บทเห่ชมเรือ
กาพย์เห่เรือ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
จัดทำโดย
นาย ศุภกร ไทรงาม
เลขที่13 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/5
วิชาภาษาไทย (ท 33101)
ภาคเรียนที่ 1/2564
โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา
บทเห่ชมเรือกระบวน
โคลง
ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร แหนแห่
รือกระบวนต้นแพร้ว เพลิศพริ้งพายทอง ฯ
ช้าลวะเห่
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือลิ่วปลิวธงสลอน สาครสั่นครั้นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลือนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ
มูละเห่
คชสีทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ทียืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝาฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรีย์ ที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
ค กรีฑาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี ฯ
เรือเลียงผา
เป็นเรือที่หายากมากในปัจจุบัน แต่พอจะทราบได้ว่า ตัว
เลียงผาเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง ชนิด capricamis
sumatraensis วงศ์ Bavidae รูปร่างความคล้ายคลึงกับ
เเพ ขนสีดำ แต่บางตัวมีขนสีขาวแซม ขายาวและเเข็งแรง
ความสูงที่ไหล่ 85-94 ซ.ม. หนักประมาณ 85-140 ก.ก.
อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผา หรือถ้ำตื้น ว่องไวและปราด
เปรียวมาก สามารถว่ายน้ำระหว่างเกาะและแผ่นดินได้ มี
ประสาทตา หู และรับกลิ่นได้ดีมาก
เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
Little Monk.(2552).เรือเลียงผา.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/nod/47072 สืบค้นเมื่อ 11
กันยายน 2564.
เรือม้า
เป็นเรือที่โขนเรือเป็นรูปม้า เพราะโดยทั่วไปของม้าจะเป็นสัตว์
กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว จึง
นิยมนำมาทำเป็นยานพาหนะ
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
พียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง
กรมศิลปากร.(2552).เรือพระราชพิธี.[(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.finearts.go.th/museumroyalbarges/view/9808 สืบ
คันเมื่อ 11 กันยายน 2564.
เรือชัย
เป็นเรือชนิดหนึ่งที่มีทวนหัวตั้งสูงขึ้นไปเป็นงอน มีลักษณะเช่นเดียวกับ
เรือกิ่ง เรือชัยเดิมเป็นเรือที่ข้าราชการนั่งในริ้วกระบวนและมีพนังงานลอย
กระทุ้งเส้าให้จังหวะ แต่ถ้าเป็นเรือที่นั่งเจ้านาย และเรือประตู เรียกว่าเรือ
เอกชัย ที่ปรากฎในโครงพระราชพิธีทวาทศมาสนั้นมีชื่อว่า เรือชัยเหินหาว
ขึ้นอยู่ที่หลวงอภัยเธนา และเรือหลาวทองเอกชัย ขึ้นอยู่กับหลวงสุเรนทรวิ
ชิต หลังคาเรือคาดผ้าสีแดงลายก้านเเข่งเรือสกแต่งด้วยลายรดน้ำ (ลงรัก
ปิดทอง)มีนักสราชถือธงทั้งหน้าเรือและท้ายเรือ มีกลองมโหระทึก และ
แดงประจำ ในเรือมีอาวุธประจำอย่างละคู่ คือหอกขัด หางโมรี ดาบง้าว
ทวนทอง ดาบเชลย และเซน ซึ่งล้วนติดพู่สีแดง
เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
pch5210.(2552).เรือไขย.[ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/29063 สืบค้นเมื่อ
11 กันยายน 2564.
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาช
เรือสุวรรณหงส์
เรือพระที่นั่ง มีโขนเป็นรูปหงส์ทอง เรียกสั้นๆว่า เรือหงส์
คำว่า สุวรรณ เป็นคำนาม หมายถึง ทอง ส่วน หงส์ นั้น
หมายถึง นกในนิยายนที ถือว่าเป็นนกในตละกูลสูง มี
เสียงไพเราะ และเป็นพาหนะของพระพรหม เราจะเห็นว่า
ในวรรณคดีส่วนใหญ่ จะอ้างการเดินที่งดงามอ่อนช้อยว่า
เดินเหมือนหงส์
สารานุกรม(2553).เรือสุพรรณหงส์.[ออนไลน์],เข้าถึงได้จาก
https:/th.wikipedia.org /wiki/เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564.
เรืออินทรี
เป็นเรือชนิดที่มีหัวเป็นนกอินทรี ทั้งนี้ เพราะอินทรีได้ชื่อว่าเป็นสัตว์
ที่มีพละ กำลังมากกรงเล็บแข็งแรง จึงเหมาะแก่ การนำเอามาเป็น
หัวโขนเรือรูปสัตว์ ในประเทศไทยนั้น มีอินทรี ๓ ชนิด คือ อินทรี
น้ำตาล อินทรีดำ
และอินทรี- ปีกลาย
นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
sรs28265ver2.(2555).เรือนทรี.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/131217 สืบค้นเมื่อ
11 กันยายน 2564.
เรือคชสีห์
เป็นเรือที่มีหัวโขนเป็นรูปครึ่งราชสีห์ ครึ่งช้าง กล่าว
คือ รูปร่างเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง เป็น
สัตว์ในป่าหิมพานต์เเละในวรรณคดี
คชสีห์ทีผาดเผ่น ดูดังเปนเห็นขบขัน
pch5252.(2552).เรือคชสีห์.[ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/379329page=o,1
เรือราชสีห์
เป็นเรือที่มีหัวโขนเรือเป็นรูปสิงโต เป็นสัตว์ที่มีกำลังมาก
เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนสร้อยคอยาว(ตัวผู้)ราชสีห์หรือ
สิงโต มีปรากฏในนิยายจีน เเละในป่าหิมพานต์
ราชสีห์ทียืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
กรมศิลปากร.(2552).เรือพระราชพิธี.[(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.finearts.go.th/museumroyalbarges/view/9808 สืบคันเมื่อ 11
กันยายน 2564.
เรือสิงห์
เป็นเรือพระที่นั่งมีโขนเป็นรูปหงส์ทอง เรียกสั้นๆว่า เรือหงส์ คำว่า
สุวรรณ เป็นคำนาม หมายถึง ทอง ส่วนหงส์ นั้นหมายถึง นกใน
นิยายที่ถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ และเป็นพาหนะ
ของพระพรหม เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง ดูยิ่ง
สิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เปนแถวท่องล่องตามกัน
กรมศิลปากร.(2552).เรือพระราชพิธี.[(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.finearts.go.th/museumroyalbarges/view/9808 สืบคันเมื่อ 11
กันยายน 2564.
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เรือมังกร
เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดี มีรูปร่างลักษณะจัดอยู่
ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู แต่มีเท้า มีเขา คาดว่าน่า
จะมาจากสัตว์ในนิยายของจีน
Little Monk.(2552).เรือมังกร.[ออนไลน์.เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/47071 สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564.
เรือวาสุกรี
นาคนี้ มักเรียกกันว่าพญานาคของพวกนาคและยังมีชื่อที่เรียกกันเป็น
อย่างอื่นมีมากเช่น ภุชงค์ วาสุกิ หรือว่าสุกรี นาค นาคา อนันตยาหรือเศษ
นาคเป็นต้น ตามความหมายที่เข้าใจกันมาว่า นาคตัวยาวๆอย่างงู ในบาลี
ลิปิกรรม ว่า มีหน้าเหมือนคน หางเป็นงู เป็นพวกกึ่งเทวดา เมืองที่อยู่เรียก
ว่า บาดาล ซึ่งเข้าใจกันว่าอยู่ใต้แผ่นดินที่เราอยู่กันเดี๋ยวนี้ตามตำนาน อุป
ปาติกะว่า พญานาค นี้เป็นโอรสพระกัศยปเทพเทพบิดร
นาคาหน้าดังเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน
New1 8.(2562).เรือพระที่นั่งสำคัญ.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.nevtv.co.th/news/45890 สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน
2564.
เรือสมรรถชัย
เรือพระที่นั่งนี้มีมานานแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฎในตำราริ้ว
กระบวนแห่พยุหยาตราชลมารคสมเด็จ- พระนารายณ์มหาราชเป็นเรือ
กิ่งพื้นดำและมีปรากฎชื่อในโคลง พระราชพิธีทวาทศมาสในรัชกาลที่
๔แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเป็นเรือพระที่นั่งสำหรับทรงเปลื้อง
เครื่องเพราะมีการตั้ง บัลลังก์บุษบกอัญเชิญพระชฎามหากฐินนำหน้า
เรือพระที่นั่งลำทรง ตั้งเครื่องสูงด้านหน้าฉัตร ๗ ชั้น ๑ องค์ ฉัตร ๕
ชั้น ๒ องค์ด้านหลังบุษบกตั้งฉัตร ๗ ชั้น ๑ องค์ฉัตร ๕ ชั้น ๒ องค์
ม่านบุษบกเป็นผ้าตาดมีตำรวจประจำเรือ ๖ นายนักสราชนั่ง เชิญธง
ด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ นาย ปัจจุบันชำรุด ไม่สามารถซ่อม
แชมได้
สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
pch6256.(2552).เรือสมรรถไขย. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/36641? page=0,2
สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564.
เรือครุทยุดนาคหิ้ว
เรือมีโขนเป็นรูปครุฑจับนาค เรื่องนี้ปรากฎในวรรณคดี
อินเดียว่า ครุฑกับนาคเป็นลูกบิดาเดียวกันคือพระกัศยป แต่
ต่างมารดากัน มารดาของครุฑถูกมารดาของนาคแกล้งจน
ต้องตกเป็นทาส ครุฑจึงผูกใจเจ็บ ภายหลังครุฑได้พรจาก
พระนารายณ์ให้จับนาคกิน เรื่องครุฑจับนาคจึงปรากฏอยู่ใน
ศิลปะ และวรรณคดี ตกทอดมาถึงไทยเราด้วย
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
phralan.(2552).เรือครุทยุดนาค.[ออนไลน์),เข้าถึงได้จาก
http://phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=975.
สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564.
สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร
เรือไกรสรมุข
ในตำนานพระเวสสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสร-ราชสีห์ ใน
เรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริม
ฝีปาก ขนหางและเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล ไกรสร
ราชสีห์เป็น ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่า-หิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่า
ไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละ-กำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยม
และกินสัตว์ใหญ่น้อยเป็นอาหาร
รัตนกวีน้ อย. (2563).เรือไกรสรมุข.[ออนไลน์],เข้าถึงได้จาก http:
//babyratnakavi.blogspot.com/2020/01/blog-post_20.html9m=1 สืบค้นเมื่อ 11
กันยายน 2564.