The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pasinee.ning, 2021-12-02 22:21:00

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนเรื่องการขยายพันธุ์พืช

ห น ้า | ก


คำนำ







หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนใน

รายวิชาหลักพืชกรรม ในหัวข้อการขยายพันธุ์พืช ผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหา
เกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชทั้ง2แบบ การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ ได้แก่ การ


เพาะเมล็ด และการขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ ได้แก่ การปักชำ การตอนกิ่ง การ
ติดตา การทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง พร้อมทั้งวิดีโอสาธิตการพันธุ์พืชประกอบเป็น

จำนวน 6 วิดีโอ และแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับ

ผู้เรียนเพื่อเป็นการทดสอบความรู้

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน

รวมทั้งผู้ที่สนใจใฝ่รู้ในการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการต่อยอดความรู้ใน

ด้านการเรียนและการขยายพันธุ์พืช

ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณเจ้าของตำรา เอกสาร บทความ และงานวิจัยที่

ผู้เขียนได้นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบการเขียนหนังสือเล่มนี้ ขอขอบคุณ

อาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้โอกาส คำแนะนำผู้เขียนในการเขียน และเผยแพร่หนังสือ

อิเล็กทรอนิกสการขยายพันธุ์พืชเล่มนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้อง

ขออภัยไว ณ ที่นี้ด้วย







ภาสินี สัมมะจารินทร์

ผู้จัดทำ

ห น ้า | ข


สารบัญ






เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข
แบบประเมินผลการเรียนรู้ 1

ความหมายของการขยายพันธุ์พืช 5

ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช 5

วัสดุอุปกรณ์การขยายพันธุ์พืช 6

ประเภทของการขยายพันธุ์พืช 7

การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ 8

- การเพาะเมล็ด 8

การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ 11

- การปักชำ 11

- การตอนกิ่ง 14

- การทาบกิ่ง 16

- การต่อกิ่ง 18

- การติดตา 23

การเปรียบเทียบวธีการขยายพันธุ์พืช 27

แบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนหลังเรียน 28
เฉลยแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน 32

บรรณานุกรม 33

หน้า | 1



แบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน



1. การขยายพันธุ์พืชหมายถึงข้อใด
ก. การเพิ่มปริมาณต้นพืชให้จำนวนมากขึ้น และเพื่อรักษาพันธุ์เดิมไว้ไม่ให้


สูญพันธุ์
ข. วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียว

ค. การนำพืชมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน

ง. การเพาะเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ไม่มีในท้องถิ่นแต่นำมาจากท้องถิ่นอื่น



2. ข้อใดคือความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช

ก. ความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนของต้นพืชและรักษาสายพันธุ์พืช

ข. ความสำคัญต่อมนุษย์ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

ค. ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

ง. ถูกทุกข้อ



3. การขยายพันธุ์พืชมี 2 ประเภท มีการขยายพันธุ์พืชแบบใดบ้าง

ก. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง

ข. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ
ค. การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ด


ง. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา


4. ข้อใดคือการขยายพันธุ์พืชโดยการอาศัยรากของต้นอื่นทั้งหมด

ก. การติดตา การต่อกิ่ง และการตอนกิ่ง

ข. การต่อกิ่ง การปักชำ และการติดตา

ค. การติดตา การต่อกิ่ง และการทาบกิ่ง

ง. การตอนกิ่ง การต่อกิ่ง และการทาบกิ่ง

หน้า | 2


5. การขยายพันธุ์พืชโดยได้จากการผสมเกสรและนำไปทำให้เกิดเป็นต้นใหม่

หมายถึงข้อใด

ก. การเพาะเมล็ด

ข. การติดตา

ค. การปักชำกิ่ง

ง. การตอนกิ่ง



6. ข้อใดคือการขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยรากของตัวเองทั้งหมด

ก. การขยายพันธุ์โดยการติดตา และการตอนกิ่ง

ข. การขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่ง และการปักชำ
ค. การขยายพันธุ์โดยการปักชำ และการตอนกิ่ง

ง. การขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง



7. การชักนำให้กิ่งออกรากในขณะที่อยู่บนต้นแม่ หลังจากกิ่งออกรากแล้วจึง

นำไปปลูกคือข้อใด

ก. การตอนกิ่ง

ข. การทาบกิ่ง

ค. การต่อกิ่ง

ง. การปักชำ



8. การเชื่อมต่อส่วนของต้นพืชจากคนละต้นเข้าด้วยกัน และให้พืชนั้นประสาน

รอยต่อแล้วกลายเป็นพืชต้นเดียวกันได้ ส่วนของพืชที่อยู่ทางด้านบนจะกลายเป็น

ยอดของพืชต้นใหม่ หมายถึงข้อใด

ก. การตอนกิ่ง

ข. การต่อกิ่ง
ค. การทาบกิ่ง

ง. การปักชำ

หน้า | 3


9. การขยายพันธุ์พืชที่ทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชใน

ปริมาณมาก

ก. การเพาะเมล็ด

ข. การปักชำ

ค. การตอนกิ่ง

ง. การติดตา



10. ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชโดยใช้เพศคือข้อใด

ก. กระทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชในปริมาณมาก

ข. การออกดอกและให้ผลเร็ว
ค. ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม

ง. ได้จำนวนต้นพืชในปริมาณน้อย



11. ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศคือข้อใด

ก. การขนส่งง่ายและไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา

ข. การออกดอกและให้ผลเร็ว ได้ต้นพืชใหม่ที่ตรงตามสายพันธุ์

ค. ไม่ค่อยพบการติดเชื้อจากต้นแม่


ง. กระทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏบัติ และได้จำนวนต้นพืชในปริมาณมาก


12. ยุ้ยปลูกถั่วฝักยาวแล้วกินไม่ทัน ทำให้ฝักแห้งคาต้น ยุ้ยสามารถนำถั่วฝักยาว

ไปขยายพันธุ์โดยวิธีใด

ก. การติดตา

ข. การเพาะเมล็ด

ค. การปักชำ

ง. การตอนกิ่ง

หน้า | 4


13. ป้อนมีต้นลิ้นมังกรอยู่ แล้วต้องการที่จะเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ป้อนสามารถ

นำต้นลิ้นมังกรไปขยายพันธุ์ได้โดยวิธีใด

ก. การปักชำกิ่ง

ข. การปักชำราก

ค. การปักชำใบ

ง. การติดตา



14. ที่บ้านพลอยมีต้นลำไยหนึ่งต้นให้ผลดีมาก พลอยอยากได้ต้นลำไยเพิ่มโดยที่

ไม่ต้องเสียเงินซื้อต้นลำไยมาปลูกใหม่ พลอยสามารถขยายพันธุ์ลำไยที่บ้านได้โดย

วิธีใด
ก. การติดตา

ข. การต่อกิ่ง

ค. การทาบกิ่ง

ง. การตอนกิ่ง



15. ถ้าต้องการให้มีดอกกุหลาบ 5 สี ใน 1 ต้น ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีใด

ก. การติดตา

ข. การต่อกิ่ง

ค. การปักชำ

ง. การตอนกิ่ง

หน้า | 5


ความหมายของการขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช หมายถึง การเพิ่มปริมาณต้นพืชให้มีจำนวนมากขึ้น

โดยการขยายพันธุ์พืชจะมี 2ประเภท คือ การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศที่เกิดจาก

การผสมเกสรเพศผู้และเพศเมีย ได้แก่ การเพาะเมล็ด และการขยายพันธุ์พืชแบบ

ไม่ใช้เพศโดยใช้ส่วนต่างๆ ของต้นพืช ได้แก่ การปักชำ การตอนกิ่ง การต่อกิ่ง การ

ทาบกิ่ง การติดตา ซึ่งต้อเลือกวิธีที่ดีและเหมาะสมกับต้นพืชแต่ละชนิดเพื่อ

ปรับปรุงพันธุ์ให้ดีกว่าเดิม และรักษาพันธุ์เดิมไว้ไม่ให้สูญพันธุ์




ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืชมีความสำคัญ ด้านอาชีพทางกสิกรรม ทางด้านพืชไร่

และพืชสวนที่จะนำการขยายพันธุ์ไปใช้ในทางที่เกี่ยวกับการค้า หรือจะเป็น

ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาสายพันธุ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะ

เป็นไม้ดอกไม้ประดับ สวนไม้ผล หรือพืชไร่ๆ ทั้งยังมีความสำคัญทางด้านห่วงโซ่

อาหารมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยการนำไปใช้เป็น

เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค และอื่นๆ

หน้า | 6


วัสดุอุปกรณ์ในการขยายพันธุ์พืช


1. ต้นพันธุ์พืช
2. กิ่งพันธุ์ดี

3. เมล็ดพันธุ์

4. ถาดเพาะ

5. ขุยมะพร้าว  ถาดเพาะ

6. ถุงพลาสติก

7. เชือกฟาง

8. กรรไกรตัดกิ่ง

9. แอลกอฮอล์

10. สำลี  เชือกฟาง

11. มีดตอนกิ่งหรือมีดคัตเตอร์

12. เทปพันกิ่ง

13. พาราฟิล์ม

14. กะละมัง
15. ฮอร์โมนเร่งราก



 พาราฟิล์ม










 มีดตอนกิ่ง  กรรไกรตัดกิ่ง











 เทปพันกิ่ง  น้ำยาเร่งราก


 กรรไกรตัดกิ่ง

หน้า | 7


ประเภทของการขยายพันธุ์พืช

โดยทั่วไปการขยายพันธุ์พืชจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขยายพันธุ์

แบบใช้เพศ และการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ




การขยายพันธุ์พืช









การขยายพันธุ์พืชแบบใช้ การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้

เพศ เพศ







เมล็ด ส่วนต่าง ๆ ของ
พืช








การเพาะเมล็ด อาศัยรากของตัวเอง อาศัยรากของต้นอน
ื่










- การขยายพันธุ์โดยการการต่อกิ่ง
- การขยายพันธุ์โดยการปักชำ - การขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง
- การขยายพันธุ์โดยการตอน - การขยายพันธุ์โดยการติดตา

หน้า | 8



การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ (Sexual Reproduction)



การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ เป็นการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด โดยเกิดจาก
การผสมพันธุ์กันระหว่างเกสรตัวเพศผู้และเกสรเพศเมียผสมจนกลายเป็นเมล็ด


พันธุ์ที่นำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืช เพื่อให้ได้ต้นพืชต้นใหม่ ซึ่งการขยายพันธุ์โดย
วิธีนี้ เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สะดวก และยังสามารถทำการเพาะพืชได้ในปริมาณที่

มากขึ้น

1.1 การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะให้เกิด

เป็นต้นกล้า เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพืช เป็นวิธีที่มีการใช้มายาวนานตั้งแต่สมัย

โบราณ และเป็นวิธีที่เหมากับการผลิตพืชเป็นปริมาณมากๆ สามารถทำได้

รวดเร็วและสะดวก ซึ่งจะ 2 รูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การ

เพาะในแปลงปลูกโดยตรง และการเพาะเพื่อไปเป็นต้นตอ นิยมใช้กับการ

ขยายพันธุ์ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วง ขนุน เป็นต้น

1.1.1 วิธีการเพาะเมล็ดในภาชนะ

1. ใช้ช้อนปลูกตักดินใส่ลงในกระบะหรือถาดหลุมให้เกือบเต็ม แล้ว

เกลี่ยผิวดินให้เรียบเสมอในระดับเดียวกัน เพราะการเกลี่ยดินให้เรียบจะทำให้

เมล็ดที่เพาะงอกกระจายสม่ำเสมอกัน ถ้าหากผิวหน้าดินไม่เรียบขณะรดน้ำจะชะ
เอาเมล็ดที่หว่านไหลไปรวมกันบริเวณผิวดินที่ต่ำกว่า ทำให้เมล็ดต้นกล้างอกเป็น


กระจุก ลำบากในการถอนต้นกล้า
2. นำเมล็ดพันธุ์พืชลงในกระบะ ซึ่งมักจะทำ 2 แบบ คือ โรยเป็น

แถวและโรยให้ทั่ว ๆ หรือใส่ในถาดหลุมโดยที่จะใส่หลุมละ 1-2 เมล็ด

3. โรยดินบางๆ แล้วใช้มือกดทับดินเบาๆ พอกระชับเมล็ด เพื่อให้

เมล็ดได้รับความชื้นและงอกได้สม่ำเสมอ ถ้าหากเมล็ดมีขนาดเล็กมากๆ ไม่ต้อง

โรยดินกลบ ให้ใช้มือหรือไม้กดเมล็ดให้จมอยู่ในระดับผิวดินเท่านั้น

4. รดน้ำทุกๆวันในตอนเช้าและเย็น หลังจากเพาะได้ 2-3 วันถ้าเมล็ด

เริ่มงอกเป็นต้นกล้าให้นำแกลบ ฟาง หรือหญ้าที่คลุมดินออกบางส่วน

5. เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จึงย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้

หน้า | 9

































 การเพาะเมล็ดในภาชนะ



1.1.2 วิธีการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ

1. เตรียมดินเพื่อกำจัดวัชพืชในแปลงเพาะ แล้วขุดพลิกหน้าดินตาก

แดดทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้งและทำลายเชื้อโรคและแมลง

ศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน

2. ย่อยดินให้ละเอียด แล้วจึงปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ และ

ย่อยดินบริเวณผิวหน้าแปลงให้ละเอียดอีกครั้ง

3. หว่านเมล็ดพันธุ์พืชให้กระจายทั่วแปลงเพาะ ถ้าหว่านเมล็ดพันธุ์

ในบริ เวรใดบริเวณหนึ่ง จะทำให้ต้นกล้างิกเป็นกระจุกทำให้ลำบากในการถอน

ย้ายต้นกล้า

4. โรยดินบางๆ แล้วใช้ไม้ปาดหน้าดินกลบเมล็ด

5. ใช้แกลบ ฟาง หรือหญ้าแห้งคลุมแปลง และใช้บัวรดน้ำรดให้ชุ่ม
ทั่วทั้ง แปลง

6.เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกทั่วแปลงแล้ว ให้เอาแกลบ ฟาง หรือหญ้า

แห้งที่คลุมอยู่ออก


7.รดน้ำแปลงเพาะทุกๆวัน วันละ 1-2 ครั้งในตอนเช้า และเย็น
8. หากต้นกล้าขึ้นเบียดกันจนแน่นเกินไป ควรเลือกถอนเฉพาะต้น

กล้าที่ไม่สมบูรณ์ออก เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตแล้ว จึงย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้

หน้า | 10




























 การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ


ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเมล็ดในภาชนะ




























 วิดีโอสาธิตวิธีการเพาะเมล็ดในภาชนะ

หน้า | 11



การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (Asexual Reproduction)


การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ เป็นการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้มากขึ้นโดยใช้

ส่วนต่างๆ ของต้นพืช ได้แก่ ลำต้น กิ่ง ใบ และราก ซึ่งการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วน

ต่างๆ ของพืช สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ วิธีการปักชำ วิธีการตอนกิ่ง วิธีการ

ต่อกิ่ง วิธีการทาบกิ่ง และวิธีการติดตา โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนเดิม
2.1 การปักชำ

การปักชำ คือ การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นพืช เช่น ลำต้น ราก หรือใบ

มาปักชำในสภาพที่เหมาะสมต่อการแตกยอดใหม่ ต้นพืชที่เกิดขึ้นใหม่จะมี

ลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถแบ่งได้ 3

วิธี ได้แก่ ปักชำกิ่ง ปักชำใบ และ ปักชําราก ซึ่งการปักชำควรเลือกต้นแม่ที่เป็น

พันธุ์ดีตรงตามความต้องการ มีการเจริญเติบโตดี แข็งแรง และปลอดโรค

ก่อนทำการปักชำกิ่งทุกชนิดให้กรีดบริเวณโคนกิ่งยาว 1-2 ซม. ตามแนว

ยาว 1-2 ด้าน และแช่ฮอร์โมนเร่งราก และยาป้องกันเชื้อราเสียก่อนด้วยการจุ่ม

โคนกิ่งปักชำตามระยะโคนกิ่งที่ปักชำในดินนาน 10-30 นาที

• การปักชำกิ่ง จะใช้วิธีการเสียบกิ่งลึกประมาณ 5-10 ซม. ขึ้นอยู่กับ

ความยาวของกิ่ง และชนิดพืชการปักชำกิ่งแก่หรือกิ่งที่มีอายุมาก

ได้แก่ เฟื่องฟ้า กุหลาบ ชบา พู่ระหง การปักชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่

ได้แก่ ฝรั่ง ชมพู่ ลำไย การปักชำกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน เช่น แก้ว

กุหลาบ โกสน ดาวเรือง เบญจมาศ พุด ไทร เป็นต้น

• การปักชำราก จะใช้วิธีการชำในลักษณะการปักชำกิ่งหรือการชำโดย

การกลบทั้งราก พืชที่สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชาราก เช่น

สาเก เข็ม ขนุน มะไฟ มันเทศ โมก เป็นต้น


• การปักชำใบ จะใช้วิธีปักชำใบบางส่วนหรือการชำก้านใบลงดินโดยมี
ใบบางส่วนอยู่พื้นเหนือดิน เช่น ลิ้นมังกร กุหลาบหิน คว่ำตายหงาย

เป็น เป็นต้น

หน้า | 12


2.1.1 วิธีการปักชำกิ่ง


1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 6–8 นิ้ว โดยตัดเฉียงเป็นรป
ปากฉลาม และตัดปลายกิ่งบนให้เหนือตา ประมาณ 1 เซนติเมตร ใช้มีดปลาย
แหลมกรีดบริเวณโคนกิ่ง ยาว 1–1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2–3 รอย

2. ปักกิ่งลงในวัสดุปักชำลึกประมาณ 2 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มครอบด้วย
พลาสติกขนาดใหญ่

3. ประมาณ 20–30 วัน กิ่งปักชำจะงอกราก และแตกยอดอ่อนดูแล
สักระยะหนึ่งแล้วจึงย้ายไปปลูกต่อไป























 วิธีการปักชำกิ่ง



2.1.2 วิธีการปักชำใบ
1. เตรียมวัสดุปักชำ โดยใช้ขุยมะพร้าว ดิน ทราย ขึ้นอยู่กับพืชนั้น ๆ


2. เลือกพันธุ์ไม้ที่ต้องการและเหมาะสมในการชำใบ
3. ตัดใบ ให้ติดก้านใบมาด้วย

4. จุ่มฮอร์โมนเร่งราก 5-10 วินาทีก่อนการชำ

5. ปักโคนใบลงในวัสดุปลูกที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม นำไปไว้ในที่ร่ม

ไม่ให้โดนแดด

6. หลังจากนั้นประมาณ 30-40 วัน จะเริ่มเกิดราก สามารถย้ายไปยังที่

ปลูกได้

หน้า | 13



























 วิธีการปักชำใบ


2.1.3 วิธีการปักชำราก

1. เตรียมวัสดุปักชำ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบ ดิน ทราย ขึ้นอยู่กับพืชนั้น ๆ

2. ตัดเป็นท่อนๆ ยาว 2-3 นิ้ว

3. ทาฮอร์โมนเร่งราก เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของราก

4. ปักชำให้เฉียง 30 องศา ให้โคนรากโผล่เล็กน้อย

5. หลังจากนั้นรอรากงอก และย้ายที่ปลูกต่อไป


























 วิธีการปักชำราก

หน้า | 14


ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการปักชำกิ่ง




























 วิดีโอสาธิตวิธีการปักชำกิ่ง


2.2 การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง วิธีการทำให้กิ่งพืชออกรากในขณะที่กิ่งนั้นยังติดอยู่กับต้นแม่

โดยการออกรากของกงตอนขึ้นอยู่กับความชื้น การถ่ายเทอากาศ และอุณหภูมิที่
ิ่
เหมาะสม หลังจากกิ่งพืชออกรากดีแล้ว นิยมตัดในช่วงที่รากออกเป็นสีขาวค่อน

ไปทางน้ำตาลจึงจะตัดออกเพื่อไปปลูกเป็นต้นใหม่ นิยมใช้กับพืชพวกไม้พุ่มและไม้

ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพืชพวกไม้ผลและไม้ประดับ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ละมุด

ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ มะลิ ดอนย่า เป็นต้น ส่วนวิธีการตอนนั้น

ปฏิบัติเป็นขั้นๆ

2.2.1 วิธีการตอนกิ่ง Air Layering (อากาศ)

1. ทำตุ้มตอน โดยขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาดๆ อัดลงใน

ถุงพลาสติก ผูกปากถุงด้วยเชือกฟางให้แน่น

2. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง

3. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ

ออก

4. ทาฮอร์โมนบริเวณรอยกรีดเพื่อเร่งราก เพื่อเร่งการออกรากของ
กิ่งตอน

หน้า | 15


5. นำตุ้มตอนมาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่ง

ตอน มัดด้วยเชือกฟางทั้งบนและล่างรอยแผลให้แน่น ไม่ให้ตุ้มตอนขยับได้

6. เมื่อเกิดรากปริมาณรากพอสมควรแล้ว จะใช้ระยะเวลาแตกต่าง

กันไป ตามชนิดของพืช สังเกตจากสีของรากเริ่มมีการเปลี่ยนสีและมีจำนวนราก

มากจึงตัดกิ่งออกจากต้นแม่

7. การเก็บรักษากิ่งตอนต้องรดน้ำกิ่งให้ชุ่ม หรือแช่บริเวณที่เกิดราก

ไว้ในน้ำ เวลาปลูกตัดแต่งกิ่งใบออกให้สมดุลกับราก ควรยึดกิ่งให้แน่นอย่าให้กิ่ง

โยก การดูแลรักษาในระยะแรกควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ และเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม

เงาสักระยะหนึ่งก่อน




















 วิธีการตอนกิ่ง Air Layering (อากาศ)



ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการตอนกิ่ง



























 วิดีโอสาธิตวิธีการตอนกิ่ง

หน้า | 16


2.3 การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีที่นำเอาต้นพืชสองต้นที่มีทั้งรากและยอดมาทาบติดกัน

เพื่อเปลี่ยนพันธุ์โดยใช้กิ่งพันธุ์ดี การทาบกิ่งสามารถทำได้ทุกฤดูกาล เป็นวิธีที่

สามารถทำได้ผลแน่นอนที่สุด โดยจะยกมา 4 แบบ ได้แก่ การทาบกิ่งแบบฝาน

บวบ การทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น การทาบกิ่งแบบฝานบวบแปลง และการทาบกิ่ง

แบบวีเนียร์แปลง พันธุ์พืชที่นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง เช่น มะม่วง ขนุน

ทุเรียน และไม้ผลตระกูลส้ม เป็นต้น

2.3.1 วิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ

1. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ให้บริเวณที่จะทาบมีขนาดพอ ๆ กัน

และมี ลักษณะตรง และพื้นผิวบริเวณทาบกิ่งต้องเรียบ
2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นลักษณะคล้ายรูปโล่เฉือนเข้าไปในเนื้อไม้

เล็กน้อย รอยแผลยาวประมาณ 1-2 นิ้ว

3. เฉือนต้นตอในเช่นเดียวกับกิ่งพันธุ์ดี และให้มีความยาวเท่ากับ

แผลบนกิ่งพันธุ์ดี

4. ทาฮอร์โมนเร่งราก เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในการงอกของราก

5. ประกบต้นตอและยอดพันธุ์ดีเข้าด้วยกันโดยจัดแนวเยื่อเจริญให้

สัมผัสกันมากที่สุด

6. พันรอบรอยแผลที่ประกบกันด้วยพลาสติกให้แน่นและมิดรอย

เฉือนเพื่อไม่ให้น้ำเข้า และผูกยึดถุงต้นตอให้แน่น




























 วิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ

หน้า | 17


2.3.2 วิธีการทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น

1. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้บริเวณที่ทาบมีขนาดพอๆกัน

2. เฉือนต้นตอให้มีแผลเป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว พยายาม

เฉือนให้เรียบอย่าให้เป็นคลื่น

3. จาก 1/3 ของปลายรอยแผลที่เฉือนนี้ เฉือนให้เป็นลิ้นลงมาเสมอ

กับโคนรอยแผลด้านล่าง

4. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีในลักษณะเดียวกัน แต่ให้ลิ้นที่เฉือนกลับลงใน

ลักษณะตรงกันกับลิ้นของต้นตอ

5. ประกบลิ้นของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน โดยจัดให้แนวเยื่อ

เจริญ สัมผัสกัน
6. พันรอบรอยแผลด้วยพลาสติกให้แน่น และผูกยึดกับกิ่งพันธุ์ดี



2.3.3 วิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบแปลง

1. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้ขนาดเท่าๆ กัน และนำต้นตอขึ้นไป

ทาบโดยกะดูบริเวณที่จะทำแผลทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี

2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และให้แผลยาว

ประมาณ 1.5-2 นิ้ว

3. เฉือนต้นตอเฉียงขึ้นเป็นปากฉลามให้แผลยาวเท่ากับแผลที่

เตรียมบนกิ่งพันธุ์ดี

4. นำต้นตอประกบกับกิ่งพันธุ์ดี โดยให้แนวเยื่อเจริญทับกันด้านใน

ด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน

5. พันรอบรอยแผลด้วยพลาสติกให้แน่นและมัดต้นตอเข้ากับกิ่ง

พันธุ์ดี



2.3.4 วิธีการทาบกิ่งแบบวีเนียร์แปลง
1. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเอียงขึ้นเข้าเนื้อไม้ประมาณ 1ส่วน4 ของ

เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งความยาวแผลประมาณ 1.5-2 นิ้ว เฉือนแผลด้านบนทำ

เป็นบ่าหรือเงี่ยงปลาประมาณ 1ส่วน4 ของความยาวของแผล

หน้า | 18


2. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลามตัดด้านหลังเอียงขึ้นเข้าหา

ปากฉลามขนาดความยาวแผลประมาณ 1ส่วน4 ของแผลปากฉลาม

3. นำต้นตอที่ปาดเรียบรอยแล้วสอดเข้าไปขัดกับบ่าหรือเงี่ยงปลาที่

ทำไว้ แล้วจัดให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกันมากที่สุด

4. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

5. ใช้เชือกผูกปากถุงตรึงกับโคนกิ่งพันธุ์ให้แน่นเมื่อรอยต่อเชื่อม

แล้วตัดออกจากกิ่งพันธุ์ดี


ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการทาบกิ่งแบบวีเนียร์แปลง



























 วิดีโอสาธิตวิธีการทาบกิ่งแบบวีเนียร์แปลง



2.4 การต่อกิ่ง

การต่อกิ่ง เป็นการเชื่อมต่อส่วนของต้นพืชจากคนละต้นเข้าด้วยกัน และให้

พืชนั้นประสานรอยต่อแล้วกลายเป็นพืชต้นเดียวกันได้ ส่วนของพืชที่อยู่ทางด้าน

บนจะกลายเป็นยอดของพืชต้นใหม่ ส่วนของพืชที่อยู่ทางด้านล่างจะทำหน้าที่
เป็นรากดูดน้ำและแร่ธาตุให้ลำต้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 วิธี ได้แก่ การต่อ

กิ่งแบบฝานบวบ การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น การต่อกิ่งแบบ

เสียบเปลือก และการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง นิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดี

กับพืชบางชนิด เช่น เฟื่องฟ้า ชบา โกสน เล็บครุฑ มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น เป็น

ต้น

หน้า | 19


2.4.1 วิธีการต่อกิ่งแบบฝานบวบ

1. เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้น เป็นลักษณะเช่นเดียวกับฝานบวบ ให้

ความยาวของรอยเฉือน ประมาณ 1–1.5 นิ้ว รอยแผลที่ได้จะมีลักษณะคล้ายโล่

2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับต้นตอ แต่เฉือน

ลง (ตรงข้ามกับต้นตอ)

3. นำกิ่งพันธุ์ดี ประกบเข้ากับต้นตอ โดยให้รอยแผลประกบกันให้

สนิท

4. ใช้แถบพลาสติกพันรอบรอยแผลให้แน่น โดยพันจากด้านล่างขึ้น

สู่ด้านบน

5. หลังจากกิ่งเชื่อมประสานกันดีแล้ว ให้แกะพลาสติกออก เพื่อให้
ต้นพืช เจริญเติบโตและขยายออกได้เต็มที่



























 วิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ


2.4.2 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม

1. ตัดยอดต้นตอที่แตกใหม่ ให้เหลือยาวประมาณ 4 นิ้ว

2. ผ่ากลางกิ่งพืชที่ต้องการเสียบยอด ให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว

3. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่ม ยาวประมาณ 2 นิ้ว

4. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลทั้งสองตรงกัน

แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น

5. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติกหรือนำไปเก็บในโรงอบ

พลาสติก

หน้า | 20


6. ประมาณ 5-7 สัปดาห์รอยแผลจะประสานกันดีแล้วให้นำออกมา

พักไว้ในโรงเรือนที่รอการปลูกต่อไป























 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม


2.4.3 วิธีการต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น


1. เฉือนต้นตอเฉียงขึ้นในลักษณะการฝานบวบ ให้รอยแผลยาว
ประมาณ 1–1.5 นิ้ว

2. ผ่ารอยแผลให้มีลักษณะเป็นลิ้น

3. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลง ลักษณะและขนาดรอยแผลเช่นเดียว

กับต้นตอ

4. ผ่ารอยแผลกิ่งพันธุ์ดี ให้มีลักษณะเป็นลิ้น

5. นำกิ่งพันธุ์ดี สวมลงบนต้นตอให้ลิ้นขัดกัน และพันด้วยพลาสติก

6. หลังจากรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ประสานเชื่อมติดกัน

สนิทแล้ว (ประมาณ 1 เดือน) หลังจากต่อกิ่ง ให้เอาคลิปหรือแกะพลาสติกออก






















 วิธีการต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น

หน้า | 21


2.4.4 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก

1. ตัดต้นตอ ตั้งฉากกับกิ่งบริเวณใต้ข้อและชิดข้อ

2. กรีดเปลือกต้นตอตามแนวตั้ง ยาวประมาณ 2 นิ้ว แล้วเผยอ

เปลือกต้นตอที่กรีดไว้

3. ตัดยอดพันธุ์ดี ประมาณ 3 นิ้ว แล้วเฉือนจากปลายไป โดยให้รอย

แผลเป็นรูปปากฉลาม ยาวประมาณ 2–2.5 นิ้ว หรือเท่ากับรอยแผลของต้นตอ

จากนั้น ตัดปลายส่วนของด้านหลังของรอยแผลเฉียง ประมาณ 45 องศา เพื่อให้

รับกับรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้

4. นำยอดกิ่งพันธุ์ดีมาสอดเข้ารอยแผลของต้นตอ จัดให้รอยแผล

สนิทกัน
5. พันกิ่งให้แน่นด้วยแถบพลาสติก โดยพันจากด้านล่างขึ้นบน

6. ประมาณ 2–3 สัปดาห์ ถ้ายอดพันธุ์ยังเขียวดีอยู่ แสดงว่ายังมี

ชีวิตอยู่ จึงแกะพลาสติกที่พันไว้ออก แล้วพันใหม่ โดยพันคร่อมยอดให้ยอดโผล่

เพื่อให้ตาเจริญออกมาได้

7. บากเตือนต้นตอ โดยบากเหนือรอยแผลเล็กน้อย บากลึก

ประมาณ 1 ใน 3 ของลำต้น และเมื่อยอดใหม่เจริญดีแล้ว จึงตัดยอดของต้นตอ

ทิ้งไป เพื่อให้ยอด กิ่งพันธุ์ดีเจริญ เป็นต้นใหม่แทน




























 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก

หน้า | 22


2.4.5 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง

1. เฉือนต้นตอจากปลายไปสู่โคน โดยจะเฉือนลึกเข้าไปในเนื้อไม้

เล็กน้อยให้แผลยาว ประมาณ 1.5–2 นิ้ว

2. ตัดยอดกิ่งพันธุ์ดี ยาวประมาณ 2–3 นิ้ว เฉือนให้เป็นรูป

ปากฉลาม รอยแผลยาวประมาณ 1.5–2 นิ้ว เฉือนด้านหลังของรอยแผล เพื่อให้

แผลมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม

3. นำยอดกิ่งพันธุ์ดีเสียบเข้ารอยแผลของต้นตอ จัดให้รอยแผล

แนบสนิทกันและตรงกัน

4. พันด้วยพลาสติก หุ้มรอยแผลให้แน่น โดนพันจากล่างขึ้นบน

5. ประมาณ 2–3 สัปดาห์ จึงแกะพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดย
เว้นส่วนของยอดกิ่งพันธุ์ดีไว้ เพื่อให้ตาแตกยอดใหม่ออกมาได้


6. หลังจากกิ่งใหม่เจริญดีแล้ว จึงตัดยอดเดิมของต้นตอทิ้งไป
เพื่อให้ยอดใหม่เจริญได้เต็มที่






















 วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง

หน้า | 23


ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม



























 วิดีโอสาธิตวิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม



2.5 การติดตา

การติดตา เป็นการขยายพันธุ์ที่นำแผ่นตาเพียงตาเดียวจากกิ่งพันธุ์ดีไปติด

กับต้นตอ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์พืชเพราะสามารถทำได้
รวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้มีลักษณะคล้ายกับวิธีการต่อกิ่ง โดยวิธีการติดตาแบ่งออกเป็น 4

วิธีดังนี้ การติดตารูปตัวที การติดตาแบบเพลท การติดตาแบบแพทซ์หรือแผ่น

ปะ และการติดตาแบบชิพ พันธุ์พืชที่นิยมขยายพันธุ์ เช่น ชบา ขนุน มะม่วง

อกร่อง มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะ ทั้งไม้ดอกและไม้ผลอื่น ๆ เป็น

ต้น

2.5.1 วิธีการติดตารูปตัวที (T)

1. เลือกตำแหน่งที่จะติดตาโดยเลือกตรงที่เปลือกเรียบ ๆ แล้วใช้

ปลายมีดกรีดเปลือกของต้นตอเป็นรูปตัว T ความยาว 1 นิ้ว ใช้ปลายมีดแซะ

เปลือกจากหัวตัว T ให้เผยอออกมา สำหรับสอดแผ่นตาได้

2. การเตรียมแผ่นตา ด้วยการเฉือนแผ่นตราให้เป็นรูปโล่ความยาว

1 นิ้ว

3. สอดแผ่นตาเข้ากับต้นตอ ค่อยๆ กดแผ่นตาลงไปเบาๆ อย่าง

ระมัดระวัง ขณะเดียวกันก็ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกนำไปเรื่อย ๆ จนแผ่นตรา

สามารถลงไปในรอยเปิดจะหมด

4. พันด้วยแผ่นพลาสติกให้แน่น ด้วยพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน

หน้า | 24


5. หลังจากนั้นประมาณ 7-10 วัน ให้เปิดแผ่นพลาสติกที่พันไว้ออก

แล้วเปลี่ยนแผ่นพลาสติกใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเว้นช่องตรงที่เป็นตาไว้เพื่อให้ตา

โผล่ได้


















 วิธีการติดตารูปตัวที

2.5.2 วิธีการติดตาแบบเพลท

1. ใช้ต้นตอขนาด 0.5-1 นิ้ว

2. กรีดต้นตอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้เปลือกหลุดออก ความกว้าง

ของรอยประมาณ 0.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว

3. ใช้ใบมีดเผยเปลือกออก และลอกเปลือกลงมาตามรอยแผล

4. เฉือนตาพันธุ์ดีเป็นรูปโล่หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดแผ่นตาให้

พอดีกับรอยแผลที่ต้นตอ แกะเนื้อไม้ที่ติดมากับแผ่นตาออก
5. ประกบแผ่นตาเข้ากับแผลบนต้นตอแล้วประกบแผ่นเปลือกทับ

บนแผ่นตา

6. พันด้วยพลาสติกให้แน่น ตรวจดูตาถ้าติดให้แก้แผ่นพลาสติกออก

แล้วพันกลับเข้าไปใหม่ให้ตัวตาโผล่


















 วิธีการติดตาแบบเพลท

หน้า | 25


2.5.3 วิธีการติดตาแบบแพทซ์หรือแผ่นปะ

1. การเตรียมต้นตอ ควรเลือกต้นต่อที่ตั้งตรง ผิวเรียบ โตประมาณ

1 นิ้ว หรือมากกว่า

2. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 1 นิ้ว กว้าง

0.5 นิ้ว แล้วแกะเปลือกที่กรีดออก

3. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีขนาดเท่ากับแผลที่

เตรียมไว้บน ต้นตอหรือเล็กกว่าเล็กน้อยแล้ว แกะเนื้อไม้ออก

4. ประกบแผ่นตาเข้ากับต้นตอแล้วพันแผ่นพลาสติกให้แน่นและเว้น

ตากิ่ง

5. เมื่อรอยต่อเชื่อมกันสนิทดีแล้ว จึงแก้พลาสติกออกแล้วพันใหม่
เว้นตา


















 วิธีการติดตาแบบแพทซ์หรือแผ่นปะ



2.5.4 วิธีการติดตาแบบชิพ


1. เลือกต้นตอที่หยุดเจริญ
2. เฉือนต้นตอเข้าไปในเนื้อไม้แฉลบจากด้านบนลงล่าง รอยแผล
ยาวประมาณ 1-3 นิ้วแล้วแต่ขนาดต้นตอ

3. ตัดปลายด้านล่างของรอยแผลให้จรดกับรอยที่เฉือนไว้เอียงทำ

มุม 45 องศา

4. เฉือนแผ่นตาให้มีรูปและขนาดเดียวกับแผลที่เตรียมบนต้นตอ

5. สอดแผ่นตาเข้าไปทางด้านข้างของแผล พันพลาสติกปิดทับแผ่น

ตาทั้งหมด

หน้า | 26


6. เมื่อตาติดดีแล้ว เปิดแผ่นพลาสติกออกแล้วพันกลับเข้าไปใหม่

โดยเว้นตรงตาไว้เพื่อให้ตาโผล่ออกมาได้





















 วิธีการติดตาแบบชิพ


ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการติดตาแบบชิพ


























 วิดีโอสาธิตวิธีการติดตาแบบชิพ

หน้า | 27


การเปรียบเทียบวิธีการขยายพันธุ์พืช



การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ข้อดี ข้อเสีย

1. กระทำได้ง่าย และรวดเร็วต่อการ 1. มักกลายพันธุ์ไปในทางที่แย่ลงกว่า

ปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชใน ต้นพันธุ์

ปริมาณมาก 2. ให้ดอกและผลช้า

2. เมล็ดมีขนาดเล็ก ไม่แห้งตายง่าย 3. ขนาดลำต้นสูงใหญ่ไม่เหมาะต่อ

และสะดวกต่อการขนส่ง การดูแลและการเก็บเกี่ยว

3. ไม่ค่อยพบการติดเชื้อจากต้นแม่ 4. ขนาดต้นที่ได้ไม่สม่ำเสมอ
4. ต้นมีระบบรากแก้ว ทนต่อสภาพ การเพาะเมล็ดพืชบางชนิดใช้
5.
แวดล้อม เวลานานกว่ารากจะงอก

5. สามารถทำได้ทุกฤดูการ


 ตารางเปรียบเทียบการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด



การขยายพันธุ์ด้วยส่วนต่าง ๆ ของพืช
ข้อดี ข้อเสีย

1. ได้ต้นพืชใหม่ที่ตรงตามสายพันธุ์ 1. การทำค่อนข้างยากกว่าการเพาะ

2. การออกดอกและให้ผลเร็วกว่า เมล็ด

การเพาะด้วยเมล็ด 2. กิ่งและต้นตอมีขนาดใหญ่การ

3. ต้นใหม่ที่ได้ไม่สูงเกินไป สะดวก ขนส่ง ไม่ง่ายนะสิ้นเปลืองเนื้อที่ใน

ต่อการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา

4. ขนาดต้นที่ได้สม่ำเสมอเหมาะ 3. หากต้นพันธุ์เป็นโรคต้นที่เกิดใหม่

สำหรับการปลูก มักจะเป็นโรคนั้นด้วย

5. ใช้เวลาน้อยและได้ต้นพันธุ์ที่ 4. ไม่มีระบบราก แก้วโค่นล้มง่าย

สมบูรณ์ 5. การปักชำและการตอนกิ่งนิยมทำ

ในฤดูฝนเพราะง่ายต่อการดูแลและ

ได้ผลดี

 ตารางเปรียบเทียบการขยายพันธุ์ด้วยส่วนต่าง ๆ ของพืช

หน้า | 28



แบบประเมนผลการเรียนรู้หลังเรียน



1. การขยายพันธุ์พืชหมายถึงข้อใด

ก. วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียว

ข. การนำพืชมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน

ค. การเพาะเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ไม่มีในท้องถิ่นแต่นำมาจากท้องถิ่นอื่น

ง. การเพิ่มปริมาณต้นพืชให้มีจำนวนมากขึ้น และเพื่อรักษาพันธุ์เดิมไว้

ไม่ให้สูญพันธุ์


2. ข้อใดคือความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช

ก. ความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนของต้นพืชและรักษาสายพันธุ์พืช

ข. ความสำคัญต่อมนุษย์ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

ค. ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

ง. ถูกทุกข้อ



3. การขยายพันธุ์พืชมี 2 ประเภท มีการขยายพันธุ์พืชแบบใดบ้าง

ก. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ

ข. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง

ค. การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา

ง. การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ด



4. ข้อใดคือการขยายพันธุ์พืชโดยการอาศัยรากของต้นอื่นทั้งหมด

ก. การตอนกิ่ง การต่อกิ่ง และการทาบกิ่ง

ข. การติดตา การต่อกิ่ง และการตอนกิ่ง
ค. การติดตา การต่อกิ่ง และการทาบกิ่ง

ง. การต่อกิ่ง การปักชำ และการติดตา

หน้า | 29


5. การขยายพันธุ์พืชโดยได้จากการผสมเกสรและนำไปทำให้เกิดเป็นต้นใหม่

หมายถึงข้อใด

ก. การติดตา

ข. การปักชำกิ่ง

ค. การตอนกิ่ง

ง. การเพาะเมล็ด



6. ข้อใดคือการขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยรากของตัวเองทั้งหมด

ก. การขยายพันธุ์โดยการติดตา และการตอนกิ่ง

ข. การขยายพันธุ์โดยการปักชำ และการตอนกิ่ง
ค. การขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่ง และการปักชำ

ง. การขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง



7. การชักนำให้กิ่งออกรากในขณะที่อยู่บนต้นแม่ หลังจากกิ่งออกรากแล้วจึง

นำไปปลูกคือข้อใด

ก. การปักชำ

ข. การต่อกิ่ง

ค. การตอนกิ่ง

ง. การทาบกิ่ง



8. การเชื่อมต่อส่วนของต้นพืชจากคนละต้นเข้าด้วยกัน และให้พืชนั้นประสาน

รอยต่อแล้วกลายเป็นพืชต้นเดียวกันได้ ส่วนของพืชที่อยู่ทางด้านบนจะกลายเป็น

ยอดของพืชต้นใหม่ หมายถึงข้อใด

ก. การปักชำ

ข. การต่อกิ่ง
ค. การตอนกิ่ง

ง. การทาบกิ่ง

หน้า | 30


9. การขยายพันธุ์พืชที่ทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชใน

ปริมาณมาก

ก. การปักชำ

ข. การตอนกิ่ง

ค. การเพาะเมล็ด

ง. การติดตา



10. ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชโดยใช้เพศคือข้อใด

ก. การออกดอกและให้ผลเร็ว

ข. ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม
ค. ได้จำนวนต้นพืชในปริมาณน้อย

ง. กระทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชในปริมาณมาก




11. ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศคือข้อใด

ก. ไม่ค่อยพบการติดเชื้อจากต้นแม่

ข. การขนส่งง่ายและไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา
ค. การออกดอกและให้ผลเร็ว ได้ต้นพืชใหม่ที่ตรงตามสายพันธุ์

ง. กระทำได้ง่าย รวดเร็วต่อการปฏิบัติ และได้จำนวนต้นพืชในปริมาณมาก



12. ยุ้ยปลูกถั่วฝักยาวแล้วกินไม่ทัน ทำให้ฝักแห้งคาต้น ยุ้ยสามารถนำถั่วฝักยาว

ไปขยายพันธุ์โดยวิธีใด

ก. การติดตา

ข. การปักชำ

ค. การตอนกิ่ง

ง. การเพาะเมล็ด

หน้า | 31


13. ป้อนมีต้นลิ้นมังกรอยู่ แล้วต้องการที่จะเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ป้อนสามารถ

นำต้นลิ้นมังกรไปขยายพันธุ์ได้โดยวิธีใด

ก. การติดตา

ข. การปักชำใบ

ค. การปักชำกิ่ง

ง. การปักชำราก



14. ที่บ้านพลอยมีต้นลำไยหนึ่งต้นให้ผลดีมาก พลอยอยากได้ต้นลำไยเพิ่มโดยที่

ไม่ต้องเสียเงินซื้อต้นลำไยมาปลูกใหม่ พลอยสามารถขยายพันธุ์ลำไยที่บ้านได้โดย

วิธีใด
ก. การตอนกิ่ง

ข. การติดตา

ค. การต่อกิ่ง

ง. การทาบกิ่ง



15. ถ้าต้องการให้มีดอกกุหลาบ 5 สี ใน 1 ต้น ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีใด

ก. การต่อกิ่ง

ข. การติดตา

ค. การปักชำ

ง. การตอนกิ่ง

หน้า | 32


เฉลยแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน





ข้อ ผลการเรียนรู้ก่อนเรียน การเรียนรู้หลังเรียน

1 ก ง

2 ง ง

3 ข ก

4 ค ค

5 ก ง

6 ค ข

7 ก ค

8 ข ข

9 ก ค

10 ก ง

11 ข ค

12 ข ง

13 ค ข

14 ง ก

15 ก ข

หน้า | 33


บรรณานุกรม






กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). การขยายพันธุ์พืช. ค้นจาก
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2019/11/Plant-

propagation.pdf
โกมล บัวพรหม. (2560). การขยายพันธุ์ไม้ผล. ค้นจาก

https://www.kroobannok.com/news_file/p37139931818.pdf
จิรา ณ หนองคาย. (2545). การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล
จิตประภา ศักดามาศ. (2559). การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืชเรื่อง การ

สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการวัดการเจริญเติบโตของพืช. ค้นจาก
http://www.kanlayanee.ac.th/file/01072558.pdf

นันธิยา วรรธระภูติ. (2542). การขยายพันธุ์พืช. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์

ภัญชนา มีแก้วกุญชร. (2536). หลักการขยายพันธุ์พืช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ
: คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร

ลาดกระบัง
มณฑา ลิมปิยะประพันธ์. (2563). หลักพืชกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ซ ี

เอ็ดยูเคชั่น
วิเชษฐ ค้าสุวรรณ. (2546). การขยายพันธุ์พืช. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรง

พิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช
วัฒนา สวรรยาธิปัติ. (2530). การขยายพันธุ์พืช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์ส่งเสริม

และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ


สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2560). การเพาะกลาเตรียมดิน. ค้นจาก
https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/151124

14483 4943442.pdf
สนั่น ขำเลศ. (2541). หลักและวิธีการปฏิบัติการขยายพันธุ์พืช. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ : สหมิตรการพิมพ์
อรษา แสงอุทัย. (2527). การขยายพันธุ์พืช (plan production). (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคาแหง


หน้า | 34


Click to View FlipBook Version