The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่อง ผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 24 โรงเรียนพระยาประเสิรฐ สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by minhoshinee123, 2022-02-20 05:49:45

เรื่อง ผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 24 โรงเรียนพระยาประเสิรฐ สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) (1)

เรื่อง ผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 24 โรงเรียนพระยาประเสิรฐ สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) (1)

เรื่อง ผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์
ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2/4

โรงเรียนพระยาประเสิรฐ สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)

1.ชื่อโครงการวิจัย (ระบุชื่องานวิจัย)

ผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น
อนุบาล 2/4 โรงเรียนพระยาประเสิรฐ สุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)

2.ชื่อผู้วิจัย
นางสาววิลาสินี แสงระยับ

3.ความสำคัญและที่มาของปัญหา

การคิดวิเคราะห์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการคิด
ทั้งมวล มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้แนวคิด เกี่ยวกับความหมายของการคิดวิเคราะห์ ดังนี้

Good (1973, p. 680) ให้ความหมายการคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดอย่างรอบคอบตามหลักของการประเมิน
และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อหาข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้ตลอดจนพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและใช้
กระบวนการตกรรวิทยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Bloom (1974 อ้างถึงใน นิตยา สิทธิ, 2553, หน้า 14) กล่าวว่า การคิดวิเคราะห์ว่าเน้นที่การตีความของข้อมูล
ไปยังองค์ประกอบและการค้นหา ความสัมพันธ์และแนวทางที่ใช้ในการจัดการวิเคราะห์ บางทีถูกควบคุมโดย
เทคนิคหรือกลวิธีซึ่งเป็นประโยชน์ในการแสดงความหมายหรือจัดตั้งการสรุป

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2552, หน้า 13) กล่าวว่าการคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดที่สามารถจำแนกแยกแยะ
ข้อมูลหรือวัตถุสิ่งของต่างๆหรือเรื่องราวเหตุการณ์ออกเป็นส่วนย่อยตามหลักการ หรือเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อค้นหา
ความจริงหรือความสำคัญที่แฝงอยู่ หรือปรากฎอยู่ จนได้ความคิดที่จะนำไปสู่ข้อสรุป และการนำไประยุกต์ใช้

สุวิทย์ มูลคำ (2554, หน้า 21) ให้ความหมายการคิดวิเคราะห์ว่า หมายถึง ความสามารถในการจำแนก
แยกแยะองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น วัตถุสิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์และความ
สัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบ เหล่านั้น เพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญของสิ่งที่
กำหนดให้ สำนักทดสอบทางการศึกษา
จากแนวคิดของนักการศึกษาสรุปได้ว่า การคิดวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแยกแยะ
รวบรวมข้อมูล บอกความเหมือน ความต่างของ ข้อมูลหรือวัตถุสิ่งของต่างๆ บอกความสัมพันธ์เชื่อมโยง
อย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของ ข้อมูลที่เพียงพอ

การพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย ดังที่ พรเพ็ญ ศรีววิัฒน (2546: 1) ไดก ลาวไววา อนึ่ง เด็กวัยนี้อยูในขั้นของการรูคิดโดย
อาศัยสิ่งที่เปน รูปธรรมเปนสื่อ เชน จะเปรียบเทียบความยาว อาจจะยากแตถ าเอาไมที่ยาวตา งกันมาเปรียบเทียบดูเด็กก็จะเขา
ใจเรื่องราวความกวา งยาวได ชัดเจนขึ้น การปลูกฝงสิ่งใดก็ตามเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กจึงจําเปนตอ งอาศัยสื่อที่เปนตัวบุคคล
และสื่อที่เปน วัตถุผสมผสานกัน (ฉวีวรรณ จึงเจริญ. ม.ป.ป.: 69) ไดกลาววา เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดย การกระทํา โดยการกระทํา
นั้นจะแฝงอยูใ นกิจกรรมผา นการเลน ฉะนั้นการจัดประสบการณการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดเปน กิจกรรมโดย
อาศัยการเล่นของเด็กเปน การพัฒนาการ เคลื่อนไหวใชกล า มเนื้อสวนตางๆ ของรา งกายพรอ มกับพัฒนาใหเด็กรูจ ักคิด เกิดการ
รับรูแ ละเรียนรู ดว ยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ (จินตนา หมูผึ้ง. 2525: 6) ไดก ลาววา การเลน เปนธรรมชาติอยา งหนึ่ง และมีความ
สําคัญมากเพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์ในการเลน การเห็น การสัมผัส การเรียนรู้เกิดไดโดยตรงจากการเลน ข
องเด็ก ซึ่งจะมีคุณคามากสำหรับเด็กในการชว ยให้เด็กเกิด พัฒนาการทุกดาน ทั้งยังเปน การเพิ่มพูนประสบการณของเด็ก
ใหกวางขวางขึ้น (พัฒนา ชัชพงศ. 2530: 114) การจัดประสบการณสําหรับเด็กปฐมวัย จัดในรูปแบบของกิจกรรมผา นสื่อการ
เลนเพื่อใหเ ด็กไดร ับประสบการณต รงเกิดการเรียนรูผ านสื่อที่เปน รูปธรรม เด็กมีโอกาสสังเกต สัมผัส สำรวจคนควา ทดลอง
แกป ญหาดวยตนเองและการมีปฏิสัมพันธกับเด็กอื่นๆสงเสริมให้เด็กลงมือกระทํา โดยคํานึงถึงความแตกตา งและความสนใจของ
เด็ก รวมทั้งควรเป็นกิจกรรมที่เปด โอกาสใหเด็กได ประสบความสําเร็จเพื่อสรางความมั่นใจใหแกเด็ก

หากเด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิคราะห์ เด็กจะมีการคิดที่ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่จะช่วยให้การคิด
นั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา ในแต่ละขั้นตอนก็ต้องอาศัยทักษะ
การคิดย่อยๆ อีก จึงจะทำให้กระบวนการคิดนั้นเกิดประสิทธิภาพ ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิด
ขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างทำให้เราได้ข้อเท็จจริงที่เป็น
รากฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา การประเมินและการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

จากการสังเกตพฤติกรรม การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ การสัมภาษณ์ ฯลฯ พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาล2/4โรงเรียนพระยา
ประเสิรฐ สันทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) เด็กในชั้นเรียนมีปัญหาในเรื่องของการคิด เด็กคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ได้ไม่
เหมาะสมกับวัย ไม่สามารถจำแนกสิ่งของ แต่ละประเภทได้ เด็กในชั้นเรียนทั้งหมด17 คน จะมีสภาพปัญหาดังกล่าว 9
คนซึ่งจากสภาพปัญหาและความสำคัญดังที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดย
การใช้ปริศนาคำทายเป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบจากการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ เด็กไม่สามารถใช้ความคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในการจับคู่รูปทรง
ประเภท และสีของสิ่งของได้ ไม่สามารถแยกความเหมือนและความต่างของสิ่งของได้ รวมไปถึงไม่สามารถเข้าใจและใช้
กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เด็กไม่สามารถบอกความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองรู้
อะไร หรือต้องการรู้อะไร อาจกล่าวได้ว่าเด็กไม่มีกระบวนการสงสัยใคร่รู้เลยขาดทักษะในการสื่อสาร หรือมีทักษะการ
สื่อสารอยู่ในระดับต่ำ โดยไม่สามารถที่จะคิดเชื่อมโยงในการสร้างประโยคสื่อสารง่ายๆได้ พูดไม่ชัด หรือไม่พูดเลยเด็กมี
ทักษะระดับต่ำในการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ และมีทักษะการช่วยเหลือตนเอง รวมถึงทักษะดูแลตนเองตามวัยในระดับ
ต่ำ (มิส แววมยุรี ประสานเนตร.2560:1)

การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัย เริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยเปิดโอกาส ให้เด็กมีส่วน
ร่วมในการสืบเสาะแสวงหาความรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจ ให้รู้จักคิด และจดจำความรู้ จากสิ่งที่คิด สิ่งที่ทำ ได้สัมผัส รับรู้
ค้นคว้า ทดลองในสิ่งที่อยากรู้อยากเห็นอยางเป็นขั้นตอน รู้จักสร้าง ใช้และเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้แกปัญหาเมื่อ
เผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ และบุคคล ที่
เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละวัน (กุลยา ตันติผลา
ชีวะ, 2551, หน้า 36-40)

ปริศนาคําทายเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาการด้านทักษะด้านภาษาไทยให้แก่เด็กได้ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่มี
คุณค่ามากเพราะเป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักหาคําตอบ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลเป็นคนมี
เหตุผล เป็นคนช่างสังเกต กล้าเสี่ยง กล้าเดา และกล้าที่จะคิดมี ความละเอียดถี่ถ้วน รู้จักหารูปแบบและการใช้ภาษาในการ
ตั้งคําถาม จากที่กล่าวมาการใช้ปริศนาคํา ทายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาและส่ง
เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา โดยเฉพาะด้านการคิด
วิเคราะห์

ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะปริศนาคำทายซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้หนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะการคิด
ของเด็กปฐมวัยได้เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามากเพราะเป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักหาคําตอบเปนคนชา ง
สังเกต กลา เสี่ยง กลาเดา และกลาที่จะคิด มีความละเอียดถี่ถวน รูจักหารูปแบบและการใชภ าษาในการตั้งคําถาม

ปริศนาคําทายเปนกิจกรรมที่สามารถชวยพัฒนาการดา นทักษะดา นภาษาไทยใหแกเด็กไดอีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่มีคุณ
คา มากเพราะเปนการเลนที่ชวยใหผูเลนรูจ ักคิด รูจักหาคําตอบ อีกทั้งเปน เครื่องมือที่ช่วยใหบ ุคคลเปน คนมีเหตุผล
เปนคนชางสังเกต กลา เสี่ยง กลา เดา และกลาที่จะคิด มีความละเอียดถี่ถว น รูจ ักหารูปแบบและการใชภาษาในการตั้งคํา
ถาม ซึ่งสอดคลองกับ ผาสุก มุทธเมธา (2540 : 27 ) กลาววา ปริศนาคําทายทําใหคําและศัพทขยายตัว นอกจากนั้นยัง
ฝก ใหเ ด็ก รูจักการผูกประโยค สํานวน วลีขึ้นใชในภาษาไทยเป็นการสื่อความหมายใหเ กิดภาพพจน 3 และความรูส ึกหรือ
อารมณซึ่งเปน พื้นฐานในการฟง พูด อาน และเขียน ซึ่งทักษะดังกลา วตองฝก เสมอๆจึงจะทําใหผูฝก ประสบความสําเร็จ
และใชภาษาไดอ ยางมีคุณภาพ

4. วัตถุประสงค์การทำวิจัย
เพื่อศึกษาผลการใช้ปริศนาคำทายที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ปริศนาคำทาย
6. สมมติฐานการวิจัย
การใช้ปริศนาคำทายช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
7. ขอบเขตการวิจัย
7.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
7.1.1ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/4โรงเรียนพระยาประเสริฐ สุนทรา
ศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่1 ปี
การศึกษา 2565 จำนวน 3 ห้อง ห้องเรียนละ 30 คนรวมนักเรียนทั้งสิ้น 90 คน
7.1.2กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/4 โรงเรียนพระยาประเสริฐ
สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาค
เรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง ห้องเรียนละ 17 คน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 17 คน ได้มาโดยวิธี
การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กในช่วงที่ไปสังเกตการสอน

7.2 ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น
ปริศนาคําทายเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาการด้านทักษะด้านภาษาไทยให้แก่เด็กได้ อีกทั้งยัง
เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามากเพราะเป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักหาคําตอบ อีกทั้งเป็น
เครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลเป็นคนมีเหตุผล เป็นคนช่างสังเกต กล้าเสี่ยง กล้าเดา และกล้าที่จะคิดมี
ความละเอียดถี่ถ้วน รู้จักหารูปแบบและการใช้ภาษาในการตั้งคําถาม ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
สําหรับเด็ก
ตัวแปรตาม
การคิดวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการจำแนกแยกแยะ รวบรวมข้อมูล บอกความเหมือน ความต่าง
ของ ข้อมูลหรือวัตถุสิ่งของต่างๆ บอกความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของข้อมูลที่
เพียงพอเพื่อค้นหาความจริงหรือความสำคัญที่แฝงอยู่ หรือปรากฎอยู่ จนได้ความคิดที่จะนำไปสู่ข้อ
สรุป และการนำไประยุกต์ใช้
8.ปัญหาการวิจัย
การใช้ปริศนาคำทายช่วยส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้จริงหรือไม่

9.นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ปริศนาคำทาย หมายถึง ถ้อยคำหรือคำพูดที่นำมาผูกเป็นคำถามเพื่อเป็นเงื่อนงำให้ทายหรือตอบจะมีบางสิ่งบางอย่างเป็นเค้า
หรือมีความหมายของคำถามเหล่านั้นอยู่ในตัวเพื่อให้ผู้ฟังจับใจความแล้ วคิดหาคำตอบได้มีลักษณะโครงสร้างของปริศนาคำทายซึ่ง
ประกอบด้วย 3 ส่วนคือส่วนน่าส่วนเนื้อหาและส่วนส่งท้าย ตัวอย่างการใช้ปริศนาคำทายประกอบการเรียนรู้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการเร้าความสนใจและเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนที่จะเรียนเนื้อหาใหม่ เช่น จะสอนเรื่อง“
ฟัน” เราสามารถที่จะนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้ปริศนาคำทายถามว่า“ อะไรเอ่ยมาทีหลัง แต่ไปก่อน "(ฟัน)
2. ขั้นสอน เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานและไม่น่าเบื่อในเรื่องที่เรียน เช่น การสอนคำพังเพยไทยเราอาจให้เด็กทายท่าทางตาม
คำพังเพยต่างๆที่ สอนเป็นต้น
3. ขั้นสรุป เพื่อเป็นการสรุปความคิดรวบยอดของนักเรียนที่เรียนมาแล้ว และเป็นการฝึกทักษะและความจำของเด็กได้อีกด้วย
นอกจากนั้นปริศนาคำทายยังสามารถประยุกต์ได้กับทุกเนื้อหาวิชาอีกด้วยซึ่งทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ความ สามารถของครูในการที่จะ
ดัดแปลงหรือคิดค้นคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาที่สอน เช่นวิชาวิทยาศาสตร์คำถามแมว 2 ตัวเดินนำหน้าแมว 1 ตัวแมว 2 ตัว
ตามหลังแมว 1 ตัวแมว 1 ตัวตามหลังแมว 2 ตัวและแมว 1 ตัวอยู่กลางแมว 2 ตัวอยากทราบว่ามีแมวทั้งหมดกี่ตัว (3 ตัว) เป็นต้น

2. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึง 6 ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่าง
ซักถาม ชอบค้นหาสำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นตัวของ ตัวเองเป็นวัยที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเต็มที่
3.ทักษะการคิดวิเคราะห์ หมายถึง การคิดโดยพิจารณา แยกแยะข้อ มูลจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นโด
ยอาศยัหลกัเหตุและผลเพื่อใชใ้นการแกป้ ัญหาและการตดัสินใจที่ถูกตอ้ง

บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ทั้งของต่างประเทศ
และในประเทศ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับปริศนาคำทาย
1.1 ความหมายของปริศนาคำทาย
1.2 จุดมุ่งหมายของปริศนาคำทาย
1.3 ประเภทของปรฺศนาคำทาย
1.4 ประโยชน์ที่ได้จากปริศนาคำทาย
1.5 การนําปริศนาคำทายมาใช้ในการเรียนการสอน
1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปริศนาคำทาย

2. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์
2.1 ความหมายของการคิดวิเคราะห์
2.2 ทักษะการคิดวิเคราะห์
2.3 กระบวนการคิดวิเคราะห์
2.4 ประโยชน์ของการคิกวิเคราะห์
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
3.2 งานวิจัยในประเทศ

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัย


ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/4โรงเรียนพระยาประเสริฐ สุนทราศรัย(กระจ่าง สิงห
เสนี) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 ห้อง
ห้องเรียนละ 30 คนรวมนักเรียนทั้งสิ้น 90 คน
กลุ่มตตัวอย่างในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2/4 โรงเรียนพระยาประเสริฐ สุนทรา
ศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา
2565 จำนวน 1 ห้อง ห้องเรียนละ 17 คน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 17 คน
เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ปริศนาคำทาย บูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน จำนวน 4 แผน
5 เรื่อง ใช้เวลาแผนละประมาณ 30 นาที
2.แบบทดสอบปริศนาคำทายก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
3.ปริศนาคำทายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาจุดหมาย
คุณลักษณะตามวัย สาระการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการ
1.2 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่สามามารถนำมาพัฒนา
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้ คัดเลือกและวิเคราะห์การเรียนรู้ที่จะเกิดกับเด็กปฐมวัย
โดยเน้นเนื้อหาและลักษณะของสื่อ ปริศนาคำทาย เป็นศัพท์พื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ได้เหมาะสม
กับวัย จำนวน 5 กิจกรรม
1.3 สร้างแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ปริศนาคำทาย บูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์
ประจำวันจำนวน 4 แผน 5เรื่อง

2.จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 5กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 หน่วย ตัวเรา เรื่อง อวัยวะของฉัน เป็นกิจกรรมที่บูรณาการเข้ากับ กิจกรรมเสริม

ประสบการณ์ โดยใช้ปริศนาคำทายชุด หน้าที่ฉันทำอะไรเอ่ย
กิจกรรมที่ 2 หน่วยตัวเรา เรื่อง เพศชาย เพศหญิง เป็นกิจกรรมที่บูรณาการเข้ากับกิจกรรมเสริม

ประสบการณ์ โดยใช้ปริศนาคำทายชุด อะไรเอ่ยหายไป ตามหาภาพที่หายไป
กิจกรรมที่ 3 หน่วยโรงเรียน เรื่องสถานที่ในโรงเรียน เป็นกิจกรรมที่บูรณาการเข้ากับกิจกรรมเสริม

ประสบการณ์ โดยใช้ปริศนาคำทายชุด ฉันจะไปไหนที่ไหนดี
กิจกรรมที่ 4 หน่วยต้นไม้ เรื่อง ส่วนประกอบของต้นไม้ บูรณาการเข้ากับกิจกรรมเสริมประสบการณ์

โดยใช้ปรฺศนาคำทาย ชุด ฉันคืออะไร
กิจกรรมที่ 5 หน่วยสัตว์น่ารัก เรื่อง ประเภทของสัตว์ บูรณาการเข้ากับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดย

ใช้ปริศนาคำทายชุด ตัวอะไรเอ่ยอยู่ข้างหลัง
1.4 นำแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษ า บูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน จำนวน 4 แผน
5 เรื่อง เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมตามเนื้อหาเพื่อปรับปรุงแก้ไข

2. การสร้างแบบทดสอบปริศนาคำทาย เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับทดสอบก่อน และหลัง
การร่วมกิจกรรม ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

2.1 ศึกษาข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างแบบ
ทดสอบปริศนาคำทาย ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

2.2 สร้างแบบทดสอบปริศนาคำทาย เป็นแบบทดสอบชนิดโยงเส้นจับคู่ภาพคำตอบ –
คำถาม โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกข้อละ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0
2.3 นำแบบทดสอบปริศนาคำทาย เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง
ความเหมาะสมตามเนื้อหาเพื่อปรับปรุงแก้ไข

2.4 นำแบบทดสอบปริศนาคำทาย ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปใช้เก็บข้อมูลกับเด็กปฐมวัย
ที่มีอายุ 5 – 6 ปี ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 17 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่2/4 จำนวน 17 คน และให้
นักเรียนทำแบบทดสอบปริศนาคำทาย ก่อนทำกิจกรรม (PRE - TEST) 1 ครั้ง
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมโดยใช้ปริศนาคำทาย บูรณาการเข้ากับแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน
ตามแผนที่สร้างขึ้น จำนวน 4 แผน 5 เรื่อง โดยใช้เวลาประมาณกิจกรรมละ 30 นาที สัปดาห์ละ1
กิจกรรม รวมเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และให้นักเรียนทำแบบทดสอบปริศนาคำทายหลังการทำ
กิจกรรม (POST - TEST) ครบ 5 สัปดาห์
3. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนการทดลอง (PRE - TEST) และหลังการทดลอง (POST -TEST)
ไปวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ(ค่าเฉลี่ยร้อยละ)

การวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ตามลำดับ ดังนี้
1.นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ด้วยตนเอง
สถิติที่ใช้ในกำรวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของทักษะทางคณิตศาสตร์ด้าน
ภาษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย
3.การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน

คุณทบทวนพื้นฐานความสอดคล้องกันของ
ประธานกับกริยาเสร็จแล้ว!

จำไว้ว่า:
ประธานเอกพจน์จะจับคู่กับกริยาเอกพจน์ และประธานพหูพจน์จะจับ
คู่กับกริยาพหูพจน์
บุพบทวลีสามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ ดูยุ่งยาก เป็นการดีที่จะไม่ใส่ใจ
กับบุพบทวลีที่ตามหลังประธาน

สำหรับประโยคที่มีกริยาเชื่อม กริยาควรสอดคล้องกับประธานเสมอ
ไม่ใช่สอดคล้องกับส่วนเติมเต็มประธาน


Click to View FlipBook Version