฐกิจ สงั คม เพ่ือให้เหน็ ถงึ จำนวนของผูห้ ญิง
ผู้ชาย เด็กหญิง เด็กชาย ในการเข้าถึงและการได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบาย มาตรการ โครงการ
และกิจกรรมของรฐั
การจัดทำงบประมาณที่มีมิตเิ พศภาวะ (Gender Responsive Budgeting – GRB) คือ การจัดทำ
งบประมาณที่มีการวิเคราะห์ถึง ความจำเป็น การเข้าถึง ผลประโยชน์และผลกระทบที่แตกต่างของหญิง
ชาย และประชากรกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้เกิดการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม และเหมาะสมแก่
ประชากรกลุ่มต่างๆ ซึ่งเป้าหมายคือการลดความเหลื่อมล้าทางสังคม และการส่งเสริมความเสมอภาค
ระหว่างเพศ
7.4 กรอบพันธกรณีระหวา่ งประเทศกบั การส่งเสริมสิทธสิ ตรแี ละความเสมอภาคระหว่างเพศ
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ไดเ้ ข้าร่วมเป็นภาคี ในสนธิสัญญา
อนุสัญญา ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับ
สิทธิและเข้าถึงโอกาสที่ประชากรพึงได้รับ ส่งเสริมใหเ้ กิดความเสมอภาคของประชากรในทุกระดับ รวมทั้ง
ความเสมอภาค ระหว่างเพศ ในส่วนของพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสตรีภายใต้กรอบขององค์การ
สหประชาชาติ นั้น ประเทศไทยได้เขา้ ร่วมเปน็ ภาคี ดงั น้ี
อนุสัญญาว่าด้วยว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) อนุสัญญาดังกล่าวได้รับ
การรบั รองจาก ทปี่ ระชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมยั ที่ ๓๔ เมอื่ วนั ที่ ๑๘ ธนั วาคม ๒๕๒๒ เป็นหลกั การ
สำคัญที่ สหประชาชาติได้ร่วมจัดทำขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐภาคีใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย
และมาตรการดำเนินงาน เพอ่ื ขจัดการเลือกปฏิบตั ิท้งั มวลต่อสตรี และให้ หลักประกนั ว่าสตรีต้องได้รับสิทธิ
ประโยชน์และ โอกาสต่าง ๆ จากรัฐ บนพื้นฐานของความเสมอภาค ระหว่างเพศเพื่อเป็นหลักประกันและ
ส่งเสริม เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการขจัดการเลือก ปฏิบัติต่อสตรี ทั้งในด้านนิติบัญญัติ การศึกษา
12
สุขภาพ ความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองและอื่นๆ ที่เหมาะสมอยู่บน
พนื้ ฐาน ของความเสมอภาคระหวา่ งหญงิ ชาย
7.5 พัฒนาการของแบบปฏบิ ตั ติ ามเพศสภาพในประเทศไทย
แบบปฏิบัติตามเพศสภาพ (gender practice) เป็น แบบแผนปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศ หรือแบบ
แผน พฤติกรรมที่ถูกกำหนดให้แตกต่างกันด้วยเหตุจาก ความเป็นชายหรือความเป็นหญิง แม้จะไม่ใช่กฎ
กติกา ทางสังคมที่ตายตัว แต่เป็นเหมือนกรอบการปฏิบัติที่ ผู้คนในสังคมน้อมรับมาสู่วิถีชีวิตประจำวัน
แบบปฏิบัติ ตามเพศสภาพในสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงท่ี ส่งผลต่อข้อถกเถียงเรื่องความเสมอภาค
ระหว่าง เพศมาตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบ
ประชาธิปไตย อิทธิพลของลัทธลิ ่าอาณานิคมสง่ ผลให้การแปลงเปลี่ยน แนวปฏิบตั ิตามเพศสภาพถูกใช้เป็น
เครอื่ งมอื ในการ เร่งสรา้ งความทนั สมัยเพอ่ื รบั มือกับการท้าทายของ จักรวรรดินยิ มทเ่ี ขา้ มาคุกคามภมู ิภาคนี้
นับแต่ต้นทศวรรษที่ 2410 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 6 อิทธิพลครอบงำของวาทกรรม “ความ
ทันสมัย” ที่ชาติยุโรปใช้สร้างความชอบธรรมในยุค ล่าอาณานิคม ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิบัติ
ตามเพศที่ท้าท้ายอุดมการณช์ ายเป็นใหญ่ ขัดขนบ ครอบครัวเดิมของสังคม เช่น การรับอุดมการณ์ผัวเดียว
เมียเดียว เข้ามาใช้โดยเริ่มกับแวดวงข้าราชบริพาร การเปลี่ยนแปลงนี้ นำสังคมไทยเข้าสู่การถกเถียง
เรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Suwadee T.Patana, 1994) เพราะค่านิยมดั้งเดิม
ถือว่าการมีเมียมากเป็นสิ่งแสดงความมั่งคั่งและอำนาจ วาสนาของชนชั้นสูง ผู้หญิงผู้ดีลูกขุนนางจะได้รับ
คำสอนจากวรรณกรรมเกี่ยวกับภาพลักษณ์ผู้หญิง เช่น กฤษณาสอนน้อง สวัสดิรักษา จนถึงสุภาษิตสอน
หญิงของสุนทรภู่ ให้รู้จักปรนนิบัติสามีและบำรุง ตนให้มีคุณสมบัติเป็นนางสนมด้วยเหตุนิยมถวายลูกเอา
หนา้
กระบวนการสร้างความมีอารยะในด้านหนึ่ง ก็ได้สร้างภาพลักษณ์และแบบแผนปฏิบัติตามเพศท่ี
กำหนด บทบาทของผู้หญงิ ไว้ในบ้านหรอื พื้นท่ีส่วนตวั ในขณะที่ พื้นที่สาธารณะและพื้นทีท่ างการเมอื งเป็น
ของเพศชาย ซึ่งประเด็นนี้จะกล่าวถึงต่อไป แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้ ข้อถกเถียงเรื่องผู้หญิงไม่ใช่สมบัติของ
ผู้ชาย หากเป็นมนุษย์เท่ากัน เริ่มก่อตัวขึ้นในสังคมไทย เมื่ออำแดงเหมือนหญิงสามัญชนได้ร้องทุกข์ต่อ
พระบาทสมเด็จ พระจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัว รัชกาลที่ 4 สง่ ผลใหม้ กี ารประกาศห้ามบังคบั ซื้อขายบุตรหญิงและ
ภรรยา การเปลี่ยนกฎหมายให้ผู้หญิงที่บรรลุนิติภาวะได้รับ สิทธิในเนื้อตัวร่างกายและการกำหนดอนาคต
ของตนเองโดยสามารถเลือกคู่ครองด้วยตนเองได้ ฎีกาของอำแดงเหมือนที่ทูลถวายต่อรัชกาลที่ 4 นับเป็น
กรณีท่อี า้ งถึงกันมาก ทผี่ ูห้ ญงิ ลุกข้นึ มาสู้เพ่ือสทิ ธิของตน แต่กม็ ขี ้อสงั เกตว่าในสมัยนน้ั หลังจากท่ีมีประกาศ
แล้ว จะมีหญิงชาวบ้านจำนวนเท่าใดทรี่ ับรู้ และสามารถอ่านกฎหมายนแี้ ละนำมาใชเ้ พือ่ ปกป้องสิทธิของตน
นอกจากนี้ รัชกาลท่ี 4 ทรงพระกรุณา โปรดเกลา้ ฯ เปดิ โอกาสให้นางในของท่านมีโอกาส เลือกที่จะออกไป
ใช้ชีวิตอิสระนอกวังได้ โดยอาจเลือก กลับไปอยู่กับครอบครัวเดิมหรือมีคู่ครองใหม่ก็ย่อมทำได้ แต่ก็พบว่า
13
โดยมากแล้วนางในก็ยังมีความลังเล ไม่กล้าที่จะใช้สิทธิที่ได้รับ กระบวนการสร้างความมีอารยะ ถูกสำทับ
ด้วยการปฏิรปู ประเทศหลายด้านในสมัยรัชกาลท่ี 5 ด้วย จำเปน็ ต้องพฒั นาคนใหม้ ีความร้แู ละเตรียมพร้อม
เข้าสู่ระบบการบริหารประเทศสมัยใหม่ การปฏิรูปการ ศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้หญิงกลุ่มอื่นนอกจากกลุ่มชน
ช้นั นำ ไดร้ บั สิทธิทางการศึกษาเป็นครั้งแรก แมห้ ลักสตู ร ในเวลาน้ันมงุ่ เน้นไปทกี่ ารเตรียมความพร้อมสู่การ
เป็นแม่และเมียที่ดี วิพากษ์ว่า การปฏิรูปการศึกษาระยะแรกหลักสูตร การศึกษาไม่ได้มุ่งพัฒนาศักยภาพ
ผู้หญิงเขา้ สกู่ ารประกอบอาชีพเพื่อเปน็ ทรัพยากรในการพฒั นาประเทศ ดังทีน่ ิยมส่งเสรมิ ให้ผชู้ ายได้ร่ำเรียน
ระบบการศึกษา ที่เดิมเคยจัดอยู่ในวัดทำให้ผู้หญิงไม่มีสิทธิได้เรียน เพราะด้วยประเพณีจำกัดเรื่องความ
ใกล้ชิดกับพระ การเปลี่ยนมาจัดการศึกษานอกวัดทำให้เปิดโอกาส ทางการศึกษาแก่ผู้หญิง (อ้างแล้ว)
ต่อมาเมื่อเด็กผู้หญิงชาวบ้านได้รับการศึกษา อุดมคติ ค่านิยมเกี่ยว กับภาพลักษณ์ผู้หญิงของสังคมชั้นสูง
ที่แฝงอยใู่ น วรรณกรรมตา่ งๆ ตลอดจนถงึ นิทานชาดกทนี่ ำมาทำเป็นละคร เช่น ไชยเชษฐ์ ไกรทอง สังข์ทอง
คาวี มณีพิชัย ฯลฯ ที่เน้นบทบาทสตรีที่ซื่อสัตย์ จงรัก ภักดีต่อสามี ให้ผู้หญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือน
และดูแลลูกเป็นสำคญั (แม้หญิงชาวบ้านจะต้องชว่ ย ผู้ชายทำนาทำสวน ไม่เหมือนผู้หญิงชนชั้นสูงท่ีไมต่ ้อง
ช่วยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว) ก็ยง่ิ ไดร้ ับการตอกยำ้ ถ่ายทอดสู่ลูกชาวบ้านทว่ั ไป ในทางสังคม “ภาพความ
เป็นผู้หญิงสมัยใหม่” ถูกขับ เน้นในรัชกาลที่ 6 ผู้หญิงในทัศนะของท่านต้อง “เพียบ พร้อมด้วยคุณสมบัติ
ของสตรีไทยตามคติโบราณ คือ มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ระมัดระวังรักษาชื่อเสียง เกียรติยศของตน ดูแล
กิจการบ้านเรือนไม่ให้บกพร่อง เก่งการครัว รู้จักแต่งกายแต่พองามไม่มากเกินไป แต่ในขณะเดียวกันสตรี
ต้องมีการศึกษาดี รู้หนังสือพอ สมควร พัฒนาตนเอง ขวนขวายหาความรู้รอบตัวให้ เป็นคนทันโลกทัน
เหตุการณ์ ฝึกตนให้รู้จักมีสติปัญญา ไหวพริบดี พัฒนาบุคลิกภาพตนเองให้ว่องไว เป็นตัว ของตัวเอง รู้จัก
รับผดิ ชอบต่อหน้าที่
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้มีการพัฒนา แบบเสื้อสตรีที่ผสมผสานระหว่างไทยและตะวันตก
โดยเร่มิ จากสตรใี นราชสำนัก สง่ เสรมิ ให้ขา้ ราชบริพาร ได้นำคู่สมรสของตนออกงานสังสรรค์ซงึ่ ท่านเปิดเป็น
พื้นที่สำหรับให้ข้าราชบริพารได้เรียนรู้มารยาทในการออกงานสังคม ในยุคนี้ ยังมีพระราชกำหนดให้ข้าราช
บริพารเรม่ิ ใช้นามสกุลเพื่อความมีอารยะ นับเป็นการเร่ิมต้นให้การสืบเชื้อสายทางฝ่ายชายได้รับการรับรอง
ในระบบกฎหมายอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2456 การสร้างภาพลักษณ์หญิงไทยเพื่อรับใช้อุดมการณ์
ชาตินิยม เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นรัฐชาติ ให้มีความเป็นปึกแผ่นเข้มข้นขึ้นอีกครั้ง หลัง
สงครามโลก ครั้งที่สอง รัฐบาลทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ภริยาเปน็ แกนนำในการสรา้ งภาพลกั ษณ์สตรี ชคู วามเป็น “ดอกไมข้ องชาติ” ท่ีมคี วามสวย สภุ าพเรียบรอ้ ย
และการแต่งกายประณีต รัฐสร้างภาพลักษณ์ “ผู้หญิง ไทยที่ดี” ผู้ธำรงรักษาคุณค่าความดีงามของ
ครอบครัว และประเทศชาติ ในฐานะแม่และเมียที่ดี ภาพลักษณ์ เหล่านี้ถกู ขับเน้นด้วยอุดมการณ์ชาตินยิ ม
ผ่านเพลง และหนังสือที่แต่งขึ้นโดยท่านผู้หญิงละเอียด ซึ่งส่งผลให้เกิดความชอบธรรม ในการที่สังคมจะ
14
ควบคุมพฤติกรรมทางเพศและภาพลักษณ์ภายนอกของผู้หญิง หากพิจารณาความสัมพันธ์ทางอำนาจ
ระหว่างเพศ ในทางเศรษฐกิจ พบว่า ผู้หญิงที่มีฐานะมีการสะสม ความมั่งคั่งและสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ
ผา่ นการคา้ ทองคำและที่ดนิ ด้วยรูปแบบการค้าการลงทุนแบบไม่ เปน็ ทางการซ่ึงรุ่งเรืองมากในชว่ งหลังจาก
ที่สยามเริ่ม ทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ความเติบโต ทางเศรษฐกิจในยุคที่เริม่ มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม
แห่งชาติฉบับที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ได้เปิดประตูให้ผู้หญิงก้าวสู่ตลาดแรงงานและมีบทบาท
ในพื้นที่สาธารณะในทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งได้ รับการส่งเสริมให้มีตำแหน่งหน้าที่ในงานราชการ
และสถาบันการเมอื ง สำหรับหญงิ ชนบทกม็ ีส่วนร่วมในการควบคมุ พื้นท่ี การผลิตในภาคการเกษตร ผู้หญิง
มีบทบาทสำคัญ เช่นเดียวกับผู้ชายในฐานะผู้ผลิต ความสัมพันธ์ทาง อำนาจระหว่างเพศและการแบ่งงาน
ตามเพศสภาพ จึงมีความยืดหยุ่น ปราณี วงษ์เทศ กล่าวว่า สังคมไทยให้ความสำคัญกับเครือญาติทั้งสอง
ฝา่ ย ในอดีตนยิ มสืบเชอ้ื สายจากฝง่ั หญิงเห็นได้จากประเพณี ทผี่ ชู้ ายยา้ ยเข้าไปอยูใ่ นครอบครัวฝา่ ยหญิงหลัง
แต่งงาน ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่า แม้จะมีคติ สามีอยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว
ผู้หญิงกไ็ ม่ได้มสี ถานภาพเปน็ ผพู้ ่ึงพงิ ใหผ้ ้ชู ายหาเลย้ี ง เพราะตา่ งรว่ มกันผลิต และครอบครวั สว่ นใหญม่ ักเป็น
บตุ รสาวทม่ี โี อกาสไดร้ ับมรดกไมต่ า่ งจากบตุ รชาย
สถานภาพของผู้หญิงชนบทนั้นกลับแย่ลง เมื่อมีการ ย้ายถิ่นจากภาคการเกษตรเข้ามาทำงานใน
เมืองเพิ่ม มากขึ้น ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างเพศมีความ เหลื่อมล้ำมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคการพัฒนา
อุตสาหกรรม และพัฒนาสู่ความเป็นเมืองตามกระแสทุนเสรีนิยม ซึ่งทำให้ภาคการผลิตได้เคลื่อนย้ายออก
จากครัวเรือน ไปสู่พื้นที่ตลาด ได้ลดอำนาจต่อรองและบทบาทของ ผู้หญิงในฐานะผู้ร่วมผลิตลง
ภาคครัวเรอื นกลาย เป็นพื้นทีส่ ว่ นตวั บทบาทผ้หู ญิงถกู ผูกโยงไว้กับพนื้ ท่ี ครัวเรอื นในฐานะผู้หนุนเสริมภาค
การผลิต ที่ไม่ถูก ให้ความสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นับจากแผนฉบับที่ 1 ในปี
2503 เป็นต้นมา จนกระทั่งมาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในปี 2540 จึงมีการ
คำนึงว่าสิทธิสตรีเป็น เรื่องสิทธิมนุษยชนที่เชื่อมโยงกับประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางและครอบคลุม
จากการทบทวนในเชิงประวัติศาสตร์จากช่วงระยะ เปลี่ยนผ่านสู่สมัยใหม่ พบว่า การเปลี่ยนแปลงแบบ
ปฏิบัติตามเพศสภาพในสังคมไทยได้รับผลกระทบใน ยุคแรกจากปัจจัยทางการเมืองในกระแสโลกและ
ภายในประเทศ ซง่ึ มีรัฐเปน็ ตวั แสดงหลักในการขับเน้น บทบาทระหว่างสองเพศ หญิงและชาย อิทธิพลของ
วาทกรรมการสร้างความมีอารยะ การสร้างชาติและการพัฒนา กำหนดแบบแผนการปฏิบัติตามเพศสภาพ
ไปในทิศทางที่มีความเป็นทางการ ก่อเป็นความเข้าใจ ร่วมกันของสังคมจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่กำหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างเพศในสังคม ที่แม้จะทำให้ผู้หญิง ได้เข้าสู่พื้นที่สาธารณะมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ความ
สัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างเพศ ก็แฝงนัยที่ให้คุณค่า และโอกาสในการนำทางเศรษฐกิจและการเมืองกับ
ความเป็นชายเหนือความเปน็ หญงิ
15
7.6 “ความเปน็ ชาย” ในสงั คมไทย และการทบทวนความเปน็ ชายในสังคมสยาม
เมื่อนึกถึง “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย เราจะเริ่มต้นจากจุดไหน ในช่วงเวลาใด และใน
สถานการณ์ใด หลายๆคนอาจสงสัยว่าความเป็นชายในสังคมไทยก็คงเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ในยุดใดสมัย
ใด บางคนอาจคิดว่าความเป็นชายในสังคมไทยดูได้จาก “ร่างกาย” ของผู้ชาย โดยเฉพาะนักมวย ทหาร
นักรบ หรือนักเลง ภาพตัวแทนเหล่านี้กลายเป็นคำตอบที่ทำให้เราเชื่อว่า “ความเป็นชาย” ในสังคมไทยมี
เอกภาพและดำรงอยู่อย่างถาวรไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปแค่ไหน นอกจากนั้น เรายังเชื่อว่า “ความเป็น
ชาย” ของไทยเกิดขึ้นบนบรรทัดฐานของรักต่างเพศและเพศสรีระที่ผู้ชายไทยทุกคนจะต้องแสดงความ
เขม้ แขง็ อดทน กลา้ หาญ เปน็ ผนู้ ำในครอบครวั ทำหนา้ ทพ่ี ่อและสามีตามท่สี ังคมคาดหวัง มายาคติเหล่าน้ี
ได้บดบังการความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย กลายเป็นเรื่องสูตรสำเร็จที่อยู่บนภาพ
ตัวแทนต่างๆ ซึ่งวิธีคิดเรื่องความเป็นชายที่ผูกติดกับสรีระและบรรทัดฐานรักต่างเพศก็ยังบดบังวิธีคิดเรื่อง
เพศแบบอื่นๆ ทั้งนี้ การแบ่งแยกความเป็นชายออกจากความเป็นหญิงโดยอาศัยเหตุผลทางร่างกาย เป็น
เรอ่ื งท่เี พง่ิ เกิดขนึ้ มาในสังคมไม่นานมาน้ี แตเ่ รามกั จะคดิ ว่าวิธคี ิดการแบ่งแยกเพศในลักษณะนี้มีอยู่ในสังคม
อยแู่ ล้ว และไม่เกย่ี วกบั ยคุ สมัยหรอื บริบททางประวตั ศิ าสตร์
อาจเป็นเรื่องล่อแหลมและอันตรายมาก หากเรานำวิธีคิดเรื่องเพศแบบตะวันตกมาอธิบายความ
เปน็ ชายในสังคมไทย เช่นเดยี วกนั การมองข้ามบรบิ ททางสังคมวัฒนธรรมทเี่ กิดขน้ึ ในชุมชนท้องถิ่นต่างๆที่มี
ผลต่อการสร้างความเป็นชายไม่เหมือนกัน เพราะสังคมไทยไม่ใช่สังคมของคนที่พูด “ภาษาไทย” เท่านั้น
หากแต่ยังประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีการสร้างความหมาย
เกี่ยวกับ “ความเป็นชาย” ต่างกัน ดังนั้น เมื่อมองดูสังคมไทยจึงไม่ควรเหมาะรวมว่าคนไทยมีเอกภาพทาง
ภาษาและวัฒนธรรม แต่ต้องมองทะลุให้เห็นว่าดินแดนที่เป็นประเทศไทยถูกสร้างขึ้นจากความสัมพันธ์
ระหว่างกลุ่มคนต่างชาติพันธุ์ ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจว่า “ความ
เปน็ ชาย” ในสงั คมไทยมิได้เปน็ สตู รสำเรจ็ และมีเอกภาพตามที่เราคดิ
การทบทวนตรวจสอบความหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ เพศชาย /ผู้ชาย/ ความเป็นชาย
ในสังคมไทยจึงต้องเป็นการพิจารณาเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มคนกลุ่มต่างๆ ที่
อาศัยอยูร่ วมกนั เราไม่สามารถเข้าใจ “ความเปน็ ชาย” จากมมุ มองของผปู้ กครองประเทศ หรอื ชนชน้ั สงู ได้
แต่เราจะต้องมองเห็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม
การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา รวมทั้งอิทธิพลของระบบการเมืองแบบรัฐชาติสมัยใหม่ ระบบทุนนิยม และ
อุดมการณ์รักต่างเพศที่เข้ามาควบคุมพฤติกรรมทางเพศของพลเมือง เพื่อที่จะทำให้เห็นว่าความหมาย
“ความเปน็ ชาย” มคี วามหลากหลายอยา่ งไร นอกจากน้ัน จะตอ้ งทำความเข้าใจวา่ วิธีคิดเรื่องเพศภาวะและ
เพศวิถแี บบตะวันตกที่เข้ามาในชว่ งรัตนโกสินทร์เป็นสิ่งทส่ี ังคมไทยรับเข้ามาและในขณะเดียวความคิดเร่ือง
เพศจากพุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีก็ยังคงดำรงอยู่และดำเนินควบคู่ไปกับความคิดเรื่องเพศ
16
แบบอื่นๆ ความซับซ้อนของการทำความเข้าใจ “ความเป็นชาย” ในสังคมไทยจึงอยู่ที่การมองเห็น
ปฏสิ มั พนั ธใ์ นชีวติ ประจำวันที่ผูช้ ายเปน็ ผไู้ กลเ่ กล่ยี ปรับแตง่ และสรา้ งสรรค์ความเป็นชายของตวั เองผ่านวิธี
คิดเรื่องเพศที่มีมากกว่าหนึ่งแบบการแสวงหา “ความเป็นชาย” ในสังคมไทยจึงมิใช่การหาความบริสุทธ์ิ/
ความเป็นกลาง /ความเป็นอนั หน่ึงอันเดียวกันของความเป็นชาย เราไมต่ อ้ งการหา “คณุ สมบัติพเิ ศษ” ของ
ความเป็นชายในสังคมไทย แต่เราต้องการทำความเข้าใจคุณลักษณะของความเป็นชายที่สัมพันธ์กับบริบท
ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงและคลี่คลายไปตามสถานการณ์ ดังนั้น การทบทวนตรวจสอบ “ความเป็นชาย” ใน
สังคมไทยจะต้องระมัดระวังการตอบคำถามแบบสำเร็จรูปและการเชื่อในมายาคติว่าความเป็นชายเท่ากับ
เพศสรรี ะ เท่ากบั การเปน็ รักต่างเพศและเท่ากับการอยตู่ รงข้ามกับความเป็นหญงิ เม่ือเราไม่นำเอามายาคติ
เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการศึกษา เราก็อาจเห็นลักษณะ “พหุลักษณ์” ที่เกิดขึ้นในความเป็นชาย และ
ความเป็นไปได้ที่จะเห็นผู้ชายในสังคมไทยเป็นผู้ที่ไม่หยุดนิ่งที่จะต่อรองความหมายเกี่ยวกับความเป็นชาย
ผา่ นอัตลกั ษณ์ พฤติกรรม ร่างกาย และอารมณ์ปรารถนาทางเพศ
บทความของสหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ(2553) เคยกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงความเป็นชายใน
สังคมไทยที่ปรากฎอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ สหะโรจน์พยายามตรวจสอบอิทธิพลของตะวันตกที่เข้าในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จนถึงช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยดูจากงานวรรณกรรมที่มีการสร้างตัวละครชายภายใต้วิธีคิดเรื่อง “ความเป็น
ชาย” ที่แตกตา่ งกัน บทความชิน้ น้ีนำเสนอภาพสังคมไทยยุคเปล่ยี นผา่ นทีก่ ำลงั เผชิญอำนาจจากลทั ธิอาณา
นิคมของตะวันตก ซึ่งเป็นการต่อสู้แข่งขันกันภายใต้ความคิดเรื่อง “ทันสมัย” “ศิวิไลซ์” “ความเจริญ”
อันเป็นผลมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมท่ีตะวันตกนำไปใช้อธิบายว่าวัฒนธรรมของตนเอง
เหนือกว่าหรอื เจริญกวา่ วัฒนธรรมอน่ื ๆ (วฒั นธรรมของชาวเอเชีย แอฟริกา และหมู่เกาะต่างๆซึ่งจะถูกมอง
ว่าปา่ เถ่อื น ล้าหลงั หรือด้อยความเจรญิ ) ความคิดเร่ืองการแข่งขนั เพื่อให้ตวั เองทนั สมัยเพื่อไม่ให้ถูกเหยียด
หยาม หรือตกเป็นเมืองขึ้นจากชาวตะวันตก เป็นการแข่งขันภายใต้ความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียม
เนอ่ื งจากชาวตะวนั ตกกำลังออกไปสร้างอำนาจเหนือคนพ้ืนเมืองในดินแดนต่างๆ ดว้ ยเงือ่ นไขทางการเมือง
และระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ในประเด็น “ความเป็นชาย” บทความนี้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่ออิทธิพลของตะวันตกเริ่มมีมากขึ้นใน
สยามในสมัยรัชกาลที่ 4 ความคิดเรื่อง “ศิวิไลซ์” และความเจริญกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็น
เงื่อนไขต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมในหลายเรื่อง ในมิติของเพศภาวะชายหญิง ก็มีความ
พยายามทีจ่ ะสง่ เสริมบทบาทของผู้หญิงให้มีศักดิ์ศรแี ละความเท่าเทยี มกับชาย รชั กาลท่ี 4 ต้องการทำลาย
ความหมายของประโยคที่ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” โดยการยกเลิกการเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง
สงิ่ ทีน่ า่ สนใจก็คือ การแยกเพศภาวะชายหญิงให้แยกจากกันภายใต้ความคิดเรื่องความเท่าเทียมและศักดิ์ศรี
สะท้อนว่าสยามในช่วงนั้นมีความอ่อนไหวต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเพศแบบเก่าซึ่งให้อำนาจผู้ชาย
17
มากกว่าสตรี เพราะผู้หญิงชนชั้นล่างจะได้รับการปฏิบัติราวกับเป็น “วัตถุสิ่งของ” ที่ผู้ชายสามารถจะทำ
อะไรก็ได้ เชน่ การนำผ้หู ญงิ ชาวบ้านไปถวายตวั ในวัง ความสมั พนั ธใ์ นลกั ษณะนี้ถูกมองวา่ “ไม่ทนั สมัย” ใน
สายตาของชนชั้นผู้นำในสยาม และจะเป็นสัญลักษณ์ของ “ความป่าเถื่อน” ในสายตาของชาวตะวันตกท่ี
กำลงั แผอ่ ำนาจและอิทธิพลเข้ามาในดินแดนสยาม ความพยายามท่ีจะปฏบิ ตั ิตอ่ ผ้หู ญิงให้ดีข้นึ อาจไม่ใช่การ
ตระหนักถึงความแตกต่างทางเพศภาวะในความหมายของตะวันตก แต่เป็นความพยายามของผู้นำสยามท่ี
จะสรา้ งความหมายใหมใ่ ห้กับ โครงสร้างความสัมพันธร์ ะหวา่ งหญิงกบั ชาย
ในประเด็นนี้ เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากเพราะการนำวิธีคิดเรื่องเพศภาวะของตะวันตกมาใช้
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงในสยามซึ่งยังคงถูกควบคุมภายใต้ระบบชนชั้น / ศักดินา อาจทำให้
เกิดการบดบังบริบททางวัฒนธรรมที่คอยกำกับสถานะทางสังคมของหญิงชายชาวสยามให้อยู่กับ
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ และความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทน ถ้าหากนำเอาวิธีคิดเรื่องเพศภาวะแบบ
อาณานิคมตะวันตกมาใช้มองโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเพศในสยามในช่วงนี้ ก็อาจเป็นการสรุปที่ ง่าย
เกินไปว่าผู้หญิงในสยามถูกกดขี่ข่มเหงโดยผูช้ าย ซึ่งเป็นกลิ่นอายวิธีคิดแบบสตรีนยิ มในชว่ งแรกๆที่ปรากฎ
อยใู่ นวัฒนธรรมวิคตอเรยี ทัศนะของชนช้ันปกครอง(ชนชั้นเจ้า)อาจมผี ลต่อการตีความของนักวิจัยยุคหลังท่ี
เช่อื ว่าสงั คมสยามเปน็ สังคมปิตาธิปไตยและผชู้ ายมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญงิ ชนชน้ั ปกครองไดส้ ร้างวธิ ีคดิ ใหม่
ลงไปในความสัมพันธ์ทางเพศที่มีมาก่อนหน้านน้ั จนทำใหเ้ หน็ ว่าสยามเป็นสงั คมท่ีกดทับผหู้ ญิง หรือมองว่า
ผู้หญิงกลายเป็นเหยื่อของผู้ชาย เช่น มีการนำเอาระบบผัวเดียวหลายเมีย (Polygyny) ไปตีความว่าเป็น
ระบบที่ผู้ชายมีอภิสิทธิ์เหนือผู้หญิง หรือเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่เพศหญิง ชนชั้นปกครองจึงพยายาม
ลม้ เลกิ ระบบผัวเดยี วหลายเมยี และหันไปส่งเสริมระบบ “ผวั เดียวเมียเดียว” (Monogamy) คำอธิบายของ
ชนชั้นปกครองจึงกลายเป็น “ภาพตัวแทน” ที่นักวิชาการรุ่นหลังนำไปเป็นกรอบในการศึกษาบทบาทและ
เพศภาวะชายหญงิ ทมี่ พี รมแดนแยกขาดจากกนั ซ่ึงสอดรับกับวิธีคิดตะวนั ตกท่สี รา้ งกล่องเพศภาวะชายให้อยู่
ตรงขา้ มกับหญงิ
ดังนั้น การศึกษาความเป็นชายในสังคมสยามจึงไม่ควรมองข้ามวาทกรรมของชนชั้นปกครองที่
พยายาม “นำเข้า” อุดมการณ์แบบเพศภาวะคู่ตรงข้ามที่มาจากวัฒนธรรมตะวันตกและพยายามปรับแต่ง
อุดมการณ์นี้ด้วยการนำสถานการณ์ที่ปรากฎอยู่ในสยามให้เข้ากับชุดความคิดเรื่องเพศแบบตะวันตก เช่น
การมองว่าผู้หญิงสยามเป็นคนที่ถูกกดขี่ข่มเหง และสังคมสยามเป็นสังคมแบบปิตาธิปไตย การมองสังคม
สยามในแนวนี้กลายเป็นสูตรสำเร็จที่เราเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น ราวกับว่าสังคมแบบปิตาธิปไตยเป็นสิ่งที่มี
อยู่ในโครงสร้างอยู่แล้วและเป็นสิ่งสากลที่พบได้ทุกหนทุกแห่ง การมองสังคมสยามด้วยกระบวนทัศน์นี้ซึ่ง
เป็นผลผลติ แบบสตรีนิยมจารตี ไมเ่ คยมีการตั้งคำถามอยา่ งจรงิ จงั ว่าทำไมอุดมการณ์ปติ าธิปไตยจึงดำรงอยู่
ในสังคมสยาม และความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในสยามวางอยู่บนวิธีคิดเรื่องเพศแบบใดก่อนที่ความคิด
เรื่อง “ศิวิไลซ์” จะเข้ามาถึง เราจะต้องตระหนักว่าชนชัน้ ปกครองในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือผู้ “ปรับแต่ง”
18
ความคิดเร่ืองเพศแบบตะวันตกลงไปในวัฒนธรรมทางเพศของสยามที่มีอยู่เดมิ จนทำให้วาทกรรมเรือ่ งเพศ
ของชนชั้นปกครองกลายเป็นภาพตัวแทน “ความจริง” เกี่ยวกับความเป็นหญิงและความเป็นชายในสังคม
สยาม ท้งั ๆท่ีภาพตวั แทนนน้ั คือ “ลกู ผสม” ของขบวนการHybridization ระหว่างเพศสากลกับเพศท้องถิ่น
และทำให้การศึกษาเรื่องเพศในเวลาต่อมาตกอยู่ใต้อิทธิพลและธรรมเนียมค วามคิดแบบชนชั้นสูงซึ่งได้รับ
การศึกษาจากตะวันตก และนำเอากฎระเบียบเกี่ยวกับเพศภาวะจากตะวันตกมาทาบทับลงไปในโครงสรา้ ง
ความสัมพันธ์หญิงชายซึง่ ชนช้ันเจ้านายจะเป็นผู้นำไปปฏิบัติและนำไปควบคุมชนชั้นลา่ งจากการที่ไมม่ ีการ
ต้ังคำถามเร่ือง “สังคมปติ าธปิ ไตย” การอธบิ ายบทบาททางเพศของชายหญงิ ในสงั คมไทยจึงเป็นการผลิตซ้ำ
ความคิดเร่อื งเพศแบบคู่ตรงข้าม ท่ฝี งั รากลึกมาตง้ั แต่รชั กาลท่ี 4 และเรากเ็ ช่ือวา่ การแยกชายออกจากหญิง
เป็นความคิดที่เป็นแบบ “ไทยๆ” มาตั้งนมนาน หรือกลายเป็นความจริงที่ทุกคนไม่ปฏิเสธ การตกอยู่ใน
ความคิดเรื่องเพศแบบคู่ตรงข้ามคือปัญหาของการศึกษาเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย ซึ่งแจ็คสัน
และคกุ (1999) ไดต้ งั้ ข้อสังเกตไวว้ า่ การศึกษาเพศภาวะและเพศวถิ ใี นสังคมไทยมักจะเช่ือในความเป็นสากล
ของคู่ตรงข้ามหญิงชายและอำนาจชายเป็นใหญ่ในอุดมการณ์ปิตาธิปไตย นักวิชาการไทยที่อธิบาย
ความสัมพันธ์หรือการแสดงพฤติกรรมทางเพศของชายหญิงจึงใช้ตรรกะทางเพศแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ
การวิเคราะห์โดยปราศจากการตั้งคำถามว่าอะไรคือวิธีคดิ เร่ืองเพศภาวะและเพศวิถี และมองไม่เห็นบริบท
เชิงการเมืองที่มีผลต่อการสร้างวาทกรรมทางเพศ ผลที่ตามมาก็คือเราพยายามใช้ภาพตัวแทนเกีย่ วกับเพศ
ภาวะทเ่ี กิดจาก “ลกู ผสม” ท้งั หลายมาเป็นไมบ้ รรทัดเพอ่ื ท่จี ะตอกย้ำ “แก่นแท้” เรอื่ งปิตาธปิ ไตยและความ
ไม่เทา่ เทยี มทางเพศในสังคมไทย
เงื่อนปมดังกล่าวนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในการศึกษาความเป็นหญิงและความเป็นชายในสังคมไทย
เนอื่ งจากเราไม่ได้ตัง้ คำถามอยา่ งจรงิ จงั เกี่ยวกับกระบวนทัศนเ์ รื่องเพศทีค่ รอบงำเราอยู่ แต่เราคิดว่ามันเป็น
สิ่งที่มีอยู่ในสังคมราวกับเป็นสิ่งที่อยู่นอกโครงสร้างความสัมพันธ์เชิ งอำนาจและบริบททาง
ประวัติศาสตร์ ไม่เคยมีการตั้งคำถามว่าวิธีคิดแบบสตรีนิยมจารีตของวคิ ตอเรียถูก “ปรับแต่ง” โดยชนชนั้
ปกครองสยามอย่างไร และทำไมชนชัน้ ปกครองจงึ วิตกกังวลกับบทบาทหญิงชายในสงั คมสยามในชว่ งท่ีลัทธิ
อาณานิคมกำลังแผ่ขยายในสู่ดินแดนแถบนี้ คำถามเหล่าน้ีได้สูญหายไปจากการศึกษาเรื่องเพศใน
สังคมไทย หากพิจารณาถึงแนวคิดสตรีนิยมจารีตแบบวิคตอเรีย เราจะพบว่าแนวคดิ ดังกล่าวนี้ถูกท่ายทอด
ไปพร้อมกับลัทธิอาณานิคมของอังกฤษซึ่งพยายามชูอุดมการณ์แบบรักต่างเพศและการแยกขั้วตรงข้าม
ระหว่างหญิงกับชาย ในเวลาเดียวกันก็พยายามวิจารณ์บทบาทและสถานะทางสงั คมของผู้ชายที่มีมากกว่า
ผู้หญิง แนวคิดสตรีนิยมจารีต หรือรู้จักในนาม First-Waved Feminism มีเป้าหมายที่ต้องการเรียกร้อง
ความเท่าเทียมทางเพศและผลักดันให้ผู้หญิงมีสิทธิทางการเมืองและสังคมได้เท่ากับผู้ชาย โดยเฉพาะการ
ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ฐานคิดสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศนี้มาจากสมมุติฐาน
ที่ว่าความเป็นหญิงและความเป็นชายเกิดจากปัจจัยทางชีววิทยา เพศหญิงทุกคนมีความเป็นหญิงตั้งแต่
19
กำเนิด หรือติดตัวมาตั้งแต่แรกคลอด ฐานคิดนี้ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของสตรีนิยมจารีตดำเนินไปบนการ
ตอกยำ้ เพศคตู่ รงข้ามโดยใชเ้ พศสรรี ะเป็นตัวตัดสินความเป็นหญิงและชาย และตอกยำ้ “แก่นแท้” ทางเพศ
ที่ธรรมชาติสร้างมาให้แล้ว สตรีนิยมจารีตจึงไม่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับที่มาของ “ความเป็นหญิง” ของ
ตนเอง ซงึ่ เป็นประเด็นท่ถี กู วจิ ารณ์จากสตรนี ิยมรุ่นหลงั
7.7 สงั คมไทยยอมรับ LGBT แบบมเี งอ่ื นไข กำแพงปดิ ก้นั ความหลากหลายทางเพศ ในมมุ มอง
ของครเู คท
“การเปดิ เผยตัวเองมันต้องแลกบางอย่างในชวี ิตเขา ถา้ เขาเปดิ เผยตวั เองวา่ เปน็ LGBT ต้องพบกับ
แรงต้าน คนไม่สนับสนุน หรือคนที่ไม่ชอบอัตลักษณ์ทางเพศแบบนี้ มันมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวั น
ทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ชอบเพราะเป็นกระเทยหรือเป็นเกย์ ก็มีผลต่อสภาพ บางที่ก็มีผลต่อการ
ประเมนิ ข้นั เงนิ เดอื น ประเมินตำแหน่งหน้าท่กี ารงาน”
แม้ทุกวันนี้ ภาพของประเทศไทยจะดูมีเสรี เปิดกว้างให้กับเพศที่ 3 หรือเพศทางเลือก พบ LGBT
ได้ทั่วไป ไม่ต้องหลบซ่อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สังคมไทยกลับยังมีพื้นที่ที่ปิดกั้น และไม่ได้เปิดออก
ยอมรบั คนเหล่าน้ีอย่างเต็มที่ หรือแมจ้ ะมกี ารยอมรับ ก็เป็นการยอมรบั อย่างมี ‘เง่อื นไข’
7.8 สงั คม LGBT ในแวดวงการศึกษาในปจั จบุ นั ไดร้ ับการยอมรบั มากน้อยแคไ่ หน
พอมันเป็นแวดวงวิชาชีพ คนก็จะยึดติดอยู่กับการแบ่งแยกเพศแบบชัดเจน เพราะมันทำให้คนเข้า
ไปอยู่ในระบบระเบียบ อยู่ในความตกลงขององค์กรได้ง่าย เช่นองค์กรมีชุดยูนิฟอร์มแบบผู้ชาย ผู้หญิง
คนที่มีหลากหลายทางเพศก็อาจจะรู้สึกว่าอาจจะไม่ได้อยากใส่ฟอร์มตามเพศ ปัญหาแบบนี้มันจะเกิดขึ้น
คนกจ็ ะมองว่า LGBT ไม่ไดอ้ ยู่ในกล่องของเพศท่ีกำหนดไว้ สิง่ ทเ่ี กิดข้ึนคือ องค์กรก็ไม่พอใจ คนที่ไปทำงาน
ในองค์กรก็จะไม่พอใจที่ต้องไปทำ ยิ่งเฉพาะคนข้ามเพศ ปัญหาเรื่องการแต่งกายและความคาดหวังจะ
เกิดขึ้น เวลาทำบัตรพนักงาน มีนายรึเปล่า? รูปละต้องเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย? มันกลายเป็นความขัดแย้งที่
เกิดขึ้นในองค์กร องค์กรก็ต้องทำตามระเบียบ ยิ่งเราพูดถึงวงการศึกษา ยิ่งมีความต้องการที่สูงมาก ความ
ต้องการแรกของหน่วยงานคือใหค้ นอยู่ในระเบยี บสามารถควบคุมได้ และไม่ไดอ้ นญุ าตให้คนเป็นอะไรก็ได้ที่
อยากเป็น เพราะวิชาชีพมันต้องมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นการเป็น LGBT ในงานวิชาชีพมักจะถูกพูด และ
เข้าใจเสมอว่าคนพวกน้ีไมม่ ีความนา่ เช่ือถือหรอก เพราะมีบุคลิกภาพที่ไมโ่ อเค อาจจะไม่มีสภาวะทางจิตใจ
ที่ดี เพราะมีอารมณ์สวิง และจนกว่าคนๆ หนึ่งจะอธิบายความเป็นเพศกับองค์กรก็ต้องใชค้ วามคุ้นชิน ต้อง
ใช้ประสบการณข์ องเรา บวกกบั ของเขาพสิ จู น์ตัวเองวา่ เปน็ คนเรยี บร้อย พดู จาดี สอนหนังสอื ร้เู รอ่ื ง เราเคย
เห็นคนที่ตอนเข้ารับราชการครูแต่งตัวเป็นผู้ชาย อยู่ไปทำให้คนชินเรื่อย ๆ จนไว้ผมยาว ใส่ชุดราชการ
ผู้หญิง ขยับมาใส่กระโปรง นี่ไม่ได้แปลว่าคนยอมรับนะ แต่ว่าคนเห็นว่าเธอไม่ได้เป็นคนกระด้างกระเดื่อง
ทำตามระเบียบ เรยี บร้อยตา่ งหาก
20
7.9 ในการทำงานด้านการศึกษาของ LGBT มีปัญหา หรือได้รับการยอมรับจากนักเรียนมาก
นอ้ ยแคไ่ หน
มันมีปัญหาเรื่องความกลัว มันไม่มีใครเคยถามความกลัวนักเรียนว่า เรียนกับครู LGBT แล้วเป็น
อย่างไร มีแต่สังคมที่บอกว่า ถ้าเด็กเรียนกับพวกนี้ก็จะเกิดการเลียนแบบ เพราะสังคมบ้านเรามันขาดการ
อธิบาย การให้ความรู้ เร่ืองความเป็นเพศทห่ี ลากหลาย เดก็ หลายคนยงั ไม่เข้าใจ ส่ิงที่เกิดขึ้นคอื ความกลัวว่า
ครูที่เป็น LGBT จะทำให้เด็กอึดอัด และมีพฤติกรรมเลียนแบบ แต่จริงๆ เด็กอย่างเรา เด็กที่เป็น LGBT
ก็ไม่ได้เลือกเลียนแบบว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายตามพ่อแม่ ดังนั้นพฤติกรรมเลียนแบบจึงเป็นไปไม่ได้เลย
ท่ถี า้ ครเู ป็นกะเทย นกั เรียนกจ็ ะเปน็ กะเทย
7.10 การอยู่ในระบบราชการของ LGBT ทำให้ต้องมีการปกปิดเพศสภาพอยู่ไหม ทำไมถึงยัง
ตอ้ งปกปดิ อยู่
เพราะการเปิดเผยตัวเองมันต้องแลกบางอย่างในชีวิตเขา ถ้าเขาเปิดเผยตัวเองว่าเป็น LGBT ต้อง
พบกับแรงตา้ น คนไมส่ นับสนนุ หรือคนทไี่ มช่ อบอัตลักษณ์ทางเพศแบบน้ี มนั มีผลกระทบตอ่ ชีวิตประจำวัน
ทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ชอบเพราะเป็นกระเทยหรือเป็นเกย์ ก็มีผลต่อสภาพ บางที่ก็มีผลต่อการ
ประเมิน ขั้นเงินเดือน ประเมินตำแหน่งหนา้ ทีก่ ารงาน ความสามารถมีหมด แต่ยังไม่พิจารณาดกี วา่ เพราะ
ไม่เหมาะสม เช่นตุ๊งติ๊งเกินไป ยิ่งกับคนที่เป็นทรานเจนเดอร์ คนข้ามเพศ มันยากที่จะปกปิด เนื่องจากการ
ขา้ มมนั เห็นได้ชดั เจน เราเชอื่ ว่าอตั ลักษณท์ ่ีแตกต่างคนก็ปฏิบัตทิ ่ีแตกต่างกัน
7.11 สงั คมไทยมีคา่ นิยมว่า ครูต้องเปน็ ตน้ แบบของนักเรียน แลว้ ขอบเขตการแสดงออกตัวตน
ของครู LGBT มไี ด้มากแค่ไหน
ครู LGBT ก็ระวัง เพราะยิ่งเป็นจุดจ้องมอง จะพูดยังไง พูดเสียงดังไหม แสดงกิริยาอย่างไร มันทำ
ให้เราบอกตัวเองว่าเราต้องแสดงออกให้ดี เป็นตัวของตัวเองไม่ได้มาก จริงๆ อย่างที่ปกติทั่วไปทำ เราก็ทำ
แต่ครู LGBT ต้องกังวล หรือระวังมากยิ่งขึ้น และให้ความสำคัญมากกับการปฏิบัติตัว ที่ต้องกังวลมากกว่า
คนอนื่ เพราะวิถชี ีวิตของ LGBT เปน็ วิถชี วี ิตแบบยอมรบั ตัวเอง คือการสรา้ งบางอยา่ งเพ่ือท่จี ะเปลย่ี นสถานะ
ทางสังคมของตวั เอง หรอื ไดร้ ับการยอมรับ เช่น เวลาเรียนเปน็ กะเทยก็ต้องเรียนเก่ง ถึงจะไมว่ า่ ใครว่า หรือ
ต้องทำอะไรดีเด่นหน่อย ส่วนหนึ่งสังคมมันก็คาดหวังแบบนี้ด้วย ว่าคนเป็น LGBT ต้องทำอะไรดีซักอย่าง
เช่น บุคลิกภาพดี วางตัวดี แต่คนไม่ได้นึกว่าแต่ละคนมีบุกคลิกภาพแตกต่างกันเป็นเช่นนี้ พอใช้
ชีวติ ประจำวนั คนบางคนทถี่ กู จบั จ้องมอง หรือถกู ตำหนิทางสงั คม คนเหลา่ น้ีก็จะคดิ ว่ากลายเป็นชินไปแล้ว
โดยไมไ่ ด้คดิ วา่ นค่ี อื การเลือกปฏบิ ัติ และก็ปล่อยผ่านเลยไป
21
8. กฎหมายมคี วามเท่าเทียมจรงิ หรอื ไม่
8.1 สิทธมิ นุษยชนกบั ความเทา่ เทยี มทางเพศ
ประชาชนคนไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก โดย เฉพาะเรื่อง
ความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหานี้มีในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความด้อยโอกาสของสตรีเม่ือ
เทยี บกบั บรุ ุษ เรื่องความรุนแรงต่อสตรี รวมไปถึงการ ไมย่ อมรบั ใหบ้ คุ คลสามารถแสดงออกทางเพศได้อย่าง
เสรี ส่งผลให้เกิดความไม่เป็น ธรรมในการจ้างแรงงาน หรือ แม้กระทั่งความไม่เป็นธรรมในวงการศึกษา
ถงึ แมว้ ่า ประเทศไทยจะมีสนธิสัญญาในการลดความรุนแรงต่อสตรี แต่ กค็ วรจะมีการขยาย ความคุ้มครอง
สิทธิเสรภี าพต่อสตรใี ห้มากขึ้น และรวมไปถึง การยอมรับความหลาก หลายทางเพศ ยอมรับการเลอื กที่จะ
แสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกจากเพศโดย กำเนิด ซึ่งต้องมีการปรับทศั นคติเพื่อให้เหมาะสมวา่ ความ
หลากหลายทางเพศเป็น เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกรอบ
ของ กฎหมายในประเทศและกระแสโลกในปจั จบุ นั
สทิ ธิ หมายถงึ ความรสู้ ึกทีร่ บั รู้ได้ในตวั มนษุ ย์ มาตั้งแตเ่ กิดหรือเกดิ ขึ้นโดย
กฎหมาย เพอ่ื ให้มนษุ ยไ์ ดร้ บั ประโยชน์ และมนษุ ยจ์ ะเป็นผ้เู ลือกใชส้ ง่ิ นน้ั เอง โดยไม่มีผใู้ ดบงั คบั ได้ เชน่ สทิ ธิ
ในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดย กฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้
ทรัพยส์ นิ สทิ ธิในการร้องทกุ ขเ์ มือ่ ตนถกู กระทำละเมดิ กฎหมาย เป็นตน้
เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่าง หนึ่งได้อย่างอิสระ
แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น เช่นเสรีภาพในความคิด การพูด การเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย
โดยไมไ่ ด้ถกู บังคับ ซ่งึ หากผู้ใดใช้สทิ ธิ เสรภี าพเกนิ ขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อ่ืนก็อาจทำให้เกิดการ
ทะเลาะวิวาท และอาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกันในสิทธิและเสรีภาพ โดย เฉพาะความเท่าเทียม
กนั ในการดำรงชวี ิตอยา่ งสงบและการแสวงหาความสุข ความเสมอภาคมคี วามหลากหลาย มีพน้ื ฐานมาจาก
ของความคิดท่ีวา่ ไม่มีผูใ้ ดด้อยกวา่ ผู้ อนื่ ในโอกาสหรอื สทิ ธิมนษุ ยชน
รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 ว่าด้วยเรื่อง สิทธิและเสรีภาพของ
ปวงชนชาวไทย มาตรา 27 บัญญตั ิวา่ “บุคคลย่อมเสมอกันใน กฎหมาย มีสทิ ธแิ ละเสรีภาพและได้รับความ
คุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อ
บุคคล ไม่ว่า ด้วยเหตุความแตกตา่ งในเรื่องถิ่นกำเนดิ เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย
หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความ เชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือ
ความคดิ เหน็ ทางการเมืองอันไม่ขดั ต่อ บทบัญญัตแิ ห่งรฐั ธรรมนญู หรือเหตอุ นื่ ใด จะกระทำมิได้
22
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและมีเสรีภาพ ได้
เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความ สะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือ
ผ้ดู อ้ ยโอกาส ย่อมไม่ถอื ว่าเป็นการ เลอื กปฏิบตั โิ ดยไม่เปน็ ธรรม
สิทธิมนุษยชนครอบคลุมถงึ เร่ืองความแตกตา่ ง ในถ่ินกำเนิด เชอ้ื ชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ
สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทาง เศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา
การศกึ ษาอบรม หรอื ความคดิ เหน็ ทางการ เมือง สทิ ธิมนษุ ยชนเป็นเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
ซึ่งในอดีตที่ผา่ นมา และยังมีบางสงั คมในปัจจุบันทใ่ี ห้บุรุษเปน็ ใหญ่กว่าสตรี มีความไม่เสมอภาคในสิทธ์ิ เช่น
หญิงไทยที่สมรสต้องใช้คำนำหน้าว่านาง มีการกดขี่ข่มเหงทางเพศ เช่นชายข่มขืนหญิงที่เป็นภรรยาของตน
ไมม่ ีความผดิ ถงึ แมใ้ นปจั จบุ นั ได้มีการแกไ้ ขประมวล กฎหมายในเรอ่ื งดังกลา่ วแลว้ ก็ตาม แตใ่ นบางทีก็ยังไม่
มีการบังคบั ใชก้ ฎหมายอย่าง เพยี งพอ
ปัญหาของความไม่เสมอภาคทางเพศที่เห็นในประเทศไทยซึ่งพอจะสังเกตได้ ในสังคม เป็นใน
รูปแบบของ การเลือกปฏิบัติต่อสตรี ความไม่เป็นธรรมทางเพศ ชาย ได้เปรียบกว่าหญิง การเหยียดหยาม
ทางเพศ ความรุนแรงและการทำร้ายสตรี การไม่ยอมรบั การมอี ตั ลักษณ์ทางเพศทแี่ ตกตา่ ง
8.2 พระราชบญั ญตั ิความเทา่ เทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
ภายหลังจากท่ีประเทศไทย ไดเ้ ขา้ เปน็ ภาคีอนุสัญญาว่าดว้ ยการขจดั การเลือก ปฏิบัติต่อสตรีในทุก
รูปแบบ (CEDAW) รวมถึงพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฉบับดัง กล่าวแล้ว หน่วยงานรัฐได้มีการ
เปลี่ยนแปลงทั้งทางนโยบาย ทางปฏิบัติและ โครงสร้างของกฎหมายในเร่ืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบตั ิ
ต่อสตรี ทั้งนี้ เพื่อให้มีผลเป็นการสอดคล้องและรองรับการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา CEDAW ซึ่งใน
ปัจจุบันได้มีการถอนข้อสงวนตามอนุสัญญาจนเหลืออยู่เพียงข้อเดยี วเท่าน้ัน คือ ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิทาง
ศาล โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั้น ได้แก่ การปรับ เปลี่ยนโครงสร้างของส่วนราชการใหม่ โดยได้มีการ
จัดตั้งสำนักงานกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัวขึ้น (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “กรมกิจการสตรีและสถาบัน
ครอบครัว”) มี ภารกิจหลักในการดำเนินงานให้เป็นไปตามอนุสัญญา CEDAW ได้มีการประชุม หารือจาก
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนราชการและเอกชน โดยหลังจากการประชุม หารือแล้ว พบว่าประเทศไทย
ควรมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเสมอ ภาคระหว่างเพศ จึงได้มี การจัดทำ “ร่าง
พระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่า เทียมกันระหว่างเพศ” ขึ้น ในปี พ.ศ. 2557 โดยได้เสนอร่าง
กฎหมายเขา้ สู่ทป่ี ระชมุ คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรภี ายใตก้ ารนำของนายก น.ส. ยงิ่ ลกั ษณ์ ชนิ วตั ร ได้
มี มตเิ หน็ ชอบ และสง่ เรือ่ งไปตามกระบวนการนติ บิ ญั ญตั ิ แตม่ กี ารยุบสภาเสยี กอ่ นจึง
ยังไม่ได้มีการพิจารณา จนมาถึงใน ยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ภาค
ประชาชนได้มีการผลักดันในเรื่องนี้อีกครั้ง และรัฐบาลก็ให้การตอบรับใน การผลักดันกฎหมาย ผ่านเข้าสู่
23
ขบวนการนิติบัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2558 นำมาซึ่งการประกาศใช้
กฎหมาย “พระราชบญั ญัตคิ วามเท่า
8.3 เทยี มระหวา่ งเพศ พ.ศ. 2558”
โดยที่นั้นร่างเดิมของกฎหมายฉบับนี้ได้มปี ระเด็น ความกังวลเกี่ยวกับการ นิยามคำว่า “การเลือก
ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” โดยเฉพาะในเรื่องของ คำนิยาม ให้ความหมายของคำนิยามของการ
เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่าง เพศ ไม่ได้มีเพียงแต่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศ หญิง
และเพศชาย เท่านั้น แต่ยังได้คุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย โดยได้มีการสร้าง กลไก ใน
การขบั เคล่ือนการทำงาน 2 กลไก ไดแ้ ก่
1. คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.) ซึ่งมีนายก รัฐมนตรีเป็นประธาน
กรรมการ โดยกรรมการนั้น ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน มาจากการแต่ง ตั้งของคณะรัฐมนตรี โดยเลือกจากผู้แทนองค์กรสตรีและ
องค์กรที่ ทำงานด้านสิทธิ ความหลากหลายทางเพศ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ สิทธิมนุษยชน
สังคมศาสตร์ และ จิตวิทยา โดยคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ มีจะทำหน้าที่ กำหนด
นโยบาย มาตรการ แผนงาน และดแู ลสอดส่องให้ เกิดความเทา่ เทียมระหวา่ ง เพศ
2. คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) คณะกรรมการชุดนี้
จะได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการ สทพ. เมื่อได้รายชื่อบุคคล ที่สมควรดำรงตำแหน่งแล้ว
คณะกรรมการ สทพ. จะส่งรายชื่อดังกล่าวให้ ครม. เพื่อ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ วลพ.
องค์ประกอบของคณะกรรมการ วลพ. นั้น มีจำนวน 8 – 10 คน ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ
ชุดนี้ควรที่จะต้อง เป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถสูง ทั้งนี้เพื่อที่จะใช้ความรู้ความสามารถ และ
ประสบการณ์ วนิ จิ ฉยั ประเดน็ เรื่องรอ้ งเรียนได้โดยทันที
กฎหมายฉบบั ดังกล่าวได้กำหนดมาตรการสำคญั ทีจ่ ะบังคบั ใหห้ น่วยงานภาค รัฐและภาคเอกชนใน
การออกขอ้ บงั คบั ตา่ งๆ ต้องไมข่ ัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย กล่าวคือ ขอ้ บงั คบั ตา่ งๆ นั้นจะเป็นกอ่ ให้เกิด
การ เลอื กปฏิบตั ิโดยไม่เป็นธรรมเพราะ เหตขุ องความแตกต่างระหว่างเพศไม่ได้ กฎหมายฉบับน้ียังถือได้ว่า
เป็น กฎหมายที่ เปิดช่องทางในการเลือกใช้สิทธิของผู้ที่รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ระหวา่ งเพศ ว่าจะใชก้ ลไกตามกฎหมายฉบับนี้ หรือใชก้ ลไกตามกระบวนการ
ยุติธรรมอื่น ๆ เช่น การ ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล อย่างไรก็ตามการเลือกใช้กลไก ตามกฎหมาย
ฉบบั นีจ้ ะมีเงือ่ นไขในการใช้สทิ ธิอย่บู าง ประการ โดยไดก้ ำหนดไวใ้ น มาตรา18 อนั ไดแ้ ก่
1. เร่ืองทร่ี อ้ งเรียนนัน้ ตอ้ งไมอ่ ย่ใู นระหวา่ งการพจิ ารณาของศาล
2. ประเด็นที่ร้องเรียนนั้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นที่สุด ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการใช้
สิทธิซ้ำซ้อนกัน ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. นั้น กฎหมายกำหนดให้เป็นที่สุด กล่าวคือจะ
24
อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อไปไม่ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัด สิทธิในการนำประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาลที่มี
อำนาจ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างเพศขึ้น ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การ
ใช้จ่ายเงนิ ในการช่วยเหลือเยียวยา แก่ผทู้ ีไ่ ดร้ ับผลกระทบจากการเลือกปฏิบตั โิ ดย ไมเ่ ป็นธรรมระหว่างเพศ
ในกรณที ี่คณะกรรมการ วลพ. วินิจฉยั ว่าเกดิ การเลือกปฏิบัติ โดยไมเ่ ปน็ ธรรมระหวา่ งเพศ และยังไดก้ ำหนด
บทลงโทษแก่ผู้ท่ีAาÅนคำวินิจฉัยดัง กล่าวเพื่อให้เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้สามารถเกิดขึ้นจริง ได้
ในทางปฏบิ ัติ
8.4 ปญั หาตามพระราชบญั ญัตคิ วามเท่าเทียมระหวา่ งเพศ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัตินี้ออกมาเพื่อเป็นประกันความเท่าเทียมระหวา่ งเพศ แต่มีข้อ ครหาและปัญหา ใน
ตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกกฎหมาย ข้อครหาคือ เป็นกระบวนการที่รีบเร่งประกาศใช้ในขณะที่
ประเทศยงั อยูภ่ ายใต้ระบอบรัฐบาลทหาร ประชาชนไมไ่ ดม้ สี ่วนรว่ มในกระบวนการพจิ ารณาออกกฎหมายที่
มีผลกระทบต่อ ตนเองตามหลักประชาธิปไตย นอกจากข้อครหาแล้วยังมีปัญหาในเรื่องสาระของ
พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ พบว่ามีการแก้ไขบางส่วน เช่น ตัดคำว่าเพศภาวะ อัตลักษณ์ ทางเพศ ออกไป
และใช้คำว่า การแสดงออกทีแ่ ตกตา่ งจากเพศโดยกำเนิดแทน และ ไมม่ บี ทบญั ญตั เิ กยี่ วกบั เร่ืองความรุนแรง
และการคุกคามทางเพศ ไม่ย้ำเน้นผู้ที่ควรได้ รับการส่งเสริมโอกาสเป็นพิเศษเป็นต้น และการบังคับใช้
พระราชบัญญัติดงั กล่าวอาจ ใช้ได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น พระราชบญั ญตั ิฉบับนี้แม้จะเปรียบเสมือนเปิด
ช่องทางหนึ่งในการร้องเรียน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในสังคมยังมีการเลือกปฏิบัติโดยไม่ เป็นธรรมเพราะเหตุ
แห่งความแตกต่างเพศอยู่ แต่ช่องทางหรือกลไกดังกล่าวจะตอบ สนองต่อผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเพียงใด เนื่องจากภารกิจของกรม กิจการสตรีและสถาบันครอบครัวนั้นมีอยู่มาก อาจทำให้
เกิดขอ้ บกพรอ่ งในการ ดำเนนิ การตามพระราชบัญญตั นิ ้ไี ด้
8.5 ปัญหาการไม่ยอมรบั การมอี ตั ลกั ษณท์ างเพศทีแ่ ตกตา่ ง
ตามรายงานผลการตรวจสอบที่ 236-237/2559 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง
การปฏบิ ตั ิท่ีไม่เป็นธรรมตอ่ บุคคลเพราะเหตแุ ห่งเพศ กล่าวอ้างวา่ นสิ ิตนกั ศกึ ษาท่ีมีอัตลกั ษณ์ทางเพศ หรือ
วิถีทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิดถูกบังคับให้ ไว้ทรงผมและแต่งกายตามเพศกำเนิดในการเข้าเรียน การเข้า
สอบวัดผล การฝึก ปฏิบัติงาน และการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ผู้ร้องอ้างว่าตนเองเป็นบุคคลที่มี
อตั ลักษณท์ างเพศหรอื วถิ ที างเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยมเี พศวิถกี ารดำเนนิ ชวี ิต เป็นหญงิ มาตลอด ผรู้ อ้ ง
มหี นังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อพจิ ารณ อนุมัตแิ ต่งกายชดุ ครยุ วิทยฐานะบัณฑิตหญิงใน
การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2558 แต่ปรากฏว่าทางมหาวิทยาลัยไม่สามารถ
ดำเนินการให้ได้ อ้างว่าสำนักพระราชวังไม่อนุญาตและรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาให้ยึดตาม
ระเบียบ ซึ่งไม่อนุญาตให้นักศึกษาชายแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะบัณฑิตหญิงเข้ารับ พระราชทานปริญญา
25
บัตร ผู้ร้องเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักความเสมอ ภาคที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญตั คิ วามเท่า เทียมระหวา่ งเพศ พ.ศ.2558
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พจิ ารณาคำร้องแลว้ เห็นว่ารฐั ธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 และกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ไดว้ างหลักการรับรองและคุ้มครองไว้วา่ บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมายและไดร้ ับความคุ้มครองเท่าเทียม
กนั ตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏบิ ัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตก ต่างใด ๆ
ทาง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความ คิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติ
หรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ทั้งนี้ การใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นการตรากฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมาย และการ ตีความกฎหมาย จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเปน็ มนษุ ย์ สิทธิและเสรภี าพ
ของ ประชาชนดว้ ย การจำกัดสิทธแิ ละเสรภี าพของบุคคลทร่ี ัฐธรรมนูญรับรองไวจ้ ะกระทำ มไิ ด้ เว้นแต่โดย
อาศัยอำนาจตามบทบญั ญัตแิ หง่ กฎหมายเฉพาะเพ่อื การท่ี รัฐธรรมนญู น้ีกำหนดไว้ และเทา่ ที่จำเปน็ และจะ
กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิ และเสรีภาพนั้นมิได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ช่ัวคราว) พทุ ธศักราช 2557 (ซึง่ บังคบั ใชใ้ นขณะนั้น ได้รบั รองไวต้ ามมาตรา 4) ประกอบกับ พระราชบญั ญตั ิ
ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดมาตรการคุ้มครอง ผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ระหว่างเพศและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิ
มนุษยชนสากล
การที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นิสิตแต่งกายตามเพศวิถีซึ่งไม่ตรงกับเพศกำเนิดของตน เข้าเรียน
เขา้ สอบวดั ผล และการฝึกปฏิบตั งิ าน ย่อมสง่ ผลให้ผู้ร้องและนสิ ิตทีม่ อี ตั ลกั ษณ์ทางเพศหรือเพศวถิ ไี มต่ รงกับ
เพศกำเนิด รู้สึกถูกดูหมิ่นและถูกลดศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ตลอดจนเป็นเหตุให้มีการจำกัดสิทธิใน
การศกึ ษาของนิสิตกลุ่มน้ี สถาบนั อดุ มศึกษาแตล่ ะแห่งกำหนดกฎ ระเบียบ หรือ ข้อบังคับเกยี่ วกับการแต่ง
กายของนิสิต นักศึกษาไว้เฉพาะนิสิตนักศึกษาเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น การกำหนดกฎ ระเบียบ หรือ
ข้อบังคับนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเรียน การสอบวัดผล และการฝึกปฏิบัติงาน เป็นไปด้วยความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย ดังนั้น การที่นิสิตนักศึกษาแต่งกายตามวิถี ทางเพศในลักษณะเรียบร้อยและถูกต้อง
ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการแตง่ กายที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ แม้ว่าการแต่งกายนั้นจะไม่ตรง
กับเพศกำเนิดก็ตาม ย่อมไม่ได้กระทบกระเทือนต่อนิสิตนักศกึ ษาอื่นๆที่เข้าเรียนและเข้าสอบวัดผล รวมทั้ง
หลกั เกณฑใ์ นการทดสอบความรูแ้ ตอ่ ย่างใด
กรณีการแตง่ กายในการเขา้ รับพระราชทานปริญญาบัตร แนวปฏิบัติตาม ระเบยี บของมหาวทิ ยาลัย
ให้บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏท้ังหมด 39 แห่งทุกคนต้อง แต่งกายตามเพศกำเนิดและยศให้ถูกต้องเพื่อให้
สมพระเกยี รตงิ านพระราชพิธี ประกอบกบั มีข้อจำกัดในการขานนามและคำนำหน้าชื่อของบัณฑิตซึ่งเข้ารับ
พระราชทานปริญญาบัตร จึงไม่สามารถให้บัณฑิตแต่งกายชุดครุยวิทยฐานะตามเพศ วิถี ได้ เพราะจะไม่
26
สัมพันธ์กับคำนำหน้าชื่อของบัณฑิตที่ถูกขานนาม เป็นผลให้เกิด ความไม่เหมาะสมและขัดกับธรรมเนียม
ปฏบิ ตั แิ ละระเบยี บการแต่งกายของผู้ถูกร้องที่ สืบต่อกันมา ในขณะทีส่ ถาบนั อุดมศึกษาบางแห่งได้อนุญาต
ให้บัณฑิตแต่งกายชุด ครุยวิทยฐานะตามเพศวิถีซึ่งไม่ตรงกับเพศกำเนิดได้ โดยบัณฑิตจะต้องปฏิบัติตาม
แนวปฏิบัตทิ ี่สถาบนั อดุ มศึกษานั้นกำหนดขนึ้ เพื่อพิจารณาอนญุ าตให้บัณฑติ แตง่ กาย ชุดครุยวิทยฐานะตาม
เพศวิถีได้ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบรุ ี เปน็ ตน้
การกระทำอนั เป็นการจำกดั ซึ่งการแสดงออกของอตั ลักษณท์ างเพศท่ีแตกตา่ ง จากเพศกำเนดิ และ
กระทบต่อสทิ ธิในความเปน็ ส่วนตัว ซึง่ ไมไ่ ด้เปน็ ไปเพ่ือคุม้ ครอง สวสั ดิภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคงของ
ประเทศหรือ การปฏบิ ตั ติ ามหลักการทาง ศาสนาแต่อย่างใด ยอ่ มขดั ต่อรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย
การกระทำใดๆที่ เป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งเพศ ตามพระราชบัญญัติคณะ
กรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่าง เพศ พ.ศ. 2558
มาตรา 3 และกตกิ าระหว่างประเทศว่าดว้ ยสทิ ธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง ข้อ 2 และหลักการยอกยาการ์ตา ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทาง เพศข้อ 2 ข้อ 6 และ ข้อ 19 ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองบุคคลทกุ
คนไม่ให้ถูกลบหลู่เกียรติ ชื่อเสียง และศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ ตลอดจนมี สิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออก
ซึ่งอัตลักษณ์หรือตัวตนผ่าน ทางการพูดจา ท่าทาง การแต่งกาย ลักษณะ ร่างกาย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมี
วถิ ที างเพศ หรืออัตลกั ษณท์ างเพศรปู แบบใด
8.6 การเลอื กปฏิบตั ิและไม่เป็นธรรมตอ่ สตรี
ในศตวรรษที่ผ่านมาของประเทศไทย และในสังคมโลก สภาพและสถานภาพ ของสตรีดูเหมือนว่า
จะต่ำต้อยด้อยค่าไม่เสมอภาคเท่าเทยี มกับชาย และ บ่อยครั้งที่ เห็นเป็นขา่ ววา่ สตรีถูกกดขี่ ขูดรีด เหยียด
หยาม และกีดกันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง สภาพดังกล่าวถอื เป็นไมเ่ คารพสทิ ธิมนษุ ยชนของสตรี
ในทุกสังคม ได้มีการ จัดตั้งเพื่อเรียกร้องในรัฐและสังคมประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้ยอมรับฐานะ สิทธิ และ
บทบาทของสตรี ในระดับสากลมีการออกอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรีในทุกรูปแบบ
ค.ศ.1979 (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women) ซ่ึง
ประเทศไทยได้รับรองอนสุ ัญญาดังกลา่ วไว้
สทิ ธิสตรีท่ไี ด้รับการคุ้มครองใหม้ ีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็ ไม่ให้ถกู เลือกปฏิบัติ
ในด้านการทำงาน ในค่าจ้าง ในการประกันสังคม ในการตัดสินใจมีบุตร การมีสิทธิในการพัฒนา ทั้ง
การศึกษาและสนั ทนาการ ในการมีส่วน ร่วมทงั้ ในการเลือกตงั้ การรบั ตำแหน่ง การปฏบิ ัตหิ นา้ ที่ราชการใน
ทุกๆ ระดับ ซึ่งอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination against Women) ได้บัญญัติว่าการ เลือกปฏิบัติต่อสตรี
27
พันธกรณีของรัฐภาคี มาตรการที่รัฐภาคีต้องดำเนินการเพื่อ สนับสนุนความก้าวหน้าของสตรี มาตรการ
เร่งด่วนชั่วคราวเพื่อสร้างความเท่าเทียม กันระหว่างบุรุษและสตรีอย่างแท้จริง การปรับรูปแบบทางสังคม
และวัฒนธรรม เพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และการปราบปรามการลักลอบค้าและ
แสวงหาประโยชน์ทางเพศจากสตรี สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีใน ด้านการเมืองและการ
ดำรงชีวิต ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิใน การเลือกตั้ง การ สนับสนุนให้ดำรง
ตำแหน่งทสี่ ำคัญ ความเท่าเทยี มกนั ในกฎหมาย ว่าดว้ ยสญั ชาติ และการศกึ ษา การท่สี ตรี จะได้รับการดูแล
ทางเศรษฐกิจ โดยได้รับ ความเท่าเทียมกันในด้านสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานและสิทธิด้าน
แรงงาน
รวมถึงการป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ทำงาน ความเท่าเทียมกันในการ เข้าถึงบริการ
ดา้ นสขุ ภาพ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และหลงั คลอดบุตร การทีร่ ัฐภาคจี ะ ประกันความเป็นอสิ ระของสตรีด้าน
การเงิน ความมั่นคง ด้านสังคม และการให้ความ สำคัญแก่สตรีในชนบททั้งในด้านแรงงาน และความ
เป็นอยู่ ความเทา่ เทียมกนั ของ บุรุษและสตรีในดา้ นกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย แพง่ และกฎหมาย
ครอบครัว ซึง่ เปน็ การประกนั ความเท่าเทียมกันในชวี ิตส่วนบคุ คล
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรี ในทุก
รูปแบบ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2524 สำหรับพิธีสาร เลือก
รับสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2524 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม
2543 วัตถุประสงค์หลัก ของอนุสัญญาฉบับนี้ คือการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมทั้งการ
ประกนั ว่าสตรีและบรุ ุษมีสิทธทิ ี่จะได้รบั การปฏิบตั ิและดแู ลจากรัฐอยา่ งเสมอภาคกัน
ประเทศไทยเข้าภาคีอนุสัญญาว่าดว้ ยการขจัดการเลือกปฏบิ ัติต่อสตรีในทุกรปู แบบ (Convention
on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women) โดยการภาคยานุวัติ (Accession)
เมอื่ วนั ท่ี 9 สงิ หาคม 2528 และมีผล ผกู พนั ต้องปฏบิ ตั ติ ามอนุสญั ญาว่าดว้ ยการขจัดการเลือกปฏบิ ัติต่อสตรี
ในทุกรูปแบบ (CEDAW) และประเทศไทยมีการอนุวัติการ (Implementation) ซึ่ง หมายถึง ประเทศไทย
ต้องมีการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัตแิ ห่งอนุสัญญาโดยการตรา กฎหมายภายในประเทศไทย หรือ
ปรับแก้กฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้อง และรองรับกับพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งการ
ปฏบิ ตั กิ าร หรือการอนวุ ตั กิ ารที่ผา่ น มา สอดคล้องกับรัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พทุ ธศักราช 2560
หมวด 1 บท ทัว่ ไป มาตรา 4 และรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช 2560 หมวด 3 สทิ ธิและ
เสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 ในเรื่องของ
1. ศกั ด์ิศรีความเปน็ มนษุ ย์
2. สิทธิ ย่อมไดร้ บั ความคมุ้ ครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
3. เสรภี าพ ย่อมไดร้ บั ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
28
4. ความเสมอภาคของบุคคล ย่อมไดร้ บั ความคมุ้ ครองตามรัฐธรรมนญู เสมอกัน
5. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย เท่า
เทียมกนั
6. ชายและหญิงมสี ทิ ธเิ ทา่ เทยี มกนั
7. การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างใน เรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะ ทาง
เศรษฐกิจหรอื สังคม ความเช่ือทางศาสนา การศึกษา อบรม หรอื ความคิดเหน็ ทางการเมอื ง จะกระทำมิได้
การที่ประเทศไทยได้มีบทบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้กฎหมายระดับรัฐธรรมนูญซึ่ง เป็นกฎหมาย ใน
ระดับสูงสุดนั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ
ต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) และ ประเทศไทยถือได้ว่าเปน็ ปะเทศภาคหี นึ่งในสมาชิกของสหประชาชาติ
ที่มีเจตจำนง ร่วมกันเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีอย่างจริงจัง นำมาซึ่งพระราชบัญญัติความเท่า เทียม
ทางเพศพทุ ธศักราช 2558
8.7 ผลสมั ฤทธขิ์ องพ.ร.บ.ความเทา่ เทียมฯ ภายหลังใช้บังคับมาแลว้ กว่า 5 ปี
หากพิจารณาจากข้อเท็จจริง สถานการณ์ การออกอนุบัญญัติ การประชาสัมพันธ์ การทำความร่วมมือ
ประกอบกับอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อคิดเห็นของทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายเอง คงยังไม่
สามารถกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ที่กฎหมายฉบับนี้ตัง้ ไว้สำเร็จลุลว่ ง กระทั่งอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจแล้วใน
ภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ ทั้งนี้ ด้วยข้อติดขัดและ
อุปสรรคหลากหลายประการ ตั้งแต่ ปัญหาที่ตัวบทบัญญัติของกฎหมายเองที่ยังขาดความชัดเจนในหลาย
ส่วน ทั้งมีลักษณะขัดหรือแย้งกับหลักการสากล บทบาทการทำหน้าที่ของคณะกรรมการระดับชาติอย่าง
คณะกรรมการ สทพ. ไม่เกิดขึ้นตามที่ควรจะเป็น จนส่งผลให้ไม่เกิดการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง
กฎหมาย กฎ ระเบียบของรัฐจำนวนมากยังขัดหรือแย้งกับหลักความเสมอภาค คณะกรรมการ วลพ.
ที่ดูเหมือนเป็นกลไกที่ถูกใช้มากที่สุด มีผลงานเป็นรูปธรรมในเรื่องของการลดการเลือกปฏิบัติดว้ ยเหตุแห่ง
เพศ ทั้งมปี ระชาชนจำนวนหน่งึ ไดร้ ับความเป็นธรรม แต่กย็ ังมีปัญหาทีจ่ ำเป็นต้องได้รบั การปรับปรุงแก้ไขใน
หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล่าช้าของกระบวนการพิจารณาและทำคำวินิจฉัย นอกจากนี้ยังพบว่า
ปริมาณคำร้องเรียนมีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก โดยมีข้อบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือว่าการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่ง
เพศยังคงดำรงอยู่และไม่มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ระดับประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของกลไกด้านกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมฯ ยังคงถูกตั้งคำถามทั้งในแง่ของการช่วยเหลือ
เยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกเลือกปฏิบัติ และในแง่ของการใช้ไปเพื่อกิจกรรมหรือดำเนินการ
ต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทยี ม ปัญหาการขาดการทำงานเชิงรุกของกรมกิจการสตรีฯ
จนส่งผลต่อระดับของการรับรู้ถึงการมีอยู่ของกฎหมาย ความตระหนักรู้ในสิทธิความเท่าเทียมของบุคคล
29
ฯลฯ ท้ังหากเปรียบเทียบระหวา่ งประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมได้รบั หรือจะได้รบั กับภาระของประชาชน
ตามกฎหมายฉบับนี้ ประกอบกับต้นทุนของรัฐและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ไปเพื่อบังคับการให้เป็นไปตาม
กฎหมาย (ซึ่งไดศ้ ึกษาไวโ้ ดยละเอียดในงานวิจยั ฉบบั เต็ม) ผเู้ ขียนเหน็ วา่ การบงั คบั ใช้ พ.ร.บ. ความเท่าเทียม
ยังไม่สัมฤทธิ์ผลตามที่ควรจะเป็น แม้ผลที่ได้รับจากกฎหมายฉบับนี้จะมีความคุ้มค่า แต่ก็นับว่ายังไม่ได้
สัดส่วนเหตุผลที่มีความคุ้มค่าเนื่องจากเป้าหมายของกฎหมายฉบับนี้คือการท ำให้บุคคลทุกเพศวัยไม่ว่าจะ
เป็นเพศหญิง เพศชาย หรือผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI) สามารถดำรงสถานะของตนอยู่ใน
สังคมไทยได้อย่างเท่าเทียมเสมอหน้า และมีโอกาสเหมือนกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ใน
สังคมไทยและจำเปน็ ต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจแล้ว ยงั ถอื เป็นเร่อื งยากลำบากทจี่ ะทำให้เกิดข้ึน
ไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ ในสังคมของทกุ ๆ ประเทศ ไมเ่ พยี งแต่การตอ้ งมกี ฎหมาย ให้งบประมาณ หรือสรา้ งกลไกท่ีมี
ประสทิ ธภิ าพเทา่ นั้น หากแต่รัฐตอ้ งต่อสูก้ บั ทศั นคติ มายาคติ และวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ท่ีถกู ปลูกฝังอยู่ใน
หมู่ประชาชนดว้ ย รัฐต้องมีมาตรการ หรือหาวิธีในการปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชือ่ เหล่านั้น ทำอย่างไรให้
ประชาชนยอมรับและเห็นความสำคัญของความเสมอภาคเทา่ เทียม รวมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยง
กนั ระหว่างความเสมอภาคกับการพฒั นาประเทศ หรอื ผลลพั ธ์สดุ ทา้ ยจะนำไปสู่คณุ ภาพชีวติ ที่ดีข้ึนของผู้คน
โดยรวมได้อย่างไร หากเรายอมรับดั่งเช่นนานาอารยประเทศว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนา
ศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของพลเมือง คือสิ่งสำคัญสูงสุดของการพัฒนาและการขับเคลื่อนประเทศให้
เจริญก้าวหน้าเราก็ควรต้องเข้าใจดว้ ยว่าสังคมที่พลเมืองยังแบ่งแยกและกดทับสิทธิเสรีภาพระหว่างกันเอง
หรือยังปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เท่าเทียมเพียงเพราะเหตุแห่งการมีเพศสภาพ วิถีทางเพศ หรืออัตลักษณ์ทาง
เพศที่แตกต่างจากตนนั้น ไม่ใช่บรรยากาศหรือระบบที่เอื้อต่อการที่ผู้คนจะสามารถพัฒนาศักยภาพของ
ตัวเองได้อย่างเต็มที่ และนำไปสสู่ ังคมที่มีคณุ ภาพได้ ปญั หาความไม่เสมอภาคเท่าเทยี มระหว่างเพศ จึงไม่ใช่
ปัญหาเล็ก ๆ เฉพาะของผหู้ ญงิ คนใด เฉพาะของผู้ชายคนหนึ่ง หรอื เฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกคนเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ เป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังน้ัน
การทำเรอื่ งน้ใี หเ้ ปน็ จรงิ การสรา้ งสังคมทีป่ ระชาชนมองคนทุกคนเทา่ เทียมกนั ไม่มีใครตอ้ งหวาดระแวงจาก
การถูกทำละเมิด หรือต้องคอยหวาดกลัวจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและเลือกปฏิบัติ แม้ต้องแลกมาด้วย
งบประมาณมหาศาล บุคลากรจำนวนมากอาจต้องลงทุนตั้งหน่วยงานเฉพาะด้าน คิดค้นกระบวนการสร้าง
ความเชี่ยวชาญแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนานเพียงใด สำหรับประชาชนและรัฐที่
เป็นประชาธิปไตยแล้ว ผู้เขียนก็เห็นว่ายังเป็นเรื่องคุ้มค่าอยู่ดี และการมีอยู่และบังคับใช้กฎหมายฉบับน้ยี ัง
เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้นสาเหตทุ ี่ไม่ได้สัดส่วน เพราะตลอดระยะเวลากว่าห้าปีที่ผ่านมา ผู้เขียนพบวา่
รัฐไทยและผู้ใช้อำนาจปกครองยังให้ความสำคัญ และลงทุนกับการสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมและ
ปราศจากการเลือกปฏิบัตนิ อ้ ยเกนิ ไป จนแทบไม่เกิดมรรคผลหรือความเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญ
เลย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วบรรดารัฐประชาธิปไตยต่างจัดอันดับให้ประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศ
30
และการไม่เลือกปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด ดูเหมือนว่าผู้มีอำนาจในระดับบริหารประเทศ หน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ยังมองว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ เป็นเพียงกฎหมายที่ใช้เพื่อ
แก้ปัญหาความคับข้องใจให้กับคนบางกลุ่มบางเพศเท่านั้น คณะกรรมการเพศชายบางคนยังตั้งคำถามว่า
กฎหมายฉบับน้ีคุ้มครองสิทธิของเพศชายบ้างหรอื ไม่ แสดงให้เหน็ ว่าคนท่ีมานั่งทำหน้าทีบ่ างคนยังไม่ทราบ
ด้วยซำ้ วา่ เจตนารมณข์ องกฎหมายฉบับนี้คืออะไร กฎหมายฉบับนจ้ี ะมีความสำคญั ในสายตาของรัฐอยู่บ้างก็
ในฐานะ “เครื่องมือ” หรือ “ผ้าคลุมหน้า อาภรณ์คลุมกาย” เพื่อให้เพื่อนบ้านและนานาประเทศเชื่อว่า
ประเทศไทยก้าวหน้า หรือหลงคิดว่าสังคมไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้ว สิ่งเหล่านี้ถูกสะท้อน
ออกมา ทั้งในแง่ของความไม่จริงจังต่อการผลักดันนโยบายและแก้ไขปัญหาในระดับโครงสรา้ ง ไม่เคร่งครดั
กับการนำหลักการไปปฏิบัติใช้ในหน่วยงานจริง ๆ แต่ใส่ใจอย่างยิ่งกับการประกาศเจตนารมณ์และการลง
นามในเอกสาร พยายามเบียดขับการแก้ไขปัญหาและภาระงานทั้งหมดไปไว้กับการพิจารณาวินิจฉัยคำ
ร้องเรียนว่ามีการเลือกปฏิบัติเป็นเรื่อง ๆ เป็นกรณี ๆ ไป ในขณะที่ลักษณะของการเลือกปฏิบัตินั้นยังคง
ดำรงอยทู่ งั้ ในกฎหมาย กฎระเบยี บ คำสั่ง หรือการกระทำของรัฐเอง ทำให้กรณีที่ร้องเรยี นเข้ามาตามกลไก
ของกฎหมายฉบับนี้เป็นปัญหาเดิม ๆ ประเด็นซ้ำ ๆ แต่กระทำกับเหยื่อรายใหม่ ๆ เหมือนรัฐกำลังสร้าง
ภารกิจประจำ (Routine Activity) ให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบ และการทำงานที่หนักหน่วงและไม่มี
วันสิ้นสุดให้กับพนักงานเจ้าหน้าท่ีทีเ่ ก่ียวขอ้ งแม้ประเด็นความเสมอภาคจะเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ประเทศ
ไทยกลบั มอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานระดับกรม ในกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ซ่ึงมีภารกิจและ
หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมาก แต่มักได้รับการจัดสรรงบประมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ
งบประมาณของกระทรวงอืน่ ๆ เหล่านี้ยังมิได้กลา่ วด้วยว่า ปัญหาของตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเองซึ่งถูก
วพิ ากษ์วจิ ารณต์ ลอดระยะเวลากว่าห้าปีจากทั้งภาคประชาสังคมในไทย และองคก์ ารระหว่างประเทศ แต่ก็
ยังไมไ่ ด้รบั การตอบสนองจากหนว่ ยงานที่เกย่ี วข้องอย่างแท้จริง และไม่มกี ารแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากล
8.8 ข้อเสนอแนะเพอ่ื การแก้ไขปรับปรงุ กฎหมาย
แม้ผลจากการศึกษาจะได้ขอ้ สรุปว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทยี มฯ ยังคงเป็นสิ่งจำเปน็ ในการเปลี่ยนผ่าน
ประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างเพศ จำเป็นในที่นี้ ทั้งในแง่ของการใช้เป็น
เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมที่สุดเพื่ออ้างอิงหรือยืนยันว่าการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม
ในแง่ของการเยยี วยาความเสียหายให้กับเหยื่อผู้ถูกเลือกปฏบิ ตั ิ รวมทั้งในแง่ของการเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการ
ตอ่ ยอดหรอื นำไปสู่นโยบาย กฎหมาย และมาตรการอนื่ ๆ ทีค่ รอบคลมุ มิตติ ่าง ๆ มากขนึ้ ซ่งึ อาจถูกเรยี กร้อง
จากภาคประชาสงั คม หรอื ถูกผลกั ดันออกมาจากภาครฐั เอง แตก่ ็เป็นทรี่ บั รู้กันมาตั้งแตเ่ มือ่ เรมิ่ บังคับใช้แล้ว
ว่ามบี ทบญั ญัตหิ ลายสว่ นในพ.ร.บ.ความเทา่ เทยี มฯ รวมท้งั อนุบัญญัตทิ ย่ี งั ขาดความชัดเจน กอ่ ใหเ้ กิดปัญหา
การใช้การตีความ หรือไม่สอดคล้องกับหลักการสากล ซึ่งควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง ดังนี้ อนึ่ง ควรต้อง
31
กล่าวไว้ด้วยว่า แนวทางเหล่าน้ีส่วนใหญเ่ ปน็ ข้อเสนอที่หลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างย่ิงภาคประชาสังคม
นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีและผู้มีความหลายหลากทางเพศต่างเพียรพยายามผลักดันกันมาเนิ่นนานแล้ว
แต่ก็ยงั ไม่ไดร้ ับการตอบสนองใด ๆ จากภาครฐั และหน่วยงานทเ่ี กี่ยวข้อง
8.8.1 บทนิยามในมาตรา 3 “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” ควรได้รับการ
พิจารณาทบทวนเพอ่ื แก้ไข
- ควรเลือกใช้ “ถ้อยคำ” อันเป็นหัวใจสำคัญ (Keyword)ของกฎหมายฉบับนี้ ให้สอดคล้อง
กับหลักสากล ไม่ขัดหรือแย้งกับขอ้ ความคิดว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ และไม่สร้างความสับสนแก่ทั้งพนักงาน
เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปว่าการเลือกปฏิบัติอาจทำได้ ไม่ต้องห้าม หรือไม่ผิดกฎหมายถ้าเป็น “การ
เลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” เพราะตามหลักสากลแล้วย่อมไม่มีการเลือกปฏิบัติใดที่เป็นธรรม “การเลือก
ปฏิบัติ” ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดควรถูกต้องห้าม ในขณะที่การปฏิบัติที่แตกต่างต่อบุคคลโดยมีเหตุผลที่อธิบาย
และรับรองได้ก็จะไม่ถูกเรียกว่า “การเลือกปฏิบัติ” ตั้งแต่ต้น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
หรือมองข้ามประเด็นนี้เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อันที่จริงแล้ว “ถ้อยคำอันเป็นหัวใจสำคัญ” ของ
กฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งจะกลายเป็น “ภาพจำ” และติดอยู่ในความรับรู้ของผู้คนมากกว่า “เนื้อหา”
ในกฎหมาย นับเป็นเรื่องสำคัญมากในทางนิติบัญญัติ หากพิจารณาใช้คำที่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักสากล
นอกจากทำให้ประชาชนมีทัศนคติ และความเข้าใจต่อเร่ืองน้ีอย่างถูกต้องแล้ว ยังทำใหก้ ารอธิบายเน้ือหาท่ี
อยู่ในกฎหมายและขอ้ ความคิดต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังงา่ ยและรวดเร็วขึน้ ด้วย ซึ่งย่อมส่งผลต่อประสทิ ธิภาพ
และประสิทธิผลในการบงั คับใช้กฎหมายต่อไป ท้ังน้ี ผู้เขียนเห็นวา่ หากกฎหมายฉบบั น้ยี ังคงมีเปา้ หมายเพ่ือ
ยตุ หิ รอื ลดการเลอื กปฏบิ ัติเฉพาะทีเ่ กดิ ขน้ึ จากเหตุแหง่ เพศ ควรใช้คำวา่ “การเลือกปฏิบตั ิดว้ ยเหตแุ ห่งเพศ”
หรือขอ้ ความอน่ื ใดทำนองเดยี วกนั แทนคำวา่ “การเลือกปฏบิ ตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหวา่ งเพศ”
- เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ารัฐมีความจริงใจ ทั้งมีความเข้าใจลักษณะแห่งความหลากหลายทาง
เพศ เพื่อทำให้กฎหมายฉบับนี้คุ้มครองครอบคลุมบุคคลทุกเพศวัยอย่างแท้จริงสมตามเจตนารมณ์ โดยไม่
ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจหรือการใช้การตีความของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ควรพิจารณา
ปรับเปลี่ยนข้อความในคำนิยามที่ว่า “มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด”เป็นข้อความอื่นใดท่ี
หมายรวมถึงบุคคลที่แม้จะมีการแสดงออกไม่แตกต่างจากเพศกำเนิด แต่มีวิถีทางเพศ หรืออัตลักษณ์ทาง
เพศแตกต่างจากเพศกำเนิด อย่างกล่มุ ชายรักชาย หรอื หญิงรกั หญงิ ที่ยังคงแสดงออกเหมือนเพศกำเนิดด้วย
ซึ่งทั้งวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศล้วนได้รับความคุ้มครองและต้องไม่เป็นสาเหตุแห่งการถูกเลือก
ปฏบิ ตั ติ ามหลกั การยอร์กยาการต์ า
- ด้วยเหตุท่บี ทนิยามของคำวา่ การเลือกปฏิบตั ิโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศในกฎหมายฉบับ
นี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมเช่นใดบ้างที่ถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ
ดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการเลือกปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อม จนส่งผลต่อการบังคับใช้อยู่เนือง ๆในขณะที่ยังเป็น
32
เรื่องค่อนข้างยากในอนั ท่ีจะกำหนดคำนิยามใหช้ ัดเจนกว่าที่เปน็ อยู่ในปัจจุบนั ได้ เนือ่ งจาก ในความเป็นจริง
แล้วการเลือกปฏิบัติจำนวนมากมีมิติที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา ทั้งประเด็นทางเพศอาจถูกซ่อนไว้ภายใต้
เหตุผลอย่างอื่น ไม่ชัดเจนโจ่งแจ้ง ดังนั้น การแก้ปัญหานี้จึงไม่อาจทำได้ด้วยการแก้ไขตัวบทกฎหมาย แต่
ตอ้ งอาศัยการตีความเป็นหลกั โดยผ้เู ช่ียวชาญหรือคนทเ่ี ข้าใจและมีมุมมองเรื่องความเสมอภาคระหว่างชาย
หญิง และความหลากหลายทางเพศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี กรมกิจการสตรีฯ และกองงานที่เกี่ยวข้อง โดย
ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและองค์กรภาคประชาสังคม อาจช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ด้วยการรวบรวมและ
สรุปตัวอย่างกรณีศึกษาต่าง ๆ ทั้งที่คณะกรรมการ วลพ. เคยตัดสินไว้แล้วว่าเป็นการเลือกปฏิบัติจริง และ
กรณศี ึกษาในต่างประเทศทเ่ี ป็นท่ียอมรับ จัดจำแนกแยกแยะใหช้ ัดเจนว่าอยู่ในกลมุ่ การเลอื กปฏิบัติโดยตรง
หรือโดยออ้ ม แล้วท าเป็นคู่มอื เพ่ือใช้อา้ งองิ หรือเพ่ือเป็นแนวทางในการพิจารณาวินจิ ฉัยโดยคณะกรรมการ
วลพ. ชุดต่อ ๆ ไป ซงึ่ เอกสารน้ี นอกจากเพ่ือประโยชน์ในการปฏบิ ัติการตามกฎหมายแลว้ ยังสามารถนำมา
พัฒนาปรับเปลี่ยนถ้อยคำทำให้เข้าใจเข้าถึงง่ายขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาค
ประชาสังคมและประชาชนทั่วไปได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คู่มือดังกล่าวต้องไม่ใช่แค่เพียงการรวบรวมค
วินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. เท่านั้น แต่ต้องมีการวิเคราะห์หรือจำแนกแยกแยะเพื่อให้ชัดเจนและโดย
เฉพาะเจาะจง
8.8.2 ควรพิจารณาแก้ไข หรือตัดบทยกเว้นตามมาตรา 17 วรรคสอง ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในส่วนท่วี า่ “การปฏบิ ัตติ ามหลักการทางศาสนา หรอื เพอื่ ความม่ันคงของประเทศ ยอ่ มไมถ่ ือเป็นการเลือก
ปฏบิ ัตโิ ดยไม่เปน็ ธรรมระหว่างเพศ”ท้งั น้ี จากการศึกษางานเขยี น บทความ งานวจิ ัย การเสวนาแลกเปล่ียน
ตามเวทีสาธารณะต่าง ๆ แบบต่างกรรมต่างวาระ รวมทั้งข้อคิดเห็นจากผู้ให้สัมภาษณ์ในงานศึกษานี้ ล้วน
เห็นพ้องตอ้ งกันว่า การมีอยขู่ องข้อยกเว้นในประเดน็ ศาสนาและความมั่นคงตามมาตราน้ี คือปัจจัยสำคัญที่
ทำให้กฎหมายฉบับนี้ขัดแย้งกับสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง และถึงขนาดทำให้กฎหมายไม่สามารถบรรลุ
ตามเจตนารมณ์ในการสร้างความเสมอภาคและยุติการเลือกปฏิบัติได้ เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์
มากมายที่ชี้ให้เห็นว่าข้ออ้างเรื่องหลักศาสนา หรือความมั่นคงของประเทศมักเป็นบ่อเกิดของการเลือก
ปฏิบัติจำนวนมาก ดังนั้น การหยิบยกสองเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย จึงนอกจากจะขัดกับ
หลักการสากลแล้ว ยังแทบทำให้กฎหมายฉบับนี้ไร้ความหมาย กระทั่งกลายเป็นกฎหมายสร้างความชอบ
ธรรมใหก้ บั การเลือกปฏิบตั จิ ำนวนมากเสียเอง
8.8.3 พจิ ารณาทบทวนและแก้ไข มาตรา 18 แห่งพ.ร.บ. ความเทา่ เทยี มฯ ในสองประเด็น คือ
- ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. ได้ -โดยปัจจุบัน มาตรา 18 กำหนดให้สิทธิใน
การร้องเรียนไว้เฉพาะกับ “ผู้ได้รับหรือจะได้รับความเสียหาย” จากการถูกเลือกปฏิบัติโดยตรงเท่าน้ัน
บุคคลอื่นใดหรือแม้แต่ภาคประชาสงั คมที่พบเหน็ การกระทำในลักษณะของการเลือกปฏิบัติไม่มสี ิทธิยื่นคำ
รอ้ งดังกลา่ วได้ตราบใดท่ีไมไ่ ด้รบั มอบหมายจากผู้เสียหายโดยตรง ตอ่ ประเดน็ น้ี ผเู้ ขยี นเหน็ วา่ โดยหลักการ
33
ทว่ั ไปของการร้องขอความเปน็ ธรรมจากฝา่ ยตลุ าการก็ดี หรือจากคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ของรฐั ที่มีอำนาจ
วินิจฉัยและสั่งการ ซึ่งอาจเรียกว่าองค์กรที่ทำหน้าที่ “กึ่งตุลาการ” ก็ดี จำเป็นต้องกำหนดให้เฉพาะ
“ผ้เู สียหาย” หรอื “ผไู้ ดร้ ับผลกระทบโดยตรง” จากการกระทำหรือการละเมิดนั้นเท่านั้นที่มีอำนาจย่ืนเรื่อง
ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตามที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกับการ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นเลยมาใช้สิทธริ ้องฟ้องตามอำเภอใจโดยไม่มฐี านใด ๆ รองรับ เพราะนอกจากอาจทำ
ใหค้ ดีหรอื คำร้องมจี ำนวนมากเกินไปจนสง่ ผลให้การพิจารณาและพิพากษาหรือวินจิ ฉัยคดีในภาพรวมทุกคดี
ต้องล่าช้ายิ่งขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดกรณี “กลั่นแกล้ง” ร้องฟ้องกันจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
บุคคลผู้ถูกฟ้องหรือถูกร้องได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี จากข้อเท็จจริงในกรณีของสถานการณ์การเลือกปฏิบัติที่
เกดิ ขนึ้ อาจกลา่ วได้ว่าปัญหาการเลือกปฏบิ ัตดิ ้วยเหตุแหง่ เพศ หรอื การละเมิดสิทธิเสรีภาพในปริมณฑลนี้มี
ลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไป ทั้งในแง่ของลักษณะและวิธีการกระทำความสัมพันธ์เชิงอำนาจ รวมท้ัง
ความเหลื่อมล้ำทางสถานภาพระหว่างผู้ถูกเลือกกับผู้เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักได้พบว่าการ
เลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนจำนวนไม่น้อยส่งผลกระทบเป็นการ “ทั่วไป” โดยมี “สังคมและสาธารณะ” เป็น
ผู้เสียหาย เนื่องจาก “หลักความเสมอภาคเท่าเทียม” ที่รัฐประชาธิปไตยพึงเคารพและยึดถือปฏิบัติได้ถูก
กระทบกระเทือนหรือล่วงละเมิดแล้ว หากมองในมิติทางกฎหมาย กรณนี ้ี “รัฐ” ยอ่ มสามารถเป็นผู้เสียหาย
ได้ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาผู้ถูกเลือกปฏิบัติไม่มาร้องเรียนเพราะกลัวได้รับผลกระทบทางลบหรือหาผู้เสียหาย
โดยตรงมาร้องมิได้ จึงอาจพิจารณาบัญญัติกฎหมายเปิดช่องทาง ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ เพื่อล ด
จำนวนคำร้องเรียนที่ไม่จำเป็น หรือกลั่นแกล้งกันเองลง) ให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำ
ร้องมายงั คณะกรรมการ วลพ. ได้ รวมทั้งอาจพจิ ารณาใหอ้ ำนาจหนว่ ยงานรฐั ที่เกย่ี วข้องสามารถดำเนินการ
เพื่อระงับการกระทำดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีใครมาร้องเรียนก่อนอนึ่ง คงยังสามารถอภิปราย
ถกเถียงกันได้ว่า “หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง” ที่ควรมีอำนาจหยิบยกสถานการณ์ที่มีความจำเพาะนี้ขึ้น
พิจารณาเพื่อแก้ไข ในที่นี้ควรเปน็ หน่วยงานใดกนั แน่ระหว่างคณะกรรมการ วลพ.กับคณะกรรมการ สทพ.
เพราะอาจมีผูเ้ ห็นว่า โดยกลไกทั้งหมดที่ พ.ร.บ.ความเท่าเทยี มฯ สร้างขึน้ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
สทพ. ก็น่าจะครอบคลุมหรือสามารถแกไ้ ขปัญหาลักษณะดังกล่าวมานี้ได้อยูแ่ ล้ว อย่างไรก็ตาม ควรต้องไม่
ลืมว่า ด้วยบทบาทและผลงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการสทพ. สุดท้ายแล้ว การฝากความหวังในการ
พิจารณาแก้ไขปัญหาน้ีไว้กับคณะกรรมการระดับชาติน้ี อาจดูมืดมนมากกวา่ การควานหา “ผู้เสียหาย” สัก
คนให้มาย่นื คำร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. ก็เปน็ ได้
- อำนาจในการรับคำร้องไว้พิจารณาของคณะกรรมการ วลพ. ด้วยเหตุที่มาตรา18 พ.ร.บ.
ความเท่าเทียมฯ กำหนดให้เฉพาะบุคคลที่เห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการการเลือก
ปฏบิ ตั ซิ ่ึง “ไม่ได้ใชส้ ิทธฟิ ้องร้องเป็นคดีอยูใ่ นศาล หรือท่ศี าลพพิ ากษาหรือมีคำสัง่ เด็ดขาดแล้ว”มีสิทธิยื่นคำ
ร้องได้ เท่านั้น และที่ผ่านมาถูกตีความวา่ กรณีที่ผูร้ อ้ งนำคดไี ปฟ้องต่อศาลอื่นไมว่ ่าก่อนหรอื หลังยื่นคำร้อง
34
ตอ่ คณะกรรมการ วลพ. ห้ามมิให้คณะกรรมการ วลพ. รบั เรือ่ งนน้ั ไว้พิจารณา (หรอื หากรับไว้พิจารณาแล้ว
ก็ต้องยุติการพจิ ารณา) ซึง่ ผใู้ ห้สัมภาษณใ์ นงานศกึ ษาสว่ นหนึง่ เห็นว่าเป็นอีกหนง่ึ ปัญหาสำคัญ เพราะเท่ากับ
ตดั สิทธผิ รู้ ้องในบางกรณที ่ีอาจถูกกระทำละเมิดในหลายลักษณะ ไม่เพยี งแต่ถูกเลือกปฏิบัติที่ต้องอาศัยการ
ชี้ขาดของคณะกรรมการ วลพ. เท่านั้นต่อประเด็นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า โดยหลักการทางกฎหมายแล้ว
การกำหนดบทบัญญัติปกป้องไว้ไม่ให้บุคคลใดต้องถูกยื่นร้องฟ้องคดีให้ต้องรับผิดหรือต้องเดือดร้อนซ้ำ ๆ
จากการกระทำครั้งเดียวกันหรือในเหตกุ ารณ์เดยี วกันตอ่ ศาลหลายศาล หรือต่อหลายองคก์ รตา่ งกัน (อย่าง
ที่กำหนดไว้ตามมาตรา 18 วรรคแรก พ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ) นับเป็นสิ่งจำเป็น ชอบด้วยเหตุผล และ
สอดคล้องกับหลักการสากลที่ว่า “บุคคลจักต้องไม่ถูกพิจารณาคดีซ้ำสองในความผิดเดียว” (Non bis in
idem) แล้วโดยหากพิจารณาเฉพาะประเด็นปญั หาและข้อวิจารณท์ ี่เกิดข้ึน กล่าวคือ กรณีที่คณะกรรมการ
วลพ. ต้องยุติการพิจารณาเหตุเพราะผู้ร้องเรียนนำเรือ่ งไปฟ้องคดียงั ศาลอ่ืนด้วยนัน้ จะเป็นได้ว่ามีลักษณะ
เสมือนการ “ฟอ้ งซอ้ น” ซงึ่ ในระบบกฎหมายไทยเองบัญญตั ติ ้องหา้ มไว้ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา อย่างไรก็
ตาม ทั้งหลักการสากลดังกล่าว และการห้ามฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อนตามกฎหมายไทยล้วนมีเงื่อนไขและ
หลกั เกณฑ์กำกับในการพิจารณาว่าเข้าข่ายต้องหา้ มน้นั หรือไม่ หากปรากฏวา่ ประเด็นท่ีฟ้องหรือเรื่องท่ีร้อง
ขอไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แม้จะมีมูลเหตุสืบเนื่องหรือเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์เดียวกันก็มีโอกาสที่จะไม่ถูก
ต้องห้าม ดังนั้นในกรณีของการถูกเลือกปฏิบัตดิ ้วยเหตุแหง่ เพศนี้ จึงอาจเป็นเรื่องสมเหตสุ มผลที่จะตั้งเป็น
ข้อสังเกตไว้เช่นกันว่า ควรถือเป็นเรื่องต้องห้ามเสมอไปหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาอยู่บน
ข้อเท็จจริงที่ว่า ท้ังประเด็นที่ถูกร้อง ทั้งอำนาจในการสั่งการของคณะกรรมการ วลพ. แตกต่างจากอำนาจ
ของศาลปกครองหรือศาลอื่นใด กรณีนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรมีการอภิปรายเรื่องนี้อย่างจริงจังขึ้น เพื่อหา
แนวทางร่วมกันว่า ในที่สุดแล้ว พ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ จำเป็นต้องมีข้อบทที่เปิดช่องให้คณะกรรมการ
วลพ. สามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัยวา่ ประเด็นที่อยู่ในอำนาจของตน กับประเด็นทีผ่ ู้เสียหายฟ้องต่อศาลอืน่ ไป
นน้ั ทบั ซอ้ นกันจรงิ หรอื ไม่ เพราะหากเป็นคนละเร่ือง คนละสว่ นทแ่ี ยกจากกนั ได้ คณะกรรมการ วลพ. ก็ควร
มีอำนาจวินิจฉัยหรือชี้ให้เห็นได้ว่าผู้ร้องถูกเลือกปฏิบัติจริงหรือไม่ตามกฎหมายฉบับนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อ
คมุ้ ครองและเยยี วยาผเู้ สยี หายจากการถูกเลือกปฏิบตั นิ นั้ ไดอ้ ย่างแทจ้ รงิ
35
9. ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามหลักกฎหมายระหว่าง
ประเทศ
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นได้ให้การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะ
เห็น ได้จากปฏิญญาสากลวา่ ดว้ ยสทิ ธิมนษุ ยชนทีไ่ ด้วางหลักไวว้ ่า
ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและ
มโนธรรม และควรปฏบิ ัตติ ่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่าง
ไม่ว่าชนิดใดๆดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธ์ุ
แห่งชาตหิ รอื สังคม ทรัพยส์ ิน กำเนิด หรอื สถานะอื่นๆ
10. แนวทางการแก้ไขปญั หาเกยี่ วกบั การยอมรบั ว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธเิ ทา่ เทียมกันตามหลัก
กฎหมายระหวา่ งประเทศ
ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามหลักกฎหม ายระหว่างประเทศ
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นได้ให้การยอมรับว่ามนุษยท์ ุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จาก
ปฏิญญาสากลวา่ ด้วยสิทธิมนุษยชน
จากปัญหาดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า การที่ไม่มีการอนุญาตสมรสในเพศเดียวกันในประเทศไทย ถือได้
ว่า ยังไม่มีการยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และการยอมรับว่าทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพ
โดยปราศจากความแตกตา่ งไม่ว่าชนดิ ใดๆดงั เช่น เชอ้ื ชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคดิ เหน็ ทางการเมือง
หรือทางอนื่ เผา่ พันธแุ์ หง่ ชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรอื สถานะอนื่ ๆ แนวทางแก้ปัญหา ควรผลักดัน
ให้ประเทศไทยเปิดกว้างในเรื่องการสมรสในเพศเดียวกัน โดยนำแนวปฏิบัติของประเทศที่มีการอนุญาต
สมรส ในเพศเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้สิทธิของบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศให้มีความเท่าเทียมกัน
ตามปฏิญญาสากลวา่ ดว้ ยสิทธมิ นุษยชน
36
บรรณานุกรม
โกวทิ วงศส์ ุรวัฒน์. (2562). ปัจเจกชนนิยม. (ออนไลน์). จาก: https://www.matichon.co.th/columnis
ts/news_1721548. สืบคน้ เมอื่ 16 พฤษภาคม 2565.
ดุลยา จิตตะยโศธร .(2551).บทบาททางเพศ : ในทศั นะของนักจติ วทิ ยา. (ออนไลน)์ . จาก : http://utcc2.
utcc.ac.th/utccjournal/281/%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E
0%B8%B2%20%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B0%E
0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf. สบื ค้นเมื่อวนั ท่ี 30
พฤษภาคม 2565.
ดวงพร เพรชคง. (ม.ป.ป.). ความเทา่ เทยี มระหวา่ งเพศ. (ออนไลน์). จาก : https://www.parliament.go.
th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20181012153459.pdf. สืบค้น
เมือ่ 15 พฤษภาคม 2565.
ดวงหทยั บรู ณเจริญกจิ . (2560). แนวคิดสตรีนิยมและขบวนการทางสังคมของผู้หญิงในประเทศไทย:
วเิ คราะหผ์ ู้มีส่วนเกีย่ วข้อง ขอ้ ถกเถียงและยุทธศาสตร์. (ออนไลน์). จาก : https: //library.fes.de
/pdf-files/bueros/thailand/13364-20170526.pdf. สืบคน้ เม่ือ 15 พฤษภาคม 2565.
ธีรพัฒน์ อังศชุ วาล .(2554). ความไมเ่ ทา่ เทียมทางเพศ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์
นฤพนธ์ ดว้ งวเิ ศษ. (2561). รือ้ สรา้ งมายาคติ “ความเปน็ ชาย” ในสงั คมไทย – การทบทวนความเปน็ ชาย
ในสงั คมสยาม. (ออนไลน)์ . จาก : https://www.sac.or.th/conference/2017/blogpost/%E0
%B8%81%E0%B8%B2%E0. สบื คน้ เมือ่ 16 พฤษภาคม 2565.
พีรดา ภูมิสวัสดิ์. (2563). ความรู้เบื้องต้น เก่ียวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ. (ออนไลน์). จาก : file:/
//C:/Users/acer/Downloads/4ความรู้เบ้อื งต้นเกย่ี วกับความเสมอภาคระหวา่ งเพศ%20(1).pdf
สบื ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565.
มตชิ น .(2563). ผชู้ ายช่วยทำงานบ้าน ส่งเสรมิ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ. (ออนไลน์). จาก : https://www.
matichon.co.th/lifestyle/news_1887802. สบื คน้ เมื่อวนั ที่ 28 พฤษภาคม 2565.
เมทนิ ี พงษเ์ วช. (2544). แนวทางการสรา้ งกระแสความเสมอภาคระหวา่ งหญงิ ชาย. กรงุ เทพฯ : สถาบนั วจิ ยั
บทบาทหญิงชายและการพฒั นา.
วราภรณ์ แช่มสนิท. (2563). ความเท่าเทียมทางเพศ : คำถามที่สังคมไทยต้องขบคิด. (ออนไลน์). จาก :
https://ngthai.com/cultures/26986 /sexual-equality-in-thai- society/?fbclid=IwAR3fU
YwpZ8-tNToVhkE9XgrIt0XVOBRqkgPbXICw-qpA4XfZZqcrorVHYis. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม
2565.
37
สรณ บญุ ใบชยั พฤกษ.์ (ม.ป.ป) สิทธมิ นุษยชนกบั ความเท่าเทียมทางเพศ. (ออนไลน์). จาก : https://www.
constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=9623. สืบคน้ เมอื่ 16 พฤษภาคม
2565.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2552.) ความเสมอภาคหญิง-ชาย. (ออนไลน์). จาก : http://www.sta
bundamrong.go.th/web/book/52/b11_52.pdf. สืบคน้ เมอ่ื 16 พฤษภาคม 2565.
Amnesty international Thailand. (2565). ความหลากหลายทางเพศ. (ออนไลน์). จาก : https://www.
amnesty.or.th/our-work/lgbt/. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565.
chula. (2562). รูจ้ ักและเข้าใจความเสมอภาคทางเพศ. (ออนไลน)์ . จาก : https://www.chula.ac.th/c
uinside/23302/. สืบค้นเมื่อวนั ที่ 1 มถิ นุ ายน 2565.
public-law net. (2554). ความไมเ่ ทา่ เทยี มทางเพศ ในการบริหารรฐั กิจ. (ออนไลน์). จาก : http://www.
public-law.net/publaw/view.aspx?id=1542. สบื คน้ เม่ือวันที่ 28 พฤษภาคม 2565.
SDG MOVE . (2565). ความไม่เทา่ เทยี ม/ความเหล่ือมล้ำ. (ออนไลน์). จาก : https://www.sdgmove.com
/2021/07/13/sdg-vocab-32-inequality/. สืบค้นเมื่อวนั ท่ี 28 พฤษภาคม 2565.