The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน 63

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by marine.fgdr, 2021-04-05 04:45:52

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน 63

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน 63

การบริหารจดั การทรัพยากรประมง
เชงิ ระบบนเิ วศโดปยีช2มุ 5ช6น3

การบริหารจดั การทรพั ยากรประมง
เชงิ ระบบนิเวศโดยชุมชน
ปี 2563

บทนำ�

ทรพั ยากรประมงทะเลของไทยอยูใ่ นสภาวะเสือ่ มโทรมทง้ั ในอา่ วไทยและ
ทะเลอันดามัน ถึงแม้ว่าทรัพยากรสัตว์น้�ำเป็นทรัพยากรท่ีสามารถเกิดขึ้นใหม่
เพือ่ ทดแทนได้ แต่หากมกี ารนำ� มาใช้ประโยชน์จนมากเกินไป ทำ� ใหส้ ่งผลกระทบ
ต่อทรพั ยากรอืน่ ในระบบนเิ วศเดยี วกนั อย่างตอ่ เน่ือง ปจั จบุ ันภาครฐั มีแนวทาง
บริหารจัดการให้การท�ำประมงอยู่ในสภาวะสมดุลกับการทดแทนของทรัพยากร
สัตว์น�้ำในหลายวิธี ได้แก่ การควบคุมจ�ำนวนเรือที่ใช้เคร่ืองมือประมงท่ีมี
ประสิทธิภาพสูงในการจับสัตว์น�้ำ การก�ำหนดขนาดตาอวนของเคร่ืองมือ
ประมงไม่ให้จับลูกสัตว์น้�ำขึ้นมาใช้ก่อนถึงขนาดท่ีสามารถแพร่พันธุ์ได้ และ
การก�ำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้�ำ ซึ่งจะ
เห็นว่าการบริหารจัดการประมงโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการสัตว์น�้ำ
เป้าหมายและประเมินประชากรของสัตว์น�้ำน้ันๆ เป็นการเฉพาะ และเจาะจง
ไปในกิจกรรมการประมงใดกจิ กรรมหน่งึ แต่ในความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อาหาร
หรือระบบนิเวศนั้น การบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาจากกิจกรรมหนึ่งๆ
บรเิ วณชายฝ่งั อาจส่งผลกระทบตอ่ องค์ประกอบอ่ืนๆ ของระบบนิเวศ ไมว่ ่าจะเป็น
สัตว์น้ำ� ชนิดอน่ื ๆ และแหลง่ ที่อย่อู าศยั ของสัตวน์ �้ำ

ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรประมงจึงต้องพิจารณาผลกระทบ
ของการท�ำการประมงหรือกิจกรรมบริเวณชายฝั่งต่อระบบนิเวศโดยรวม และ
ค�ำนึงถงึ ความหลากหลายทางชีวภาพ ชนิดพันธ์ุ และประชากร ซึง่ เปน็ พ้นื ฐาน
ของการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ น่ันคือ
การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของระบบนิเวศทั้งระบบ ซึ่งกองวิจัยและพัฒนา
ประมงทะเล กรมประมงได้ด�ำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมชุมชนประมงให้มี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง และน�ำกรอบแนวคิดการ
บรหิ ารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศ หรือ EAFM มาปรับใชก้ บั ชุมชน
ประมงชายฝ่ังในการจัดการ การบ�ำรงุ รักษา การอนรุ ักษ์ การฟนื้ ฟู และการ
ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้�ำท่ีมีการพิจารณาผลกระทบของ
กิจกรรมต่างๆ ต่อระบบนิเวศโดยรวม ทั้งน้ีเพ่ือปลูกจิตส�ำนึกในการใช้
ทรัพยากรสตั ว์น�้ำอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถปุ ระสงค์

1) เพ่ือให้ชาวประมงเข้าใจหลักการ เหตุผลความจ�ำเป็นของการน�ำ
แนวทางเชิงระบบนิเวศมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในชุมชน
และน�ำไปสู่แนวทางการปฏิบัติจริง อันก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
และการพัฒนาอย่างยง่ั ยืน
2) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนประมงท้องถิ่นชายทะเลมีส่วนร่วมในการ
ก�ำหนดแผนและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรประมงในพื้นท่ีของตนเอง
โดยใชแ้ นวทางเชิงระบบนเิ วศ
3} เพ่ือสร้างจิตสานึกให้ชาวประมงตระหนักและห่วงแหนช่วยกันดูแล
และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศหน้าบ้าน อันก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
ของทรัพยากรสัตวน์ �้ำในท้องถน่ิ
4) เพื่อให้ชุมชนประมงท้องถิ่นชายทะเลเกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
จากทรพั ยากรท่ีมอี ย่ใู นพืน้ ที่อย่างถูกตอ้ งและคมุ้ คา่ โดยค�ำนงึ ถึงระบบนเิ วศ

แผนการด�ำเนินกจิ กรรม
ปี 2563

กิจกรรมปี 2563

กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทุกแห่ง

และสถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเลจังหวัดระนอง ได้ด�ำเนินกิจกรรมการ
บริหารจัดการทรพั ยากรประมงเชิงระบบนเิ วศ ในปี 2563
โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนประมงท้องถ่ินชายทะเลมีส่วนร่วมในการก�ำหนดแผน
และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรประมงในพื้นท่ีของตนเองโดยใช้แนวทาง
เชิงระบบนิเวศ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประมงอย่างรับผิดชอบและ
มีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศโดยรวม เพื่อให้เกิดการฟื้นฟู
และอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น�้ำอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ชุมชนที่ด�ำเนินการ
ต่อเน่ืองจากปีงบประมาณ 2562 จ�ำนวน 21 ชุมชน และชุมชนใหม่จ�ำนวน
15 ชมุ ชน รวมทั้งสนิ้ จ�ำนวน 36 ชมุ ชน ดงั นี้

1. ชมุ ชนท่ีดำ� เนินการต่อเนื่องจากปงี บประมาณ 2562 จ�ำนวน 21 ชุมชน

ลำ� ดับท่ี พน้ื ท่ีเป้าหมาย
1 บา้ นชายทะเล ม.2 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
2 บา้ นพะเนิน ม.1,2,3 ต.แหลมผกั เบีย้ อ.บา้ นแหลม จ.เพชรบุรี
3 บา้ นหาดแมร่ �ำพึง ม.9 ต.ตะพง อ.เมอื ง จ.ระยอง
4 บ้านเกาะจิก ม.1 ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จนั ทบรุ ี
5 บ้านแหลมกลัด ม.2 ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด
6 บ้านปากดอนสกั ม.7 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
7 บา้ นจมกู โพรง-กลางอา่ ว ม.10 ต.บางมะพร้าว อ.หลงั สวน จ.ชมุ พร
8 บ้านปากน�้ำละแม ม.1 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชมุ พร
9 บ้านคาโต ม.5 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

6 การบริหารจัดการทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563

ล�ำดับที่ พนื้ ทเี่ ปา้ หมาย
10 บ้านระวะ ม.4 ต.ระวะ อ.ระโนด จ.สงขลา
11 บา้ นในถงุ้ ม.5 ต.ทา่ ศาลา อ.ทา่ ศาลา จ.นครศรีธรรมราช
12 บา้ นหินราว ม.1 ต.แหลมสกั อ.อ่าวลกึ จ.กระบ่ี
13 บ้านอ่าวทองหลาง ม.7 ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบ่ี
14 บ้านพารา ม.4 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภเู ก็ต
15 บ้านอ่าวกุ้ง ม.9 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภเู ก็ต
16 บ้านหนิ ลาด ม.3 ต.ครุ ะ อ.คุระบุรี จ.พังงา
17 บ้านเกาะระ ม.3 ต.เกาะพระทอง อ.ครุ ะบุรี จ.พังงา
18 บา้ นแหลมไทร ม.3 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง
19 บ้านยะระโต๊ดใหญ่ ม.5 ต.เกาะสาหรา่ ย อ.เมอื ง จ.สตูล
20 บา้ นหาดทรายดำ� ม.5 ต.หงาว อ.เมอื ง จ.ระนอง
21 บ้านบางกลว้ ย ม.3 ต.นาคา อ.สขุ ส�ำราญ จ.ระนอง

การด�ำเนนิ กจิ กรรมของชมุ ชนต่อเน่อื งจากปีงบประมาณ 2562
ด�ำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่นชายทะเล ชาวประมง
อบต. อบจ. ผมู้ ีสว่ นไดส้ ว่ นเสีย และผู้เก่ยี วขอ้ งเพอื่ กำ� หนดกจิ กรรมทีจ่ ะด�ำเนินการ
ในปีงบประมาณ 2563 โดยการทบทวนแผนการดำ� เนินกจิ กรรมของชมุ ชน
ด�ำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชนประมง และผู้เก่ียวข้องในการ
ด�ำเนินการวางแผนและก�ำหนดรูปแบบ ก�ำหนดกฎกติกา ขั้นตอนรายละเอียด
ในการด�ำเนินกิจกรรม และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการด�ำเนินกิจกรรม
ต่างๆ ของชมุ ชน
ด�ำเนินการติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยเข้าไป
ติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมตามแผนของชุมชน ติดตามทรัพยากรสัตว์น้�ำ
รวมท้ังการแลกเปลีย่ น องคค์ วามรู้ และประการณต์ ่างๆ กบั ชุมชน

การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563 7

2. ชุมชนใหมป่ งี บประมาณ 2563 จ�ำนวน 15 ชุมชน

ล�ำดบั ท่ี พนื้ ที่เปา้ หมาย
1 ชุมชนประมงตน้ แบบอ่าวอดุ ม ม.1 ต.ท่งุ สุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
2 กลุ่มประมงพนื้ บา้ นหาดจอมเทยี ม ถนนเลียบชายหาดพทั ยา ม.12
ต.หนองปรอื อ.บางละมุง จ.ชลบรุ ี
3 บ้านคลองหลอด ม.3 ต.หว้ งนำ้� ขาว อ.เมือง จ.ตราด
4 บา้ นถนนสูง ม.8 ต.ชา้ งขา้ ม อ.นายายอาม จ.จนั ทบรุ ี
5 บ้านหว้ ยยาง ม.7 ต.หว้ ยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบครี ีขันธ์
6 บา้ นกรูด ม.2 ต.ธงชยั อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรขี ันธ์
7 ชุมชนปาตาตีมอ ต.ตะลบุ นั อ.สายบรุ ี จ.ปตั ตานี
8 บา้ นศาลาหลวงบน ม.4 ต.ทา่ บอน อ.ระโนด จ.สงขลา
9 บ้านตือลาฆอปาลัส ม.11 ต.กะลวุ อเหนอื อ.เมอื ง จ.นราธิวาส
10 บา้ นเขาปิหลาย ม.14 ต.โคกกลอย อ.ตะกัว่ ทุง่ จ.พงั งา
11 บ้านท่าคลอง ม.9 ต.เกาะกลาง อ.เกาะลนั ตา จ.กระบ่ี
12 บา้ นราไวใต้ ม.2 ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
13 บ้านนาชุมเหด็ ม.2 ต.ตะเสะ อ.หาดสำ� ราญ จ.ตรงั
14 กลมุ่ ชาวประมงบา้ นทา่ ยาง ม.3 ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง
15 กลุ่มชาวประมงบา้ นอ่าวเคย ม.4 ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

การด�ำเนินกจิ กรรมของชุมชนใหม่ ปีงบประมาณ 2563
ด�ำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการ
ทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ มาตรการในการบริหารจัดการ
ประมง กฎหมายประมง และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้กับชาวประมงในชุมชน
พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นในการจัดทำ� ร่างแผนบริหารจัดการทรัพยากร
ประมงเชงิ ระบบนิเวศของชุมชน
ด�ำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชนประมงท้องถ่ินชายทะเล ชาวประมง
อบต. อบจ. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เก่ียวข้อง เพ่ือวิเคราะห์ข้อมูลส�ำคัญของ
ชุมชนและจัดท�ำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศ ซ่ึงยึด
แนวทางตามระบบนิเวศ ในพื้นที่ของชุมชนท�ำให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการจัด
ท�ำแผนการบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น�้ำ
มากขึ้น
ด�ำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชนประมง และผู้เกี่ยวข้องในการ
ด�ำเนินการวางแผนและก�ำหนดรูปแบบ ก�ำหนดกฎกติกา ขั้นตอนรายละเอียด
ในการด�ำเนินกิจกรรม และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ
ของชุมชน
ด�ำเนินการติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยเข้าไป
ติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมตามแผนของชุมชน ติดตามทรัพยากรสัตว์น�้ำ
รวมทง้ั การแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ และประการณ์ตา่ งๆ กบั ชุมชน



ผลการด�ำเนนิ งาน
ปี 2562

ผลการดำด เนินงานปี 2562

กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล โดยกลุ่มพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งประมง
ด�ำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลทุกแห่ง และสถานีวิจัยและ
พัฒนาประมงทะเลจังหวัดระนอง ในการด�ำเนินการกิจกรรมการบริหาร
จัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
และสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการบ�ำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู
และการใช้ประโยชน์อย่างย่ังยืนจากทรัพยากรสัตว์น�้ำภายในท่ีจับสัตว์น�้ำในเขต
ทะเลชายฝั่ง ในพื้นท่ีจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี ตราด จันทบุรี ระยอง ชุมพร
สรุ าษฎรธ์ านี นครศรธี รรมราช สงขลา ปัตตานี ระนอง พังงา ภเู กต็ กระบี่
ตรัง และสตูล

เปา้ หมาย

ชุมชนประมงท้องถิ่นชายทะเล/
องค์กรชุมชนประมงท้องถ่ิน จ�ำนวน
21 ชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหาร
จัดการทรัพยากรประมงตามระบบนิเวศ
ในพ้ืนที่ของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน และ
มีแผนงานต่อเน่ืองในการด�ำเนินกิจกรรม
ของชมุ ชน

12 การบรหิ ารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563

พน้ื ท่ีดำ� เนินการ

ล�ำดบั ท่ี ช่ือชมุ ชน หมู่ ต�ำบล อ�ำเภอ จงั หวดั

1 บา้ นชายทะเล 2 บางละมุง บางละมงุ ชลบุรี

2 บา้ นพะเนนิ 1,2,3 แหลมผกั เบ้ยี บ้านแหลม เพชรบรุ ี

3 บ้านหาดแมร่ ำ� พึง 9 ตะพง เมอื ง ระยอง

4 บ้านเกาะจิก 1 บางชนั ขลงุ จันทบรุ ี

5 บา้ นแหลมกลัด 2 แหลมกลัด เมอื ง ตราด

6 บา้ นปากดอนสกั 7 ดอนสกั ดอนสัก สุราษฎร์ธานี

7 บ้านจมกู โพรง-กลางอ่าว 10 บางมะพร้าว หลังสวน ชุมพร

8 บ้านปากน้�ำละแม 1 ละแม ละแม ชุมพร

9 บ้านคาโต 5 ปะนาเระ ปะนาเระ ปัตตานี

10 บ้านระวะ 4 ระวะ ระโนด สงขลา

11 บา้ นในถงุ้ 5 ทา่ ศาลา ทา่ ศาลา นครศรธี รรมราช

12 บ้านหินราว 1 แหลมสัก อา่ วลกึ กระบี่

13 บ้านอา่ วทองหลาง 7 เกาะกลาง เกาะลันตา กระบี่

14 บ้านพารา 4 ป่าคลอก ถลาง ภเู ก็ต

15 บา้ นอา่ วกุ้ง 9 ป่าคลอก ถลาง ภูเกต็

16 บา้ นหินลาด 3 คุระ คุระบุรี พงั งา

17 บ้านเกาะระ 3 เกาะพระทอง ครุ ะบรุ ี พังงา

18 บ้านแหลมไทร 3 เขาไมแ้ ก้ว สเิ กา ตรัง

19 บ้านยะระโต๊ดใหญ่ 5 เกาะสาหร่าย เมือง สตลู

20 บ้านหาดทรายด�ำ 5 หงาว เมือง ระนอง

21 บา้ นบางกลว้ ย 3 นาคา สขุ สำ� ราญ ระนอง

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563 13

การจัดฝึกอบรม

ด�ำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากรประมง
เชิงระบบนิเวศ ให้กับชาวประมงในชุมชนทั้งหมด 21 ชุมชน มีผู้เข้าร่วมอบรม
จ�ำนวน 258 คน ซ่ึงมีเนื้อหาในการอบรมเกี่ยวกับ หลักการบริหารจัดการ
ทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ มาตรการในการบริหารจัดการ
ประมง กฎหมายประมง และระเบียบข้อบังคับต่างๆ รวมถึงการแบ่งกลุ่มระดม
ความคิดเห็นในการจัดท�ำร่างแผนบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบ
นิเวศของชุมชน เพื่อให้ชาวประมงมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริหาร
จดั การทรพั ยากรประมงโดยใชแ้ นวทางเชงิ ระบบนเิ วศ

การจัดท�ำแผนการบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศ

ด�ำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่นชายทะเล ชาวประมง
อบต. อบจ. ผู้มีสว่ นไดส้ ว่ นเสยี และผเู้ ก่ียวข้อง เพื่อวเิ คราะห์ข้อมูลส�ำคัญของชมุ ชน
และจดั ทำ� แผนการบริหารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศ ซึ่งยดึ แนวทาง
ตามระบบนิเวศ ในพ้ืนที่ของชุมชนท�ำให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการจัดท�ำแผน
การบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น�้ำมากข้ึน
ซ่งึ แผนการด�ำเนินกจิ กรรมของชุมชน ไดแ้ ก่
1) ก�ำหนดเขตอนุรักษ์ และห้ามเครื่องมือประมงบางประเภทท�ำการประมง
ในฤดูวางไข่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ จัดท�ำแนวกั้นคลื่นหน้าเขตชายฝั่ง จัดต้ัง
กลุ่มบริหารทรัพยากรประมง
2) จดั สร้างบา้ นปลา เชน่ ปะการังเทียม กร่�ำ ซง้ั กอ ซั้งเชอื ก และซง้ั พมุ่

14 การบรหิ ารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563

3) ปล่อยพนั ธุ์สตั ว์น�้ำ
4) จดั ตง้ั ศนู ยเ์ รียนรู้ บรเิ วณกลางทะเล เช่น ฟารม์ ทะเลและสวนนำ้�
5) จัดตง้ั ธนาคารสัตวน์ ำ�้ และเพิ่มประสิทธภิ าพธนาคารสัตว์น�้ำ (ธนาคาร
ปูมา้ ธนาคารหมกึ สาย และธนาคารหอยนางรม)
6) กจิ กรรมอืน่ ๆ อาทเิ ช่น จัดตัง้ ธนาคารขยะและจัดฝึกอบรมเกย่ี วกับ
การจัดการขยะ ปลูกป่าชายเลน เพิ่มประสิทธิภาพแพรับซ้ือสัตว์น้�ำ จัดฝึก
อบรมให้ความรดู้ า้ นแปรรูปสัตว์นำ้�

การสนับสนนุ วัสดุอุปกรณ์ในการด�ำเนินกจิ กรรมตามแผนของชมุ ชน

ดำ� เนินการจัดประชุมร่วมกบั ชมุ ชนประมง และผเู้ ก่ียวขอ้ งในการด�ำเนนิ
การวางแผนและก�ำหนดรูปแบบ ก�ำหนดกฎกติกา ขั้นตอนรายละเอียดในการ
ด�ำเนินกิจกรรม และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ
ในพื้นที่ 21 ชุมชน ดังนี้
กิจกรรมพัฒนาแหลง่ อาศัยสัตวน์ ้�ำ โดยการจดั ท�ำซง้ั กอ ซง้ั พ่มุ กร�่ำไมไ่ ผ่
จ�ำนวน 13 ชุมชน ด�ำเนินการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เช่น เชือกใยยักษ์
ทอ่ PVC หิน ปูน ทราย ไมไ้ ผ่ ทางมะพร้าว เป็นต้น
กิจกรรมก�ำหนดเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมง โดยการจัดท�ำทุ่นแสดง
เขตอนุรักษ์ จ�ำนวน 7 ชุมชน ด�ำเนินการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เช่น
เชอื กใยยักษ์ ไม้ไผ่ ปา้ ยบอกและแสดงเขตอนรุ ักษ์ เป็นตน้
กิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้�ำ โดยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้�ำ เช่น
หอยหวาน กุ้งแชบ๊วย จ�ำนวน 7 ชุมชน โดยสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งแชบ๊วย
และหอยหวาน

การบริหารจดั การทรพั ยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563 15

กิจกรรมจัดต้ังธนาคารสัตว์น้�ำชุมชน เช่น ธนาคารหอยนางรม
ธนาคารหอยชักตนี ธนาคารทรพั ยากรสตั ว์นำ้� จำ� นวน 5 ชมุ ชน ด�ำเนินการ
สนับสนุนวสั ดอุ ุปกรณ์ เช่น ทอ่ พีวีซี เน้อื อวน เชอื กใยยักษ์ ไม้ เปน็ ต้น
กจิ กรรมเพ่ิมประสิทธิภาพธนาคารสัตว์น�้ำ โดยการสนบั สนนุ ถังเพาะฟกั
พรอ้ มระบบทอ่ ปล่อยลูกพันธุป์ ูม้า กระดานจดบนั ทกึ แมป่ ไู ข่ และปา้ ยประชาสัมพันธ์
จำ� นวน 1 ชมุ ชน
กิจกรรมสนับสนุนการท่องเท่ียวของชุมชน โดยการจัดการแข่งขัน
ตกปลา สร้างสะพานเดินชมธรรมชาตนิ เิ วศปา่ โกงกาง จำ� นวน 1 ชมุ ชน
กิจกรรมอนื่ ๆ เช่น การก�ำจดั ขยะบรเิ วณชมุ ชน เปน็ ต้น จำ� นวน 1 ชุมชน

การตดิ ตามผลการดำ� เนนิ กจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินการโดยกลุ่มพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนา
ประมง ทั้ง 6 แห่ง และสถานวี ิจัยและพฒั นาประมงทะเลจังหวดั ระนอง ได้เขา้ ไป
ติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมตามแผนของชุมชน ติดตามทรัพยากรสัตว์น�้ำ
รวมท้งั ไดแ้ ลกเปล่ยี น องค์ความรู้ และประการณ์ตา่ งๆ กับชมุ ชน

16 การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563

ผลการดำ� เนนิ กิจกรรม
การบริหารจัดการทรัพยากรประมง

เชิงระบบนิเวศโดยชุมชน

การบรหิ ารจัดการทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563 17

บ้านชายทะเล

ข้อมลู ทว่ั ไป 

บ้านชายทะเล ตั้งอยู่ท่ี ม.1 ต.บางละมุง
อ.บางละมงุ จ.ชลบุรี ตดิ กบั เมืองพัทยาไปทางทิศเหนือ
(ทางไปตัวจังหวัดชลบุรี) ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่
เป็นที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเล มีจ�ำนวนครัวเรือน
320 ครัวเรือน ประชากร 1,500 คน แบ่งเป็น
เพศชาย 600 คน เพศหญิง 900 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ส่วนนอ้ ยนบั ถือศาสนาอสิ ลาม และประกอบอาชพี ประมงร้อยละ 40 คา้ ขาย รอ้ ยละ 15
ทำ� โรงงาน รอ้ ยละ 40 และอน่ื ๆ ร้อยละ 5

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มจี ำ� นวนเรอื ประมง 60 ล�ำ ขนาดความยาวของเรอื ประมง 4-8 เมตร เครอื่ งมือ
ประมงท่พี บไดแ้ ก่ อวนปู อวนปลา อวนกุ้ง ไดหมกึ โดยมแี หล่งท�ำการประมงบรเิ วณ
ชายฝง่ั ทะเลหน้าบ้านชายทะเล

สตั ว์น้ำ� ชนดิ หลกั ทพ่ี บ

คือ ปูมา้ หมึก ปลากระบอก กงุ้ แชบ๊วย หอยเสียบ หอยตลบั หอยกระปุก

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัย
สัตว์น้�ำ โดยการจัดท�ำและจัดวางซั้งบริเวณ
ชายทะเลบ้านชายทะเล เพื่อเป็นแหล่งทอ่ งเทย่ี ว
เชิงนิเวศโดยมีกิจกรรมตกปลา และตกหมึก
โดยจะร่วมด�ำเนินกิจกรรมกับชุมชนบ้านลานโพธ์ิ
หมู่ 4

ขอ้ ก�ำหนดกฎกตกิ าในการจดั การทรพั ยากรชุมชน

1) ห้ามใช้เครื่องมือประมงปูม้าทุกประเภทท�ำการประมงบริเวณที่ท้ิงซ้ังและบ้านปลา
และใหบ้ ริเวณทที่ งิ้ ซง้ั และบา้ นปลาเป็นทอี่ ย่อู าศัยของสตั ว์น้�ำขนาดเลก็
2) เปน็ สถานท่ที ่องเทยี่ วสำ� หรับกิจกรรมตกปลาและตกหมกึ

18 การบริหารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563

บา้ นพะเนิน

ขอ้ มลู ทัว่ ไป

บ้านพะเนิน ต้ังอยู่ท่ี ม.1,2,3 ต.แหลมผักเบ้ีย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลอ่าวไทยของ อ.บ้านแหลม ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่
ติดชายทะเลอา่ วไทยและเปน็ แหลมเล็กๆ ยืน่ เขา้ ไปในทะเล เปน็ หาดทรายสีขาวท่ยี าวทส่ี ดุ
เป็นจดุ กำ� เนดิ ของทรายเมด็ แรก มจี ำ� นวนครัวเรอื น 110 ครัวเรือน ประชากร 375 คน
แบ่งเปน็ เพศชาย 130 คน เพศหญงิ
245 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาพทุ ธ ส่วนนอ้ ยนบั ถือศาสนาครสิ ต์
และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 70
ค้าขาย ร้อยละ 14 แปรรูปสัตว์น้�ำ
ร้อยละ 10 และอื่นๆ รอ้ ยละ 6

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 100 ล�ำ
ขนาดความยาวของเรือประมง 4-8 เมตร เครื่องมือประมงท่ีพบได้แก่ อวนปู อวนปลา
อวนกงุ้ โดยมีแหลง่ ทำ� การประมง บริเวณชายฝ่ังทะเลหน้าหาดแหลมผกั เบ้ยี

สตั วน์ ำ�้ ชนดิ หลกั ทพี่ บ

คอื ปมู ้า กุง้ แชบว๊ ย ปลามงโกรย ปลาจวด

การด�ำเนนิ กิจกรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำและจัดวางซั้งบริเวณ
ชายทะเลบ้านแหลมผกั เบ้ยี เพ่อื เป็นแหล่งท่องเท่ยี วเชิงนิเวศ โดยมีกิจกรรมนั่งเรือชมวาฬ
บรูด้า ธนาคารปูม้า สร้างบ้านปลาบนฝั่ง เพื่อเป็นแหล่งท่องเท่ียว มีตลาดชุมชนและ
การเกบ็ ขยะบริเวณแหลมผกั เบ้ียทัง้ บนบกและในทะเล

ขอ้ ก�ำหนดกฎกตกิ าในการจัดการทรพั ยากรชุมชน

1) ให้บริเวณท่ีทิ้งซ้ังและบ้านปลา
เป็นแหลง่ อนุบาลสตั วน์ ำ้� วยั อ่อน และเป็น
แหล่งปล่อยพันธ์สุ ตั วน์ ้�ำ
2) ให้บริเวณธนาคารปูม้าเป็นแหล่ง
เรียนรู้ ศึกษาดงู าน

การบรหิ ารจัดการทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563 19

บา้ นหาดแมร่ �ำพงึ

ข้อมลู ทัว่ ไป

บา้ นหาดแมร่ ำ� พึง ตง้ั อย่ทู ี่ ม.9 ต.ตะพง
อ.เมือง จ.ระยอง ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ลักษณะพ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นหาดทรายขาวที่ยาวสุด
ของฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีจ�ำนวนครัวเรือน
1,971 ครวั เรือน ประชากร 2,400 คน แบง่ เป็น
เพศชาย 1,170 คน เพศหญงิ 1,230 คน ประชากร
สว่ นใหญ่นับถอื ศาสนาพทุ ธ และประกอบอาชีพประมง รอ้ ยละ 40 ค้าขาย รอ้ ยละ 25
แปรรูปสัตว์น้ำ� รอ้ ยละ 20 เพาะเลย้ี งสตั วน์ ำ้� และอ่ืนๆ ร้อยละ 15

ข้อมลู ด้านการประมง

มจี �ำนวนเรือประมง 70 ลำ� ขนาดความยาวของเรือประมง 2.5-7 เมตร เครอ่ื งมอื
ประมงที่พบได้แก่ อวนจมปู อวนลอยปลา อวนกุ้ง ลอบปู เบ็ดมือ โดยมีแหล่ง
ท�ำการประมงบริเวณทะเลหนา้ หาดแม่ร�ำพึง ระยะห่างจากชายฝง่ั ทะเล 1-6 ไมลท์ ะเล

สตั ว์น้ำ� ชนดิ หลักทพ่ี บ

คอื ปมู ้า กุง้ แชบว๊ ย

การด�ำเนนิ กจิ กรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัย
สัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซั้งกอทางมะพร้าว
จ�ำนวน 40 ต้น และจดั วางซั้ง จำ� นวน 4 กลุ่ม
กลุม่ ละ 10 ต้น บริเวณหน้าชายฝ่ังทะเลหาดแม่รำ� พงึ ห่างจากชายฝ่งั ประมาณ 2 ไมล์ทะเล
เพือ่ เป็นแหลง่ ที่อยู่อาศยั และอนบุ าลสัตวน์ �้ำวัยอ่อน

ข้อก�ำหนดกฎกติกาในการจดั การทรัพยากรชุมชน

หา้ มทำ� การประมงบรเิ วณท้งิ ซัง้ ในระยะแรก และประชาสมั พนั ธใ์ หช้ ุมชนขา้ งเคยี ง
ได้รับทราบ

20 การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563

บา้ นเกาะจกิ

ขอ้ มลู ท่ัวไป

บา้ นเกาะจิก ตง้ั อยู่ที่ ม.1 ต.บางชนั อ.ขลงุ
จ.จนั ทบุรี โดยทศิ เหนือจรดทะเลด้านอำ� เภอแหลมสิงห์
จงั หวดั จันทบุรี ทศิ ใตจ้ รดทะเลดา้ นอำ� เภอแหลมงอบ
จังหวดั ตราด ทศิ ตะวนั ออกจรดทะเลดา้ นอำ� เภอเขาสมิง
ทศิ ตะวนั ตกตดิ ทะเลด้านอ่าวไทย มสี ภาพพ้ืนทเ่ี ปน็ หม่เู กาะทีม่ ปี า่ ไมเ้ บญจพรรณขึน้ หนาแนน่
บนเขา และลักษณะชายหาดเป็นทรายพ้ืนท่ีราบหันออกสู่อ่าวไทย มีจ�ำนวนครัวเรือน
150 ครัวเรอื น ประชากร 388 คน แบง่ เปน็ เพศชาย 198 คน เพศหญิง 190 คน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 40 แปรรูป
สัตวน์ ำ้� รอ้ ยละ 16 เพาะเลยี้ งสัตว์นำ�้ ร้อยละ 13 และอน่ื ๆ (โฮมสเตย์ ค้าขาย สวนยาง)
ร้อยละ 31

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มจี ำ� นวนเรือประมง 36 ลำ� ขนาดความยาว
ของเรือประมง 4-15 เมตร เครื่องมือประมงที่พบ
ได้แก่ ไดหมึก ลอบหมึก อวนติดตา ลอบปลา
โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณชายฝั่งทะเล
จังหวัดระยองถึงจงั หวดั ตราด และบรเิ วณรอบเกาะจิก

สัตวน์ ้�ำชนิดหลักทพี่ บ

คือ กงุ้ แชบ๊วย ปูม้า และปลาจะละเมด็ ขาว

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซ้ังเชือกและจัดวางซั้ง
บรเิ วณชายทะเลหนา้ หาดเกาะจกิ เพื่อเปน็ ทดี่ ึงดูดสตั วน์ ้�ำและอนุบาลสตั วน์ �้ำวยั อ่อนและ
ก�ำหนดเขตอนุรักษ์ โดยจัดวางทุ่นเสริมจ�ำนวน 20 ลูก เพื่อแสดงแนวเขตอนุรักษ์
บรเิ วณแหล่งสาหร่ายเทียม (ซั้งเชอื ก)

ขอ้ กำ� หนดกฎกตกิ าในการจัดการทรพั ยากรชุมชน

หา้ มทำ� การประมงในพื้นทอี่ นรุ กั ษ์

การบรหิ ารจดั การทรพั ยากรประมงเชิงระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563 21

บ้านแหลมกลดั

ข้อมลู ทัว่ ไป

บ้านแหลมกลัด ตั้งอยู่ท่ี ม.2 ต.แหลมกลัด
อ.เมือง จ.ตราด ลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นออกมา
นอกทะเลทางฝั่งอ่าวไทยด้านทิศตะวันตก ส่วนด้าน
ทิศตะวันออกติดกับเทือกเขาบรรทัด ลักษณะพ้ืนที่
ส่วนใหญ่เป็นท่ีราบเชิงเขาเลียบชายฝั่งทะเล มีจ�ำนวน
ครัวเรือน 94 ครัวเรอื น ประชากร 398 คน แบ่งเปน็ เพศชาย 197 คน เพศหญงิ
201 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 60
ค้าขาย ร้อยละ 20 เพาะเลีย้ งสัตว์น�้ำ ร้อยละ 10 และอน่ื ๆ ร้อยละ 10

ข้อมลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 30 ล�ำ เครื่องมือประมงที่พบได้แก่ อวนจมปู ลอบปู
โดยมีแหลง่ ทำ� การประมงบรเิ วณชายฝง่ั ทะเลหน้าบ้านแหลมกลัด และคลองสน

สตั ว์น�ำ้ ชนิดหลักท่ีพบ

คือ หอยขาว กง้ั ต๊ักแตน ปูม้า

การด�ำเนินกิจกรรมของชุมชน

ดำ� เนินกจิ กรรมพฒั นาแหล่งอาศยั สัตว์น�้ำ โดยการจดั ทำ� ซัง้ พ่มุ (หญ้าทะเลเทยี ม)
จ�ำนวน 100 ต้น และจัดวางซั้งบริเวณชายทะเลบ้านแหลมกลัด เพ่ือเป็นแหล่งอาศัย
หลบภัยของสัตวน์ �้ำวัยออ่ น และปล่อยพนั ธส์ุ ตั ว์นำ�้ ในพื้นทีอ่ นรุ ักษ์ เพอื่ ฟ้ืนฟูทรัพยากร
สตั วน์ ำ้�

ข้อก�ำหนดกฎกติกาในการจัดการทรัพยากรชมุ ชน

หา้ มท�ำประมงในเขตพื้นที่จดั วางซ้ังพุ่ม

22 การบรหิ ารจัดการทรพั ยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563

บ้านปากดอนสัก

ขอ้ มลู ทวั่ ไป

บ้านปากดอนสัก ตง้ั อยทู่ ่ี ม.7 ต.ดอนสัก
อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เปน็ พน้ื ทช่ี มุ่ น�ำ้ มีป่าชายเลน
บริเวณชายฝั่งท่ีอุดมสมบูรณ์ ท�ำให้ในพื้นท่ีมี
ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์น�้ำ บริเวณ
ริมคลองดอนสักด้านทิศตะวันตกของคลองดอนสัก
ซ่ึงไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน ประชากรตั้งบ้านเรือน
กนั เปน็ ชมุ ชนบริเวณริมคลอง มีจำ� นวนครัวเรอื น 71 ครัวเรือน ประชากร 1,390 คน
เปน็ เพศชาย 607 คน และเพศหญิง 783 คน สว่ นใหญ่นับถือศาสนาพทุ ธ และส่วนใหญ่
ประกอบอาชพี ประมง ร้อยละ 80 คา้ ขายและอื่นๆ ร้อยละ 20

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 93 ล�ำ มีท้ังเรือประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ โดยส่วนใหญ่
เป็นเรือประมงพ้ืนบ้าน ขนาดความยาวเรือประมง 3-35 เมตร ท�ำการประมงด้วยเคร่ืองมือ
อวนจมปู อวนลอยปลา อวนลอยกุ้งสามชั้น ลอบปู ลอบหมึกสาย อวนลาก โดยมี
แหล่งท�ำการประมง บรเิ วณหมเู่ กาะอา่ งทอง อ่าวบ้านดอน และเกาะพะงัน

สตั ว์น�ำ้ ชนดิ หลกั ทพ่ี บ

คือ ปูม้า ปูทะเล ปูแสม หมึกสาย
กุ้งแชบ๊วย กุ้งตะกาด กุ้งทราย ก้ัง ปลาทู
ปลาจะละเม็ด หอยนางรม หอยแครง

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

จัดตั้งกลุ่มบริการจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชนร่วมกัน
ก�ำหนดกตกิ าชมุ ชนในการบริหารจดั การทรพั ยากรสัตว์น้�ำ เปน็ ประกาศคณะกรรมการ
ประมงประจำ� จงั หวดั สุราษฎรธ์ านี เร่อื งกำ� หนดเครื่องมอื ทำ� การประมง วธิ กี ารทำ� การประมง
และพ้ืนที่ท�ำการประมง ท่ีห้ามใช้ท�ำการประมงในท่ีจับสัตว์น�้ำบางพ้ืนที่ พ.ศ. 2562
พื้นท่ีรวม 1,010 ไร่ โดยในพ้นื ที่ดงั กลา่ ว ไดจ้ ดั ท�ำกร�่ำไม้ไผ่ เพ่อื เปน็
แหล่งอาศัยสัตว์น�้ำวัยอ่อน จ�ำนวน 20 กร่�ำ ในแต่ละกร�่ำ
ใช้ไม้ไผ่ จ�ำนวน 25 ต้น ปักล้อมเป็นวงกลม
เส้นผ่านศนู ยก์ ลางประมาณ 2-3 เมตร นอกจากนี้
กลุ่มยังมกี ารด�ำเนนิ กิจกรรมธนาคารปมู า้ ชมุ ชน และ
ธนาคารหมกึ สาย

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563 23

บ้านจมกู โพรง-กลางอ่าว

ข้อมลู ท่วั ไป

บ้านจมูกโพรง-กลางอ่าว ต้ังอยู่ท่ี
ม.10 ต.บางมะพร้าว อ.หลังสวน จ.ชุมพร
มีป่าชายเลนในพ้ืนที่ ปัจจุบันมีความอุดมสมบูรณ์
เลนลดน้อยลง เน่ืองจากมีการบุกรุกของ
กจิ กรรมการเลี้ยงก้งุ และมแี หลง่ หญ้าทะเล
บริเวณชายฝั่งทะเลของหมู่บ้าน สภาพโดย
ทั่วไปของพ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นพ้ืนที่ราบบริเวณ
ชายฝั่งอ่าวไทย ประชากรตั้งบ้านเรือนตลอดแนวชายฝั่งของหมู่บ้าน มีจ�ำนวนครัวเรือน
151 ครวั เรือน ประชากร 446 คน แบ่งเปน็ เพศชาย 215 คน เพศหญงิ 231 คน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 40 รับจ้าง
ร้อยละ 30 เพาะเลยี้ งสัตวน์ �้ำ รอ้ ยละ 10 และอืน่ ๆ รอ้ ยละ 20

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มจี ำ� นวนเรอื ประมง 25 ล�ำ เป็นเรอื ประมงพ้นื บ้านท้ังหมด ขนาดความยาวของ
เรอื ประมง 5-12 เมตร ท�ำการประมงด้วยเครื่องมือ อวนจมปู อวนลอยปลา อวนลอย
กุ้งสามช้ัน อวนปลาทราย ลอบหมึกหอม ไดหมึก ตกเบ็ด ท�ำการประมงบริเวณพ้ืนที่
หนา้ บา้ นหา่ งฝ่งั 1-5 กโิ ลเมตร

สตั ว์น�้ำชนดิ หลักทพ่ี บ

คือ ปมู า้ หมกึ กล้วย หมกึ สาย หมกึ หอม หมกึ กระดอง กงุ้ แชบว๊ ย กงุ้ ตะกาด
ปลาทู ปลาสีกุน ปลาขา้ งเหลอื ง ปลาจะละเม็ด หอยแมลงภู่

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

จัดต้ังกลุ่มบริการจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชนร่วมกันก�ำหนด
กติกาชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้�ำ โดยขอความร่วมมือจากชาวประมง
ไม่ท�ำการประมงด้วยเคร่ืองมือตามที่ก�ำหนด ดังน้ี 1)อวนล้อมตาถี่ 2)ลอบปูม้า
3)อวนลอยทม่ี คี วามลกึ มากกว่า 200 ตา ในเขตชายฝงั่ บา้ นจมกู โพรง-กลางอ่าว ด�ำเนิน
กิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซั้งไม้ไผ่ จ�ำนวน 85 กอ ถ่วงด้วย
ท่อซีเมนต์ จัดวางซั้งจ�ำนวน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 8-9 กอ ระยะห่างระหว่างกลุ่ม
1 กโิ ลเมตร ในบริเวณชายฝง่ั ชุมชนบา้ นจมกู โพรง ระยะหา่ งฝั่ง 3,000 เมตร ตลอด
แนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร ระดับน�้ำลึก 10-12 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัย
สัตว์น�้ำวยั ออ่ น

24 การบรหิ ารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563

บ้านปากน�้ำละแม

ข้อมูลทว่ั ไป

บ้านปากน้�ำละแม ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.ละแม
อ.ละแม จ.ชมุ พร สภาพโดยท่ัวไปของพนื้ ท่สี ่วนใหญ่
เป็นพ้ืนที่ราบบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย มีหาดทราย
กว้างและยาว มีแหล่งหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล
ท�ำให้พ้ืนท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลาย
ของทรัพยากรสัตว์น้�ำ โดยมีสายน้�ำที่ส�ำคัญคือ
แม่น้�ำละแม และคลองบ้านดวด ประชากรต้ังบ้านเรือนเป็นชุมชนตลอดแนวชายฝั่ง
มจี �ำนวนครัวเรือน 262 ครัวเรือน ประชากร 585 คน แบง่ เป็น เพศชาย 304 คน
เพศหญิง 281 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพประมง
ร้อยละ 40 การเกษตร รอ้ ยละ 30 คา้ ขาย ร้อยละ 15 และอ่นื ๆ ร้อยละ 15

ข้อมลู ดา้ นการประมง

มีจำ� นวนเรือประมง 40 ลำ� เป็นเรือประมงพื้นบา้ นทั้งหมด ขนาดความยาวของ
เรือประมง 4-14 เมตร ทำ� การประมงดว้ ยเคร่อื งมือ อวนลอยปลา อวนลอยกุ้งสามชัน้
อวนครอบหมกึ และอวนจมปู โดยมีแหลง่ ท�ำการประมงบรเิ วณหนา้ ปากน�้ำละแม

สัตวน์ �้ำชนิดหลักทีพ่ บ

คือ ปลาทู ปลาจะละเม็ด หมึกกล้วย หมึกหอม หมึกกระดอง หมึกสาย ปูม้า
กงุ้ แชบ๊วย กงุ้ ตะกาด หอยแมลงภู่ หอยลาย

การด�ำเนินกิจกรรมของชมุ ชน

จัดตง้ั กลุ่มบริการจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชนร่วมกนั กำ� หนดกตกิ า
ชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น�้ำ โดยขอความร่วมมือจากชาวประมง
ไม่ท�ำการประมงด้วยเครื่องมือตามท่ีก�ำหนด ดังนี้ 1)ลอบปูม้า 2)อวนลอยปูม้าขนาด
ชอ่ งตาต�่ำกว่า 3.5 นวิ้ ตลอดแนวชายฝัง่ บา้ นปากนำ�้ ละแมทร่ี ะยะห่างฝัง่ 2,000 เมตร
ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซ้ังไม้ไผ่ จ�ำนวน 240 กอ
ถว่ งด้วยกระสอบทราย จัดวางซั้ง จ�ำนวน 6 กลมุ่ กลมุ่ ละ 40 กอ ในพน้ื ทบ่ี ริเวณ
ชายฝ่งั ชมุ ชนบ้านปากน�้ำละแม หา่ งฝัง่ 500-800 เมตร ระดับความลกึ น้�ำ 4-5 เมตร
เพื่อเปน็ แนวเขตอนรุ กั ษฯ์ และแหล่งท่ีอยู่อาศัยสตั วท์ ะเล
ของชุมชน นอกจากน้ียงั มกี ารดำ� เนนิ กิจกรรม
การทอ่ งเทีย่ วของชมุ ชน มตี ลาดใต้เคย่ี ม
ซึ่ ง เ ป ็ น ก า ร น� ำ สั ต ว ์ น�้ ำ ใ น พ้ื น ที่
บริการแก่นักท่องเท่ียว และ
กิจกรรมการแปรรปู สตั ว์น�้ำ

การบรหิ ารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563 25

บ้านคาโต

ข้อมูลท่วั ไป

บ้านคาโต ตั้งอยู่ท่ี ม.5 ต.ปะนาเระ
อ.ปะนาเระ จ.ปตั ตานี ทศิ เหนอื และทิศตะวันออก
ตดิ ต่อกับทะเลอา่ วไทย สภาพท่วั ไปของพ้ืนทบี่ างส่วน
เป็นท่ีราบเรียบติดชายหาดมีจ�ำนวนครัวเรือน
200 ครัวเรอื น ประชากร 2,367 คน แบง่ เป็น
เพศชาย 1,180 คน เพศหญิง 1,187 คน ประชากรสว่ นใหญน่ ับถอื ศาสนาอสิ ลาม และ
ประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 80 และอื่นๆ รอ้ ยละ 20

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มีจำ� นวนเรือประมง 227 ลำ� ขนาดความยาวของเรือประมง 5-14 เมตร เครือ่ งมือ
ประมงทีพ่ บได้แก่ อวนจมปู อวนลอยกุง้ สามชน้ั อวนลอยปลาทู เบ็ดตกหมึก เบด็ ตกปลา
อวนลอยปลาหลังเขยี ว อวนลอยปลาจะละเมด็ อวนลอ้ มปลาจะละเม็ด อวนลอยปลาทราย
อวนลอยปลากเุ รา ลอบปู แห โดยมแี หล่งท�ำการประมงบรเิ วณหนา้ ปาตาบูดี ถงึ อ.สายบุรี
จ.ปัตตานี

สตั ว์นำ�้ ชนดิ หลักทพ่ี บ

คือ ปูม้า ปลากระเบน ปลาฉลาม
ปลาขา้ งตะเภา ปลาลัง ปลาสกี ุน กง้ั กระดาน
หอยหวาน หมกึ กลว้ ย หมกึ หอม หมึกกระดอง
กุ้งแชบว๊ ย กุ้งโอคัก และกุ้งกลุ าดำ�

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซั้งทางมะพร้าว และ
จัดวางซง้ั บริเวณชายทะเลบา้ นคาโต และก�ำหนดเขตอนรุ กั ษท์ รพั ยากรประมง โดยชาวประมง
ใช้ไม้ไผต่ ดิ โฟมและผูกผ้าแดง ถว่ งด้วยกระสอบทราย เพื่อแสดงแนวเขตอนุรกั ษ์ ในพน้ื ท่ี
ชายทะเลเทศบาลต�ำบลปะนาเระ ทีร่ ะยะห่างฝ่ัง 120 เมตร และฟื้นฟทู รพั ยากรสัตว์น้ำ�
โดยการปลอ่ ยลูกปูม้าระยะ Zoea จากธนาคารปูม้า

ข้อกำ� หนดกฎกติกาในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

ห้ามท�ำประมงด้วยเครื่องมืออวนและลอบทุกชนิด สามารถท�ำการประมงตกเบ็ด
และทอดแหในเขตอนรุ กั ษ์ได้ โดยการยนื ตกเบ็ดและทอดแหจากชายฝัง่ เทา่ น้นั และในชว่ ง
เดอื นพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ สามารถท�ำการประมงลอบปลาเกา๋ ได้ ซงึ่ ผู้ใดฝา่ ฝืนปรับ
2,000 บาท

26 การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563

บา้ นระวะ

ขอ้ มลู ท่วั ไป

บ้านระวะ ตั้งอยู่ท่ี ม.4 ต.ระวะ อ.ระโนด
จ.สงขลา ทิศตะวันออกติดกับอ่าวไทยสภาพพื้นที่
ท่วั ไปเป็นทีร่ าบลมุ่ มีจำ� นวนครวั เรือน 319 ครวั เรอื น
ประชากร 1,047 คน แบ่งเป็น เพศชาย 524 คน
เพศหญิง 523 คน ประชากรสว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนา
พุทธ และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 60 เพาะเลี้ยงสัตว์น้�ำ ร้อยละ 30 ค้าขาย
ร้อยละ 5 และอ่นื ๆ ร้อยละ 5

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 46 ล�ำ ขนาดความยาว
ของเรือประมง 5-8 เมตร เคร่ืองมือประมงที่พบ
ไดแ้ ก่ อวนลอยปลาทู อวนลอยก้งุ สามชั้น อวนจมปู
อวนจมหมึก อวนปลาจะละเม็ด เบ็ด โดยมีแหล่ง
ท�ำการประมงบริเวณหน้าชายฝั่งทะเลอ.ระโนด ถึง
อ.สทงิ พระ จ.สงขลา

สัตวน์ ้ำ� ชนิดหลักทีพ่ บ

คอื กงุ้ แชบ๊วย กุง้ โอคกั กงุ้ ปลอ้ ง ก้งุ หลังไข่
ปลาจวด ปลาโคก ปลาข้างตะเภา ปลาลัง ปลาโคก
ปลาสีกนุ ปลาดอกหมาก ปลาหลังเขียว ปลาสรอ้ ยนกเขา
หมกึ สาย หมึกกระดอง ก้งั ตก๊ั แตน กั้งกระดาน ปูมา้
ปูลาย ปูดาว ปทู ะเล แมงดาทะเล

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ โดยการจัดท�ำซ้ังกอ และจัดวางซั้ง
บริเวณชายทะเลบ้านระวะ และก�ำหนดเขตอนุรักษ์ โดยใช้ไม้ไผ่ติดโฟมและผูกผ้าแดง
ถ่วงด้วยก้อนคอนกรีต เพ่ือแสดงแนวเขตอนุรักษ์ ในพ้ืนที่ชายทะเลบ้านระวะและฟื้นฟู
ทรพั ยากรสตั วน์ ้�ำโดยการปล่อยลกู ปมู ้าระยะ Zoea บริเวณเขตอนุรักษ์

ขอ้ กำ� หนดกฎกตกิ าในการจัดการทรพั ยากรชุมชน

ห้ามท�ำการประมงในเขตอนุรักษ์ด้วยเครื่องมือประมงทุกชนิด และผู้ใดฝ่าฝืน
มีการด�ำเนินการดังน้ี ว่ากล่าวตักเตือน ว่ากล่าวตักเตือนพร้อมด้วยเจ้าหน้าท่ี และ
สง่ ดำ� เนินคดีทางกฎหมาย

การบรหิ ารจดั การทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563 27

บ้านในถงุ้

ขอ้ มลู ทว่ั ไป

บา้ นในถุง้ ตง้ั อยู่ที่ ม.5 ต.ทา่ ศาลา อ.ทา่ ศาลา
จ.นครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกติดกับอ่าวไทย
สภาพพื้นที่ส่วนใหญเ่ ป็นทรี่ าบชายฝัง่ ทะเล มหี าดทราย
สลับกบั ปา่ ชายเลน มจี ำ� นวนครัวเรอื น 1,100 ครัวเรอื น
ประชากร 4,530 คน แบง่ เป็น เพศชาย 2,524 คน
เพศหญงิ 2,006 คน ประชากรส่วนใหญน่ ับถือศาสนา
อสิ ลาม และประกอบอาชีพประมง รอ้ ยละ 70 รับจา้ งท่วั ไป รอ้ ยละ 10 เพาะเลย้ี งสตั ว์นำ้�
ร้อยละ 5 เกษตรกรรม ร้อยละ 5 และอืน่ ๆ รอ้ ยละ 10

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 180 ล�ำ ขนาดความยาว
ของเรือประมง 5.5-12 เมตร เครื่องมือประมงที่พบ
ได้แก่ อวนลอยปลาทู อวนลอยก้งุ สามชั้น อวนจมปู
อวนปลาจวด อวนปลาจะละเม็ด อวนปลากุเรา โดย
มีแหล่งท�ำการประมงบริเวณหน้าอ.สิชล จนถึงหน้า
อ.ปากพนัง

สัตว์นำ้� ชนิดหลักที่พบ

คอื ปมู า้ ปลาทู ปลาอินทรบี ้ัง ปลาข้างตะเภา
ปลาลัง ปลาสีกุน ปลาปากคม ปลาทรายขาว
กั้งกระดาน ก้ังตั๊กแตน กุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคัก
กุ้งกุลาดำ� กงุ้ กุลาลาย กงุ้ ทราย และกุ้งหลงั ไข่

การด�ำเนินกิจกรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ
โดยการจัดท�ำโป๊ะไม้ไผ่ หรือบ้านปลา และจัดวางซ้ังบริเวณชายทะเลบ้านในถุ้ง และ
ก�ำหนดเขตอนุรักษ์ โดยใช้ไม้ไผ่ปักและผูกผ้าแสดงธงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงแนวเขต
อนุรักษ์ในพื้นท่ีชายทะเลบ้านในถุ้ง และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น�้ำโดยการปล่อยลูกปูม้า
ระยะ Zoea บรเิ วณเขตอนรุ ักษ์

ขอ้ ก�ำหนดกฎกติกาในการจัดการทรัพยากรชมุ ชน

การท�ำประมงในเขตอนุรักษ์ด้วยเครื่องมือประมงทุกชนิด ยกเว้นเครื่องมือ
ประมงท่ผี ดิ กฎหมาย และผู้ใดฝ่าฝนื ว่ากล่าวตกั เตือน

28 การบรหิ ารจัดการทรพั ยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563

บา้ นหินราว

ข้อมลู ทว่ั ไป

บา้ นหินราว ตง้ั อยู่ท่ี ม.1 ต.แหลมสกั อ.อ่าวลึก
จ.กระบ่ี ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกติดกับ
ทะเลอันดามนั สภาพพ้นื ท่สี ่วนใหญเ่ ปน็ ท่ีลาดชนั และ
พ้ืนทีร่ าบ มีจ�ำนวนครวั เรือน 125 ครัวเรอื น ประชากร
500 คน แบ่งเป็น เพศชาย 270 คน เพศหญิง
230 คน ประชากรนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ
70 เพาะเลยี้ งสตั ว์นำ้� รอ้ ยละ 10 ท�ำสวน ร้อยละ 10 และลน่ื ๆ รอ้ ยละ 10

ขอ้ มลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 80 ล�ำ ขนาดความยาว
ของเรือประมง 5-25 เมตร เคร่ืองมือประมงที่พบ
ไดแ้ ก่ อวนลอยปลา 3.2 นิ้ว ลอบปลาเกา๋ เบด็ มอื
อวนจมกุ้งสามช้ัน ล่อลูกหอยนางรม อวนจมปู
ลอบปดู ำ� โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณอา่ วแหลมสกั -
เกาะยาว และชายฝ่ังทะเลบ้านหินราว

สตั ว์น้�ำชนดิ หลกั ที่พบ

คือ หอยนางรม หอยแครง ปลาเก๋า
กุง้ แชบ๊วย ปมู ้า เปน็ ตน้

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมจัดต้ังศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยว
เชิงระบบนิเวศและธนาคารหอยนางรม โดยจัดท�ำ
เปน็ แพกระชงั ลอยนำ�้ จำ� นวน 1 แพ บรเิ วณชายทะเล
บ้านหินราว เพ่ือเป็นศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยว
เชิงระบบนิเวศและศกึ ษาดูงาน

ข้อกำ� หนดกฎกตกิ าในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

ให้บริเวณจัดตั้งธนาคารหอยนางรม เป็นพ้ืนที่แหล่งอนุรักษ์พ่อแม่พันธุ์หอยนางรม
และเป็นแหล่งทอ่ งเทีย่ วเชงิ นิเวศและแหล่งเรียนรู้

การบรหิ ารจัดการทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563 29

บ้านอ่าวทองหลาง

ขอ้ มลู ท่ัวไป

บ้านอ่าวทองหลาง ตัง้ อยู่ที่ ม.7 ต.เกาะกลาง
อ.เกาะลนั ตา จ.กระบ่ี ติดทะเลอันดามนั และพืน้ ที่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินเขาสลับกัน มีจ�ำนวน
ครวั เรอื น 58 ครัวเรือน ประชากร 251 คน แบง่ เปน็
เพศชาย 125 คน เพศหญิง 126 คน ประชากร
สว่ นใหญ่นบั ถอื ศาสนาอิสลาม และประกอบอาชพี ประมง
ร้อยละ 60 ท�ำสวน ร้อยละ 20 แปรรูปสัตว์น�้ำ
ร้อยละ 10 และอน่ื ๆ ร้อยละ 10 ค้าขาย

ข้อมลู ดา้ นการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 25 ล�ำ ขนาดความยาว
ของเรอื ประมง 3-9 เมตร เครือ่ งมือประมงที่พบได้แก่
อวนปลาหลังเขยี ว ลอบปลาเกา๋ เบ็ดมอื อวนก้งุ สามช้ัน
อวนจมปู โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณหน้าอ่าว
ช่องเภา และชายทะเลบ้านอ่าวทองหลางและคลอง
ในหมูบ่ ้าน

สตั วน์ ้�ำชนดิ หลกั ทีพ่ บ

คือ ปลาจวดเตียนเข้ียว ปลากะพง กุ้งมังกร
ปลาหลังเขียว ปลาเกา๋ เป็นต้น

การด�ำเนนิ กิจกรรมของชมุ ชน

ด�ำเนนิ กจิ กรรมสนับสนนุ การทอ่ งเที่ยวของชมุ ชน โดยจดั ทำ� สะพานทางเดินชม
ธรรมชาตโิ ดยใชไ้ มไ้ ผ่ขนาดความยาว 4 เมตร ทำ� เป็นทางเดินชมธรรมชาติบรเิ วณปา่ โกงกาง
ในชุมชน ระยะความยาวของสะพานประมาณ 200 เมตร เพ่ือใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และ
ทอ่ งเท่ียวเชงิ นิเวศในปา่ โกงกาง และจัดกจิ กรรมแข่งขนั ตกปลาจวดเตยี นเข้ยี ว เพอื่ การกศุ ล
ประจ�ำปี 2562 ณ บริเวณอ่าวช่องเภา บ้านอ่าวทองหลาง เพื่อส่งเสริมการท่องเท่ียว
ของชมุ ชน

ขอ้ กำ� หนดกฎกตกิ าในการจัดการทรัพยากรชุมชน

1) ใชเ้ ปน็ พนื้ ที่ทอ่ งเทย่ี วเชงิ นิเวศและแหล่งเรยี นรู้ โดยคณะกรรมการของชุมชน
เปน็ ผดู้ แู ล
2) ใชเ้ ป็นแหล่งตรวจตราการลกั ลอบตดั ไมโ้ กงกาง และสอดส่องดแู ลเขตอนุรกั ษ์
หอยจบุ๊ แจง พร้อมกบั สะดวกตอ่ การเกบ็ ขยะทม่ี าติดบรเิ วณป่าโกงกาง

30 การบรหิ ารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563

บา้ นพารา

ขอ้ มลู ทัว่ ไป

บ้านพารา ตง้ั อยทู่ ี่ ม.4 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง
จ.ภูเกต็ ทศิ เหนือ ทิศใต้และทศิ ตะวันออกติดกับทะเล
อันดามัน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท่ีลาดเทจากภูเขา
สลับกับพ้ืนท่ีราบและมีป่าชายเลน มีจ�ำนวนครัวเรือน
65 ครัวเรือน ประชากร 200 คน แบ่งเป็น เพศชาย
110 คน เพศหญงิ 90 คน ประชากรส่วนใหญน่ บั ถอื
ศาสนาอสิ ลาม และประกอบอาชีพประมง รอ้ ยละ 60
เรอื ทอ่ งเทีย่ ว รอ้ ยละ 20 เพาะเล้ียงสัตวน์ ำ�้ ร้อยละ 10
และอ่ืนๆ รอ้ ยละ 10

ข้อมลู ด้านการประมง

มจี ำ� นวนเรือประมง 20 ลำ� ขนาดความยาวของ
เรือประมง 4-9 เมตร เครื่องมือประมงที่พบได้แก่
อวนปลากระบอก ลอบปลาเก๋า เบ็ดมือ อวนลอยปลาทู อวนจมปู ลอบปูม้า โดยมี
แหลง่ ทำ� การประมงบริเวณอา่ วพารา

สัตว์น้�ำชนิดหลกั ทีพ่ บ

คือ ปูด�ำ ปูทองหลาง กุ้งหัวแข็ง กั้งต๊ักแตน ปูม้า ปลากระบอก ปลาเก๋า
กุ้งแชบ๊วย และหอยแครง

การด�ำเนินกจิ กรรมของชมุ ชน

จัดท�ำสวนสัตว์น้�ำฟาร์มทะเลชุมชน โดยด�ำเนินกิจกรรมก�ำหนดเขตอนุรักษ์
โดยใช้ทอ่ บอ่ ฝงั ลงไปในบริเวณที่น้ำ� ขงั เพอื่ เลี้ยงตวั ออ่ นสัตวน์ �ำ้ ในปา่ ชายเลน

ข้อกำ� หนดกฎกติกาในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

ใช้เป็นพ้ืนท่ีอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้�ำ
วัยอ่อนในป่าโกงกางของชุมชน และ
เป็นพ้ืนที่ฝายกักเก็บน�้ำเพ่ือใช้ประโยชน์
ในเร่อื งการจอดเรือประมง

การบรหิ ารจัดการทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563 31

บ้านอ่าวกุ้ง

ข้อมลู ทัว่ ไป

บ้านอา่ วกงุ้ ต้ังอยทู่ ่ี ม.9 ต.ปา่ คลอก อ.ถลาง
จ.ภูเก็ต ทศิ เหนือ ทศิ ใต้ ทศิ ตะวันออก ติดกบั ทะเล
อันดามัน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอ่าวและมีล�ำคลอง
มจี ำ� นวนครัวเรือน 277 ครัวเรอื น ประชากร 869 คน
แบ่งเป็น เพศชาย 458 คน เพศหญิง 411 คน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และ
ประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 40 สวนยางพาราและ
ปาลม์ น้�ำมัน รอ้ ยละ 40 เพาะเล้ยี งเพาะเลี้ยงสตั วน์ ้ำ�
ร้อยละ 10 และอื่นๆ รอ้ ยละ 10

ข้อมลู ดา้ นการประมง

มจี ำ� นวนเรือประมง 30 ลำ� ขนาดความยาวของเรือประมง 4-9 เมตร เครอื่ งมอื
ประมงที่พบได้แก่อวนปลากระบอก ลอบปลาเก๋า เบ็ดมือ อวนลอยปลาทู อวนจมปู
ลอบปูพับได้ ลอบหมึกสาย โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณเกาะฮ�ำ-อ่าวพารา และ
คลองในหมบู่ า้ น

สตั วน์ �้ำชนิดหลักทพี่ บ

คอื หอยจุ๊บแจง ปดู �ำ ปูแสม หอยชักตนี หมกึ สาย
ปมู ้า กุง้ หวั เรียว

การด�ำเนินกิจกรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมจัดต้ังธนาคารปูม้ารูปแบบโรงเรือน
ขนาด 5X5X3 เมตร บริเวณข้างสะพานท่าเทียบเรือ
ของหมู่บ้าน เพ่ืออนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าและใช้เป็น
อาคารเอนกประสงค์เพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์
ทีเ่ กีย่ วข้องกบั การประมง

ข้อก�ำหนดกฎกตกิ าในการจัดการทรัพยากรชมุ ชน

ธนาคารปูม้าใช้เป็นโรงเรือนส�ำหรับวางถังและอุปกรณ์ที่ใช้ส�ำหรับจัดท�ำ
ธนาคารปมู ้าหรืออ่นื ๆ ทเ่ี กี่ยวขอ้ งกับการประมงของคนในชุมชนบ้านอา่ วกุ้ง

32 การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563

บา้ นหินลาด

ข้อมลู ทวั่ ไป

บ้านหินลาด ตัง้ อยู่ที่ ม.3 ต.คุระ อ.ครุ ะบุรี
จ.พังงา ทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน
สภาพพ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขา และพ้ืนที่
ราบชายฝง่ั ทะเล มีจ�ำนวนครวั เรือน 700 ครวั เรือน
ประชากร 2,300 คน แบง่ เปน็ เพศชาย 1,250 คน
เพศหญิง 1,050 คน ประชากรส่วนใหญน่ บั ถอื ศาสนา
อิสลาม และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 90 และ
อ่ืนๆ ร้อยละ 10

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 120 ล�ำ ขนาดความยาว
ของเรือประมง 5-14 เมตร เครื่องมือประมงที่พบ
ไดแ้ ก่ อวนปลา อวนจม เบด็ ราวปลาอนิ ทรยี ์ ลอบปูมา้
เบ็ดลากปลาหมึก โดยมีแหล่งท�ำการประมง บริเวณ
ชายทะเลบ้านหนิ ลาด อ่าวทุ่งนางดำ� เกาะระ เกาะพระทอง
ถึงเกาะสรุ นิ ทร์

สัตว์น�้ำชนดิ หลกั ทพี่ บ

คอื ปูแดง ปดู าว ปูดำ� หมกึ หอม ปลาทรายแดง
ปลากะพงขาว

การด�ำเนนิ กิจกรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมจัดต้ังศูนย์เรียนรู้การจัดการประมงเชิงนิเวศและธนาคาร
ทรพั ยากรสัตว์น�้ำ โดยจัดทำ� เป็นแพกระชงั ลอยน้�ำ จำ� นวน 1 แพ 24 กระชัง บรเิ วณ
ชายทะเลบ้านหินลาด ใช้ส�ำหรับจดั ทำ� ธนาคารสตั ว์นำ้� เช่น ปมู า้ หมกึ กระดอง ม้าน�ำ้
ปลากะพงแดง ปลาเก๋า เพื่อเปน็ แหล่งทอ่ งเทีย่ วเชิงระบบนิเวศและศกึ ษาดงู าน

ข้อกำ� หนดกฎกติกาในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

1) ให้บริเวณจัดตั้งธนาคารทรัพยากรสัตว์น�้ำเป็นพ้ืนที่อนุบาลสัตว์น้�ำ
วยั อ่อน หรอื ไขข่ องสัตว์น�ำ้ ท่ตี ดิ มาจากการทำ� ประมงโดยมไิ ดต้ ้ังใจ
2) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและแหล่งเรียนรู้ โดยคณะกรรมการของชุมชน
เปน็ ผ้ดู ูแล

การบริหารจัดการทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563 33

บา้ นเกาะระ

ขอ้ มลู ทั่วไป

บ้านเกาะระ ต้ังอยู่ที่ ม.3 ต.เกาะพระทอง
อ.คุระบุรี จ.พังงา ทิศเหนือกับทิศตะวันตกติดทะเล
อันดามัน โดยพื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณ
ทะเลอันดามันด้านใน มีจ�ำนวนครัวเรือน 25 ครัวเรือน
ประชากร 80 คน แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน เพศหญิง
30 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ
ประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 80 ท�ำสวน ร้อยละ 10 ธุรกิจเรือท่องเที่ยว ร้อยละ 5
และอ่ืนๆ รอ้ ยละ 5

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มีจำ� นวนเรอื ประมง 15 ลำ� ขนาดความยาวของเรือประมง 8-12 เมตร เครอ่ื งมอื
ประมงทีพ่ บไดแ้ ก่ อวนลอยปลา อวนถ่างปลา อวนจมปู เบ็ดราวปลาอินทรีย์ ลอบปูด�ำ
เบ็ดลากปลาหมึก ลอบหมึก อวนหมึกกระดอง โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณ
รอบเกาะพระทอง เกาะระ คลองบา้ นทุ่งรกั และเกาะสรุ นิ ทร์

สตั วน์ ำ�้ ชนิดหลักท่ีพบ

คือ หอยชักตีน ปูม้า หมึกหอม
หมึกกระดอง

การด�ำเนนิ กจิ กรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมก�ำหนดเขตอนุรักษ์
โดยจดั ท�ำทุ่นบอกแสดงแนวเขต และจัดตัง้
ธนาคารหอยชักตีนแบบคอก โดยใช้ท่อพีวีซี
พร้อมอวนก้ันท�ำแนวคอก ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 10 เมตร ในพื้นที่เขตอนุรักษ์
พันธุ์สตั ว์น�้ำ

ขอ้ กำ� หนดกฎกตกิ าในการจัดการทรพั ยากรชุมชน

1) หา้ มใช้เครือ่ งมอื ประมงท่ที ำ� ลายหนา้ ดนิ
2) หา้ มใชเ้ ครอื่ งมอื ประมงทปี่ ระกอบกบั ถงั หรอื เครอื่ งปม๊ั อากาศลงดำ� เกบ็ สตั วน์ ำ�้
3) หา้ มเก็บทรัพยากรหอยชักตีนทมี่ ีขนาดเล็ก (ความยาวตอ้ งมากกว่า 3 เซนติเมตร)
4) ห้ามทำ� การประมงใดๆ ท้งั สน้ิ ในบรเิ วณแปลงพ่อแม่พันธห์ุ อยชักตีน

34 การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชมุ ชน ปี 2563

บา้ นแหลมไทร

ขอ้ มลู ทว่ั ไป

บา้ นแหลมไทร ตง้ั อยูท่ ี่ ม.3 ต.เขาไม้แก้ว
อ.สิเกา จ.ตรัง ทศิ ตะวนั ตกติดกบั ทะเลอนั ดามัน
โดยพื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นท่ีราบและชายฝั่งทะเล
มีจ�ำนวนครัวเรือน 112 ครัวเรือน ประชากร
529 คน แบง่ เปน็ เพศชาย 282 คน เพศหญิง
247 คน ประชากรส่วนใหญน่ บั ถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 90
ธรุ กจิ เรอื ทอ่ งเทีย่ ว ร้อยละ 5 และคา้ ขาย ร้อยละ 5

ข้อมลู ด้านการประมง

มีจ�ำนวนเรอื ประมง 80 ล�ำ ขนาดความยาวของเรอื ประมง 3.7-11 เมตร เครอ่ื งมอื
ประมงท่ีพบได้แก่ อวนสามชั้นกุ้ง อวนจมปู อวนลอยปลาท่ัวไป อวนลอยปลาทู
อวนล้อมติดปลาหลังเขียว อวนจมปลาซ่อนทราย อวนจมหมึก ลอบหมึกสาย ลอบปู
ลอบหมึก โดยมีแหลง่ ทำ� การประมงบริเวณชายทะเลบ้านแหลมไทร บา้ นบ่อม่วง เกาะปอ
เป็นต้น

สตั วน์ ้�ำชนิดหลักท่พี บ

คือ ปมู ้า ปลาชอ่ นทราย หอยชกั ตนี กุง้ แชบ๊วย
ปลาจวด

การด�ำเนินกิจกรรมของชมุ ชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น้�ำ
โดยการจดั ทำ� ซ้งั เชือก และจัดวางซัง้ บรเิ วณชายทะเล
บ้านแหลมไทร เพ่ือเป็นการสร้างอาชีพการตกปลา
ให้กับชุมชน และเป็นการสร้างแหล่งอาหารให้กับ
ชาวประมงในฤดมู รสุมตะวันตก และฟื้นฟทู รัพยากรสัตวน์ ้�ำ
โดยการปลอ่ ยลูกกงุ้ แซบว๊ ย จ�ำนวน 1,500,000 ตัว
บริเวณชายฝั่งทะเลบา้ นแหลมไทร นอกจากนี้ดำ� เนิน
กิจกรรมสร้างเตาเผาขยะประจ�ำหมู่บ้านเพ่ือก�ำจัดขยะ
ภายในชุมชน

ข้อกำ� หนดกฎกตกิ าในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

ห้ามท�ำการประมงด้วยเคร่ืองมือประมงประเภทอื่นๆ อนุญาตให้เบ็ดตกปลา
เทา่ น้ัน

การบรหิ ารจดั การทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชุมชน ปี 2563 35

บา้ นยะระโต๊ดใหญ่

ข้อมูลทัว่ ไป

บ้านยะระโต๊ดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ม.5
ต.เกาะสาหร่าย อ.เมอื ง จ.สตลู ทิศตะวันตก
ติดกับทะเลอันดามัน โดยพ้ืนท่ีส่วนใหญ่
เป็นทั้งเนินสูงและที่ราบติดชายฝั่งทะเล
มจี ำ� นวนครัวเรอื น 387 ครวั เรือน ประชากร
1,532 คน แบ่งเป็น เพศชาย 755 คน
เพศหญิง 777 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพประมง
รอ้ ยละ 93 ค้าขาย รอ้ ยละ 4 และธรุ กิจเรือทอ่ งเท่ียว ร้อยละ 3

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มีจำ� นวนเรอื ประมง 280 ลำ� ขนาดความยาวของเรือประมง 5-14 เมตร เคร่ืองมอื
ประมงทพ่ี บไดแ้ ก่ อวนจมปู อวนสามชน้ั กงุ้ อวนลอยปลาทว่ั ไป อวนลอยปลาจะละเมด็
แหครอบหมึก อวนลากแคระ ลอบปู โดยมีแหล่งท�ำการประมงบริเวณเกาะสาหร่าย
เกาะโกย เกาะตะรุเตา หาดตันหยงโป เกาะสาม เกาะตะงาห์ เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ
และเกาะเปราะออ

สตั วน์ ำ้� ชนิดหลักทพี่ บ

คือ ปมู า้ ปลาจะละเม็ด กุง้ แชบ๊วย และหอยตลับ

การด�ำเนินกจิ กรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น�้ำ
โดยการจัดท�ำซั้งเชือก จ�ำนวน 21 ต้น และจัดวางซ้ัง
บริเวณชายทะเลบ้านยะระโต๊ดใหญ่ และฟื้นฟูทรัพยากร
สัตว์น�้ำโดยการปล่อยลูกกุ้งแชบ๊วย จ�ำนวน 500,000 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล
บ้านยะระโต๊ดใหญ่ นอกจากนี้ยังด�ำเนินกิจกรรมจัดตั้งธนาคารปูม้าแบบคอกบริเวณ
ชายฝั่งของชุมชน เพื่ออนรุ ักษท์ รพั ยากรปูมา้

ข้อก�ำหนดกฎกตกิ าในการจดั การทรพั ยากรชมุ ชน

ห้ามใชอ้ วนตาถีท่ ำ� การประมงบรเิ วณซ้ังเชอื ก และอนญุ าตให้ตกปลาในบรเิ วณท้ิงซง้ั

36 การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศโดยชมุ ชน ปี 2563

บา้ นหาดทรายด�ำ

ขอ้ มลู ท่วั ไป

บ้านหาดทรายด�ำ ตง้ั อยูท่ ี่ ม.5 ต.หงาว อ.เมือง
จ.ระนอง ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันซ่ึงเย้ืองกับ
เกาะพยาม และเกาะช้าง สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นท่ี
ป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์มีสันเขาอยู่บริเวณกลางเกาะ
และมีหาดทรายบริเวณอ่าวทางทิศตะวันตก มีจ�ำนวน
ครวั เรือน 255 ครวั เรอื น ประชากร 743 คน แบ่งเป็น เพศชาย 387 คน เพศหญงิ
356 คน ประชาการสว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนาอสิ ลาม และประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 35.6
ท�ำสวน รอ้ ยละ 31.6 อาชพี ต่อเนือ่ งจากการประมง เช่น แกะปู มาดอวน ซ่อมเครอื่ งมือประมง
รอ้ ยละ 20.4 และอื่นๆ รอ้ ยละ12.4

ขอ้ มลู ดา้ นการประมง

มีจ�ำนวนเรือประมง 91 ล�ำ ขนาดความยาวของเรือ
ประมง 6-11 เมตร เครื่องมือประมงทพี่ บได้แก่ อวนลอยกุ้ง
สามชั้น อวนจมปู อวนปลาเห็ดโคน ลอบหมกึ โดยมแี หลง่
ท�ำการประมงบริเวณชายทะเลบ้านหาดทรายด�ำ ระยะห่างฝั่ง
ไมเ่ กิน 3,000 เมตร

สตั ว์น้�ำชนดิ หลักทพ่ี บ

คือ กุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคัก ปูม้า ปลาเห็ดโคน กั้งตักแตน
ก้ังกระดาน ก้งุ มงั กร หมกึ หอม หมกึ กระดอง

การด�ำเนนิ กิจกรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมก�ำหนดเขตอนุบาลสัตว์น�้ำวัยอ่อนโดยการจัดท�ำป้ายประชาสัมพันธ์
เขตอนบุ าลสตั วน์ ำ้� วยั ออ่ น และกฎกตกิ าของชมุ ชนจำ� นวน 1 ป้าย และสนบั สนนุ อุปกรณ์
ส�ำหรับจดบันทึกปริมาณการจับสัตว์น�้ำให้แก่ชาวประมง และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้�ำ
เพิ่มความอดุ มสมบรู ณใ์ ห้แกร่ ะบบนเิ วศโดยการปล่อยลกู กุ้งแชบ๊วย จำ� นวน 400,000 ตวั
บรเิ วณเขตอนุบาลสตั วน์ ้ำ� วัยออ่ นชุมชนบ้านหาดทรายด�ำ

ข้อก�ำหนดกฎกติกาในการจัดการทรัพยากรชุมชน

1) ห้ามใช้เคร่อื งมอื ผิดกฎหมายทุกชนิด
2) อวนจมปมู ้าช่องตาต้องมขี นาด 10 เซนติเมตร ขนึ้ ไป
3) ห้ามใชอ้ ปุ กรณเ์ ครอ่ื งปน่ั ไฟในการล่อปลาและหมึกในเขตหมู่บ้าน
4) บริเวณเกาะกลมเข้าไปในและหน้าหมู่บ้านห้ามใช้เครื่องมือ
อวนลอยปลาทกุ ชนดิ
5) พื้นที่ปะการังเทยี มห้ามใชล้ อบจับปลาขนาดใหญ่
6) แนวเขตอนุบาลสัตว์น�้ำวัยอ่อนห้ามใช้เคร่ืองมือลาก
หรอื คราด และอวนลอยปลาทกุ ชนิดโดยเดด็ ขาด

การบริหารจดั การทรัพยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563 37

บา้ นบางกล้วย

ขอ้ มลู ท่ัวไป

บ้านบางกล้วย ต้ังอยู่ที่ ม.3 ต.นาคา
อ.สุขส�ำราญ จ.ระนอง ทิศตะวันตกติดทะเล
อันดามัน สภาพโดยท่ัวไปเป็นพ้ืนที่ชายฝั่งทะเล
และมปี า่ ชายเลน มีจำ� นวนครวั เรอื น 248 ครวั เรือน
ประชากร 1,472 คน แบ่งเปน็ เพศชาย 738 คน
เพศหญงิ 734 คน ประชากรสว่ นใหญ่นบั ถอื ศาสนา
อสิ ลาม และประกอบอาชีพตอ่ เน่ืองจากการประมง เช่น แกะปู มาดอวน ซอ่ มเครอื่ งมือ
ประมง ร้อยละ 46.7 ท�ำสวน ร้อยละ 27 ประมง ร้อยละ 13.3 รับจ้าง และอ่ืนๆ
ร้อยละ 13

ข้อมลู ด้านการประมง

มีจำ� นวนเรอื ประมง 33 ลำ� ขนาดความยาว
ของเรือประมง 8.2-15 เมตร เคร่ืองมือประมง
ท่ีพบได้แก่ อวนลอยกุ้งสามช้ัน อวนจมปู
อวนปลาเห็ดโคน ลอบปูม้า โดยมีแหล่งท�ำการ
ประมงบริเวณหน้าหาดประพาส บ้านทะเลนอก
และเกาะก�ำ

สตั ว์นำ้� ชนิดหลกั ทีพ่ บ

คอื กุ้งแชบว๊ ย กงุ้ โอคัก ปมู า้ ปลาเหด็ โคน
ก้ังตักแตน ก้ังกระดาน กุ้งมังกร หมึกหอม
หมึกกระดอง

การด�ำเนนิ กจิ กรรมของชุมชน

ด�ำเนินกิจกรรมเพ่ิมประสิทธิภาพธนาคารปูม้า โดยการสนับสนุนถังเพาะฟัก
จ�ำนวน 8 ชุด พร้อมระบบท่อปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และ
ความรู้เก่ียวกับกิจกรรมธนาคารปูม้า ชีววิทยา และวงจรชีวิตปูม้า จ�ำนวน 6 ป้าย
กระดานส�ำหรับบันทึกจ�ำนวนแม่ปูไข่ที่ปล่อยในธนาคารจ�ำนวน 1 อัน และอุปกรณ์
ส�ำหรับจดบนั ทึกปรมิ าณการจบั สตั วน์ ้�ำใหแ้ กช่ าวประมง

38 การบริหารจดั การทรพั ยากรประมงเชงิ ระบบนเิ วศโดยชุมชน ปี 2563

Mon2th02Pl0anner

01 ม25ก6ร3าคม อังคาร/TUE
อาทติ ย์/SUN จันทร/์ MON พุธ/WED

1 วันขน้ึ ปใี หม่

5 6 7 8

12 13 14 15

19 20 21 22

26 27 28 29

JAN2U0A2R0Y

พฤหัสบด/ี THU ศุกร/์ FRI เสาร์/SAT Note

2 3 4

9 10 11 วนั เดก็ แห่งชาต/ิ
16 วันครู วันอนรุ กั ษท์ รัพยากร
ป่าไม้ของชาติ

17 18

23 24 25 วันตรษุ จนี

30 31

02 ก25มุ 6ภ3าพนั ธ์
อาทติ ย์/SUN จนั ทร/์ MON องั คาร/TUE พธุ /WED

2 3 4 5
9 10 ชดเชยวนั มาฆบชู า 11 12
16 17 18 19
23 24 25 26

FEBR2U0A2R0Y

พฤหัสบด/ี THU ศุกร์/FRI เสาร์/SAT Note

1

6 7 8 วันมาฆบูชา

13 14 15

20 21 22

27 28 29

03 2ม5ีน6า3คม จันทร์/MON องั คาร/TUE
อาทติ ย์/SUN พุธ/WED

1 2 3 4

8 9 10 11

15 16 17 18

22 23 24 25

29 30 31

พฤหัสบดี/THU ศุกร/์ FRI เสาร/์ SAT M2A0R2C0H

Note

5 6 7

12 13 14

19 20 21

26 27 28

04 เ2ม5ษ63ายน องั คาร/TUE
อาทิตย/์ SUN จันทร์/MON พุธ/WED

1

5 6 วันจักรี 7 8

วนั สงกรานต/์

12 13 14 15 วันผูส้ งู อายุ
วันสงกรานต/์ วันสงกรานต์
วนั ครอบครวั

19 20 21 22

26 27 28 29

A2P0R2I0L

พฤหัสบด/ี THU ศกุ ร/์ FRI เสาร์/SAT Note

2 3 4

9 10 11

16 17 18

23 24 25

30

05 พ25ฤ6ษ3ภาคม อังคาร/TUE พธุ /WED
อาทิตย/์ SUN จนั ทร/์ MON

3 4 วนั ฉตั รมงคล 5 วนั วิสาขบชู า 6

10 11 วนั พชื มงคล 12 13

17 18 19 20

24 25 26 27
31

20M2A0Y

พฤหสั บดี/THU ศกุ ร/์ FRI เสาร์/SAT Note

วนั แรงงานแห่งชาติ 1 2

7 8 9

14 15 16

21 22 23

28 29 30


Click to View FlipBook Version