The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่างกาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Witchaya Chuainui, 2022-09-15 10:53:09

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่างกาย

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่างกาย

ความผิดเกี่ยวกับ
ชีวิตเเละร่างกาย

นายวิชญะ ช่วยนุ้ย
รหัสนิสิต 641081325 กลุ่ม S103 คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
เสนอ

อาจารย์วีณา สุวรรณโณ

สารบัญ ก-ข
1-4
บทนำ
กฎหมายอาญา บททั่วไป 5
6-7
หมวด 1 : ความผิดต่อชีวิต 8-10
• มาตรา 288 11
• มาตรา 289 12
• มาตรา 290 13-14
• มาตรา 291 15
• มาตรา 292 16-17
• มาตรา 293
• มาตรา 294 18
19
หมวด 2 : ความผิดต่อร่างกาย 20
• มาตรา 295 21
• มาตรา 296 22
• มาตรา 297 23
• มาตรา 298 24
• มาตรา 299
• มาตรา 300

สารบัญ

หมวด 3 : ความผิดฐานทำให้แท้งลูก 25
• มาตรา 301 26
• มาตรา 302 27-28
• มาตรา 303 29-30
• มาตรา 304 31
• มาตรา 305 32

หมวด 4 : ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา 33

• มาตรา 306 34

• มาตรา 307 35

• มาตรา 308 36

บรรณานุกรม 37

บทนำ

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา คือ กฎห
มายที่บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นกฎเกณฑ์

ในการควบคุมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

มีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อให้การดำรงอยู่ของประชาชนเป็นไปอย่างมี
ระเบียบแบบแผนเพื่อคุ้มครอง สุจริตชน ในขณะที่กำหนดโทษผู้ที่
ละเมิดกฎเกณฑ์ทางสังคม
เป็นกฎหมายที่สืบเนื่องมาจากการปรับปรุงกฎหมายเดิม คือลักษณะ
อาญา ร.ศ.127



ทั้งนี้ประมวลกฎหมายอาญาจัดแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

• ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป
• ภาค 2 ความผิด
• ภาค 3 ลหุโทษ

-ก-

กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน มีลักษณะการ
ใช้บังคับดังนี้

ต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งกฎหมายอาญาจะต้องมีบทบัญญัติ

ไกวร้เะป็ทนำลายลแักลษะบณ์ทุอบัักญษญรัตินั้โนดตย้อบังญ
ชัดญัเตจินคปวารมาศผิจดาแกลกะาโทรคษลไุวม้ใเนคขรืณอมะิ

ฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อ
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลโดยตรง

ต้องตีความโดยเคร่งครัดบางกรณีการตีความตามตัวอักษร
แต่เพียงอย่างเดียวไม่อาจทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริง
ของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

-ข-

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา "

ในการรับผิดทางอาญา ต้องมีครบทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ

1. องค์ประกอบภายนอก


2. องค์ประกอบภายใน

ข้อสังเกต มีเพียงบางความผิดเท่านั้น ที่ต้องรับผิดแม้ไม่ครบองค์

ประกอบ กล่าวคือ มีแต่องค์ประกอบภายนอกเท่านั้น ก็ถือเป็น

ความผิด

1. องค์ประกอบภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอกของความผิด
แต่ละฐาน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย (มาตรา 288) จะประกอบ
ด้วย ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ คือ

1. ผู้ใด
2. ฆ่า
3. ผู้อื่น

2. องค์ประกอบภายใน คือ องค์ประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นได้จาก
ภายนอก เพราะเป็นส่วนที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทำ ซึ่งเราจะพิจารณา
ส่วนที่อยู่ในจิตใจนี้ได้จาการกระทำโดยหลักการที่ว่า กรรมเป็นเครื่อง
ชี้เจตนา โดยที่องค์ประกอบภายในนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
เจตนา และ ประมาท

-1-

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

ประเภทของเจตนา

1. เจตนาตามความเป็นจริง (ปร
ะสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล)

2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย
1. เจตนาตามความเป็นจริง ตามมาตรา 59 วรรค 2 และ วรรค 3

วรรค 2 กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่
กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็ง
เห็นผลของการกระทำนั้น

วรรค 3 ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของ
ความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของ
การกระทำนั้นมิได้

จาก ม.59 วรรค 2 และ 3 การกระทำโดยเจตนา หมายถึง กระทำ
โดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อ
ผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

-2-

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

ความหมายของเจตนานั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วน

1. ส่วนที่รู้สำนึกในการกระทำ และต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์


ประกอบความผิด

• การกระทำโดยเจตนา ผู้กระทำต้องรู้สำนึกในการกระทำเสมอ

เพราะถ้าไม่รู้สำนึกก็ย่อมไม่มีการกระทำ

2. ส่วนความต้องการ คือ ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นได้ว่า
ผลอันนั้นอาจเกิดขึ้นได้

• ประสงค์ต่อผล หมายถึง มุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น หากผลเกิด
ขึ้นตามที่มุ่งหมายก็เป็นความผิดสำเร็จ หากผลไม่เกิดตามที่มุ่ง
หมาย ก็เป็นความผิดเพียงฐานพยายามตามมาตรา 80 หรือ
มาตรา 81 แล้วแต่กรณี

• หากพิจารณาแล้วการกระทำนั้นผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล
แต่อาจเป็นการกระทำโดยเจตนาประเภทเล็งเห็นผลก็ได้

• ความหมายของเจตนาเล็งเห็นผล "เล็งเห็นผล" หมายความว่า

เล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่จิตใจของบุคคล
ในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้

-3-

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

เจตนาพิเศษ หรือเรียกอีกอย่างว่ามูลเหตุชักจูงใจ เป็นองค์
ประกอบภายในของความผิดอาญาบางฐานความผิด ความผิด

อาญาที่ต้องมีเจตนาพิเศษ ส่วน
ใหญ่กฎหมายจะบัญญัติไว้ เช่น

โดยทุจริต เพื่อสนองความใคร่ เพื่อเรียกค่าไถ่ เป็นต้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเจตนาพิเศษ
1. การจะสังเกตว่าความผิดฐานใดมีเจตนาพิเศษหรือไม่ ให้

สังเกตคำว่า "เพื่อ..." หรือใช้ค่ำว่า "โดยทุจริต"
2. เจตนาพิเศษเป็นองค์ประกอบภายในเพิ่มเติมจากเจตนา

ธรรมดา
3. เจตนาพิเศษ แตกต่างจากเจตนาธรรมดา เพราะเจตนา

ธรรมดามีทั้งประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ส่วนเจตนาธรรมดา
นั้น กฎหมายใช้คำว่า "เพื่อ..." หรือ "โดย..." ผู้กระทำจะต้องมี
เจตนามุ่งโดยตรงเพื่อการนั้นโดยเฉพาะ

-4-

หมวด 1 : ความผิดต่อชีวิต

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเป็นการกระทำความผิดต่อ

ชีวิต หรือร่างกายของผู้อื่นอาจเกิดขึ้นได้โดยเจตนาหรือประมาท
ก็ได้ และความผิดในลักษณะนี้ห
ลายฐานความผิด ความผิดบาง

ฐานมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ความผิด

แต่ละฐานว่าแตกต่างกันอย่างไร

ซึ่งความผิดต่อชีวิตมีฐานความผิดดังต่อไปนี้
• ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288
• ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ ม.289
• ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ม.290
• ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ม. 291
• ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ม.292
• ความผิดฐานช่วยเหลือยุยงให้ฆ่าตัวตาย ม.293
• ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้มีผลให้คนตาย ม.294

-5-

มาตรา 288

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก

ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้า
ปีถึงยี่สิบปี

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภา
ยนอก
1. ผู้ใด
2. ฆ่า
3. ผู้อื่น
องค์ประกอบภายนอก
เจตนา

ผู้ใด หมายถึง บุคคลทุกคนที่มีความกระทำความผิด
ฆ่า หมายความว่า การทำใ
ห้ตายโดยไม่จำกัดวิธีการ เช่น ยิง ฟัน
ใช้ยาพิษ เป็นต้น

-6-

มาตรา 288 (ต่อ)

การทำให้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำแก่กายโดยใช้
แรงกายภาพ เช่น ชก ต่อย ทุบ ตี เป็นต้น ด้วยวิธีอื่น โดยทำนอง

เดียวกับการใช้แรงกายภาพ เช่น
หลอกให้คนตาบอดเดินตกบันได

คอหักตาย
นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำให้ตายโดยอาศัยเหตุทางจิต
ผู้อื่น หมายความถึงเฉพาะบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา เช่นว่านี้
จะต้องเป็นบุคคลอื่น ไม่ใช้ตัวกระทำ คือผู้ถูกฆ่าต้องเป็นบุคคลอื่น
ดังนั้น การฆ่าตนเองหรือพยายามฆ่าตนเองไม่เป็นความผิดฐานนี้

บุคคลที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำต้องมีสภาพบุคคลตามป.พ.พ.
มาตรา 15 วรรคเเรกเสียก่อน

เจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง
เจตนาประสงค์ต่อผล เป็นกรณีที่ผู้กระทำปรารถนาจะฆ่าผู้อื่น

และได้ทำตามปรารถนานั้น
เจตนาเล็งเห็นผล เป็นกรณีที่ผู้กระทำมิได้ปรารถนาที่จะฆ่าผู้หนึ่ง

ผู้ใดแต่คาดหมายได้ว่าความตายจะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน

-7-

มาตรา 289

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจํ

มาตรา 289 ผู้ใด

(1) ฆ่าบุพการี

(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะ

กระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่

(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำ

ตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้า

พนักงานดังกล่าวแล้ว

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย

(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะ

กระทำความผิดอย่างอื่น หรือ

(7) น่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่

ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อ

หลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้

ต้องระวางโทษประหารชีวิต

-8-

มาตรา 289 (ต่อ)

289 (1) บุพการี หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป คือ
บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด

289 (2) ฆ่าในขณะที่เจ้าพนักงา
นกำลังกระทำการตามหน้าที่ จะ

ฆ่าเพราะสาเหตุใดไม่สำคัญ และไม่จำเป็นต้องฆ่าเพราะเหตุที่กำลัง
กระทำตามหน้าที่

• มาตรา 1 (16) " เจ้าพนักงาน " หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎ
หมายบัญญติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้
ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะ
ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่

289 (3) ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงาน
289 (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มีโอกาสไตร่ตรองทบทวน
ก่อนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด
289 (5) ฆ่าโดยทรมาน กระทำให้ผู้ถูกฆ่าไม่ตายทันที (ได้รับ
ความทุกข์ทรมานจนตายในที่สุด) หรือ
ฆ่าโดยทารุณโหดร้าย ผู้ตายอาจตายในทันทีไม่ได้รับความทุกข์
ทรมานก็ได้
289 (6) การฆ่าเพื่อตระเตรียมการ ในการที่จะกระทำความผิด
อย่างอื่น เมื่อผู้กระทำได้กระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจดังกล่าวแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นไม่ว่าได้มีการกระทำความผิดอย่าง
อื่น หรือการกระทำนั้นได้กระทำสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

-9-

มาตรา 289 (ต่อ)

289 (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์หรือปกปิด
ความผิดของตน ในกรณีนี้ผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุจูงใจอันเป็นเจตนา
พิเศษ หมายความว่า ตนยังไม่ได้จึงฆ่าเพื่อจะเอาเป็นของตน

ความแตกต่างความผิดฐานฆ่าค
นตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ มาตรา 289

กับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา มาตรา 288 ความผิดฐานฆ่า
คนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานฆ่าคนตาย
โดยเจตนา เพราะการกระทำความผิดตามมาตรา 289 ต้องกระทำ
ครบองค์ประกอบความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนามาก่อน ซึ่งความ
ผิดตามมาตรา 289 กฎหมายมองว่าการฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ผู้
กระทำความผิดสมควรลงโทษให้หนักมากขึ้นโดยกำหนดโทษประหาร
ชีวิตสถานเดียวไม่มีโทษจำคุก

- 10 -

มาตรา 290

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
มาตรา 290 ผู้ใดมีได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้

ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโ
ทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้
ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. ทำร้าย
3. ผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน
มิได้มีเจตนาฆ่า

การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย แตกต่างกับการฆ่า
ผู้อื่นเพราะผู้กระทำผิดเจตนาเพียงทำร้ายเท่านั้นแต่ผลของการกระ
ทำเกิดขึ้นเกินเลยไปจากเจตนาของผู้กระทำ แต่กฎหมายได้บัญญัติ
ลงโทษเบากว่าการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จึงเรียกว่า " การฆ่าคนโดยไม่
เจตนา"

- 11 -

มาตรา 291

ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ

ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวา
งโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับ

ไม่เกินสองแสนบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. กระทำ
3. ผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน
ประมาท

กฎหมายมีได้จำกัดลักษณะของการกระทำโดยประมาณไว้จึง
อาจกระทำด้วยประการใดๆก็ได้ เช่น ขับรถ เดิน วิ่ง ยิงปืน
เป็นต้น ซึงเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำการงดเว้น
การที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นก็ถือว่าเป็นการกระทำด้วย

- 12 -

มาตรา 292

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย
มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัย

คล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งต
น ในการดำรงชีพหรือในการอื่น

ใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้
มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. กระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกัน
2. แก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตนในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด
3. เป็นเหตุให้บุคคลนั้นฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตนเอง
องค์ประกอบภายใน
เจตนาพิเศษ : เพื่อให้บุคคลฆ่าตนเอง

- 13 -

มาตรา 292 (ต่อ)

การกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ ก็คือ กระทำด้วยวิธีการอัน

หยาบช้า ดุร้าย โหดร้าย ซึ่งถือตามความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป


มิใช่เฉพาะคนใดคนหนึ่ง

กระทำด้วยวิธีการคล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจทำด้วยวิธีการแสดงกิริยา
อาการ หรือด้วยวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง

เจตนาในการกระทำด้วยการปฏิบัติ เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตัวตาย
ต้องกระทำโดยมีมูลเหตุจงใจเพื่อให้ผู้ถูกกระทำฆ่าตนเองด้วยผู้
กระทำจึงมีความผิดตามมาตรานี้

- 14 -

มาตรา 293

ความผิดฐานช่วยเหลือยุยงให้ฆ่าตัวตาย
มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปีหรือผู้

ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำ
ของตนมีสภาพหรือสาระสำคัญ

อย่างไร หรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนได้ให้ฆ่าตนเอง
ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายใน
1. ผู้ใด
2. ช่วยหรือยุยงให้ฆ่าตนเอง

3. เด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปีหรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการของ
ตนมีสภาพหรือสาระสำคัญอย่างไร หรือไม่สามารถบังคับการกระทำ
ของตนได้

องค์ประกอบภายใน
เจตนา

- 15 -

มาตรา 294

ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้มีผลให้คนตาย
มาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่

สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุ
คคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมใน

การนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้
นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสีหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อ
ห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้
นั้นไม่ต้องรับโทษ

• เข้าร่วม หมายถึง เข้าไปมีส่วนร่วมในความสับสนวุ่นวายไม่เป็น
ระเบียบ ที่มีการใช้กำลังทำร้ายกัน
• บุคคลตั้งแต่ 3 4 5 เรื่อยไป แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 3
• หากมีผู้ที่อยู่ในวงชุลมุนต่อสู้ แต่ไม่ได้ใช้กำลังทำร้ายผู้นั้นย่อม
ไม่มีความผิดตามมาตรา 294 และไม่นับเป็นบุคคลที่เข้าร่วม
• เป็นความผิดที่ต้องการผล คือ ความตายของบุคคล เป็นผล
โดยตรงมาจากการชุลมุนต่อสู้
• หากไม่มีความตายเกิดขึ้น ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 294 แต่
อาจมีความผิดตามมาตรา 299 ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับ
อันตรายสาหัสจากการชุลมุนต่อสู้

- 16 -

มาตรา 294 (ต่อ)

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายใน

1. ผู้ใด

2. เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้

3. ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป

4. บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุน

ต่อสู้หรือไม่ ถึงแก่ความตายโดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

- 17 -

หมวด 2 : ความผิดต่อร่างกาย

ความผิดต่อร่างกาย มีปัญญัติในประมลกฎหมายอาญา
มาตรา 295 ถึง 300 ความผิดในหมวดนี้กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
ความปลอดภัยร่างกายมนุษย์ไ
ม่ให้ถูกใครทำร้าย ไม่ว่าการ
ทำร้ายนั้นจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือเกิดขึ้นจากการกระทำโดย
ประมาทก็ตาม

ความผิดต่อร่างกายกับความผิดต่อชีวิตมีความใกล้เคียง
กัน จะต้องแยกระหว่างเจตนาทำร้ายกับเจตนาฆ่าให้ได้ว่า
แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความผิดในหมวดนี้มีหลายฐานความ
ผิดด้วยกันดังนี้

• ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย มาตรา 295
• ความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์ มาตรา 296
• ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
สาหัส มาตรา 297
• ความผิดฐานทำร้ายร่า
งกายสาหัสโดยเหตุฉกรรจ์
มาตรา298
• ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัส
มาตรา 299
• ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้
รับอันตรายสาหัส มาตรา 300

- 18 -

มาตรา 295

ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย

หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกร
ะทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภาย
นอก
1. ผู้ใด
2. ทำร้าย
3. ผู้อื่น
4. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้นั้น (ผล

ของการกระทำ)

• ทำร้าย หมายถึง การกระทำต่อร่างกายหรือจิตใจอันมีผลให้บาด
เจ็บ เสียหาย การทำร้ายนั้นไม่จำกัดวิธี จะทำด้วยวิธีใดก็ได้ แต่
ต้องเป็นการทำร้ายนั้นต้องเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือ
จิตใจของผู้อื่น

- 19 -

มาตรา 296

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์
มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความ

ผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งป
ระการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภาย
นอก
1. เป็นการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
2. ความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติ

ไว้ในมาตรา 289
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดาเจตนาพิเศษ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา289



- 20 -

มาตรา 297

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุ

ให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสา
หัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพัน:หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเทนาเกินกว่ายี่สิบ
วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

เป็นผลฉกรรจ์ของม. 295 ต้องเป็นการกระทำความผิดฐาน
ทำร้ายร่างกายตามม. 295 เสียก่อน จึงจะสามารถเกิดผล
เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย

ผลที่เกิดขึ้นนั้นมีความร้ายแรงดังที่ระบุไวใน (1) ถึง (8)



- 21 -

มาตรา 298

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสโดยมีเหตุฉกรรจ์
มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความผิด

นั้นมีลักษณะประการหนึ่งประกา
รใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่น
บาทถึงสองแสนบาท

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสนั้นผู้กระทำมีเจตนาทำร้าย
ร่างกายแต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และ
เป็นการกระทำโดยมีเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289 เช่นทำร้าย
ร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้บุพการีได้รับอันตรายสาหัส

- 22 -

มาตรา 299

ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัส
มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สาม

คนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้น

หรือไม่รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อ
ห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายผู้
นั้นไม่ต้องรับโทษ

ความหมายเช่นเดียวกับม. 294 แต่มาตรานี้บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ก็ตามได้รับอันตรายสาหัส

- 23 -

มาตรา 300

ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

เหตมุใาหต้ผรู้อาื่น3รับ00อันผตู้ใรดากยรสะาทหัำสโดยต
ป้อรงะรมะาวทางโแทลษะจกำาครุกกรไมะ่ทเกำินนั้สนาเปม็ปนี

หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มีความผิดเช่นเดียวกับ มาตรา 291 แต่ผลของการกระทำ

นั้นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส สาหัสอย่างไร พิจารณาตาม
มาตรา 297

ข้อสังเกต
ประการแรก คำว่า ประมาท ต้องดู มาตรา 59 วรรคสี่ และ

ต้องปรากฏผลคือ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสเท่านั้น
ประการสอง ผู้กระทำความผิดตามมาตราต้องไม่ได้มีเจตนา

ทำร้าย แต่ประมาท

เป็นกรณีกระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส หาก
ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นใด้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจจะเป็นกรณี
ความผิดตามมาตรา 390

- 24 -

หมวด 3 : ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

ความผิดเกี่ยวกับการทำให้แท้งลูกมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 301 ถึงมาตรา 305 ซึ่งความผิดในหมวดนี้มีดังนี้

• ความผิดฐานทำให้หญิงแท้งล
ูก หรือยินยอมทำให้ผู้อื่นทำให้แท้ง

มาตรา 301
• ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก มาตรา 302 และมาตรา 303
• เหตุยกเว้นโทษตาม มาตรา 304
• เหตุยกเว้นความผิดตาม มาตรา 305

- 25 -

มาตรา 301

ความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูก หรือยินยอมทำให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก

มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตน
เองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้

ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหก
หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. หญิงใด
2. ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก
องค์ประกอบภายใน
เจตนา

แท้งลูกในทางกฎหมาย หมายถึง ทารกคลอดออกมาในลักษณะ
ที่ไม่มีชีวิด โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ ซึ่งเกิดจากเหตุธรรมชาติหรือ
น้ำมือมนุษย์

ไม่จำกัดวิธีการทำให้แห้งลูก

- 26 -

มาตรา 302

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก

มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิ
งแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอมต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้ง
จำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง
แสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

- 27 -

มาตรา 302 (ต่อ)

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก

1. ผู้ใด

2. ทำให้แท้งลูก

3. โดยหญิงนั้นยินยอมเจตนาธรรมดา

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

ความผิดฐานทำให้แห้งลูกโดยหญิงยินยอม มาตรา 302 วรรค

สองและวรรคสาม นั้นเป็นเหตุเพิ่มโทษ ถ้าการกระทำผิดตามวรรค
หนึ่ง เป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่น (นอกจากแท้ง

ลูก) หรือถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นตามผลที่เกิด

ขึ้นด้วย ซึ่งผลที่หนักขึ้นนั้นต้องเป็นผลธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้
ตามมาตรา 63 ด้วย

- 28 -

มาตรา 303

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก

มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแ
ท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอมต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่น
ด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และ
ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง
แสนบาทถึงสี่แสนบาท

- 29 -

มาตรา 303 (ต่อ)

วรรค 2 และ วรรค 3 เป็นเหตุเพิ่มโทษ ทำให้หญิงแท้งลูกด้วยวิธี
การใดๆ ก็ได้ เช่น หลอกเอายาให้กิน กด บีบ รีดท้องหญิง แต่

เป็นการกระทำที่หญิงไม่ยินยอม
เช่น ถูกบังคับขู่เข็ญ ถูกหลอก

หรือล่อลวง

ข้อพิจารณา

ㆍเหตุที่มาตรา 303 มีโทษหนักกว่ามาตรา 302 เพราะ

เป็นการทำให้หญิงแท้งลูกโดยฝ่าฝืนความยินยอมของหญิง

ㆍควรจะได้รับโทษหนักกว่ากรณีที่หญิงยินยอมให้กระทำ
การพยามกระทำความผิดตามมาตรา 302 วรรคแรกได้รับ
ยกเว้นโทษตามมาตรา 304 แต่การพยายามกระทำความผิด
ตามมาตรา 303 วรรคแรก ไม่ได้รับการยกเว้นโทษกรณีแท้ง
บุตร

- 30 -

มาตรา 304

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์

มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยา
ยามกระทำความผิดตามมาตรา

301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

การพยายามกระทำความผิด จะเป็นพยายามโดยเหตุบังเอิญ
ตามมาตรา 80 หรือพยายามที่ไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม
มาตรา 81 ก็ได้ ดังนั้นการพยายามทำให้แท้งลูกจะต้องปรากฎว่า
หญิงนั้นคลอดลูกออกมาอย่างมีชีวิต

กฎหมายจึงยกเว้นโทษให้สำหรับหญิงที่พยายามกระทำความผิด
ตามมาตรา 301 และสำหรับผู้ใดก็ตามที่พยายามกระทำความผิด
มาตรา 302 วรรคแรก ส่วนกรณีที่พยายามทำให้หญิงแท้งลูกโดย
หญิงไม่ยินยอมตามมาตรา 303 นั้นกฎหมายไม่ยกเว้นโทษให้ เพราะ
เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนความยินยอมของหญิงไม่สมควรที่ยกเว้นโทษ
ให้

- 31 -

มาตรา 305

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์

มาตรา 305 ผู้ใดเพียงแต่พย
ายามกระทำความผิดดังกล่าวใน

มาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์
และ

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของผู้หญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา
283หรือมาตรา294
ผู้กระทำไม่มีความผิด

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และ มาตรา
302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ ซึ่งหมายความว่าเป็น
แพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย ไม่รวมถึงพยาบาล
หรือผดุงครรภ์ และต้องได้รับความยินยอมจากหญิงด้วย หากมี
เหตุให้ทำแท้งได้ แต่หญิงไม่ยินยอมก็ไม่สามารถทำได้

- 32 -

หมวด 4 : ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือชรา

ซึ่งความผิดในหมวดนี้ บัญญัติไว้ดังนี้

ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกิน 9 ป
ี เพื่อให้เด็กพ้นไปเสียจากตนโดย

ประการที่ทำให้เด็กปราศจากผู้ดูแล มาตรา 306
ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเอง

ไม่ได้ เพราะอายุหรือความป่วยเจ็บหรือกายพิการหรือจิตพิการ
แล้วทอดทิ้ง มาตรา 307

ผู้ถูกทอดทิ้งตายหรือรับอันตรายสาหัส ผู้ทอดทิ้งรับโทษเพิ่มขึ้น
มาตรา 308

- 33 -

มาตรา 306

ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก
มาตรา 306 ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใดเพื่อ

ให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดย
ประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจาก

ผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. ทอดทิ้งไว้
3. เด็กอายุไม่เกิน 9 ปี
4. โดยประการที่จะทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดาหรือเจตนาพิเศษ เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสีย

จากตน

ทอดทิ้ง หมายถึง ละเลย ไม่เอาใจใส่ ทิ้วขวาง
ผู้กระทำต้องมีมูลเหตุจูงใจ คือ เพื่อให้เด็กนั้นไปเสียจากตนโดย
ไม่คิดดูแลเด็กนั้นอีก

- 34 -

มาตรา 307

ความผิดฐานทอดทิ้งคนที่พึ่งตนเองไม่ได้

มาตรา 307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแล

ผู้ซึ่งพึ่งตนเองมีได้ เพราะอายุ
ความป่วยเจ็บ กายพิการหรือจิต

พิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมีได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็น
เหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บุคคลที่กระทำความผิดตามมาตรานี้จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ตาม
กฎหมายหรือสัญญาในการดูแลบุคคลซึ่งพึ่งพาตนเองไม่ได้ คือ
หน้าที่ตามมาตรา 59

ผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ เนื่องจาก
• อายุ


• ความป่วยเจ็บ

• การพิการหรือจิตพิการ

ต้องเป็นการทอดทิ้งโดยไม่คิดจะกลับมาดูแลอีก

การทอดทิ้งดังกล่าว อาจเป็นเหตุให้เกิดอ้นตรายแก่ชีวิตของผู้
ถูกทอดทิ้ง

- 35 -

มาตรา 308

เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
มาตรา 308 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 306 หรือ

มาตรา 307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกท
อดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับ

อันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น

เป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นของมาตรา 306 และมาตรา 307
หากผู้กระทำนั้นถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส

ในกรณีถึงแก่ความตาย ต้องรับโทษเช่นเดียวกับมาตรา 290
กรณีได้รับอันตรายสาหัส ต้อง
รับโทษเช่นเดียวกับมาตรา 297




- 36 -

บรรณานุกรม

เฉลิมวุฒิ สาระกิจ . ( 2561 ). คำอธิบายกฎหมายอาญา : ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
พิมพ์ครั้งที่ 1 . สำนักกฎหมายนิติศาสตร์ขาดรัก




ตร.ศุภกิจ แย้มประชา .( 2564 ). กฎหมายอาญา มาตรา 288 ถึงมาตรา 333 . ครั้งที่ 5-6.

- 37-


Click to View FlipBook Version