The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารเผยแพร่ เรื่องที่ 3 การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทานของการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู จ.เชียงราย (พ.ศ. 2564) โดย นายยสมจิตฐิพงศ์ อำนาจศาล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทานของการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู จ.เชียงราย (พ.ศ. 2564)

เอกสารเผยแพร่ เรื่องที่ 3 การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทานของการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู จ.เชียงราย (พ.ศ. 2564) โดย นายยสมจิตฐิพงศ์ อำนาจศาล

กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เอกสารเผยแพร่ผลงาน

เรื่องที่ 3

การศกึ ษาวิเคราะห์ปจั จยั ความสำเรจ็ และผลกระทบต่อประสทิ ธิภาพการชลประทานของการ
บรหิ ารจดั การนำ้ ในรูปแบบเครือข่ายส่งเสรมิ การมสี ว่ นร่วม กรณศี ึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู
จ.เชยี งราย (พ.ศ. 2564)

โดย

นายสมจติ ฐิพงศ์ อำนาจศาล
ตำแหนง่ วิศวกรชลประทานชำนาญการพิเศษ

(ตำแหน่งเลขที่ 20)
กรมชลประทาน

เพ่อื แต่งตงั้ ใหด้ ำรงตำแหนง่ ผู้เช่ยี วชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน
(ดา้ นจดั สรรน้ำและบำรงุ รักษา)

วศิ วกรชลประทานเชี่ยวชาญ (ตำแหนง่ เลขท่ี 20)
กรมชลประทาน

สารบญั ก

สารบัญ หน้า
สารบัญตาราง
สารบญั ภาพ ก
บทคดั ย่อ ข

1. ความเป็นมาและประเดน็ ปัญหา
2. วตั ถปุ ระสงค์ 1
3. พืน้ ทศ่ี กึ ษา 2
4. กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนรว่ มและความสำเรจ็ 3
5. ปัจจยั ความสำเรจ็ 4
6. ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทาน 8
7. สรปุ และข้อเสนอแนะ 8
11

สารบญั ตาราง ข

ตารางท่ี 1 ผลการเพาะปลูกพชื และประสิทธภิ าพการชลประทานของอา่ งเก็บนำ้ ดอยงู หน้า
10



สารบญั ภาพ

หน้า

รูปท่ี 1 แผนที่แสดงทต่ี ั้งและพื้นท่ชี ลประทานของอา่ งเกบ็ น้ำดอยงู 3

รปู ที่ 2 แผนทท่ี ำมือโครงการอ่างเก็บน้ำดอยงู 4

รปู ท่ี 3 กระบวนการสง่ เสริมการมีสว่ นร่วมในพน้ื ท่ีอา่ งเก็บนำ้ ดอยงู 5

รปู ที่ 4 กลมุ่ ผ้ใู ชน้ ำ้ อา่ งเก็บนำ้ ดอยงูรับรางวลั เลิศรัฐดเี ดน่ ประจำปี พ.ศ. 2561 7

รปู ท่ี 5 กลุม่ ผู้ใช้น้ำฝายโป่งนกรบั รางวลั สถาบันเกษตรกรผใู้ ชน้ ำ้ ดีเดน่ แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563 7

รปู ที่ 6 กลุม่ ผ้ใู ชน้ ำ้ แม่ลาวฝง่ั ขวา รับรางวัลเลิศรัฐดเี ด่นประเภทเล่ืองลือขยายผล ประจำปี พ.ศ. 2563 11

1

บทคดั ย่อ

เร่อื งที่ 3 การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเรจ็ และผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทานของการ
บริหารจัดการนำ้ ในรปู แบบเครอื ข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณศี ึกษาอา่ งเกบ็ น้ำดอยงู จ.เชียงราย

(พ.ศ. 2564)

1. ความเป็นมาและประเด็นปัญหา

การบริหารจัดการน้ำชลประทานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลัก
ได้แก่ อาคารชลประทานที่ออกแบบอย่างเหมาะสม มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถในการวางแผนการ
บรหิ ารจดั การ และผูใ้ ช้น้ำท่ีมีความเขา้ ใจ ใหค้ วามร่วมมอื และเขา้ มามสี ว่ นร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ซง่ึ การมี
ส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำชลประทานประสบ
ผลสำเร็จ หากขาดองค์ประกอบนี้มักจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องการใช้น้ำ ทำให้ประสิทธิภาพ
การใช้นำ้ หรอื ประสทิ ธภิ าพการชลประทานไม่ดีเท่าที่ควร ดังเช่นทีเ่ กดิ ข้ึนในพ้ืนที่อ่างเก็บน้ำดอยงู ซ่ึงเป็นพื้นที่
กรณศี กึ ษาของผลงานเลม่ น้ี

อ่างเก็บน้ำดอยงู ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สร้างเสร็จ
เมื่อปี พ.ศ. 2551 หลังจากดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดอยงูเสร็จสิ้น ไม่สามารถส่งน้ำในฤดูแล้งให้พื้นท่ี
บางส่วนได้ เช่น ฝายโป่งนก จึงต้องประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งติดต่อกันหลายปี กลุ่มผู้ใช้น้ำให้ความคิดเห็นว่า
สาเหตุของการขาดแคลนนำ้ มาจากการก่อสรา้ งระบบชลประทาน ซึ่งจากการสอบถามผใู้ ชน้ ้ำ ได้ใหค้ วามเห็นว่า
ในช่วงระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดอยงูแล้วเสร็จ ชาวบ้านท้ายอ่างเก็บน้ำเฝ้ารอน้ำจาก
การชลประทานแตไ่ มไ่ ดร้ บั น้ำเลย ซ่งึ จากการสำรวจพนื้ ที่จรงิ ในสนาม การท่ีบางพื้นทีไ่ ม่ได้รับน้ำส่วนหนึ่งน่าจะ
เกดิ จากความขดั แยง้ เรื่องน้ำเน่ืองจากผใู้ ช้น้ำขาดความรู้ ความเขา้ ใจเรอ่ื งความตอ้ งการนำ้ ของพชื และการใช้น้ำ
ชลประทาน กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงได้นำประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างอำนาจ
ประชาชนในระดับพื้นที่ (Empowering) การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในงานบริหาร
จัดการน้ำชลประทาน (Network Collaboration Participation) มาดำเนินการในพื้นที่อ่างเก็บน้ำดอยงู โดย
ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจดั โครงการฝึกอบรมหลักสตู รกระบวนการเรียนรู้แบบมสี ่วนรว่ มเพื่อพัฒนาเครือข่าย
ส่งเสรมิ การมีส่วนร่วมของประชาชน (คสป.) สำหรับลูกจา้ งประจำ พนกั งานราชการ ท่ีปฏบิ ัตงิ านการมีสว่ นร่วม
ด้านพัฒนาแหล่งน้ำและด้านส่งน้ำและบำรุงรักษา อาสาสมัครชลประทาน อาสาสมัครจัดรูปที่ดิน ประธาน
คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) และประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน เพื่อแก้ปัญหาจริงใน
ภาคสนาม ประกอบด้วยหลักสูตรวิทยากรกระบวนการเพื่อการมีส่วนร่วม และการเปิดเวทีสาธารณะ ซึ่งการ
ดำเนินการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งของการใช้น้ำในพื้นที่ พื้นที่ที่ไม่เคย
ได้รับน้ำก็ได้รับน้ำ ทำให้ได้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น กลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถบริหารจัดการน้ำตลอดจนบำรุงรักษา
อาคารชลประทานได้เอง ผลสำเร็จของการนำการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม
มาใช้ที่อ่างดอยงู ส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำดอยงู ได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ดีเด่น

2

ประเภทรางวลั สมั ฤทธผิ ลประชาชนมีส่วนรว่ ม : Effective Change โครงการอา่ งเกบ็ น้ำดอยงู อำเภอเวยี งปา่ เป้า
จังหวัดเชียงราย (การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน) ประจำปี พ.ศ 2561 และกลุ่มผู้ใชน้ ้ำฝายโป่งนกซึ่งเป็นพื้นท่ี
ส่วนหนึ่งที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำดอยงู ได้รับรางวัลสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563
ผู้เขียนจึงได้นำกรณขี องอ่างเก็บน้ำดอยงูมาเปน็ กรณีศึกษา เพ่อื วิเคราะห์ถงึ ปจั จยั ท่ีทำให้เกิดความสำเร็จของการ
นำกระบวนการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมมาใช้ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อประสิทธิภาพการ
ชลประทาน ซึง่ ผลการวิเคราะห์จะเปน็ ประโยชน์ในการขยายผลการดำเนนิ การไปยังพื้นที่อ่ืนๆ ตอ่ ไป

2. วตั ถุประสงค์

การศึกษาวิเคราะหป์ ัจจัยความสำเรจ็ และผลกระทบต่อประสทิ ธิภาพการชลประทานของการ
บริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู จ.เชียงราย
มีวตั ถปุ ระสงค์ ดงั นี้

1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของอ่างเก็บน้ำดอยงู จากการนำกระบวนการมีส่วน
ร่วมไปใช้ในการบริหารจดั การน้ำชลประทาน

2) เพ่อื ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการมีส่วนรว่ ม ตอ่ ประสิทธิภาพการชลประทาน

3

3. พื้นท่ศี ึกษา

รูปท่ี 1 แผนทแ่ี สดงที่ตง้ั และพื้นทชี่ ลประทานของอา่ งเกบ็ น้ำดอยงู

อ่างเก็บน้ำดอยงู มีความจุอ่างเก็บน้ำ 7.366 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำนบดินของอ่างเก็บน้ำ
ปิดกั้นลำน้ำแม่เจดยี ์ซง่ึ ไหลลงลำนำ้ แมล่ าว ดา้ นท้ายอ่างเกบ็ นำ้ มฝี ายในลำนำ้ ลาวทำหน้าท่ีทดน้ำเข้าพ้ืนท่ีส่งน้ำ
เป็นระยะๆ จำนวน 3 ฝาย ได้แก่ ฝายหนองหอย ฝายพ่อขุน และฝายโป่งนก ตามลำดับ โดยมีพื้นที่โครงการ
ทั้งหมด 17,060 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 13,899 ไร่ ฤดูแล้ง 5,800 ไร่ โดยมีที่ตั้งและพื้นที่รับน้ำ
แสดงไวใ้ นรูปท่ี 1

4

4. กระบวนการสง่ เสริมการมีสว่ นร่วมและความสำเร็จ
4.1 กระบวนการมสี ่วนรว่ ม
การส่งเสริมการมสี ่วนร่วมท่ีได้ดำเนินการในพ้นื ท่ีอ่างเก็บน้ำดอยงู ประกอบดว้ ยกระบวนการ ดังนี้
1) พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนและสร้างเครือข่าย โดยคัดเลือกผู้นำหรือผู้มีจิตอาสา

ประมาณ 30 คน และสร้างความรู้ความเข้าในผ่านกลไกการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้วยการอบรมหลักสูตร
“การฝึกฟัง” การเป็นวิทยากรกระบวนการ การเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี การคิดหรือการค้นหาสาเหตุ โดยการตั้ง
คำถามแบบอรยิ สจั 4 และการทำแผนท่ที ำมือดังแสดงในรปู ท่ี 2 รวมทง้ั เรยี นรู้การบริหารจดั การน้ำในฝายแม่ยม
เพ่อื สร้างความเข้าใจระบบการบรหิ ารจัดการน้ำ

รูปท่ี 2 แผนที่ทำมอื โครงการอ่างเก็บนำ้ ดอยงู

2) สนบั สนุนใหเ้ กดิ กระบวนการรวมกลุม่ และจดั ต้ังเป็นกลุ่มเครือขา่ ย ซงึ่ กรมฯ เรียกเครือข่าย
นี้ว่า “เครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (คสป.)” ซึ่งสมาชิกมาจากเกษตรกร และกลุ่มผู้ใช้น้ำใน
ชุมชนของพื้นที่รับผิดชอบอ่างเก็บน้ำดอยงู โดย คสป.เป็นแกนกลางในการเปิดเวทีชุมชนด้วยตนเอง และมี
เจ้าหน้าที่กรมชลประทานเป็นโค้ชเท่านั้น เพื่อรับฟังรับ (Consult) สภาพปัญหาและสาเหตุของการบริหาร
จัดการน้ำอา่ งเกบ็ น้ำดอยงูที่ผ่านมา พรอ้ มรว่ มกันคน้ หาแนวทางแก้ไข

3) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกระบวนการจัดทำแผนทีท่ ำมอื ที่แสดงแนว
อา่ งเก็บน้ำ คลองสง่ น้ำ ฝายทดนำ้ ตา่ ง ๆ ในลำนำ้ แม่เจดยี ์ และลำนำ้ แมล่ าว ข้อมูลนำ้ การปลกู พืช และเส้นทาง
การไหลของน้ำ โดยจะมีการเปิดเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องมามีสว่ นรว่ มตรวจสอบความถกู ต้อง และเห็นภาพรวมทั้งลุม่
น้ำ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันในเวที
ชมุ ชน เพอ่ื ใหท้ ุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้องเข้ามามีส่วนร่วมคดิ รว่ มทำ และร่วมรับประโยชน์ บนฐานข้อมูลที่ร่วมกัน
เก็บรวบรวมกันเอง และร่วมในการค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา/ทางเลือกในการจัดการน้ำให้ตรงตามความ
ต้องการนำ้ ของกลุม่ ผใู้ ช้น้ำ เพื่อนำไปสู่การวางกติกาการรบั นำ้ รว่ มกัน

5
4) ร่วมกันบริหารจดั การนำ้ โดยมีตัวแทนของฝายบา้ นชุม่ เมอื งเย็น ฝายหนองหอย ฝายพอ่ ขุน
และฝายโป่งนก มาร่วมกันกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ผ่านการประชุมในเวทีชุมชน และร่วมกัน
กำหนดแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำ และบูรณาการความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาชุมชน ในการให้คำปรึกษาด้านเกษตรชนิดดินที่เหมาะสมกับพืช และการพัฒนา
กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานให้เข้มแข็งและประสานความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่น บริษัทลานนา จำกัด
บริษัทซีเอ็ม จำกัด บริษัทลำปาง ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจิราภรณ์ เข้ามาทำงานร่วมกันแบบภาคี
เครือข่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมกลไกลการตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรมให้กับ
เกษตรกรอยา่ งยัง่ ยนื ซึ่งจะช่วยใหล้ ดความขัดแย้งในชุมชน
5) ติดตามการบรหิ ารจัดการนำ้ ท่เี กดิ จากข้อตกลงรว่ มกัน โดยมตี ัวแทนกลมุ่ ผูใ้ ชน้ ำ้ เกษตรกร
ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ร่วมกันติดตามควบคุมการปฏิบัติตามข้อตกลงให้ทุกแปลงได้รับน้ำ
ตามทีก่ ำหนด และเปิดเวทีเพ่ือสรุปบทเรยี นการแก้ปญั หาเพื่อปรับให้เหมาะสม และนำไปใชต้ ่อไป ส่งผลให้เกิด
ความเป็นธรรมและได้รับน้ำทั่วถึงทุกแปลงนา และลดความขัดแย้งของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี
ตวั อย่างรปู ถา่ ยระหว่างการดำเนนิ กจิ กรรมท้งั หมด แสดงดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนรว่ มในพนื้ ที่อ่างเกบ็ น้ำดอยงู

6

กล่าวโดยสรุป กรมชลประทานได้แก้ปัญหาในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งเรื่องน้ำค่อนข้างรุนแรง
โดยสนับสนุนและ “เสริมพลัง” (empowerment) การดำเนินงานของชาวบ้าน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การค้นหา
ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใช้น้ำได้เข้าใจถึงสิทธิของตน เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงาน
ภาครัฐ โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำปรับความคิดและพฤติกรรมของตนในการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความร่วมมือ
ในระดับพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและสามัคคี มีความเอื้ออาทรกันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเสริม
ศกั ยภาพใหช้ าวบ้านเป็นผบู้ รหิ ารจัดการนำ้ และตัดสนิ ใจเอง และนีค่ ือตัวแบบการสรา้ งความเปน็ ธรรมในบริหาร
จัดการน้ำอย่างยั่งยืน ดังคำพูดที่มาจากใจและความเชื่อมั่นในบทบาทของตัวเอง จากตัวแทนชาวบ้านว่า
“ถามหาใจ กอ่ นถามหานำ้ ต้องมาดว้ ยใจ แลว้ นำ้ ก็จะตามมา”

4.2 ผลสำเร็จของการสง่ เสริมการมีส่วนร่วม
ก า ร ส่ ง เ ส ร ิ ม ก า ร ม ี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร บ ร ิ ห า ร จ ั ด ก า ร น ้ ำ ช ล ป ร ะท า น ข อ ง อ่ า ง เ ก ็ บ น ้ ำ ด อ ย งู
ตามกระบวนการท่ีไดก้ ล่าวมาแล้วขา้ งต้น ส่งผลทำให้เกดิ ความสำเร็จ ดังนี้
1) ลดความขดั แย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ชลประทานกบั ชมุ ชนในพืน้ ที่ และระหวา่ งชมุ ชนด้วยกันเอง
2) ผู้ใช้น้ำเข้าใจบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเอง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาข้อ
ขดั แยง้ ในการแยง่ ชิงน้ำร่วมกนั
3) เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำย่อยเปน็ เครือข่าย และเขา้ ร่วมจดั การการใชน้ ำ้ อ่างเก็บน้ำดอยงูร่วมกนั
4) ประหยัดงบประมาณของราชการ ซึ่งเกิดจากกลุ่มผู้ใช้น้ำสนับสนุนและจัดตั้งกองทุนของ
กลุ่มเครือข่าย และดำเนินการซ่อมแซมอาคารชลประทานเอง โดยไมข่ อรับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการ
5) เกิดต้นแบบของการรวมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่มีการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกัน
แบบคณะกรรมการที่เขา้ มามสี ่วนร่วมในการบรหิ ารจดั การนำ้ ในเขตพนื้ ท่ีอา่ งเกบ็ น้ำดอยงูอยา่ งยั่งยืน

ผลสำเร็จที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำดอยงู ได้รับการพิจารณาให้
ไดร้ ับรางวลั เลิศรัฐ ดเี ด่น ประเภทรางวัลสัมฤทธผิ ลประชาชนมีส่วนร่วม : Effective Change โครงการอ่างเก็บน้ำ
ดอยงู อำเภอเวียงปา่ เป้า จงั หวดั เชียงราย (การบรหิ ารจดั การน้ำอย่างย่ังยืน) ประจำปี พ.ศ 2561 และกลุ่มผู้ใช้
น้ำฝายโป่งนกซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำดอยงู ได้รับรางวัลสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำดีเด่น
แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563 ดังแสดงในรูปท่ี 4 และรปู ที่ 5 ตามลำดับ

7
รปู ที่ 4 กลุ่มผใู้ ช้นำ้ อ่างเกบ็ น้ำดอยงรู ับรางวัลเลิศรฐั ดเี ด่น ประจำปี พ.ศ. 2561
รปู ที่ 5 กลุ่มผู้ใชน้ ้ำฝายโปง่ นกรบั รางวลั สถาบันเกษตรกรผู้ใชน้ ้ำดเี ด่นแหง่ ชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563

8

5. ปัจจยั ความสำเร็จ

ผลสำเรจ็ ของการนำกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการนำ้ ชลประทานมาใช้ในพื้นที่
ชลประทานของอ่างเกบ็ น้ำดอยงูดงั ท่ีไดก้ ล่าวมาข้างต้นนนั้ เกดิ จากปจั จัย ดังนี้

1) กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่นำมาใช้ ทำให้สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถเปิดใจพูดคุย
ปัญหาอุปสรรคในการจัดสรรน้ำร่วมกับเจ้าหน้าที่ชลประทานและสมาชิกผู้ใช้น้ำด้วยกันเอง แตกต่างจากเดิมที่ไม่
ยอมพูดคุยกันทำให้เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำอย่างรุนแรง ผลจากการเปิดใจพูดคุยกัน ทำให้ได้รับรู้ปัญหาท่ี
แท้จริง และพยายามหาทางแก้ไขรว่ มกันระหว่างสมาชกิ กลุ่มผู้ใช้นำ้ ด้วยกันเอง

2) การให้กลุ่มผู้ใช้น้ำจัดทำแผนที่ทำมือ ประกอบกับการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำ
ชลประทาน การใชน้ ำ้ ของพชื ผ่านแผนทท่ี ำมือที่กล่มุ ผู้ใชน้ ำ้ ไดท้ ำขึ้น ทำใหก้ ลุม่ ผู้ใชน้ ้ำเข้าใจพ้นื ที่และการใช้น้ำใน
การเพาะปลูกในปริมาณน้ำทเี่ พียงพอ จากเดิมท่ีพ้ืนท่ีต้นน้ำรับน้ำเข้าพ้ืนท่ีเกนิ ความจำเป็น ทำให้พื้นท่ีด้านท้ายน้ำ
ไม่สามารถรับน้ำได้ เมื่อมีความเข้าใจแล้วจึงกำหนดหลักเกณฑ์และกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ร่วมมือกันติดตามผล
การส่งน้ำตามกติกาที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถเรียนรู้ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างต่อเนื่องจนตกผลึก
ทำให้ทกุ ๆ พน้ื ทไ่ี ด้รับนำ้ อยา่ งเปน็ ธรรมตามปริมาณน้ำตน้ ทนุ ที่มีอยู่ในแตล่ ะปี

3) ผลจากการที่กลุ่มผู้ใช้น้ำได้เรียนรู้ปัญหา และวิธีการบริหารจัดการน้ำร่วมกันในพื้นที่จริง
ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่กลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถบริหารจัดการน้ำเองได้ สามารถติดตาม ประเมินปริมาณน้ำ และ
ปรับเปลี่ยนปริมาณน้ำที่จัดสรรตามสถานการณ์จริงในสนาม ผลที่ต่อเนื่องคือ กลุ่มผู้ใช้น้ำมีความภาคภูมิใจใน
บทบาทของตนเอง มคี วามรู้สึกเปน็ เจ้าของอาคารชลประทาน จากเดมิ ที่คิดว่าเป็นของรัฐ เกิดการขยายผลไปสู่การ
ทก่ี ล่มุ ผ้ใู ช้น้ำสามารถซ่อมแซม บำรุงรกั ษาอาคารชลประทานที่เสียหายเล็กน้อยได้เองโดยไม่ต้องรอความชว่ ยเหลือ
จากรัฐ มีการจดั เกบ็ รายได้เพ่ือซื้อเครื่องมือในการซ่อมแซมอาคารชลประทานเอง

4) มีการคัดเลือกผู้นำในพื้นที่ดำเนินการ โดยมีปัจจัยในการคัดเลือก คือ ต้องมีจิตอาสา มีความ
น่าเชื่อถือ มีความริเริ่ม มีมนุษยสัมพันธ์ มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน ซึ่งผู้นำที่ได้ทำการ
คัดเลือกน้ี จะเปน็ ตวั ขบั เคล่อื นอยา่ งดีในการดำเนนิ งานร่วมกับเจ้าหน้าทชี่ ลประทาน

5) การดำเนินการมีการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมพฒั นาท่ดี ิน กรมพฒั นาชมุ ชน รวมท้ังภาคเอกชนในพืน้ ท่ี

6. ผลกระทบต่อประสิทธภิ าพการชลประทาน

ผลสำเร็จของการนำกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำชลประทานมาใช้ในพื้นท่ีอ่างเก็บน้ำ
ดอยงูตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นผลสำเร็จที่แสดงออกในเชิงสังคมที่ลดความขัดแย้งของการใช้น้ำในพื้นท่ี
สามารถจดั สรรนำ้ ได้ครอบคลุมพื้นท่ีมากขึ้น ซึ่งยังไมม่ ตี วั ชว้ี ดั ทีท่ ำใหเ้ ห็นความสำเรจ็ เชิงวศิ วกรรม ดังนั้น จึงได้
ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของความสำเร็จในเชิงวิศวกรรม โดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการชลประทาน
ก่อนและหลังการนำกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำชลประทานเข้าไปใช้ในพื้นที่ ผลการเปรียบเทียบ
ประสิทธิภาพการชลประทานแสดงไว้ในตารางที่ 1 ซึ่งจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพการชลประทานของฤดูแล้ง

9

ปี 2557/2558 ซึ่งเป็นปีก่อนการนำกระบวนการมีส่วนร่วมเข้าไปดำเนินการ มีค่าเพียง 22.80 เปอร์เซ็น
แตห่ ลงั จากทนี่ ำกระบวนการมสี ่วนรว่ มเข้าไปดำเนนิ การในพ้ืนที่ ในชว่ งปลายปี พ.ศ 2558 จนได้รับรางวัลเลิศรัฐ
ในปี พ.ศ. 2561 ประสิทธิภาพการชลประทานมีคา่ เพ่ิมข้ึน โดยมีค่าเฉลยี่ ของประสิทธภิ าพการชลประทานของ
ฤดูแล้ง ปี 2559/2560 ถึง ปี 2562/2563 เท่ากับ 61.66 เปอร์เซ็น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ากระบวนการ
มสี ว่ นรว่ มในการจัดการนำ้ ชลประทานสง่ ผลทำใหไ้ ด้ประสทิ ธิภาพการชลประทานทด่ี ขี ึน้

ตารางท่ี 1 ผลการเพาะปลูกพืชและประสทิ ธภิ าพการชลประทานของอา่ งเกบ็ นำ้ ดอยง

ปี ผลการเพาะปลกู พืช (ไร่) ความต้องการนำ้ ตา
ทฤษฎี
2557/2558
2558/2559 ขา้ ว พชื ไร่ รวม (ลา้ น ลบ. ม/ วิ)
4,000.00 350.00 4,350.00 4.398

2559/2560 11,100.00 2,030.00 13,130.00 13.261
2560/2561 9,700.00 1,900.00 11,600.00 12.290
2561/2562 8,400.00 1,671.00 10,071.00 10.452
2562/2563 8,600.00 2,000.00 10,600.00 10.721

10

งู

าม ฝนใชก้ าร ปรมิ าณนำ้ ทีส่ ่งจริง ประสทิ ธิภาพ อตั ราการใช้น้ำ
ชลประทาน ของพชื
(ลา้ น ลบ. ม/ ว)ิ (ล้าน ลบ. ม/ วิ) ลบ.ม./ไร่
1.019 14.820 (%) 3,406.90
22.80
งดการปลูกพชื ฤดูแลง้ 1,495.81

1.778 19.640 58.47

1.257 17.750 62.16 1,530.17

1.511 14.720 60.74 1,461.62

2.138 13.149 65.27 1,240.47

11

7. สรปุ และข้อเสนอแนะ
จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อประสิทธิภาพการชลประทาน ของ

การบริหารจัดการน้ำในรูปแบบเครือข่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำดอยงู จ.เชียงราย ที่ได้
กลา่ วมาแล้วขา้ งต้น ทำใหไ้ ด้ข้อสรุปและขอ้ เสนอแนะ ดังน้ี

1) การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความสำคัญและจำเป็นต่อความสำเร็จของการบริหาร
จัดการน้ำชลประทานเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำต้นทุนที่มากพอ มีอาคารชลประทานและการวาง
แผนการจัดสรรน้ำที่ดี แต่หากขาดความร่วมมือจากกลุ่มผู้ใชน้ ้ำแล้ว การที่จะบริหารจัดการน้ำให้ได้ตามแผนท่ี
วางไว้ย่อมไมส่ ามารถดำเนินการได้

2) ปัจจัยความสำเรจ็ ทีส่ ำคัญคอื กระบวนการสง่ เสริมการมีสว่ นร่วมทีน่ ำมาใช้ จะต้องสามารถ
ทำให้สมาชิกกลุ่มผู้ใชน้ ้ำเปิดใจพูดคยุ ปัญหาอุปสรรคในการจัดสรรนำ้ ร่วมกับเจ้าหน้าทช่ี ลประทานและสมาชิกผู้ใช้
น้ำด้วยกันเองก่อน เพราะหากไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในขั้นนี้ก่อน การดำเนินการในขั้นตอนอื่นๆ
ย่อมไมส่ ามารถทำได้

3) กรมชลประทานควรสนับสนุนการนำตัวอย่างกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ประสบ
ผลสำเร็จของอ่างเก็บน้ำดอยงูนี้ ไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำชลประทานของกรม
ชลประทานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการลดลงของจำนวนบุคลากรของกรมชลประทาน
ดังตัวอย่างการขยายผลของโครงการอ่างเก็บน้ำดอยงูไปยังพื้นที่ฝั่งขวาของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาว
จนได้รับรางวัลเลิศรัฐดีเด่น ประเภทเลอ่ื งลอื ขยายผล ประจำปี พ.ศ. 2563 ดงั แสดงในรปู ท่ี 6

รูปท่ี 6 กลุ่มผ้ใู ช้นำ้ แมล่ าวฝั่งขวา รับรางวลั เลิศรฐั ดเี ดน่ ประเภทเลือ่ งลือขยายผล ประจำปี พ.ศ. 2563




Click to View FlipBook Version