The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ครูภูมิปัญญาแม่น้ำยาว จังหวัดน่าน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prpidthong1, 2022-01-19 03:56:13

ครูภูมิปัญญาแม่น้ำยาว จังหวัดน่าน

ครูภูมิปัญญาแม่น้ำยาว จังหวัดน่าน

Keywords: ครูภูมิปัญญาแม่น้ำยาว จังหวัดน่าน

นายสกลุ เรีย่ วสกุลชาติ อายุ 69 ปี

28 หมู่ 6 บ้านนำ�้ เกาะ ตำ� บลยอด
อ�ำเภอสองแคว จังหวดั น่าน

ความรู้จากการปฏบิ ัตขิ องครูภูมิปญั ญาแห่งลุม่ นำ�้ ยาว 99

ปลูกทกุ อยา่ งที่อยากกนิ

ประวัติของพ่อกุลไม่ต่าง
จากเกษตรกรท่ัวไปท่ีประสบ
ความส�ำเร็จ คือเรียนรู้จากความ
ล้มเหลว ก่อนมองหาทางเลือก
ใหม่ที่จะไม่เจอปัญหาแบบเดิม
อีก พ่อกุลเล่าว่า หลังจากอพยพ
จากจีนเข้ามาในประเทศไทย
ในปี 2538 การปลูกข้าวโพดคืออาชีพแรกที่เขาท�ำหาเลี้ยงปากท้อง โดยเริ่มท�ำ
ข้าวโพดตั้งแต่สมัยที่เมล็ดพันธุ์ราคา 2 บาท/กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 300 บาท/กระสอบ
และน�้ำมันเบนซิน 4 บาท/ลิตร ท�ำมานับ 20 ปี จนราคาเมล็ดพันธุ์ฯถีบตัวข้ึนไป
240 บาท/กิโลกรัม แต่สิ่งหนึ่งที่คงเดิม ไม่เคยเปล่ียนแปลงเลยก็คือก�ำไรไม่คุ้มทุน
หรือขาดทุน สลบั ไปมาแบบนต้ี ลอด นอกจากก�ำลังใจที่เสยี แลว้ ก�ำลังกายกน็ ้อยลง
ทุกวันเพราะอายุมากขึ้น แถมถดถอยมากกว่าคนวัยเดียวกัน จากการน�ำร่างกายไป
เส่ียงกบั ปุ๋ยเคมแี ละยาฆา่ แมลงทุกปี
“ขาดทนุ ตลอด” พอ่ กลุ เทา้ ความ “เราไมไ่ ดป้ ลูกขา้ วโพดให้ตนเองรวย แตป่ ลกู
ใหพ้ อ่ เลย้ี งรวย คา่ ปยุ๋ คา่ ยา คา่ นำ�้ มนั เราตอ้ งเอาจากเขาหมด เพราะเมอื่ กอ่ นไมม่ นี ะ
ธกส. สหกรณ์ กองทุนหมบู่ า้ น ขายได้ 60,000 หักไป 15,000 เหลือตดิ มือ 45,000
ไมร่ วมคา่ แรง ปีหน่งึ มรี ายไดแ้ ค่นั้น อยู่ไม่ได”้
พ่อกุลเปล่ียนแนวจาก “ชาวไร่” มาเป็น “ชาวสวน” ในปี 2552 โดยบอกกับ
ตนเองและครอบครัวว่า ในเมื่อปลูกข้าวโพดแล้วขาดทุน ท�ำไมเราไม่ปลูกพืช
ทเ่ี รากนิ ได้ ซ่งึ เขาสารภาพวา่ หลักการตลาดจ�ำพวกขายที่ไหน ขายยงั ไง ราคา
เท่าไร ไม่ได้อยู่ในความคิดมากนัก รู้เพียงแค่ว่าอยากปลูก อย่างน้อยต่อให้
ไม่ได้ขายหรือขายยาก แกและลูกหลานก็ยังมีผลไม้ไว้กิน ดังน้ันเมล็ดพันธุ์แรก
ท่ีพ่อกุลบรรจงปลูกลงบนท่ีดินของตนเอง จึงเป็นผลไม้ท่ีเป็นที่นิยมในภาคเหนือ
กอ่ น เชน่ ส้มเขยี วหวาน ล�ำไย เงาะ กอ่ นทจ่ี ะขยับขยายปลูกมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ
อราบิก้า และกล้วยเหลืองนวล ในปี 2558 หลังได้รับการสนับสนุนพันธุ์และความรู้
จากโครงการปดิ ทองหลังพระฯ

100 ความร้จู ากการปฏิบัตขิ องครภู ูมิปญั ญาแห่งลุ่มน้ำ� ยาว

แรงงานครัวเรอื นก�ำหนดพืชท่ปี ลกู

แม้พ่อสกุลมีทีด่ ินท�ำกิน 6 แปลง คดิ เปน็ พ้ืนที่กวา่ 90 ไร่ แต่มีเพยี ง 2 แปลง
36 ไร่เท่าน้ันที่ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง เขาเล่าว่าการจะปลูกพืชแต่ละชนิด ไม่ได้
เกิดจากการสุ่มหรือความอยากกินเท่านั้น แต่ผ่านการคิดกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี
จากประสบการณ์ ลงมือท�ำโดยดูธรรมชาติของพืช “พ่อไม่เคยเรียน ใช้สังเกต
กบั ทดลองเอา มาได้เรยี นกต็ อนที่ปดิ ทองเอาหน่วยงานเขา้ มาสอน” ท่ามกลางความ
หลากหลายของผลไม้นานาชนิด พบว่าผลไม้ที่ปลูกจะมีระยะเวลาในการเก็บเก่ียว
ยาว สามารถทอดเวลาไวไ้ ด้ 2-3 วันแบบไม่ตอ้ งกลวั ผลผลติ เสีย ทำ� ใหไ้ มม่ ตี ้นทุนใน
การจ้างแรงงานเก็บเก่ียวเลย “เคยปลูกล้ินจี่แล้วไม่เอา โค่นท้ิงหมด เพราะต้องจ้าง
คนหนักตอนเก็บเกย่ี ว ไม่จา้ งกไ็ ม่ได้ ผลผลติ เสียหายคาต้น ไมก่ ็ถกู ลมพดั หมด”

ปลกู กาแฟแซมกลว้ ย

พ่อสกุลเล่าว่าเขาปลูกกาแฟอราบิก้าสลับกล้วยเหลืองนวลอยู่บนพ้ืนท่ี 4 ไร่
มาสักพกั แลว้ เรม่ิ จากปลกู กล้วยกอ่ นบนพืน้ ทว่ี า่ ง จากนนั้ จึงเอาอราบิกา้ เข้ามาปลกู
เสริมบนพื้นที่ว่างระหว่างแถว ท่ีท�ำเช่นนี้ เพราะการจะปลูกอราบิก้าให้ได้คุณภาพ
และย่งั ยืน จะตอ้ งหาพชื รม่ เงาให้มัน แต่ร่มเงาท่ีพลางแดดต้องไมเ่ กนิ 70% ทสี่ ำ� คัญ
กล้วยยังช่วยป้องกันการเกิดโรคราสนิม และลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรู
บางชนิดได้ แม้ธรรมชาติของกาแฟจะชอบที่สูงและหนาว แต่การจะให้เมล็ดกาแฟ
เจรญิ เตบิ โตและมสี ารอาหารทพ่ี อเพยี งจนไดอ้ ายพุ รอ้ มเกบ็ เกยี่ วที่ 8-9 เดอื น ดนิ ทป่ี ลกู
กาแฟควรเปน็ ดินทรี่ ะบายน้�ำได้ดี ความลาดชันกต็ อ้ งไมม่ ากจนเกินไป ถา้ เกษตรกร
ตอ้ งโน้มตัวไปข้างหนา้ เวลาเดินขึ้นเนนิ ลูกหน่งึ ๆ นัน่ แปลวา่ ลาดชนั มากไปแล้ว

ความรู้จากการปฏบิ ัติของครภู มู ปิ ญั ญาแห่งลุ่มน�ำ้ ยาว 101

ดินช้นั ลา่ ง หลุมปลกู กาแฟ หนา้ ดิน

ใหน้ ำ� หนา้ ดินรองก้นหลมุ และใชด้ นิ ลา่ งซึง่ ตาม
ธรรมชาตมิ ธี าตอุ าหารมากกวา่ แทนทที่ ปี่ ากหลมุ
จะช่วยให้กล้ากาแฟเจริญเติบโตได้ดขี น้ึ

ความรใู้ นการปลกู กาแฟของพอ่ สกลุ มาจากการทดลองจรงิ ดงั นนั้ การขดุ หลมุ
ปลูกจงึ ไมข่ นาดตายตัวว่าตอ้ งขดุ กว้าง x ยาว x ลึกเท่าไร แต่ใหด้ ูจากความสูงของ
ต้นกล้ากาแฟเป็นส�ำคัญ และขุดหลุม ½ ของความสูงของต้น เช่น หากต้นกล้าสูง
50 เซนติเมตร ขนาดของหลุมก็ควรอยู่ท่ี 25 x 25 x 25 เซนตเิ มตร เปน็ ตน้ เคล็ดลับ
ส�ำคัญอยู่ท่ี “วิธีการกลบดิน” พ่อสกุลเผยว่า ให้ใช้หน้าดินที่ขุดข้ึนมาก่อนรอง
ก้นหลุม ½ ของความลึก ส่วนดินชั้นล่างอีกครึ่งหนึ่งกลบบริเวณต้นหลุมแทน
“ดนิ ล่างมปี ุ๋ยเยอะกวา่ หน้าดนิ เราต้องบ�ำรงุ ต้นอ่อนกาแฟใหร้ อดกอ่ น ดงั นั้นในขณะ
ที่รากของมันยงั ส้นั และอ่อนแอ จึงตอ้ งหาดนิ ดๆี ใหม้ ัน”

ภาพที่ 1 : นายสกุลปลูกกาแฟอราบิกา้
โดยเวน้ ระยะห่างจากกล้วยเหลืองนวล
ท่ใี ห้ร่มเงา 1 เมตร เพราะจากประสบการณ์
ระยะดงั กลา่ ว เหมาะสมกบั การจดั สรรพน้ื ที่
และลักษณะการเจริญเตบิ โต พืชทั้ง 2 ชนิด
ไมแ่ ย่งอาหารกันจนเกินไป

1 ม. 1 ม.

ภาพที่ 2 : สำ� หรบั ระยะหา่ งของกาแฟ 1.5-2 ม. 2 ม.
แต่ละต้น นายสกุลแนะน�ำท่ี 1.5 - 2 เมตร
แบบแรกจะทำ� ให้ไดก้ าแฟประมาณ 700
ต้น/ไร่ และ 500 ตน้ /ไรส่ �ำหรับระยะ
ทส่ี อง และควรปลกู กาแฟให้เป็นแถวเปน็
แนว เพ่ือความสะดวกในการเก็บผลผลติ

102 ความร้จู ากการปฏิบัติของครูภูมิปัญญาแหง่ ลุ่มน�้ำยาว

วธิ ขี องพอ่ สกลุ ไมม่ กี ารรองกน้ หลมุ ดว้ ยปยุ๋ หรอื แกลบ เพราะจากประสบการณ์
ของเขาหากใช้แกลบรองก้น มันจะเป็นตัวดึงดูดสัตว์ขนาดเล็กจ�ำพวกปลวกมากัด
แทะรากแกว้ และหากพบวา่ ปลกู หลมุ ใดแลว้ ตน้ กลา้ ตาย (กรณที คี่ ดั ตน้ กลา้ ทแี่ ขง็ แรง
สมบรู ณแ์ ลว้ ) ใหส้ นั นษิ ฐานวา่ ดนิ ไมด่ ี มเี ชอื้ โรค วธิ แี กท้ งี่ า่ ยทส่ี ดุ คอื ขดุ หลมุ ปลกู ใหม่
หา่ งจากหลมุ เดมิ อย่างนอ้ ย 1 เมตร ส�ำหรับการกลบดิน เขาแนะนำ� ให้กดดินหลวมๆ
พอทดี่ นิ จะพยงุ นำ�้ หนกั กลา้ ได้ หา้ มใชส้ นั จอบกดหรอื กระแทกดนิ จนแนน่ เปน็ อนั ขาด
เพราะอาจท�ำให้รากขาด ที่ส�ำคัญพยายามกลบดินรอบๆ โคนต้นให้มีลักษณะเป็น
หลังเต่า เพราะลักษณะน้ีช่วยอุ้มน�้ำและเก็บกักความช้ืนได้ดีเวลารดน�้ำ ขั้นตอน
สดุ ทา้ ยคือการใช้ป๋ยุ โรยรอบโคนตน้ สกั 1 กำ� มอื ซึง่ พอ่ สกุลไม่เคยเสยี เงินซื้อปุ๋ยนาน
แล้ว เพราะมีหมูด�ำ 10 ตัว ที่เลี้ยงไว้ในบริเวณใกล้ๆกัน “เลี้ยงหมูเอาไว้ไหว้ผี ส่วน
ข้ีมันเอามาใส่ต้นไม้ แต่ต้องตากให้แห้งจนเป็นผงก่อน” หากปลูกฤดูร้อนก็ให้รดน�้ำ
พอหมาดๆ ทุก 2-3 วนั แตห่ ากปลูกฤดฝู นกป็ ล่อยให้พระพิรณุ ทำ� หนา้ ท่ดี งั กลา่ วไป
การแต่งกิ่ง : ให้ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยตัดเฉพาะกิ่งที่เสียหาย
จากการเก็บเก่ยี ว ก่ิงท่แี หง้ ตาย และตัดผลที่แหง้ ตดิ อยู่บนต้นออกด้วย เพอื่ ลดความ
เสี่ยงจากการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคและแมลง และพร้อมส�ำหรับการออกดอก
ติดผลในรอบถัดไป “ก่ิงไหนใบเยอะก็ตัดกิ่งนั่นแหละ เพราะธรรมชาติของต้นไม้
ตน้ ไหนใบเยอะ ผลจะไมเ่ ยอะ เพราะปยุ๋ ไปเลย้ี งใบหมด” สำ� หรบั ตน้ กาแฟทม่ี อี ายมุ าก
ต้นโทรมและมีอัตราการให้ผลผลิตต่�ำ พ่อสกุลกล่าวว่า ให้แก้ปัญหาด้วยการตัด
เพื่อสร้างล�ำต้นใหม่ โดยให้ตัดหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต หน่อใหม่จะแตกเมื่อ
ได้รับแสงแดดเพียงพอ โดยรอบของการตัดคือทุกๆ 8 ปี อาจจะช้าหรือเร็วกว่าน้ีขึ้น
อยู่กบั สภาพความสมบรู ณ์ของแต่ละตน้

ความรู้จากการปฏิบตั ิของครภู มู ิปญั ญาแห่งลุม่ น้ำ� ยาว 103

รายไดด้ ีและต่อเนื่อง

การเปล่ียนแปลงหน่ึงซ่ึงเห็นได้ชัดนับแต่พ่อสกุลผันตนเองเป็นชาวสวน คือ
ความต่อเน่ืองของรายได้ จากรับเป็นก้อนคร้ังละมากๆ เปล่ียนเป็นรับน้อยแต่บ่อย
ขึ้น เพราะผลไม้บางชนิด หลังจากท่ีมันถึงวัยที่ติดดอกออกผลแล้ว มันก็จะสร้าง
รายไดเ้ ข้ามาอยา่ งสม่�ำเสมอตอ่ เนอ่ื ง โดยทพ่ี อ่ กลุ ไม่ต้องลงมือท�ำงานนน้ั ตลอดเวลา
“ปีท่ีแลว้ ขายกาแฟได้ 11,000 จาก 2 ไร่ ขายเป็นเมลด็ ตากแห้ง กิโลฯละ 110 บาท”
พ่อกุลเร่ิมให้ความกระจ่างว่าเหตุใดเขาจึงเป็นเกษตรกรท่ีไม่ต้องต่ืนไปท�ำงานแข่ง
กบั แสงตะวนั “กลว้ ยนขี่ ายไดท้ งั้ ผล กลา้ ตกปลี ะ 20,000 ขายไดท้ กุ ๆ 3 อาทติ ย์ เอามา
เปน็ คา่ ขนมใหห้ ลาน 3 คนไปโรงเรยี น” สว่ นลกู สาวของพอ่ กลุ ทท่ี ำ� งานอยู่ จ.เชยี งใหม่
ทุกครั้งท่ีมาบ้านก็จะเอาเงาะกลับไปขายท่ีเชียงใหม่ด้วย ได้เงินคร้ังละ 3,000 บาท
แม้ดูมูลค่าไม่มาก แต่หากพิจารณาว่ามันเป็นของฝากจากคุณพ่อ ที่เธอได้ทั้งทาน
และขายกค็ ุ้มค่าไม่ใช่น้อย และหากวันหน่ึงทพี่ ่อท�ำงานสวนไมไ่ หวแลว้ เธอและสามี

ก็จะกลับมารบั ชว่ งต่อ เพราะเห็นแลว้
ว่าสิ่งท่ีพ่อลงแรงปลูกพืชมรดกให้เธอ
มาตลอด 7 ปีที่ผ่านมา สามารถสร้าง
รายได้ แหล่งอาหาร รวมถึงความสุข
กบั การทค่ี รอบครวั ไดอ้ ยกู่ นั พรอ้ มหนา้
พรอ้ มตาโดยไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งออกไปขาย
แรงงานขา้ งนอก

แปลง 1
พ้นื ท่ี 20 ไร่
104 ความรู้จากการปฏบิ ตั ิของครูภูมิปัญญาแหง่ ลมุ่ นำ�้ ยาว

เม่อื มีพอก็เผอื่ แผ่

ด้วยวัยและรายได้ที่มี พ่อสกุลคิดว่าเพียงพอแล้วกับกิจกรรมทางการเกษตร
ทม่ี ี แตก่ บั ทดี่ นิ วา่ งเปลา่ อกี 54 ไรท่ เี่ หลอื อยู่ พอ่ สกลุ จงึ แบง่ ปนั ทด่ี นิ ทไ่ี มไ่ ดใ้ ชป้ ระโยชน์
บางสว่ นใหเ้ กษตรกรทไี่ มม่ ที ท่ี ำ� กนิ ใชท้ ำ� การเกษตร ซง่ึ เปน็ การใหย้ มื แบบไมค่ ดิ คา่ เชา่
อย่างไรก็ดี ผู้โชคดีที่จะได้สิทธิ์ดังกล่าว จะต้องเป็นคนในหมู่บ้านน�้ำเกาะเท่าน้ัน
และเป็นคนท่ีพ่อสกุลพิจารณาแล้วว่าขยันขันแข็ง ไม่ด่ืมเหล้า สูบยา เล่นการพนัน
จนเสยี การเสยี งาน ทสี่ �ำคัญยงั ตอ้ งปฏิบตั ิตามกฎระเบยี บ 4 ข้อ ที่พอ่ สกลุ กำ� หนดไว้
อย่างเครง่ ครัดดงั นี้
1. พนื้ ทท่ี ี่ให้ยืมมากนอ้ ยอย่ทู กี่ �ำลังแรงงาน เชน่ ขอ 10 ไร่ แต่มีแรงทำ� เองได้
แค่ 3 ไร่ กต็ อ้ งลดลง
2. ห้ามตดั ไม้ท่มี ีอยเู่ ดมิ บนทด่ี นิ ผืนนัน้ ๆ เดด็ ขาด
3. หา้ มขยายพนื้ ท่ีทำ� กินเพ่มิ เตมิ จากท่ตี กลงไว้
4. ห้ามลกั ขโมยผลลติ จากแปลงข้างเคียง ไมว่ า่ จะลกั มากนิ หรือลกั ไปขาย
เมื่อถามว่าพ่อสกุลได้อะไรจากการกระท�ำเช่นน้ี เขาตอบว่านอกจาก ความ
สุขใจแล้ว “สงสารเขา ท�ำเกษตรทุกวันนี้ก�ำไรก็ใช่จะมาก หากต้องเช่าเขาอีก คงไม่
เหลอื กนิ เหลอื เกบ็ บางครง้ั พอ่ กซ็ อื้ ยา ซอื้ ปยุ๋ ใหด้ ว้ ย บางคนเอาผลไมม้ าใหเ้ ปน็ คา่ เชา่
พ่อก็ไม่เอา เพราะเราก็มีทุกอย่างแล้ว” อีกเรื่องคือชาวบ้านที่ได้ท่ีดินไปท�ำกิน เขา
จะช่วยรักษาท่ีดินและพื้นท่ีป่าให้พ่อสกุลด้วย เพราะคงเป็นไปได้ยากแล้วท่ีพ่อสกุล
จะเดนิ ดคู วามเรียบรอ้ ยของที่ดนิ ท้ังหมดอย่างแตก่ อ่ น

แปลง 2
พืน้ ที่ 16 ไร่

ความร้จู ากการปฏิบตั ขิ องครูภมู ปิ ญั ญาแหง่ ลุ่มนำ้� ยาว 105

นายพิชัย ตระกลศกั ดา

“เลยี้ งหมูเหมือนเลีย้ งลกู ”

“การจะท�ำอะไรต้องเริ่มจากตัวของ
เราเอง เมื่อเราท�ำส�ำเร็จชาวบ้านท่ีดูอยู่ก็จะ
ท�ำตามเราเอง” นายพิชัย ตระกลศักดา
พอ่ หลวงแหง่ บา้ นนำ�้ เกาะ พดู ถงึ การทำ� เกษตร
แบบผสมผสานบนพื้นท่ี 4.75 ไร่ ที่ปลูกท้ัง
กาแฟ ส้มเขยี วหวาน สม้ โอ ไผ่ กล้วย มะนาว
รวมถึงการเล้ียงหมูพันธุ์เหมยซาน ซึ่งเม่ือ
นึกย้อนกลับไปถึงค�ำพูดของพ่อแม่ การเล้ียง
หมูอย่างที่ท�ำอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เหมือนโชค
ชะตาหน่ึงเหมือนกัน เพราะค�ำสอนหนึ่งของ
ท่านที่ยังก้องอยู่ในห้วงความคิดของพ่อหลวง
คอื “พเ่ี อ็งเป็นคนท่ีเก่งการปลกู พืช ปลูกตน้ ไม้
ส่วนเอ็งเปน็ คนทีเ่ ลยี้ งหมูไดด้ ”ี

พ้ืนที่เกษตร : พื้นท่ี 4.75 ไร่ ปลูกพริกซุปเปอร์ฮอท 0.5 ไร่ กล้วย ส้มโอ และส้มเขียวหวาน
รวม 149 ตน้ บนพื้นที่ 3.75 ไร่ ไผ่ 7 กอ และมะนาวแป้นพจิ ิตร
เล้ียงสตั ว์ : เลยี้ งหมู ไก่พื้นเมือง ปลาดุก ปลาทับทมิ ปลานลิ ปลายส่ี ก ปลาตะเพียนขาว
ส่ิงท่ีได้รับจากโครงการ : นำ้� จากฝายหว้ ยน�้ำเกาะ เปด็ 10 ตวั หมเู หมยซาน 2 ตวั ความรู้เรื่อง
การปลูกพริกซปุ เปอร์ฮอท การปลูกพชื ทต่ี ลาดตอ้ งการ
ผลการเปล่ียนแปลง : รายได้จากหมเู หมยซาน 25,000 – 40,000 บาท/ปี ขณะทีร่ ายจ่ายใน
ครัวเรือนลดลงจากการปลกู พชื ผักและเลีย้ งสตั ว์ไว้บริโภคในครัวเรอื นเองได้ 29,700 บาท
ความรู้เดน่ : การเลย้ี งหมู

106 ความรจู้ ากการปฏิบตั ิของครูภมู ปิ ัญญาแหง่ ลุ่มนำ�้ ยาว

นายพชิ ัย ตระกลศักดา อายุ 42 ปี

16 บา้ นนำ้� เกาะ หมู่ 6 ตำ� บลยอด
อำ� เภอสองแคว จังหวัดน่าน

ความรจู้ ากการปฏิบัตขิ องครภู ูมปิ ญั ญาแหง่ ลุม่ น้�ำยาว 107

เลยี้ งหมดู ้วยความรัก

พอ่ หลวงเลา่ วา่ หมทู เี่ ขาเลยี้ ง
อยใู่ นตอนนมี้ อี ยดู่ ว้ ยกนั 2 สายพนั ธ์ุ
คอื หมพู นั ธน์ุ ำ้� โคก้ (ชอื่ ทคี่ นพนื้ เมอื ง
เรียก) และพันธุ์เหมยซาน ซ่ึงได้รับ
การสนับสนุนจากโครงการปิดทอง
หลงั พระ ในรปู ของกองทนุ สกุ ร กลา่ ว
คือ เมื่อน�ำแม่หมูมา 1 ตัว ต้องคืน
ลูกหมูจ�ำนวน 3 ตัว เพื่อน�ำลูกหมู
เหล่านี้ไปหมุนเวียนขยายผลแก่ผู้ที่สนใจ กระน้ัน การ
จะเล้ียงหมูให้ประสบความส�ำเร็จ พ่อหลวงกล่าวว่า
ไม่ได้อยู่ที่เทคนิคเพียงเท่าน้ัน แต่ต้องเร่ิมต้นจาก
ท�ำความเข้าใจถึงธรรมชาติของหมูเสียก่อน กล่าวคือ
หมูเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ต่างจากคนท่ีต้องการการดูแล
เอาใจใส่ ดงั น้ันผู้ที่ปวารณาตนเป็นคนเล้ยี งหมู จึงตอ้ ง
มีทั้งความรัก ความขยัน และความอดทน “เล้ียงหมูก็
เหมือนเล้ียงลูก ต้องดูแลให้ดี ต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ”
และส่ิงส�ำคัญอีกประการในการเล้ียงหมูที่ขาดไม่ได้
คือ “อาหาร” เกษตรกรควรหาแหล่งอาหารท่ีมีอยู่ในท้องถ่ิน เช่น กล้วย กระถิน
เป็นแหล่งอาหารหลักส�ำหรับเล้ียงหมูเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และจัดสรรปริมาณ
และสัดส่วนวัตถุดิบที่ใช้ผสมอาหารให้ตรงกับช่วงอายุหมูหรือวัตถุประสงค์ในการ
เลยี้ ง เช่น ลดปรมิ าณร�ำหยาบลงในชว่ งท่แี มห่ มูใหน้ มลูก เพราะนายพชิ ัยเช่ือวา่ สาร
อาหารในร�ำหยาบจะไปขดั ขวางกระบวนการผลิตนำ้� นมของแมห่ มู
พ่อหลวงได้น�ำเครื่องหั่นใบยาสูบซึ่งซื้อต่อมาจากเพื่อนบ้านในราคา
3,000 บาท มาประยุกต์เปน็ เครอื่ งหั่นหยวกกล้วย ท�ำใหป้ ระหยัดเวลาในการเตรยี ม
อาหาร ซึ่งผลจากการคิดนอกกรอบนี้ได้ให้ผลตอบแทนพ่อหลวงอย่างคุ้มค่า
จากแต่ก่อนที่ต้องเสียเวลาห่ันหยวกกล้วยวันละกว่าช่ัวโมง เหลือเพียง 10 นาที
เท่านั้น ซ่ึงเป็นตัวเลขท่ีมากพอที่จะท�ำให้พ่อหลวงมีเวลาไปดูแลกิจกรรมอื่นๆ ใน
สวนผสมผสานของตน

108 ความรู้จากการปฏิบตั ิของครูภูมปิ ญั ญาแห่งลุ่มน�้ำยาว

สูตรอาหารหมกั ส�ำหรบั หมู
สว่ นผสม : หยวกกลว้ ยสบั ละเอียด เกลอื /เกลอื แกง กากนำ้� ตาล ร�ำละเอยี ด
วิธีท�ำ : เลือกต้นกล้วยที่ให้ผลผลิตแล้ว น�ำมาลอกเปลือกด้านนอกออก
แลว้ น�ำเขา้ เคร่ืองหนั่ ให้ได้ 20 กิโลกรัม ผสมกบั น�้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
และเกลือแกง/เกลืออีก 250 กรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังปิดฝาหมัก
ท้ิงไว้ 8-10 วัน ก็น�ำไปให้หมูกินได้ หากไม่มีกล้วยสามารถน�ำมะละกอดิบ
ผกั ตบชะวา เป็นต้น
สูตรอาหารหมูเลก็
สว่ นผสม:รำ� หยาบรำ� ละเอยี ดหยวกกลว้ ย
สับละเอียด น�้ำเหล้า(น้�ำท่ีใช้ต้มเหล้า)
หวั อาหารหมู
วธิ ีทำ� : เลอื กต้นกลว้ ยท่ีให้ผลผลิตแลว้ นำ�
มาลอกเปลือกด้านนอกออก แล้วน�ำเข้า
เครอ่ื งหน่ั ใหไ้ ด้10กโิ ลกรมั ผสมกบั รำ� หยาบ
3 ขดี รำ� ละเอียด 3 ขดี หัวอาหารหมู 2 ขดี
และน�้ำเหล้าใส่พอท่วมวัตถุดิบ คลุกเคล้า
ให้เขา้ กัน สามารถนำ� ไปให้หมกู นิ ได้
สูตรอาหารหมขู ุน
ส่วนผสม : ร�ำหยาบ หยวกกล้วยสับละเอียด น�้ำเหล้า(น�้ำที่ใช้ต้มเหล้า)
หัวอาหารหมู น้�ำจุลนิ ทรีย์
วิธีท�ำ : เลือกต้นกล้วยที่ให้ผลผลิตแล้ว น�ำมาลอกเปลือกด้านนอกออก
แล้วนำ� เขา้ เครอ่ื งห่นั ให้ได้ 10 กโิ ลกรมั ผสมกับร�ำหยาบ 3 ขีด หัวอาหารหมู
2 ขีด น�้ำจุลินทรยี ์ 500 มิลลลิ ิตร และนำ้� เหล้า ใส่พอท่วมวัตถดุ บิ คลกุ เคล้า
ให้เขา้ กัน สามารถน�ำไปให้หมูกินได้

ความรจู้ ากการปฏบิ ตั ขิ องครูภูมปิ ัญญาแห่งลุ่มนำ้� ยาว 109

เคล็ดลับอาหารหมูสูตรของนายพิชัย
คอื การผสมน�้ำต้มเหล้า จะช่วยให้หมเู จริญ
อาหารและโตเร็วขึ้น และน�้ำหมักจุลินทรีย์
มาจากการน�ำเศษอาหารทีเ่ หลือในครวั เรอื น
มาทำ� น้�ำหมกั ชว่ ยทำ� ใหห้ มขู ับถ่ายไมม่ กี ลิน่
ซึ่งพ่อหลวงได้รับความรู้จาก กศน. ที่มาให้
ความรกู้ ับชมุ ชน และน�ำมาปรบั ใชก้ ับตวั เอง
นอกจากอาหารหมูแล้ว อีกหน่ึงปัจจัย
ส�ำคัญคือ “โรงเรือน” พ่อหลวงแนะน�ำว่า
โรงเรือนท่ีดี เร่ิมต้นจากวัสดุท่ีใช้ก่อสร้าง
ทห่ี าไดใ้ นทอ้ งถน่ิ เชน่ ไม้ หลงั คาเปน็ สงั กะสยี กสงู เพอ่ื ใหอ้ ากาศหมนุ เวยี นไดส้ ะดวก
และเพ่ิมแสงแดดส่องถึงพ้ืนช่วยฆ่าเช้ือโรคอีกทางหนึ่ง ขณะท่ีพื้นคอกให้เทปูน
ยกสงู จากพน้ื และมคี วามลาดชนั สกั นดิ เพอื่ งา่ ยตอ่ การท�ำความสะอาดและกวาดน�ำ
ข้หี มใู หไ้ หลลงหลังคอก นำ� ไปเปน็ ปยุ๋ ใส่ต้นไมไ้ ด้

ลดรายจา่ ย เพม่ิ รายได้

การเลย้ี งหมใู ชเ่ ปน็ เพยี งรายไดห้ ลกั ของครอบครวั ตระกลศกั ดาเทา่ นน้ั แตย่ งั มี
รายไดจ้ ากการขายพชื ผัก ซงึ่ ตวั เขาเองไมเ่ คยคาดคดิ มากอ่ นวา่ จะเกดิ ขนึ้ เพราะกอ่ น
หนา้ น้ี มเี พยี งหนา้ ฝนเทา่ นนั้ ทจี่ ะท�ำเกษตรได้ แตห่ ลงั จากทโ่ี ครงการปดิ ทองหลงั พระ
เขา้ มาสรา้ งฝายหว้ ยนำ�้ เกาะรว่ มกบั ชาวบา้ น สง่ ผลใหม้ นี ำ้� ทำ� การเกษตรตลอดปี เมอื่ มี
นำ้� ก็ปลูกพืชได้ เม่ือปลกู พชื ไดก้ ม็ ีรายได้ ซ่งึ ปีที่ผ่านมา พอ่ หลวงมรี ายไดจ้ ากการขาย
สม้ เขยี วหวานเพยี งอยา่ งเดยี ว 25,000-40,000 บาท อกี หนง่ึ การเปลยี่ นแปลงหลงั การ
เข้ามาของโครงการปดิ ทองหลังพระ ไดแ้ ก่ การอบรมให้ความรู้ เพอ่ื สง่ เสรมิ ให้ชาว
บ้านรู้จักปลูกผักและเล้ียงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือนและเพ่ิมรายได้ ท�ำให้ประหยัด
ค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการซ้ือของจากตลาดได้ประมาณวันละ 60 บาท หรือคิดเป็น
ลดค่าใชจ้ า่ ยในครัวเรอื นลงประมาณ 21,900 บาท/ปี ขณะทไ่ี ก่และปลา จากแต่ก่อน
จะต้องเสียเงินซ้ือ 150 บาท แต่ปัจจุบันเม่ือมีท้ังน้�ำ บ่อน้�ำ กล้วย และพันธุ์สัตว์
ท่ีโครงการปิดทองฯสนับสนุนให้ ก็ช่วยลดรายจ่ายในส่วนน้ีลงไปได้ประมาณ
7,800 บาท/ปี

110 ความร้จู ากการปฏิบตั ิของครภู มู ปิ ัญญาแห่งลุ่มน�ำ้ ยาว

รายไดจ้ ากการขายผลผลิตต่อปี

รายการ รายไ ด้ (บาท) เงนิ ท่หี มุนเวียนใน(คบราวั ทเ)รอื น

หมู 20,000 - 40,000 74,700 – 109,700
ส้มเขียวหวาน 25,000 – 40,000 21,900
อาหาร (พชื ผัก) 7,800
เน้ือสตั ว์ (ปลา ไก)่

การปลูกพืชทางเลอื ก 111

พ่อหลวงกล่าวว่าการปลูกพืชแต่ไม่มีตลาดขาย นับเป็น
ปัญหาที่คู่กับเกษตรกรมายาวนาน แต่การจะไปโทษตลาดเพียง
อย่างเดียวก็ไม่ถูก เกษตรกรต้องกลับย้อนมาดูตัวเองว่าสิ่งที่ปลูก
จะด้วยความคุ้นเคยหรือท�ำเลียนแบบตามกันนั้น มันตรงกับ
ความต้องการของตลาดหรือไม่ ซึ่งในจุดนี้ทางโครงการ
ปดิ ทองหลงั พระฯ ไดเ้ ขา้ มาใหค้ วามรกู้ บั ชาวบา้ นเรอื่ งการ
ปลูกพืชท่ีตรงต่อความต้องการของตลาด และพืชน้ัน
จะตอ้ งเปน็ พชื ทชี่ าวบา้ นปลกู ได้ สอดคลอ้ งกบั ภมู สิ งั คม
เช่น การปลูกข้าวก�่ำพันธุ์ลืมผัว ซ่ึงเป็นการปลูกข้าว
ไร่ทชี่ าวบ้านทำ� กันอยู่แลว้ รวมถึงพืชเศรษฐกจิ อย่าง
พริกซุปเปอร์ฮอทซึ่งท่ีพ่อหลวงได้ทดลองปลูกเม่ือ
ปี 2558 โดยเริ่มต้นปลูกแปลงเล็กๆ ไว้กินเองใน
ครวั เรอื นกอ่ นขยายพนื้ ทปี่ ลกู เปน็ 2งานในเวลาตอ่ มา
เม่ือม่ันใจว่าพริกซุปเปอร์ฮอทเป็นพืชเศรษฐกิจ
ทมี่ ศี กั ยภาพตลาดตอ้ งการสงู และสามารถพฒั นา
ไปเป็นพืชหลกั อกี หนึง่ ทส่ี รา้ งรายได้ได้

ความร้จู ากการปฏบิ ตั ขิ องครภู มู ิปัญญาแห่งลุ่มน�ำ้ ยาว

เมื่อถามถึงวิสัยทัศน์การพัฒนาท่ีพ่อหลวงมี
ต่อหมู่บ้านในอนาคต เขาตอบว่าอยากเห็นชาวบ้าน
มีอยู่มีกินแบบพอเพียง มีป่าไม้ที่สมบูรณ์ และรู้จัก
เรียนรู้เรื่องต่างๆ ท่ีสามารถน�ำมาปรับใช้เพื่อพัฒนา
ศกั ยภาพของตวั เองได้ เพราะการทำ� เกษตรใหป้ ระสบ
ผลส�ำเร็จ ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อรับมือกับส่ิง
ท่ีไม่แน่นอนต่างๆ ตั้งแต่ราคา การเปลี่ยนแปลงของ
สภาพอากาศ ปัญหาโรคและแมลง ดงั นน้ั คนท่ีเรยี นรู้
ตลอดเวลาจะเป็นคนท่ีไม่อดยาก เพราะมีแนวทาง
การแกไ้ ขปญั หาไดอ้ ย่างเหมาะสม หากเราสนับสนุน
ให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้กับพ่อแม่ เด็กในวันนี้จะ
เตบิ โตเปน็ ผ้ใู หญท่ ่ีมคี วามรู้ติดตัว และสรา้ งอาชีพให้
เขาตอ่ ไปในอนาคต

พ7้ืน5ทต่ี ร4วไ.ร่
112 ความรจู้ ากการปฏบิ ัติของครูภูมิปัญญาแห่งลุม่ นำ้� ยาว

ขอบคณุ ครภู มู ปิ �ญญาผูถายทอดประสบการณ
จากบา นยอด บานผาหลกั บา นนำ้ เกาะ
ตำบลยอด อำเภอสองแคว จงั หวัดนา น
1. นางพม� พใจ รกั ษา : บานยอด
2. นายวรพล รกั ษา : บานยอด
3. นายว�นัย คงคา : บานยอด
4. นายแสวง ทองสุข : บา นยอด
5. นายประว�ทย แขนงาม : บานยอด
6. นายแกว รักษา : บานยอด
7. นายส�ทธชิ ัย จติ ตรง : บานยอด
8. นายคิด รกั ษา : บานผาหลกั
9. นายเวช รักษา : บานผาหลัก
10. ว�ไลวรรณ นำ้ ตอง : บา นผาหลัก
11. นายตะ รกั ษา : บา นผาหลัก
12. นายเขย� น ผาหลกั : บา นผาหลกั
13. นายมา ผาหลกั : บา นผาหลกั
14. นายสกุล เร�่ยวสกลุ ชาติ
: บา นน้ำเกาะ
15. นายพช� ยั ตระกลศกั ดา
: บา นน้ำเกาะ

ความรู้จากการปฏิบตั ขิ องครูภูมปิ ญั ญาแหง่ ลุ่มน้ำ� ยาว 113


Click to View FlipBook Version