คำแนะนำ
การยื่นฟ้องคดีผู้บริโภค
ส่วนเจ้าพนักงานคดี
ศาลแขวงนนทบุรี
ในการให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคโจทก์
เกี่ยวกับการฟ้องคดีผู้บริโภค
ส่วนเจ้าพนักงานคดีศาลแขวงนนทบุรี
จะมีบทบาท ดังนี้
1. กรณีที่ผู้บริโภคยื่นฟ้องเป็นหนังสือ
การให้คำแนะนำสำหรับการยื่นคำฟ้อง
เป็นหนังสือ หากคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระ
สำคัญในเรื่องใด เจ้าพนักงานคดีอาจให้คำแนะนำ
แก่ผู้บริโภคเพื่อจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน
2. ในกรณีที่ผู้บริโภคประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา
การให้คำแนะนำสำหรับการยื่นฟ้อง
ด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึก
รายละเอียดคำฟ้องในแบบพิมพ์คำฟ้อง
คดีผู้บริโภค และให้โจทก์ลงลายมือชื่อ
ไว้เป็นสำคัญ คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
เหตุที่ต้องมาฟ้องคดีรวมทั้งต้องมีคำขอบังคับ
ให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจน
พอที่จะให้เข้าใจได้
3. ในกรณีที่ผู้บริโภคประสงค์ยื่นฟ้องผ่าน
ระบบอิเล็กทรอนิกส์
การให้คำแนะนำสำหรับการยื่นฟ้อง
ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคสามารถ
ยื่นฟ้องคดีผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
(e-Filing System) ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
โดยมีเจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่บันทึกราย
ละเอียดแห่งคำฟ้องและ ให้คำแนะนำให้ความ
ช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคโจทก์
ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้บริโภคเข้าสู่ในระบบ
รับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing System)
เพื่อลงทะเบียนและแจ้งความประสงค์ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม
https://www.coj.go.th เลือก “เข้าสู่หน้าเว็บไซต์หลัก” เลือก
“การยื่นฟ้องทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ e-Filing Version 3”
2. ระบบจะแสดงหน้าจอให้เลือกประเภทผู้ใช้งาน
ให้เลือกประเภทผู้ใช้งานเป็น “ประชาชน”ให้ผู้บริโภค
ลงทะเบียนเพื่อใช้งาน โดยให้เลือกเมนู “ลงทะเบียน”
แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และกำหนดรหัสผ่าน
สำหรับการเข้าสู่ระบบพร้อมทั้งให้ผู้บริโภค ระบุอีเมล (E-Mail)
และเบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรับรหัสผ่าน
OTP และการแจ้งเตือนความคืบหน้าของสถานะคำฟ้อง
นอกจากนี้ในการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบจะต้องมีการแนบ
เอกสารด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสี (หน้า
ตรงสุภาพ) โดยต้องเป็นไฟล์นามสกุล *.pdf, *.jpeg, *.jpg
และมีขนาด ไม่เกิน 1 MB เมื่อกรอกข้อมูลและแนบเอกสาร
ครบถ้วน แล้วให้กด “ยืนยันการลงทะเบียน”
3. การเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน (ครั้งแรก)
ประกอบด้วย การเข้าสู่ระบบกรอกรหัสผู้ใช้/รหัส
ผ่าน และรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว OTP
เมื่อผู้บริโภคดำเนินการลงทะเบียนและเข้าใช้งาน
ระบบเรียบร้อยแล้ว ผู้บริโภคก็สามารถดำเนินการ
ฟ้องคดีในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing
System) ในขั้นตอนต่อไปได้ โดยการบันทึกข้อมูล
ของคู่ความข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ความเสียหาย
ที่ได้รับ การแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ข้อสังเกตในการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้อง
1. ในการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้อง
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีให้โจทก์เสนอพยาน
หลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะทำได้มาพร้อมกับคำฟ้อง
การให้คำแนะนำและการให้ความช่วยเหลือ
ให้เจ้าพนักงานคดีพิจารณาช่วยเหลือตามสมควร
แก่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดรูปคดี
ทำนองเดียวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ
2. เอกสารหรือหลักฐานที่ผู้บริโภคใช้ในการบันทึก
รายละเอียดแห่งคำฟ้อง เช่น
2.1 เอกสารเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เอกสารเกี่ยวกับ
นิติสัมพันธ์ เช่น รายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลาย
ที่อ้างว่าได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ซึ่งเกิดการ
กระทำนั้น บุคคลหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง สัญญาต่างๆ
อาทิ แผ่นโฆษณาประชาสัมพันธ์ สัญญาจ้างทำของ
(หากมี) สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ
หลักฐานการใช้บริการต่างๆ
2.2 รายการประเมินค่าเสียหาย เช่น ใบเสร็จ
รับเงิน หลักฐานการโอนเงิน รูปถ่ายความเสียหาย หลักฐาน
อื่นๆ ที่แสดงถึงความเสียหายอันเกิดขึ้น
2.3 หนังสือแจ้งให้คู่กรณีชำระหนี้ เช่น
หนังสือบอกเลิกสัญญา (notice)
2.4 สำเนาบันทึกประจำวัน สถานีตำรวจ
ท้องที่ที่เกิดเหตุ (หากมี) หรือเอกสารเกี่ยวกับ
การยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) (หากมี) เป็นต้น
3. เขตอำนาจศาลที่ผู้บริโภค (โจทก์) มีสิทธิ
ยื่นฟ้องผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาล
ที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ประกอบธุรกิจ
มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลก็ได้
4. ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน
ผู้บริโภคเป็นโจทก์ยื่นคำฟ้องได้รับยกเว้น
ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง อย่างไรก็ตาม
กรณีผู้บริโภคฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือเรียกร้องค่าเสียหาย เกินสมควร ประพฤติตน
ไม่เรียบร้อย ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมี
ลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็น หรือ
มีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำ
สั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับ
ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้