The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

องค์ประกอบที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยปี66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Fms.lru2017, 2023-11-20 01:03:10

องค์ประกอบที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยปี66

องค์ประกอบที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยปี66

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 : ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ประเภทของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ เกณฑ์การประเมิน : ปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565 – 31 พฤษภาคม 2566) หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : ฝ่ายบริหารและศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เกณฑ์การประเมิน คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ ผลการด าเนินงาน : ในรอบปีการศึกษา 2565 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ดำเนินการพัฒนาระบบและกลไกด้าน ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ดังนี้ ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน 1 กําหนดนโยบายและ ทิศทางการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมและความเป็น ไทยเพื่อการพัฒนา ต่อยอด และสร้างคุณค่า ตาม จุดเน้นของสถาบัน คณะวิทยาการจัดการ ได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อเป็นแนวทางในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสืบสาน เผยแพร่ศิลปะ และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาและต่อยอดด้านศิลปวัฒนธรรมตามจุดเน้น ของมหาวิทยาลัย โดยการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่สอดคล้องกับ มาตรฐานการศึกษา ของมหาวิทยาลัย และยังเป็นพันธกิจที่สำคัญของคณะ คณะมีการกำหนดผู้รับผิดชอบโดยการ แต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีหน้าที่วางแผน ดำเนินการ กำกับติดตาม พัฒนาปรับปรุง รวมทั้งจัดทำ/รวบรวมแผนงานโครงการประจำปี งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับภาระงานด้านศิลปวัฒนธรรม สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน คณะฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย เป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีรองคณบดีฝ่ายบริหารและ ศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีการบูรณาการกิจกรรมระหว่างสาขาวิชา/ คณะ/ มหาวิทยาลัย [เอกสาร 4.1.1(1)] ในการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการพัฒนาต่อยอด และสร้างคุณค่า ได้มาจากการประชุม โดยมีผู้ร่วมจัดทำแผนประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี อาจารย์และสโมสรนักศึกษาคณะ วิทยาการจัดการ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปี การศึกษา 2565 นอกจากนั้นคณะยังได้มีการกำหนดพันธกิจที่สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่กำหนดไว้ โดยประสานงานความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยร่วมกับสำนัก ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย [เอกสาร 4.1.1(2)] 4.1.1(1) คำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปี การศึกษา 2565 4.1.1(2) นโยบายและ ทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและ ความเป็นไทยของมหาวิทยาลัย 2 จัดทําแผนด้านศิลปวัฒนธรรม และ ความเป็นไทย และกําหนดตัว บ่งชี้วัดความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้ง จัดสรรงบประมาณเพื่อให้ สามารถดําเนินการได้ตามแผน ค ณ ะ ว ิ ท ย า ก า ร จ ั ด ก า ร ม ี ก า ร จ ั ด ท ำ แ ผ น ด ้ า น ศ ิ ล ป ว ั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ ความเป็นไทย [เอกสาร 4.1.2(1)] โดยนำข้อมูลจากปีการศึกษา 2564 มาเป็นแนวทางและ จัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทบทวนกิจกรรม/โครงการ ผ่าน กระบวนการกลุ่มทำการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคที่พบในการจัดแต่ละกิจกรรม/โครงการโดยมี การจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย [เอกสาร 4.1.2(2)] แผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย วัตถุประสงค์ของแผน คือ 4.1.2(1) แผนงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ปีการศึกษา 2565


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์บุคลากรและนักศึกษา คณะวิทยาการ จัดการ ได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย 2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มีความสมบูรณ์และความพร้อมเพื่อเป็น บัณฑิตที่พึงประสงค์ 3. เพื่อบูรณาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยกับการเรียนการสอนและ กิจกรรมของคณาจารย์ และนักศึกษา 4. เพื่อให้การดำเนินโครงการทุกโครงการต้องมีระดับความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 1 คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ของไทย และสามารถปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมความกตัญญูกตเวทีต่อผู้อาวุโส ตัวชี้วัดที่ 2 นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดและดำเนินโครงการ/กิจกรรมทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตัวชี้วัดที่ 3 มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ไม่ น้อยกว่า 1รายวิชา หรือ 1 กิจกรรม / ต่อปีการศึกษา ตัวชี้วัดที่ 4 ทุกโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวของกับด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ อยู่ในแผนฯ มีผลประเมินอยู่ในระดับดี ตัวชี้วัดที่ 5 จำนวนโครงการ/กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ตั้งไว้ในแผน สามารถ ดำเนินโครงการได้เสร็จสิ้น และมีผลการประเมินความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ทั้งนี้คณะได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามที่กำหนดไว้ในแผนการใช้ จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท [เอกสาร 4.1.2(3)] โครงการ/ กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ (บาท) ผู้รับผิดชอบ 1.โครงการ อนุรักษ์และ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ไทยไทเลย ต.ค. 65 ถึง ก.ย. 66 20,000 รองคณบดี ฝ่าย ศิลปวัฒนธรรม และทุก หลักสูตรฯ 2.เผยแพร่ "ศาสตร์ พระราชา" สืบ สานพระราช ปณิธานพระบรม ราโชบาย ใน หลวงรัชกาลที่ 10 สู่การพัฒนา ท้องถิ่นไทเลย ต.ค. 65 ถึง ก.ย. 66 10,000 รองคณบดี ฝ่าย ศิลปวัฒนธรรม และทุก หลักสูตรฯ 4.1.2(2) รายงานผลการ ดำเนินงานจัดกิจกรรมทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน 3 ส่งเสริม สนับสนุนการ บูรณา การงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับ การเรียนการสอน หรือ การ วิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้าง ความรู้ ความเข้าใจใน ศิลปวัฒนธรรม การ ปรับและประยุกต์ใช้ ศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาการจัดการ ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับ การเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมการปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2565 แต่ละสาขาแต่ละสาขาวิชามีการบูรณาการด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ได้แก่ รายวิชา / สาขาวิชา รายละเอียด รายวิชาการขนส่งทางบกและการ ขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน สาขาวิชาการจัดกา รโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน โดยสอดแทรกกิจกรรมรูปแบบความสัมพันธ์ อันดีต่อกัน และค้าขายข้ามแดนกันมา ยาวนาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมการค้าของ คนที่นี่ ทุกๆปี จะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตัก บาตร 2 แผ่นดิน เป็นการสร้างมิตรภาพ ความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในพื้นที่ 2 แผ่นดิน ทำให้เกิดความสนิทสนมกัน ในทุก วันเสาร์จะมีตลาดนัดใหญ่ ส่วนใหญ่ประชาชน จากฝั่งลาว มักจะข้ามมาจับจ่ายใช้สอยซื้อ สินค้าที่ฝั่งไทยอย่างมากมาย คนลาวนิยมซื้อ สินค้าจากไทย เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริม ความงาม จึงมีผู้ประกอบการหลายรายที่อยู่ ในพื้นที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ทำธุรกิจ ค้าขายของใช้อุปโภค บริโภค วัสดุก่อสร้าง และทำธุรกิจส่งออกสินค้าข้ามแดนไปยัง ประเทศลาว โดยส่วนใหญ่คนลาวจะข้ามมา ซื้อสินค้าที่หน้าร้านโดยตรง แต่ก็มีจำนวนอีก ไม่น้อยที่นิยมสั่งสินค้า โดยผู้ประกอบการจาก ฝั่งไทยนำสินค้าข้ามไปส่งที่ประเทศลาว รายวิชาการจัดการธุรกิจการค้า สมัยใหม่เพื่อชุมชน สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้า สมัยใหม่ มอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ลงพื้นที่เข้า ไปเรียนรู้วิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน ชุมชนเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนที่ลง พื้นที่นั้นและนำ ข้อมูลมานำเสนอหน้าชั้น เรียนแบบออนไลน์ นอกจากนั้นอาจารย์ ผู้สอนได้ให้นักศึกษานำ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมา เพิ่มมูลค่าให้แก่กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ชุมชนใน จังหวัดเลย โดยการ นำเสนอผลงาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ใช้ชื่อ กิจกรรมว่า ตลาดนัด ผลิตภัณฑ์ชุมชนเมือง เลย กิจกรรมดังกล่าว นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นักศึกษาได้เรียนรู้วิถี ชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ในท้องถิ่นและ สามารถต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ใน ท้องถิ่นมี มูลค่ามากขึ้น ส่งเสริมให้นักศึกษา เป็น ผู้ประกอบการในอนาคตได้ รายวิชาการประกอบการธุรกิจชุมชน สาขาวิชาการจัดการ มอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จัดตลาดนัด ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยให้นักศึกษาได้เข้าไป เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในชุมชนที่ลงพื้นที่นั้น แต่งกายในชุดพื้นเมืองของคนจังหวัดเลย และ นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์และวิถีชีวิตของคน 4.1.3(1) สรุปผลการ ดำเนินงานการบูรณาการงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับการเรียนการสอนและกิจกรรม นักศึกษา 4.1.3(2) รายงานผลการ ดำเนินงานการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรในปี การศึกษา 2565 4.1.3(3) สรุปผลการ ดำเนินงานการบูรณาการงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับการบริการวิชาการ


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน ในชุมชนจังหวัดเลย จัดแสดงออกบูธ ณ บริเวณโถ่งตึก 19 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กิจกรรมดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชีวิต และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและสามารถ ต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมีมูลค่ามากขึ้น ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมี มูลค่ามากขึ้นอีกทั้งได้เรียนรู้วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมในชุมชน รายวิชาจริยธรรมสำหรับนัก เศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การบูรณาการกับการทำนุศิลปวัฒนธรรม มี การดำเนินการเป็นประจำทุกปีโดยสอดแทรก กับทุกรายวิชาทางเศรษฐศาสตร์สอดแทรก กับการพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ป ล ูกฝ ังการ มีส ่ว นร ่วม การ ส ืบ ส าน ศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ความกตัญญู ความมีจิตอาสา รายวิชากฎหมายและจรรยาบรรณ วิชาชีพบัญชี สาขาวิชาการบัญชี โดยมอบหมายรายงานกลุ่มให้นักศึกษาทำ หนังสั้นแสดงบทบาทสมมติถึงการผิด จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม รายวิชาการจัดเลี้ยง สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการ โรงแรม มอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ดำเนินการ จัดเลี้ยงตามสถานการณ์ต่าง ๆ โดยสอดแทรก กิจกรรมรูปแบบการจัดงาน การจัดอีเวนท์ที่ หลากหลายทางศิลปะ และวัฒนธรรมภาค ต่าง ๆ ของประเทศไทย รายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจดิจิทัล มีส่วนของการทำสื่อ วิดีโอ อาจารย์ผู้สอนได้ มอบหมายให้นักศึกษา ลงมือทำคลิปเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวภายในจังหวัดเลย นำเสนอใน รูปแบบของ ไฟล์วิดีโอ แล้วทำการ อัพโหลด บน Youtube รายวิชาการตลาดเชิงกิจกรรม สาขาการตลาด มอบหมายให้นักศึกษามีทักษะในการวางแผน ทางการตลาดในการขายสินค้าจริง การจัดทำ ตราสินค้า การสื่อสารการตลาด และการจัดก ตลาดเชิงกิจกรรมมีการเสนอขายสินค้า และ บอเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน รายวิชาวางแผนและออกแบบงาน กราฟิก บูรณาการกับเนื้อหาการวางแผนและ ออกแบบงานกราฟิก โดยให้ 1) ให้นักศึกษาเลือกสถานที่ท่องเที่ยว งาน ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตปัญหา ของ จ.เลย มา เตรียมออกแบบกราฟิก 2)หลังจากผลิตชิ้นผลงานกราฟิกแล้วให้ นักศึกษานำเสนอเผยแพร่ผ่านสื่อช่องทาง ต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ขององค์กรที่ ไปทำงาน ผลลัพธ์ที่ไดคือ นักศึกษาได้รู้จักการ ลงพื้นที่ และศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยว งานศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ป ั ญ ห า ข อ ง จ ั ง ห ว ั ด เ ล ย แ ล ะ ไ ด ้ ใ ช ้


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน รายวิชาการสื่อสารเพื่อการส่งเสริม การท่องเที่ยว สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล ความสามารถในการออกแบบงานและผลิต ง า น เ พ ื ่ อ ช ่ ว ย ป ร ะ ช า ส ั ม พ ั น ธ ์ ง า น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่น่าสนใจของ จังหวัด เลย ให้นักศึกษาบรรยาย นำเสนอตัวอย่างด้าน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลลัพธ์ นักศึกษา ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมในท้องถิ่นแล้วนำมาทำสื่อ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและงานด้าน วัฒนธรรม


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน 4 มีการกํากับติดตามให้ หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสําเร็จตาม ตัวบ่งชี้ที่วัดความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์ของแผน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็น ไทย และรายงานผลการ ดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ คณะวิทยาการจัดการ ได้มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งคณะได้ ดำเนินการจัดกิจกรรมที่คณะ จัดสรรงบประมาณไว้ ดังนี้ ที่ ชื่อโครงการ การด าเนินการ 1 โครงการทอดกฐินสามัคคีและร่วม สมโภชองค์กฐิน คณะ ได้ดำเนินโครงการทอดกฐิน สามัคคีและร่วมสมโภชองค์กฐิน โดย มีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็น เจ้าภาพ ณ วัดโพนค่าย บ้านโพนค่าย หมู่ 6 ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เพื่อเป็นการสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2565 2 โครงการสืบสานวิถีไทย ร่วมสานใจ วจ. คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้ สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดี งามของไทย และสามารถปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้อาวุโส ดำเนินการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 3 โครงการเผยแพร่ "ศาสตร์พระราชา" สืบสานพระราชปณิธานพระบรมรา โชบาย ในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การพัฒนา ท้องถิ่นไทเลย อาจารย์บุคลากรและนักศึกษา เข้าใจ ถึงการขับเคลื่อนพระบรมราโชบาย ในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ และพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมดังกล่าว ได้ดำเนินการในวันที่ 1 มีนาคม 2566 นอกจากนี้คณะกรรมการฝ่ายบริหารและศิลปวัฒนธรรม ได้มีการประชุมกำกับ ติดตามการดำเนินงาน เพื่อประเมินความสำเร็จตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในการกำกับ ติดตามการจัดกิจกรรม ตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 [เอกสาร 4.1.4(1)] ดังนี้ ตัวชี้วัดความส าเร็จ ค่าเป้าหมาย บรรลุเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่ 1 คณาจารย์ บุคลากรและ นักศึกษาได้สืบสานประเพณีและ วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และสามารถ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้อาวุโส 3 โครงการ บรรลุ ตัวชี้วัดที่ 2 นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัด และดำเนินโครงการ/กิจกรรมทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 3 โครงการ บรรลุ 4.1.4(1) รายงานการ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็น ไทย ปีการศึกษา 2565 4.1.4(2) รายงานผล ประเมินความสำเร็จตาม ตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของแผนด้าน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565


ข้อ เกณฑ์การประเมิน ผลด าเนินงาน เอกสารหลักฐาน ตัวชี้วัดที่ 3 มีการจัดการเรียนการสอนที่ บูรณาการกับการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา หรือ 1 กิจกรรม / ต่อปีการศึกษา 1 รายวิชา หรือ 1 กิจกรรม บรรลุ ตัวชี้วัดที่ 4 ทุกโครงการ/กิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับด้านศิลปวัฒนธรรมและความ เป็นไทยที่อยู่ในแผนฯมีผลประเมินอยู่ใน ระดับดี 3 โครงการ บรรลุ ตัวชี้วัดที่ 5 จำนวนโครงการ/กิจกรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ตั้งไว้ในแผน สามารถดำเนินโครงการได้เสร็จสิ้น และมี ผลการประเมินความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 3 โครงการ บรรลุ จากผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้วัดที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ความสำเร็จของแผนงานด้านศิลปวัฒนธรรมและ ความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 พบว่า คณะมีผลการดำเนินการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 100 ของความสำเร็จเป็นไป ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ ได้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อสรุปและขอข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการจัดกิจกรรม และรายงานผลการดำเนิน โครงการต่อคณะกรรมการบริหารคณะวิทยาการจัดการ 5 นําผลการประเมินไปปรับปรุง แผนหรือกิจกรรมด้านทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรมและความ เป็นไทย คณะวิทยาการจัดการ ได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนและกำหนดโครงการแผนงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2565 โดยคณะกรรมการได้ร่วมกัน พิจารณาข้อเสนอแนะจากรายงานการดำเนินงาน มาเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการรปรับปรุงและ นำไปสู่การจัดการทำแผนการดำเนินงานทำนุศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งนี้คณะได้ ดำเนินการนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ [เอกสาร 4.1.5(1)] คือ ควรส่งเสริมภูมิปัญญาในชุมชนและท้องถิ่น ให้สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชน ได้ คณะได้นำผลประเมินไปปรับปรุงแผน โดยการปรับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้าน ศิลปวัฒนธรรม เป็นแผนกิจกรรมงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2566 4.1.5(1) แบบรายงาน ผลการดำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 4.1.5(2) รายงานการ ประชุมคณะกรรการด้าน ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย 4.1.5(3) แผนด้านศิลป วัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2565


การประเมินตนเอง เป้าหมาย ผลการด าเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง บรรลุเป้าหมาย บรรลุ ไม่บรรลุ 5 ข้อ 5 ข้อ 5 คะแนน


Click to View FlipBook Version