100 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 กลุ่มสมาชิก ข้อ ๔๙ กลุ่มสมาชิก สหกรณ์อาจจัดตั้งกลุ่มสมาชิกขึ้น การจัดกลุ่ม การประชุมกลุ่ม กิจกรรมของที่ประชุม กลุ่ม การเลือกตั้งจำนวนกรรมการบริหารกลุ่ม การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ คณะกรรมการบริหารกลุ่มให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ ความรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์ ข้อ ๕๐ ความรับผิดของสมาชิก สมาชิกมีความรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่า หุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ หมวด ๖ สมาชิกสมทบ ข้อ ๕๑ สมาชิกสมทบ สหกรณ์อาจรับบุคคลธรรมดาเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ตามที่เห็นสมควร โดยต้องสมัคร เข้าเป็นสมาชิกสมทบด้วยความสมัครใจ และมีความประสงค์จะใช้บริการต่างๆ ของสหกรณ์เป็นการประจำ ข้อ ๕๒ คุณสมบัติของสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ (๒) เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบรรลุนิติภาวะ (๓) ก. เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วของสมาชิก ข. เป็นลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานราชการ ในสังกัดกองทัพเรือ ค. เป็นสมาชิกสมทบ ก่อนหน้าที่ข้อบังคับนี้บังคับใช้ (๔) เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม (๕) เป็นผู้ที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ (๖) ไม่เป็นสมาชิกหรือสมาชิกสมทบสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน ข้อ ๕๓ วิธีการรับสมาชิกสมทบ ผู้ประสงค์เข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่ กำหนดไว้ โดยให้ยื่นพร้อมแสดงหลักฐานความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกตามข้อ ๕๒ (๓) เมื่อคณะกรรมการ ดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๒ (๓) ทั้งเห็นเป็นการ สมควรแล้วก็ให้รับเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ และต้องจัดให้ผู้สมัครได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกสมทบกับชำระ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามที่จะถือครบถ้วน เมื่อสมาชิกสมทบได้ปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้วย่อมได้สิทธิในฐานะสมาชิกสมทบ กรณีที่สมาชิกสมทบได้ลาออกจากสหกรณ์แล้ว มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกอีกจะต้องมีระยะเวลาเว้น ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือนนับแต่วันที่ลาออก สมาชิกสมทบที่ว่านี้ไม่มีสิทธิสมัครในครั้งที่สาม
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 101 ข้อ ๕๔ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าในวันที่ยื่นใบ สมัครเป็นสมาชิกจำนวนเงินแปดสิบบาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือว่าเป็นรายได้ของสหกรณ์ จะเรียกคืนไม่ได้ไม่ ว่าด้วยกรณีใดๆ ข้อ ๕๕ การถือหุ้น สมาชิกสมทบแต่ละรายจะต้องถือหุ้นได้ตั้งแต่สิบหุ้นถึงไม่เกินหนึ่งร้อยหุ้นโดยให้ถือหุ้นได้ ครั้งเดียวในวันสมัคร การถือหุ้นแรกเข้า การชำระค่าหุ้น การแจ้งยอดจำนวนหุ้น และอื่นๆ ให้เป็นไปตามความในข้อบังคับ หมวด ๓ ว่าด้วยหุ้น โดยอนุโลม สำหรับการถือหุ้นเพิ่มให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ ข้อ ๕๖ สิทธิในฐานะสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบมีสิทธิและหน้าที่เฉพาะในส่วนที่ไม่ขัดกับกฎหมายสหกรณ์ (ก) สิทธิของสมาชิกสมทบมีดังนี้ (๑) รับเงินปันผลตามหุ้นในอัตราเดียวกันกับสมาชิก (๒) ถือหุ้นได้ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่สหกรณ์กำหนด (๓) ฝากเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์และหลักเกณฑ์ที่สหกรณ์กำหนด (๔) กู้เงินประเภทสามัญได้ไม่เกินร้อยละ เก้าสิบของเงินฝากออมทรัพย์ ที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ หรือ ตามที่คณะกรรมการเงินกู้จะเห็นสมควร สำหรับการชำระหนี้ เงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบสหกรณ์กำหนด (๕) ได้รับบริการทางวิชาการจากสหกรณ์ (๖) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมใหญ่ (๗) สิทธิอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ (ข) หน้าที่ของสมาชิกสมทบ มีดังนี้ (๑) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ (๒) เข้าร่วมการประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย (๓) ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง (๔) สอดส่องกิจการของสหกรณ์ (๕) ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง (ค) สมาชิกสมทบไม่ให้มีสิทธิในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) นับชื่อเข้าเป็นองค์ประชุมในการประชุมใหญ่ (๒) การออกเสียงในเรื่องใดๆ ของสหกรณ์ (๓) เข้าเป็นคณะกรรมการดำเนินการ (๔) กู้ยืมเงินเกินกว่าเงินฝากรวมกับทุนเรือนหุ้นของตนเอง การขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมทบ ข้อ ๕๗ การขาดสมาชิกภาพของสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบย่อมขาดจากสมาชิกภาพ เพราะเหตุใดๆ ดังต่อไปนี้
102 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๑) ตาย (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ (๓) ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย (๔) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันกระทำโดยประมาท (๕) ลาออกจากสหกรณ์ และได้รับอนุญาตแล้ว (๖) ถูกให้ออกจากสหกรณ์ (๗) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕๒ (๘) ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ ตามที่กำหนดในข้อ ๕๒ (๓) ก. ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับสมาชิกสมทบต้อง ขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใดๆ ซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกสมทบ ต้องขาดคุณสมบัติไปด้วยนั้น หากสมาชิกสมทบมี ความประสงค์เป็นสมาชิกต่อให้เขียนคำร้องให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป ข้อ ๕๘ การลาออกจากสหกรณ์สมาชิกสมทบอาจลาออกจากสหกรณ์ได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือ ต่อคณะกรรมการดำเนินการและเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับ และอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่าลาออกจากสหกรณ์ได้ ข้อ ๕๙ การให้ออกจากสหกรณ์สมาชิกสมทบอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุใดๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า (๒) ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกสมทบ (๓) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์ (๔) แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือให้เสื่อมเสียต่อสหกรณ์หรือขบวนการสหกรณ์ ไม่ว่าโดยประการใดๆ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ได้สอบสวนพิจารณาแล้วปรากฏว่า สมาชิกสมทบมีเหตุใดๆดังกล่าว ข้างต้น และได้ลงมติให้สมาชิกสมทบออก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่ มีอยู่ทั้งหมดในขณะนั้นแล้ว ก็เป็นอันถือว่าสมาชิกสมทบนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์ ข้อ ๖๐ การเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ สมาชิกสมทบคนใดมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติและที่อยู่ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๖๑ การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้สมาชิกสมทบทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้รับโอน ประโยชน์ในเงินค่าหุ้น เงินฝาก หรือเงินอื่นใดจากสหกรณ์ เมื่อตนถึงแก่ความตายตามแบบฟอร์มที่สหกรณ์กำหนด โดยมอบไว้แก่สหกรณ์เป็นหลักฐาน ถ้าสมาชิกสมทบประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้ว ก็ต้องทำเป็น หนังสือตามลักษณะดังกล่าวในวรรคก่อนมอบให้สหกรณ์ถือไว้ เมื่อสมาชิกสมทบตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบ และสหกรณ์จะ จ่ายเงินค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินผลประโยชน์หรือเงินอื่นในบรรดาที่สมาชิกสมทบผู้ตายมี อยู่ในสหกรณ์ให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 103 พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ตามข้อกำหนดในข้อ ๖๒ วรรคแรกและข้อ ๖๓ ให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปีนับ แต่วันที่สมาชิกสมทบตายหรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่า สมาชิกสมทบนั้นๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและ อนุมัติแล้ว สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำ ขอรับเงินผลประโยชน์ หรือผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนประโยชน์ที่สมาชิกสมทบได้จัดทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวอยู่ก็ดี เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องคดีให้สหกรณ์โอนจำนวนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นเงินทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น ข้อ ๖๒ การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกสมทบที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดสมาชิก ภาพเพราะเหตุตามข้อ ๕๗ (๑) (๒) (๔) และ (๕) นั้นสหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกสมทบมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกสมทบซึ่งออกเพราะเหตุอื่น พร้อมด้วยเงินปันผลและ เงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิ ได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืน หลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออก โดยได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วย ในเมื่อที่ประชุมใหญ่มี มติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้สุดแต่จะเลือก ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตาม ระเบียบของสหกรณ์ ถ้าในปีใด จำนวนค่าหุ้นที่ถอนคืนเนื่องจากสมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือน หุ้นของสหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันต้นปีนั้น คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้รอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาด จากสมาชิกภาพรายต่อไปในปีนั้นไว้จนถึงปีทางบัญชีใหม่ ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ ๕๗ (๓) สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ตามกฎหมาย ล้มละลาย ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ ๕๗ (๖) (๗) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้นเงินปัน ผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร โดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนตั้งแต่ประจำปีที่ออกจากสหกรณ์ หรือหากสมาชิกสมทบขอให้จ่ายค่าหุ้นภายใน หลังวันสิ้นปี โดยขอรับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนในปีนั้นภายหลังที่ที่ประชุมใหญ่ได้พิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปีก็ได้ ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะให้ตามระเบียบของสหกรณ์ ในกรณีสหกรณ์ขาดทุนสะสมหรือมีแนวโน้มจะขาดทุนสะสม ให้ชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นแก่สมาชิกสมทบ ที่พ้นจากสมาชิกภาพในระหว่างปีจนกว่าจะปิดบัญชีประจำปี และให้คำนวณเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นที่จะจ่ายคืนแก่
104 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 สมาชิก โดยนำทุนเรือนหุ้นทั้งหมดหักด้วยขาดทุนสะสมคงเหลือและหนี้สินทั้งสิ้น แล้วนำมาเฉลี่ยโดยใช้จำนวนหุ้น ทั้งสิ้นเป็นฐานในการคำนวณ เมื่อสหกรณ์มีการคำนวณมูลค่าเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นแล้ว ในปีต่อๆไป สหกรณ์ต้องคำนวณมูลค่าเงินค่า หุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นให้เป็นปีปัจจุบันทุกปี และมูลค่าดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่ามูลค่าต่อหุ้น ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จนกว่าสหกรณ์ไม่มียอดขาดทุนสะสม ข้อ ๖๓ การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิก สมทบตามข้อ ๖๒ นั้น ให้สหกรณ์หักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์ออกก่อน ข้อ ๖๔ การถอนชื่อสมาชิกสมทบออกจากทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกสมทบออกจากสหกรณ์ไม่ว่า เพราะเหตุใด ให้คณะกรรมการดำเนินการถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก หมวด ๗ การประชุมใหญ่ ข้อ ๖๕ การประชุมใหญ่สามัญ ให้สหกรณ์จัดประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้ง ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับ แต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ข้อ ๖๖ การประชุมใหญ่วิสามัญ สหกรณ์สามารถจัดการประชุมใหญ่วิสามัญได้ด้วยเหตุดังนี้ (๑) คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร (๒) นายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ (๓) สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว เพื่อพิจารณาแผนปรับปรุงการดำเนินงาน และต้องเรียกโดยไม่ชักช้า แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ทราบ (๔) สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน หรือผู้แทน สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ คณะกรรมการดำเนินการต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับ คำร้องขอ ถ้า คณะกรรมการดำเนินการไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสหกรณ์มี อำนาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร ข้อ ๖๗ การประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก กรณีที่สหกรณ์มีสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคน ให้การประชุมใหญ่ ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกเท่านั้น ข้อ ๖๘ การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้แทนสมาชิก (๑) สมาชิกเท่านั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนสมาชิก (๒) การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกคราวหนึ่งๆ ให้กระทำในที่ประชุมกลุ่มก่อนการประชุมใหญ่สามัญของ สหกรณ์ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่ม หรือตัวแทนกลุ่มแจ้งรายชื่อผู้แทนสมาชิกใน กลุ่มของตนต่อสหกรณ์โดยมิชักช้า
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 105 (๓) ให้ที่ประชุมกลุ่มดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก โดยอัตราส่วนจำนวนสมาชิก ๒๐ คน ต่อผู้แทน สมาชิกหนึ่งคน ถ้าเศษของอัตราส่วนดังกล่าวเกินกึ่งให้เลือกตั้งผู้แทนสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ในจำนวนนี้ให้ ประธานกลุ่ม (ถ้ามี) เป็นผู้แทนสมาชิกโดยตำแหน่ง โดยให้นับรวมอยู่ในจำนวนผู้แทนสมาชิกที่กลุ่มพึงเลือกตั้งได้ อนึ่ง จำนวนผู้แทนสมาชิกจะมีน้อยกว่าหนึ่งร้อยคนไม่ได้ (๔) ให้ผู้แทนสมาชิก อยู่ในตำแหน่งคราวละหนึ่งปีทางบัญชีของสหกรณ์ ถ้ายังไม่มีการเลือกตั้งผู้แทน สมาชิกใหม่ ก็ให้ผู้แทนสมาชิกเดิมอยู่ในตำแหน่งต่อไปพลางก่อน ข้อ ๖๙ การพ้นจากตำแหน่ง ผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบวาระหรือมีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกใหม่ (๒) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนสังกัด (๓) ออกจากกลุ่มที่ตนสังกัด (๔) ขาดจากสมาชิกภาพ (๕) ที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนสังกัดลงมติถอดถอน ข้อ ๗๐ ตำแหน่งผู้แทนสมาชิกว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วย ประการใดๆ จนทำให้ผู้แทนสมาชิกเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยคนหรือเหลือไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมด ก็ให้ที่ประชุมกลุ่มดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามจำนวนที่ว่างลง และให้ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือก ตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนนั้นชอบจะอยู่ได้ ข้อ ๗๑ การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ เมื่อมีการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งวัน เวลา สถานที่ และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้าการประชุม นั้นเป็นการด่วน อาจแจ้งล่วงหน้าได้ตามสมควร และอาจแจ้งสมาชิกให้ทราบทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ให้ประธาน กรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ เป็นผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น และต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบล่วงหน้า ในโอกาสเดียวกันกับที่แจ้งให้สมาชิกหรือผู้แทน สมาชิกทราบด้วย ข้อ ๗๒ องค์ประชุมในการประชุมใหญ่การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ในกรณีเป็นการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก ต้องมี ผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจึงจะเป็น องค์ประชุม ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก สมาชิกทั่วไปสามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ฐานะผู้สังเกตการณ์ได้ แต่ ไม่มีสิทธิออกเสียงและแสดงความคิดเห็นหรือได้รับการเลือกตั้งใดๆ ทั้งสิ้น ในการประชุมใหญ่ สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนไม่ได้ ข้อ ๗๓ การเรียกประชุมใหญ่ครั้งที่สอง ในการประชุมใหญ่ของสหกรณ์ ถ้าสมาชิก หรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่ กรณีมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามข้อ ๗๒ วรรคแรก ให้นัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัด
106 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 ประชุมใหญ่ครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลังนี้ถ้ามิใช่การประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้ เรียกประชุม เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณีมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกหรือ ผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า สามสิบคนก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิก หรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมมีจำนวนไม่ถึงที่จะเป็นองค์ ประชุมตามที่กล่าวในข้อ ๗๒ วรรคแรก ก็ให้งดประชุม ข้อ ๗๔ อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการดำเนิน กิจการของสหกรณ์ ในข้อต่อไปนี้ (๑) รับทราบเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ สมาชิกออกจากสหกรณ์ การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก และวินิจฉัยข้อ อุทธรณ์ของผู้สมัครซึ่งมิได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก และสมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์ (๒) เลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการหรือถอดถอนคณะกรรมการดำเนินการและผู้ตรวจสอบ กิจการของสหกรณ์ (๓) อนุมัติงบการเงินประจำปี และจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ (๔) รับทราบรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ จากคณะกรรมการดำเนินการ และผล การตรวจสอบประจำปีจากผู้ตรวจสอบกิจการ (๕) กำหนดค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่หรือค่าตอบแทนอื่นของผู้ตรวจสอบกิจการ (๖) กำหนดวงเงินซึ่งสหกรณ์อาจกู้ยืมหรือค้ำประกัน (๗) อนุมัติแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์หรือแผนปรับปรุงการดำเนินงานของ สหกรณ์หรือแผนและวงเงินการจ่ายคืนค่าหุ้นบางส่วนระหว่างเป็นสมาชิก (๘) กำหนดค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก และค่าเบี้ยประชุมของกรรมการดำเนินการ กรรมการอื่น ๆ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา (๙) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ (๑๐) เห็นชอบให้แยกสหกรณ์ ควบสหกรณ์ เลิกสหกรณ์ เข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ (๑๑) รับทราบเรื่องการดำเนินงานของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และชุมนุมสหกรณ์ที่สหกรณ์นี้ เป็นสมาชิกอยู่ (๑๒) พิเคราะห์และปฏิบัติตามคำสั่งหรือหนังสือหรือคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียน สหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย (๑๓) กำหนดรูปการซึ่งสหกรณ์คิดจะทำเป็นเครื่องเกื้อหนุนบรรดาสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ (๑๔) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องทั้งปวงที่ข้อบังคับไม่ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของผู้ใดเป็นการเฉพาะ
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 107 หมวด ๘ คณะกรรมการดำเนินการและคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการ ข้อ ๗๕ คณะกรรมการดำเนินการ ให้สหกรณ์ มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธาน กรรมการหนึ่งคน และกรรมการดำเนินการอีกสิบสี่คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก โดยกรรมการอย่างน้อย หนึ่งคน ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชี การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์ หรือผ่านการฝึกอบรมตาม หลักสูตรในด้านดังกล่าวหรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด การเลือกตั้งกรรมการตามวรรคแรกให้กระทำโดยวิธีการเปิดเผย และให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งใน ระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน เลขานุการคนหนึ่ง และเหรัญญิกคน หนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ สำนักงานสหกรณ์ หรือประกาศทาง อิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๗๖ ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการดำเนินการ (๑) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๒) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชนฐาน ทุจริตต่อหน้าที่ (๓) เคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตาม คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ (๔) เคยถูกที่ประชุมใหญ่ มีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งกรรมการเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ (๕) เป็นเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์นี้ (๖) เป็นกรรมการหรือผู้จัดการในสหกรณ์ถูกสั่งเลิกตามมาตรา ๘๙/๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๗) ผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยกับสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกในระยะเวลาสองปีทางบัญชีก่อนวันที่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการหรือวันที่ทำสัญญาจ้างเป็นผู้จัดการหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น (๘) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของผู้ให้บริการทางการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน ดังกล่าว เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กำหนดห้ามดำรงตำแหน่งดังกล่าวแล้วหรือได้รับการยกเว้นจากหน่วยงานกำกับ ดูแล แล้วแต่กรณี (๙) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจการใด ๆ อันผิดกฎหมายที่มีลักษณะ เป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือฉ้อโกงประชาชน
108 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๑๐) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๑๑) เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์อื่น เว้นแต่เป็นกรรมการของชุมนุมสหกรณ์ที่สหกรณ์นั้น เป็นสมาชิกอยู่ได้อีกไม่เกินหนึ่งแห่ง (๑๒) เป็นกรรมการของสหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์นั้นไม่เกินหนึ่งปี หรือเป็นผู้จัดการ สหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสหกรณ์นั้นไม่เกินหนึ่งปี แล้วแต่กรณี (๑๓) ผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าเก้าสิบวันกับนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูล เครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น กรรมการหรือวันที่ทำสัญญาจ้างเป็นผู้จัดการหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น (๑๔) ผู้ซึ่งถูกสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกหรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ฟ้องดำเนินคดีในทางแพ่งหรือทาง อาญาในข้อกล่าวหาที่กระทำให้สหกรณ์เสียหาย หรือเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่สหกรณ์ใน การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ข้อ ๗๗ อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง (ก) ประธานกรรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมในคณะกรรมการดำเนินการ และควบคุมการประชุม ดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๒) ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่ในวัตถุประสงค์ ของสหกรณ์ (๓) ลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (๔) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ (ข) รองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่ อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง (๒) ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้ (๓) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ (ค) เลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำรายงานการประชุมใหญ่และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการทุกครั้ง (๒) ดูแลรักษาเอกสาร และรายงานการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ (๓) แจ้งนัดไปยังบรรดาสมาชิก หรือกรรมการดำเนินการ แล้วแต่กรณี (๔) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 109 ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ (ง) เหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่ายและการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็นไปโดย ถูกต้องเรียบร้อย (๒) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ ข้อ ๗๘ กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี นับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่ง เป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับฉลาก (ถ้ามีเศษให้ปัดขึ้น) และให้ถือว่าเป็น การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ในปีต่อไปให้กรรมการดำเนินการที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ หรืออยู่นานที่สุด ออก จากตำแหน่งสลับกันไปทุกๆ ปี เมื่อครบกำหนดแล้ว หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการ ชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่ วันสิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์ กรรมการดำเนินการสหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งซ้ำอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระ ติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ใน ตำแหน่งได้เช่นเดียวกับกรรมการดำเนินการชุดแรก และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗๙ การพ้นจากตำแหน่ง กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ถึงคราวออกตามวาระ (๒) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ หรือลาออกต่อที่ประชุม ใหญ่ของสหกรณ์ (๓) ขาดจากสมาชิกภาพ (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗๖ (๕) ตกเป็นผู้ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลาถึงสองเดือน (๖) ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนทั้งคณะ หรือรายบุคคล (๗) นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้ออกทั้งคณะ หรือรายบุคคล (๘) ขาดประชุมคณะกรรมการดำเนินการติดต่อกันสามครั้ง โดยไม่มีเหตุอันควร ให้กรรมการดำเนินการผู้มีส่วนได้เสียตาม (๗) อุทธรณ์ต่อ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
110 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่า กรรมการดำเนินการมีเหตุตาม (๘)และได้ลงมติ โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ทั้งหมดในขณะนั้นยกเว้นผู้มีส่วน ได้เสีย ก็เป็นอันถือว่ากรรมการดำเนินการรายนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้ง คณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการชุดแรก ข้อ ๘๐ ตำแหน่งว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออก ตามวาระ (เว้นแต่เพราะเหตุตามข้อ ๗๙ (๗)) ให้กรรมการดำเนินการที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ดำเนินการต่อไปจนกว่า จะมีการประชุมใหญ่ ซึ่งจะได้มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการแทนตำแหน่งที่ว่าง แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการ ดำเนินการลดลงจนเหลือน้อยกว่าองค์ประชุม กรรมการดำเนินการที่ดำรงตำแหน่งอยู่จะประชุมดำเนินการใดๆ ไม่ได้ นอกจากต้องนัดเรียกให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นโดยเร็วเฉพาะการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการแทน ตำแหน่งที่ว่างลง ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระตามความในวรรคก่อนนั้นเป็น ตำแหน่งประธานกรรมการ หากมิได้มีรองประธานกรรมการทำหน้าที่แทนและยังมิได้มีการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้งใหม่ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาเลือกตั้งกรรมการดำเนินการอื่นขึ้นทำหน้าที่แทนชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ กรรมการดำเนินการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งขึ้นแทนในตำแหน่งที่ว่าง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่ กำหนดเวลาที่ซึ่งตนแทนนั้นชอบที่จะอยู่ได้ ข้อ ๘๑ การประชุมและองค์ประชุม ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระแต่ต้องมีการ ประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย ให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือเลขานุการ เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ ใน กรณีที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องสำคัญอื่นๆ ของสหกรณ์ให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบด้วยทุกคราว ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ต้องมีกรรมการดำเนินการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการดำเนินการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อ ๘๒ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ทั้งปวงของสหกรณ์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ กับทั้งในทางอันจะทำให้ เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) พิจารณาในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์ (๒) พิจารณาในเรื่องการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงิน การให้เงินกู้ และการฝากหรือลงทุนของสหกรณ์ (๓) พิจารณาดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ดังระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 111 (๔) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะ ส่วนตัว (๕) กำหนดระเบียบต่าง ๆ ของสหกรณ์ (๖) กำหนดและดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ การเสนองบการเงินประจำปีและรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ (๗) เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ (๘) เสนอแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือแผนปรับปรุงการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้ที่ ประชุมใหญ่อนุมัติ (๙) เสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาให้สหกรณ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกและออกจากการเป็นสมาชิกชุมนุม สหกรณ์ และองค์การอื่น (๑๐)พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้แก่ประธานกรรมการ รองประธาน กรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก ผู้จัดการและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสม (๑๑) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการอื่น หรือคณะอนุกรรมการ หรือ คณะทำงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ (๑๒) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้ง หรือจ้าง และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จัดการ ตลอดจนควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของผู้จัดการให้เป็นการถูกต้อง (๑๓) พิจารณากำหนดตัวเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการ (๑๔) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ตรวจสอบภายใน (๑๕) เชิญบุคคลภายนอกที่เห็นสมควรเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์ ตลอดจนกำหนดค่าตอบแทนให้ ตามที่เห็นสมควร (๑๖) จัดให้มีและดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียน สมุดบัญชีเอกสารต่าง ๆ และบรรดาอุปกรณ์ ดำเนินงานของสหกรณ์ (๑๗) พิจารณารายงานของคณะกรรมการอื่น คณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ความเห็นของ ผู้จัดการและสมาชิกเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ (๑๘) พิเคราะห์และปฏิบัติตามหนังสือของนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการ สหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย (๑๙) พิจารณาให้ความเที่ยงธรรมแก่บรรดาสมาชิก เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ตลอดจนสอดส่องดูแล โดยทั่วไปเพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไปด้วยดี (๒๐) ฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือประนีประนอมยอมความ หรือมอบ ข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด
112 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๒๑) พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนสหกรณ์เพื่อเข้าประชุมและออกเสียงในการประชุมใหญ่ของสันนิบาต สหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ และองค์กรอื่นซึ่งสหกรณ์นี้เป็นสมาชิก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่ข้อบังคับของ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ และองค์การนั้นกำหนดไว้ ข้อ ๘๓ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการ ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ กระทำการ หรืองดเว้นการกระทำการ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสีย ผลประโยชน์ของสหกรณ์ หรือสมาชิก อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการ หรือฐานะการเงิน ตามรายงานการสอบบัญชี หรือรายงานการตรวจสอบ เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์ คณะกรรมการอื่น ข้อ ๘๔ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการอำนวยการจำนวนห้าคน โดยให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการของคณะกรรมการดำเนินการเป็น กรรมการอำนวยการ และให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการอื่นเป็นกรรมการร่วมอีกตามสมควร ให้ประธานกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ เป็นประธานและเลขานุการคณะกรรมการ อำนวยการ ตามลำดับ คณะกรรมการอำนวยการให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการซึ่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการนั้น ให้คณะกรรมการอำนวยการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ และให้ประธานกรรมการอำนวยการ หรือ เลขานุการนัดเรียกประชุมได้ ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ต้องมีกรรมการอำนวยการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการอำนวยการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ ข้อ ๘๕ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน คณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) ควบคุมในเรื่องการรับเงิน การจ่ายเงิน การสะสมเงิน การฝากหรือการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตาม ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ (๒) ควบคุมการจัดทำบัญชี และทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันเสมอ (๓) ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่างๆ ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดี และปลอดภัย และพร้อมที่จะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที (๔) เสนอแนะคณะกรรมการดำเนินการในการปรับปรุง หรือแก้ไขการบริหารงานของสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 113 (๕) ควบคุมดูแลการจัดทำงบการเงินประจำปีรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานประจำปีแสดงผล การดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (๖) พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการเสนอให้ที่ ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติ (๗) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ พิจารณา และเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (๘) ทำนิติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย ข้อ ๘๖ คณะกรรมการเงินกู้คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการเงินกู้จากคณะกรรมการ ดำเนินการ จำนวนห้าคน โดยให้มีตำแหน่งประธานกรรมการคนหนึ่ง และเลขานุการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ คณะกรรมการเงินกู้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ ซึ่งตั้งคณะกรรมการ เงินกู้นั้น ให้คณะกรรมการเงินกู้ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย และให้ประธานกรรมการเงินกู้ หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้ ในการประชุมคณะกรรมการเงินกู้ ต้องมีกรรมการเงินกู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ เงินกู้ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมคราว ถัดไป ข้อ ๘๗ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเงินกู้ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัย อนุมัติการให้เงินกู้แก่สมาชิกตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์รวมทั้งข้อต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น (๒) ตรวจสอบการควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ และเมื่อเห็น ว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่อง ก็ต้องกำหนดให้ผู้กู้จัดการแก้ไขให้คืนดี ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๓) ดูแลและติดตามการชำระหนี้ของสมาชิกผู้กู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา (๔) รายงานและสอบสวนเบื้องต้นให้ได้ข้อความจริง ในกรณีสมาชิกผู้กู้ขอผ่อนเวลาการส่งเงินงวด ชำระหนี้เงินกู้ หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ เพื่อเสนอความเห็นให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผัน หรือเรียกคืนเงินกู้ หรือสอบสวนลงโทษให้สมาชิกออกจากสหกรณ์หรือพิจารณาว่าตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามข้อ ๗๖ (๖) โดยจะต้องรายงานเป็นประจำทุกเดือน ข้อ ๘๘ คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการศึกษาและ ประชาสัมพันธ์จากคณะกรรมการดำเนินการ จำนวนห้าคน โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และ เลขานุการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ
114 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าที่กำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ ซึ่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์นั้น ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์นั้นประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือน ละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย และให้ประธานกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้ ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของ กรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการทราบในการ ประชุมคราวถัดไป ข้อ ๘๙ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้คณะกรรมการศึกษาและ ประชาสัมพันธ์มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ในส่วนที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก โดยให้การศึกษาและอบรมแก่สมาชิก และผู้ที่สนใจให้ ทราบถึงเจตนารมณ์ หลักวิธีการ การบริหารงานของสหกรณ์ (๒) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับลักษณะ ประโยชน์ รวมทั้งผลงานของสหกรณ์ ให้สมาชิก และบุคคลภายนอกรับทราบ (๓) ดำเนินการในการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิก (๔) ให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่แก่สมาชิกถึงวิธีการออมทรัพย์ และการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ ตลอดจนวิชาการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ (๕) ศึกษาและติดตามข่าวความเคลื่อนไหวด้านการดำเนินงานของสหกรณ์อื่นทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำตัวอย่างที่ดีมาเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณานำมาบริการแก่สมาชิกตามความเหมาะสม คณะอนุกรรมการ ข้อ ๙๐ คณะอนุกรรมการ ในกรณีจำเป็นแก่การดำเนินงาน คณะกรรมการดำเนินการอาจมีคำสั่งแต่งตั้ง อนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจของสหกรณ์ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ กำหนด คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เป็นที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการและให้ถือว่าที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ ข้อ ๙๑ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ ดำเนินการเป็นคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงจำนวนห้าคน โดยให้มีตำแหน่งประธานอนุกรรมการคนหนึ่งและ เลขานุการคณะอนุกรรมการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นอนุกรรมการ กรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการได้
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 115 ข้อ ๙๒ อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ให้คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงมี อำนาจและหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง รวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ พิจารณา โดยครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆ เช่น ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ การลงทุน สภาพคล่อง ปฏิบัติการ และด้านอื่นๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติ (๒) มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่ คณะกรรมการดำเนินการกำหนด (๓) ประเมิน ติดตาม กำกับดูแล และทบทวนความเพียงพอของนโยบายเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้กระบวนการบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (๔) รายงานแผนดำเนินงานที่ควรปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนปัจจัยและปัญหาที่มีนัยสำคัญให้แก่ คณะกรรมการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์ (๕) กำกับดูแลเรื่องธรรมาภิบาลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง (๖) รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการและต่อที่ประชุมใหญ่ทราบโดยแสดง รายละเอียดในรายงานประจำปี (๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย ข้อ ๙๓ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการการลงทุน ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ ดำเนินการเป็นคณะอนุกรรมการการลงทุนจำนวนห้าคน และต้องไม่มีกรรมการดำเนินการที่เป็นคณะอนุกรรมการ บริหารความเสี่ยงเป็นอนุกรรมการด้วย โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานอนุกรรมการคนหนึ่งและเลขานุการ คณะอนุกรรมการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นอนุกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการได้ ข้อ ๙๔ อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการลงทุน ให้คณะอนุกรรมการการลงทุนมีอำนาจและหน้าที่ ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายและแผนเกี่ยวกับการลงทุนประจำปีให้สอดคล้องกับนโยบาย ด้านการบริหารความเสี่ยงโดยรวม และเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเพื่อเสนอให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (๒) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนและแผนจัดการการลงทุน ภายใต้ขอบเขตที่คณะกรรมการ ดำเนินการกำหนด (๓) ประเมิน ติดตาม และกำกับดูแลผลประโยชน์จากการลงทุน และจัดให้มีการควบคุมภายในที่ เหมาะสม (๔) กำกับดูแลเรื่องธรรมาภิบาลเกี่ยวกับการลงทุน
116 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๕) รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการทราบและรายงานผลการปฏิบัติงานให้ที่ ประชุมใหญ่ทราบในรายงานประจำปี (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย ประธานในที่ประชุม ข้อ ๙๕ ประธานในที่ประชุม ในการประชุมใหญ่หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ให้ประธาน กรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ก็ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม และถ้ารองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมด้วย ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการดำเนินการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น ในการประชุมคณะกรรมการอื่นหรือคณะอนุกรรมการ เช่น คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการเงินกู้ คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้ประธานของคณะกรรมการนั้นๆ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน กรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น ในการประชุมกลุ่ม ให้ประธานของกลุ่มหรือเลขานุการของกลุ่ม เป็นประธานในที่ประชุมตามลำดับ แต่ถ้า ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกซึ่งเข้าประชุมคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานใน ที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น ในการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติถอดถอน คณะกรรมการดำเนินการทั้งคณะหรือตำแหน่งประธานกรรมการ ให้ผู้ตรวจสอบกิจการเป็นประธานในที่ประชุม การออกเสียงและการวินิจฉัยปัญหาในที่ประชุม ข้อ ๙๖ การออกเสียง สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนออกเสียงใน ที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมกลุ่มสุดแต่กรณี ได้เพียงคนละหนึ่งเสียง จะมอบให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงแทนตน ไม่ได้ ถ้าปัญหาซึ่งที่ประชุมวินิจฉัยนั้น ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเฉพาะตัว ผู้นั้นจะออกเสียงในเรื่องนั้นไม่ได้ ข้อ ๙๗ การวินิจฉัยปัญหา การวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ หรือที่ประชุมคณะกรรมการอื่นๆ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออก เสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรือผู้แทน สมาชิกซึ่งมาประชุม (๑) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ (๒) การเลิกสหกรณ์ (๓) การควบสหกรณ์ (๔) การแยกสหกรณ์ การอื่นใดที่ข้อบังคับนี้กำหนดการลงคะแนนเสียงไว้เป็นการเฉพาะ ก็ให้ถือปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนดนั้น
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 117 ถ้าในปัญหาซึ่งที่ประชุมวินิจฉัยนั้น ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเฉพาะตัว ผู้นั้นจะออกเสียงในเรื่องนั้นไม่ได้ รายงานการประชุม ข้อ ๙๘ รายงานการประชุม ในการประชุมใหญ่ การประชุมกลุ่ม การประชุมคณะกรรมการดำเนินการหรือ การประชุมกรรมการอื่นๆ นั้น ต้องจัดให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งบันทึกเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยทั้งสิ้นไว้ใน รายงานการประชุม และให้ประธานในที่ประชุมกับกรรมการดำเนินการ หรือกรรมการอื่นๆ แล้วแต่กรณี อีกคนหนึ่ง ที่เข้าประชุมนั้นๆ ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายในไม่เกินสามสิบวัน หมวด ๙ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ข้อ ๙๙ การจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคล ที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗๖ ยกเว้น (๕) หรือเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์หรือเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และใน การจ้างผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐานและให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มี หลักประกันให้เป็นไปตามกฎหมาย ในการแต่งตั้งหรือจ้างผู้จัดการ ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้ในข้อ ๑๐๑ เป็นลายลักษณ์อักษร ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก การแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือน การให้สวัสดิการ และการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์ ข้อ ๑๐๐ การดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์สหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการสหกรณ์ โดยกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือไม่กำหนดระยะเวลาจ้างก็ได้ ข้อ ๑๐๑ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและ รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลง ลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับสหกรณ์ (๒) ควบคุมให้มีการเก็บเงินค่าหุ้นรายเดือน แจ้งยอดจำนวนหุ้น จ่ายคืนค่าหุ้นและชักชวนการถือหุ้นใน สหกรณ์ (๓) รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และส่งเสริมการรับฝากเงินของสหกรณ์ (๔) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้ จ่ายเงินกู้ จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้ ให้เป็นไปตามแบบและ ระเบียบของสหกรณ์
118 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๕) จัดทำรายละเอียดของสมาชิกรายตัวเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น และเงินให้กู้ทุกหกเดือน พร้อมกับแจ้งให้ สมาชิกทราบเป็นรายบุคคล อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๖) พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึง กำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ ดูแล วิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย (๗) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วนรับผิดชอบใน การับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ (๘) รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็น ปัจจุบัน (๙) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ (๑๐) รับผิดชอบจัดทำงบการเงินประจำปี และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (๑๑) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ เสนอคณะกรรมการดำเนินการ พิจารณา เพื่อเสนอให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (๑๒) จัดทำแผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ (๑๓) เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุม คณะกรรมการอื่น ๆ เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้น ๆ มิให้เข้าร่วมประชุม (๑๔) ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์ (๑๕) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และความรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้อยู่ ในสภาพอันดีและปลอดภัย (๑๖) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ (๑๗) เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการ กำหนด (๑๘) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะ ส่วนตัว (๑๙) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่น ๆ ของสหกรณ์ มอบหมาย หรือตามที่ควรกระทำ เพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี ข้อ ๑๐๒ การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ ผู้จัดการของสหกรณ์ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 119 (๑) ตาย (๒) ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่ข้อบังคับและกฎหมาย สหกรณ์กำหนด (๔) อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง สุดแต่เงื่อนไขใดถึงกำหนดก่อน และให้ พ้นจากตำแหน่งในวันสิ้นปีทางบัญชีที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ (๕) ถูกเลิกจ้าง (๖) ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออก หรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ หรือ ละเว้นการกระทำใดๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน หรือไม่เหมาะสมกับ ตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ ข้อ ๑๐๓ การลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ให้ผู้จัดการสหกรณ์ยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่ น้อยกว่าสามสิบวัน และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์พิจารณาการลาออกนั้น การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการสหกรณ์กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๑๐๔ การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและ แต่งตั้งผู้จัดการ หรือสหกรณ์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้ ให้คณะกรรมการ ดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่งตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน ๕ ปี ข้อ ๑๐๕ การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลง และยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรง ตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน ข้อ ๑๐๖ การเปลี่ยนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน ตลอดจนจัดทำงบการเงิน ของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน ข้อ ๑๐๗ เจ้าหน้าที่สหกรณ์นอกจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว สหกรณ์อาจจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่นตาม ความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามข้อ ๗๖ ยกเว้น (๕) หรือเป็นที่ ปรึกษาสหกรณ์หรือเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ทั้งนี้ ตามระเบียบของสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ กำหนด หมวด ๑๐ ที่ปรึกษา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และผู้ตรวจสอบกิจการ ข้อ ๑๐๘ ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่ง ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความสามารถและเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์ จำนวนไม่เกินห้าคน และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
120 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 ได้ จำนวนไม่เกินหนึ่งคน เพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ สหกรณ์กำหนด ผลประโยชน์และค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น ของผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ปรึกษาซึ่ง จะต้องได้รับให้อยู่ภายใต้งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ และจะต้องแสดงไว้ในรายงานประจำปี และเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ทราบเป็นรายบุคคล ผู้ตรวจสอบกิจการ ข้อ ๑๐๙ ผู้ตรวจสอบกิจการ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล และเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิความรู้ความสามารถในด้านการเงิน การบัญชี การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การสหกรณ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ และมีคุณสมบัติเป็นผู้ผ่านการ อบรม การตรวจสอบกิจการจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมตรวจ บัญชีสหกรณ์ รวมทั้งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ จำนวนหนึ่งคน หรือคณะผู้ตรวจสอบกิจการจำนวน สามคนต่อคณะ หรือหนึ่งนิติบุคคล กรณีเลือกคณะผู้ตรวจสอบกิจการ ให้มีประธานคณะหนึ่งคน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการตรวจสอบกิจการ และให้ประกาศชื่อประธานคณะผู้ตรวจสอบกิจการให้ที่ประชุมใหญ่ทราบด้วย ข้อ ๑๑๐ ขั้นตอนและวิธีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ ให้คณะกรรมการดำเนินการประกาศขั้นตอนและ วิธีการเลือกตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สมาชิกทราบก่อนวันประชุมใหญ่ และให้ประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการ เลือกตั้งเป็นผู้ตรวจสอบกิจการก่อนวันประชุมใหญ่ และพิจารณาคัดเลือกผู้ตรวจสอบกิจการที่มีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เพื่อนำเสนอชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเสนอให้ ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งตามประกาศ โดยผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้ตรวจสอบกิจการต้องแสดงตนต่อที่ประชุม ใหญ่ด้วย และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ หากมีคะแนนเท่ากันให้ประธานออกเสียงเพิ่ม อีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งลำดับคะแนนรองลงมาเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสำรอง จำนวน หนึ่งคน หรือ คณะผู้ตรวจสอบกิจการจำนวน สามคนต่อคณะหรือ หนึ่งนิติบุคคล กรณีมีผู้ตรวจสอบกิจการคนใดต้องขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการตามข้อ ๑๑๒ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ให้ผู้ตรวจสอบกิจการสำรองเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน หรือจนกว่าจะมีการ เลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการใหม่ ข้อ ๑๑๑ การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินคราวละหนึ่งปี ทางบัญชีสหกรณ์ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการ คนเดิมปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าที่ประชุมใหญ่มีมติเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ผู้ตรวจสอบกิจการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจจะได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่อีกได้แต่ต้องไม่เกินสอง วาระติดต่อกัน
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 121 กรณีผู้ตรวจสอบกิจการขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการก่อนครบวาระ ให้กำหนดระเบียบวาระการ ประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ในคราวประชุมใหญ่ครั้งแรกหลังจากผู้ตรวจสอบกิจการคนนั้น ขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ และนับวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนต่อเนื่องจากผู้ที่ตนมาดำรงตำแหน่ง ข้อ ๑๑๒ การขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการต้องขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบ กิจการเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) พ้นจากตำแหน่งตามวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก โดยแสดงเหตุผลเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการดำเนินการและให้มีผลวันที่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีมติรับทราบ (๔) ที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ลงมติถอดถอนผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติ บุคคล ออกจากตำแหน่งทั้งคณะหรือรายบุคคล (๕) อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์วินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนาย ทะเบียนสหกรณ์กำหนด ข้อ ๑๑๓ อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงาน ทั้งปวงของสหกรณ์ ทั้งด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และด้านปฏิบัติการในการดำเนินธุรกิจตามที่ กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ รวมทั้งการประเมินผลการควบคุมภายใน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สารสนเทศของสหกรณ์ และการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามแบบและรายการที่นายทะเบียน สหกรณ์กำหนด (๒) ประเมินความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินการของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อให้ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ (๓) สอบทานระบบการปฏิบัติงานของสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ รวมทั้งคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงาน ตรวจบัญชีสหกรณ์ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ (๔) ตรวจสอบและสอบทานระบบการควบคุม ดูแลรักษาทรัพย์สินของสหกรณ์ วิเคราะห์และประเมิน ความมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพย์สินของสหกรณ์ เพื่อให้การใช้ทรัพย์สินเป็นไปอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า (๕) ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในการพิจารณาแก้ไข ข้อสังเกตหรือ ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือ ผู้สอบบัญชี (๖) กำหนดขอบเขตการตรวจสอบและเสนอรายงานผลการตรวจสอบเฉพาะด้านในเรื่องดังต่อไปนี้
122 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๖.๑) ตรวจสอบรายงานทางการเงิน ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงานผลการ ตรวจสอบเกี่ยวกับการเปิดเผยรายการในงบการเงินของสหกรณ์เป็นไปโดยถูกต้อง และได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำแนะนำ แนวปฏิบัติที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ตรวจสอบการจัดทำรายการย่อแสดง สินทรัพย์และหนี้สินครบถ้วนและได้เปิดเผยให้สมาชิกได้รับทราบเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งได้มีการจัดส่งข้อมูล รายงานทางการเงินตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวง (๖.๒) ตรวจสอบการบริหารความเสี่ยง ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบการวางกลยุทธ์ด้าน การบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง และเสนอรายงานผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการ กำหนดนโยบายและการวางกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงด้านสินเชื่อความเสี่ยงด้านการลงทุน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ เป็นต้น เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เป็นไป ตามนโยบายที่กำหนดไว้ (๖.๓) ตรวจสอบการบริหารด้านสินเชื่อ ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงานผล การตรวจสอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อประเภทต่าง ๆ ของสหกรณ์เป็นไปตามนโยบายด้านสินเชื่อที่วางไว้ สามารถ ประเมิน ติดตามและดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดในสัญญา ตรวจสอบการวางกลยุทธ์และระบบปฏิบัติการเป็นไปตามนโยบายด้านสินเชื่อและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง (๖.๔) ตรวจสอบการบริหารด้านการลงทุน ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงาน ผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านการลงทุน การลงทุนของสหกรณ์ต้องอยู่ภายใต้นโยบายที่กำหนด และเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ และได้ดำเนินการภายใต้เกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง (๖.๕) ตรวจสอบการบริหารสภาพคล่อง ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงานผล การตรวจสอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายหรือแผนงานในการควบคุมการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของ สหกรณ์ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีพบการทุจริต การขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญ ในระบบการควบคุมภายใน การฝ่าฝืนกฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งนาย ทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้ตรวจสอบกิจการต้องเปิดเผยไว้ในรายงานผลการตรวจสอบกิจการและนำเสนอ ต่อที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และที่ประชุมใหญ่ ข้อ ๑๑๔ การรายงานผลการตรวจสอบ ให้ผู้ตรวจสอบกิจการมีหน้าที่รายงานผลการตรวจสอบ เป็นลาย ลักษณ์อักษรประจำเดือนและประจำปี เพื่อสรุปผลการตรวจสอบ รวมทั้งข้อสังเกตข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบประจำเดือนที่ผ่านมาเข้าร่วมประชุมใหญ่เพื่อ รายงานผลการตรวจสอบประจำปีเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ด้วย กรณีพบว่ามีเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มีการปฏิบัติไม่ เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศหรือคำแนะนำของทางราชการ รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ มติที่ประชุม
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 123 หรือคำสั่งของสหกรณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกหรือสหกรณ์อย่างร้ายแรง ให้แจ้งผลการตรวจสอบ กิจการต่อคณะกรรมการดำเนินการทันทีเพื่อดำเนินการแก้ไข และให้จัดส่งสำเนารายงานดังกล่าวต่อสำนักงานตรวจ บัญชีสหกรณ์ และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดโดยเร็ว ให้ผู้ตรวจสอบกิจการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ข้อสังเกต และให้รายงานผลการติดตามการ แก้ไขข้อบกพร่อง ข้อสังเกตของสหกรณ์ไว้ในรายงานผลการตรวจสอบกิจการด้วย ข้อ ๑๑๕ ความรับผิดของผู้ตรวจสอบกิจการ กรณีผู้ตรวจสอบกิจการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตาม อำนาจหน้าที่ หรือประพฤติผิดจริยธรรมในการปฏิบัติงานจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย ผู้ตรวจสอบกิจการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์ หรือหากตรวจพบข้อบกพร่องของสหกรณ์ต้องแจ้ง ให้คณะกรรมการดำเนินการทราบโดยเร็ว และผู้ตรวจสอบกิจการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอันจะเกิดแก่ สหกรณ์ด้วยเหตุไม่แจ้งนั้น การพิจารณาความรับผิดของผู้ตรวจสอบกิจการให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ ข้อ ๑๑๖ สหกรณ์มีหน้าที่ต่อผู้ตรวจสอบกิจการ ดังนี้ (๑) อำนวยความสะดวก ให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบกิจการ ในการให้คำชี้แจง ตอบข้อซักถาม ต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูล เอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบกิจการ (๒) กำหนดระเบียบวาระการประชุมให้ผู้ตรวจสอบกิจการรายงานผลการตรวจสอบกิจการ ประจำเดือนและจัดทำหนังสือเชิญให้ผู้ตรวจสอบกิจการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทุกครั้ง (๓) พิจารณาปฏิบัติตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบกิจการ เพื่อให้การดำเนิน กิจการของสหกรณ์เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของสหกรณ์ หมวด ๑๑ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ข้อ ๑๑๗ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) ต้องกำหนดในระเบียบวาระการประชุมใหญ่เป็นเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และให้แจ้งไปยังสมาชิก พร้อมหนังสือแจ้งระเบียบวาระการประชุมใหญ่ (๒) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะเสนอวาระแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้เมื่อมีการพิจารณาเรื่องที่ จะขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ โดยมติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้น ซึ่งมี กรรมการดำเนินการมาประชุมสามในสี่ของคณะกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ในขณะนั้น ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองใน สามของกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ในขณะนั้น กรณีที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการ ก่อนการประชุมใหญ่ไม่น้อย กว่าสามสิบวันให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับก็ย่อมทำได้ โดยต้องระบุข้อความที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นพร้อมด้วยเหตุผล
124 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 (๓) การพิจารณาวาระการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ให้กระทำได้แต่เฉพาะการประชุมใหญ่ ที่มีองค์ประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก หรือของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน แล้วแต่ กรณี (๔) ข้อความใดที่ที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว หากปรากฏว่าข้อความนั้นขัดกับกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงของสหกรณ์หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย นายทะเบียนสหกรณ์อาจแก้ไขข้อความนั้น แล้วรับจดทะเบียน (๕) ข้อบังคับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนแล้ว หากไม่ได้กำหนดระเบียบ หรือคำสั่งให้ สอดคล้องกัน ก็ให้นำความที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้วนั้นมาบังคับใช้ และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ หมวด ๑๒ ข้อเบ็ดเสร็จ ข้อ ๑๑๘ ระเบียบของสหกรณ์ ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่กำหนด ระเบียบต่างๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับนี้ และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของสหกรณ์รวมทั้ง ในข้อต่อไปนี้ (๑) ระเบียบว่าด้วยการรับเงินฝากจากสมาชิกสหกรณ์ (๒) ระเบียบว่าด้วยการรับเงินฝากจากสหกรณ์อื่น (๓) ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินจากสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ (๔) ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินจากหน่วยงานในกรมสรรพาวุธทหารเรือ (๕) ระเบียบว่าด้วยการให้กู้แก่สมาชิกสหกรณ์ (๖) ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่น (๗) ระเบียบว่าด้วยกลุ่มสมาชิก (๘) ระเบียบว่าด้วยการโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์ (๙) ระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน (๑๐) ระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (๑๑) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ (๑๒) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนรักษาระดับเงินปันผล (๑๓) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ (๑๔) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ (๑๕) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนจัดตั้งเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการสหกรณ์ (๑๖) ระเบียบว่าด้วยการใช้เงินกองทุนบริหารสำนักงานพัฒนาสหกรณ์ (๑๗) ระเบียบว่าด้วยการใช้เงินสวัสดิการเพื่อสำรองการค้ำประกันเงินกู้ (๑๘) ระเบียบว่าด้วยที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 125 (๑๙) ระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือข้อร้องเรียนของสมาชิก (๒๐) ระเบียบอื่นๆ ที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรกำหนดไว้ให้มี เพื่อสะดวกและเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานของสหกรณ์ ระเบียบใน (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๖) ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ ส่วนระเบียบอื่นเมื่อคณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้ว ให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์ และกรม ตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบภายในสามสิบวัน ข้อ ๑๑๙ การดำเนินคดีเกี่ยวกับความเสียหาย ในกรณีที่ทรัพย์สินของสหกรณ์ถูกยักยอก หรือเสียหายโดย ประการใดๆ หรือในกรณีที่สหกรณ์เรียกคืนเงินกู้ตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๑๘ (๕),(๖) แต่มิได้รับชำระตามเรียกก็ดี คณะกรรมการดำเนินการต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ ข้อ ๑๒๐ การตีความในข้อบังคับ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในข้อบังคับข้อใด ให้คณะกรรมการ ดำเนินการเสนอปัญหานั้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อขอคำวินิจฉัย และให้สหกรณ์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้น ข้อ ๑๒๑ ทรัพย์สินของสหกรณ์การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของสหกรณ์ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นเอกฉันท์ และต้องได้รับความเห็นจากที่ประชุมใหญ่ด้วย การลงมติเห็นชอบที่ประชุมใหญ่ตามความในวรรคแรก ให้ถือเสียงข้างมากของสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมา ประชุม ข้อ ๑๒๒ การจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสหกรณ์ต้องเลิก เมื่อสหกรณ์ต้องเลิกและได้จัดการชำระบัญชีโดย จำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ตลอดจนจ่ายคืนเงินรับฝากพร้อมด้วยดอกเบี้ย และชำระหนี้สินอื่นๆ ของสหกรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้ผู้ชำระบัญชีจ่ายตามลำดับดังต่อไปนี้ (๑) จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้แก่สมาชิกไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว (๒) จ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว แต่ต้องไม่เกินอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด (๓) จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามข้อ ๓๐ (๒) เงินที่จ่ายตามข้อ (๒) และ (๓) เมื่อรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินยอดรวมแห่งจำนวนเงินกำไรสุทธิที่สหกรณ์หาได้ใน ระหว่างปีที่เลิกสหกรณ์กับทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลที่ถอนไปตามข้อ ๓๐ (๔) ในปีนั้น ถ้ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกให้โอนให้แก่สหกรณ์อื่น หรือสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามมติของที่ ประชุมใหญ่ หรือด้วยความเห็นชอบของนายทะเบียนสหกรณ์ ในกรณีที่ไม่อาจเรียกประชุมใหญ่ได้ภายในสามเดือน นับแต่วันที่ชำระบัญชีเสร็จ ข้อ ๑๒๓ ในกรณีที่ข้อบังคับนี้มิได้กำหนดข้อความเรื่องใดไว้ให้สหกรณ์นำบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ตลอดจนคำสั่งหรือคำแนะนำและระเบียบปฏิบัติของนายทะเบียนสหกรณ์มาใช้เป็นส่วน หนึ่งแห่งข้อบังคับนี้ด้วย
126 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๒๔ นับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ระเบียบใดซึ่งสหกรณ์ถือใช้อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ถือใช้ และไม่ขัด หรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ถือใช้ตามระเบียบนั้นไปก่อน จนกว่าจะได้กำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ใหม่ตามข้อบังคับนี้ ลงชื่อ.....................................................ประธานกรรมการ (..............................................) ลงชื่อ......................................................เลขานุการ (..............................................) มติที่ประชุมใหญ่ มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้แก้ไขข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด โดยใช้ข้อบังคับฉบับใหม่แทนฉบับเดิมทั้งฉบับ
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 127 เรื่องที่ 9 การเลือกตั้งกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด เลขานุการฯ กรรมการของสหกรณ์ใน งป. 65 มีกรรมการพ้นวาระในแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีกรรมการพ้นวาระ 5 ราย คือ 1. พล.ร.อ.วินัย สุขต่าย (เกษียณอายุราชการ) 2. พล.ร.ท.อุปถัมภ์ สมุทรานนท์(วาระที่ 1 ปีที่ 1 ย้ายสังกัด) 3. พล.ร.ต.ณัฐชัย วรรณบูรณ (วาระที่ 2 ปีที่ 1 ย้ายสังกัด) 4. พล.ร.ต.สมบัติ แย้มดอนไพร (วาระที่ 1 ปีที่ 1 ลาออก) 5. น.อ.หญิง ปุณยนุช ปรางค์ทองคำ (วาระที่ 2 ปีที่ 1 ย้ายสังกัด) กลุ่มที่ 2 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ น.ท.บริบูรณ์ วชิรศรีสุกัญยา (พ้นวาระที่ 1 ปีที่ 2 ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ได้) กลุ่มที่ 6 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ ร.อ.ฐิติเชษฐ์ ภู่แจ้ง (พ้นวาระที่ 1 ปีที่ 2 ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ได้) กลุ่มที่ 7 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ น.ต.มณเฑียร งามบุญชื่น (พ้นวาระที่ 1 ปีที่ 2 ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ได้) กลุ่มที่ 10 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ น.อ.โสภณ ตั้งวิทย์โมไนย (พ้นวาระที่ 1 ปีที่ 2 ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ได้) กลุ่มที่ 11 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ น.ต.ฉลอง ดิษฐลักษณ์ (พ้นวาระที่ 1 ปีที่ 2 ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ได้) ตามที่กลุ่มต่าง ๆ ได้มีผู้แทนพ้นวาระนั้น แต่ละกลุ่มได้เสนอชื่อ ผู้แทนเข้ามาเป็นกรรมการดำเนินการ ในปี 2566 แทนผู้พ้นวาระ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เสนอ พล.ร.ท.เกรียง ชุณหชาติ (วาระที่ 1 ปีที่ 2) พล.ร.ต.ศุภชัย ธนสารสาคร (วาระที่ 1 ปีที่ 2) พล.ร.ต.วิสิทธิ์ กุลสมบูรณ์สินธ์ (วาระที่ 1 ปีที่ 2) น.ท.อิทธิเชษฐ์ ตั้งกงพานิชกวิน (วาระที่ 1 ปีที่ 2) น.ต.หญิงกัญชวี ศรีพรหม (วาระที่ 1 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 2 เสนอ น.อ.ธนะสิทธิ์ เทวรุ่งสัจจา (วาระที่ 1 ปีที่ 1) กลุ่มที่ 3 เสนอ น.ต.ธวัช นาคอ้าย (วาระที่ 2 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 4 เสนอ ร.ท.ชยพล ธานี (วาระที่ 1 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 5 เสนอ น.ต.ธีรวัฒน์ พลายเพ็ชร (วาระที่ 1 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 6 เสนอ น.ต.เปล่ง จำปาโชติ (วาระที่ 1 ปีที่ 1) กลุ่มที่ 7 เสนอ น.อ.สุทัศน์ กิจบำรุงรัตน์ (วาระที่ 1 ปีที่ 1) กลุ่มที่ 8 เสนอ ร.อ.สุรชัย สุขมณี (วาระที่ 1 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 9 เสนอ ร.อ.จิรยุทธ ตุ้มนิลกาล (วาระที่ 1 ปีที่ 2) กลุ่มที่ 10 เสนอ น.ท.ทยารักษ์ เพ็ชรมาลัย (วาระที่ 1 ปีที่ 1) กลุ่มที่ 11 เสนอ ร.ท.สุภัทร ฤทธิ์มนตรี (วาระที่ 1 ปีที่ 1)
128 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 มติที่ประชุมใหญ่ มีมติดังนี้ 1. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้ พล.ร.ท.เกรียง ชุณหชาติ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด ชุดที่ 30/2566 2. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์รับรองการเลือกผู้แทนกลุ่ม เป็นกรรมการดำเนินการฯ แทนผู้ที่พ้นวาระตามที่เสนอ พล.ร.ท.เกรียง ชุณหชาติ(ประธานกรรมการดำเนินการฯ ชุดที่ 30) ผมในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด ชุดที่ 30 สำหรับแนวทางในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด ในปีนี้นั้น เนื่องด้วยในสถานการณ์โลกปัจจุบันยังอยู่ในสภาวะวิกฤตสืบเนื่องมาจาก สภาวะสงครามระหว่างประเทศรัสเซียกับประเทศยูเครน ตลอดจนสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่ยังมิอาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดการกลายพันธุ์และส่งผลกระทบรุนแรงต่อไปในอนาคต หรือไม่นั้น ดังนั้นในการบริหารจัดการจะยึดแนวทาง ดังนี้ ๑. การพึ่งพาตนเอง โดยไม่กู้ยืมเงินจากหน่วยงาน สหกรณ์อื่นๆ รวมถึงสถาบันการเงินต่างๆ ๒. ช่วยเหลือในด้านสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของสมาชิก สำหรับงานที่จะเริ่มดำเนินการในโอกาสแรกคือ การแก้ไขระเบียบสหกรณ์ให้มีขั้นตอนการดำเนินการ คัดสรรการเลือกผู้แทนสมาชิกกลุ่มต่างๆ ให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินการ รวมถึงการเลือกประธานกรรมการ ดำเนินการ เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกท่านเกิดความเชื่อมั่นว่าคณะกรรมการดำเนินการทุกท่าน จะปฏิบัติหน้าที่อย่าง เต็มที่เพื่อความมั่นคงของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด และเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกสูงสุด ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ - ไม่มี สรุปมติที่ประชุม 1. มีมติเห็นชอบรับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 2. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์รับรองงบการเงินประจำปีงบประมาณ 2565 3. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีงบประมาณ 2565 4. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแผนงาน และงบประมาณประจำปี 2566 5. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ฯ นำเงินไปฝากหรือลงทุนใน หลักทรัพย์ได้ตามที่เสนอ 6. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกัน ประจำปี 2566 จำนวน 1,480,000,000.00 บาท (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน) 7. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้เลือก นายเขมวุฒิ คุณาอัครวุฒิ เป็นผู้ตรวจสอบกิจการ ประจำปี 2566 ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบกิจการ จำนวน 84,000 บาท (แปดหมื่นสี่พันบาทถ้วน) หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บริษัท เอส.เอ็ม.การบัญชีและการตรวจสอบบัญชี จำกัด เป็นผู้ตรวจสอบกิจการสำรอง
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 129 8. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้เลือก บริษัท สำนักบัญชีทองเอก จำกัด โดย นายศักดิ์ชาย จันทร์เรือง เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ประจำปี 2566 ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี จำนวน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บริษัท เอ็นเอส.เค.สอบบัญชี จำกัด โดยนายอาภากร เทศพันธ์ เป็นผู้สอบบัญชี สำรอง 9. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้แก้ไขข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด โดยใช้ ข้อบังคับฉบับใหม่แทนฉบับเดิมทั้งฉบับ 10. มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้ พล.ร.ท.เกรียง ชุณหชาติ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด และรับรองการเลือกผู้แทนกลุ่ม เป็นกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด ชุดที่ 30/2566 แทนผู้ที่พ้นวาระตามที่เสนอ ปิดประชุม 1130 น.
130 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 ระเบียบวาระที่ 3
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 131 สมาชิกภาพ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 การรับสมาชิกเข้าใหม่ และลาออกจากสหกรณ์ฯ ประจำปี 2566 เลขานุการฯ เชิญผู้จัดการฯ รายงานให้ที่ประชุมทราบ ผู้จัดการฯ จำนวนสมาชิก ประจำปี 2566 สมาชิกเมื่อ 1 ตุลาคม 2565 6,041 ราย รับสมาชิกเข้าใหม่ระหว่างปี 153 ราย สมาชิกลาออกระหว่างปี 156 ราย คงเหลือจำนวนสมาชิก ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 6,038 ราย ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 สมาชิก 4,847 4,905 4,908 4,893 4,899 สมาชิกสมทบ 1,143 1,159 1,157 1,148 1,139 เพิ่ม (ลด) 127 74 1 (24) (3) ที่ประชุม ...........................................................................
132 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 เรื่องที่ 2 รายงานกิจการประจำปี 2566 ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับปีก่อน หน่วย : บาท รายการ ปี 2566 ปี 2565 เพิ่ม (ลด) ร้อยละ จำนวนสมาชิก (ราย) 6,038 6,041 (3) (0.05) สินทรัพย์รวม 4,227,387,015.36 4,159,125,693.07 68,261,322.29 1.64 ทุนเรือนหุ้น 1,361,297,140.00 1,308,236,510.00 53,060,630.00 4.06 ทุนสำรอง 188,477,309.60 173,278,068.60 15,199241.00 8.77 ทุนสะสมตามข้อบังคับฯ 30,764,955.65 33,323,524.13 (2,558,568.48) (7.68) เงินรับฝากออมทรัพย์ 60,468,589.93 63,204,220.43 (2,735,630.50) (4.33) เงินรับฝากออมทรัพย์พิเศษ 1,887,099,296.19 1,767,854,972.11 119,244,324.08 6.75 เงินรับฝากสะสมทรัพย์ 59,566,875.77 50,855,771.31 8,711,104.46 17.13 เงินรับฝากประจำ 487,073,000.00 567,173,000.00 (80,100,000.00) (14.12) เงินรับฝากระหว่างสหกรณ์ 255,488.97 251,713.27 3,775.70 1.50 รวมเงินรับฝาก 2,494,463,250.86 2,449,339,677.12 45,123,573.74 1.84 ลูกหนี้เงินกู้-สมาชิก คงเหลือ 4,110,897,403.43 4,052,079,182.76 58,818,220.67 1.45 ลูกหนี้ขาดสมาชิกภาพ 5,629,057.99 3,564,995.59 2,064,062.40 57.90 หนี้สินเงินกู้ยืมของสหกรณ์ 0.00 44,000,000.00 (44,000,000.00) (100.00) ทุนของสหกรณ์ 1,717,859,895.42 1,648,705,960.73 69,153,934.69 4.19 กำไรสุทธิประจำปี 137,350,490.17 133,867,858.00 3,482,632.17 2.60 การทำธุรกรรมของสมาชิกกับสหกรณ์ รายการ จำนวน (ราย) ร้อยละของสมาชิกทั้งหมด สมาชิกที่ถือหุ้นอย่างเดียว 546 9.04 สมาชิกที่ใช้บริการการฝากเงินอย่างเดียว 1,730 28.65 สมาชิกที่ใช้บริการสินเชื่ออย่างเดียว 1,919 31.78 สมาชิกที่ใช้บริการเงินฝากเงินและสินเชื่อ 1,843 30.53
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 133 ทุนเรือนหุ้น ยอดยกมา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 1,308,236,510.00 บาท สมาชิกเพิ่มหุ้นระหว่างปี 84,273,670.00 บาท จ่ายคืนเงินค่าหุ้นระหว่างปี 31,213,040.00 บาท คงเหลือทุนเรือนหุ้น ณ 30 กันยายน 2566 1,361,297,140.00 บาท ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 ทุนสะสมฯ 31,589,664.89 25,199,869.93 35,134,349.89 33,323,524.13 30,764,955.65 ทุนสำรอง 129,489,204.21 143,633,946.65 158,855,744.76 173,278,068.60 188,447,309.60 ทุนเรือนหุ้น 1,069,185,410.00 1,167,664,890.00 1,243,849,490.00 1,308,236,510.00 1,361,297,140.00 ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 สินทรัพย์ 3,933,480,594.41 4,077,868,131.80 4,143,089,356.31 4,159,125,693..07 4,227,387,015.36 หนี้สิน 2,561,778,890.88 2,595,678,344.13 2,578,055,285.31 2,510,419,732.34 2,509,527,119.94 ทุน 1,371,701,703.53 1,482,189,787.67 1,565,034,071.00 1,648,705,960.73 1,717,859,895.42 สัดส่วนหนี้สิน : ทุน 1.87 : 1 1.75 : 1 1.65 : 1 1.52 : 1 1.46 : 1
134 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 เงินรับฝาก เงินรับฝาก ออมทรัพย์ (บาท) เงินรับฝาก ออมทรัพย์พิเศษ (บาท) เงินรับฝาก สะสมทรัพย์ฯ (บาท) เงินรับฝาก ประจำ (บาท) เงินรับฝาก ระหว่างสหกรณ์ (บาท) ยอดยกมา ณ 1 ต.ค. 65 63,204,220.43 1,767,854,972.11 50,855,771.31 567,173,000.00 251,713.27 เงินรับฝากระหว่างปี 9,015,343.99 370,898,083.96 18,721,772.38 184,054.79 3,775.70 ถอนเงินฝากระหว่างปี 11,750,974.49 251,653,759.88 10,010,667.92 80,284,054.79 - เงินฝาก ณ 30 ก.ย. 66 60,468,589.93 1,887,099,296.19 59,566,875.77 487,073,000.00 255,488.97 ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 เงินรับฝากออมทรัพย์ 57,727,269.87 60,393,409.70 62,720,095.69 63,204,220.43 60,468,589.93 เงินรับฝากออมทรัพย์พิเศษ 1,422,115,584.44 1,623,987,977.94 1,710,187,174.55 1,767,854,972.11 1,887,099,296.19 เงินรับฝากสะสมทรัพย์ฯ 31,174,246.10 37,631,935.57 44,482,578.46 50,855,771.31 59,566,875.77 เงินรับฝากทรัพย์เพิ่มพูน 555,387,000.00 - - - - เงินรับฝากทรัพย์เพิ่มพูน 2 12,500,000.00 - - - - เงินรับฝากทรัพย์เพิ่มพูน 3 58,600,000.00 - - - - เงินรับฝากประจำ 124,000,000.00 686,873,000.00 627,373,000.00 567,173,000.00 487,073,000.00 เงินรับฝากระหว่างสหกรณ์ 240,707.88 244,328.41 247,993.37 251,713.27 255,488.97
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 135 เงินให้กู้แก่สมาชิก เงินกู้ฉุกเฉิน (บาท) เงินกู้สามัญ (บาท) เงินกู้พิเศษ (บาท) ลูกหนี้ขาด สมาชิกภาพ (บาท) เงินกู้ภาระหนี้ผู้ ค้ำประกัน (บาท) เงินให้กู้เพื่ออาชีพ เสริม(บาท) ยอดยกมา ณ 1 ต.ค. 65 36,370,240.00 3,795,830,227.63 99,283,519.27 3,564,995.59 3,083,961.07 5,172.70 บวก ให้กู้ระหว่างปี 112,685,400.00 1,311,154,678.60 57,610,000.00 13,321,756.97 - - หัก สมาชิกชำระคืน ระหว่างปี 105,522,330.00 1,282,075,044.95 57,123,139.57 11,257,694.57 409,464.00 5,172.70 คงเหลือ ณ 30 ก.ย. 66 43,533,310.00 3,824,909,861.28 99,770,379.70 5,629,057.99 2,674,497.07 - เงินให้กู้ปรับ โครงสร้างหนี้ (บาท) เงินให้กู้ปันผล เพื่อเหตุฉุกเฉิน (บาท) โอนหนี้ผู้ค้ำ ประกัน(บาท) เงินให้กู้เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต (บาท) รวมยอดลูกหนี้ทุก ประเภท (บาท) ยอดยกมา ณ 1 ต.ค. 65 4,410,275.12 12,528,900.00 46,415,998.26 54,150,888.71 4,055,644,178.35 บวก ให้กู้ระหว่างปี - 13,590,600.00 9,349,874.66 41,734,932.95 1,559,447,243.18 หัก สมาชิกชำระคืนระหว่างปี 1,639,975.10 13,052,900.00 8,294,427.01 19,184,812.21 1,498,564,960.11 คงเหลือ ณ 30 ก.ย. 66 2,770,300.02 13,066,600.00 47,471,445.91 76,701,009.45 4,116,526,461.42 ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 เงินให้สมาชิกกู้ 3,876,002,951.94 3,944,476,896.84 4,053,301,915.93 4,055,644,178.35 4,116,526,461.42 ทุนเรือนหุ้น 1,069,185,410.00 1,167,664,890.00 1,243,849,490.00 1,308,236,510.00 1,361,297,140.00 เงินรับฝากรวม 2,261,844808.29 2,409,130,651.62 2,445,010,842.07 2,449,339,677.12 2,494,463,250.86
136 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 โดยมีผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามแผนงาน ดังต่อไปนี้ 1. การดำเนินงานด้านการเงิน ได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ 1.1 ด้านทุนเรือนหุ้น ซึ่งทุนเรือนหุ้นถือเป็นทุนพื้นฐานที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ ของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ อันเป็นหลักการสหกรณ์สำคัญประการหนึ่ง ทั้งยังเป็นทุนที่แสดงถึงความ มั่นคงของสหกรณ์ต่อสมาชิก ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ ปี 2566 สหกรณ์ฯ มีทุนเรือนหุ้นทั้งสิ้น 1,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.06 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีทุนเรือนหุ้น 1,308 ล้านบาท และมีอัตราการถือหุ้นเฉลี่ยต่อราย 225,450 บาท ทั้งนี้ มีสมาชิกที่ถือหุ้นครบตามเกณฑ์และถือหุ้นมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 201 ราย จากสมาชิกทั้งสิ้น 6,038 ราย หรือร้อยละ 3.33 ของสมาชิกทั้งหมด 1.2 ด้านเงินรับฝาก ซึ่งเป็นบริการทางการเงินสำหรับสมาชิกที่จะฝากเงินไว้ในที่มั่นคงปลอดภัย และให้ผลตอบแทนที่ดี ประการสำคัญ คือเป็นการระดมทุนให้เข้ามาหมุนเวียนในระบบสหกรณ์ มีทั้งประเภท ออมทรัพย์ ออมทรัพย์พิเศษ เงินรับฝากประจำและเงินรับฝากระหว่างสหกรณ์ โดยให้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม สูงกว่าธนาคารและสถาบันการเงินอยู่เสมอ ปี 2566 สหกรณ์ฯ มีเงินรับฝากทุกประเภทรวมกันทั้งสิ้น 2,494 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.84 เมื่อเทียบกับปีก่อนในระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งมีเงินรับฝากทั้งสิ้น 2,449 ล้านบาท 1.3 ด้านเงินกู้ เป็นหนึ่งในการให้บริการที่จัดให้มีขึ้นตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการเงินแก่สมาชิกเพื่อการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต มุ่งเน้นการ อำนวยความสะดวก และรวดเร็วให้ทันต่อความต้องการของสมาชิก ประการสำคัญคือ อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และเป็นธรรม ปี 2566 สหกรณ์ฯ มีลูกหนี้เงินกู้ทุกประเภทรวมกันทั้งสิ้น 4,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60 ล้านบาท หรือร้อยละ 59.35 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีลูกหนี้ทั้งสิ้น 4,055 ล้านบาท 2. การดำเนินงานด้านสมาชิก ได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ 2.1 การเพิ่มจำนวนสมาชิก สหกรณ์ฯ ได้เปิดบริการนอกสถานที่ในหน่วย อรม. และมีโครงการ แนะนำเพื่อน ซึ่งมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากการเปิดบริการนอกสถานที่ จำนวน 5 รายและจากโครงการแนะนำเพื่อน จำนวน 26 ราย โดยทั้งปีมีทั้งปีมีสมาชิกมาสมัครใหม่ จำนวน 153 ราย ขาดสมาชิกภาพ จำนวน 156 ราย โดย แบ่งเป็น ลาออก 110 ราย เสียชีวิต 30 ราย และให้ออก 16 ราย 2.2 โครงการสนับสนุนการศึกษาอบรมสมาชิก (1) โครงการอบรมให้ความรู้สมาชิกเกี่ยวกับ การทำสูตรอินทรีย์ ณ ศูนย์เรียนรู้วรการ เพื่อ เป็นการส่งเสริมความรู้ ให้กับสมาชิกเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริม หรือการประยุกต์ใช้งานใน ชีวิตประจำวันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย (2) โครงการอบรมหลักสูตรการสร้างเพจของสินค้า Online เพื่อให้สมาชิกและครอบครัว ของสมาชิกได้เรียนรู้การสร้างเพจขายสินค้าแบบมืออาชีพ เทคนิคการแต่งรูปภาพ ออกแบบร้านค้าออนไลน์ สามารถใช้เป็นช่องทางการขายสินค้า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกให้มีความกินดีอยู่ดี
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 137 2.3 ด้านสวัสดิการของสมาชิก สหกรณ์ได้ตระหนักถึงสวัสดิการที่ให้กับสมาชิกเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ สวัสดิการรับขวัญทายาทใหม่ ปลอบขวัญผู้ป่วย เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือเกี่ยวกับการศพสมาชิกและบุคคลใน ครอบครัว ผู้ประสบภัยพิบัติ การส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิก ฯลฯ โดยในปี 2566 มีการจ่ายทุนสวัสดิการดังนี้ ที่ รายการ จำนวน (ราย) เป็นเงิน (บาท) 1. ทุนส่งเสริมการศึกษาข้าราชการกรมสรรพาวุธทหารเรือ - 100,000.00 2. ทุนสวัสดิการการส่งเสริมศึกษาบุตรสมาชิก 440 1,628,000.00 3. ทุนสงเคราะห์ศพสมาชิกถึงแก่กรรม (ที่จ่ายในปี งป. 66) 25 2,500,000.00 4. ทุนสงเคราะห์บิดา-มารดาสมาชิกถึงแก่กรรม 119 283,000.00 5. ทุนสงเคราะห์คู่สมรสและบุตรของสมาชิกถึงแก่กรรม 11 80,000.00 6. ค่าหรีดและเงินทำบุญ 146 146,000.00 7. ทุนสวัสดิการการรับขวัญทายาทใหม่ 54 81,000.00 8. ทุนสวัสดิการการปลอบขวัญผู้ป่วย 86 86,000.00 9. ทุนสวัสดิการเงินสงเคราะห์ทุพพลภาพ - - 10. ทุนสงเคราะห์เกี่ยวกับภัยพิบัติ 2 5,000.00 รวม 4,909,000.00 อบรมการทำ สูตรอินทรีย์ อบรมหลักสูตรสร้างเพจขายของ online พิธีมอบทุนการศึกษาบุตรสมาชิก เยี่ยมสมาชิกกำลังพล ร.ล.สุโขทัย
138 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 3. การดำเนินงานด้านกระบวนการภายในของสหกรณ์ ได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ 3.1 แผนงานด้านกระบวนการภายใน ในปี 2566 สอ.สพ. ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหาร ความเสี่ยงและคณะอนุกรรมการการลงทุนตามประกาศกฎกระทรวง การดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออม ทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพ.ศ. 2564 ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า “ให้คณะกรรมการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ แต่งตั้ง คณะกรรมกรรมเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมี องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์นั้น” ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์ สอ.สพ. ยังไม่ได้ เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ แต่เพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคตที่สหกรณ์กำลังจะเข้าสู่สหกรณ์ขนาดใหญ่ 3.2 การบริหารจัดการแผนงานของ สอ.สพ. (1) จัดโครงการสัมมนา สหกรณ์ภายใต้ พรบ.และธรรมาภิบาล และการบริหารความเสี่ยงใน สหกรณ์ (วิทยากร จากสหกรณ์จังหวัดชลบุรี และ ชสอ.) ณ วันที่ 14 - 15 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์สมุททานุภาพ บางพระ จ. ชลบุรี เพื่อให้คณะกรรมการและฝ่ายจัดการได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการของสหกรณ์ แนว ทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง สถานการณ์ปัจจุบัน แนวทางที่น่าจะเป็น แผนกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาการบริหารและการ ให้บริการของ สอ.สพ. ให้ดียิ่งขึ้น (2) ติดตามความก้าวหน้าและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน (3) จัดทำแผนงานและงบประมาณ สอ.สพ. ปี 2567 3.3 การจัดหาโปรแกรมระบบงานสหกรณ์ เพื่อจัดหาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพเป็นมาตราฐาน สามารถเพิ่มขีดจำกัดในการทำงานและสามารถเพิ่มขีดความสามารถพัฒนาต่อในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 139 การเปิดเผยผลประโยชน์และหรือค่าตอบแทนกรรมการ ประจำปี 2565 ตามที่กฎกระทรวงตามมาตรา 89/2 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยการดำเนินงานและ การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 โดยในหมวด 4 เรื่องการกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาลของสหกรณ์ ข้อ 14(1) และ (4) ให้แจ้งผลประโยชน์และ ค่าตอบแทนที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสหกรณ์ได้รับจากสหกรณ์ในปีบัญชีที่ ผ่านมา และให้แสดงรายละเอียดค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นรายบุคคลโดยแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ ดังนี้ ที่ประชุม ........................................................................... (1) คา่ตอบแทนทเี่ป็นตวัเงนิ เงนิเดอืน/ คา่จ้าง โบนสัคา่พาหนะ คา่ลงทะเบียน อบรม คา่เบยี้ประชุม รวม พลเรือเอก วินยัสุขตา่ง ประธานกรรมการฯ - 201,742.76 15,220.00 - 23,400.00 240,362.76 พลเรือโท อุปถัมภ์สุมทรานนท์รองประธานกรรมการฯ - 151,307.08 - - 19,200.00 170,507.08 พลเรือตรีณฐัชัย วรรณบูรณ รองประธานกรรมการฯ - 151,307.08 - - 20,400.00 171,707.08 พลเรือตรีสมบัติแย้มดอนไพร ประธานกรรมการศกึษาฯ - 126,089.24 1,600.00 - 22,400.00 150,089.24 นาวาเอกโสภณ ตงั้วิทย์โมไนย ประธานกรรมการเงนิกู้ 126,089.24 24,800.00 150,889.24 นาวาเอกหญงิ ปุณยนชุปรางคท์องค า เหรัญญกิ 126,089.24 15,200.00 141,289.24 นาวาโท บริบูรณ์วชิรศรีสุกญัยา เลขานกุารฯ - 126,089.24 - - 16,000.00 142,089.24 นาวาตรีธรีวัฒน์พลายเพช็ร กรรมการเงนิกู้ - 100,871.39 14,990.00 - 19,200.00 135,061.39 นาวาตรีฉลอง ดษิฐลักษณ์กรรมการศกึษาฯ - 100,871.39 - - 24,800.00 125,671.39 นาวาตรีมณเฑยีร งามบุญชื่น กรรมการศกึษาฯ - 100,871.39 - - 27,200.00 128,071.39 นาวาตรีธวัช นาคอ้าย กรรมการเงนิกู้ - 100,871.39 1,650.00 - 24,000.00 126,521.39 เรือเอกฐติเิชษฐ์ภแู่จ้ง กรรมการศกึษาฯ - 100,871.39 7,810.00 - 22,400.00 131,081.39 เรือเอกจิรยุทธ ตมุ้นลิกาล กรรมการเงนิกฯู้ - 100,871.39 1,550.00 - 23,200.00 125,621.39 เรือเอกสุรชัย สุขมณีกรรมการเงนิกู้ - 100,871.39 1,550.00 - 24,000.00 126,421.39 เรือโท ชยพล ธานีกรรมการศกึษาฯ - 100,871.39 - - 24,000.00 124,871.39 นาวาเอก พงษศ์กัดิ์เลาหบุตร ผจู้ัดการ 108,000.00 160,000.00 - - 22,000.00 290,000.00 การเปิดเผยค่าตอบแทน ปี2565 ชื่อ - สกลุต าแหนง่ คา่ตอบแทนกรรมการ (บาท) (2) คา่ตอบแทนทเี่ป็นไม่ตวัเงนิ เครื่องแบบ รถรับส่ง รถประจ า ต าแหนง่ คา่ ประกนัชีวิต ฯลฯ รวม พลเรือเอก วินยัสุขตา่ง ประธานกรรมการฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 พลเรือโท อุปถัมภ์สุมทรานนท์รองประธานกรรมการฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 พลเรือตรีณฐัชัย วรรณบูรณ รองประธานกรรมการฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 พลเรือตรีสมบัติแย้มดอนไพร ประธานกรรมการศกึษาฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาเอกโสภณ ตงั้วิทย์โมไนย ประธานกรรมการเงนิกู้ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาเอกหญงิ ปุณยนชุปรางคท์องค า เหรัญญกิ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาโท บริบูรณ์วชิรศรีสุกญัยา เลขานกุารฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาตรีธรีวัฒน์พลายเพช็ร กรรมการเงนิกู้ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาตรีฉลอง ดษิฐลักษณ์กรรมการศกึษาฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาตรีมณเฑยีร งามบุญชื่น กรรมการศกึษาฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาตรีธวัช นาคอ้าย กรรมการเงนิกู้ 3,500.00 - - - - 3,500.00 เรือเอกฐติเิชษฐ์ภแู่จ้ง กรรมการศกึษาฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 เรือเอกจิรยุทธ ตมุ้นลิกาล กรรมการเงนิกฯู้ 3,500.00 - - - - 3,500.00 เรือเอกสุรชัย สุขมณีกรรมการเงนิกู้ 3,500.00 - - - - 3,500.00 เรือโท ชยพล ธานีกรรมการศกึษาฯ 3,500.00 - - - - 3,500.00 นาวาเอก พงษศ์กัดิ์เลาหบุตร ผจู้ัดการ 3,500.00 - - - 20,850.07 24,350.07 ชื่อ - สกลุต าแหนง่ คา่ตอบแทนกรรมการ (บาท)
140 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 เรื่องที่ 3 ผู้ตรวจสอบกิจการรายงานผลการตรวจสอบกิจการประจำปี 2566 เลขานุการฯ เชิญผู้ตรวจสอบกิจการรายงาน ผู้ตรวจสอบกิจการ รายงานผลการตรวจสอบกิจการประจำปี 2566
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 141
142 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 143
144 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 145
146 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 ที่ประชุม ........................................................
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 147 เรื่องที่ 4 การแก้ไข และยกเลิก ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด เลขานุการฯ มอบให้ผู้จัดการชี้แจง ผู้จัดการ ตามข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด พ.ศ. 2565 ข้อ 82 (5) ให้ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนด ระเบียบต่างๆ ของสหกรณ์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 คณะกรรมการ ดำเนินการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแก้ไข ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด จำนวน 22 ฉบับ และยกเลิก ระเบียบฯ จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ระเบียบที่แก้ไข 1.เงินกู้สามัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกของสหกรณ์ พ.ศ.2566 2.เงินสวัสดิการปลอบขวัญผู้ป่วย และเงินสวัสดิการเยี่ยมสมาชิกที่บาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ.2566 3.การให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์และดอกเบี้ยเงินกู้ พ.ศ.2566 4.คุณสมบัติวิธีรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ พ.ศ.2566 5.การโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์ พ.ศ.2566 6.กลุ่มสมาชิก พ.ศ.2566 7.คุณสมบัติและวิธีรับสมาชิกสมทบ พ.ศ.2566 8.เงินกู้สามัญเพื่อช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้ พ.ศ.2566 9.เงินฝากสะสมทรัพย์สำหรับบุตรสมาชิก พ.ศ.2566 10.เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ พ.ศ.2566 11.การให้เงินกู้แก่พนักงานราชการ พ.ศ.2566 12.การรับเงินฝากประจำ พ.ศ.2566 13.การรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ.2566 14.การรับฝากเงินจากสหกรณ์อื่น พ.ศ.2566 15.การให้เงินกู้พิเศษ สินเชื่อเงินออม แก่สมาชิก พ.ศ.2566 16.เงินสวัสดิการรับขวัญทายาทใหม่ พ.ศ.2566 17.การใช้ทุนเพื่อสาธารณประโยชน์พ.ศ.2566 18.การใช้ทุนสวัสดิการเงินสงเคราะห์พิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้ พ.ศ.2566 19.การใช้ทุนสวัสดิการเพื่อการสงเคราะห์สมาชิกผู้ประสบภัยพิบัติพ.ศ.2566 20.การใช้ทุนสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและครอบครัวเกี่ยวกับการศพ พ.ศ.2566 21.การสวัสดิการเงินสงเคราะห์สมาชิกที่ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จากการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ.2566 22.ทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือการศึกษาบุตรสมาชิก พ.ศ.2566 *** รายละเอียดตามผนวกท้ายเล่ม
148 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 ระเบียบที่ยกเลิก - คุณสมบัติวิธีรับสมาชิกและการขาดสมาชิกภาพ 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 - ระเบียบ เงินกู้พิเศษ พ.ศ.2543 และ ระเบียบ ค่าใช้จ่ายเพื่อเงินกู้พิเศษ พ.ศ.2543 - ระเบียบ การรับฝากเงินทรัพย์เพิ่มพูน พ.ศ.2554 เหตุผลในการยกเลิก 1. คุณสมบัติวิธีรับสมาชิกและการขาดสมาชิกภาพ 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เหตุผลในการยกเลิก เนื่องจากมีการแก้ไขระเบียบคุณสมบัติวิธีรับสมาชิกและการขาดสมาชิกภาพ ให้ตรง กับข้อบังคับฉบับใหม่ 2. ระเบียบ เงินกู้พิเศษ พ.ศ.2543 และ ระเบียบ ค่าใช้จ่ายเพื่อเงินกู้พิเศษ พ.ศ.2543 เหตุผลในการยกเลิก 2.1 ตั้งแต่ถือใช้ระเบียบยังไม่มีสมาชิกมาใช้บริการ 2.2 ซ้ำซ้อนกับการกู้ประเภทอื่นๆ ซึ่ง สหกรณ์มีเงินกู้ประเภทอื่นเพียงพอกับความต้องการของสมาชิก อยู่แล้ว 2.3 สหกรณ์ ภายใน ทร. มีสหกรณ์ประเภทกู้เพื่อเคหะสงเคราะห์แล้ว 3. ระเบียบ การรับฝากเงินทรัพย์เพิ่มพูน พ.ศ.2554 เหตุผลในการยกเลิก 3.1 สหกรณ์ถือใช้ระเบียบการรับฝากเงินประจำ แทนการถือใช้ระเบียบการรับฝากเงินทรัพย์ เพิ่มพูน 3.2 การดำเนินการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 3.3 ระเบียบการรับฝากเงินทรัพย์เพิ่มพูนไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ประชุม ............................................................
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด รายงานกิจการประจำปี 2566 149 ระเบียบวาระที่ 4