The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การประเมินความพร้อมของสังคมไทยและคนไทยในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หลังวิกฤติ Covid-19

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prpidthong1, 2022-01-23 21:38:15

การประเมินความพร้อมของสังคมไทยและคนไทยในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หลังวิกฤติ Covid-19

การประเมินความพร้อมของสังคมไทยและคนไทยในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หลังวิกฤติ Covid-19

Keywords: การประเมินความพร้อมของสังคมไทยและคนไทยในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หลังวิกฤติ Covid-19

ตอนท่ี 6 ด้านผลกระทบ
จากข้อมูลด้านรายได้ และอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในระดับแตกต่างกัน ในตอนนี้นำเสนอเกี่ยวกับผลกระทบ และ
สาเหตขุ องผลกระทบทีผ่ ูต้ อบแบบสอบถามได้รับดังน้ี

6.1 ผลกระทบ
รปู 4.23 ผลกระทบจากการระบาดของเช้ือไวรสั โคโรนาของผตู้ อบแบบสอบถาม

ผูต้ อบแบบสอบถามประมาณคร่ึงหนง่ึ ไดร้ บั ผลกระทบจากการระบาดของเช้อื ไวรัสโคโรนาในระดับ
พอรับมือไหว 754 คน (ร้อยละ 51.43) รองลงมาคือ รับมือแทบจะไม่ไหว 517 คน (ร้อยละ 35.27) ส่วนผู้
ที่ยังไมม่ ที างออก มนี อ้ ยที่สดุ 82 คน (ร้อยละ 5.60)

95

รูป 4.24 ผลกระทบ แยกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา

เมื่อพิจารณาผลกระทบที่ผู้ตอบได้รับ แยกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม
ครึ่งหนึ่งได้รบั ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในระดับพอรับมือไหว มากที่สุด ประมาณร้อย
ละ 49-63 ยกเว้นกลุ่มผ้สู งู วัย (อายุ 60-70 ปีขึ้นไป) 32 คน รอ้ ยละ 40-43 ทไี่ ด้รบั ผลกระทบอย่างมากโดย
ระบวุ ่า รบั มือแทบจะไม่ไหว

96

รปู 4.25 ผลกระทบ แยกตามภาคภมู ิลำเนา และภาคทที่ ำงานก่อนเกิดการระบาดของเชอื้ ไวรสั โคโรนา

ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณครึ่งหนึ่งของทุกๆ ภาค ทั้งภาคภูมิลำเนา และภาคที่ทำงานก่อนเกิด
การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ในระดับพอ
รบั มือไหว ตัง้ แต่รอ้ ยละ 47-54 ส่วนผรู้ ะบวุ ่า รับมอื แทบจะไมไ่ หว มปี ระมาณร้อยละ 32-38

97

รปู 4.26 ผลกระทบ แยกตามอาชีพ

จากภาพที่ 4.26 พบวา่ ผู้ตอบเกือบทกุ กลุ่มอาชีพ ไดร้ ับผลกระทบในระดบั พอรบั มือไหว ประมาณ
18-280 คน ร้อยละ 40-69 นอกจาก 2 กลุ่มอาชีพคือ อาจารย์ นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย
นักการตลาด ประกอบวชิ าชีพ ระบวุ ่า พอรับมอื ไหว 13 คน (รอ้ ยละ 35.14) ตามด้วย กระทบนอ้ ยมาก กับ
รบั มือแทบจะไมไ่ หวมีสัดส่วนเท่าๆ กนั 12/12 คน (รอ้ ยละ 32.43/32.43) และอาชพี คมุ เคร่ืองจักร ทำงาน
กับเครื่องจักร ขับยานยนต์ ทำงานในโรงงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน ได้รับผลกระทบระดับพอรับมือไหว
รับมือแทบจะไมไ่ หวในสดั ส่วนเท่าๆ กนั 10/10 คน (ร้อยละ 43.48/43.48)

6.2 สาเหตุของผลกระทบ
ในที่นี้มี 7 สาเหตุ โดยให้ผู้ตอบระบุสาเหตุหลัก 3 ลำดับแรก และเนื่องจากผู้ตอบได้ระบุ

ลำดับเดียวกันมาหลายคำตอบ ดังนั้นการวิเคราะห์จึงกำหนดเป็นคะแนนเพื่อหาคะแนนรวมสูงสุด และให้
ลำดับที่ 1 เท่ากับ 3 คะแนน/คำตอบ ลำดับที่ 2 เท่ากับ 2 คะแนน/คำตอบ ลำดับที่ 3 เท่ากับ 1 คะแนน/
คำตอบ ดงั นี้

98

รูป 4.27 สาเหตุของผลกระทบของผตู้ อบแบบสอบถาม


จากภาพที่ 4.27 พบว่า สาเหตุหลักของผลกระทบที่ผู้ตอบได้รับขณะนี้มาจาก COVID-19 มาก
ที่สุด (3,584 คะแนน) ตามด้วย ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2,236 คะแนน)
ภาวะเศรษฐกจิ โลก (2,087 คะแนน) ส่วนสาเหตุอืน่ ๆ มีนอ้ ยทสี่ ุด (91 คะแนน) โดยสาเหตุอนื่ ๆ ที่มคี ะแนน
เกิน 5 คะแนนขึ้นไปได้แก่ สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ (24 คะแนน) เศรษฐกิจในพื้นที่แย่ลง/ลูกค้าลดลง/
รายไดล้ ด (22 คะแนน) กยู้ มื เปน็ หนี้ (6 คะแนน)

99

รูป 4.28 สาเหตขุ องผลกระทบ แยกตามเพศ อายุ ระดบั การศกึ ษา
100

เมือ่ พจิ ารณาสาเหตขุ องผลกระทบ แยกตามเพศ อายุ ระดบั การศกึ ษา พบว่า ส่วนใหญ่ระบุสาเหตุ
หลักในแนวเดียวกันคือ COVID-19 มากที่สุด (166-2,177 คะแนน) ตามด้วย ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ การ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (138-1,381 คะแนน) สำหรับผู้ที่ระบุแตกต่างไป จะเป็นกลุ่มอายุน้อย กับผู้
สูงวัย ได้แก่ อายุ 17- 19 ปี มีสาเหตุหลักคือ ภาวะเศรษฐกิจโลก (15 คะแนน) ตามด้วย ภัยแล้ง ภัย
ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (13 คะแนน) อายุ 20-29 ปี มีสาเหตุหลักจาก COVID-19
(390 คะแนน) ตามด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลก (254 คะแนน) อายุ 70 ปีขึ้นไป ระบุว่า ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (15 คะแนน) ตามด้วย COVID-19 (10 คะแนน) ส่วนระดับการศึกษา ผู้
ที่ตอบแตกต่างจะเป็นกลุ่มคอ่ นไปทางทกั ษะสูง ได้แก่ ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่าปรญิ ญาตรี ระบุว่า COVID-
19 มากที่สุด (43-583 คะแนน) ตามด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลก (30-369 คะแนน) ในขณะที่ ปวช. เป็น
COVID-19 (235 คะแนน) ตามดว้ ย การแขง่ ขันทางธรุ กจิ รนุ แรงขนึ้ (105 คะแนน)
รูป 4.29 สาเหตุของผลกระทบ แยกตามภาคภูมิลำเนา และภาคที่ทำงานก่อนเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนา

ผู้ตอบแบบสอบถามในภาคภูมิลำเนา และภาคที่ทำงานก่อนเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
ระบุสาเหตุหลักของผลกระทบสอดคล้องกัน โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและ
ตะวันออก ระบุว่าเป็น COVID-19 มากที่สุด (751-1,001 คะแนน) ตามด้วย ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ การ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (444-689 คะแนน) ส่วนภาคใต้ ระบุว่า COVID-19 (572/574 คะแนน)
ตามด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลก (389/400 คะแนน) ในขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบุเหมือนกนั
ในลำดบั แรกคือ COVID-19 (306/719 คะแนน) แตกตา่ งกันในลำดบั รองคือ ผู้ตอบในภาคภูมลิ ำเนาระบุว่า
ภาวะเศรษฐกิจโลก (149 คะแนน) ส่วนภาคที่ทำงานก่อนเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ระบุว่า การ
แข่งขนั ทางธรุ กิจรุนแรงขน้ึ (338 คะแนน)

101

รปู 4.30 สาเหตขุ องผลกระทบ แยกตามอาชพี หลัก
102

ผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่มอาชีพระบุว่า COVID-19 เป็นสาเหตุหลักของผลกระทบขณะนี้ด้วย
คะแนน 61-1,429 ส่วนลำดับรองลงมาจะแตกต่างกันไปในแต่ละอาชีพ โดย อาชีพประมง เกษตร ใช้
เครื่องมือและการจัดการทันสมัย อาชีพประกอบอาชีพพื้นฐาน แม่บ้านทำความสะอาด ขายอาหาร ขาย
ของริมถนน รับจ้างทั่วไป เกษตรพื้นฐาน ระบุว่า ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(799/943 คะแนน) อาชีพพนักงานบริการ และผู้จำหน่ายสินค้า ระบุว่า การแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงข้ึน
(344 คะแนน) อาชพี ช่างเทคนคิ ปฏิบัติการ ผูป้ ระกอบวชิ าชีพยงั ไมส่ งู (จบการศึกษาต่ำกวา่ ปริญญาตรี ช่วย
ผู้ประกอบวิชาชีพ) อาชีพคุมเครื่องจักร ทำงานกับเครื่องจักร ขับยานยนต์ ทำงานในโรงงานที่ไม่ได้เป็น
หัวหน้างาน ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ เครื่องจักร หุ่นยนต์เข้ามา
แทนที่ (28/24 คะแนน) อาชพี ผจู้ ดั การ ขา้ ราชการ ผบู้ ัญญตั ิกฎหมาย นักการเมือง อาชพี อาจารย์ นกั บญั ชี
นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย นักการตลาด ประกอบวิชาชีพ อาชีพช่างฝีมือ ก่อสร้าง ไฟฟ้า หัตถการ แปร
รปู ระบุวา่ ภาวะเศรษฐกจิ โลก (49-104 คะแนน)
รูป 4.31 ใครตอ้ งมีบทบาทในการแกป้ ญั หาของผู้ตอบแบบสอบถาม

วิกฤตที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ตัวเองต้องมีบทบาทในการแก้ปัญหามากที่สุด
(3,326 คะแนน) รองลงมาคือ รัฐบาล (2,868 คะแนน) ตามด้วย คนในครอบครัว (2,053 คะแนน) สำหรบั
อื่นๆ มีน้อยที่สุด (10 คะแนน) ได้แก่ ทุกคนต้องช่วยกัน (7 คะแนน) สถาบันการเงิน (2 คะแนน) ลูกค้า (1
คะแนน)

103

ตอนท่ี 7 ด้านความสามารถในการปรบั ตัวและความพร้อม
ผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนานั้น สามารถ

ปรับตัวเพื่อก้าวต่อไป และ/หรือมีความพร้อม อุปสรรค/ข้อจำกัดในการปรับตัว ตลอดจนความต้องการ
ทักษะใหม่เพอ่ื รองรับการปรับตัวดงั นี้
รปู 4.32 ความสามารถในการปรับตวั ของผตู้ อบแบบสอบถาม

ผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งสามารถปรับตัว และไม่ปรับตัว โดยกลุ่มไม่ปรับตัวมีเกือบ 1 ใน 3 คือ
อาชีพเดิม/งานเดิม เหมือนเดิม 1,091 คน ร้อยละ 74.42 ส่วนกลุ่มปรับตัวมี 375 คน (ร้อยละ 25.58)
แบ่งเปน็ อาชพี เดิม/วธิ ใี หม่ 262 คน (รอ้ ยละ 17.87) และเปลี่ยนอาชีพ 113 คน (รอ้ ยละ 7.71)

104

รูป 4.33 ความสามารถในการปรบั ตัว แยกตามผลกระทบ

ผู้ตอบที่ได้รับผลกระทบระดับพอรับมือไหว มักเลือกทำอาชีพเดิม/งานเดิม และอาชีพเดิม/วิธีใหม่
ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากคือ รับมือแทบจะไม่ไหว จะเลือกเปลี่ยนอาชีพเพื่อการอยู่รอดในการ
ดำรงชวี ิต

105

รูป 4.34 ความสามารถในการปรบั ตวั แยกตามอาชพี

จากภาพที่ 4.34 พบว่ากลุ่มอาชีพที่มีความสามารถในการปรับตัวเกินร้อยละ 20 มี 4 อาชีพ โดย
ปรับตัวด้วยการแสวงหาวิธีใหม่ 3 อาชีพคือ อาจารย์ นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย นักการตลาด
ประกอบวิชาชีพ 14 คน (ร้อยละ 37.84) ช่างเทคนิคปฏิบัติการ ผู้ประกอบวิชาชีพยังไม่สูง (จบการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี ช่วยผู้ประกอบวิชาชีพ) 6 คน (ร้อยละ 23.08) พนักงานบริการ และผู้จำหน่ายสินค้า 57
คน (ร้อยละ 22.62) ส่วนปรับตัวด้วยการเปลี่ยนอาชีพได้แก่ ช่างเทคนิคปฏิบัติการ ผู้ประกอบวิชาชีพยังไม่
สูง (จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ช่วยผู้ประกอบวิชาชีพ) 7 คน (ร้อยละ 26.92) คุมเครื่องจักร ทำงาน
กับเครื่องจกั ร ขับยานยนต์ ทำงานในโรงงานท่ีไมไ่ ด้เปน็ หัวหน้างาน 5 คน (ร้อยละ 21.74) ทั้งนี้มีข้อสังเกต
คอื คนทีจ่ ะเปลี่ยนอาชีพมักทำงานใกล้ชิดกับเคร่ืองจกั ร

สำหรับอาชีพที่ไม่ค่อยปรับตัวเกินร้อยละ 70 ได้แก่ ประมง เกษตร ใช้เครื่องมือและการจัดการ
ทันสมัย 318 คน (ร้อยละ 81.54) เสมียน 26 คน (ร้อยละ 78.79) ผู้จัดการ ข้าราชการ ผู้บัญญัติกฎหมาย
นักการเมือง 47 คน (ร้อยละ 78.33) ประกอบอาชีพพื้นฐาน แม่บ้านทำความสะอาด ขายอาหาร ขายของ
ริมถนน รับจ้างทั่วไป เกษตรพื้นฐาน 438 คน (ร้อยละ 75.78) ซ่ึงการไม่ปรับตัวนี้ อาจมาจากเหตุผลที่
แตกต่างกันในแต่ละอาชีพ เช่น ได้รับผลกระทบน้อย-รับมือไหว ความรู้น้อย/ไม่มีทักษะ ขาดเงินทุนในการ
ประกอบ/พฒั นาอาชพี ปจั จุบัน ไมก่ ล้าเสี่ยง กลัวการเปลีย่ นแปลง เปน็ ตน้

106

รูป 4.35 ลกั ษณะคนกลุ่มปรับตวั /ไม่ปรบั ตัว ของผู้ตอบแบบสอบถาม

ผู้ตอบที่เป็นกลุ่มอาชีพเดิม/งานเดิม (ไม่ปรับตัว) เป็นเพศหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย (ร้อยละ
74.97/73.53) มอี ายุอยู่ในวัยแรงงาน-เกษยี ณ ประมาณ 30-59 ปี 908 คน (รอ้ ยละ 83.23) การศกึ ษาค่อน
ไปทางการศึกษาน้อยคือ ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย 789 คน (ร้อยละ 72.28) ทั้งนี้การที่คนกลมุ่
นไ้ี ม่คดิ ปรับตัว นอกจากได้รับผลกระทบในระดบั พอรบั มอื ไหวแล้ว อาจเป็นเพราะมีวยั ท่ใี กลเ้ กษยี ณอกี ดว้ ย

กลมุ่ อาชพี เดมิ /วิธใี หม่ (ปรับตวั ) เปน็ เพศชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย (รอ้ ยละ 18.47/17.49) มีอายุ
อยู่ในวัยแรงงาน ประมาณ 30-49 ปี 199 คน (ร้อยละ 75.95) การศึกษามีทั้งทักษะต่ำและสูงใกล้เคียงกัน
คือ มัธยมปลาย 68 คน (ร้อยละ 25.95) ปริญญาตรี 65 คน (ร้อยละ 24.81) ต้องการทักษะใหม่ทางด้าน
เทคโนโลยี และหาความรจู้ ากอินเตอรเ์ นต็ เป็นหลัก

กลุ่มเปลี่ยนอาชีพ (ปรับตัว) เป็นเพศชายมากกว่าหญิงเล็กน้อยเช่นกนั (ร้อยละ 7.99/7.53) มีอายุ
อยู่ในวัยแรงงาน ประมาณ 30-49 ปี 84 คน (ร้อยละ 74.34) การศึกษาค่อนไปทางทักษะน้อยคือ
ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย 70 คน (ร้อยละ 61.94) ซึ่งสอดคล้องกับผลการสนทนากลุ่ม พบว่า
คนยิ่งมีการศึกษาน้อย จะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนอาชีพ และมีการปรับอาชีพในแนวแคบ เช่น
จากช่างทาสี เปน็ ชา่ งซ่อมแอร์

107

รปู 4.36 ขอ้ จำกัดต่อการปรบั ตวั ของผูต้ อบแบบสอบถาม
108

รูป 4.36 (ตอ่ ) ข้อจำกดั ตอ่ การปรับตวั ของผู้ตอบแบบสอบถาม

สำหรับข้อจำกัดต่อการปรับตัวของผู้ตอบหมายถึง หากผู้ตอบมีข้อจำกัดน้อย แสดงว่ามีความ
พร้อมมาก ทั้งนี้ผู้ตอบทั้งกลุ่มอาชีพเดิม/งานเดิม อาชีพเดิม/วิธีใหม่ เปลี่ยนอาชีพ มีข้อจำกัดในแต่ละด้าน
สงู สดุ ใกลเ้ คียงกันคือ ความรนู้ อ้ ย/ไมม่ ที ักษะ 42-443 คน (รอ้ ยละ 30.92 -40.60) คนในสงั คมไม่ช่วยเหลือ
กันเท่าที่ควร 90-804 คน (ร้อยละ 68.70-79.65) ไม่กล้าเสี่ยง กลัวการเปลี่ยนแปลง 44-400 คน (ร้อยละ
36.66-38.93) ส่วนข้อจำกัดด้านการเงิน แตกต่างกันเล็กน้อย โดยกลุ่มอาชีพเดิม/งานเดิม อาชีพเดิม/วิธี
ใหม่ มีข้อจำกัดคือ ขาดเงินทุนในการประกอบ/พัฒนาอาชีพปัจจุบัน 173-716 คน (ร้อยละ 65.63-66.03)
ขณะที่กลุ่มเปลี่ยนอาชีพ จะขาดเงินทุนในการเริ่มอาชีพใหม่ 47 คน (ร้อยละ 41.59) ใกล้เคียงกับ ขาด
เงนิ ทนุ ในการประกอบ/พัฒนาอาชพี ปัจจุบนั 43 คน (ร้อยละ 38.05)

109

รูป 4.37 ทักษะใหม่ และการหาความรู้ แยกตามกลุ่มอาชพี เดมิ /งานเดิม
110

กลุ่มอาชีพเดิม/งานเดิม ไม่ต้องการทักษะใหม่ถึง 870 คน (ร้อยละ 79.74) มีเพียง 221 คน (ร้อย
ละ 20.26) ทตี่ อ้ งการทกั ษะใหม่ โดยทักษะใหม่ทีต่ อ้ งการจะเกย่ี วกับอาชีพการทำมาหากนิ รายได้เสริมมาก
ท่สี ุด 69 คน (ร้อยละ 31.22) และเกือบครึ่งหนึ่งหาความรู้จากออนไลน์ 109 คน (รอ้ ยละ 49.32)
รปู 4.38 ทักษะใหม่ และการหาความรู้ แยกตามกลุ่มอาชีพเดมิ /วิธีใหม่

111

รูป 4.38 (ต่อ) ทักษะใหม่ และการหาความรู้ แยกตามกลมุ่ อาชีพเดิม/วิธใี หม่

กลุ่มอาชีพเดิม/วิธีใหม่ เกินครึ่งหนึ่งต้องการทักษะใหม่ 167 คน (ร้อยละ 63.75) มี 95 คน (ร้อย
ละ 36.25) ที่ไม่ต้องการทักษะใหม่ โดยทักษะใหม่ที่ต้องการจะเกี่ยวกับเทคโนโลยี การขายของออนไลน์
มากที่สดุ 49 คน (รอ้ ยละ 29.34) และเกอื บครึ่งหน่ึงเช่นกนั หาความรจู้ ากออนไลน์ 79 คน (รอ้ ยละ 47.30)

112

รูป 4.39 ทกั ษะใหม่ และการหาความรู้ แยกตามกลุ่มเปลี่ยนอาชพี
113

กลุ่มปรับตัวด้วยการเปลี่ยนอาชีพ ต้องการทักษะใหม่ 72 คน (ร้อยละ 63.72) ไม่ต้องการทักษะ
ใหม่ 41 คน (ร้อยละ 36.28) โดยทักษะใหม่ที่ตอ้ งการเกอื บคร่ึงหนึ่งจะเกี่ยวกับเกษตร เมล็ดพันธุ์พืช ราคา
พชื ผลมากทสี่ ุด 33 คน (ร้อยละ 45.83) และหาความรจู้ ากออนไลน์ 30 คน (ร้อยละ 41.67)

4.2.2.2 ผลการสนทนากล่มุ

สำหรับในส่วนนี้คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลซึ่งเป็นผลมาจากข้อค้นพบจา กการวิจัยสามารถมอง
ออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ ระดับบุคคล (Individual) สังคมและเศรษฐกิจ รัฐบาลกับการแก้ไขปัญหา COVID-
19 ในมุมมองของประชาชน และปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ซ่งึ ในการวเิ คราะห์ผลการวจิ ยั ใชว้ ิธีการ

วเิ คราะห์เชงิ เน้อื หา (Content analysis) (Denzin. 1970 อ้างถงึ ใน สภุ างค์ จันทวานิช. 2543)

ข้อมลู เบือ้ งตน้ ของกลุ่มผู้ให้ข้อมลู มีดงั น้ีชาย หญิง 17
รปู 4.40 ผู้เขา้ ร่วมการสนทนากลุ่ม แยกตามเพศ และภมู ิภาค 17

6 11
26 18

10 31
15 10

114

รูป 4.41 ผู้เข้ารว่ มการสนทนากลุ่ม แยกตามระดบั การศกึ ษา

จำนวน (คน) ร้อยละ 14.3 11.8 10.6 6.8 11.2 42.9 2.5

23 19 17 11 18 69 4

จำนวน (คน) ร้อยละรปู 4.42 ผเู้ ข้ารว่ มการสนทนากลุ่ม แยกตามอายุ

28.0 24.2 27.3 14.9 5.6

45 39 44 24 9

18-30 31-40 41-50 51-60 61 ข้นึ ไป

115

รูป 4.43 รายได้เฉลี่ยก่อน COVID-19 รายได้เฉลี่ยช่วง COVID-19 และรายได้ที่หายไปของผู้เข้าร่วมการ
สนทนากลุ่ม

18,400 25,500 23,000

2,406 7,680 16,000

รายได้เฉล่ียก่อนโควิด รายได้เฉล่ียที่หายไป 47,600 60,750 237,000

3,653 11,121 28,286

6,059 18,801 44,286 66,000 86,250 260,000

ต่ำกวำ่ 10,000 บำท 10,000 - 30,000 บำท 30,001 - 50,000 บำท 50,001 - 70,000 บำท 70,001 - 90,000 บำท มำกกวำ่ 90,000 บำท

รูป 4.44 ระดบั ผลกระทบจาก COVID-19 ของผเู้ ข้ารว่ มการสนทนากลุ่ม

จำนวน (คน) ้รอยละ 2.5 52.8 34.8 9.9

4 85 56 16

กระทบน้อยมาก พอรบั มอื ไหว รับมอื แทบไมไ่ หว ยังไม่มีทางออก

116

ผลการสนทนากลุ่ม โดยภาพรวมของผลการวเิ คราะหแ์ บง่ ไดต้ ามรปู ท่ี 4.45
รปู 4.45 สรปุ ภาพรวมของมิติท่ใี ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

รฐั บาลกับการปัญหาโควิด-19 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ในมมุ มองของประชาชน
โควิด กบั ความอยู่ดีมีสุข
ความยากลำบากก่อน ของครอบครวั
โควิด

บรบิ ททางสังคม COVID-19 อาชพี ทไ่ี ด้รับ
ผลกระทบ

โควิดสองขัว้ ส่ือสารโควดิ ความรนุ แรงสมั พัทธข์ องโควดิ -19
คนทค่ี นนกึ ถงึ
โควิดเหมอื นกันปรบั ตวั ได้ไม่ ส่วนลกึ ในความรสู้ กึ กับ
เท่ากนั โควดิ

117

รปู 4.46 ภาพรวมของผลการวิเคราะห์ข้อมูลz

[๋ ( .. ฟ Lockdown WFH
] ) :

[ ]

[ [ )] "
.. "

"

" ฝ
"



19 /ุ
[] Figting spirit

COVID- 9 ..

ฟฟ Generation SES
[
ฝ Fist in () ,
* mind ฟ๊ ]
on
.
100 9

19 . [ [ .9 ) .9
] (๊
[ (
) ).

)

Social liability Dark
vs
Social capital Bright

Local social network ฟ
[] [๋

( Self-
esteem ๋
ฒ ]

ฑ 600
ฟ 163

20

118

จากรูปที่ 4.46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการลงพื้นที่ในการสนทนา
กลุ่มทั้ง 5 ภาค ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลางและตะวันออก
กรุงเทพมหานคร แสดงผลการวจิ ัยออกเปน็ 4 มติ ดิ งั นี้

มติ ทิ ่ี 1 ระดบั บุคคล (Individual)
เมื่อพูดคุยถึงประเด็นการระบาดของโรค COVID-19 กับประชาชนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้สะท้อนข้อมูล
เกี่ยวกับ 1) ส่วนลึกในความรู้สึกกับ COVID-19 2) COVID-19 กับ ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว 3)
COVID-19 ชีวิต และการทำมาหากิน 4) การสื่อสาร COVID-19 5) COVID-19เหมือนกันปรับตัวได้ไม่
เท่ากัน และ 6) ความรุนแรงสมั พทั ธข์ อง COVID-19

1) ส่วนลกึ ในความรูส้ กึ กบั COVID-19 ประชาชนผู้ให้ขอ้ มูลโดยเฉพาะกลมุ่ ผู้ท่ีจบการศกึ ษา
ใหม่และเปน็ วยั ทเ่ี ริ่มต้นทำงานมีความรู้สึกวา่ การเกดิ การระบาดของเชื้อไวรสั โคโรนาทำใหพ้ วกเขาฝันสลาย
และแผนชีวิตพงั ตัวอยา่ งเชน่

“ทำลายแผน ฝนั ทลาย”
[แนน อายุ 23 ปี สงขลา อาชีพ จบการศึกษาใหม]่

“ยงั ไม่รสู้ ึกวา่ ดใี จเงนิ เดือนขึ้นเป็นยงั ไง เงินเดือนก็ลดแล้ว”
[ทราย อายุ 23 ปี ขอนแก่น อาชีพ วา่ งงาน]

“สมัครไปเกาหลี ต้องสอบภาษาเกาหลี ลงเรียนภาษาเกาหลี 10,000 แลว้ ติดโควิด ตอน
นัน้ โรงงานรับแลว้ ตัง้ แต่ ก.พ. จะไปอยูโ่ รงงานดัดเหล็ก คา่ แรงดี เดอื นละ 50,000 กวา่ บาท ไมร่ วม

โอท”ี
[หนุ่ม อายุ 25 ปี ขอนแกน่ อาชีพพนกั งานร้านแอร์]

“มันดับฝันหลายๆ อย่าง เพราะว่าเราต้องหาอะไรที่มันมั่นคงให้กับชีวิต อยากซื้อบ้าน
ซ้ือรถ เกบ็ เงนิ ไวท้ ำธุรกิจในภาคหน้า มองแลว้ กค็ งทำงานได้ไม่เกนิ อายุ 40 ก็คงตอ้ งกลับไปอยู่บ้าน
กันแล้ว เด็กรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องมา การแข่งขันมันสูงมาก เด็กรุ่นใหม่ๆ สวยกว่า แล้วเราก็แก่ลง แล้ว
เงนิ ก็เรมิ่ หาไมค่ อ่ ยได้แลว้ ท่ที ำงานเขากต็ ้องมองเหน็ แลว้ ว่าอายุเยอะแล้วนะ ก็จะเรม่ิ บีบๆ ออก”

[ชะเอม อายุ 29 ปี ชลบุรี อาชีพ เตน้ ไลฟ์สด]

บางสว่ นรู้สึกตวั เองเป็นภาระของครอบครวั เชน่
“ตอนนีพ้ อ่ แม่เลี้ยงอยู่ แตพ่ ่อแมไ่ ม่ว่าอะไรเพราะตอนทำงานกส็ ่งเงนิ ให้”
[เจมส์ อายุ 27 ปี สงขลา อาชีพ ช่างเชื่อม]

119

“รูส้ กึ ว่าไมโ่ ตสักที เรยี นจบจะได้หาเงินใหพ้ ่อแมบ่ ้าง กต็ อ้ งมาเป็นภาระของพ่อ
แม่อีก”

[ตัง้ โอ๋ อายุ 29 ปี ขอนแกน่ อาชพี วา่ งงาน]

“โควดิ น่ีเป็นเร่อื งเลวร้ายเลยครับ เสียชวี ิตเยอะอะไรอย่างเนยี่ ตัวผมกแ็ ย่อ่ะครับ
ดบั ฝนั อ่ะ คิดอะไรไว้ก็ไมเ่ ป็น เปน็ ไปไม่ได”้

[เดยี ร์ กรุงเทพมหานคร อาชีพ ขับวนิ มอเตอร์ไซต]์

ส่วนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในวัยผู้ใหญ่ที่ได้ทำงานมาสักระยะถึงระดับที่ค่อนข้างมั่นคงแล้วบางส่วนให้
ข้อมลู ว่าในชวี ิตไม่เคยเจออะไรแบบน้ี ตัวอยา่ งเชน่

“ความแรง..ทัง้ ของตวั เอง และของครอบครวั กอ่ นหน้าน้นั ขายดมี ากๆ นา่ จะดี
ทส่ี ุดในสงขลา กอ่ นเกิดโควิดสขี า้ วสารตุนไวแ้ ล้วตลาดกป็ ิดหมด จากเดิมเดอื นหน่ึงได้
4-5 หมื่น อยูด่ ีๆ หายแบบพลกิ ในชวี ติ ไม่เคยเจอนอ๊ คแบบน้ี ข้าวของเราไมม่ ีสารเคมี เกบ็ ได้
ไม่นาน ตอ้ งตากข้าว โรงเรยี นพิเศษก็ปดิ ยาว ขาดรายได้ อาชีพอาจารยม์ หาวทิ ยาลยั พเิ ศษก็ถูกตัด

เพราะไมม่ ีเงนิ จา้ ง”
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชพี อาจารย์พเิ ศษและเกษตรกร]

“มคี วามกลวั และความเครยี ด กลวั พอไดย้ นิ โรคโควิด ทกุ คนตอ้ งกลัว กลัวโรคน้ี กลัวที่
จะเป็นแล้ว เราเกดิ มาอายุ 41 ไม่เคยเจอ แบบนี้ พอเราเจอความรสู้ กึ รักตวั กลัวตายเน้ยี กลวั ตาย”

[โอ๋ อายุ 41 ปี เชียงใหม่ อาชพี พนกั งานตลาด]

“ไม่เคยเจอแบบน้ี เพราะเราไมเ่ คยตกงาน ชีวิตไมเ่ คยวา่ งงาน ท่แี รงสดุ เพราะว่าเรา
อายุ 62 แล้ว กไ็ ม่รจู้ ะไปหางานทไี่ หนแล้ว ทง้ั ๆ ทีบ่ อกตวั เองเสมอว่าเรายงั ทำงานไดอ้ ยู”่

[ป๋อง อายุ 62 ปี กรุงเทพมหานคร ตกงาน]

บางกลุม่ บอกว่า COVID-19 ทำให้มนั ไม่เหลอื อะไร
“ผลกระทบโควิด.."มนั ไม่เหลืออะไร ถงึ ทุกคนไดเ้ งินโครงการปดิ ทองเหมอื นกนั แต่

คา่ ใชจ้ ่าย ไม่เหมือนกนั วนั ละ 325 ลกู เอาไปหมดแล้ว จะเอาอะไรกนิ ยงั ดที ี่มโี ครงการปดิ ทอง

120

หลังพระ ครง้ั แรกชาวบา้ นไม่เหน็ ดว้ ย (ไมเ่ ชอื่ ใจ) หมู่บา้ นแล้งมา 2 ปี เขายงั ไมเ่ ห็นผลงานเอาให้
รอดเปน็ วันๆ คิดตลอด ตอ้ งใช้เทา่ ไหร่ เหลอื เท่าไหร่ งน้ั ไม่มเี งินใหล้ กู ”
[จอง อายุ 53 ปี ขอนแก่น อาชีพ ก่อสร้างและเกษตรกร]

“โควดิ คอื มนั กินทกุ อยา่ ง เบื้องตน้ ทเ่ี คยทำงานมา สามารถทำเงนิ ในร้านอาหารต่อวนั
รว่ มแสน พอมโี ควิด รายไดเ้ ป็นศนู ย์ ลูกน้องกต็ อ้ งเอาไว้ต้องเล้ยี ง 3 คน ต้องให้เขาอยไู่ ด้ ลด
เงินเดอื นมา ก็เลยตอ้ งชิงตัวเองออกมา เพราะเปน็ น้องชายของเจ้าของ แลว้ มาทำธรุ กจิ เองเล็กๆ
นอ้ ยๆ มันกไ็ ปไมร่ อด แต่ก่อนที่มเี งินก็จะซอื้ ของสะสม วันนก้ี ็คอื อันไหนที่แปรสภาพเปน็ เงินได้ก็

เอามาแปรหมด เพ่อื เอาเงินมาเลย้ี งครอบครัว ให้ครอบครัวอยู่ได”้
[โรจน์ อายุ 48 ชลบุรี อาชพี ขายอาหารตามสั่ง]

ห่วงคนในครอบครัว
“ความแรงของโควดิ ..ไปไหนไม่ได้ ลูกชายไปบ้านแฟนที่นคร ติดอยเู่ กอื บเดอื น ตอ้ งคุยกับลกู ทกุ วนั ”

[เปีย๊ ก อายุ 60 ปี สงขลา อาชพี ขบั วนิ มอเตอรไ์ ซตร์ บั จ้าง ]

มบี างสว่ นทบี่ อกว่าถึงแมจ้ ะมกี ารระบาดของโรค COVID-19 แต่ก็ยังพอไปได้ เช่น
“ไมค่ ่อยกระทบเทา่ ไหร่ ถงึ รา้ นปิดกไ็ ดก้ รดี ยางเลก็ ๆ นอ้ ย พอไปได้ แฟนกห็ ยดุ งาน กรดี
ยางได้วนั ละ 300-400 บาท แตม่ ันไม่พอหรอก เคยน่ังเครยี ดน้ำตาตก สงสารลูก”
[อ้อ อายุ 33 ปี สงขลา อาชีพ รับจ้างท่ัวไป]
“ผลกระทบโควดิ ..เพราะยงั มีวนั ทีเ่ ราไดไ้ ปทำงาน ไมไ่ ด้ปลดเลยทีเดียวแต่ตอ้ งบริหาร
ตวั เองลดคา่ ใชจ้ า่ ยลง ผักสวนครัวทีบ่ ้าน”
[ป้อม อายุ 27 ปี สงขลา อาชพี ทำงานโรงงานผลติ อาหารแช่แขง็ ]

2) COVID-19 กับ ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว ในประเด็นนี้พบในเรื่องของหน้ี
เนื่องจากรายได้ที่เคยมีก่อนหน้านั้นหายไปและได้เป็นหนี้ก่อนอยู่แล้ว เช่น ค่ามอเตอร์ไซค์ ค่ารถยนต์ ค่า
บ้าน และหนี้ที่เกิดใหม่ช่วง COVID-19 เพราะรายได้ไม่มี เช่น ค่าเรียนของลูก และค่าใช้จ่ายใน
ชีวิตประจำวัน เป็นต้น ต่อมาเป็นปัจจัยที่รองรับแรงกระแทกจากภาวะเศรษฐกิจ ได้แก่บุคคลในครอบครัว
คือ คสู่ มรส พ่อแมท่ ่ยี งั มงี านทำ หรอื มอี าชพี เปน็ ขา้ ราชการยังพอชว่ ยได้ ตัวอยา่ งเช่น

“ที่บ้านทำงานรับราชการ กม็ ีท่บี า้ นคอยดูแลเรื่องคา่ ใชจ้ า่ ยอยู่ ตอนน้ีตกงานเพงิ่ เรียนจบ”
[โก้ อายุ 23 ปี ชลบรุ ี อาชีพ ว่างงาน]

121

“ลาออกจากโรงงานมายงั มีธุรกจิ ทบี่ า้ น ได้จากฝั่งบ้าน ทำเป็นบรษิ ัทรักษาความปลอดภยั
ก็ยังพอได้อยู่ เปน็ หม่นื อย่”ู

[แจง อายุ 25 ปี ชลบรุ ี อาชพี ธรุ กจิ ส่วนตัว]

นอกจากนีใ้ นเรอ่ื งคา่ ใช้จ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นคา่ ใช้จา่ ยทเ่ี พิ่มข้นึ ไดแ้ ก่ ค่านำ้ คา่ ไฟ เนอื่ งจากทกุ คน
ต้องหยุดอยู่บ้าน และประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ เรื่องลูก ในช่วง COVID-19 ทำให้เด็กติดโทรศัพท์
มากขน้ึ ค่าใชจ้ ่ายของลูกเป็นเร่ืองใหญเ่ พราะยงั ตอ้ งเล้ยี งลูกซงึ่ อยใู่ นวัยทีต่ อ้ งพง่ึ พิงพ่อแม่ เชน่

“แย่ ลูก 3 คน ลูก 4 ขวบ 7 ขวบ 10 ขวบ เงนิ ล้วนๆ หนกั แตก่ ็ต้องหาทางออก ตอ้ งศึกษาว่าจะ
อยู่รอดยงั ไง ถ้าอยกู่ บั ทก่ี ็อยไู่ มไ่ ด”้

[บอม อายุ 34 ปี ชลบุรี อาชีพ ค้าขายอาหารทะเล]

3) COVID-19 ชีวิต และการทำมาหากิน ในประเด็นของการทำมาหากินในช่วง COVID-
19 กลมุ่ ตวั อย่างมีความคิดเหน็ ว่า คนทีไ่ ดร้ บั ผลกระทบท่ีหนักสดุ เป็นกลมุ่ แม่คา้ ในตลาด คนขบั รถสองแถว
วินมอเตอร์ไซค์ ผู้รับเหมา เนื่องจากลูกค้าไม่มีเงินจ่ายหรือเดินทางมาตรวจงานก่อนจ่ายไม่ได้ และเบาสุด
ส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นอาชีพข้าราชการ (แต่ต้องไมม่ ีหนี้ เพราะถ้ามีหนี้ ต้องพึ่งรายได้เสริม ส่วนเงินเดือนเอา
ส่งหนี้หมด ราชการได้เงินเพิ่มอีกต่างหาก) รัฐวิสาหกิจ พวกมีเงินประจำ ไรเดอร์ (เดลิเวอรี่) ขายออนไลน์
และเกษตรกร

4) การสื่อสาร COVID-19 สังคมไทยยังใช้ช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับ COVID-19
ผ่านทางสื่อบุคคลเช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้างโดยเห็นว่าเป็นกระบอกเสียง กระจายข่าวได้ดี นอกจากนี้ยังมอง
ว่าคนไทยมีการต่ืนตัวในการรับขา่ วสาร แต่บางคร้งั การสื่อสารทแ่ี รงจนทำให้เกดิ ความวติ ก

5) COVID-19 เหมือนกันปรับตัวได้ไม่เท่ากัน ในการปรับตัวของประชาชนนั้นมีความ
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสามารถในการปรับตัว เช่น ช่วงวัย (Generation)
และเศรษฐานะ ตวั อย่างเช่น

ปัจจัยด้านช่วงวัย (Generation) พบว่า ประชาชนรุ่นใหม่มีทักษะด้านดิจิทัลทำให้
สามารถปรบั ตัวเพือ่ สรา้ งอาชีพใหม่ๆ ไดง้ า่ ยกว่า เช่น

“ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ คือชว่ งน้มี ีเวลา เราก็จะเรียนรู้ท่ียงั ไมเ่ คย เช่น การตลาดออนไลน์
การทำคลิปวดิ โี อ การตดั ตอ่ ก็ไดเ้ รียนรเู้ พิม่ มากขนึ้ ”

“เปน็ คนทไ่ี มไ่ ดร้ อวา่ จะดขี น้ึ แตค่ อื โอกาสนเี้ ปน็ โอกาสที่ไดล้ องไดพ้ บอะไรใหม่ คือ การ
เขา้ ส่ตู ลาดออนไลน์ ทำขนม ทำเบเกอร่ี ส่งใหเ้ พ่อื น ขายใหเ้ พื่อน ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ไปแล้ว

122

และทำงานบริษทั โครงสร้างเปน็ การตลาดออนไลน์ ทำงานท่อี อฟฟศิ แตก่ ก็ ำลังจะออกแลว้ เพราะ
ไม่มีแพสช่นั กบั บริษทั นี้ ก็คดิ วา่ เรากต็ อ้ งเรียนรู้ใหมๆ่ ทม่ี นั ทนั สมัย ตาม นวิ นอร์มอล (New
Normal) ตลาดออนไลนก์ ำลงั มบี ทบาท ส่ือออนไลนท์ ุก ๆ สอ่ื ”
[โจ้ อายุ 32 ปี ชลบรุ ี อาชพี พนักงานบริษัทเอกชน]

“ตอนนีอ้ ยบู่ ้านก็เรม่ิ หาอะไรทำบา้ งแล้ว พยายามเปน็ streamer อยู่ เลน่ เกมอยู่ ถา้ ทำ
สำเร็จ ตอ้ งม่นั คงอยู่ ผมเร่ิมจากเพือ่ น คอยตดั ตอ่ ให้ เนอ้ื หากจ็ ะเปน็ การเล่นเกม เปน็ การแข่งขนั ”

[โก้ อายุ 23 ปี อาชีพ ว่างงาน]

ส่วนวัยกลางคนข้นึ ไปจะได้เปรียบในเรอื่ งประสบการณ์ เช่น
“วยั กลางคน-สูงอายุ จะมีความพร้อม ใจสู้ ไมท่ อ้ มากเพราะมปี ระสบการณแ์ ละผ่าน
ปัญหามามาก มากๆ”

[บงั หนวด อายุ 61 ปี สงขลา อาชพี ผรู้ ับเหมา, เอ อายุ 51 ปี สงขลา อาชพี ขายลูกชน้ิ ]

ปัจจัยเรื่องเศรษฐานะ (SES) เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การปรับตัวแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อ
โอกาสอย่างอื่นตามมา เช่น ระดับการศึกษาทำให้มีข้อจำกัดในความกว้างต่อการปรับตัว เช่น กรณีของ
แพน อายุ 18 ปี ลูกจ้างทาสี จังหวัดสงขลา จากลูกจ้างทาสีได้เปลี่ยนอาชีพไปเป็นพนักงานติดตั้งและล้าง
แอร์ นอกจากนเ้ี งินทุนยังเปน็ ปจั จัยสำคัญสำหรบั ชาวบ้านเพราะทำให้ได้ค้าขายเลก็ ๆ น้อยๆ และทำในส่ิงที่
ตนเองถนดั

การมีจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ (Fighting spirit) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ในตัวของแต่ละ
บคุ คลท่จี ะตอ้ งมีความขยนั อดทน และมใี จพร้อมท่จี ะสู้กับภาวะวกิ ฤติ ตัวอยา่ งเช่น

“ประเด็นเรือ่ งการคาดการณ์ และรอว่าอะไรจะดีขึน้ บางคนชว่ งแรกๆ ก็คิดว่ามันจะดี
แตส่ ดุ ทา้ ยอาจมคี นเพียงจำนวนน้อยทค่ี ดิ วา่ ไมร่ อแล้ว ลงมอื ทำอะไรใหมๆ่ ไปเลย”
[อาย อายุ 27 ปี สงขลา อาชพี นักศกึ ษาปรญิ ญาโท]

“ใจสู้”
[ปู อายุ 53 ปี สงขลา อาชพี ขายขา้ วแกง, ปาลม์ อายุ 29 ปี สงขลา อาชพี ว่างงาน,

บงั หนวด อายุ 61 ปี สงขลา อาชีพ รับเหมาเกีย่ วกบั โครงเหลก็ ,
เอ อายุ 51 ปี สงขลา อาชพี แม่คา้ ขายลกู ช้นิ รถพ่วง]
123

“ปรับตัวใหไ้ ด้ ไมเ่ ลอื กงาน จากสาวโรงแรมมาขายออนไลน์ ถ้าโควดิ ปกตแิ ล้ว จะกลบั ไป
ทำงานโรงแรมเหมอื นเดมิ เพราะชอบงานบริการ แตจ่ ะหาอาชีพเสริม เชน่ ขายของออนไลน์
แทนท่ปี กติวา่ งจะเดินห้าง เลน่ โทรศัพทเ์ ฉยๆ กจ็ ะโพสต์ขายสินคา้ มาขายเปน็ ตอนโควิด "เมื่อกอ่ น

ไมท่ ำงานอนื่ เลย ทำงานเดยี ว ตั้งแต่เจอโควิด ลองทุกงานที่ว่าจะทำได้ สู้กบั มัน"
[ปาล์ม อายุ 29 ปี สงขลา อาชีพ ขายของออนไลน]์

“ตอ้ งเปน็ คนกล้าคดิ กล้าทำ กลา้ เปล่ยี น หวั กา้ วหนา้ นำคนอ่นื ”
[เอ อายุ 51 ปี สงขลา อาชีพ แมค่ า้ ขายลกู ชน้ิ รถพว่ ง]

“ผลกระทบโควิด...ถงึ จะโควิดเราก็สู้ (เสยี งเครือ) ลกู ทีเ่ ป็นผ้ชู ายพยาบาลสง่
บา้ ง แฟนใหบ้ า้ ง”

[จ๋า อายุ 42 ปี ขอนแก่น อาชีพ ครผู ชู้ ว่ ยสอนอนุบาล อสม. เกษตรกร]

“วันข้างหน้าเราจะตอ้ งมีการวางแผน และเตรยี มตัวอยา่ งไร รบั มอื หรอื ประหยัด ออม
เผือ่ เก็บ เราจะต้องเขม้ แขง็ กบั วิกฤติน้ีให้รอด จนกว่าจะมที างรกั ษาด้วย และมีความอดทน อดทน
รอวา่ เมอื่ ไหร่มนั จะดขี ึ้น และคิดว่ามนั จะต้องกลับมาดี รายไดก้ ็ไม่มีแต่เราก็หาอะไรมาทำมาขาย
บ้าง ในออนไลน์ เชน่ ขนม วติ ามินเสรมิ ความงาม มันไม่ได้มากแต่กม็ ีกำไร ถ้าเราไม่อดทนก็พงั ”

[แยม อายุ 26 ปี ชลบุรี อาชีพ ขายของออนไลน์]

ข้อจำกัดในการปรับตัว (Limit) ส่วนใหญ่แล้วไม่ต้องการเปลี่ยนงานยังคงมีความต้องการในการ
ทำงานทตี่ นเองถนัด เป็นอาชีพเดิมท่ีคุ้นเคยและเป็นอาชีพท่ีรัก แต่อยากมีอาชีพเสริม เชน่

“อยากไดง้ านทถ่ี นดั เหมือนเดมิ เช่น งานบญั ชี ที่เรยี นจบมา”
[เอ อายุ 51 ปี สงขลา อาชีพ แมค่ า้ ขายลกู ชิน้ รถพ่วง]

“ถา้ โควดิ ปกติแล้ว จะกลบั ไปทำงานโรงแรมเหมอื นเดิม เพราะชอบงานบริการ แตจ่ ะ
หาอาชีพเสรมิ เช่นขายของออนไลน"์

[ปาลม์ อายุ 29 ปี สงขลา อาชพี ขายของออนไลน]์

124

6) ความรุนแรงสมั พัทธ์ของ COVID-19 (Relative impact of COVID-19) ส่งผลตอ่ ชีวิต
ของประชาชนหลากหลายแง่มมุ ได้แก่ อาชีพเสริม การมีเงนิ เดอื นประจำ เงนิ ช่วยเหลือ ผ้พู ึง่ พิง และหน้ีสิน
ยกตวั อย่างเช่น

ในประเด็นอาชีพเสริม พบว่า บางคนต้องการทำอาชีพเสริม บางคนได้ค้นพบอาชีพเสริม
แต่บางคนสญู เสียรายได้ทีเ่ ปน็ อาชพี เสรมิ เชน่

“ถ้าย้อนกลับไป...จะวางแผนการเงนิ ใหด้ ีกวา่ เดมิ ดูแลตวั เองเน้นเร่อื งความสะอาด
เครง่ ครัดในการให้ความรว่ มมือกบั สว่ นรวม และอยากมีอาชีพเสรมิ แตน่ วดยงั เปน็ หลัก

[นกนอ้ ย อายุ 41 ปี สงขลา อาชพี หมอนวดแผนไทย]

“....ภาระโรงแรมอะ เราเขา้ ใจเลยว่าพอตอนอีโควดิ มนั มาเนี้ย 1 คอื แบบจะมาทำไม แลว้
คือ พอมนั มาเสรจ็ แล้วอะ เราทกุ คนยิง่ โดยเฉพาะโรงแรมเน้ยี รบั ทวั ร์จีนเยอะมาก แลว้ เรามีรายได้
จากคนจนี เยอะถงึ เยอะที่สุด แล้วคอื เรากลวั มากๆ เพราะว่า แอลกอฮอล์เน้ยี อยา่ งคนทีไ่ มเ่ คยล้าง
มอื บ่อยๆ จากท่ีไม่เคยทำแมสก์ เราก็ได้มีโอกาสทำแมสกแ์ ลว้ กพ็ อเราออกมาจากสวนแลว้ อะ เราก็

มาทำแมสก์ขาย”
[ตู่ อายุ 51 ปี เชียงใหม่ อาชีพ ผจู้ ดั การฝ่ายขายของโรงแรม]

“ไม่สามารถออกบา้ นไดไ้ ง แล้วกง็ านบางอย่างทเ่ี ราทำประจำแล้วเป็นรายได้เสริมก็ทำ
ไม่ไดเ้ ลยเพราะเราตอ้ งไปเจอแหลง่ ข่าวเพอื่ ท่จี ะสัมภาษณ์เขียนบทความเขียนสารคดอี ะไรพวกเนย้ี

คะ่ กม็ ีผลกระทบจากเรื่องทอ่ งเท่ียวด้วยเหมือนกัน”
[มะหน่อย อายุ 55 ปี เชียงใหม่ อาชพี นักข่าว]

“อยู่ หางดงเชียงใหม่ แต่ว่าจะมตี ัวแทนอยใู่ นอำเภอแม่แจม่ ลูกค้ากจ็ ะมีการไมจ่ ่ายเบยี้ ก็
จะมกี ารเวนคืนกรมธรรม์ ดแู ลลูกคา้ ไป แต่ว่าช่วงโควิดคือ จะมีการปรับตวั คือวา่ อัญกนิ คอลลา
เจน คอื ช่วงมีนาคม มอี าการปวดแขน มันบงั เอญิ มาก นา้ แนะนำ คอลลาเจนของ ทวี ีไดเรก็ อัญ
กนิ ไปสามเดือน คอลลาเจนตวั นีม้ ันดี โทรเข้าไปบรษิ ทั เลย แลว้ โชคดโี ทรไปตดิ เจา้ ของแบรนด์ แต่
ว่าเจา้ ของแบรนดเ์ ขาก็สง่ ราคาโรงงานมาให้ พอขายคอลลาเจนแลว้ อญั ลงใน ชอบป้ี มกี ารปรบั ตวั

ลงในเพจ มรี ายไดม้ าเสรมิ ตรงนี้ อันนี้เปน็ การปรับตัวของโควดิ ”
[อญั อายุ 43 ปี เชยี งใหม่ อาชพี ขายประกนั ขายคอลลาเจน]

125

การมีเงินเดือนประจำส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะข้าราชการ แต่ต้องเป็น
ข้าราชการท่ปี ลอดหนี้ ในประเด็นของเงนิ ชว่ ยเหลอื มีท้ังด้านดีและไม่ดี เช่น

“บอกผมเปน็ เกษตรกร โดนตดั สิทธิท์ ั้งที่มีหนา้ ร้านชดั เจน รอนานมาก ๆ บอกเราเปน็
เกษตรกร ตอนแรกไม่ไดร้ ับเงินเยียวยา ผมกเ็ ครียดไมม่ ีเงิน หลักฐานกม็ ี เจ้าหน้าท่ีกรงุ ไทยมาตรวจ

กว่าจะได้เงิน นานมาก จนถอดใจจะกดยกเลกิ แล้ว เงินหา้ พันบาทมันไม่ไดเ้ ยอะ เราหาได้ตอ่ วัน
เลย แต่ตอนนั้นมนั ไมม่ ีแล้วรายจา่ ยมันสงู มนั ไม่มีทางออก พอโอนมามันหมื ...พ่ีนอ้ งยังทะเลาะกัน

เรอ่ื งเงนิ หา้ พันเลย ทำไมเมงิ ไดก้ ูไม่ได”้
[บอม อายุ 34 ปี ชลบรุ ี อาชีพ คา้ ขายอาหารทะเล]

“ดา้ นเศรษฐกจิ ทำใหร้ ายไดน้ ้อย มีความขัดแยง้ เกดิ ขน้ึ เช่นคนทไ่ี ด้รบั เงินชดเชย กับคนที่
ไมไ่ ด้รบั เงินช่วยเหลือ”

[จุ๋ม อายุ 45 ปี สงขลา อาชพี ขายอาหารตามส่ัง ทำสวนยาง]

“ใหค้ ะแนน 3 เนี่ย จรงิ ๆ เราเปน็ คนทีโ่ ดนชว่ ยเหลือทุกทาง แลว้ เราได้เปน็ เงิน
ช่วยเหลอื จากทางรัฐบาลทุกทางเลยนะ ไมว่ า่ จะเงินเยยี วยา 5,000 พ่ีตกู่ ็ลงทะเบียน พต่ี ่กู ด็ นั ได้ พ่ี
ตูไ่ ด้เงนิ ช่วยเหลอื โควิดเนีย่ เดือนมถิ นุ า เพราะจรงิ ๆ นะ่ โดยส่วนตัวเเลว้ บฮ่ ูเ้ ลยวา่ ตอ้ งไปเดินเร่ือง

เเบบน้แี บบน้นั แบบโน้น วิง่ ได้ข้อมลู มาแบบผิด ๆ ดว้ ยซำ้ จากเพอ่ื นรว่ มงานท่เี ปน็ หัวหนา้ บญั ชที ี่
โรงแรม พี่ตูไ่ ดเ้ งินโควดิ มาเงินเยียวยาน่ะ 5,000 ลงทะเบยี นไปอะนะ เพอื่ น ๆ ในกลมุ่ ก็ถามเธอได้
หรอื ยังฉนั ไดเ้ เล้วเนอ้ เคา้ ได้กนั เเล้วฉันยังไม่ไดเ้ ลย เฮาก็ลองจ้ิม ๆ ไปปรากฎวา่ เงนิ เขา้ มา 5,000

แถม 3 วนั เงินเข้ามา”
[ตู่ อายุ 51 ปี เชียงใหม่ อาชพี ผจู้ ดั การฝ่ายขายของโรงแรม]

“บางโครงการท่เี ขาคดิ มา มนั ดีนะ เช่น ช่วยเหลือเงนิ เยยี วยา บางคนที่เขาแย่กว่าเรา
แล้วเขาไดเ้ งนิ 5,000 เราไปลงทะเบยี นให้เขา เขากม็ าขอบคุณ เพราะบางคนเลน่ โทรศัพท์ไมเ่ ป็น

เราก็ไปทำให้”
(ได๋ อายุ 35 ปี ชลบุรี อาชีพ รบั จา้ งทว่ั ไป)
ผูพ้ ึ่งพิงพบวา่ เปน็ พอ่ แม่ท่ชี ราและป่วย รวมถึงลูกทก่ี ำลังเรยี นหนังสือซ่งึ ตอ้ งมคี ่าใช้จ่าย เช่น
“ตอนน้ีลกู สองคนเรยี นโรงเรยี นเป็นโรงเรยี นรัฐบาลเขาช่วยเหลอื อยู่ แต่เรายังตอ้ งเสียค่า
เทอมเปน็ ค่าบำรงุ การศึกษา เขาเรยี กเก็บแตอ่ ยากให้ช่วยค่าชุดดว้ ย”
[แคท อายุ 35 ปี สงขลา อาชีพ รับจ้างขายของ]
126

“มนั รา้ ยแรง สามารถทำใหเ้ รามนี ้ำตา เพราะว่าก็ตกงาน ท้อ จากทีเ่ คยสง่ เงินให้พอ่ แมท่ ่ี
บา้ นกไ็ มไ่ ด้สง่ จากมีโอทีมีงานทำ มนั ก็แยม่ าก ไม่อยากให้มันเกิด ก็กลบั มาดแู ลแม่ ปยู่ า่ ดว้ ย

แมก่ เ็ ป็นเบาหวาน ภาระมันก็เลย แย่เลย ทอ้ มาก ๆ เครยี ด”
[ตัม้ อายุ 38 ปี ขอนแกน่ อาชีพ ว่างงาน]

“ไมเ่ หลืออะไรเลย ไหนจะค่าใชจ้ ่ายในครอบครัว เรอื่ งลกู เรอื่ งกนิ คา่ น้ำคา่ ไฟ รายได้
300 ไมพ่ อ ชว่ งโควดิ ตอ้ งถูกจำกดั เวลา ไมส่ ามารถทำงานกลางคืนได้ ถ้าไมม่ ีโครงการน้ีกไ็ ม่รูจ้ ะทำ

ยังไง เพราะมีแตร่ ายจ่าย เปน็ แรงงานคนเดียวในบ้าน”
[จอง อายุ 53 ปี ขอนแก่น อาชีพ ก่อสร้างและเกษตรกร]

“เมือ่ ก่อนทำก่อสรา้ งหยุดก่อสรา้ ง ตอนนี้ตกงาน กลับมาทำไร่ทำนาประมาณ 6 ไร่
ไรม่ ัน 5 ไร่ มลี กู ชายคนเลก็ เรียนอยูอ่ าชวี ะ เช่าบา้ นอยู่ มีคา่ ใชจ้ า่ ยลกู ค่าเชา่ บา้ น ค่าใช้จา่ ย

ลกู คนโตเป็นผหู้ ญงิ แต่งงานมีครอบครัวแล้ว”
[ออ้ ย อายุ 50 ปี ขอนแก่น อาชพี เกษตรกร]

“สว่ นตวั ไมไ่ ดม้ ีภาระอะไรมากมายมีแตด่ ูแลพอ่ คา่ บา้ น และชว่ ยเหลือน้องสาวบา้ งในบางคร้งั ”
[วิทย์ อายุ 55 ปี เชยี งใหม่ อาชพี ดีเจ และทำธรุ กจิ ขายเสอ้ื ผ้า]

“ตุ้ม เปน็ คนสนั กำแพง ลกู คา้ ส่วนใหญ่เป็นลกู คา้ สิงคโปร์ อนิ โดนเี ซีย ที่บรษิ ทั จา่ ยเตม็
เราเป็นผบู้ รหิ าร ภาระเหลือลกู ชายเรียนทีจ่ ฬุ าฯ ปีสุดท้ายแล้ว สว่ นลกู สาวทำงานแล้ว และเราก็

ผ่านวกิ ฤตอิ า่ วเปอรเ์ ซียตอนนน้ั 2 เดือน แปบ๊ เดยี ว แต่โควิดน่ีมันนานตั้งตวั ไม่ทนั ”
[ตมุ้ อายุ 60 ปี เชียงใหม่ อาชีพ ธรุ กิจเกยี่ วกับนำ้ ผงึ้ ]

“มี แตว่ า่ มแี คไ่ ดท้ ำไดใ้ ชจ้ า่ ย เพราะวา่ เราต้องผ่อนรถ ตอ้ งมีคา่ ใช้จ่าย ตอ้ งดแู ลลกู ตอ้ ง
เรยี นหนงั สือ มีคา่ ใชจ้ ่ายแตถ่ ึงมันจะเหลือนอ้ ยมนั กไ็ ม่ได้หมดกย็ งั มใี ห้ประคองธรุ กจิ ไปได้

[โอ๋ อายุ 41 ปี ชลบุรี อาชพี พนกั งานตลาด]

127

ความเป็นเมือง
“ตา่ งจังหวดั มันต่างจากในเมอื ง ให้ตา่ งจังหวัดเพราะมนั ดีมาก ๆ เขม้ งวดมาก ๆ ผิดกบั

พัทยา ซ่งึ เป็นเมืองทอ่ งเท่ียว กจ็ ะมีคนกลุ่มหนึง่ เปน็ นกั ทอ่ งเทยี่ วท่ีแอบแฝงอยู่ แลว้ กท็ ำบางสง่ิ
บางอยา่ งทมี่ ั่วสมุ อยู่ สำหรับตวั เมืองพทั ยาเขาก็เขม้ งวดนะ มองตวั เองเป็นแหล่งเช้ือโรคทด่ี ที ส่ี ดุ
แลว้ ต้องเดนิ ทางไป ๆ มา ๆ ฉะเชิงเทรา พทั ยา ปราจีนบุรี กรงุ เทพ แต่เราก็ตอ้ งเซฟให้ดีทีส่ ุด เลย

ให้คะแนนสำหรบั ตา่ งจังหวดั เพราะเขาเข้มงวดกว่าเยอะ”
[ฟรอย อายุ 33 ปี ชลบุรี อาชีพ ทปี่ รึกษาคลนิ กิ เสรมิ ความงาม)

ผลกระทบของ COVID-19 ต่อหนี้สิน พบว่า ทำให้ลำบากมากข้ึนเพราะหนี้สินที่มีเกิดขึ้น
กอ่ นชว่ ง COVID-19 ชว่ งทีก่ ำลงั มีรายได้ ตัวอยา่ งเชน่

“น้อง เหมอื นกัน ลูกค้าไมค่ อ่ ยมีสตางค์ กก็ ารแตง่ งานกไ็ มค่ อ่ ยมี เงนิ ทองกเ็ ขียม เป้ินกจ็ ะ
ไมค่ ่อยมพี ธิ ไี มค่ ่อยจัดงานแตง่ งาน แตข่ องเขามีอยู่แล้ว จดั งานมอี ีเว้นท์ด้วย แตก่ ็ตอ้ งมที ีมงานของ
เฮา รา้ นเน้ีย ตอนแรกก็เช่าเปิ้น ตอนน้กี ็ไปผ่อน รายได้เฮาบม่ ี กพ็ ยายาม มันก็เหนือ่ ยไมม่ ีรายได้
เขา้ มา แตร่ ายจา่ ยก็ยังวา่ นะ มีพ่อมีแมส่ ่วนใหญจ่ ะมลี กู นอ้ งต้องดูแล ดูแลพอ่ แม่ อนั นก้ี เ็ หลือแม่
คนหน่ึง กับขา้ วกบั ปลา ตอ้ งส่ง คนในเมอื งเขาจะฟิค แม่เฮาจะตอ้ งแกงอันนี้ ตอ้ งมสี องอย่าง ตอ้ ง

มนี ้ำพรกิ จะมหี ลานนอ้ ยเขาจะอยคู่ นเดยี วไมไ่ ด้ ต้องมีลูกน้อง ตอ้ งทำรา้ นอาหารตอ่ ไปเพอ่ื ที่จะ
แบบไมใ่ หแ้ กเหงา แบบอยโู่ ดดเดี่ยว บางทกี แ็ บบทำอันน้ีให้กนิ หนอ่ ย เรากจ็ ะใหแ้ กมกี จิ กรรมทำ

เด๋ียวมีอันน้ีมานะแมท่ ำอันนี้ใหห้ นอ่ ย สอนเด็กๆ หนอ่ ย เรากจ็ ะหลอกล่อแก ใหแ้ กมคี วามสขุ
เดยี๋ วลกู นอ้ งมาดแู ลนะ”

[น้อง อายุ 53 ปี เชยี งใหม่ อาชพี ธรุ กิจชุดแต่งงาน]
“ปัจจุบนั น้ผี อ่ นบา้ นเดอื นละ หมืน่ สาม ผ่อนรถเหลอื ประมาณสักแสนหนึ่ง แล้วกต็ อนน้ี
ลกู บ่าวเขา้ มหาลยั แมโ่ จ้ โดนเทมอแรกไปแลว้ จะ๊ หา้ หมืน่ อนั นี้ลกุ คนโตมสี องคน ตัวเล็กอยู่ป. 6
คนโตเขา้ มหาลยั ปแี รก เป้นิ ได้โควตา้ เสรจ็ แล้ว น้องซอ้ื โนต้ บคุ เปิ้นเรยี นโปรแกรมเมอร์ โน้ตบคุ
สองหมื่น จากสองหมนื่ ห้าเหลือสองหม่นื ค่าเทอมน้องประมาณอกี หมน่ื เจ็ดหมนื่ แปด”

[อญั อายุ 43 ปี เชียงใหม่ อาชีพ ขายประกนั ขายคอลลาเจน]

“เป็นเกษตรกรแบบพอเพียง....ถ้าหนี้เราไม่เยอะก็พออยู่ได้ ถา้ ช่วงนมี้ นั ก็จะยาก เพราะ
เราเป็นหนไ้ี ปแล้ว มหี น้ี 50,000 ของ ธกส. กมู้ าทำบา้ น”
[ตมั้ อายุ 38 ปี ขอนแก่น อาชีพ วา่ งงาน]

128

“หาคนนวดไมไ่ ด้เลย ร้สู ึกคิดวา่ จะตายแลว้ เพราะหน้สี ิน ไหนจะบ้าน ไหนจะรถ ไหนจะ
ลกู หนสี้ ว่ นมากเปน็ บตั รเครดิตค่ะ ประมาณ 5 ใบ รวม ๆ แสนกว่าบาท”

[นอ้ ย อายุ 47 ปี ชลบรุ ี อาชีพ หมอนวดแผนไทย]

มติ ิท่ี 2 สังคมและเศรษฐกจิ

1) เคา้ รางรา้ ยกอ่ น COVID-19

หลากหลายความคิดเห็นวา่ แนวโน้มของเศรษฐกจิ ไม่ดีอยู่แลว้ กอ่ นท่ีจะเกดิ COVID-19 มา
ซ้ำเตมิ เชน่

“ธรุ กจิ พวกนี้ (คลนิ ิกเสรมิ ความงาม) มนั จะโดนตัง้ แตต่ น้ ปีแล้วเพราะว่าเศรษฐกิจไมด่ ี
ความงามมนั ไปกอ่ น รา้ นเหลา้ ร้านเบียร์ ยงั อยู่ได้นะ มีสตางคค์ นกไ็ ปกิน แตพ่ วกความงาม ถ้า
ไมใ่ ชพ่ วกพนักงานราชการ หรอื วา่ คนมเี งินจรงิ ๆ นา่ จะทางเดยี วกนั จะรู้อยู่ ธรุ กจิ ใกล้กัน พอโดน
โควิดปบุ๊ อันน้ีคือตดั คอื ตายเลย เพราะโดนติดตอ่ จากรา้ นเหลา้ เลย โดนปิดจ่อไปเลย สามเดือน”

[แหวว อายุ 38 ปี เชยี งใหม่ อาชีพ พนักงานคลนิ กิ เสริมความงาม]

“เศรษฐกจิ นมี้ นั มาก่อนที่จะมโี ควดิ แลว้ คะ่ อาจารย์”

[หวาน อายุ 41 ปี เชยี งใหม่ อาชีพ เจา้ ของธุรกจิ รถมอื สอง]

2) COVID-19 สองข้วั

นอกจาก COVID-19 จะมีทั้งด้านมืด เช่น การฉวยโอกาส การให้การช่วยเหลือ
แบบเลือกที่รัก แต่ในขณะเดยี วกัน COVID-19 นำมาซึ่งที่สว่าง เช่น การเห็นใจกนั การช่วยเหลือซึ่งกันและ
กนั และการไถ่ถามสารทุกข์สกุ ดบิ ตวั อยา่ งเชน่

2.1) ด้านมืด (Dark) COVID-19 ทำให้นักเรียนไม่สามารถไปโรงเรียนได้ โดยจะต้อง
เรียนออนไลน์ทำให้เด็กเรียนออนไลน์ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การลัก
ขโมย ปญั หายาเสพตดิ ค่าใช้จา่ ยเพิม่ ข้นึ การฉกฉวยโอกาส และการพนัน ตัวอยา่ งเชน่

“เศรษฐกจิ ถดถอย สงั คมเดือดรอ้ นไปไหนมาไหนลำบาก สังคมไร้ญาตขิ าดมิตร จดั งาน
พบปะอะไรไม่สะดวก วฒั นธรรมการรวมตวั ต่างๆ เปลี่ยนแปลง งานไหนงดได้ก็งด”

[โกตี๋ อายุ 63 ปี สงขลา อาชพี ประธานชมุ ชน ขายผกั ]

“ยาเสพตดิ เพ่ิมขน้ึ เพราะเด็กว่างข้ึนอยากรู้อยากลอง คนตกงาน”

[จา๋ อายุ 42 ปี ขอนแกน่
อาชพี ครูผ้ชู ว่ ยสอนอนบุ าล อสม. เกษตรกร
โกตี๋ อายุ 63 ปี สงขลา อาชีพ ประธานชมุ ชน ขายผกั ]

129

“นำ้ กระท่อมมาแรงสุด ในชุมชน เด็กวัยร่นุ ในหมบู่ ้านไมเ่ สพยาบา้ กินนำ้ กระทอ่ ม
เด็กทำเอง ซ้อื ใบมาต้มเอง เยอะมาก”

[บอม อายุ 34 ปี ชลบรุ ี อาชพี ค้าขายอาหารทะเล]

“อยแู่ ต่ในบ้านไปไหนไมไ่ ด้ ค่าไฟขน้ึ ขอ้ ดีคอื น้ำมันลด ขอ้ เสียคอื คา่ ไฟขึ้น บอกให้หยุดอยูบ่ ้าน
อยูบ่ ้านใชไ้ ฟแตไ่ ฟขึ้นแล้วกบ็ อกวา่ นำ้ ไฟจะไม่มกี ารตัด ไม่จริงนะคะ”
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชีพ อาจารย์พิเศษ เกษตรกร]

การฉวยโอกาสข้ึนราคาแมสก์ และเจล
“การเหน็ แก่ตวั ฉวยโอกาส ต้องซื้อแมสกก์ ล่องละ 800 เลย”

[ตั้งโอ๋ อายุ 29 ปี ขอนแก่น อาชีพ ผู้ช่วยแพทย์คลินกิ ศัลยกรรม]

“บางกลุม่ บางแหล่งมีความเห็นแกต่ ัว เชน่ ขายหนา้ กาก เจลเกนิ ราคา การแจกของก็พา
กันมารบั ของทั้งครอบครัวไม่แบง่ คนอน่ื ”

[แยม อายุ 26 ปี ชลบรุ ี อาชพี ขายของออนไลน์]

การพนนั
“เวลาวา่ งเยอะ ไม่รจู้ ะเอาเงินจากไหน เยอะ เวลาว่างเยอะ สงสยั อยู่ว่าเอาเงนิ มาจากไหน

ได้กฉ็ ลอง บาคารา่ กบั สล็อต”
[บอม อายุ 34 ปี ชลบุรี อาชีพ ค้าขายอาหารทะเล]
“โต๊ะบอล พนนั ออนไลน์ พื้นฐานแนน่ กวาดลา้ งเท่าไหร่กไ็ ม่มีวันหมด เตมิ ตังค์ 300 บาท
ใหย้ อด 600 บาท เรายังอยากลองปั่นเหมอื นกนั แหละ”
[บอม อายุ 34 ปี ชลบรุ ี อาชีพ คา้ ขายอาหารทะเล)

2.2) ด้านสว่าง (Bright) ส่งผลต่อการร่วมแรงร่วมใจ การแสดงน้ำใจ อุบัติเหตุลดลง
ราคานำ้ มันลด และธรรมชาติฟ้นื ฟู เชน่

“คนรวยทมี่ นี ำ้ ใจช่วยเหลือเพ่ือนมนษุ ยท์ ี่เดอื ดร้อน คนไทยทุกคนมีนำ้ ใจตอ่ กัน เหน็ ใจกัน
เชน่ แนะนำหลาย ๆ อย่าง ลูท่ าง เพอ่ื ตอ่ สู้ มาให้กำลงั ใจ”
[ขมิ อายุ 46 ปี ขอนแกน่ อาชีพ วา่ งงาน]

130

“เกิดการชว่ ยเหลอื เก้ือกลู กันในสงั คม มนี ้ำใจ รจู้ กั แบ่งปัน”
[มะหน่อย อายุ 55 ปี เชียงใหม่ อาชีพ นักข่าว]

“คนไทยรกั กนั คนไทยเข้มแขง็ และความมนี ้ำใจมากขนึ้ พลังลบ คอื ความเห็นแกต่ ัว
มากขึ้นในสงั คม”

[นิ อายุ 34 ปี ชลบรุ ี อาชพี แม่บ้านทำความสะอาด]

“อาจารย์คะในช่วงโควิดน้ำมนั ถูก”
[หวาน อายุ 41 ปี เชยี งใหม่ อาชีพ เจา้ ของธุรกิจมอื สอง]

“ช่วงทม่ี ีโควดิ นะ ลดการมอี บุ ตั เิ หตุ ลดคนตายลดดมี าก ไม่มีรถเลย”
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชีพ อาจารย์พิเศษ เกษตรกร]

การมองโลกในแงด่ ี
“อารมณ์ดี คนไทยเปน็ คนอารมณ์ดี คนทเี่ ศร้าก็มี แตค่ นจำนวนมากยงั อารมณ์ดี พอเจอ
เรอื่ งเครยี ดแค่ไหน เราก็จะเจออีกมมุ หนง่ึ ท่ีทำใหเ้ ป็นเรื่องตลกได้”
[โจ้ อายุ 32 ปี ชลบุรี อาชพี พนกั งานบริษัทเอกชน]

การฟ้นื ตวั ของธรรมชาติ
“เปน็ ข้อดี โลกสงบ ธรรมชาตมิ ันคนื มา มองจรงิ ๆ เลย เพราะมันเห็นภาพเลย ทบ่ี ้านทำ
ไร่อ้อยเยอะมาก ทำนาอกี ดว้ ย ปีทแ่ี ลว้ อ้อยกับข้าวผลผลิตไมไ่ ด้ตามที่ต้องการ ทัง้ อ้อยทั้งข้าวขาด
น้ำ แต่ว่าปีน้รี สู้ กึ วา่ ฝนมาน้ำเยอะ อ้อยไดน้ ้ำ ทุกอย่างดี ทำให้ร้สู กึ วา่ โลกมันดีข้นึ ทุกคนอาจ

จะได้รบั ผลกระทบ แตธ่ รรมชาตมิ นั คืนไงคะ อุตสาหกรรมหยุดธรรมชาตฟิ ื้นตวั ทำให้
ระบบนิเวศมนั กลับมาเปน็ เหมอื นเดมิ คอื ไมเ่ คยเห็นฝนตกแรก ๆ มานานมาก พอโควดิ มา

แลว้ รูส้ กึ อศั จรรย์ รูส้ ึกดี ทุกคนไดร้ ับผลกระทบ แตธ่ รรมชาตโิ ดยรวมมันกลับมา
ซง่ึ มนั ดกี ับคนทำเกษตรมาก นี่คือขอ้ ดีที่เห็นอยา่ งชัดเจนมาก”
[แปป๊ อายุ 27 ปี เชยี งใหม่ อาชีพ ธุรกิจปัม๊ น้ำมัน]

131

3) คนที่คนนึกถึง ในช่วงที่เกิดโรค COVID-19 ระบาด ได้แก่ ในหลวงรัชกาลท่ี 9
นายกรัฐมนตรี คนในครอบครวั และบุคคลทม่ี ชี ่อื เสียง

3.1) พระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร บคุ คลทน่ี กึ ถึง
มากที่สุดในชว่ งการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา คอื พระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรม
นาถบพิตรเพราะวา่ นำคำสอนของทา่ นมาใช้ในการดำเนนิ ชีวิต เชน่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

“ในหลวง รชั กาลที่ 9 เพราะ ทุกแนวทาง ทกุ คำสอนท่พี ระองคท์ รงใหไ้ ว้ สามารถนำมาใช้
ในชีวติ ประจำวันในช่วงโควดิ ได้ อยทู่ ตี่ ัวเราจะนำมาใช้ไหม ประยุกต์ใชใ้ ห้เหมาะสมอยา่ งไร เชน่

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง เปน็ ตน้ ”
[มะหน่อย อายุ 55 ปี เชียงใหม่ อาชีพ นกั ขา่ ว]

“ผชู้ ายท่นี กึ ถงึ มากทสี่ ดุ คอื พ่อหลวง ร.9 เพราะอะไรรไู้ หมคะ พอมันเกดิ วิกฤติแล้วมนั มี
ความรสู้ ึกวา่ นแี่ หละ่ คนถงึ ตอ้ งใช้เศรษฐกิจพอเพยี ง เพราะว่าปัจจยั สีเ่ ท่านน้ั ท่ีใช้ในการดำรงชวี ิต

ทุกอยา่ งมนั เป็นสงิ่ ปลอมหมด”
[จุ๋ม อายุ 45 ปี สงขลา อาชพี ขายอาหารตามส่ัง ทำสวนยาง]

“จะนกึ ถึงใคร นึกถึงพ่อหลวง ร. 9 อย่รู อดหมด เพราะวา่ จะอยู่ไดแ้ ละทฤษฎนี ีค้ นใช้กนั
ทัว่ โลก ทั่วโลกยอมรับ คงิ ออฟเดอะคิง ดว้ ยทฤษฎีเศรษฐกจิ พอเพียง อยู่ไดจ้ ริงๆ เพราะฉะนัน้
พลอยถึงทำนาเอง ขายเอง ปลูกเอง กนิ เอง แล้วกท็ กุ อย่าง แมแ้ ตผ่ ลิตปุ๋ย ผลติ ปยุ๋ เอง ในช่วงโควิด
ทำเอง เดมิ ทำใชเ้ อง แตใ่ นช่วงโควดิ ทำขายจากวกิ ฤติเปน็ โอกาส แลว้ กไ็ ดร้ บั เชิญเปน็ วิทยากร

ใหก้ ับเทศบาลเรื่องการผลติ ปุ๋ย”
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชพี อาจารย์พเิ ศษและเกษตรกร]

“นกึ ถึงในหลวงร.9 ทา่ นอย่คู งช่วยแกป้ ญั หา”
[เมย์ อายุ 25 ปี สงขลา อาชีพ พนักงานโรงงานอาหารแชแ่ ข็ง]

“พระเจ้าอยู่หัว ร.9 (โจก๊ ไมอ่ อกชือ่ มากระซิบทหี ลงั ) ถ้าอย่ทู า่ นจะชว่ ยไดม้ าก”
[โจ๊ก อายุ 41 ปี สงขลา อาชพี รบั ตดิ ตั้งกล้องวงจรปดิ ]

132

3.2) นายกรฐั มนตรี โดยคนที่นึกถึงนายกรฐั มนตรีนัน้ ส่วนใหญ่จะนึกถึงในแงข่ องผทู้ ี่มี
หนา้ ทร่ี ับผดิ ชอบโดยตรงเกีย่ วกบั ปญั หา COVID-19

3.3) คนในครอบครัว (พ่อแม่-ลูก) สำหรับผู้ท่ีนึกถึงครอบครัวเนื่องมาจากความเป็น
หว่ งบุคคลในครอบครัว เชน่ พ่อแมท่ ีแ่ กช่ รา และลูกๆ หลานๆ

“ตอนทแ่ี ม่รูว้ า่ เราตกงาน เคา้ คิดว่าเราจะอยไู่ ดไ้ หม มเี งนิ ไหม แล้วเขากโ็ อนมาให้ ท้งั ๆ
ที่ไมไ่ ด้ขอเคา้ เลย ซงึ่ เค้ารูว้ า่ เราไมม่ ีรายไดเ้ ลย เลยรสู้ ึกวา่ คนในครอบครวั กแ็ มน่ ่แี หละ ณ เวลาที่

มนั เกิดวิกฤติแบบน”้ี
[แยม อายุ 26 ปี ชลบุรี อาชพี ขายของออนไลน]์

“แม่ผมอยคู่ นเดยี ว เพราะวา่ ตอนนน้ั ผมอยู่บางปะกง ทำงานท่ีโรงงานก็เชา่ หออยู่ขา้ ง
โรงงาน แม่ทำงานบรกิ าร”

[อาท อายุ 30 ปี ชลบุรี อาชพี ขายของออนไลน]์

3.4) บคุ คลทีม่ ชี อ่ื เสียงในการชว่ ยเหลอื สงั คม
“บิณฑ์ เขาเขา้ ถงึ คนเดือดรอ้ นจรงิ ๆ ล่าสุดเห็นนักรอ้ งดัง เสรี เขาเขา้ มาเจอ ชีวิตเปล่ียน
เลย ถามวา่ ถา้ มหี น่วยงานแบบน้ขี องรฐั บาลเปน็ แบบนบี้ ้างจะดขี นาดไหน ทำไมพี่ตูนตอ้ งไปวิ่งเพื่อ

เอาเงนิ ไปโรงบาล รฐั บาลไปไหน และหน่วยงานท่ใี หค้ อื ชมุ ชนในหมบู่ ้าน”
[โรจน์ อายุ 48 ปี ชลบุรี อาชีพ คา้ ขายอาหารตามสง่ั ]

4) บรบิ ททางสังคมไทย (Thai social context)
4.1) ทนุ ทางสังคม (Social capital)
4.1.1) เสน่ห์บา้ นนอก บ้านนอกไดร้ บั ผลกระทบน้อยกว่าในเมือง
“ผมทำงานที่เดิมรายไดโ้ ดยรวมบางเดอื นเกือบหกหลัก แตพ่ อมาอยทู่ บ่ี า้ นเหลือหา้ หลัก

ต้นๆ ผมคดิ ว่ามนั อยูไ่ ดเ้ พราะวา่ คา่ ความสุขมนั เพ่มิ ขน้ึ แต่ก่อนตอ้ งตนื่ ตหี ้าครง่ึ ขับรถไปทำงานบ้าง
นงั่ รถไฟใตด้ นิ มาทำงานบา้ ง เบียดเสยี ด ตอนน้ันมันคือชีวิตทีป่ กติ เรากไ็ มไ่ ดม้ คี วามรสู้ กึ ว่ามัน

ลำบากหรอื ไม่ลำบากอย่างไร ในชวี ติ ในประเทศ กอ็ ยูม่ าต้งั แต่มหาวทิ ยาลัย กไ็ ด้กลบั มาอยบู่ ้านได้
เห็นความเปล่ียนแปลงในหมบู่ ้าน ทุกคนในหมู่บา้ นค่อนข้างท่จี ะให้ความสำคัญกบั เรา จากก่อนท่ี
จะมาเปน็ พนักงานโครงการเหมือนนอ้ งๆ เวลามอี ะไรในหมู่บา้ น เขาก็จะเชญิ ไปประชุม (หมูบ่ ้าน

หินร่อง) เราสามารถตนื่ เชา้ มา ปน่ั จกั รยานไปทุ่งนา งานทไี่ ด้รับมอบหมายก็อยกู่ ับท่งุ นาอยู่กับ
ธรรมชาติ สามารถถือไอแพดหรอื โน้ตบุคไปนัง่ ทีเ่ ถียงนาเหมอื นเปน็ ออฟฟศิ ของผมไดเ้ ลย ตอน

133

เทีย่ งกก็ ลับบ้านตอนเย็นก็มีโอกาสไปเตะบอลที่วดั เหมือนที่เคยเปน็ สมยั มธั ยมประถม เราใชช้ ีวติ
แบบนไ้ี ปประมาณ 3-4 เดอื น เราเลยมคี วามรู้สกึ ว่าอยู่กบั บ้านแบบนม้ี นั กโ็ อเคด”ี
[หนุ่ม อายุ 40 ปี ขอนแกน่ อาชีพ ว่างงาน]

“เรากอ็ ย่ไู รอ่ ยูน่ า ปลกู ผกั กนิ เอง ขา้ วก็มี ไขก่ ไ็ มข่ าด อากาศกด็ ”ี
[พ่อี ้อย อายุ 50 ปี ขอนแก่น อาชีพ เกษตรกร]

“ความผูกพันกบั บา้ นเกดิ ...หลายคนกลบั มาแลว้ ไม่อยากกลับ”
[จ๋มุ อายุ 45 ปี สงขลา อาชีพ ขายอาหารตามสัง่ ทำสวนยาง]

“ตอนที่ว่ามหี ยดุ อาทติ ยน์ ึง 3 วนั ใชไ่ หมคะ กก็ ลับมาช่วยพ่อแม่ทำงานที่บา้ น ที่บา้ นปลูก
ผกั เอง ปลกู สวน ทำสวน ปาลม์ ทำไร่นา เขาก็ไม่ได้เชค็ แต่ละวนั กค็ อื ค่าใชจ้ า่ ยน้อย ท่บี า้ น
เหมอื นไมไ่ ด้เยอะอะไร เหมือนมีบอ่ เล้ยี งปลามผี กั แถวบ้านคอื เหมอื นที่บา้ นน้ันเขาไม่ได้เปน็ ไมไ่ ด้
ซอ้ื ขายเหมอื นที่นี่ ที่บา้ นคือขอกนั แบง่ กัน ที่แถวระโนด ท่ีนี่ตำลึงก็ 5 บาท 10 บาท แตท่ ่นี ้นู ขา้ ง

รว้ั เราไมต่ อ้ งจ่ายตงั ค์ เดด็ ไปเลย ถือวา่ ของเลก็ ๆ นอ้ ย ๆ”
[ปอ้ ม อายุ 46 ปี สงขลา อาชีพ ขายของออนไลน]์

4.1.2) ความอบอ่นุ ของครอบครัว
“อยากอยู่กับพ่อแม่ และครอบครวั ใชช้ วี ิตเรยี บง่าย องค์กรขาดเราแลว้ เขาไปตอ่ ได้ แต่

ครอบครัวขาดเราแลว้ อยู่ไม่ได"้
[หนุ่ม อายุ 40 ปี ขอนแกน่ อาชพี วา่ งงาน]
“เหมอื นกบั ทำใหม้ เี วลาอยูก่ ับครอบครวั มากขึ้น เพราะว่าบางคนทำเยอะ … เราก็
ทำอาหารของเรากินเอง กินรอ้ นช้อนเรา ซ้อื ของสดมาแลว้ ก็มาทำกนิ กนั ทำให้เรามีเวลาให้กัน
แลว้ ก็ ไมก่ ลา้ ไปซ้ือกนิ ก็ตอ้ งมาทำเกบ็ เอง แล้วก็เหมอื นพท่ี ที่ ำงานกค็ ือ ลูกกอ็ ยู่บ้าน แลว้ กจ็ ะสง่
การบา้ นออนไลนใ์ ชไ่ หม เขากจ็ ะไดม้ ีเวลาสอนการบา้ น แลว้ กอ็ ยู่กับลูกมากขึ้น”
[ป้อม อายุ 27 ปี สงขลา อาชพี ทำงานโรงงานผลติ อาหารแช่แขง็ ]

134

4.1.3) ชาวบ้านเป็นคนมีหลายอาชีพถึงจะอยู่รอด ส่วนใหญ่แล้วทุกคนที่ได้พูดคุยด้วย
มีมากกว่าหน่ึงอาชพี เช่น

"งานบางตัวหยุด แตเ่ ราปรับของเรา ซ้อื โฆษณาเฟสบ๊กุ แฟนเป็นคนจดั การ ช่างตา่ งพ้ืนที่มา
ไมไ่ ด้ ก็เลยเปน็ โอกาสของเรา คนหยุดอยู่บ้านไมไ่ ปทำงาน กห็ ันมาดูแลบา้ นกเ็ ลยมงี านเขา้ มาบ้าง"

"พ้ืนทเี่ ล็กนอ้ ยเราเอาหมด ยอมลดกำไรลง เพ่ือให้ไดง้ าน"

“แฟนออกไปทำงาน ตัวเองอยบู่ ้าน รับเพน้ ทก์ ระเปา๋ กระจดู เพื่อนเปิดเพจขายกระเปา๋ ก็
มงี านส่งมาให้ เม่อื ก่อนเคยทำงานเพน้ ท์ไม้ เปน็ งานพวกคันทรี เรามวี ัสดอุ ุปกรณ์อยูแ่ ลว้ วันนเ้ี ปดิ

กล่มุ วนั นกี้ ินไรดี ท่ีระโนด ให้พืน้ ทแ่ี มค่ ้าในระโนด”
[บี อายุ 41 ปี สงขลา อาชีพ อาหารตามส่ัง]

“เปิดรา้ นซอ่ มมอเตอรไ์ ซค์ ทำงานเหล็กเป็นงานเสริม กอ่ นหนา้ นี้ตอ่ ซาเลง้ ชว่ งโควิดตอ่
ซาเลง้ เกบ็ ไวก้ ่อน พอเงนิ รฐั บาลมามีคนมาซอ้ื ซาเล้ง ราคาเรมิ่ ตน้ 6,500 บาท จนถงึ 26,000 บาท
ผลติ 4 วนั ตอ่ คนั กำไรคันละ 10,000 บาท ไมก่ ระทบมากถา้ เราไมม่ หี นี้ แตเ่ รายงั มรี ถ บา้ น มีลูก

1 คน มเี มยี 2 คน แตเ่ มยี ลา่ สดุ ไม่มีลกู และมีทำผักสลัดกลมุ่ เดียวกบั พโ่ี ก๊ะต๋ี ตี 5 วิ่งวินตอนเช้า
กอ่ นจะมาปลกู ผัก”

[บา่ ว อายุ 44 ปี สงขลา อาชพี เปดิ ร้านซอ่ มรถจักรยานยนต์ ผลติ ซาเล้ง]

“ปลูกผกั ครูสอนพิเศษ เกษตรกรอนิ ทรยี ”์
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชพี อาจารย์พเิ ศษ และเกษตรกร]

“ขายแอมเวย์ เกษตรกรอนิ ทรยี ์”
[บุ๋ม อายุ 40 ปี สงขลา อาชพี ขายแอมเวย์ และเกษตรกร]

“นอกจากขายอาหารแลว้ ก็ยงั ทำงานจิตอาสา อพปร. ครูพเ่ี ลยี้ งศูนยเ์ ด็กเลก็ และอสม.”
[จา๋ อายุ 42 ปี ขอนแก่น อาชพี ครูผ้ชู ่วยสอนอนบุ าล อสม. เกษตรกร]

“คาบาเร่ ตอนนีก้ ท็ ำพารท์ ไทมใ์ นหา้ ง ไปยนื ขายของ และก็มีรับจอ็ บงานนอกโชว์บา้ ง”
[แอน อายุ 30 ปี ชลบรุ ี อาชพี งานพารท์ ไทม]์

135

“อยโู่ รงละคร ดีลกั ด์ คานสโ์ ชว์ แลว้ กม็ ีงานกลางคืนก็โชวท์ ่ผี บั เตน้ โชว์ผ่านเว็บแชทของจนี ดว้ ย”
[พัฒน์ อายุ 32 ปี ชลบุรี อาชพี หัวหนา้ กลมุ่ แสดงโชว์]

“หนมู ี 3 อาชีพ กค็ อื นางโชว์ เปน็ เด็กเสริ ฟ์ และกเ็ ปน็ มามา่ ซังด้วย คอื เชียร์เด็ก นัง่ คุย
นั่งเล่น ร้านเป็นบารโ์ ฮทผูช้ าย กจ็ ะดสู ่งคนให้ลกู คา้ คนไหนชอบคนไหนประมาณน้ี แลว้ กก็ ินเหลา้

ให้เก่งดว้ ย มีไลฟ์สดของจนี ไดเ้ งินด้วย ตั้งกลอ้ งเปน็ เวลา”
[จู อายุ 26 ปี ชลบรุ ี อาชพี วา่ งงาน]

4.1.4) คนชนบทส่วนใหญ่มีที่ทำกิน เช่น อีสานทำอาชีพอะไรๆ ก็จะยังมีนาทำ
ภาคใต้มีสวนยาง ทั้งที่ทำนาขาดทุนตลอด แต่วัฒนธรรมคือ ไม่ได้ซื้อข้าวกิน ซึ่งคนที่มาจากครอบครัว
เกษตรแล้ว Proletariate ตัวเอง กลับมาหาทุนเดิม เช่น กรีดยาง ทำไร่ ทำนา ทำสวน คนอยากหาความ
มั่นคง การพึ่งพากลไกตลาดอย่าง extreme (ทุกอย่างต้องซื้อ) ของสังคมเมือง ทำให้ทุนทางสังคมเข้ามา
ช่วยได้น้อยลงเมื่อเกดิ วกิ ฤติ แต่ทุนทางสังคมในชนบทยงั อนุเคราะห์เกอ้ื กูลกันได้ ไม่พ่งึ กลไกตลาดเกินไป

“ณ ตอนนยี้ ังอย่ทู นี่ ่ีอยู่ แตว่ า่ ถา้ มันยังไม่ดีขนึ้ ตอ่ ไป ๆ แล้วมันพัง ก็คือ ก็ต้องกลับ
เพราะวา่ ทบ่ี า้ น ทำไรอ่ อ้ ย ไรม่ นั สัมปะหลงั และนาขา้ วดว้ ย”
[หวาน อายุ 35 ปี ชลบรุ ี อาชีพ พนักงานร้านอาหาร]

“เมอ่ื กอ่ นทำกอ่ สร้างหยดุ กอ่ สร้าง ตอนนีต้ กงาน กลบั มาทำไรท่ ำนาประมาณ 6 ไร่ ไรม่ นั 5 ไร”่
[ออ้ ย อายุ 50 ปี ขอนแกน่ อาชพี เกษตรกร]

“กต็ อนแรกกลบั มากม็ าทำสวน คือ เขียนใบลาออกก็คือมาใหท้ ำสวนยางมาตลอด”
[ชน อายุ 62 ปี สงขลา อาชพี เกษตรกร เกษียณอาย]ุ

4.1.5) เครือข่ายทางสังคมในชุมชน (Local social network) ประเด็นนี้สำคัญต่อ
การสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะเมื่อไปมาข้ามจังหวัดลำบาก แม้จะมีข้อจำกัดเร่ือง market size แต่
อยา่ งน้อยพอทำใหไ้ ปต่อได้ในระดบั หนงึ่

“พอทำแกงเสร็จกไ็ ลนบ์ อกว่าวนั นมี้ แี กงอะไรบ้าง..ถามว่ามันมเี พือ่ นเยอะๆ สห่ี า้ คนก็
นอ้ งเอาแกงอะไรน้องสองถุงคนน้ันเอาสามถงุ หา้ ถงุ พ่ปี ูก็ไปส่ง”
[ปู อายุ 53 ปี สงขลา อาชีพ ขายขา้ วแกง]
136

“อยู่บา้ นเหมอื นแฟนออกไปทำงานก็รบั งานเพน้ ท์กระเป๋าคนอ่นื อะคะ่ แลว้ มันก็มีราคาตั้ง
เพราะวา่ เพ่อื นเปิดเพจขายกระเป๋าอยู่ มันก็สง่ งานมาใหพ้ อชว่ งโควดิ มนั ก็มีซา ๆ ลงแตก่ ็มกี ลมุ่ ที่วา่

อยากช่วย กเ็ ลยสั่ง สั่งเพราะเราเพ้นท์ให้ มันกม็ ี”
[บี อายุ 41 ปี สงขลา อาชีพ อาหารตามสั่ง]

“ย้ายรา้ นมาทีใ่ หมท่ ี่เปน็ ตกึ แถวเนย้ี ผมก็แชร์กับเพ่ือน เพอ่ื นเจ๊ง มาหลายอยา่ ง กว๋ ยเตี๋ยว
กเ็ จง๊ มาขายขนมจีนก็เจง๊ น้ำกเ็ จง๊ ผมเลยมารวมกนั เลย อยดู่ ว้ ยกัน คนไหนเจ๊งเรามาชว่ ยกัน”

[ไช้ อายุ 33 ปี เชียงใหม่ อาชีพ ธุรกิจรา้ นพซิ ซา่ ]

“เราเริ่มเกบ็ ผลผลติ ในสวนไดแ้ ลว้ กม็ าทำนนู่ ทำน่ี ขายเพ่ือนดว้ ยนะ”
[มะหนอ่ ย อายุ 55 ปี เชยี งใหม่ อาชพี นกั ข่าว]

4.1.6) ความรว่ มมอื ในทอ้ งถนิ่
“ชนบทเอาจรงิ เอาจงั มาก คนในหมู่บา้ นถกู เกณฑ์เขา้ เวรเคอร์ฟวิ จุดคัดกรองช่วงโควดิ

อสม. เขา้ กลางวัน ไดค้ า่ ตอบแทนตำบลละ 3 เดือน 15,000”
[จิ อายุ 40 ปี สงขลา อาชีพ ผ้ชู ว่ ยผใู้ หญบ่ ้าน ทำสวนยาง]

“หมู่บ้าน ประชาชนและผนู้ ำในหมบู่ า้ นให้ความช่วยเหลอื ลูกบ้านไดด้ มี าก ผู้นำถ้ารู้วา่
ครอบครัวไหนไมม่ ี เขาก็จะไปถงึ บา้ น เอาของไปแจก ใครไมม่ ีเขาก็จะใหเ้ ยอะหน่อย ใครพอมีกนิ มี

ใชก้ ใ็ หต้ ามจำนวนทีว่ างไว้”
[โรจน์ อายุ 48 ปี ชลบุรี อาชพี ขายอาหารตามสง่ั ]
“มองตรงกรงุ เทพฯ ล็อกดาวน์เมืองและคนท่ีอยู่กรุงเทพฯ กท็ ยอยกลับภมู ลิ ำเนา ตรงนั้น
ถา้ มีใครสกั คนมเี ชอื้ แล้วกลับไปบ้านก็คอื ทัง้ ประเทศแน่ ๆ แตเ่ ราเห็นการเคล่อื นไหว ความตื่นตัว
ของ อสม. หรอื สาธารณสุข ในชุมชนทกุ คนจะรู้หมดเลยว่าลูกบ้านคนนีก้ ลบั มา ตอ้ งกกั ตัวต้องอยู่
บา้ น เราได้เหน็ ตามเฟสบ๊กุ ตามข่าว บางคนแอบกลับเขาก็ยังรู้ซ่ึงมองว่ามันคอื ความเข้มแขง็ ของ

ชุมชน”
[โจ้ อายุ 32 ปี ชลบรุ ี อาชีพปัจจบุ นั พนักงานบรษิ ัทเอกชน]

137

4.1.7) จิตอาสา และการช่วยเหลือกนั เป็น Self-esteem วัฒนธรรม และความรู้สึกถึง
คณุ คา่ ตัวเองของคนชนบท

“เราไม่มเี งนิ มากพอท่ีพอเหน็ คนอ่นื เดอื ดร้อนแลว้ ไม่สามารถไปชว่ ยเหลอื ได้ แตเ่ ราไมไ่ ดม้ เี งนิ มาก”
[เดยี ว อายุ 39 ปี ชลบุรี อาชพี ว่างงาน]

“มีการรวมกลมุ่ ทำแมสก์ จิตอาสา ใครไปไมไ่ ด้กช็ ว่ ยเงนิ ”
[พลอย อายุ 45 ปี สงขลา อาชีพ อาจารย์พิเศษ และเกษตรกร]

“ไม่อยากไดร้ บั ความช่วยเหลือ..อยากชว่ ยคนอ่ืนมากกวา่ ”
[หมาย อายุ 52 ปี สงขลา อาชพี ขับรถรบั -ส่งผู้ปว่ ย]

“ตัวเองกไ็ ด้รบั ผลกระทบแต่กท็ ำขา้ วกลอ่ ง แจกร่วมกบั ร้านอาหารอนื่ ๆ”
[จุ๋ม อายุ 45 ปี สงขลา อาชีพ ขายอาหารตามส่งั ทำสวนยาง]

“คนไทยมีน้ำใจกนั อยา่ งช่วงทีม่ โี ควดิ ระบาดนะ บา้ นหนบู างคนทเ่ี ขามนี ะ เขาไดห้ ้าพันเขา
เอามาทำกับขา้ วแจกชาวบา้ นเลีย้ งทั่วหมู่บ้านเลยจริงนะหนูเห็น อย่างหนเู นยี้ เปน็ แมห่ ลวงใช่ป่ะ

ไดม้ าเราก็เอ็นดูนะบางคนทเี่ ขาทกุ ข์จริง ๆ ก็มนี ะอาจารย์ แตว่ า่ เขาไมไ่ ปทำงานชว่ ยกันอะค่ะ
ช่วยกันทำอาหารใสร่ ถไล่แจก”

[ก้ัง อายุ 40 ปี เชียงใหม่ อาชพี รบั เหมากอ่ สร้าง]

4.2) Social liability
4.2.1) การฉวยโอกาส เช่น การขึ้นราคาขายหน้ากากอนามัย การขึ้นราคาขายเจล

แอลกอฮอลล์ า้ งมอื
4.2.2) การไมใ่ ห้ความร่วมมอื
“ขาดความร่วมมือ”
[แคท อายุ 35 ปี สงขลา อาชพี รับจา้ งขายของ]

138

4.2.3) มิจฉาชีพ
“มจิ ฉาชพี มาตามถนน เปน็ คนจากนอกพนื้ ท่ี เหมอื นยาเสพติดมาตามถนน”
[บงั หนวด อายุ 61 ปี สงขลา อาชพี ผูร้ ับเหมา

“พอเกิดโควดิ ทำใหค้ นวา่ งงาน ทำให้มขี โมยมากข้ึน ไม่มขี โมยแบบ...ร้สู กึ ใกล้ ๆ ตัว
เพราะวา่ ขา้ งบ้านกม็ ีโจรขึ้นด้วย”

[แพน อายุ 18 ปี สงขลา อาชพี ชา่ งทาสี ซ่อมแอร์]

“กลุ่มท่ีไมม่ งี านทำ ก็มคี วามกดดันในเรื่องของเศรษฐกิจและการเงิน ก็มีทัง้ เปลีย่ นแปลง
พฤตกิ รรมเป็นโจร ลักเล็กขโมยน้อย เพอ่ื ที่จะเอาเงนิ มาเลีย้ งครอบครวั
เกดิ มิจฉาชีพเยอะขึน้ ”
[ปอ้ ม อายุ 46 ปี สงขลา อาชีพ ขายของออนไลน]์

4.2.4) การพนัน
“เวลาวา่ งเยอะ ไม่รจู้ ะเอาเงินจากไหน สงสยั อย่วู า่ เอาเงนิ มาจากไหน ไดก้ ็ฉลอง บาคาร่ากบั สลอ็ ต”

[บอม อายุ 34 ปี ชลบุรี อาชพี คา้ ขายอาหารทะเล]

“โต๊ะบอล พนนั ออนไลน์ พ้นื ฐานแน่น กวาดลา้ งเทา่ ไหรก่ ็ไมม่ ีวันหมด เตมิ ตงั ค์ 300
บาทใหย้ อด 600 บาท เรายังอยากลองป่ันเหมอื นกันแหละ”
[บอม อายุ 34 ปี ชลบุรี อาชพี ค้าขายอาหารทะเล]

“ตอนเนี้ยยงิ่ เศรษฐกจิ ไมด่ อี ่ะคนกย็ งิ่ วิง่ เลน่ การพนนั ”
[หวาน อายุ 41 ปี เชยี งใหม่ อาชพี เจ้าของธรุ กิจรถมอื สอง]

139

มติ ทิ ี่ 3 รฐั บาลกบั การปัญหา COVID-19 ในมุมมองของประชาชน

การแก้ปัญหา COVID-19 ของรฐั บาลนน้ั ได้มกี ารชว่ ยเหลือแต่ไม่ท่ัวถึง ขั้นตอนการรบั เงนิ มี
ความยากลำบาก คนแก่ทำไม่เป็น การลงทะเบียนสับสน ปิดเมืองช้าเกินไป และประเด็นครอบครัวนักการ
ทูต และทหารอยี ิปตค์ นพูดกันมาก

1) การกระตุ้นเศรษฐกิจไดช้ ่ัวคราว ให้เงินเยยี วยาแลว้ ก็จบไป เงนิ ชว่ ยเหลอื จากรัฐบาลทำ
ให้กระตุ้นแบบกระตุก พอใช้เงินหมดการซื้อขายซบเซา ทำให้หลายคนที่ได้ลงทุนไปตอนได้เงินจากรัฐบาล
ต้องหยุดอกี รอบ

“มีนโยบายชว่ ยเหลือมา ก็ได้เงินชว่ ยเหลอื จากรฐั บาลเร่อื งเงนิ เยยี วยา”

[โก้ อายุ 23 ปี ชลบรุ ี อาชพี ว่างงาน]

“อยา่ งเช่นการแจกเงินหา้ พันบาทต่อเดอื นเนยี้ ในความเป็นจริงหา้ พนั บาทเนยี้ มันไมพ่ อมนั
ไม่พอเน้ียไมไ่ ด้หมายความว่าเราอยากได้เงนิ เยอะอยากได้เงนิ ฟรี ๆ เยอะ ๆ แต่หนูดูแลว้ วา่ หา้ พันบาทเนย้ี

คนท่ไี ด้เงินมาเนย้ี หนงึ่ ไปซอ้ื ของมาขายมาทำอาชพี ใหมป่ รบั ตัวใชไ่ หมคะ มาทำอาชีพใหม่ปรบั ตวั เร่ิมต้น
ใหม่ทำอะไรใหม่ ๆ นะค่ะ หนเู ห็นแล้วคนได้เงนิ ห้าพันบาทว่ิงไปซื้อของในแมค็ โครเพอื่ ทจี่ ะเอามาทำขายหนู
กม็ อง ๆ วา่ ทำไมรฐั บาลไม่เอาโอกาสตรงน้ใี หเ้ ขาไปเลยหมืน่ ห้าสามเดือนหรอื หกเดอื นไปเลย ใหเ้ ขาไปเลย

แล้วคนมนั กจ็ ะพอทีจ่ ะหนึ่งทำอาชพี ใหมส่ องมเี งินจ่ายหนีใ้ ช่ไหมคะ เขาไดห้ ้าพันบาทปุบ๊ แน่นอนเขาตอ้ ง
จา่ ยไฟแนนซ์ใชไ่ หมคะ จ่ายไฟแนนซ์ จ่ายคา่ รถ จา่ ยค่าบา้ นเติมนำ้ มัน”

[หวาน อายุ 41 ปี เชียงใหม่ อาชีพ เจา้ ของธรุ กิจรถมือสอง]

“พี่รสู้ ึกวา่ แบบก็ไมไ่ ดม้ าชว่ ยเราซะทเี ดียวนะคะ การทร่ี ัฐบาลช่วยแบบหา้ พนั ท่จี ่ายให้
เราอะกับรายได้ทีเ่ ราพึงจะไดอ้ ะมนั มากกว่านมี้ ันมากกวา่ นน้ี ะก็เหมือนเอามาจา่ ยคา่ แกส๊ คา่ รถ
โดยสารหรอื คา่ อะไรแบบเนี้ย เราตอ้ งคิดนะจ่ายคา่ รถอะมันภาคใตน้ จี่ ะไม่ได้แบบทางนนู้ ปรมิ ณฑล

หรอื อะไร”

[ปู อายุ 53 ปี สงขลา อาชีพ ขายข้าวแกง

2) ทศั นคติต่อโครงการภาครฐั ทไ่ี ม่ต่อเนื่อง

"เฮ็ดแลว้ เพิน่ กบ็ ม่ าเบิ่งดอก ของภาครฐั เป็นจงั ซี"้ "เฮ็ดแล้วบ่ตดิ ตาม โครงการของรฐั เป็น
จงั ส้ันเบิด" "สิไปพาผู้อ่นื เฮ็ดก็บ่ได้" "ลงไปแลว้ บ่ตอ่ เน่ือง บ่เฮ็ดให้เป็นผลสำเรจ็ ก่อน" "เอางา่ ยๆ ว่า

เอาของเทศบาลกอ่ น บ่ตอ้ งถงึ ของรัฐบาล เพราะเทศบาลเป็นผูน้ ำมาหาจงั หวดั นำมาหาอำเภอ
นำแคเ่ อาโครงการน่ีมาไวไ้ ด้ แลว้ เอาไปทมิ่ แตล่ ะหมบู่ ้าน ใหห้ มู่บา้ นน้ีไดไ้ อน้ ั่นไดไ้ อน้ ่ี ตำบลเราได้
ไอน้ นั่ ไอน้ เ่ี ด้อ สพิ ากนั เฮ็ดกันหมดจังซี้ เอาไปเฮ็ดแลว้ เอาโตแ๋ ทนไปสามคนสค่ี น เป็นผนู้ ำ สไิ ปพา

140

ผอู้ ่ืนเฮ็ดกบ็ ไ่ ด้ คอื มนั บเ่ ป็นผลสำเรจ็ จังเปน็ ตัวแทนเกษตรจงั ซี้ เอาไปเป็นตัวแทนเกษตรสามคนปี
นี้ บเ่ จา้ ไปเฮด็ ป๊ับ เฮ็ดไดแ้ ลว้ ขดุ สระให้ติ ให้ปลูกตน้ ไม้ติ ปลูกผกั ติ ปลกู ผักกไ็ ด้แค่ปีเดยี ว บม่ นี ำ้

เขาเฮด็ เปน็ โต๋อย่าง เฮ็ดไดแ้ ล้วตดิ ตามใหเ้ ป็นโตอ๋ ย่าง ผูอ้ ื่นเขาก็บ่ไดเ้ ฮด็ นำดอก บ่มโี ครงการ
ตอ่ เนื่อง แลว้ ก็เอาโครงการใหม่เขา้ มาอีก"

[สวา่ ง อายุ 58 ปี ขอนแกน่ อาชพี รบั เหมาก่อสร้าง เกษตรกร]

“การแกป้ ัญหาของรฐั บาลมองวา่ รฐั ไมไ่ ด้แกอ้ ะไร ส่วนมากเป็นภาคประชาชนทรี่ วมตัวกัน
ประชาชนดูแลกนั เอง รัฐบาลไมไ่ ดม้ าดแู ล ถามวา่ ทำไมของแพง รัฐบาลก็รวู้ ่าตอ่ ไปมันตอ้ งมปี ัญหา
เขาทำงานเหมือนววั หายล้อมคอก รอให้ปญั หาเกิดกอ่ นแลว้ คอ่ ยแก้ไข ทำไมเราไมแ่ กไ้ ขก่อนทม่ี ัน

จะเกิด เงินทีร่ ฐั ใหม้ ามองวา่ แค่เศษเมด็ เงิน แต่ทกุ คนตอ้ งการ กว่าท่ีจะใหม้ า แล้วกไ็ มท่ ัว่ ถึง ทุก
สถานท่มี ีผูน้ ำ ทำไมถึงไมก่ ระจายอำนาจไป”

[โรจน์ อายุ 48 ปี ชลบุรี อาชีพ คา้ ขายอาหารตามสั่ง]

“ชว่ งแรกท่รี ฐั มนตรีประกาศทีแรกว่าเปน็ แคไ่ ขห้ วัดธรรมดา ดขู ่าวก็ไมโ่ อเคแลว้ อีกอยา่ ง
ขา่ วเรือ่ งโควดิ มนั ออกมาต้ังนานแล้ว แต่รฐั มนตรีก็ยังย้ำว่าเป็นแคไ่ ข้หวดั ธรรมดา แล้วกส็ นามมวย

ถา้ ไม่มีสนามมวย เราดกี วา่ นเี้ ยอะ”

[วุฒิ อายุ 44 ปี ชลบรุ ี อาชีพ เจ้าของกิจการ ซัพพลายเออรโ์ รงงาน]

“ตอนท่ีเช้อื โรคมนั มาเยอะแลว้ ทกุ คนเรียกรอ้ งให้ปิดประเทศ แตร่ ฐั บาลก็ไม่ปิดสกั ทกี ย็ ัง
จะรบั นกั ท่องเทย่ี วต่างชาตเิ ขา้ มาอีก พอเช้ือแพร่กระจาย หน้ากากเริ่มขาดแคลน ก็เกดิ การทุจรติ

เจลก็ขาดแคลน การตรวจกไ็ ม่ฟรี ตอ้ งให้ประชาชนไปเสียเงนิ ตรวจในโรงพยาบาลเอกชนเกือบ
หม่นื อกี สว่ นใหญ่เราก็รายไดน้ อ้ ยอยแู่ ลว้ ”

[หวาน อายุ 35 ปี ชลบุรี อาชพี พนักงานร้านอาหาร]

4.2.2.3 ผลการวิจยั เชงิ นโยบายจากการสนทนาโตะ๊ กลม

ในการวิจัยเชิงนโยบาย ด้วยวิธีการเสวนาโต๊ะกลมทำควบคู่กับการสนทนากลุ่มซึ่งดำเนินการใน
เวลาเชา้ ของแตล่ ะภมู ิภาคที่จดั ให้มีการสนทนาโต๊ะกลม โดยมีรายละเอียดดังนี้

กล่มุ ท่ี 1 ภาคใต้

1) บรบิ ทสภาพแวดลอ้ มของภาคใต้

1.1) ด้านเศรษฐกิจและรายไดห้ ลกั

โครงสร้างเศรษฐกิจของภาคใต้มีการกระจุกตัว โดยเน้นหนักใน 4 ด้านคือ 1) เกษตรกรรม มีการ
ปลูกพืชเกษตรเชิงเดี่ยวค่อนข้างสูง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของภาคการเกษตรกระจุกตัวในพืช 4 ประเภทคือ
ยางพาราประมาณร้อยละ 60 รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน ประมาณร้อยละ 20 และกุ้งขาวร้อยละ 10 และ

141

ส่วนอนื่ ๆ ไดแ้ ก่ ผลไม้ ซง่ึ กระจกุ ตัวอยู่ทที่ ุเรียนเปน็ หลัก 2) การท่องเทยี่ วทีพ่ ักแรม และบริการร้านอาหาร
กระจุกตัวอยู่ในฝั่งอันดามัน โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้หลักคือ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งพึ่งพารายได้หลักมา
จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถึงร้อยละ 70 3) การค้าปลีกและค้าส่ง 4) การผลิต โดยเน้นการส่งออกไปยัง
ต่างประเทศ โดยมีการสง่ ออกยางพารา อาหารทะเลสดแช่แขง็ และแปรรูปเป็นหลกั

1.2) ดา้ นแรงงาน และการจ้างงาน

แรงงานสว่ นใหญ่ในภาคใต้ เปน็ แรงงานดา้ นเกษตรกรรมร้อยละ 50 และอีกร้อยละ 50 กระจายไป
ในภาคการค้า ภาคการท่องเที่ยว และภาคการผลิต โดยทั้งหมดนี้เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้อยู่ในระบบ
ประกันสังคมในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 50 ซึ่งโครงสร้างแรงงานของภาคใต้อยู่ในภาคเกษตรกรรมเป็นส่วน
ใหญ่ นอกจากนย้ี ังมีการใช้แรงงานจำนวนมากในภาคการท่องเทย่ี ว และบรกิ ารขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามใน
ภาคใต้ยังขาดแรงงานที่มีทักษะตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น โรงงานส่วนใหญ่มีความต้องการช่าง
เทคนิคเป็นจำนวนมาก แต่มีการผลิตแรงงานที่จบจากสายอาชีวะน้อยเมื่อเทียบกับอัตราการจบการศึกษา
ในระดบั ปรญิ ญาตรี นอกจากนต้ี ลาดแรงงานดา้ นท่องเที่ยวยังต้องการแรงงานที่ส่อื สารไดห้ ลายภาษา (สันติ
รงั สยิ าพรรัตน์ ผอู้ ำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนกั งานใหญ่ภาคใต้) ซงึ่ แรงงานท่ีมีอยู่เดิมยัง
ไมส่ ามารถตอบสนองความตอ้ งการได้อย่างเพยี งพอของอุตสาหกรรมทอ่ งเท่ยี ว

1.3) ดา้ นอตั ลักษณแ์ ละวัฒนธรรม

ภาคใต้มีอัตลักษณ์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เนื่องจากมีภูมิทัศน์ที่ดีมีทะเลทั้งสองฝั่ง มี
พื้นที่ดึงดูดผู้คนและนักท่องเที่ยวที่หลากหลายมีลักษณะของอู่วัฒนธรรมเป็นจุดขาย อีกทั้งการคมนาคมท่ี
สะดวก มีมาตรการดูแลความปลอดภัยของเมือง เช่น กล้องวงจรปิดตามจุดทอ่ งเที่ยวเพ่อื ให้เกิดความอนุ่ ใจ
แก่นักท่องเที่ยว ในตัวจังหวัดสงขลามีการจัดสภาพแวดล้อมและผังเมืองให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินท่ี
เหมาะสม เมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับสากลคือ 1 คนควรมีพื้นที่ป่าประมาณ 10 ตารางเมตร แต่จังหวัด
สงขลามีพื้นที่ป่า 22 ตารางเมตร ต่อ 1 คน และมีการสร้างพื้นที่เมืองให้เป็นเมืองสีเขียว กำลังเข้าสู่เมือง
Smart City หรือเมืองอจั ฉริยะ อกี ทั้งยงั ร่วมมือด้านเศรษฐกิจกบั ประเทศมาเลเซยี อินโดนเี ซยี และไทย ท่ี
เรียกว่า กลุ่มสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เน้นการขนส่งและการคมนาคมที่ปลอดภัย มีการส่งต่อนักท่องเที่ยวให้
ไหลเวยี นระหว่างประเทศในสามประเทศดงั กลา่ ว

2) ผลกระทบทีเ่ กิดขน้ึ ในช่วงการแพรร่ ะบาดของไวรัสโคโรนาของภาคใต้

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในช่วงต้นปีถึงกลางปี 2563 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของ
ผู้คนทั่วโลก ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคระดับโลก สำหรับพ้ืนที่ในเขตจังหวัดภาคใต้ได้รับ
ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน ทั้งในระยะสั้นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด ผลลัพธ์หลังช่วง
การคลี่คลายจากโรคระบาด รวมถึงแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในระยะยาวต่อไป
ดังน้ี

142

2.1) ด้านเศรษฐกจิ และรายได้หลกั

ในช่วงระยะเวลาที่มีการปิดประเทศส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการหดตัว
ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบทั้งการใช้จ่ายของภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว ภาคการผลิต การลงทุน
ภายในประเทศ เนื่องด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคใต้มีการกระจุกตัวอยู่ในภาคการท่องเที่ยวที่
พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก ข้อมูลจากสภาหอการค้าจังหวัด
ปัตตานีนำเสนอในเวทีเสวนา 4 ประเด็น คือ 1) ด้านการท่องเที่ยวมีการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว
ธุรกจิ ที่พักและรา้ นอาหาร นักทอ่ งเท่ยี วมาเลเซียทเ่ี ข้ามาเทยี่ วปกติประมาณ 5 ล้านคนตอ่ ปหี ายไป 2) ด้าน
การผลิตเกิดการชะลอคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ภาคใต้มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน สหรัฐ
และมาเลเซีย ทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไป โดยเฉพาะในส่วนของยางพาราที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ การ
บริโภคยางลดลงในชว่ งสถานการณ์ และ 3) ดา้ นการคา้ ปลีกและคา้ ส่ง มีการปรับตวั เปน็ บางกลุ่ม เชน่ ปรับ
จากการขายหน้าร้านเป็นการพึง่ พาเทคโนโลยีมากข้ึนดว้ ยการขายสินค้าผา่ นออนไลน์ เพอ่ื ปรบั ให้สอดคลอ้ ง
กับสถานการณ์ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางออกไปจับจ่ายใช้สอยนอกบ้านได้ ประชาชนจะซื้ออาหาร
ทะเลแห้ง อาหารกระป๋องแทนการออกไปใช้จ่ายตามร้านอาหาร 4) การขาดสภาพคล่องทางการเงินของ
สถานประกอบการ เน่ืองจากไม่มีรายได้ ขณะเดยี วกันยังตอ้ งชำระหนีเ้ ดมิ ทม่ี อี ยู่ แมว้ า่ รฐั บาลจะมีมาตรการ
พักชำระหนี้และมีสินเชื่อต่าง ๆ ออกมา แต่ด้วยกลไกของรัฐทำให้ขั้นตอนการอนุมัติล่าช้า ไ ม่ทันกับ
ช่วงเวลาที่ตอ้ งใช้เงนิ

2.2) ดา้ นแรงงานและการทำงาน

อัตราการว่างงานของภาคใต้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 มีสูงขึ้น การจ้างงานลดลงใน
ภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการโดยเฉพาะสาขาของโรงแรมและภัตตาคาร และยังพบว่าแรงงานที่มี
การว่างงานมีการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา และกลับเข้าสู่ภาคการเกษตรในบางส่วน ในอุตสาหกรรมด้านต่าง
ๆ มกี ารทรดุ ตัวลงดังน้ี อตุ สาหกรรมยานยนตร์ ้อยละ 83 อตุ สาหกรรมท่องเทีย่ วร้อยละ 65 อสงั หารมิ ทรพั ย์
ร้อยละ 15 ด้านการค้า ห้างสรรพสินค้าร้อยละ 40 ในส่วนของงานกิจกรรมประชุมสัมมนาซึ่งเตรียมการ
ลงทุนไปแล้วแต่ดำเนินการไม่ได้ลดลงร้อยละ 50 ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการจ้างงานและแรงงานที่ทำงานใน
ห้างสรรพสินค้า ภาคท่องเที่ยวและบริการ ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานภาคใต้ระบุว่ามีอัตราการว่างงาน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 ท้ังน้ไี ม่รวมการว่างงานสำหรบั ผ้ทู ี่จบใหม่และแรงงานนอกระบบ ในส่วนปัญหาท่ีกระทบ
มากและน่าเปน็ ห่วงมากคือ หนี้สินครัวเรือนในภาคใต้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลกั ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชือ่
เข้าสู่ระบบ ข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจในภาคใต้พบว่า ในช่วงที่มีปิดประเทศ (Lock down) ธุรกิจ
โรงแรมไดร้ ับผลกระทบอย่างหนัก และพบว่าแหลง่ เงินทุนจากภาครฐั โดยเฉพาะจากธนาคารพาณิชย์ที่ออก
สินเชื่อในการชว่ ยเหลอื สถานประกอบการได้รับอนุมัตลิ า่ ช้า

2.3) ดา้ นการใชช้ วี ิต ความเป็นอยู่

ในส่วนภาคประชาชนพบว่า ตวั เลขแรงงานทไ่ี ปใช้สิทธปิ ระกนั สงั คมทัง้ มาตรา 33 (ลกู จ้างท่ีทำงาน
ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรือเรียกว่าพนักงานเอกชน) มาตรา 38 (พนักงานหรือ

143

ลูกจ้างทีอ่ อกจากงานแลว้ และประกันสังคมยังคุ้มครอง อีก 6 เดือน) หรือลูกจ้างที่ออกจากงานแลว้ ขอรับ
เงินช่วยเหลือ มีการใช้สิทธิเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีการจ้างงาน จะส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชนใน
พนื้ ท่ี ซึง่ ส่วนหน่ึงประชาชนตอ้ งนำรายได้จากการใช้จา่ ยประจำวันไปชำระหนีข้ องตนดว้ ย

3) การร่วมมือฝา่ วิกฤตเศรษฐกจิ ของภาคใต้

ในช่วงของการแพร่ระบาดและมีการปิดประเทศ หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการ แรงงานและประชาชนในพื้นที่หลายรูปแบบ เช่น การช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการ
ยกเว้นคา่ ธรรมเนยี มการต่อใบอนญุ าตอตุ สาหกรรม และไม่ต้องจา่ ยสมทบในปีต่อไป ถอื ว่าเปน็ มาตรการท่ีดี
ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการนำเงินส่วนนั้นไปหมุนเวียนเพื่อให้เกิดสภาพคล่อง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือเรื่อง
ไฟฟ้าและน้ำประปาแก่ประชาชนทั่วไป นับเป็นมาตรการที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ส่วนหนึ่ง ในด้านการ
ช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐเพื่อฟื้นฟูภาคธุรกิจและเอกชนมีการลดกฎระเบียบการนำเข้าส่งออกเพ่ือ
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามควรมีการช่วยคืนเงินประกันมิเตอร์ของโรงงาน
อตุ สาหกรรมดว้ ย

3.1) มาตรการช่วยเหลอื ในชว่ งวกิ ฤตกิ ารระบาดของเช้ือไวรสั โคโรนา

ข้อมูลจากธนาคาร ธกส. ระบุว่า นอกจากจะมีมาตรการช่วยเหลือการพักชำระหนี้ 1 ปีแล้ว ยังให้
การช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าเงินฝากของธนาคารโดยให้ยื่นกู้รายละ 10,000 บาท และได้
น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นท่ัว
ประเทศ ให้องค์ความรู้ด้านเศรษฐกจพอเพียงมาใช้ จากนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตและการทำการตลาด
นอกจากนี้ยังจัดกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเกษตรกรรายย่อยมีที่ดินทำกินประมาณ 3-5 ไร่ 2.
กลมุ่ คนท่ีกำลังจะกา้ วส่กู ารเป็น Smart Farmer และ 3. กลมุ่ Smart Farmer ท่มี ีความเชี่ยวชาญแล้ว ทาง
ธนาคาร ธกส. พร้อมสนับสนุนให้กลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญแล้วได้ต่อยอดพัฒนาและขับเคลื่อนนำชุมชน
พัฒนาต่อไปโดยให้ยื่นกู้ดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ดีกลุ่มเกษตรกรรายย่อยยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงและเป็น
กลุ่มที่มีความตอ้ งการเงนิ สดมากที่สดุ

ในส่วนของนักศึกษาในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ปกครองตกงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่มีการช่วยเหลือด้วยการลดค่า
หน่วยกิตใหก้ บั นักศกึ ษาท่ีครอบครัวได้รับผลกระทบ และส่งเสริมให้มีงานทำภายในมหาวิทยาลัย เรียนดว้ ย
ทำงานด้วย ในด้านการเรียนการสอนนั้นจัดให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ส่วนด้านเงินกู้ยืมเพ่ือ
การศกึ ษาพบว่า ปี 2563 เพิ่มข้ึนจาก 4,000 ราย เป็น 5,000 ราย ซึ่งบัณฑติ ทีเ่ รยี นจบในสายสังคมศาสตร์
จะได้รับผลกระทบเรอ่ื งการจ้างงานมาก จึงควรมีการฝึกอบรมดา้ นอาชีพต่าง ๆ เพม่ิ ขนึ้

3.2) ช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การระบาดคลคี่ ลาย

หลังจากที่จำนวนผูต้ ิดเชื้อในประเทศไทยเป็นศูนย์ และรัฐบาลประกาศให้ผู้ประกอบการธุรกิจห้าง
ร้านเริ่มเปิดดำเนินการได้ ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมภาคใต้พบว่า เศรษฐกิจของภาคใต้มีสัดส่วนขนาด
เศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ของ GDP ทั้งประเทศ และมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยอยู่ในภาคการเกษตรร้อยละ 20

144


Click to View FlipBook Version