The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ธนบุรีที่ตลาดพลู

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Benjarat Thiengtham, 2019-12-23 12:28:46

ธนบุรีที่ตลาดพลู

ธนบุรีที่ตลาดพลู

“เรยี นรู้ประวัตศิ าสตรธ์ นบุรี ตอ้ งมาที่นี่ ที่ตลาดพลู”

ธนบรุ ีหน่ึงในสมยั ประวัตศิ าสตรส์ าคญั ของไทย แม้จะเปน็ เพยี งช่วงเวลาสน้ั ๆ แต่ก็มีผล
สาคัญตอ่ ประวัติศาสตรไ์ ทยอยา่ งมาก หลังจากการล่มสลายของอยุธยา พระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงกอบกู้เอกราชจนเกิดเป็นอาณาจักรธนบุรี และอาจกล่าวได้ว่าหากไม่มีสมัยธนบุรีก็คงไม่มี
ประเทศไทยอย่างทุกวันนี้ ทาให้หลาย ๆ คนให้ความสนใจกบั ประวตั ิศาสตรธ์ นบรุ ี

การศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นการศึกษาผ่านจากแค่ตัวหนังสือ
เท่านั้น วันนี้เราจึงมาแนะนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่แค่ผ่านตัวหนังสือ แต่เป็นการก้าว
ออกมาเรียนรู้ผา่ นสถานท่ีจริง ซึง่ สถานท่ที แี่ นะนาในวนั นีก้ ็คอื ‘ยา่ นชุมชนตลาดพลู’

ก่อนท่จี ะพาทกุ คนไปเรียนรู้ประวตั ิศาสตรท์ ่ียา่ นตลาดพลู เรามาทาความรู้จักกับชุมชน
ยา่ นตลาดพลกู ันกอ่ น ตลาดพลตู ้ังอย่รู มิ คลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย
ของชาวจีนมาตั้งแต่สมยั กรงุ ธนบุรี แตเ่ ม่ือมีการยา้ ยราชธานีไปยงั ฝั่งพระนคร ก็มีชาวจีนบางส่วน
ย้ายไปอยู่ย่านสาเพ็ง และมีชาวมุสลิมเข้ามาอยู่แทนที่ จากนั้นชาวมุสลิมก็เริ่มทาสวนพลูขึ้นใน
พ้นื ท่ีแถบน้ี และมีการขยับขยายมาปลูกสวนพลูกันทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนอย่างแพร่หลาย โดย
พลูบางส่วนก็ถูกส่งมาจากสวนพลูซึ่งปัจจุบันคือตลาดสวนพลู จนทาให้พื้นที่แถบนี้กลายมาเป็น
ตลาดซ้ือขายพลูขึน้ มา และเกดิ ชมุ ชนทอ่ี ย่อู าศัยที่เรียกกนั ว่า “ตลาดพลู” มาต้งั แตต่ อนนนั้

รถไฟขณะกาลังเข้าเทยี บชานชาลา หากใครที่กังวลว่าการเดินทางมาศึกษา
สถานีตลาดพลู ประวตั ิศาสตร์ทย่ี า่ นตลาดพลูน้ันจะลาบาก ขอบอกเลยว่าไม่
ต้องกังวล เพราะการเดินทางมาที่นี่นั้นสุดแสนจะง่าย มี
ทางเลอื กสาหรบั ผทู้ ต่ี อ้ งการมามากมายไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า
BTS ลงสถานีตลาดพลูแล้วต่อรถกระป๋องมาที่สถานีรถไฟ
ตลาดพลู รถไฟชานเมืองสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย สถานี
ตลาดพลู และรถประจาทางสาย 4,9,43,111 และ175 เมื่อ
เรามาถงึ แล้ว เราเลยมาตง้ั หลักกนั ท่ีสถานีรถไฟตลาดพลูเพื่อ
เริ่มออกเดินทางไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านสถานที่ทาง
ประวัตศิ าสตร์สมยั ธนบุรียา่ นตลาดพลู

แผนทกี่ ารเดินทางไปยงั แหล่งเรยี นร้ปู ระวัตศิ าสตร์ธนบุรี จากสถานรี ถไฟตลาดพลู

วัดอินทารามวรวิหาร 7-11
ซอยวัดโพธินิมิตรสถิตมหาสมี าราม

สะพานสม ุบญ โรงเรียนวัด
อนิ ทาราม-
ถนนเทอดไทวรวหิ าร

ตลาดวดั จนั ทาราม
(วัดกลาง)

วดั จนั ทารามวรวิหาร
(วดั กลาง)

วัดราชคฤห์วรวิหาร ธนาคารกรงุ ไทย
(วดั มอญ)

รา้ นหลีเฮง
เสาชงิ ช้า

สถานีรถไฟตลาดพลู



“เรยี นร้ปู ระวตั ศิ าสตรธ์ นบุรเี รม่ิ กนั ท่ีวัดราชคฤห์วรวหิ าร”

จากด้านหลังสถานรี ถไฟตลาดพลเู ดินมาเร่อื ย ๆ กจ็ ะเหน็ ทางแยกที่ฝั่งตรงข้ามเป็นร้าน
หลีเฮง เสาชิงช้า ขายเย็นตาโฟ ข้าวหนา้ ไก่ และเปาะเป๊ยี ะสด ให้เลี้ยวขวาเดินตรงมาเรื่อย ๆ จน
มาถงึ ซอยเทอดไท14ก็จะพบแหล่งเรียนรูป้ ระวัติศาสตร์ทแี่ รกของเราคอื วดั ราชคฤห์วรวิหาร (วัด
มอญ) หรอื วัดบางย่เี รือใน หรือบางคนเรยี กว่า วดั บางยเ่ี รอื มอญ

วดั แห่งนี้สร้างโดยนายกองมอญในสมัยอยุธยา และมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยธนบุรี
โดยพระยาสีหราชเดโชหรือที่เรารู้จักกันอย่างดีในชื่อ พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งเป็นทหารเอกของ
สมเดจ็ พระเจ้าตากสินมหาราช

หลวงพ่อสุขสบาย (หลวงพ่อนอน)หงาย) เมอ่ื เข้ามาในตวั วัดทางดา้ นขวามอื มที ีต่ ั้งของ
หลวงพ่อสุขสบายหรือหลวงพ่อนอนหงาย โดยปกติที่
วัดอื่น ๆ จะพบแต่พระพุทธรูปนอนตะแคงที่เรียกว่า
ปางปรินิพพานหรือปางไสยาสน์ แต่ที่วัดแห่งนี้มีหลวง
พ่อสุขสบายปางถวายพระเพลิงที่มีเพียงแห่งเดียวใน
กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นพระพุทธรูปนอนหงาย
พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรทั้งสองข้างแนบ
พระองค์ หลับพระเนตร และมีพระมหากัสสัปปะนั่ง
พนมมอื อยู่ที่พระบาท ตามประวัติเล่าว่า พระยาพิชัย
ดาบหักได้สร้างพระองค์นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการบาเพ็ญ
อทุ ศิ กศุ ลและไถ่บาปให้กับทหารและชาวบา้ นท่ีล้มตาย
เพราะตนเปน็ จานวนมาก

พระพทุ ธรปู องคน์ ี้มคี วามศักดส์ิ ิทธ์ความเช่อื ของผู้คนคอื ปัดเปา่ โรคร้ายออกจากตัว นา
โชคลาภมาให้ ช่วยให้คนรักกลับมาหาและให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ด้วยความ
ศักด์สิ ิทธ์ิเหลา่ นี้ พวกเราจึงขอร่วมทาบญุ ไปด้วย แตว่ ธิ ีสกั การะของพระพุทธรูปองค์น้ีต่างจากที่อื่น

เพราะวธิ ีจะแตกตา่ งกนั ไปตามพรทจี่ ะขอ และก่อนทจี่ ะขอพรจะตอ้ งกล่าวคาบชู า อธิษฐานจิต โดย
เอามือข้างซ้ายไปแตะที่ธรรมจกั รขา้ งซ้ายสาหรับผู้หญิง ข้างขวาสาหรับผู้ชายและเอามือมาแตะที่
หน้าผากของตน เพื่อน ๆ สามารถเข้าชมและสักการะบูชาหลวงพ่อสุขสบายหรือหลวงพ่อนอน
หงายไดท้ ุกวัน ตั้งแต่เวลา06:30 น. ถึง 17.30 น.

พระปรางค์พระยาพิชัยดาบหกั

หลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชถูกสาเร็จโทษในปีพ.ศ.2325 สมเด็จพระยามหา
กษตั รยิ ์ศึก (รชั กาลที่1) เห็นว่าพระยาพิชัยดาบหักเป็นขุนนางที่มีความสามารถจึงชวนมาเข้ารับ
ราชการในแผน่ ดนิ ใหม่แตพ่ ระยาพิชัยดาบหักได้ปฏิเสธ และเมื่อวันที่7 เมษายน พ.ศ.2325 พระ
ยาพิชัยดาบหักถูกประหารชีวิตเพราะขอถวายความกตัญญู ความจงรักภักดีและถวายชีวิตเป็น
ราชพลตี ามสมเด็จพระเจ้าตกสินมหาราช รัชกาลท่ี1จึงทรงมีรับสั่งใหส้ ร้างพระปรางค์พระยาพิชัย
ดาบหกั (พระปรางคแ์ บบย่อมุมสมยั กรงุ ธนบุรี) ขึน้ เพ่อื บรรจุอฐั ขิ องท่านไปบรรจุไว้ พระปรางค์นี้
ตง้ั อยู่บรเิ วณกลางวดั อยคู่ ู่กับพระเจดียใ์ หญบ่ รรจพุ ระบรมสารรี ิกธาตุ

ทางข้นึ มณฑปพระพทุ ธบาทจาลอง พระพุทธบาทจาลอง
สมยั รชั กาลท่ี 1 สมยั รัชกาลที่1

วัดแห่งน้ียงั มีวิหารประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัย
ดาบหักและหมื่นหาญณรงค์ซึ่งแล้วแต่เป็นบุคคลที่สาคัญสาหรับประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
นอกจากจะมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้วที่นี้ยังมีสิ่งก่อสร้างที่พวกเราเห็นแล้วรู้สึกสะดุดตา
มาก เพราะมีลักษณะเหมือนเขาหินและปกคลุมด้วยสีเขียวของพืชล้มลุกขนาดเล็ก ตรงทางขึ้นมี
ป้ายเขยี นว่า “มณฑปพระพทุ ธบาทจาลอง สมัยรัชกาลที่1” ทางเดินขึ้นที่เป็นรูปปั้นพญานาค มี
ความสูงพอตัว เมื่อเดินขึ้นไปก็ทาเอาเหนื่อยอยู่เล็กน้อย ข้างบนเป็นที่ตั้งพระพุทธบาทจาลอง
ขนาดเล็กท่ีไดร้ ับอทิ ธพิ ลมาจากจีน



“เรยี นร้ปู ระวตั ศิ าสตร์ธนบุรตี อ่ กันทวี่ ัดจันทารามวรวหิ าร”

หลังจากที่เราใช้เวลาที่วัดราชคฤห์วรวิหารไปพักใหญ่ก็ถึงเวลาที่จะไปเรียนรู้
ประวตั ศิ าสตรใ์ นแหล่งต่อไป เมื่อออกมาหน้าวัดพวกเราก็เล้ยี วซ้ายตรงไปเร่อื ย ๆ ซอยเทอดไท10
แหล่งเรียนรู้ที่สองนี่ก็คือวัดจันทารามวรวิหารหรือวัดบางยี่เรือกลาง หรือที่คนแถวนี้เรียกว่าวัด
กลาง สร้างขึน้ ในสมยั อยธุ ยา เนอื่ งจากวดั นไี้ มไ่ ดม้ ีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ธนบุรีมากนัก
พวกเราจงึ ใช้โอกาสนส้ี ารวจความสวยงามของวดั แห่งน้ี

พระประธานทวี่ ัดจนั ทารามวรวิหาร ภาพจติ รกรรมบนฝาผนังและประตูแบบจนี

เราเห็นว่าพระอุโบสถของวัดแห่งนี้มีความสวยงามจึงเดินเข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรบ้าง
แตป่ ระตูปิดอยู่เข้าไปไม่ได้ เราจงึ เดินไปถามคณุ ลุงคนหนึ่งว่า “พวกหนูสามารถเข้าไปข้างในพระ
อุโบสถได้ไหมคะ” และโชคดีมากท่ีคณุ ลงุ คนนี้เป็นผดู้ ูแลกุญแจของวัด คุณลุงจึงพาพวกเราเข้าไป
ด้านในพระอุโบสถ และยังบอกกับพวกเราด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มว่า “โชคดีนะที่วันนี้เจ้าอาวาส
ไมไ่ ด้เปน็ คนถือกญุ แจ” พอกา้ วขาเข้าไปดา้ นในก็พบว่าภาพจิตรกรรมบนฝาผนังแบบจีนสวยงาม
มาก มีพระประธานองค์ใหญ่สเี หลอื งทองต้งั เด่นอยู่ภายใน

สะพานสมบุญ สะพานเชือ่ มตลาดวดั กลางไปยัง
วัดอนิ ทารามวรวิหาร

ดา้ นหลงั ของวัดเปน็ ตลาดช่อื วา่ ตลาดวดั จนั ทารามหรอื ตลาดวดั กลาง ที่เป็นตลาดสดมี
ของขายมากมายและยังสามารถเดินลัดผ่านตลาดนี้เพื่อไปยังแหล่งเรียนรู้ที่สุดท้ายของเรา ต้อง
ขอบคณุ คณุ ลงุ คนเดิมท่บี อกเส้นทางนี้ใหก้ ับพวกเราเพราะมีแต่คนในพื้นที่เท่านั้นที่จะรู้เส้นทางนี้
ได้ เมอื่ พวกเราเดินลัดจากตลาดมาถึงสะพานสมบุญ เมื่อข้ามสะพานไปก็พบกับวัดอินทารามซึ่ง
จะเปน็ แหลง่ เรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตรธ์ นบรุ ีที่สดุ ท้ายของพวกเรา



“เรยี นรปู้ ระวตั ศิ าสตรธ์ นบรุ จี บที่วดั อนิ ทารามวรวหิ าร”

วัดอนิ ทารามวรวิหาร หรอื วัดบางยีเ่ รือนอก มีความสาคัญที่สุดในสมัยธนบุรี เพราะว่า
หลังพระเจา้ ตากตัง้ กรุงธนบุรีเปน็ ราชธานีกท็ รงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏสิ ังขรณว์ ัดนี้ใหม่เปน็ พระ
อารามหลวงชั้นเอก อีกทั้งพระองค์ยังเคยมาประทับแรมเพื่อนั่งวิปัสสนากรรมฐานและทรงศีล
ภาวนาทว่ี ดั แห่งนี้ จนเมอ่ื พระองค์เด็จสวรรคตก็ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพถวายพระเพลิง
และบรรจุพระบรมอฐั ิ

พระปรางคเ์ หนอื -ใต้ สมัยรัชกาลท่3ี

หากมาจากทางตลาดวัดกลางเมื่อเดินมาภายในตัววัดจะพบกับรูปปั้นพระเจ้าตากสิน
มหาราช และเม่ือเดนิ ตอ่ มาเรื่อย ๆ จะพบพระปรางค์เหนือ-ใต้ สมัยรัชกาลที่3 แล้วก็จะพบพระ
อโุ บสถหลงั ใหม่ที่อยู่บรเิ วณใกล้ ๆ กัน ภายในประดิษฐานพระพุทธชินวรณ์ พระประธานของวัด
เปน็ ศลิ ปะสโุ ขทยั

พระบรมรูปสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช แผน่ ศลิ าจารกึ ตารายา อยู่ด้านหนา้ พระบรมรูป
ตรงข้ามพระอโุ บสถหลังใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตรงข้ามกับพระอุโบสถหลังใหม่จะมีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ขา้ งหนา้ พระบรมรปู จะมีแผ่นศลิ าจารึกตารายา ให้สาหรบั ผ้คู นมากราบไหว้สกั การะบูชา บริเวณ

นัน้ จะอยใู่ กลก้ ับพระอุโบสถเก่าทเ่ี ป็นศิลปะแบบธนบรุ ี

พระวิหารสมเด็จพระเจ้าตากสิน ภายในมีพระแท่นบรรทมพระบรมรูปสมัยพระองค์

ท่านออกผนวชและหลวงพ่อดาที่พระองค์ได้อัญเชิญมาจากมหาชัย และเจดีย์กู้ชาติที่บรรจุพระ

บรมอฐั ิของพระเจ้าตากสินมหาราช เจดยี ม์ ียอดเปน็ ลกั ษณะบัวกลุ่มเถาเจด็ ช้ัน

การศึกษาประวัติศาสตร์ไม่จาเป็นต้องศึกษาผ่านแค่ตัวหนังสืออีกต่อไป แต่สามารถ

ออกมาศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านสถานที่จริงได้ หากใครอยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์ธนบุรีก็ลอง

ออกมาสมั ผัสมันด้วยตากันที่ย่านตลาดพลูแบบพวกเราแล้วจะรู้ว่า “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ธนบุรี

ต้องมาทีน่ ่ี ที่ตลาดพลู”


Click to View FlipBook Version