ฉบับนี้เป็นรายงานผลการประชุมชี้แจงการขับเคลื่อน โครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์”ผ่าน ระบบทางไกลผ่านจอภาพ (video conference) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม war room สพป.ตาก เขต 1 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในสังกัด ศึกษานิเทศก์ที่สนใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพิ่มเติมความรู้ ด้วยแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ขอขอบคุณผู้บริหาร การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและ ประเมินผลการจัดการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิทยากรผู้ให้ความรู้ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิธีการดำเนินการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการ ประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 รายงาน
หน้า คำนำ 1 สารบัญ ส่วนที่1 ข้อมูลบุคลากร 1 ส่วนที่2 รายละเอียดการประชุม 2 นโยบายและการขับเคลื่อนการขยายผลการเรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจ ไซเบอร์ ในสถานศึกษาของสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ................................ 2 การรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย และสร้างสรรค์......................................................................................... 2 ที่มาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร "อุ่นใจไชเบอร์" และความร่วมมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน.............................. 4 บทบาทของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนหลักสูตร "อุ่นใจไซเบอร์"………. 5 แนะนำสื่อการเรียนรู้หลักสูตร "อุ่นใจไชเบอร์ และการเรียนรู้ผ่านทาง Online Learning Platform…………………………………………………………. 5 ส่วนที่3 ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้ 9 ภาคผนวก
1 แบบรายงานผลการอบรม สัมมนา ประชุมของบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลบุคลากร ชื่อ – สกุล นางสาวปราณี แก้วมา ชื่อ – สกุล นางสาวลักขณา จิ๋วปัญญา ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ประเภทการไปราชการ อบรม ศึกษาดูงาน ประชุมทางไกล สัมมนา เข้าร่วมกิจกรรม หนังสืออ้างอิง หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04010 /ว 3042 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2565 หลักสูตร/หัวข้อ การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์”ผ่านระบบทางไกลผ่านจอภาพ (video conference) หน่วยงานดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ระยะเวลา วันที่ 12 มกราคม 2565 การใช้ประโยชน์ จากการไปราชการ ปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ ขยายผลแก่โรงเรียนในสังกัด เป็นแบบอย่าง และเกียรติยศของหน่วยงาน อื่นๆ ระบุ................................................... ค่าใช้จ่าย - เอกสาร/ตำรา - PowerPoints การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อ การเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” - กำหนดการประชุม
2 ส่วนที่ 2 รายละเอียดการประชุม หัวข้อเรื่อง การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร "อุ่นใจ ไซเบอร์นโยบายและการขับเคลื่อนการขยายผลการเรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ในสถานศึกษาของสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ โดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เข้าสู่ยุคดิจิทัล ยุคที่ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี ต ่ า ง ๆ เ ข ้ า ม า ม ี บ ท บ า ท ใ น ชีวิตประจำวัน มีผลให้รูปแบบการ ใช้ ชีวิต การเข้าถึงข้อมูล และความ ต้องการของผู้คนเปลี่ยนไป ชีวิตที่ สะดวกสบายขึ้น สามารถติดต่อสื่อสาร กันได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ความสัมพันธ์ ของผู้คนเข้าใกล้กันง่ายแค่เพียงปลาย นิ้วสัมผัส โดยในส่วนของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจในการกำหนดมาตรการในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่นักเรียน ด้วย มาตรการ 3 ป. ประกอบด้วย 1) การป้องกัน 2) การปลูกฝัง 3) การปราบปราม โดยเป็นการสร้างภูมิความรู้ ทั้งในส่วนของหลักสูตรฯ (สร้างภูมิคุ้มกัน /เนื้อหาอ้างอิงมาตรฐาน กรอบการพัฒนาทางดิจิทัล /สอดคล้องกับ บริบทพื้นที่) กิจกรรม (เน้นปฏิสัมพันธ์การมีส่วนร่วม /ครูเรียนรู้ได้ และสามารถนำไปจักิจกรรมการเรียนรู้ได้) การประเมิน (มีการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ /Pre-test Post-test) หัวข้อเรื่อง การรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์โดย แพทย์ หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์ "ความเป็นพลเมืองดิจิทัล" ที่ทุกประเทศไทยและทั่วโลกคาดหวังให้เกิดขึ้นในประชากรของตน คือ "พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์อย่างเข้าใจบรรทัดฐาน ของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม และมี ความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน จำเป็นต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence) "
3 ความฉลาดทางดิจิทัล ( Digital Intelligence Quotient : DQ) คื อ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คน คนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้า ทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิต ดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัล ครอบคลุม ทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ ปัญหาในปัจจุบัน พบว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. ได้ ศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 ในประชากรช่วงอายุ 17-77 ปี พบว่า ประชากรในประเทศไทยร้อยละ 48.1 มีประสบการณ์ถูก หลอกลวงมาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยในกลุ่มดังกล่าว พบว่าร้อยละ 42.6 ตกเป็นเหยื่อที่ได้รับความเสียหาย จากการหลอกลวง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยประมาณ 2,400 บาทต่อคน โดยจากข้อมูลพบว่า Gen Y หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2523 - 2540 และ Gen Z หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2540 ขึ้นไป ถูกหลอกลวงสูงกว่า Gen X หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2508 – 2522 ในขณะที่กลุ่ม Baby Boomer หรือผู้ที่เกิดปี 2489 – 2507 มีมูลค่าความ เสียหายต่อครั้งในการถูกหลอกสูงสุดต่อครั้ง โดยรูปการหลอกลวงที่พบมาก คือ อีเมล์/SMS หลอกลวง ขณะที่ ประเภทการหลอกลวงที่มีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงสุด คือ หลอกขายสินค้าออนไลน์ ซื้อแล้วไม่ได้รับของ โดยมี อัตราการตกเป็นเหยื่อสูงถึงร้อยละ 82.6 การเป็นพลเมืองดิจิทัลนั้น มีทักษะสำคัญ 8 ประการ ที่ควรบ่มเพาะให้เกิดขึ้นกับพลเมืองดิจิทัลทุกคน ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1) ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) 2) ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) 3) ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) 4) ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) 5) ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management) 6) ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) 7) ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) 8) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)
4 หัวข้อเรื่อง ที่มาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร "อุ่นใจไชเบอร์" และความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอด วานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) “ความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์” เป็นหนึ่งในประเด็นที่มี นัยสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอไอเอส ตั้งแต่การให้ความรู้และส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป ไปจนถึงการคัดสรรโซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือป้องกันภัยคุกคามทางไซ เบอร์ที่ตอบโจทย์การให้บริการแก่ ลูกค้า เพื่อการพัฒนาและขยายผล ของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เอ ไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องคน ไทยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อม ส่งเสริมสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ โดยมี เป้าหมายในการส่งเสริมให้ประชาชน ไทย มีภูมิคุ้มกันทางด้านดิจิทัล รวมกว่า 3 ล้านคน ในปี พ.ศ.2570 ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ภายใต้โครงการ “อุ่นใจ CYBER” 1) สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Wisdom) ด้วยการจับมือภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดทำองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางดิจิทัลให้แก่คนไทย จัดทำหลักสูตร อุ่นใจ ไซเบอร์ เผยแพร่บนออนไลน์แพลตฟอร์มออนไลน์ LearnDi for Thais ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกเพศทุก วัยเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี 2) ป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Technology) ด้วยการจัดหาดิจิทัลโซลูชัน ให้กับลูกค้า ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบ้าน เครื่องมือที่ช่วยให้ใช้งาน อินเทอร์เน็ต หรืออยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ 3) สร้างความตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยี (Awareness) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์แก่ประชาชนทั่วไป
5 หัวข้อเรื่อง บทบาทของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนหลักสูตร "อุ่นใจไซเบอร์" โดย นายวิษณุ ทรัพย์ สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. บทบาทของสถานศึกษาใน การขับเคลื่อนหลักสูตรสามารถ กระทำได้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การบูรณาการในลักษณะสหวิชา หรือการใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงชุมนุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ บริบทและความพร้อมของสถาน ศึกษา โดยอาจพิจารณาเลือกเนื้อหา บทเรียนที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยความสนใจและความสมัคร ใจ หัวข้อเรื่อง แนะนำสื่อการเรียนรู้หลักสูตร "อุ่นใจไชเบอร์ และการเรียนรู้ผ่านทาง Online Learning Platform โดย นางสาวดารุวรรณ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Wisdom) เ อ ไ อ เ อ ส ร ่ ว ม ม ื อ ก ร ม สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ โดยหลักสูตรได้ผ่านการ พ ิ จ า ร ณ า ร ั บร อ ง หลั ก สู ตรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) โดยคุณครูสามารถนำผลการพัฒนามานับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอมีและเลื่อน วิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นสื่อการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะการใช้งานและการสื่อสารบนโลกออนไลน์ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นและ เสริมสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลบนออนไลน์แพลตฟอร์ม LearnDi for Thais ให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย สามารถเรียนรู้ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางเว็บไซต์ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th และแอป พลิเคชัน อุ่นใจไซเบอร์
6 บทเรียนในหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ นำเสนอเนื้อหาด้วย 4 Professional Skill Module 4P4ป ได้แก่ Practice : ปลูกฝังการใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างถูกต้องและเหมาะสม Personality : ปกป้องความเป็นส่วนตัว แนะนำการจัดการความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ Protection : ป้องกันภัยออนไลน์ เพื่อให้สามารถป้องกันภัยไซเบอร์ Participation : ปฏิสัมพันธ์ที่ดี แนะนำทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม เนื้อหาของหลักสูตรฯ เพื่อให้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมตามวัย ของผู้เรียน และสามารถการนำความรู้ ไปปรับใช้ชีวิตประจำวัน จึงแบ่งเนื้อหา ของหลักสูตรออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. ฉบับเยาวชน (ผู้เรียนอายุ 9 -18 ปี) (Fundamental Level) : รวมรวมเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการใช้งานทั่วไป เกี่ยวกับตนเองเป็นหลัก นำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี และสื่อในโลกยุคดิจิทัลได้อย่างเกิดประโยชน์ มีความรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อให้เสริมสร้างพลเมืองดิจิทัล ที่ดี
7 2. ฉบับบุคคลทั่วไป (ผู้เรียนอายุ 18 ปีขึ้นไป) (Advanced Level) : รวมรวมเนื้อหาที่ส่งเสริมการ ทักษะและสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลที่เกี่ยวกับตนเองไปจนถึงระดับองค์กร รวมถึงความสามารถในการใช้สื่อ ดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาที่ท้าทายใหม่ๆ เหมาะสำหรับบุคคลในช่วงของนักศึกษามหาวิทยาลัย วัยทำงาน จนไปถึงผู้สูงอายุ\ ขั้นตอนการเรียนรู้สำหรับเข้าใช้สื่อการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองดิจิทัล "อุ่นใจ ไซเบอร์” (Digital Citizenship Education “Aunjai Cyber”)
8
9 ส่วนที่ 3 ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้ สามารถนำโครงการการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้หน้าที่พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) ไปขยายผลการดำเนินโครงการฯไปยังสถานศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 รายวิชาวิทยาการ คำนวณ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะกระบวนการคิด และทักษะการใช้เทคโนโลยี ลงชื่อ ............................................... ผู้รายงาน (นางสาวปราณี แก้วมา) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ลงชื่อ ............................................... ผู้รายงาน (นางสาวลักขณา จิ๋วปัญญา) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
10 ความคิดเห็นของผู้อำนวยกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ……………………………………………………………………………………...………………………..................……………… ……………………………………………………………………………………...………………………………………..………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..….................................... …………………………………………………………………………………………………………………………………..…………… ลงชื่อ ........................................................ (นายสุรศักดิ์ เอี่ยมทุเรียน) ตำแหน่ง ผู้อำนวยกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ผ่านระบบทางไกลผ่านจอภาพ (video conference)
ภาพถ่าย / ภาพกิจกรรม การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ผ่านระบบทางไกลผ่านจอภาพ (video conference)
เกียรติบัตรการอบรม การประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ผ่านระบบทางไกลผ่านจอภาพ (video conference)