The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 21221, 2024-01-15 02:49:56

Colorful Solar System Page Border

Colorful Solar System Page Border

ระบบสุริยะ Solar System Solar System ด.ญ.ชลิดา สมสนุก ม.3/7 เลชที่25


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็น ดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวง อาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้หรืออยู่ภายใต้แสงจ้า ของดวงอาทิตย์ทำ ให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศ เพียงลำ เดียวที่เคยสำ รวจดาวพุธในระยะใกล้คือ ยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ.1974- 1975) และ สามารถทำ แผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาว พุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาตไม่มี ดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้น บรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็ก ขนาดใหญ่ทำ ให้เกิด สนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ1เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็ก โลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ดาวพุธ


ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีขนาดใกล้เคียง กับโลกมาก จนได้ชื่อว่าเป็น น้องสาวฝาแฝด กับโลก มองเห็นเป็นดวงสี ขาว สว่างสุกใสที่สุดในท้องฟ้า ชาวโรมันถือว่า ดาวศุกร์เป็นสัญลักษณ์ ของเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ดาวศุกร์เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จึงเปลี่ยนตำ แหน่งในท้องฟ้าทุกวัน Tunc Tezel รอให้ดวงอาทิตย์ตกลับ ขอบฟ้า ประมาณ ๗ องศา และถ่ายภาพดาวศุกร์ห่างทุกๆ ๕ วัน ต่อเนื่อง นาน ๓๘ คืน หลังจากนั้น ดาวศุกร์จะหายลับไปช่วงหนึ่ง และไปปรากฏให้ เห็นตอนเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์โดย เฉลี่ย ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร ปรากฏให้เห็นได้ทาง ๒ ฟากฟ้า เช่นเดียวกับดาว พุธ เมื่อเห็นดาวศุกร์อยู่ในท้องฟ้าด้านตะวันออกตอนเช้ามืด ก่อนดวง อาทิตย์ขึ้น คนไทยแต่ก่อนจึงเรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก แต่เมื่อ ดาวศุกร์อยู่ในท้องฟ้าด้านตะวันตก ตอนพลบค่ำ ตกลับฟ้าตามหลังดวง อาทิตย์ ผู้คนเข้าใจว่า เป็นดาวคนละดวง จึงเรียกว่า ดาวประจำ เมือง ปรากฏการณ์นี้จะเข้าใจง่ายขึ้น ถ้านึกถึงวงโคจรโลก และดาวศุกร์ใน อวกาศ เนื่องจากดาวศุกร์โคจรอยู่วงในที่ใกล้ดวงอาทิตย์ มากกว่าโลก เมื่อ มองจากโลกเทียบกับดวงอาทิตย์ บางครั้ง เราจึงเห็นดาวศุกร์ โคจรไปอยู่ ทางด้านตะวันออก และบางครั้งก็อยู่ทางด้านตะวันตกของ ดาวศุกร์


เป็นดาวเคราะห์ลำ ดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็น วัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมี ชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐาน อื่นได้ความว่าโลกกำ เนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปี ก่อน[24][25][26] โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุ อื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่ง เป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้น โลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ[n 4] แกนหมุนของโลกเอียงทำ ให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิว โลก[27] อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวง จันทร์ก่อให้เกิดน้ำ ขึ้นลงมหาสมุทร ทำ ให้การหมุนบน แกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของ โลก[28] โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดใน ระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง โลก


ดาวอังคารเป็น ดาวเคราะห์ ลำ ดับที่สี่จาก ดวงอาทิตย์ เป็น ดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองใน ระบบสุริยะ รองจาก ดาว พุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตาม เทพเจ้าแห่งสงครามของ โรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมี ออกไซด์ของ เหล็ก ดาษดื่นบนพื้นผิวทำ ให้มี สีออกแดงเรื่อ [15] ดาว อังคารเป็น ดาวเคราะห์หิน ที่มี บรรยากาศ เบาบาง มี ลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้ง หลุมอุกกาบาต บน ดวง จันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจน พิดน้ำ แข็ง ขั้วดาว ที่ปรากฏบน โลก คาบการหมุนรอบตัวเอง และ วัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่ง ความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของ โอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟ ใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุด อันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ ดาวอังคาร


ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวง อาทิตย์เป็นลำ ดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละติน ของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของ เทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์ ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่น รวมกันราว 2.5 เท่า ทำ ให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาว พฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลาง ดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดี


ดาวเสาร์เป็น ดาวเคราะห์ ดวงที่ 6 จาก ดวง อาทิตย์ ถัดจาก ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รอง จาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็น ดาวแก๊สยักษ์ ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของ โลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตาม เทพโรมัน แห่งการเกษตร สัญลักษณ์ ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทน เคียว ของเทพเจ้า ดาวเสาร์


ดาวยูเรนัส (อังกฤษ: Uranus หรือ มฤตยู) เป็นดาว เคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำ ดับที่ 7 ในระบบ สุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร นับได้ว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่3 ในระบบสุริยะ ของเรา ยูเรนัสถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้ายูเรนัส(Ouranos) ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ หรือ (ส่วนใหญ่ใช้ ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอ ดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวน จางๆโดยรอบ ดาวยูเรนัส


ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาว เกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำ ดับสุดท้ายมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็น ลำ ดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คำ ว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของ โรมันเหนือ (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆). ดาวเนปจูนมีสีน้ำ เงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลัก ของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และ มีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่ รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาว เนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายใน ของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่า พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ดาวเนปจูน


ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลาง ระบบ สุริยะ เป็น พลาสมา ร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ [4] [5] โดยมีการเคลื่อนที่พาซึ่งผลิตสนามแม่ เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม [6] ปัจจุบันเป็น แหล่งพลังงานสำ คัญที่สุดสำ หรับสิ่งมีชีวิตบน โลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้าน กิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวล ประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 99.86 ของมวลทั้งหมดของระบบสุริย [7] มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็น ไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมี ปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก [8] ดวงอาทิตย์


Click to View FlipBook Version