The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ไดอารี่ตำบลควนสุบรรณ.1234 (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nan_201030, 2021-11-12 01:22:08

ไดอารี่ตำบลควนสุบรรณ.1234 (1)

ไดอารี่ตำบลควนสุบรรณ.1234 (1)

ตำบ


ควนสุบรรณ

อำ เ ภ อ บ้ า น น า ส า ร จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ธ า นี




ยินดีต้อนรับ

เงาะโรงเรียน

ร ว บ ร ว ม โ ด ย นั ก ศึ ก ษ า ฝึ ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ วิช า ชีพ
ส า ข า รั ฐ ป ร ะ ศ า ส น ศ า ส ต ร์ ปี ที่ 4 / 2 5 6 4
ม ห า วิท ย า ลั ย ร า ช ภั ฏ สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี



นายภัทราวุธ นวลเกลี้ยง 6116209001008
นางสาวศศิวิมล ไชยชิต 6116209001022

นายนันทวัฒน์ รัตนะ 6116209001204



"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่น
ดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมาก
มองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป"


(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
จากวารสารชัยพัฒนาประจำเดือนสิงหาคม 2542)

คำนำ

หนังสือฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐ
ประศาสศาสตร์ รหัสวิชาฺBPA0602-59 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความ
รู้จากพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนำ
ข้อมูลความรู้ได้รับมาจัดทำเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ในหนังสือฉบับนี้มีเนื้อหาประกอบ
ด้วยความรู้เกี่ยวกับข้อมูลประวัติความเป็นมา โครงสร้างของชุมชนและรวมถึง
สถานที่สำคัญของตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำหนังสือ เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ ผู้จัด
ทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์อยับ ซาดัดคาน ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการ
ศึกษา และขอขอบคุณ อาจารย์ปุณยวีร์ หนูประกอบ ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ
และหวังว่าหนังสือฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ ท่าน
หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง



คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1
2
ข้อมูลพื้นฐาน 2
1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล 3
1.2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล 4
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 4
1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
1.5 การเดินทาง / การคมนาคม 5
6
โครงสร้างชุมชน 7
2.1 ด้านการเมืองการปกครอง 8
2.2 ข้อมูลประชากร 9
2.3 ด้านการศึกษา / ศาสนา / วัฒนธรรม 11
2.4 บริบททางสังคม / ความเป็นอยู่

2.5 ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 12
13
โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 13
3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ 14
3.2 แหล่งอาหาร 14
3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ

3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน

สารบัญ หน้า

เรื่อง 16
17
สถานที่สำคัญสำคัญๆ 18
4.1 แหล่งท่องเที่ยว 19
4.2 ศาสนสถานของทุกศาสนา
4.3 แหล่งเรียนรู้/ โรงเรียน / ห้องสมุดชุมชน 21
22
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 24
5.1 สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี(จุดแข็ง) 25
5.2 สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา(จุดอ่อน) 27
5.3 โอกาศของชุมชน
5.4 อุปสรรคและความท้าท้าย 29
30
บรรณานุกรม/อ้างอิง
ถาคผนวก

สารบัญรู ปภาพ หน้า

เรื่อง 1
17
ภาพที่1 สัญลักษณ์อบต.ควนสุบรรณ 17
ภาพที่2 ภาพเล@ห้วยกรวด 17
ภาพที่3 ภาพเล@ห้วยกรวด 17
ภาพที่4 ภาพเล@ห้วยกรวด 17
ภาพที่5 ภาพท่าขอนเรือ 18
ภาพที่6 ภาพท่าขอนเรือ 18
ภาพที่7 ภาพวัดควนสุบรรณ 18
ภาพที่8 ภาพวัดไทรโพธิ์งาม 19
ภาพที่9 ภาพวัดโกงเหลง 19
ภาพที่10 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณ 19
ภาพที่11 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณ 19
ภาพที่12 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณวิทยา 20
ภาพที่13 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณวิทยา 20
ภาพที่14 ภาพโรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม 20
ภาพที่15 ภาพโรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม 20
ภาพที่16 ภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ
ภาพที่17 ภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ

สารบัญตาราง หน้า

เรื่อง 7
8
ตารางที่1 สถิติจำนวนประชากร 9
ตารางที่2 สถิติระดับการศึกษาของประชากร
ตารางที่3 จำนวนประชากรจำแนกตามศาสนา

ส่ วนที่

ข้ อมูลพื้นฐาน

2

ข้อมูลพื้ นฐาน

1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบลควนสุบรรณ

ภาพที่1 สัญลักษณ์ อบต.ควนสุบรรณ

ความเป็นมาเดิมของตำบลควนสุบรรณนั้นได้แยกออกจากตำบลทุ่งเตาเมื่อ
ปี พ.ศ. 2519 มีทั้งหมด4 หมู่บ้าน คือหมู่ที่1บ้านต้นสะท้อน หมู่ที่2บ้านหนองดุก
หมู่ที่3บ้านโกงเหลง หมู่ที่4บ้านวัดไทรโพธิ์งาม และตั้งชื่อตำบลตามชื่อวัดควน
สุบรรณซึ่งเป็นวัดสำคัญตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองดุกหมู่ที่2 โดยชื่อควนสุบรรณตั้ง
ตามลักษณะที่ตั้งของวัดในสมัยนั้นซึ่งเป็นเนิน ซึ่งในภาษาใต้เรียกบริเวณที่เป็น
เนินว่า "ควน" ส่วนคำว่า "สุบรรณ" มาจากความหมายของคำว่า ครุฑ ซึ่งเป็น
นามสกุลเดิมของหลวงพ่อ รุ่ม อินทมุนี เจ้าอาวาสที่ก่อตั้งวัดแห่งนี้ โดยชื่อเดิม
ของท่านคือ ชุ่ม มีครุฑ และระยะเวลาต่อมามีการแบ่งแยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นทำให้
ในปัจจุบันตำบลควนสุบรรณมีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 7 หมู่บ้าน

1.2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล

พื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีพื้นที่ประมาณ41.32 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
25,827.50 ไร่ คิดเป็น 4.95 ของพื้นที่ทั้งอำเภอ ตำบลควนสุบรรณตั้งอยู่ทางทิศเหนือ
ของอำเภอบ้านนาสารห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ประมาณ10 กิโลเมตร

มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งเตา อำเภอบ้านนาสาร
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองนาสาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม

3

1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ ได้แก่

น้ำ

น้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำจากบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น
และคลองลำพูน ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น แหล่งน้ำธรรมชาติ
- บ่อโยก จำนวน 15 แห่ง - ลำห้วย จำนวน 17 สาย
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 62 แห่ง - หนองน้ำ จำนวน 6 แห่ง
- ถังเก็บน้ำฝน คสล. จำนวน 8 แห่ง - คลอง จำนวน 2 สาย
- บ่อบาดาล จำนวน 7 แห่ง
- ถังเก็บน้ำพลาสติก จำนวน 138 ใบ
- สระน้ำ จำนวน 17 แห่ง

ป่าไม้ ภูเขา

ในเขตตำบลควนสุบรรณไม่มีป่าไม้ ในเขตตำบลควนสุบรรณไม่มีภูเขา

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ในพื้นที่ของตำบลควนสุบรรณส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก
ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการตามลำดับ ทรัพยากรธรรมชาติใน
พื้นที่ ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ

4

1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

1.4.1 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไป ตำบลควนสุบรรณพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบจึงเหมาะสำหรับ
ทำการเกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนยางพารา สภาพดินเป็นดินเหนียวและดิน
ร่วน มีแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่านคือ คลองลำพูนและคลองเหยียน เหมาะสำหรับ
ใช้ทำการเพาะปลูก
1.4.2 ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่ตำบลควนสุบรรณ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตำวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มี
ช่วงฤดูฝนยาวนาน และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อนและ
ฝนระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไปและฤดุร้อนเกิดการ
ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ในช่วงฤดูแล้ง

1.5 การเดินทาง / คมนาคม

ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ ดังนี้
หมู่ที่1 มีถนนทั้งหมด จำนวน 7 สาย รวมระยะทาง 4,820 เมตร
หมู่ที่2 มีถนนทั้งหมดจำนวน 11 สาย รวมระยะทาง 16,377 เมตร
หมู่ที่3 มีถนนทั้งหมดจำนวน 11 สาย รวมระยะทาง 12,175 เมตร
หมู่ที่4 มีถนนทั้งหมดจำนวน 10 สาย รวมระยะทาง 18,685 เมตร
หมู่ที่5 มีถนนทั้งหมดจำนวน 5 สาย รวมระยะทาง 5,816 เมตร
หมู่ที่6 มีถนนทั้งหมดจำนวน 7 สาย รวมระยะทาง 7,165 เมตร
หมู่ที่7 มีถนนทั้งหมดจำนวน 7 สาย รวมระยะทาง 10,089 เมตร
(แผนพัฒนาตำบล ประจำปี พ.ศ. 2563)

5

ส่ วนที่

โ ค ร ง ส ร้ า ง
ชุ ม ช น

6

โครงสร้างของชุมชน

2.1 ด้านการเมืองการปกครอง

การเลือกตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณแบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ท้องถิ่นออกเป็น7เขตเลือก ตั้งในเเต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาท้องถิ่น
จำนวน2คนรวมทั้งหมด14คนและเเบ่งเขตเลือกผู้บริหารท้องถิ่นเป็น1เขตการ
เลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์การ
บริหารส่วนตำบลควนสุบรรณเมื่อวันที่ 13ตุลาคมพ.ศ.2556 ที่ผ่านมา
ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3,349
คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 3,339 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 3,910
คน คิดเป็นร้อยละ 85.40

รายชื่อผู้นำท้องถิ่นในเขตตำบลควนสุบรรณ

1. นายชาญชัย ฉันทสุเมธากุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ

รายชื่อผู้นำท้องที่ในเขตตำบลควนสุบรรณ

1. นางอำนวย รักชาติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 บ้านต้นสะท้อน
2. นายสัญชัย รุ่งรัตนกุลศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่2 บ้านหนองดุก
3. นายประยูร ไสยรินทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่3 บ้านโกงเหลง
4. นายเสนอ รักเรือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่4 บ้านวัดไทรโพธิ์งาม
5. นายฉัตรชัย เเคล้วอ้อม กำนันตำบลควนสุบรรณหมู่ที่5 บ้านห้วยกรวด
6. นายประสิทธิ์ มากบุญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่6 บ้านหนองบ่อ
7. นายสุธรรม พัฒเสน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่7 บ้านห้วยกรวดใหม่

7

2.2 ข้อมูลประชากร

จำนวนประชากรในตำบลควนสุบรรณ

ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีประชากรทั้งสิ้น 3,827คน
- ประชากรเพศชาย 1,894คน คิดเป็นร้อยละ49.49 ของประชากรทั้งหมด
ในตำบลควนสุบรรณ
- ประชากรเพศหญิง 1,933คน คิดเป็นร้อยละ50.51ของจำนวนประชากร
ทั้งหมดในตำบลควนสุบรรณ

จากจำนวนประชากรดังกล่าว สามารถจำแนกได้ตามช่วงอายุ ดังนี้

ตารางที่1 สถิติจำนวนประชากร

8
2.3 ด้านการศึ กษา / ศาสนา / วัฒนธรรม

2.3.1 ด้านการศึ กษา

ในเขตพื้นที่ตำบลควนสุบรรณมีสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนควนสุบรรณและ
โรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนควนสุบรรณวิทยา
ระดับการศึกษาของประชาชนในตำบลควนสุบรรณ
ระดับการศึกษาของประชากรส่วนใหญ่ของตำบลควนสุบรรณ คือ จบการ
ศึกษาชั้นประถมปีที่ (1,734 คน ) รองลงมา คือจบการศึกษามัธยมตอนต้น
( 660 คน )

ตารางที่2 สถิติระดับการศึกษาของประชากร

9

2.3.2 ด้านศาสนา

การนับถือศาสนา ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีดังนี้ มีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่3 จำนวนประชากรจำแนกตามศาสนา

ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลควนสุบรรณนับถือศาสนาพุทธและมีองค์กร
ทางศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาจำนวน3แห่ง
ได้แก่ 1. วัดควนสุบรรณ (หมู่ที่2)

2. วัดไทรโพธิ์งาม (หมู่ที่4)
3. วัดโกงเหลง (หมู่ที่7)

2.4 บริบททางสังคม / ความเป็นอยู่

บริบททางสังคมหรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรตำบลควน
สุบรรณประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพทำสวนยางพาราหรือสวนผลไม้และค้าขาย
เป็นหลัก โดยชาวบ้านในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่ง
กันและกัน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน มีความกลมเกลียว พึ่งพาซึ่งกันและกันได้ เช่น
บ้านไหนเพาะปลูกผักหรือผลไม้อะไร ได้ผลผลิตมาก็จะแบ่งให้กับเพื่อนบ้าน
และชาวบ้านในพื้นที่ตำบลโดยประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ
ส่วนใหญ่จะเป็นพี่น้องหรือเครือญาติกัน

10

2.4.1 ระบบบริการพื้นฐาน

ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้

2.4.1.1 ด้านการบริการสาธาณสุข

มีศูนย์บริการสาธารณสุขตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ1แห่ง
คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนสุบรรณ

2.4.1.2 ด้านการป้องกันอาชญากรรม

ตำบลควนสุบรรณมีการดูแลความสงบเรียบร้อย และความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีหน่วยต่างๆดังนี้

- ที่พักสายตรวจประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง

2.4.1.3 ด้านการป้องกันยาเสพติด

ตำบลควนสุบรรณมีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่
ได้มีชุดตำรวจ/เจ้าหน้าที่ปกครอง/ท้องถิ่น ได้ให้ความรู้และคอยสอดส่อง
ดูแลภายในพื้นที่อยู่สม่ำเสมอ เมื่อตรวจพบผู้ที่ติดยาเสพติด ก็ส่งไปบัดบำ
และฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด โดยท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณฟื้นฟู

นอกจากนี้ในเขตตำบลควนสุบรรณ ยังมีหมู่บ้านที่เป็น
หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีจำนวน3หมู่บ้านด้วยกัน คือ บ้านหนองดุก
หมู่ที่2 บ้านไทรโพธิ์งามหมู่ที่4 และบ้านหนองบ่อหมู่ที่6

2.4.1.4 ด้านการไฟฟ้า

- ไฟฟ้าในตำบลควนสุบรรณ มีจำนวน 7 หมู่บ้าน
- ประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 100
- ไฟฟ้าสาธารณะถนน จำนวน 27 สาย

11

2.4.1.5 ด้านการประปา

- ระบบประปาหมู่บ้าน มีจำนวน 7 หมู่บ้าน
- ประชากรที่ใช้น้ำประปา จำนวน 820 ครัวเรือน
คิดเป็นร้อยละ 73.34

2.4.1.6 ด้านระบบอินเตอร์เน็ต

- องค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ มีการให้บริการ WiFi
ฟรี ในพื้นที่ หมู่ที่1, หมู่ที่2, หมู่ที่3, หมู่ที่4, หมู่ที่5และหมู่ที่6 ตามจุด
ต่างๆ ของหมู่บ้าน

2.5 ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม

ประเพณีสำคัญและงานประจำปีในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีดังนี้

- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือนมกราคม
- ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ ประมาณเดือนเมษายน
- ประเพณีจบปีจบเดือน ประมาณช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือนพฤศจิกายน
- ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบ (รับ ส่งตายาย) ประมาณเดือนตุลาคม
- ประเพณีชักพระ (ร่วมขบวนเรือพระที่จังหวัด) ประมาณเดือนตุลาคม

(แผนพัฒนาตำบล ประจำปี พ.ศ. 2563)

12

ส่ วนที่

โครงสร้าง
เศรษฐกิจและอาชีพ

13

โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ

3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ

แหล่งทุนทางธรรมชาติของพื้นที่ตำบลควนสุบรรณได้แก่ แหล่งน้ำ
ลำห้วย หนองน้ำ คลอง ต้นไม้ อากาศดี ไม่มีมลพิษ และดินที่สมบูรณ์ซึ่ง
เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่สำคัญของตำบลควนสุบรรณ
ได้แก่ คลองลำพูนและคลองเหยียน

3.2 แหล่งอาหาร

ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาชน
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนผลไม้เป็นหลัก ซึ่งแหล่งอาหารที่
สำคัญในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ ซึ่งได้แก่ผลผลิตทางด้านการเกษตรที่ขึ้นชื่อ
เป็นอย่างมาก เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น โดยเฉพาะเงาะโรงเรียน ซึ่งถือ
ได้ว่าเป็นเงาะพันธ์โรงเรียนที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งจะมีลักษณะพิเศษก็คือเปลือก
เงาะจะบางมีรสชาติที่หวานกรอบอร่อย ซึ่งถือว่าเงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้น
ชื่อของตำบลควนสุบรรณและเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ส่วนอาหารประจำท้องถิ่นของตำบลควนสุบรรณก็จะเป็นอาหาร
พื้นบ้านของภาคใต้ทั่วไป เช่นแกงส้ม แกงไตปลา ผัดเผ็ดสะตอ เป็นต้น

14

3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดีของขึ้นชื่อ

ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณมีผลิตภัณฑ์ของดีของขึ้นชื่อ ได้แก่ ผลไม้ซึ่ง
เช่น เงาะและทุเรียนควนสุบรรณ และนอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ OTOP เช่นกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชนแปลรูปปลาตำบลควนสุบรรณ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ เช่น ปลาดุกร้า
,ปลาส้ม ,กล้วยทับน้ำกะทิมะพร้าวอ่อน, กล้วยทอดกรอบ เป็นต้น
และก็ยังมีผลิตภัณฑ์ตำบลก็คือ จักรสานไม้ไผ่ และผีเสื้อใบยางพารา

3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจประชาชน

3.4.1 การประกอบอาชีพ

ประชากรในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ ส่วนใหญ่ร้อยละ90 ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวนผลไม้ สวนยางพาราและเพาะชำกล้า
ไม้ นอกจากนั้นอีกร้อยละ10 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับ
ราชการ

3.4.2 การว่างงาน

ประชากรในตำบลควนสุบรรณที่ว่างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 206คน คิดเป็น
ร้อยละ5.38 ของประชากรทั้งหมดในตำบลควนสุบรรณ โดยจำแนกได้ดังนี้
1. เพศชาย 95 คน คิดเป็นร้อยละ2.48 ของประชากรทั้งหมดในตำบลควนสุบรรณ
2. เพศหญิง 111คน คิดเป็นร้อยละ2.90 ของประชากรทั้งหมดในตำบลควน
สุบรรณ

15

3.5 สภาพเศรษฐกิจของประชาชน

สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีลักษณะดังนี้

3.5.1 การเกษตร

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรเป็นอาชีพหลัก ทรัพยากรด้าน
ผลผลิตทางการเกษตรได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน และการเพาะชำกล้าไม้

3.5.2 การประมง

การเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณมีน้อยมาก ทั้งนี้ในอดีต
ประชาชนในพื้นที่จะอาศัยการจับสัตว์น้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาหาร มี
สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุกชุมมาก แต่ปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำมีปริมาณลดลง
เนื่องจากประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์

3.5.3 การปศุสัตว์

ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีการทำปศุสัตว์ในปริมาณจำนวนที่
น้อยลง เนื่องจากไม่ค่อยมีพื้นที่เลี้ยงสัตว์

3.5.4 การบริการ

หน่วยธุรกิจบริการและธุรกิจอุตสาหกรรมในตำบลควนสุบรรณ มีดังนี้
- สถานีบริการน้ำมันและก๊าซ จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น จำนวน 1 แห่ง

3.5.5 แรงงาน

แรงงานในพื้นตำบลควนสุบรรณส่วนใหญ่ที่จะเป็นกลุ่มแรงงานภายในพื้นที่
และ นอกจากนี้ยังมีคนจากทางภาคอีสาน ซึ่งเข้ามาเก็บผลผลิตในช่วงฤดูกาล
เก็บเกี่ยวไม้ผล และชาวพม่าที่เข้ามารับจ้างทำสวนยางพารา
(แผนพัฒนาตำบล ประจำปี พ.ศ. 2563)

16

ส่ วนที่

ส่ ว น ที่ 4
สถานที่
สำคัญ

17

สถานที่สำคัญ

4.1 แหล่งท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีดังนี้

เล@ห้วยกรวด

ภาพที่2 ภาพเล@ห้วยกรวด ภาพที่3 ภาพเล@ห้วยกรวด ภาพที่4 ภาพเล@ห้วยกรวด

เล@ห้วยกรวด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ บรรยากาศดี
มีวิวสวยงาม ซึ่งเล@ห้วยกรวด นั้นเปิดให้บริการประชาชนในพื้นที่ หมู่ 7 บ้าน
ห้วยกรวดใหม่ ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ท่าขอนเรือ

ภาพที่5 ภาพท่าขอนเรือ
ภาพที่6 ภาพท่าขอนเรือ

ท่าขอนเรือ เป็นจุดเช็คอินและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ที่สามารถ
เล่นน้ำในคลองได้ และมีบริการเครื่องเล่นต่างๆ เปิดให้บริการประชาชนในพื้นที่
หมู่ที่3บ้านโกงเหลง ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

18

4.2 แหล่งโบราณสถาน

ไม่มีแหล่งโบราณสถาน ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ อำเภอ
บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4.3 ศาสนสถานของทุกศาสนา

สถานประกอบด้านศาสนา ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีดังนี้

วัดควนสุบรรณ

ภาพที่7 ภาพวัดควนสุบรรณ

วัดควนสุบรรณ เป็นวัดเก่าแก่ประจำตำบลควนสุบรรณ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่
ที่2 บ้านหนองดุก ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดไทรโพธิ์งาม วัดโกงเหลง

ภาพที่8 ภาพวัดไทรโพธิ์งาม ภาพที่9 ภาพวัดโกงเหลง

วัดไทรโพธิ์งาม ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่4 วัดโกงเหลง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่7 บ้าน
บ้านไทรโพธิ์งาม ตำบลควนสุบรรณ ห้วยกรวดใหม่ ตำบลควนสุบรรณ
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

19

4.4 แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน / ห้องสมุดชุมชน

ในพื้นที่ตำบลควนสุบรรณ มีแหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน / ห้องสมุดชุมชน
ที่เปิดให้บริการ ดังนี้

โรงเรียนควนสุบรรณ

ภาพที่10 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณ ภาพที่11 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณ
โรงเรียนควนสุบรรณ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่

หมู่ที่2บ้านหนองดุก ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โรงเรียนควนสุบรรณวิทยา

ภาพที่12 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณวิทยา ภาพที่13 ภาพโรงเรียนควนสุบรรณวิทยา

โรงเรียนควนสุบรรณวิทยา เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่
ที่2บ้านหนองดุก ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

20 โรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม

ภาพที่14 ภาพโรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม ภาพที่15 ภาพโรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม

โรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่

หมู่ที่4บ้านไทรโพธิ์งาม ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ

ภาพที่16 ภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ ภาพที่17 ภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนสุบรรณ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่2บ้านหนองดุก

ตำบลควนสุบรรณ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(แผนพัฒนาตำบล ประจำปี พ.ศ. 2563)

21

ส่ วนที่

การวิเคราะห์
ศั กยภาพชุมชน

22

การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน

s 5.1 สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี

Strengths (จุดเเข็ง)

5.1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

- ในเขตชุมชนมีถนนที่สะดวกต่อการเดินทาง และเป็นทางผ่านไปยัง
จังหวัดต่างๆ
- ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- มีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน

5.1.2 ด้านการศึ กษาศาสนาและวัฒนธรรม

- เด็กและเยาวชนได้เข้ารับการศึกษาตามเกณฑ์
- มีสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการรองรับนักเรียน
- มีการส่งเสริมกิจกรรมศาสนา ประเพณีเป็นประจำทุกปี

23

5.1.3 ด้านสังคม

- ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และให้ความร่วมมืออย่างสม่ำเสมอ
- ผู้นำมีการบริหารจัดการชุมชนที่ดี ให้ความสำคัญกับหมู่บ้าน และตอบสนอง
ความต้องการของประชาชน
- ประชาชนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีความสามัคคีเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

5.1.4 ด้านเศรฐกิจ

- มีแหล่งต้นทุนในการประกอบอาชีพ
- การเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ผลไม้ต่างๆ และการปศุสัตว์
- การรวมกลุ่มอาชีพในตำบล

5.1.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม

- มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วย แหล่งน้ำ ลำห้วย หนองน้ำ
คลอง ต้นไม้ และดินที่สมบูรณ์ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก
- ตำบลควนสุบรรณมีสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลซึ่งได้แก่ เล@ห้วยกรวด และ
ท่าขอนเรือซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาให้เกิดเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวของตำบลควนสุบรรณ

24 5.2 สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา
(จุดอ่อน)
w

Weaknesses

5.2.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

- ถนน ไฟฟ้า ระบบประปา ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก
- น้ำประปาในตำบลควนสุบรรณยังมีปัญหามีไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง
- ตำบลควนสุบรรณยังขาดการบริหารจัดการที่ไม่ชัดเจน มักเกิดปัญหา
การใช้น้ำ

5.2.2 ด้านการศึ กษาและศาสนาและวัฒนธรรม

- ขาดแหล่งเรียนรู้หรือห้องสมุดชุมชนที่ตำบลควนสุบรรณยังไม่มี

5.2.3 ด้านสังคม

- มีปัญหาของการติดยาเสพติดในหมู่บ้าน
- ปัญหาการพนัน
- ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5.2.4 ด้านเศรษฐกิจ

- ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด19 ทำให้การส่งออกสินค้า เช่นจำพวกผล
ไม้ มีจำนวนลดน้อยถดถอยลง ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
- การรวมกลุ่มการประกอบอาชีพของประชาชนยังขาดการบริหารจัดการที่ดี
- เงินทุนวัตถุดิบเมื่อมีแหล่งทุน แต่กลับนำไปใช้ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์
- ต้นทุนผลการผลิตทางการเกษตรมีราคาสูง แต่ราคาผลิตตกต่ำ

25

5.2.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม

- ตำบลควนสุบรรณมีเล@ห้วยกรวด และท่าขอนเรือ แต่ยังไม่ได้รับการส่ง
เสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวในมุมกว้าง เป็นแค่ทางผ่านของหมู่บ้านเท่านั้น ต้อง
สร้างจุดแลนด์มาร์คขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์

O

Opportunities 5.3 โอกาสของชุมชน

5.3.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

- ได้รับการสนับสนันจากหน่วยรัฐในการพัฒนาหมู่บ้าน มีเส้นทางทาง
คมนาคมเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด
- การบริหารจัดการงบประมาณ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

26

5.3.2 ด้านการศึ กษาศาสนาและวัฒนธรรม

- กรมส่งเสริมให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ให้การ
สนับสนุนด้านสื่อวัสดุการเรียนการสอน
- นโยบายของรัฐบาลส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นท้องถิ่น
โดยการสร้างดุลยภาพ ในการบริหารจัดการงบประมาณ ในส่วนของการทำนุ
บำรุงศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถดึงดูดผู้ที่สนใจเข้ามา
ร่วมกิจกรรมได้ ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้

5.3.3 ด้านสังคม

- นโยบายรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง

5.3.4 ด้านเศรษฐกิจ

- ภาครัฐ ในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบลด้านต่างๆ มีเส้น
ทางคมนาคมเชื่อมระหว่างจังหวัด สามารถรองรับการขยายตัวทางด้านการ
เศรษฐกิจ สามารถพัฒนาเป็นจุดพัก จุดให้บริการ สำหรับเชื่อมต่อไปยังแหล่ง
ท่องเที่ยวของอำเภอใกล้เคียงและจังหวัดต่างๆ

5.3.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม

- ประชาชนในตำบลควนสุบรรณได้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้หมู่บ้านมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
- ประชาชนมีการรณรงค์ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก

27

T 5.4 อุปสรรคและความท้าทาย

Threats

5.4.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

- ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในวิถีชีวิตแบบเดิมที่เป็นอยู่ โดย
ไม่ค่อยสนใจในการที่จะพัฒนาก้าวหน้าให้เจริญขึ้น

5.4.2 ด้านการศึ กษาศาสนาและวัฒนธรรม

- ค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมที่เปลี่ยนสื่อเทคโนโลยี

5.4.3 ด้านสังคม

- โทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต มีอิทธิพลต่อเด็กแล้วเยาวชน ทำให้กระแส
บริโภคนิยมรุนแรงและยังทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชน
- การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ ( COVID-19 ) ส่งผลให้ชุมชนขาด
การทำกิจกรรมร่วมกัน

28

5.4.4 ด้านเศรษฐกิจ

- การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ ( COVID-19 ) ส่งผลให้ประชากร
บางส่วนตกงาน ไม่มีรายได้
- การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ ( COVID-19 ) ส่งผลให้ประชนที่
ประกอบอาชีพค้าขายขาดรายได้หรือรายได้ลดลง เนื่องจากประชาชนออก
มาจับจ่ายซื้อของน้อยลง
- ในความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจ ราคาต้นทุนการผลิตสูง มีภัยจาก
ธรรมชาติต่างๆ เช่น ภัยแล้ง (ปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง)

5.4.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม

- ประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้สึกรักท้องถิ่น ยังทำลาทรัพยากร
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
(แผนพัฒนาตำบล ประจำปี พ.ศ. 2563)

29

บรรณานุกรม/อ้างอิง

นายชาญชัย ฉันทสุเมธากุล (นายก อบต. ควนสุบรรณ), สัมภาษณ์,24 กันยายน 2564.
นางสาวอัจฉราวดี ชูจิตร (ประธานตำบลควนสุบรรณ), สัมภาษณ์,24 กันยายน 2564.
นายสัญชัย รุ่งรัตนกุลศรี (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2), สัมภาษณ์,16กันยายน 2564.
นายธนรัตน์ รักเมือง (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4), สัมภาษณ์,16 กันยายน 2564.
นายศราวุฒิ นิลเอี่ยม (ชาวบ้านหมู่ที่ 7), สัมภาษณ์,27 กรกฎาคม 2564.

สมุดแผนพัฒนาตำบล ( ประจำปี พ.ศ. 2563 ) ของเทศบาลตำบลควนสุบรรณ
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถานที่ท่องเที่ยว สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
http://www.khuansuban.go.th/travel
https://vymaps.com/TH/107099324144835/
โรงเรียนควนสุบรรณวิทยา สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
http://ksb-spm11.com/
โรงเรียนควนสุบรรณ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
https://data.bopp-obec.info/web/index_view_history.php?
School_ID=1084640315&page=history
โรงเรียนวัดไทรโพธิ์งาม สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
https://data.bopp-obec.info/web/index_contactus.php?
School_ID=1084640321
ผลิตภัณฑ์ตำบลควนสุบรรณ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
http://www.khuansuban.go.th/otop
สถานประกอบด้านศาสนา สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก
http://thailand.kapook.com/place.php?id=4f2ac2829eb19f70340005b6

30




ภาคผนวก

31

32



ควนตำสุบบ
รลรณ

อำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี


Click to View FlipBook Version