ลักษณะ ๑๐
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
นายกิตติพงศ์ แก้วขาว
641087004
คำนำ
สื่อฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายอาญา
โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาหาความรู้ เรื่อง
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ทั้งนี้ในสื่อนี้มี
เนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับมาตราที่
เกี่ยวข้องและฎีกาที่น่าสนใจ ตลอดจนการ
ประยุกต์ใช้ในการเรียน
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำ เนื่องมาจาก
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ
อาจารย์ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา หวังว่า
สื่อฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่
ผู้อ่านทุกๆท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด
ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง
กิตติพงศ์ แก้วขาว
ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า
เรื่อง 1
2-3
หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต
มาตรา 288 4
มาตรา 289 5-6
มาตรา 290 7-8
มาตรา 291 9-10
มาตรา 292 11-12
มาตรา 293
มาตรา 294 13
14-15
หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย 16-18
มาตรา 295 19-20
มาตรา 296
มาตรา 297 21
มาตรา 298 22-23
มาตรา 299
มาตรา 300
หมวด ๑ ความผิดต่อชีวิต
มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต
จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
การที่จำเลยที่ 1 ยิงปืนเพื่อข่มขู่ผู้เสียหายเป็นการยิงปืน
ซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุม
ชน อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานใช้อาวุธปืนยิง
พยายามฆ่าผู้เสียหายอยู่ในตัว จึงเป็นการกระทำความผิด
ที่รวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิด
ได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลจะลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดิน
ระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อีก
สถานหนึ่ง
มาตรา ๒๘๙ ผู้ใด
(๑) ฆ่าบุพการี
(๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ
เพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(๓) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงาน
นั้น กระทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วย
หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(๕) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(๖) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกใน
การที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(๗) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อัน
เกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความ
ผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิด
ที่ตนได้กระทำไว้ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลงจากบ้านของ ช. ผู้ตายไป
แล้วประมาณ 20 นาที จึงได้กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย
และผู้เสียหายดังกล่าวทันทีโดยมิได้พูดจากับใครอีก
แสดงว่าจำเลยที่ 1 ตระเตรียมวางแผนมายิงผู้ตายและผู้
เสียหาย จึงเป็นการกระทำโดย ไตร่ตรองไว้ก่อนตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4)
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย
ต่อเนื่องกันทีละคนโดยไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการทารุณ
โหดร้ายแต่ละคนนั้น แม้จะมีผู้ถึงแก่ความตายเพราะถูก
จำเลยยิงถึง 7 คน ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทารุณ
โหดร้าย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 289(5)
เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจนำโทษจำคุก
มารวมอีกได้ คงให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว
มาตรา ๒๙o ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็น
เหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันทำร้ายเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 290
การที่จะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดอันเป็นตัวการร่วมนั้น
ต้องพิจารณาทั้งในส่วนการกระทำและเจตนาของผู้ร่วม
กระทำ หมายถึง ต้องร่วมกระทำความผิดด้วยกันและ
กระทำโดยมีเจตนาร่วมกัน ทั้งทุกคนที่กระทำจะต้องรู้ถึง
การกระทำของกันและกัน และต่างต้องประสงค์ถือเอาการ
กระทำของแต่ละคนเป็นการกระทำของตนด้วย
มาตรา ๒๙๑ ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้น
เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
* มาตรา ๒๙๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจ
จานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๙ วัน
ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบความผิด
(1) ผู้ใด
(2) กระทำโดยประการใด
(3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
(4) โดยประมาท (องค์ประกอบภายใน (ไม่ต้องมีเจตนา)
--> การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้
ความระมัดระวังทั้งๆที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้น
ได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคสี่ "กระทำ
โดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่
กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะ
เช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำ
อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียง
พอไม่"
สำหรับการกระทำนั้น ได้แก่ การเคลื่อนไหวและรวมถึง
การงดเว้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย
มาตรา ๒๙๒ ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ
หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน
ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่า
ตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการ
พยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
* มาตรา ๒๙๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖)
พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔
ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๙ วันที่ ๒๐ มีนาคม
๒๕๖๐)
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาตัวอย่าง แม่เลี้ยงเป็นผู้อนุบาล ดุด่าเฆี่ยนตี
นางสาวสวย อายุ 15 ปี ให้ฆ่าตัวตาย จนนางสาวสวยผูก
คอตาย แม้จะเป็นแม่เลี้ยงไม่ใช่มารดาตามกฎหมาย
ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นบุคคลที่ต้องพึ่งในการดำรงชีพ ดังนั้น
ย่อมมีความผิดฐานนี้ หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยไม่พาไป
รักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยทนความเจ็บป่วยไม่ไหวจน
ฆ่าตัวตาย เช่นนี้ ผู้กระทำก็มีความผิดเช่นกัน
แต่ถ้าแม่ไม่ให้ซื้อไอโฟนรุ่นใหม่ให้ลูกจนลูกน้อยใจฆ่า
ตัวตายอย่างนี้แม่ไม่มีความผิด เพราะ การฆ่าตัวตายเกิด
ขึ้นจากการน้อยใจไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำด้วยการ
ปฏิบัติอันทารุณ
มาตรา ๒๙๓ ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี
หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพ
หรือสาระสำคัญอย่างไร หรือไม่สามารถบังคับการกระทำ
ของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้น
หรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* มาตรา ๒๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ
ที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๙ วันที่
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
มาตรา ๒๙๓
มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. จะต้องช่วยหรือยุยงส่งเสริม
2. ให้เด็กหรือผู้ที่บกพร่องทางจิตฆ่าตนเอง
3. การฆ่าตนเองได้เกิดขึ้น หรือได้มีการพยายามฆ่า
ตนเองเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
เด็กชาย ก อายุ 15 ปี มาหานาย ข แล้วบอกนาย ข
ว่าเบื่อโลกอยากตาย นาย ข จึงส่งปืนให้ แล้วบอกว่า
งั้นก็ฆ่าตัวตายเลยสิ เด็กชายก็จึง ยิงตัวเองตาย
มาตรา ๒๙๔ ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคล
ตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็น
ผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตายโดย
การกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้
กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดย
ชอบด้วยกฎหมายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
* มาตรา ๒๙๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ
ที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๙ วันที่
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
มาตรา ๒๙๔
เข้าร่วม หมายถึง เข้าไปมีส่วนร่วมในความ
สับสนวุ่นวายไม่ เป็นระเบียบ ที่มีการใช้กำลัง
ทำร้ายกัน บุคคลตั้งเเต่ 3, 4, 5 เรื่อยไป แต่ต้อง
ไม่ต่ำกว่า 3 หากมีผู้ที่อยู่ในวงชุลมุนต่สู้ เเต่ไม่ได้
ใช้กำลังทำร้ายผู้นั้น ย่อมไม่มีความผิด ม.294
และไม่นับเป็นบุคคลที่เข้าร่วม เป็นความผิดที่
ต้องการผล คือ ความตายของบุคคล เป็นผล
โดยตรงมาจากการชุลมุนต่อสู้ หากไม่มีความตาย
เกิดขึ้น ก็ไม่มีความผิดตามม.294 แต่อาจมีความ
ผิดตาม ม.299 ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับ
อันตรายสาหัสจากการชุลมุนต่อสู้
หมวด ๒
ความผิดต่อร่างกาย
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิด
อันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำ
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ
* มาตรา ๒๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ
ที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๖๐ วันที่
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
มาตรา ๒๙๖ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้าย
ร่างกาย ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่ง
ประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* มาตรา ๒๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจ
จานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๖๐ วัน
ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
มาตรา ๒๙๖
องค์ประกอบ
1. เป็นการกระทำความผิด เจตนาธรรมดา ฐาน
ทำร้ายร่างกาย เจตนาพิเศษ ตามที่ บัญญติไว้
ในมาตรา
2. ความผิดนั้นมีลักษณะ ประการหนึ่งประการใด
ดังที่ 289 บัญญัติไว้ในมาตรา 289
ข้อสังเกต มาตรา 296 เป็นเหตุที่ทำให้รับโทษหนัก
ขึ้น เพราะเป็นเหตุฉกรรจ์ของม. 295 การกระทำ
ต้องเข้าองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบ
ภายในตามม. 295 และมีเหตุฉกรรจ์ตามม. 289
เพิ่มขึ้นมา
มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทำความผิดฐาน
ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้าย
รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่
หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่ง
อาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา
เกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่
ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
* มาตรา ๒๙๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน
ที่ ๓๒ ก หน้า ๖๐ วันที่ ๒๐ มีนาคม
๒๕๖๐)
เป็นผลฉกรรจ์ของ ม. 295 ต้องเป็นการ
กระทำความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายตาม
ม. 295 เสียก่อน จึงจะสามารถเกิดผล
เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุ
ให้ได้รับอันตราย สาหัส ผลที่เกิดขึ้นนั้น
มีความร้ายเเรงดังที่ระบุไวใน (1) ถึง
(เจตนาธรรมดา ต้องมีเจตนาทำร้ายตาม
ม. 295 เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเจตนา
ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล
มาตรา ๒๙๘ ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 297 ถ้า
ความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สองปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาท
ถึงสองแสนบาท
*มาตรา ๒๙๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน
ที่ ๓๒ ก หน้า ๖๐ วันที่ ๒๐ มีนาคม
๒๕๖๐)
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสนั้น
ผู้กระทำมีเจตนา ทำร้ายร่างกายเเต่
ผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับ
อันตราย สาหัส เเละเป็นการกระทำ
โดยมีเหตุฉกรรจ์ตาม ม. 289 เช่น
ทำร้ายร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้
บุพการีได้รับอันตราย สาหัส
มาตรา ๒๙๙ ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่าง
บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่
ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่รับอันตราย
สาหัสโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้น แสดงได้ว่า
ได้กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อ
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ความหมายเช่นเดียวกับ ม. 294 เเต่มาตรานี้
บุคคลหนึ่ง บุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้น
หรือไม่ก็ตามได้ รับอันตรายสาหัส
มาตรา ๓oo ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำ
นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
* มาตรา ๓๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน
ที่ ๓๒ ก หน้า ๖๐ วันที่ ๒๐ มีนาคม
๒๕๖๐)
ข้อสังเกต
ประการเเรก คำว่า ประมาท ต้องดู ม. 59 วรรคสี่
เเละ ต้องปรากฏผลคือ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ
อันตรายสาหัส เท่านั้น
ประการสอง ผู้กระทำความผิดตามมาตราต้องไม่
ได้มี เจตนาทำร้าย เเต่ประมาท เป็นกรณีกระทำ
โดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
หากประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่
กายหรือจิตใจจะเป็นกรณีความผิดตาม ม. 390