The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by keittapong, 2021-06-14 00:52:08

คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา

คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา

คู มื อ ก า ร ทํ า

ส�ิ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู แ ล ะ พ� ง ร ะ วั ง



เกษตรคพมู่ อื ันกาธรสท�ำ ญั ญา:

สิ่งท่เี กษตรกรควรรูแ้ ละพึงระวัง

จริ วรรณ กจิ ชัยเจริญ และ พรสริ ิ สืบพงษ์สังข์

จดั ท�ำ โดย: แผนงานสร้างเสรมิ นโยบายสาธารณะท่ดี ี (นสธ.)
สนบั สนุนโดย: ส�ำ นักงานกองทุนสนบั สนุนการสรา้ งเสรมิ สุขภาพ (สสส.)

คมู่ ือการทำ�เกษตรพนั ธสัญญา:
ส่งิ ที่เกษตรกรควรรแู้ ละพึงระวัง

สนับสนุนโดย: สำ�นักงานกองทนุ สนับสนนุ การสร้างเสรมิ สุขภาพ (สสส.)
เลขท่ี 99/8 ศูนยเ์ รยี นรู้สุขภาวะ ซ.งามดูพลี ถ.พระราม 4
แขวงท่งุ มหาเมฆ เขตสาทร กรงุ เทพฯ 10120
โทรศพั ท:์ 0 2343 1500 โทรสาร: 0 2343 1551
www.thaihealth.or.th

จดั พมิ พแ์ ละเผยแพร่โดย: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะท่ีดี (นสธ.)
สถาบนั ศกึ ษานโยบายสาธารณะ มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ (PPSI)
เลขท่ี 145/5 หมู่ 1 ต.ช้างเผือก อ.เมอื ง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท:์ 0 5332 7590–1 โทรสาร: 0 5332 7590–1 # 16
www.tuhpp.net
ปีท่ีพิมพ์: มถิ ุนายน 2557
จ�ำ นวนพิมพ:์ 500 เลม่
ออกแบบรูปเล่ม: ล๊อคอินดีไซน์เวิรค์ โทรศัพท:์ 0 5321 3558

คำ�นำ�

การทำ�เกษตรพันธสัญญามีปัญหาสำ�คัญประการหน่ึง คือ การท่ี
เกษตรกรไม่ไดร้ บั ขอ้ มูลเก่ียวกบั การลงทุน ผลตอบแทน ความเสีย่ ง
รวมท้ังประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับข้อตกลงในระบบพันธสัญญาที่ดีพอ
ก่อนทำ�การตัดสินใจลงทุนในระบบเกษตรพันธสัญญา เม่ือตัดสินใจ
ลงทุนทำ�แล้วอาจพบภายหลังว่าการทำ�เกษตรพันธสัญญาไม่ใช่ระบบ
เกษตรทตี่ นเองตอ้ งการ แตภ่ าระหนสี้ นิ ทเ่ี กดิ จากการลงทนุ อาจท�ำ ให้
เกษตรกรต้องจำ�ยอมทำ�เกษตรพันธสญั ญาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การทำ�ฟาร์มปศุสัตว์พันธสัญญา เน่ืองจากใช้เงินลงทุนท่ีสูงกว่า
การปลกู พชื ในระบบพันธสญั ญา
คู่มือการทำ�เกษตรพันธสัญญาเล่มน้ี ใช้ข้อมูลส่วนใหญ่
ท่ีได้จากการทำ�โครงการวิจัยต่อเน่ืองเกี่ยวกับเกษตรพันธสัญญา 2
โครงการ ซึง่ ไดร้ ับทนุ สนับสนุนจากแผนงาน นสธ. โดยการสนบั สนุน
ของ สสส. การจัดทำ�คู่มือเล่มน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือเผยแพร่ข้อมูล
และองคค์ วามรทู้ เ่ี กยี่ วกบั การท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญา โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่
ด้านการลงทุน ผลตอบแทนและความเสี่ยง ให้แก่เกษตรกรใช้เป็น
ข้อมลู ในการตัดสนิ ใจกอ่ นการลงทุน

จริ วรรณ กจิ ชยั เจรญิ และ พรสริ ิ สบื พงษส์ ังข์

- ส า ร บั ญ -

มาร้จู กั เกษตรพันธสัญญา
-5-

รูปแบบและขอ้ ตกลงในเกษตรพันธสัญญา
-9-

เงินลงทุนและผลตอบแทน
ของการท�ำ ฟาร์มปศุสัตวพ์ นั ธสญั ญา

- 15 -
ความเสย่ี งและการปรบั ตัวของเกษตรกร

ภายใต้ระบบเกษตรพนั ธสญั ญา
- 30 -

ข้อควรรู้เกยี่ วกบั เกษตรพันธสญั ญา
- 39 -

เอกสารอา้ งอิง
- 48 -

สิ่ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 5

1 มารู้จกั เกษตรพนั ธสัญญา

ในยุคของการค้าเสรีและการขยายตัวของธุรกิจเกษตร การแข่งขัน
ในการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรให้ได้ปริมาณและคุณภาพ
รวมท้ังราคาสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมีเพ่ิมมากขึ้น
อย่างต่อเน่ือง เกษตรกรรายย่อยมกั ประสบปญั หาในการเขา้ ถงึ ตลาด
ขาดข้อมูลด้านการตลาด ขาดการเช่ือมโยงกับตลาดปัจจัยการผลิต
และผลผลิตท่ีจำ�เป็น ทำ�ให้ประสบความยากลำ�บากในการผลิต
ให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับการผลิตขนาดใหญ่ได้
ขณะเดียวกัน บริษัทแปรรูปสินค้าอาหารต้องการสินค้าท่ีมีความ
เฉพาะเจาะจงมากข้ึนให้ได้ตามมาตรฐานสำ�หรับการแปรรูปและ
ต้องการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เกษตรพนั ธสญั ญาไดถ้ กู พฒั นาขน้ึ มาเพอ่ื ใหเ้ กดิ การเชอ่ื มโยงระหวา่ ง
เกษตรกร บริษทั แปรรปู และตลาด อนั จะท�ำ ให้ทั้งเกษตรกรและบริษทั
สามารถผลิตเชิงพาณิขยไ์ ด้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพมากขน้ึ

6 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

เกษตรพนั ธสัญญาคืออะไร?
เกษตรพันธสัญญาเป็นการเกษตรที่มีข้อตกลงระหว่าง
บริษัทแปรรูป (ผู้ซ้ือ) กับเกษตรกร (ผู้ผลิต) ในการผลิตและส่งมอบ
สินคา้ เกษตรภายใต้เงือ่ นไขท่ีกำ�หนด เช่น ปจั จยั การผลติ เทคโนโลยี
การผลิต คุณภาพของผลผลิตและราคารับซ้ือ เป็นต้น โดยเกษตร
พันธสัญญามีอยู่หลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้า
เกษตรท่ผี ลิตและบรษิ ัทคู่สญั ญาเป็นสำ�คญั
เกษตรพันธสญั ญามปี ระโยชน์อย่างไร
ตามหลักการแล้วเกษตรพันธสัญญาเป็นระบบท่ีเข้ามา
ช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ท้ังเกษตรกรผู้ผลิตและบริษัทผู้ซ้ือผลผลิต
เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ตรงตามความต้องการของ
ผู้บริโภคและให้ได้สินค้าตามมาตรฐานท่ีกำ�หนด ทั้งสองฝ่ายควรจะ
ไดร้ ับประโยชน์จากเกษตรพนั ธสญั ญา ดงั นี้
• เกษตรกรผูผ้ ลิต
1) การเขา้ ถงึ เทคโนโลยกี ารผลติ ท่ที นั สมยั เช่น พนั ธ์ุ ปุ๋ย
หรอื อาหารสตั ว์ เทคนคิ การจดั การ เปน็ ตน้ พรอ้ มกนั นบ้ี างบรษิ ทั จดั สง่
เจ้าหน้าท่ีของบริษัทเข้ามาคอยดูแลให้คำ�ปรึกษาแก่เกษตรกรตลอด
ฤดกู ารผลิต ทำ�ใหก้ ารผลติ ของเกษตรกรไดม้ าตรฐานมากข้นึ
2) ลดปัญหาข้อจำ�กัดด้านเงินทุนและความไม่สามารถ
เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เพราะเกษตรกรอาจได้รับการสนับสนุนทุน
หรือสินเช่ือในรูปปัจจัยการผลิต เช่น ในการปลูกพริกและถั่วเหลือง
ฝักสด พบว่า บริษัทจัดเตรียมเงินทุนและค่าใช้จ่ายในการไถพรวน
และข้ึนแปลงให้เกษตรกร รวมท้ังจัดเตรียมพันธุ์ ปุ๋ยและยาให้ยืมใช้
โดยไม่คิดดอกเบี้ย และจ่ายคืนในราคาตลาดเมื่อเก็บเก่ียวผลผลิต
มาขายให้บรษิ ัท
3) ลดภาระและความเส่ียงด้านการตลาด เพราะบริษัท
เป็นผู้กำ�หนดลักษณะของสินค้าท่ีต้องการและรับซ้ือสินค้าจาก
เกษตรกรในราคาและปริมาณท่ีมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนการ

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 7

ผลิตในแต่ละรุ่น เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงผลิตก่อนแล้วไม่รู้ว่าจะขาย
ให้ใครและไดร้ าคาเทา่ ไร
• บริษัทผซู้ ้ือ
1) ลดความเส่ียงในด้านความไม่แน่นอนและสมำ่�เสมอ
ของปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบท่ีเข้าสู่โรงงานแปรรูป ทำ�ให้ได้
สินค้าตามมาตรฐานท่ีต้องการได้ เช่น บริษัทสามารถกำ�หนดเกรด
(ขนาดและคณุ ภาพของผลผลติ ) ทจ่ี ะรบั ซอ้ื ในราคาประกนั ได้ หรอื การ
ท�ำ ขอ้ ตกลงกบั เกษตรกรวา่ จะเขา้ ไปจบั ไกเ่ นอื้ ในชว่ งทมี่ นี า้ํ หนกั ตอ่ ตวั
ตามทก่ี ำ�หนด
2) ลดต้นทุนการซ้ือสินค้าจากตลาดเปิดท่ัวไปหรือจากการ
ผลิตเองได้ เพราะไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมดแต่สามารถวางแผนการ
ผลติ ให้สอดคลอ้ งกับความต้องการของตลาดได้
ในภาพรวมระดับประเทศ นอกจากภาคการเกษตรได้รับการพัฒนา
เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้ว เกษตรพันธสัญญายังเป็น
ประโยชน์ในแง่ของการสร้างความม่ันคงทางด้านอาหารมากข้ึน
ผู้บริโภคได้รับอาหารท่ีมีคุณภาพจากกระบวนการผลิตท่ีได้มาตรฐาน
ขณะที่บริษัทแปรรูปสินค้าส่งออกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดี
ยิ่งข้นึ สรา้ งรายได้ใหก้ ับประเทศมากยงิ่ ขึ้น
ปัญหาทพ่ี บในการท�ำ เกษตรพันธสัญญา
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยหลายช้ินท่ีค้นพบปัญหาในทาง
ปฏบิ ตั ขิ องการท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญาในประเทศไทย โดยประเดน็ ทม่ี กั
เป็นปัญหา ได้แก่ ความไม่นง่ิ และความไม่ลงตวั ในด้านเทคโนโลยี
ของบรษิ ทั เชน่ ในการเลยี้ งสกุ รขนุ บางบรษิ ทั ไมอ่ นญุ าตใหเ้ กษตรกร
เปิดพัดลมให้ลูกสุกรในช่วงแรก โดยให้เหตุผลว่าลูกสุกรจะหนาวไป
พันธ์ุท่ีใช้เป็นพันธ์ุที่ชอบอากาศร้อน แต่ปัญหาที่เกษตรกรพบ คือ
ลูกสุกรล้มตายจำ�นวนมากจากการเป็นโรคปอด เป็นต้น บางบริษัท
แนะนำ�ให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่เกษตรกรต้อง

8 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

เผชิญกับปัญหาการลงทุนที่ไม่ส้ินสุด เพราะการรับเทคโนโลยีใหม่
บางอยา่ งเปน็ ภาระหนสี้ นิ ใหเ้ กษตรกรยงั คงตอ้ งผกู ผนั กบั บรษิ ทั ตอ่ ไป
ซง่ึ เกษตรกรไมม่ ที างเลอื กมากนกั เนอื่ งจากถา้ ไมร่ บั เทคโนโลยตี ามที่
บรษิ ทั แนะน�ำ อาจมผี ลในการตดั สนิ ใจไมเ่ อาสตั วม์ าใหเ้ กษตรกรเลย้ี ง
ในรุ่นตอ่ ไปได้
ประเด็นที่เป็นปัญหาอีกอย่างท่ีสำ�คัญ คือ คุณภาพของ
ปจั จยั การผลติ ทไี่ ดร้ บั จากบรษิ ทั ไมว่ า่ จะเปน็ พนั ธุ์ ปยุ๋ หรอื อาหารสตั ว์
เช่น กรณีการเล้ียงไก่ไข่ เกษตรกรได้รับแม่พันธ์ุไก่ไข่ที่ไม่ตรงตาม
มาตรฐานที่กำ�หนดไว้ในข้อสัญญาการส่งมอบแม่พันธุ์ บางรุ่นได้รับ
แม่พันธ์ุที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ได้แม่ไก่ท่ีอ่อนแอ มีอัตราการตายสูง
อตั ราการใหไ้ ขล่ ดลง สง่ ผลใหข้ าดทนุ เพราะไดไ้ ขน่ อ้ ยกวา่ อาหารทก่ี นิ
กรณีเช่นน้ีพบในการเลี้ยงสุกรขุนเช่นกัน ลูกสุกรบางรุ่นที่ได้รับจาก
บริษัทเล้ียงยาก โตช้า และอ่อนแอต่อโรค ทำ�ให้อัตราแลกเนื้อต่ำ�
หรอื มีอัตราการตายสูง ส่งผลกระทบตอ่ รายได้ของเกษตรกร เชน่ กนั
ในกรณขี องพชื พบใน ขา้ วโพดเลยี้ งสตั ว์ ขา้ วโพดหวาน ขา้ วโพดฝกั ออ่ น
ทบี่ างครง้ั เกษตรกรไดร้ บั พนั ธท์ุ ไ่ี มม่ คี ณุ ภาพ มเี ปอรเ์ ซน็ ตค์ วามงอกต�่ำ
หรือมีการกลายพันธุ์เกิดข้ึน เกษตรกรต้องปลูกใหม่ทดแทนและ
รบั ภาระค่าเมลด็ พนั ธ์ใุ หมเ่ อง
นอกจากนี้ยังพบปัญหาอีกหลายประเด็น เช่น ปัญหาด้าน
สุขภาพของเกษตรกร ความสัมพันธ์กับสังคม ด้านส่ิงแวดล้อม
ในชุมชน รวมท้ังด้านความเป็นธรรม ซ่ึงกล่าวไว้ในข้อควรรู้ของการ
ทำ�เกษตรพันธสญั ญา (บทที่ 5)
พืชหรอื สตั วท์ ีม่ กี ารผลิตภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา
จากการคน้ ควา้ ข้อมูลจากงานวจิ ัยต่างๆ พบว่า ในปจั จุบัน
ประเทศไทยมีพชื และสัตว์ทผี่ ลิตในระบบพนั ธสญั ญา ดังน้ี
กรณพี ชื ไดแ้ ก่ ออ้ ย มนั ฝรงั่ ขา้ วโพดหวาน ขา้ วโพดฝกั ออ่ น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองฝักสด พริก มะเขือเทศ มะเขือม่วง
แตงกวาญีป่ ่นุ ถั่วแขก หนอ่ ไมฝ้ ร่งั เมล็ดพนั ธข์ุ า้ วโพด เมล็ดพันธผุ์ กั
กรณสี ตั ว์ ได้แก่ สกุ ร ไกเ่ นื้อ ไก่ไข่ ปลา กุ้ง

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 9

2 รปู แบบและข้อตกลง
ในเกษตรพนั ธสญั ญา

รูปแบบการทำ�เกษตรพันธสัญญาในประเทศไทยมีอยู่ 3 รูปแบบ
คือ 1) การประกันรายได้หรือเรยี กว่าเปน็ ระบบจ้างผลติ หรอื จา้ งเล้ยี ง
2) การประกนั ราคา และ 3) การประกนั ตลาด แตล่ ะรปู แบบมขี อ้ ตกลง
ท่แี ตกตา่ งกนั
ระบบเกษตรพันธสัญญาแบบจา้ งทำ�การผลิตหรอื จา้ งเลย้ี ง
ระบบพันธสัญญาแบบจ้างผลิตหรือจ้างเล้ียงน้ีส่วนใหญ่
พบในการเล้ียงสัตว์ ได้แก่ การจ้างเลี้ยงสุกร การจ้างเลี้ยงไก่เน้ือ
โดยบรษิ ทั ผจู้ า้ งเลย้ี งเปน็ บรษิ ทั แปรรปู ขนาดใหญร่ ะดบั ประเทศทมี่ อี ยู่
ไม่ก่ีบริษัท บริษัทผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิตหลักมาให้
เกษตรกร อนั ไดแ้ ก่ ลูกหมูหรือลูกไก่ อาหารสัตว์ ยาและวคั ซนี และ
มสี ัตวบาลคอยดูแลให้คำ�ปรึกษา ส่วนเกษตรกรซึง่ เป็นผู้รับจา้ งเลยี้ ง
ต้องใช้ท่ีดินของตนเองในการสร้างฟาร์ม เกษตรกรต้องลงทุนหรือ
กู้ยืมเงินเพื่อสร้างโรงเรือนระบบปิดที่ได้มาตรฐานฟาร์ม ลงทุนซ้ือ
อปุ กรณต์ า่ งๆ ทจ่ี �ำ เปน็ ตอ้ งมตี ามทบ่ี รษิ ทั ก�ำ หนด ใชแ้ รงงานในครวั เรอื น
ของตนเองหรอื จา้ งแรงงานมาเลย้ี งสตั ว์ (ดงั ตารางที่ 2.1) หนา้ ทสี่ �ำ คญั
คือ ให้อาหาร ทำ�ความสะอาด เฝ้าระวังดูแลไม่ให้ติดโรค จ่ายค่า
สาธารณปู โภคตา่ งๆ เชน่ นาํ้ ไฟฟา้ แกส๊ ในแงค่ วามเปน็ เจา้ ของ ถอื วา่
บรษิ ัทเปน็ เจ้าของผลผลติ น่ันคอื หมู ไก่ เป็นของบริษทั เกษตรกร
ไม่สามารถเอาไปขายหรอื แมแ้ ตเ่ อาไปบรโิ ภคในครวั เรือนได้

10 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางท่ี 2.1 ปัจจยั การผลติ และผลู้ งทุนในฟาร์มปศสุ ตั วแ์ บบรบั จา้ งเล้ยี ง

ผู้ลงทนุ

ปจั จัยการผลติ บริษทั ผวู้ ่าจ้าง เกษตรกรผู้รับจ้าง

ทด่ี นิ โรงเรอื นและอปุ กรณ์ - ✓

พันธ์ุ อาหารสตั วแ์ ละยา ✓ -

แรงงาน - ✓

สาธารณูปโภค - ✓


ส่วนเกษตรกร จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าจ้างเลี้ยงตามนํ้าหนักต่อ
กิโลกรัมที่เพ่ิมขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างเลี้ยงท่ีจะได้รับสามารถปรับ
ลดหรอื เพิ่มได้อีกทีภายหลงั เช่น ถ้าเลยี้ งแลว้ สตั ว์ตายนอ้ ยกว่าอัตรา
ทบ่ี รษิ ทั ก�ำ หนด เกษตรกรจะไดร้ บั โบนสั เพมิ่ จากบรษิ ทั แตถ่ า้ เลยี้ งแลว้
มอี ตั ราการตายมากกวา่ หรอื นาํ้ หนกั ตวั เพมิ่ ขนึ้ นอ้ ยกวา่ ปรมิ าณอาหาร
ทบ่ี รโิ ภคไป ซงึ่ จะมกี ารค�ำ นวณออกมาเปน็ “อตั ราแลกเนอื้ ” เกษตรกร
ผเู้ ล้ยี งสตั ว์เรยี กวา่ “ค่า FCR” มาจากชอื่ เต็มว่า Feed Conversion
Ratio ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้คำ�นวณออกมาแล้วแจ้งให้เกษตรกรทราบ
ถ้าบริษัทคำ�นวณแล้วพบว่ามีอัตราแลกเน้ือสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน
ท่ีบริษัทกำ�หนดไว้ (อัตราแลกเนื้อสูงหมายถึง สัตว์กินอาหารมาก
เกนิ กวา่ ก�ำ หนดกวา่ จะเพมิ่ ขนึ้ ไดห้ นงึ่ กโิ ลกรมั ) เกษตรกรจะโดนปรบั ลด
ค่าจ้างเล้ียง ขณะท่ีเกษตรกรอาจได้รับโบนัส ถ้าเลี้ยงแล้วได้อัตรา
แลกเนื้อต่�ำ กว่าค่ามาตรฐาน

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 11

การคดิ ค่าตอบแทนในระบบจา้ งเลยี้ ง ข้นึ อยกู่ ับปจั จยั ตา่ งๆ เหลา่ น้ี
1) คา่ จา้ งเล้ยี งท่บี รษิ ทั กำ�หนด
2) โบนสั อตั ราแลกเน้ือ (FCR)
3) อัตราการสญู เสียหรอื อตั ราการตายของสตั ว์
4) การชว่ ยค่าไฟฟา้ หรอื ค่าพลงั งานของบรษิ ทั (มหี รอื ไม่มี)
5) การช่วยค่าติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ (เป็นการสนับสนุนให้
เกษตรกรติดตัง้ เช่น บริษัทจ่ายใหเ้ กษตรกรทม่ี ีไซโลเก็บอาหารสัตว์
เพิม่ อีกกิโลกรัมละ 20 สตางค์ เป็นต้น)
6) ค่าเช่าโรงเรอื น (พบเฉพาะในไก่เนอ้ื ของบางบรษิ ทั )
นอกจากน้ี ในระบบจ้างเล้ียงบริษัทยังเป็นผู้ควบคุมหรือกำ�หนด
การให้อาหารสัตว์ว่าเมื่อไรเกษตรกรควรให้อาหารสัตว์แบบไหน
รวมทั้งกำ�หนดระยะเวลาในการเล้ียงและการเข้ามาจับสัตว์ด้วย เช่น
ในกรณีของไก่เนือ้ บรษิ ทั จะกำ�หนดว่าจะเขา้ มาจบั สตั ว์เมอื่ สัตว์มีอายุ
ก่สี ปั ดาห์หรือมนี ้ําหนักตวั เท่าไร
ระบบเกษตรพันธสญั ญาแบบประกนั ราคา
การทำ�สัญญาแบบประกันราคาเป็นรูปแบบพันธสัญญาท่ี
พบมากท้ังในพืชและสัตว์ หลักการคือ บริษัทจะประกันราคารับซื้อ
ผลผลิตกับเกษตรกร โดยเกษตรกรเป็นผู้ลงทุนปัจจัยการผลิตเอง
ทั้งหมดไมว่ า่ จะเป็นพันธ์ุ ปุ๋ยหรอื อาหารสตั ว์ ยา วคั ซีน และสารเคมี
ต่างๆ (ตารางที่ 2.2) อย่างไรก็ตาม สำ�รวจพบว่าบางบริษัทจะเป็น
ผู้ช่วยจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรและให้สินเช่ือปัจจัย
การผลิต จนเมื่อผลผลิตถึงฤดูเก็บเก่ียว บริษัทจะหักเงินค่าปัจจัย
การผลิตออกเม่อื ขายผลผลติ ได้

12 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ในการทำ�ฟาร์มปศุสัตว์ พบการทำ�สัญญาแบบประกันราคาในไก่เน้ือ
และไก่ไข่ ส่วนในพืช การทำ�พันธสัญญาจะเป็นแบบประกันราคา
เปน็ ส่วนใหญ่ คอื เกษตรกรลงทุนในปัจจยั การผลติ ท้ังหมด แต่ไดร้ ับ
สนิ เชอ่ื ปจั จยั การผลติ และไดม้ กี ารประกนั ราคารบั ซอ้ื ขน้ั ต�ำ่ จากเกษตรกร
ซึ่งราคาท่ีประกันเป็นไปตามคุณภาพหรือเกรดของผลผลิตท่ีบริษัท
เปน็ ผกู้ �ำ หนด อยา่ งเชน่ การผลติ ถวั่ แขก ถา้ เกษตรกรสามารถผลติ ได้
เกรด A ราคาประกันจะสงู มากกวา่ ราคาของผลผลติ เกรด B

ตารางท่ี 2.2 ปจั จยั การผลติ และผลู้ งทนุ ในฟารม์ ปศสุ ตั วแ์ บบประกนั ราคาและประกนั ตลาด

ผูล้ งทุน

ปจั จยั การผลิต บริษทั ผวู้ า่ จา้ ง เกษตรกรผู้รบั จา้ ง

ทดี่ นิ โรงเรอื นและอปุ กรณ์ -✓

พันธุ์ อาหารสตั ว์และยา -✓

แรงงาน - ✓

สาธารณูปโภค -✓

ระบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันตลาด
การทำ�สัญญาแบบประกันตลาด หมายถึง บริษัทสัญญา
ว่าจะรับซื้อผลผลติ จากเกษตรกรอย่างแนน่ อน แต่ไมไ่ ดก้ �ำ หนดราคา
รับซ้ือที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า โดยจะรับซ้ือในราคาตลาดขณะนั้น
การลงทุนในปัจจัยการผลิตเป็นความรับผิดชอบของเกษตรกร
เช่นเดียวกับการประกันราคา เกษตรกรที่ทำ�พันธสัญญาแบบ
ประกันตลาดต้องเป็นเกษตรกรท่ีมีความสามารถในการผลิตและ
สามารถรับมือได้กับความผันผวนของราคาสินค้าในท้องตลาดหรือ
มั่นใจว่าราคาสินค้าไม่ผันผวนมากนัก เรียกว่าสามารถเผชิญกับ
ความเส่ียงทั้งในด้านการผลิตและราคาได้ แต่ต้องการความมั่นใจ
ดา้ นตลาดรองรับสินคา้

สิ่ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 13

สินค้าเกษตรท่ีมีการทำ�พันธสัญญาแบบประกันตลาด ได้แก่ การ
เลี้ยงปลา โดยมีลักษณะคือ เกษตรกรต้องมีกระชังปลาของตนเอง
เกษตรกรสามารถซ้ือพันธ์ุปลาจากบริษัทอื่นได้ แต่ต้องเป็นพันธ์ุและ
คุณภาพตามที่บริษัทกำ�หนด แต่ถ้าซ้ือปลาจากบริษัทใหญ่ ลูกปลา
จะมีคุณภาพมากกว่าแต่ต้องซื้อด้วยเงินสด ส่วนเกษตรกรที่รับ
พันธุ์ปลาจากบริษัทขนาดเล็ก บริษัทจะนำ�ลูกปลามาให้เล้ียงและ
จัดส่งอาหาร ยา และวัคซีนให้ตามปริมาณของลูกปลาท่ีเล้ียงในรูป
ของสนิ เชอื่ ปจั จยั การผลติ แตเ่ กษตรกรสามารถสง่ั เพม่ิ อาหารไดต้ ลอด
โดยต้องวางเงินมัดจำ�ค่าอาหารตามที่บริษัทกำ�หนด จะมีเจ้าหน้าที่
คอยให้คำ�แนะนำ� เกษตรกรจ่ายค่าปัจจัยการผลิตเม่ือขายปลา
โดยทางบริษัทจะหักหน้ีสินที่มีไว้ โดยราคาที่บริษัทรับซื้อเป็นราคา
ตลาด ณ วนั นนั้ (เบญจพรรณและคณะ, 2555b)
ความแตกต่างของรูปแบบพันธสัญญาที่พบสามารถสรุปได้
4 ประเดน็ หลกั คอื การลงทนุ ในปจั จยั การผลติ การไดร้ บั ผลตอบแทน
กรรมสทิ ธิใ์ นปัจจยั การผลติ และกรรมสิทธ์ิในผลผลิต ดงั รายละเอียด
ในตารางที่ 2.3

14 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางที่ 2.3 สรปุ ความแตกตา่ งของรูปแบบพนั ธสัญญาทพ่ี บ

รบั จา้ งปลูก/เล้ียง ประกันราคา ประกนั ตลาด

การลงทนุ เกษตรกรลงทุน เกษตรกรตอ้ งลงทุนในปัจจัย
ในปจั จัยการผลิต ในปจั จยั คงที่ เชน่ ท่ีดนิ การผลติ ทง้ั หมด โดยส่วนใหญ่
โรงเรอื นและอปุ กรณ์ บริษทั ให้ปัจจยั การผลิตมาใช้ก่อน
เป็นตน้ และแรงงาน ในรูปสินเชอื่ และหกั คนื
แตบ่ รษิ ัทลงทนุ ในปัจจยั เมือ่ มารบั ซ้ือผลผลิต
การผลติ ผนั แปร เช่น พนั ธุ์
ป๋ยุ /อาหารสตั ว์ และยา

การได้รบั ได้คา่ จ้างเลีย้ งในอตั รา ตามราคา เป็นไปตาม
ผลตอบแทน ท่ีตกลงกนั ไว้ แต่ทั้งนีอ้ าจ ประกัน ราคาตลาด
ไดร้ ับโบนสั เพม่ิ หรอื ทต่ี กลงกันไว้ ในวันท่ีซอ้ื
โดนหกั ลดคา่ จา้ งเลีย้ ง โดยส่วนใหญ่ ผลผลติ
ถา้ อตั ราการตายและ มีการก�ำ หนด
อตั ราแลกเน้ือต่าํ ราคา
หรือสงู กว่าทบี่ รษิ ัท ตามเกรด
กำ�หนดมาตรฐานไว้ ของผลผลิต

กรรมสทิ ธ์ิ บรษิ ทั เปน็ เจ้าของปัจจัย เกษตรกรเป็นเจ้าของปจั จัย
ในปัจจัยการผลติ การผลติ ผันแปร การผลิต
ทน่ี ำ�มาใหเ้ กษตรกร

กรรมสิทธิ์ในผลผลติ บรษิ ทั เปน็ เจา้ ของผลผลิต เกษตรกรเป็นเจ้าของผลผลติ

ทม่ี า: ดัดแปลงจากนนท์ (2556), หน้า 32

ส่ิ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 15

3 เงินลงทุนและผลตอบแทน
ของการท�ำ ฟาร์มปศสุ ตั ว์พนั ธสญั ญา

การปลูกพืชในระบบพันธสัญญาเป็นการลงทุนระยะส้ันไม่เกินหน่ึงปี
มีฤดูกาลเพาะปลกู ที่ชัดเจน ไมไ่ ด้ใชเ้ งนิ ลงทนุ จำ�นวนมากในอปุ กรณ์
การผลิตเฉพาะอย่าง ถ้าปลูกพืชแบบมีพันธสัญญาแล้วไม่ประสบ
ความส�ำ เรจ็ หรอื ไมพ่ อใจทจี่ ะท�ำ ตอ่ เกษตรกรสามารถหยดุ แลว้ เปลย่ี น
ไปทำ�อย่างอ่ืนแทนได้ ต่างจากการลงทุนทำ�ฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบมี
พันธสัญญาที่เกษตรกรต้องลงทุนสร้างโรงเรือนและซ้ืออุปกรณ์ให้ได้
มาตรฐานตามทบ่ี รษิ ทั ก�ำ หนด ซ่งึ ใช้เงินลงทุนจำ�นวนมาก เกษตรกร
สว่ นใหญต่ อ้ งกเู้ งนิ เพอ่ื มาลงทนุ ถา้ ท�ำ การผลติ แลว้ มปี ญั หากบั บรษิ ทั
หรอื ขาดทนุ เกษตรกรไมส่ ามารถหยดุ เลยี้ งไดง้ า่ ยๆ เพราะมภี าระหนส้ี นิ
ที่ต้องจ่ายอยู่ตลอด จึงต้องการให้ข้อมูลแก่เกษตรกรที่สนใจลงทุน
ท�ำ ฟารม์ ปศสุ ตั วภ์ ายใตร้ ะบบพนั ธสญั ญาวา่ ตอ้ งใชเ้ งนิ ลงทนุ มากนอ้ ย
เพยี งใด ในระหวา่ งท่ีเลยี้ งจะมีค่าใชจ้ ่ายในการเลี้ยงมากน้อยเพียงใด
และผลตอบแทนทคี่ าดวา่ จะไดร้ บั เปน็ อยา่ งไร นอกจากน้ี ยงั มปี ระเดน็
เรอื่ งความเสยี่ งทนี่ �ำ เสนอไวใ้ นบทท่ี 4 เพอ่ื ใหเ้ กษตรกรไดใ้ ชเ้ ปน็ ขอ้ มลู
ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยข้อมูลท่ีนำ�เสนอนี้ได้มาจาก
การท�ำ งานวจิ ยั ภาคสนามในเขตจงั หวดั ภาคเหนอื เกบ็ ขอ้ มลู ตวั อยา่ ง
จากเกษตรกรผู้เล้ียงสัตว์ 4 ประเภท คือ สุกรขุนรับจ้างเลี้ยง
ไกเ่ นอ้ื รบั จ้างเลยี้ ง ไก่เนอื้ ประกนั ราคา และไก่ไขป่ ระกนั ราคา อย่างละ
60 ตวั อยา่ ง รวมเป็น 240 ตัวอยา่ ง (จริ วรรณและพรสริ ิ, 2557)

16 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ในการลงทนุ เลย้ี งสตั วส์ ง่ิ ส�ำ คญั ทเ่ี กษตรกรตอ้ งค�ำ นงึ ถงึ เปน็ อนั ดบั แรก
คือ ขนาดของฟาร์ม เกษตรกรต้องรู้ตัวเองว่ามีศักยภาพในการ
ทำ�ฟาร์มในขนาดใด และมีเงินลงทุนหรือสามารถหาเงินทุนที่จะใช้
ในการสรา้ งฟารม์ ไดม้ ากนอ้ ยเพยี งใด ขนาดของฟารม์ ในการเลย้ี งสตั ว์
แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน สามารถแบ่งฟาร์มออกเป็นขนาดต่างๆ
ตามชนดิ ของการเลี้ยงสตั ว์ไดด้ ังนี้
ฟาร์มสกุ รขุนรับจา้ งเลีย้ ง
กรมปศุสัตว์ (2548) กำ�หนดให้การเลี้ยงสุกรขุน 1 ตัว
ต้องมีพื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร ขนาดของโรงเรือนที่พบ
ในการเล้ียงสกุ รมหี ลายขนาด ต้งั แตโ่ รงเรอื นขนาด 300 ตวั ไปจนถงึ
ขนาด 920 ตัว ฟาร์มขนาดเล็กส่วนใหญ่มีโรงเรือนเดียว มีลูกสุกร
เฉลยี่ 570 ตัวตอ่ โรงเรอื น ฟาร์มขนาดกลางจะมีโรงเรอื น 2 โรงเรือน
มีลูกสุกรเฉล่ีย 645 ตัวต่อโรงเรือน ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่ที่พบจะมี
โรงเรือน 4-5 โรงเรือน โดยมีลูกสุกรเฉลี่ย 650 ตัวต่อโรงเรือน
ฟาร์มทพ่ี บทุกขนาดใช้พื้นท่ีเล้ยี งสกุ รประมาณ 1.3-1.4 ตารางเมตร
ตอ่ ตวั ซ่ึงอยู่ในมาตรฐานการเลีย้ งของกรมปศสุ ัตว์
ในการลงทุนทำ�ฟาร์มสุกรขุน เกษตรกรต้องลงทุนสร้าง
โรงเรือน ซ่ึงเป็นโรงเรือนระบบปิดหรือท่ีเรียกกันว่าโรงเรือนอีแว๊ป
(Evaporative Cooling System) ตามขอ้ ก�ำ หนดของบรษิ ทั เงนิ ลงทนุ
ทแ่ี สดงในตารางที่ 3.1 เปน็ คา่ เฉลยี่ เงนิ ลงทนุ ในโรงเรอื น พรอ้ มอปุ กรณ์
ในโรงเรือน ซ่งึ ขึ้นอยกู่ บั วัสดุทีใ่ ชส้ ร้างและมาตรฐานของอปุ กรณด์ ว้ ย
เชน่ หลงั คาโรงเรอื นเปน็ แบบใด ใชห้ ลงั คากระเบอื้ ง อลมู เิ นยี ม เมทลั ชที
หรอื สงั กะสี ซง่ึ มรี าคาทต่ี า่ งกนั แตส่ ว่ นใหญท่ ส่ี �ำ รวจพบจะเปน็ หลงั คา
กระเบ้ืองหรือเมทัลชีท และมีพ้ืนโรงเรือนเป็นพื้นซีเมนต์ โดยขนาด
โรงเรือนตามมาตรฐานจะเล้ยี งสกุ รได้ประมาณ 500-550 ตัว ภายใน
โรงเรือนต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ท่ีจำ�เป็น อันได้แก่ พัดลมระบาย
อากาศ ระบบนา้ํ เปน็ ตน้ เกษตรกรบางรายมคี วามสามารถดา้ นชา่ งกล
สามารถดัดแปลงทำ�อุปกรณ์ใช้เองได้โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์สำ�เร็จรูป
ราคาแพงกอ็ าจใชเ้ งนิ ลงทนุ นอ้ ยกวา่ คา่ เฉลยี่ ได้ เชน่ บางรายใหข้ อ้ มลู

ส่ิ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 17

วา่ ท�ำ พดั ลมระบายอากาศเอง โดยซอื้ อปุ กรณห์ ลายชน้ิ มาประกอบกนั
และติดตั้งเอง ขณะท่ีบางรายใช้พัดลมระบายอากาศแบบสำ�เร็จรูป
พรอ้ มติดต้ังซ่งึ มีราคาสูงกว่ามาก
ตามมาตรฐานฟาร์ม ได้กำ�หนดให้มีพ้ืนท่ีบำ�บัดน้ําเสีย
ภายในฟาร์มอย่างเพียงพอ ซ่ึงพื้นที่บำ�บัดนํ้าเสียขึ้นอยู่กับขนาดของ
ฟาร์มหรือจำ�นวนสุกรท่ีเล้ียงในแต่ละฟาร์ม ฟาร์มสุกรส่วนใหญ่มี
ระบบบำ�บัดนํ้าเสียแบบบ่อก๊าซชีวภาพซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน
สูงกว่าแต่สามารถกำ�จัดกล่ินเหม็นรบกวนได้ดีกว่าแบบบ่อพักและ
สบู มลู สกุ รขนึ้ มาตากซงึ่ เปน็ ระบบเดมิ และมรี าคาถกู กวา่ อยา่ งไรกต็ าม
บ่อก๊าซชีวภาพมีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียและ
ราคาค่าก่อสรา้ งแตกตา่ งกนั ทส่ี �ำ รวจพบมี 2 แบบ คือ แบบโดมคงท่ี
และแบบโคเวอร์ ลากูน (เป็นถุงยางเก็บก๊าซสร้างครอบไปบนบ่อ
รวบรวมมูลสัตว์ที่มีอยู่แล้ว) โดยระบบบ่อหมักโดมคงท่ี (ส่งเสริม
สำ�หรับฟาร์มสุกรขนาดเล็ก) มีแรงดันแก๊สในระบบมากกว่าต่อท่อ
ไปได้ไกลกว่า ท่ีสำ�รวจพบว่ามีราคาอยู่ประมาณหลักแสนต้นๆ
คือ 1-2 แสนบาทข้ึนอยู่กับขนาดของบ่อ ส่วนแบบโคเวอร์ ลากูน
เปน็ รปู แบบใหมซ่ งึ่ ก�ำ ลงั เปน็ ทนี่ ยิ มเพราะไมต่ อ้ งกอ่ สรา้ งระบบขนึ้ ใหม่
ใชบ้ อ่ เกบ็ มูลทมี่ ีอยู่แล้วได้เลย (กรมปศุสัตว,์ มปป.) แต่คา่ ใชจ้ า่ ยจะ
สูงกวา่ มีต้ังแต่ 2 แสนถึง 1 ล้านบาท ตามขนาดของบ่อ

18 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางที่ 3.1 เงินลงทนุ ในการทำ�ฟารม์ สุกรขนุ รบั จา้ งเลย้ี ง

รายการ เล็ก ขนาดฟาร์ม
จำ�นวนสุกร (ตวั /รนุ่ ) ~500-850 กลาง ใหญ่
จำ�นวนโรงเรือน
จ�ำ นวนสุกรเฉลี่ยต่อโรง 1 ~1,100-2,000 ~2,500 ข้นึ ไป
เงนิ ลงทนุ ค่าโรงเรือน 570
และอุปกรณต์ อ่ ฟาร์ม ~1.58 ล้าน 2 4-5
คา่ บอ่ บ�ำ บัดแกส๊ ชวี ภาพ
คา่ ดำ�เนินการรายป1ี 645 650
รายไดเ้ งนิ สดสุทธติ อ่ ป2ี
~3.37 ล้าน ~7.50 ลา้ น

~1.92 แสน ~2.40 แสน ~3.66 แสน
~1.61 แสน ~3.65 แสน ~8.10 แสน
~4.08 แสน ~8.09 แสน ~2.27 ล้าน

มูลค่าผลตอบแทน 1.45 ล้าน 4.20 ลา้ น 15.24 ลา้ น
ปัจจุบันสุทธิ (25 ป)ี 1.33 1.52 1.80
อตั ราผลตอบแทน 16.88% 19.71% 26.41%
ตอ่ การลงทุน (B/C ratio)
อัตราผลตอบแทนภายใน
(Internal Rate of Return)

หมายเหตุ: 1คา่ ดำ�เนนิ การรายปี เป็นค่าดำ�เนินการท่ีเกษตรกรจ่ายเปน็ เงนิ สดประกอบด้วย ค่านา้ํ ค่าไฟ คา่ น้ํามนั ค่าแกส๊
คา่ วสั ดุสน้ิ เปลอื งและค่าแรงงานจ้าง ยงั ไมค่ ดิ คา่ แรงงานครวั เรือน
2เป็นรายได้ใน 1 ปี จากการเลยี้ งสกุ รขุน 2-2.5 ร่นุ เป็นรายได้ที่หกั ค่าดำ�เนนิ การเงินสดแลว้

ในการเลย้ี งสกุ รขนุ 1 รนุ่ ใชร้ ะยะเวลาในการเลย้ี งประมาณ 4.5-5 เดอื น
และมีระยะพกั เลา้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ใน 1 ปี เกษตรกรสามารถ
เล้ยี งสุกรขุนไดป้ ระมาณ 2-2.5 รุ่น ค่าใช้จา่ ยในการดำ�เนินและรายได้
หลังหักคา่ ใช้จ่ายที่เป็นเงินสดแล้วแตกต่างกันตามขนาดฟาร์ม ดังท่ี
แสดงในตารางท่ี 3.1
เนอื่ งจากการลงทนุ ท�ำ ฟารม์ เกษตรกรจะมคี า่ ใชจ้ า่ ยในการ
ลงทนุ ในระยะเรม่ิ แรกสงู มาก สว่ นรายไดจ้ ะคอ่ ยๆ ทยอยรบั ในแตล่ ะปี
ขณะที่มีค่าใช้จ่ายท่ีต้องจ่ายในแต่ละปีเช่นกัน ในทางเศรษฐศาสตร์
มีวิธีการคำ�นวณดูว่าการลงทุนทำ�ฟาร์มน้ีมีความคุ้มค่าในการลงทุน
หรือไม่ โดยการนำ�เงินลงทุนเริ่มแรก ค่าใช้จ่ายและรายได้ที่ได้รับ

ส่ิ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 19

ในแตล่ ะปมี าค�ำ นวณหามลู คา่ ผลตอบแทนการลงทนุ ท�ำ ฟารม์ ทง้ั หมด
25 ปี วา่ มมี ลู คา่ ผลตอบแทนทค่ี ดิ เปน็ มลู คา่ ในปจั จบุ นั ไดเ้ ทา่ ไร (ทตี่ อ้ ง
คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเพราะค่าของเงินในอนาคตและเงินในปัจจุบัน
ไมเ่ ทา่ กนั พดู งา่ ยๆ คอื เงนิ ลงทนุ 1 ลา้ นบาทในปจั จบุ นั มคี า่ มากกวา่
เงิน 1 ล้านบาทในอนาคต) เรียกมลู คา่ ทไี่ ด้น้วี ่า “มูลค่าผลตอบแทน
ปจั จบุ นั สทุ ธ”ิ ของการลงทนุ 25 ปี ผลการศกึ ษา พบวา่ การเลย้ี งสกุ รขนุ
ในทุกขนาดฟาร์มมีมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิเป็นบวก โดยใน
ฟารม์ ขนาดเลก็ ไดม้ ลู คา่ ผลตอบแทนเฉลย่ี 1.45 ลา้ นบาท ขนาดกลาง
4.20 ลา้ นบาท และขนาดใหญ่ 15.24 ลา้ นบาท อตั ราผลตอบแทน
ตอ่ การลงทนุ บอกวา่ ถา้ ลงทนุ 1 บาทจะไดผ้ ลตอบแทนกลบั คนื มาเทา่ ไร
ถา้ คา่ มากกวา่ 1 แสดงวา่ ไดผ้ ลตอบแทนคมุ้ คา่ กบั เงนิ ลงทนุ ผลการศกึ ษา
สอดคลอ้ งกบั มลู คา่ ปจั จบุ นั สทุ ธคิ อื ทกุ ขนาดฟารม์ มอี ตั ราผลตอบแทน
มากกวา่ 1 สว่ นอตั ราผลตอบแทนภายในทไ่ี ดร้ บั จากการลงทนุ ท�ำ ฟารม์
เป็นค่าที่สามารถใช้เปรียบเทียบกับอัตราดอกเบ้ียเงินกู้ของธนาคาร
ในกรณีที่เกษตรกรต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนทำ�ฟาร์ม โดยถ้าอัตรา
ผลตอบแทนภายในมากกวา่ อตั ราดอกเบย้ี เงนิ กขู้ องธนาคาร แสดงให้
เห็นว่าแม้ว่าเกษตรกรต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนทำ�ฟาร์มก็คุ้มค่ากับการ
ลงทุน ดูจากตัวเลขในตารางที่ 3.1 จะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทน
ภายในท่ีได้รับเพิ่มสูงขึ้นตามขนาดฟาร์มที่ใหญ่ขึ้น คือ ขนาดฟาร์ม
ท่ีใหญ่กว่าให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ทุกขนาดฟาร์มมีอัตรา
ผลตอบแทนทสี่ ูงกวา่ อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
ฟาร์มไกเ่ นอ้ื รบั จ้างเลยี้ ง
จากงานวจิ ยั พบวา่ ในเขตจงั หวดั ภาคเหนอื มเี พยี งบรษิ ทั เดยี ว
ที่ทำ�ระบบพันธสัญญาให้เกษตรกรเลี้ยงไก่เน้ือแบบรับจ้างเลี้ยง
เป็นบรษิ ัทรายใหญร่ ะดบั ประเทศ ขณะที่บรษิ ทั อืน่ ๆ จะท�ำ พนั ธสญั ญา
แบบประกันราคา ฟาร์มไก่เน้ือรบั จ้างเลี้ยงตวั อยา่ งที่ศึกษา สามารถ
แบง่ ออกหลายขนาด แต่ฟาร์มขนาดใหญม่ ากกว่า 15,000 ตัวตอ่ ร่นุ
มีจำ�นวนตัวอย่างเพียง 3 รายแต่ละรายเล้ียงขนาดต่างกันมาก
จงึ ไมข่ อน�ำ เสนอขอ้ มลู การลงทนุ ในขนาดทใ่ี หญก่ วา่ 15,000 ตวั ตอ่ รนุ่

20 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

จงึ แบง่ ขนาดฟารม์ ไกเ่ นอ้ื รบั จา้ งเลย้ี งได้ 3 ขนาด คอื ฟารม์ ขนาดเลก็ มาก
ท่ีเล้ยี งไกเ่ นื้อ 5,000-7,000 ตัวต่อร่นุ ฟาร์มขนาดเลก็ ทเ่ี ลีย้ งไก่เนื้อ
7,000-10,000 ตวั ตอ่ รนุ่ และฟารม์ ขนาดกลางทเี่ ลยี้ งไกเ่ นอ้ื 10,000-
15,000 ตวั ต่อรุน่
ขนาดของโรงเรือนเล้ียงไก่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนว่า
หนง่ึ โรงเรอื นจะเลย้ี งไกก่ ต่ี วั จ�ำ นวนโรงเรอื นจงึ ไมส่ มั พนั ธก์ บั ขนาดฟารม์
คือ ฟาร์มขนาดใหญ่อาจมีเพียงโรงเรือนขนาดใหญ่ 1 โรงเรือน
ขณะที่ฟารม์ ขนาดเล็กกว่าอาจมีโรงเรือนเล็กๆ ท่มี ากกวา่ 1 โรงเรอื น
แตก่ รมปศสุ ตั ว์ (2555) ไดก้ �ำ หนดวา่ ในโรงเรอื นระบบปดิ พน้ื ทโ่ี รงเรอื น
1 ตารางเมตรควรเลี้ยงไก่ท่ีมีนํ้าหนักรวมไม่เกิน 34 กิโลกรัม เช่น
ถ้าจะเลย้ี งไก่เน้ือน้ําหนัก 2 กโิ ลกรมั ต่อตัว ในพนื้ ที่ 1 ตารางเมตร
ควรเลยี้ งไกเ่ นอ้ื ไมเ่ กนิ 17 ตวั เปน็ ตน้ แตท่ สี่ �ำ รวจพบวา่ มกี ารเลย้ี งไก่
จ�ำ นวน 11-12 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรเทา่ นั้น
ส่วนเงินลงทุนค่าโรงเรือน พบว่า เงินลงทุนจะเพิ่มสูงข้ึน
ตามขนาดของฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กมากเล้ียงไก่ประมาณ 5,500
ตวั ตอ่ รุ่น ใชล้ งทนุ เร่มิ แรกเกอื บ 1 ล้านบาท ฟารม์ ขนาดเล็กเล้ยี งไก่
ประมาณ 7,500 ตัวต่อรุ่น ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.11 ล้านบาท
ส่วนฟาร์มขนาดกลางท่ีเล้ียงไก่ประมาณ 10,000 ตัวใช้เงินลงทุน
ประมาณ 1.56 ล้านบาท (ดังตารางที่ 3.2) โดยเงินลงทุนเริ่มแรก
ประมาณร้อยละ 85 เป็นค่าสร้างโรงเรือนและอีกร้อยละ 15 เป็น
ค่าอุปกรณ์ภายในโรงเรือน อันได้แก่ ค่าพัดลมระบายอากาศ
คา่ นปิ เปลิ้ ใหน้ า้ํ คา่ ถาดอาหารไก่ กระปกุ นา้ํ ไก่ ผา้ พลาสตกิ คลมุ ดา้ นขา้ ง
โรงเรือน สแลมกันแดด รวมท้ังมอเตอร์พัดลมและมอเตอร์สูบนํ้า
และหลอดไฟฟ้า เชน่ เดยี วกบั โรงเรอื นเลี้ยงสกุ รท่ีคา่ ก่อสร้างโรงเรอื น
เล้ียงไกข่ ึ้นอยู่กับวัสดทุ ่ใี ช้ในการก่อสรา้ งเชน่ กัน
การเลี้ยงไก่เนื้อ 1 รุ่น ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ
35-40 วนั ตอ่ รนุ่ ใหไ้ ดไ้ กเ่ นอ้ื นาํ้ หนกั ประมาณ 1.5-2.5 กโิ ลกรมั ตอ่ ตวั
ถ้าต้องการไก่ตัวใหญ่ก็ต้องใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น โดยเฉล่ียไก่เนื้อ
มีนาํ้ หนกั เฉลยี่ เกอื บ 2 กโิ ลกรมั ตอ่ ตวั เม่อื ตอนจับขาย ทัง้ น้ขี ึ้นอยูก่ บั
บริษัทคู่สัญญาว่าจะให้ฟาร์มไหนเล้ียงไก่ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 21

บางฟาร์มได้เลี้ยงทั้งไก่ขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ใน 1 ปี เลี้ยงไก่
ขนาดเล็ก 4 รุ่นและไกข่ นาดใหญ่ 1 รุ่น ค่าใชจ้ า่ ยในการเลี้ยงไกต่ ่อปี
ที่เกษตรกรต้องเป็นผู้จ่าย ได้แก่ ค่าวัสดุสิ้นเปลือง เช่น วัสดุปูพื้น
ไมก้ วาดทางมะพรา้ ว คา่ นาํ้ คา่ ไฟฟา้ คา่ นา้ํ มนั คา่ แกส๊ ในการกกลกู ไก่
ค่าวัคซีน ยาและวติ ามิน และค่าแรงงานจ้าง โดยฟารม์ ขนาดเล็กมาก
มีค่าใช้จ่ายประมาณ 86,000 บาท เลี้ยงเฉลี่ย 5 รุ่นต่อปี คิดเป็น
ค่าใช้จ่ายท่ีเป็นเงินสดเฉล่ียรุ่นละ 17,200 บาท ฟาร์มขนาดเล็ก
ตอ้ งจ่ายประมาณ 152,000 บาทตอ่ ปีหรอื เฉลย่ี รนุ่ ละ 30,400 บาท
สว่ นฟารม์ ขนาดกลางมคี า่ ใชจ้ ่ายประมาณ 187,000 บาทตอ่ ปี หรอื
เฉล่ียร่นุ ละ 37,300 บาท
ในด้านรายได้หรือผลตอบแทนของเกษตรกรในการรับจ้าง
เล้ียงไก่เนื้อ พบว่า บริษัทจ่ายค่าตอบแทนในการเลี้ยงไก่เนื้อให้แก่
เกษตรกรในหลายลกั ษณะ อนั ไดแ้ ก่ 1) คา่ เชา่ โรงเรอื น โดยบรษิ ทั จา่ ย
เป็นค่าเช่าต่อตารางเมตรคูณจำ�นวนวันท่ีเล้ียงไก่ นับตั้งแต่วันท่ีเร่ิม
ลงไกจ่ นถึงวันทีม่ ารบั ซือ้ ไก่ โดยจา่ ยตารางเมตรละ 0.45 บาทต่อวัน
2) คา่ ความสามารถในการเลยี้ งไกไ่ ดด้ ี ถา้ พบวา่ มอี ตั ราการตายเฉลยี่
ตอ่ รนุ่ ไมเ่ กินร้อยละ โดยทางบริษทั จะเป็นผคู้ ำ�นวณให้ มีพ้นื ฐานการ
ค�ำ นวณจากอัตราแลกเน้อื (Feed Conversion Ratio: FCR) หรือ
อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นนํ้าหนักตัว ซ่ึงย่ิงอัตราตำ่�ย่ิงดี คือ
ใช้อาหารนอ้ ยในการทำ�ให้ไกโ่ ต ซ่ึงบรษิ ทั จะมีคา่ มาตรฐานของบรษิ ัท
เกษตรกรที่เลี้ยงไก่ได้นํ้าหนักตัวดี ใช้อาหารน้อย อัตราการตาย
น้อยกว่ามาตรฐานท่ีบริษัทกำ�หนด จะได้รับโบนัสในการเลี้ยงจาก
บรษิ ทั 3) เงนิ ชว่ ยเหลอื กรณเี กษตรกรไดล้ กู ไกข่ นาดเอเลก็ ซง่ึ มนี าํ้ หนกั
แรกเขา้ นอ้ ยเหมอื นเทยี บกบั ขนาดเอใหญ่ และ 4) เงนิ ชว่ ยค่าพลงั งาน
จ่ายเปน็ อตั ราต่อน้ําหนักไก่ตอนจบั ออกจากฟารม์

22 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางที่ 3.2 เงนิ ลงทนุ ในการท�ำ ฟารม์ ไก่เนือ้ รับจ้างเลีย้ ง

ขนาดฟารม์

รายการ เลก็ มาก เลก็ กลาง

จำ�นวนไก่ (1,000 ตวั /รุ่น) ~5-7 ~7-10 ~10-15

จำ�นวนโรงเรอื น 1 1-2 1-2

จ�ำ นวนไกเ่ ฉลย่ี ตอ่ โรง 5,571 7,479 10,148

เงนิ ลงทนุ คา่ โรงเรือนและอปุ กรณ์ ~0.99 ล้าน ~1.11 ลา้ น ~1.56 ลา้ น
ต่อฟาร์ม

ค่าดำ�เนนิ การรายป1ี 0.86 แสน ~1.52 แสน ~1.87 แสน

รายไดเ้ งินสดสุทธติ ่อป2ี ~1.45 แสน ~1.74 แสน ~2.67 แสน

มลู คา่ ผลตอบแทนปจั จุบนั สุทธิ -1.94 แสน 0.26 แสน 6.47 แสน
(25 ปี)

อตั ราผลตอบแทนตอ่ การลงทนุ 0.94 1.00 1.15
(B/C ratio)

อตั ราผลตอบแทนภายใน 5.56% 7.54% 12.05%
(Internal Rate of Return)

หมายเหตุ: 1คา่ ด�ำ เนินการรายปี เปน็ ค่าด�ำ เนินการทเ่ี กษตรกรจา่ ยเปน็ เงินสดประกอบด้วย คา่ นํ้า ค่าไฟ ค่านํ้ามัน คา่ แกส๊
ค่าวสั ดุสนิ้ เปลอื งและค่าแรงงานจ้าง ยงั ไม่คดิ คา่ แรงงานครัวเรอื น
2เปน็ รายได้ใน 1 ปี จากการเลีย้ งไกเ่ นอื้ 5-6 รนุ่ เปน็ รายไดท้ ี่หักค่าดำ�เนินการเงินสดแล้ว

การท่ีบริษัทจ่ายค่าเช่าโรงเรือนเป็นรายวันตามขนาดโรงเรือนทำ�ให้
เกษตรกรไมม่ ีปัญหาในกรณที ี่บริษทั มารับซื้อไก่ลา่ ชา้ ไปจากท่ีก�ำ หนด
เพราะเกษตรกรถอื ว่ามรี ายไดจ้ ากค่าเช่าโรงเรือน แม้ว่าจะไมม่ ากนกั
แต่การจ่ายค่าเช่าโรงเรือนในลักษณะนี้จะไม่พบในการเลี้ยงไก่เน้ือ
แบบประกนั ราคา
ผลการศกึ ษาฟารม์ ตวั อยา่ ง พบวา่ รายไดเ้ หนอื ตน้ ทนุ เงนิ สด
ต่อปีเพ่ิมข้ึนตามขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กมากมีรายได้ประมาณ
145,000 บาทตอ่ ปี ฟาร์มขนาดเลก็ มรี ายไดเ้ ฉลยี่ 174,000 บาทต่อปี
และฟาร์มขนาดกลางมรี ายได้เฉล่ยี 267,000 บาทตอ่ ปี จะเห็นได้วา่
ฟารม์ ขนาดกลางทมี่ กี ารเลยี้ งไกเ่ ฉลย่ี 10,000 ตวั ตอ่ รนุ่ มรี ายไดส้ งู กวา่
ฟาร์มขนาดเล็กที่มีการเลี้ยงไก่เฉลี่ย 7,500 ตัวต่อรุ่นค่อนข้างมาก

ส่ิ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 23

เกือบ 1 แสนบาท เทียบกบั รายไดท้ ่เี พิ่มขน้ึ กรณีฟารม์ ขนาดเลก็ มาก
(เล้ียงไกเ่ ฉล่ีย 5,500 ตวั ต่อรนุ่ ) ไปฟารม์ ขนาดเลก็ (7,500 ตัวตอ่ ร่นุ )
ท่เี พมิ่ เพยี ง 3 หมื่นบาท
การค�ำ นวณหามูลค่าผลตอบแทนปจั จุบันสทุ ธิ 25 ปี พบวา่
ฟารม์ ตวั อยา่ งขนาดเลก็ มากสว่ นใหญ่ (รอ้ ยละ 63) มมี ลู คา่ ปจั จบุ นั สทุ ธิ
คา่ ตดิ ลบ (ดงั ตารางที่ 3.2) แมว้ า่ รายไดส้ ทุ ธติ อ่ ปจี ะเปน็ บวก แสดงให้
เหน็ วา่ รายไดส้ ทุ ธติ อ่ ปที ไ่ี ดร้ บั ไมค่ มุ้ คา่ กบั เงนิ ลงทนุ เรมิ่ แรกของฟารม์
ขนาดเลก็ มาก และในการค�ำ นวณหามลู คา่ ผลตอบแทนปจั จบุ นั สทุ ธนิ ้ี
ค�ำ นงึ ถงึ คา่ แรงงานครวั เรอื นทเี่ ปน็ คา่ ใชจ้ า่ ยทไ่ี มไ่ ดจ้ า่ ยจรงิ เปน็ เงนิ สด
ออกไปด้วย ส่วนฟาร์มขนาดเล็ก มีฟาร์มตัวอย่างท่ีมีมูลค่าปัจจุบัน
สุทธติ ิดลบเกินกว่าครึง่ เล็กนอ้ ย (ร้อยละ 55) แตเ่ มื่อคำ�นวณคา่ เฉลี่ย
ไดม้ ลู คา่ ผลตอบแทนปจั จบุ นั สทุ ธเิ ฉลยี่ เปน็ บวกเลก็ นอ้ ย คอื ประมาณ
26,000 บาท หรือเรียกได้ว่ามีรายได้พอคุ้มทุนเท่านั้น ขณะท่ีฟาร์ม
ที่เลี้ยงไก่เนื้อในขนาดที่ใหญ่ข้ึน คือ เลี้ยงไก่เนื้อ 10,000-15,000
ตวั ต่อรุน่ มีมูลคา่ ผลตอบแทนปจั จุบนั สุทธเิ ปน็ บวกที่ 650,000 บาท
แต่มีฟาร์มตัวอย่างบางฟาร์มที่มีมูลค่าติดลบเช่นกัน (ร้อยละ 22)
แสดงใหเ้ หน็ วา่ การเลย้ี งไกเ่ นอ้ื แบบรบั จา้ งเลย้ี งในขนาดฟารม์ ทน่ี อ้ ยกวา่
10,000 ตัวต่อรุ่นมีโอกาสท่ีจะขาดทุนมากกว่าฟาร์มขนาดกลางหรือ
ฟาร์มท่เี ลี้ยงมากกว่า 10,000 ตัวขนึ้ ไป เพราะฟาร์มขนาดใหญก่ ว่า
15,000 ตัวข้ึนไปไม่พบว่ามีมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิเป็นลบ
แตอ่ ย่างใด
ถา้ พจิ ารณาอตั ราผลตอบแทนตอ่ ตน้ ทนุ และอตั ราผลตอบแทน
ภายในพบวา่ มคี วามสอดคลอ้ งกบั มลู คา่ ปจั จบุ นั สทุ ธิอตั ราผลตอบแทน
ต่อต้นทุนที่น้อยกว่า 1 มีความไม่คุ้มทุนในการทำ�ฟาร์ม ส่วนอัตรา
ผลตอบแทนภายในทน่ี อ้ ยกวา่ อตั ราดอกเบย้ี ของธนาคาร (อตั ราดอกเบย้ี
ธกส. ในชว่ งทศี่ กึ ษา มคี ่าประมาณรอ้ ยละ 7.5 ต่อป)ี แสดงใหเ้ หน็ ว่า
ไมค่ มุ้ คา่ กบั การกยู้ มื เงนิ มาลงทนุ ดงั นนั้ ถา้ เกษตรกรทา่ นใดตอ้ งการ
ทำ�ฟาร์มไก่เน้ือแบบรับจ้างเลี้ยงที่ขนาดเล็กกว่า 15,000 ตัวต่อรุ่น
ต้องศึกษาหาข้อมูลด้านเงินลงทุนและผลตอบแทนท่ีจะได้รับให้ดี
และถ้าเป็นไปได้ควรเลี้ยงในขนาดกลางจะดีกว่า ส่วนฟาร์มไก่เน้ือ

24 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ทร่ี บั จา้ งเลย้ี งทมี่ อี ยใู่ นปจั จบุ นั สว่ นใหญเ่ ปน็ ฟารม์ ทม่ี กี ารเลยี้ งมานาน
หลายสบิ ปแี ลว้ และคา่ ลงทนุ กอ่ สรา้ งโรงเรอื นในอดตี ถกู กวา่ ในปจั จบุ นั
มากจงึ ไมป่ ระสบปญั หาเลย้ี งไมค่ มุ้ ทนุ แตข่ อ้ มลู คา่ โรงเรอื นทนี่ �ำ เสนอ
เป็นราคาในปัจจุบัน ซ่ึงสูงกว่าในอดีตมากจากค่าวัสดุก่อสร้างท่ีเพิ่ม
สูงข้ึนมาก
ฟาร์มไก่เน้ือประกนั ราคา
จากงานวิจัย พบว่า ในเขตจังหวัดภาคเหนือ บริษัทที่ทำ�
พนั ธสญั ญากบั เกษตรกรใหเ้ ลย้ี งไกเ่ นอื้ แบบประกนั ราคามหี ลายบรษิ ทั
ทงั้ บรษิ ทั ขนาดใหญร่ ะดบั ประเทศและบรษิ ทั ขนาดเลก็ ในระดบั ภมู ภิ าค
และท้องถิ่น สว่ นขนาดของฟาร์ม ได้มีการแบ่งขนาดฟารม์ แบบเดียว
กบั การเลยี้ งไกเ่ นอ้ื รบั จา้ งเลยี้ ง แตจ่ ากการศกึ ษาไมพ่ บวา่ มฟี ารม์ ไกเ่ นอ้ื
ท่ีเลี้ยงแบบประกันราคาในขนาดเล็กมากในระบบฟาร์มปิด พบแต่
การเลี้ยงขนาดเล็กมากในระบบฟาร์มเปิดซ่ึงเป็นฟาร์มดั้งเดิมที่ไม่
ต้องการลงทุนทำ�โรงเรือนในระบบปิด ดังน้ัน ในท่ีน้ีจะนำ�เสนอการ
ลงทุนเฉพาะฟาร์มท่ีมีโรงเรือนระบบปิดในขนาดเล็ก กลางและใหญ่
โดยฟารม์ ขนาดเลก็ มกี ารเลย้ี งไกเ่ นอื้ ในชว่ ง 7,000-10,000 ตวั ตอ่ รนุ่
ฟารม์ ขนาดกลางเลยี้ ง 10,000-15,000 ตวั และฟารม์ ขนาดใหญเ่ ลย้ี ง
15,000-20,000 ตัวต่อรุ่น โดยฟาร์มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นฟาร์ม
ขนาดกลาง (รอ้ ยละ 30) รองลงมาคือ ฟาร์มขนาดใหญ่ (รอ้ ยละ 23)
และฟาร์มขนาดเล็ก (ร้อยละ 20) ท่ีเหลือเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มาก
ท่เี ลยี้ งไกม่ ากกว่า 20,000 ตวั ขึ้นไปจนถงึ 100,000 ตวั ตอ่ รนุ่
เงินลงทุนในการสร้างโรงเรือนของการเล้ียงไก่เนื้อประกัน
ราคาไม่แตกต่างกันนักจากการเลี้ยงไก่เน้ือแบบรับจ้างเลี้ยง คือ
ประมาณ 1.13 ลา้ นบาทในฟารม์ ขนาดเล็ก ประมาณ 1.57 ล้านบาท
ในฟารม์ ขนาดกลาง และ 2.16 ลา้ นบาทในฟารม์ ขนาดใหญ่ สว่ นคา่ ใชจ้ า่ ย
ในการเลีย้ งต่อปีจะแตกต่างกันเลก็ นอ้ ยในฟารม์ ขนาดกลาง โดยการ
เลยี้ งแบบประกนั ราคามคี า่ ใชจ้ า่ ยทเ่ี ปน็ เงนิ สดตอ่ ปเี ฉลย่ี 159,000 บาท
ในฟารม์ ขนาดเลก็ 240,000 บาทในฟารม์ ขนาดกลาง และ 344,000 บาท
ในฟาร์มขนาดใหญ่ ทั้งน้ีการเล้ียงไก่เนื้อแบบประกันราคาส่วนใหญ่

ส่ิ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 25

พบวา่ มีการเล้ยี งประมาณ 4-5 รุน่ ตอ่ ปเี ทา่ น้ัน คา่ ใช้จา่ ยในการเลีย้ ง
ตอ่ ปนี ไี้ มร่ วมคา่ พนั ธแุ์ ละคา่ อาหารซง่ึ ไดร้ บั ในรปู ของสนิ เชอ่ื จากบรษิ ทั
และถกู หักออกเมื่อบริษัทจา่ ยเงินค่าไก่ (ดงั ตารางที่ 3.3)
การเล้ียงไกเ่ นอื้ แบบประกันราคาจะมกี ารเลย้ี ง 3 ขนาด คือ
ไกเ่ ลก็ นา้ํ หนกั จบั ออกเฉลยี่ 1.3-1.5 กโิ ลกรมั ตอ่ ตวั ไกก่ ลาง นาํ้ หนกั
1.5-1.9 กโิ ลกรัมตอ่ ตวั และไกใ่ หญ่ มีน้าํ หนักเฉลีย่ 2 กโิ ลกรมั ข้ึนไป
ซงึ่ ในแตล่ ะฟารม์ ในขนาดเดยี วกนั แตอ่ าจมกี ารเลยี้ งไกข่ นาดทตี่ า่ งกนั
และบางฟาร์มเล้ียงทั้ง 3 ขนาด คือ มีการทยอยจับไก่ในขนาดท่ี
ต้องการ ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดที่บริษัทติดต่อไว้
โดยในแตล่ ะขนาดกม็ รี าคารบั ซอื้ ตา่ งกนั โดยเฉลย่ี ไกเ่ ลก็ ขายไดร้ าคา
เฉลี่ย 38.38 บาทตอ่ กโิ ลกรมั ไก่กลาง 37.80 บาทต่อกโิ ลกรัม และ
ไก่ใหญ่ 37.17 บาทตอ่ กิโลกรมั
ค่าใช้จ่ายในการเล้ียงและรายได้นอกจากจะขึ้นอยู่กับขนาด
ของฟารม์ แลว้ จะขนึ้ อยกู่ บั ขนาดไกท่ เ่ี กษตรกรเลย้ี งดว้ ย ถา้ เลย้ี งไกเ่ ลก็
จะได้ราคาเฉลี่ยดีกว่าและใช้เวลาเล้ียงน้อยกว่า ซ่ึงสามารถเลี้ยงได้
จ�ำ นวนรนุ่ ตอ่ ปมี ากกวา่ การเลยี้ งไกใ่ หญ่ อยา่ งไรกต็ าม เกษตรกรไมไ่ ด้
เป็นผู้กำ�หนดว่าจะเล้ียงไก่ขนาดไหน แต่เป็นบริษัทคู่สัญญาที่เป็น
ผู้กำ�หนดว่าจะเข้ามาจับไก่เม่ือไร ซ่ึงเป็นไปตามความต้องการ
ของตลาดมากกว่า รายได้เหนือต้นทุนเงินสดต่อปีของฟาร์มไก่เน้ือ
ประกันราคามคี ่าเฉล่ยี ทส่ี ูงกว่าของไกเ่ นอ้ื รับจ้างเลยี้ งมาก โดยฟาร์ม
ขนาดเล็กมีรายได้เหนือต้นทุนเงินสดเฉล่ีย 348,000 บาทต่อปี
ฟารม์ ขนาดกลาง 433,000 บาทตอ่ ปี และฟาร์มขนาดใหญ่ 598,000
บาทต่อปี

26 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางที่ 3.3 เงนิ ลงทุนในการท�ำ ฟารม์ ไกเ่ น้ือประกนั ราคา

ขนาดฟารม์

รายการ เล็ก กลาง ใหญ่

จำ�นวนไก่ (1,000 ตวั /ร่นุ ) ~7-10 ~10-15 ~15-20

จำ�นวนโรงเรอื น 1 1-2 1-3

จำ�นวนไก่เฉลยี่ ต่อโรง 9,417 12,095 10,448

เงินลงทุนคา่ โรงเรือนและอปุ กรณ์ ~1.13 ลา้ น ~1.57 ลา้ น ~2.16 ล้าน
ตอ่ ฟาร์ม

ค่าดำ�เนินการรายป1ี 1.59 แสน ~2.40 แสน ~3.44 แสน

รายได้เงนิ สดสทุ ธติ ่อป2ี ~3.48 แสน ~4.33 แสน ~5.98 แสน

มูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิ 1.90 ล้าน 2.16 ล้าน 3.65 ลา้ น
(25 ปี)

อตั ราผลตอบแทนต่อการลงทุน 1.58 1.48 1.45
(B/C ratio)

อตั ราผลตอบแทนภายใน 25.49% 23.51% 25.61%
(Internal Rate of Return)

หมายเหต:ุ 1ค่าดำ�เนนิ การรายปี เปน็ ค่าดำ�เนินการที่เกษตรกรจา่ ยเป็นเงนิ สดประกอบด้วย ค่านาํ้ ค่าไฟ คา่ นาํ้ มนั ค่าแก๊ส
ค่าวัสดุสิน้ เปลืองและคา่ แรงงานจ้าง ยงั ไม่คิดค่าแรงงานครัวเรือน
2เป็นรายได้ใน 1 ปี จากการเลีย้ งไก่เนอ้ื 4-6 ร่นุ เปน็ รายได้ทหี่ กั ค่าดำ�เนนิ การเงนิ สดแลว้

เม่ือคำ�นวณเป็นมูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิ ในระยะเวลา 25 ปี
พบว่า การเลี้ยงไก่เน้ือประกันราคาในทุกขนาดฟาร์มให้มูลค่า
ผลตอบแทนปจั จบุ นั สทุ ธเิ ปน็ บวก คมุ้ คา่ ตอ่ การลงทนุ ในทกุ ขนาดฟารม์
ไม่พบว่ามีฟาร์มใดเลยท่ีมีมูลค่าติดลบ โดยฟาร์มขนาดเล็กมีมูลค่า
1.90 ล้านบาท ฟาร์มขนาดกลาง 2.16 ลา้ นบาทและฟาร์มขนาดใหญ่
3.65 ลา้ นบาท มีอตั ราผลตอบแทนตอ่ การลงทนุ สงู กว่า 1 ทกุ ขนาด
และมีค่าใกล้เคียงกันในทุกขนาดฟาร์ม และมีอัตราผลตอบแทน
ภายในประมาณร้อยละ 23-26 ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบ้ียธนาคาร
เพอ่ื การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอยมู่ าก คุ้มค่าแก่การกู้ยมื เงนิ
มาลงทุนทำ�ฟาร์ม

ส่ิ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 27

ฟารม์ ไก่ไข่ประกันราคา
กรมปศุสัตว์ (2555) กำ�หนดขนาดของโรงเรือนและพื้นที่
ที่เหมาะสมในการเล้ียงไก่ไข่ตามมาตรฐานไว้ที่พื้นท่ี 70 ตารางนิ้ว
ต่อไก่ไข่ 1 ตัว โดยมีพ้ืนที่กินอาหารประมาณ 5 ตารางนิ้วต่อตัว
แต่จากการศึกษาฟารม์ ไก่ไข่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ พบวา่ โรงเรือน
ส่วนใหญ่มีขนาดต่างกัน มีตั้งแต่โรงเรือนขนาดเล็ก ที่มีพ้ืนที่ 650
ตารางเมตร เลย้ี งไกไ่ ด้ 5,500-8,000 ตวั จนถงึ ขนาด 1,000 ตารางเมตร
เลีย้ งไก่ไดป้ ระมาณ 12,000 ตวั ฟารม์ ขนาดเล็กและกลางสว่ นใหญ่
มโี รงเรอื นเดียว ขณะที่ฟารม์ ขนาดใหญ่ พบว่ามีสงู สดุ ถึง 3 โรงเรอื น
ตอ่ ฟารม์
การเลี้ยงไก่ไข่ 1 รุ่นมีระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 15 เดือน
จึงกำ�หนดให้มีพ้ืนที่บำ�บัดน้ําเสียภายในฟาร์ม ส่วนใหญ่เป็นบ่อก๊าซ
แบบบ่อพักและสูบมูลไกข่ ึน้ ตาก (รอ้ ยละ 87) มีฟารม์ ขนาดกลางและ
ใหญ่บางส่วนที่ใช้ระบบบ่อก๊าซชีวภาพ การสร้างคอกไก่ไข่นิยมเล้ียง
บนกรงตับ เพราะประหยัดค่าอาหารและค่าแรงงานได้มากกว่าการ
เลยี้ งแบบปลอ่ ยพนื้ ขนาดกรงตบั ทที่ างบรษิ ทั แนะน�ำ ใหใ้ ชม้ ขี นาดกวา้ ง
กว่าขนาดมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์ก�ำ หนด สามารถเลยี้ งไก่ไขน่ าํ้ หนกั
ขนาด 1.4-1.8 กโิ ลกรัมได้ โดยเล้ยี งได้ 4 ตัวตอ่ กรง
เงนิ ลงทนุ เรม่ิ แรกส�ำ หรบั ฟารม์ ไกไ่ ขเ่ พมิ่ ขนึ้ ตามขนาดฟารม์
ที่ใหญ่ขึ้น โดยฟาร์มขนาดเล็กมาก (เลี้ยงไก่ไข่เฉล่ีย 5,600 ตัว)
ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกเป็นค่าก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์เฉลี่ย
1.29 ล้านบาท ฟารม์ ขนาดเลก็ (เฉลย่ี 9,400 ตวั ) ใชเ้ งนิ ลงทนุ 1.90
ลา้ นบาท ฟารม์ ขนาดกลาง (เฉลยี่ 11,500 ตวั ) เพมิ่ เปน็ 2.19 ลา้ นบาท
และฟาร์มขนาดใหญ่ (เฉล่ีย 17,000 ตวั ) เพิ่มเป็น 3.47 ล้านบาท
ตอ่ ฟาร์ม (ดังตารางที่ 3.4)

28 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางที่ 3.4 เงนิ ลงทุนในการท�ำ ฟาร์มไก่ไข่ประกนั ราคา

ขนาดฟารม์

รายการ เลก็ มาก เล็ก กลาง ใหญ่

จ�ำ นวนไก่ไข่ (1,000 ตัว/รุ่น) ~4.2-6.8 ~7-11 ~11-13 ~15-20

จ�ำ นวนโรงเรือน 1 1-2 1-2 3

จำ�นวนไกไ่ ข่ตอ่ ฟารม์ ~5,600 ~9,400 ~11,500 ~17,000

เงินลงทุนค่าโรงเรอื น ~1.29 ลา้ น ~1.90 ลา้ น ~2.19 ล้าน ~3.47 ลา้ น
และอุปกรณ์

ค่าดำ�เนนิ การรายป1ี 1.66 แสน ~3.18 แสน ~2.78 แสน ~5.45 แสน

รายได้เหนือตน้ ทุนเงนิ สด ~4.66 แสน ~6.53 แสน ~8.94 แสน ~10.14 แสน
สทุ ธติ ่อป2ี

มลู คา่ ผลตอบแทนปจั จบุ นั ~2.00 ลา้ น ~3.52 ล้าน ~5.40 ล้าน ~7.82 ลา้ น
สุทธิ (25 ป)ี

อัตราผลตอบแทน 1.42 1.55 1.84 1.77
ตอ่ การลงทนุ (B/C ratio)

อตั ราผลตอบแทนภายใน 22.12% 25.67% 30.04% 29.05%
(Internal Rate of Return)

หมายเหต:ุ 1ค่าดำ�เนนิ การรายปี เปน็ คา่ ด�ำ เนนิ การที่เกษตรกรจ่ายเป็นเงนิ สดประกอบดว้ ย ค่าน้ํา ค่าไฟ ค่านา้ํ มัน ค่าแก๊ส
ค่าวสั ดสุ ้ินเปลอื งและค่าแรงงานจ้าง ยงั ไม่คดิ ค่าแรงงานครัวเรอื น
2เป็นรายไดท้ ห่ี ักค่าดำ�เนนิ การเงินสดตอ่ 1 ปี (ไมถ่ ึง 1 รุ่น)

ในการคำ�นวณค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่ไข่แบบประกันราคามีลักษณะ
เดยี วกบั ไกเ่ นอ้ื ประกนั ราคา คอื คา่ ใชจ้ า่ ยรายปที แ่ี สดงไมร่ วมคา่ แมไ่ ก่
และค่าอาหาร เพราะเกษตรกรได้รับสนิ เชือ่ จากบริษัท ซ่งึ บรษิ ัทจะหกั
ออกจากรายไดท้ ขี่ ายไดข้ องเกษตรกร โดยการจา่ ยเงนิ คา่ ไขข่ องบรษิ ทั
จะจ่ายเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆ กัน โดยหักค่าแม่ไก่และค่าอาหาร
ออกในจำ�นวนเทา่ ๆ กนั ทกุ เดอื นจนกว่าจะหักครบ ทำ�ใหผ้ เู้ ลย้ี งไกไ่ ข่
จงึ ไดร้ บั เงนิ โอนจากบรษิ ทั ในลกั ษณะคลา้ ยเปน็ เงนิ เดอื นๆ ละเทา่ ๆ กนั
จนกระทง่ั หกั คา่ แมไ่ กแ่ ละคา่ อาหารหมด จงึ จะไดเ้ งนิ คา่ ไขเ่ ตม็ จ�ำ นวน
ซึง่ สว่ นใหญ่จะไดค้ ่าไขเ่ ตม็ จำ�นวนในสามเดอื นสุดทา้ ย

สิ่ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 29

ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรายปีและรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายท่ีเป็นเงินสด
ออกจะเพม่ิ ขน้ึ ตามขนาดของฟารม์ ทใี่ หญข่ น้ึ (ดงั ตารางที่ 3.4) เกษตรกร
ที่มีฟาร์มขนาดเล็กมาก มีรายได้เหนือต้นทุนเงินสดต่อปีเฉลี่ย
466,000 บาทตอ่ ปีหรอื เฉลย่ี เดอื นละ 39,000 บาท ฟารม์ ขนาดเล็ก
มีรายได้เฉล่ีย 653,000 บาทต่อปีหรือเฉล่ียเดือนละ 54,400 บาท
ฟาร์มขนาดกลาง มีรายได้เฉลี่ย 893,000 บาทต่อปีหรือเฉล่ีย
เดือนละ 74,500 บาท และฟาร์มขนาดใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยสูงถึง
1,142,000 บาทตอ่ ปีหรือเฉล่ียเดอื นละ 95,200 บาท ซงึ่ เปน็ รายได้
ตอ่ เดอื นเทียบเทา่ ระดบั ผูบ้ รหิ าร
เม่อื น�ำ มาค�ำ นวณหามูลค่าผลตอบแทนปัจจบุ นั สทุ ธิ พบว่า
ฟาร์มขนาดเล็กมาก มีมูลค่าเฉล่ียอยู่ท่ี 2.00 ล้านบาท ส่วนฟาร์ม
ขนาดอ่ืนๆ ทุกฟาร์มมีมูลค่าเป็นบวกเช่นกัน โดยฟาร์มขนาดเล็ก
มคี า่ เฉลย่ี 3.52 ลา้ นบาท ขนาดกลาง 5.39 ลา้ นบาท ขนาดใหญ่ 7.82
ลา้ นบาท (ดังตารางที่ 3.4) อัตราผลตอบแทนตอ่ การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น
ตามขนาดฟาร์มท่ีใหญข่ ึน้ และอัตราผลตอบแทนภายในสูงอยใู่ นชว่ ง
ร้อยละ 20-30 ซ่ึงคุ้มค่ากับการกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนทำ�ฟาร์มไก่ไข่
แบบประกันราคา
โดยสรุป การลงทุนทำ�ฟาร์มปศุสัตว์ในระบบพันธสัญญา
เกษตรกรต้องระมัดระวังเร่ืองเงินลงทุนเริ่มแรก ซ่ึงมีค่าใช้จ่ายท่ีสูง
เป็นหลักล้าน การกู้ยืมเงินควรมีการวิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
ก่อนลงทุน ควรรู้หรือต้องประเมินศักยภาพของตนเองว่าสามารถ
ทำ�ฟาร์มในขนาดใดได้ ถ้าต้องการเล้ียงสุกรขุนในระบบพันธสัญญา
ควรทราบวา่ ในเขตจงั หวดั ภาคเหนอื มแี ตพ่ นั ธสญั ญาแบบรบั จา้ งเลย้ี ง
โดยขนาดฟาร์มที่ใหญ่กว่าจะให้อัตราผลตอบแทนท่ีสูงกว่า และมี
เกษตรกรบางรายทเ่ี ลยี้ งแลว้ ขาดทนุ กม็ ี สว่ นการเลยี้ งไกเ่ นอื้ มที งั้ ระบบ
ประกันราคาและรับจ้างเลี้ยง การเล้ียงไก่เน้ือแบบรบั จา้ งเลี้ยงไม่ตอ้ ง
ลงทนุ ในปจั จยั การผลติ ผนั แปรแตผ่ ลตอบแทนทไี่ ดน้ อ้ ยกวา่ การเลยี้ ง
แบบประกันราคา ซ่ึงได้อัตราผลตอบแทนท่ีดีกว่าและคุ้มทุนในทุก
ขนาดฟาร์ม ส่วนไก่ไข่ประกันราคาเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเพราะให้
ผลตอบแทนที่คุ้มคา่ ในทุกขนาดฟาร์มเชน่ กัน

30 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

4 ความเส่ยี งและการปรบั ตัวของเกษตรกร
ภายใตร้ ะบบเกษตรพนั ธสญั ญา

ในทางทฤษฎเี กษตรพนั ธสญั ญาเปน็ เครอ่ื งมอื ส�ำ คญั ในการลดความเสย่ี ง
ทั้งในด้านการผลิตและการตลาดให้แก่เกษตรกร เพราะเกษตรกร
ในระบบพนั ธสญั ญาสามารถเขา้ ถงึ เทคโนโลยกี ารผลติ ทมี่ าจากบรษิ ทั
และได้รับการดูแลจากบริษัทในกระบวนการผลิตและมีตลาดรองรับ
ท่ีแน่นอน อย่างไรก็ตามในทางปฎิบัติอาจไม่ได้เป็นไปตามหลักการ
เกษตรกรสว่ นหนง่ึ ประสบปญั หาขาดทนุ จากการท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญา
จนมหี นส้ี นิ ลน้ ทว่ มตวั โดยเฉพาะเกษตรกรทท่ี �ำ ฟารม์ ปศสุ ตั วพ์ นั ธสญั ญา
เพราะต้องใช้เงินลงทนุ สูง ดังทอ่ี ธิบายไว้ในบทท่ี 3
ความเสี่ยงดา้ นผลผลิตและราคา
งานวจิ ยั ของเบญจพรรณและคณะ (2555a,b) และ จริ วรรณ
และพรสิริ (2557) ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงท้ังด้านการผลิตและ
การตลาดของเกษตรกรท่ีทำ�การเกษตรพันธสัญญาในภาคเหนือ
โดยการสอบถามขอ้ มลู ดา้ นผลผลติ และราคาทเ่ี กษตรกรไดร้ บั ยอ้ นหลงั
10 ปี เพื่อดูการกระจายตัวของข้อมูลว่าผลผลิตต่อไร่และราคาท่ี
เกษตรกรไดร้ บั มีกระจายตวั อย่างไร เชน่ ผลผลติ ต่อไร่และราคาของ
มันฝรั่งอยู่ในระดับใดบ้างในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นระดับ
สูง ปานกลาง และต่ำ� ถ้าเป็นกรณีสัตว์ ความเส่ียงด้านการผลิต
ดูที่อัตราการตายของสัตว์ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีอัตราการตาย
ในระดับใดบ้าง ต่�ำ ปานกลางหรอื สูงมากน้อยแค่ไหน กรณีเป็นการ

สิ่ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 31

ผลติ แบบรบั จา้ งเลย้ี ง พจิ ารณาวา่ คา่ จา้ งเลย้ี งตอ่ กโิ ลกรมั ในรอบ 10 ปี
ทผี่ า่ นมามกี ารกระจายตวั อยา่ งไร การรวบรวมขอ้ มลู ในระยะยาว 10 ปี
เนอื่ งจากแตล่ ะปเี กษตรกรจะไดผ้ ลผลติ และคา่ ตอบแทนทแ่ี ตกตา่ งกนั
แลว้ นำ�ขอ้ มลู ท่ไี ด้มาหาความแปรปรวน ซ่ึงเรียกว่า “ค่าสมั ประสิทธ์ิ
ความแปรปรวน” หากคา่ ทไ่ี ดม้ คี า่ สงู แสดงใหเ้ หน็ วา่ มคี วามแปรปรวน
หรอื ความไมแ่ น่นอนสูง หรือมีความเสี่ยงสงู นน่ั เอง
ผลการศึกษาได้ค่าสัมประสิทธ์ิความแปรปรวนของพืช
และสัตว์ท่ีทำ�การศึกษา ดังตารางท่ี 4.1 ผลท่ีได้แสดงให้เห็นว่า
ความแปรปรวนด้านราคาของพืชในระบบพันธสัญญาจะไม่สูงมาก
มคี ่าทุกตวั ตำ�่ กว่า 1 โดยกลุ่มพืชทีม่ ีความแปรปรวนหรอื ความเสี่ยง
ด้านราคาต่ำ� คือ ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเหลืองฝักสด ข้าวโพดหวาน
(0.08-0.16) สว่ นพชื ทม่ี คี วามเสย่ี งดา้ นราคาสงู คอื มะเขอื เทศ (0.74)
รองลงมาคือ พริก (0.40) ส่วนในกลุ่มสัตว์ ความเสี่ยงเร่ืองราคา
คอ่ นขา้ งต�ำ่ อยใู่ นระดบั 0.11-0.35 อยา่ งไรกต็ าม ความแปรปรวนหรอื
เสยี่ งทเ่ี กดิ ขนึ้ เปน็ ความเสย่ี งดา้ นผลผลติ มากกวา่ โดยคา่ สมั ประสทิ ธ์ิ
ความแปรปรวนของผลผลติ ในกลมุ่ พชื อยรู่ ะหวา่ ง 0.31-1.35 โดยพรกิ
เปน็ พืชท่มี ีความเส่ยี งด้านผลผลติ สงู กวา่ พชื อืน่ (1.35) รองลงมาคอื
มะเขอื เทศ (0.78) ข้าวโพดเมลด็ พันธุ์ (0.68) และ ถวั่ เหลอื งฝกั สด
(0.64) ตามลำ�ดับ ส่วนพืชที่มีความเสี่ยงด้านผลผลิตตำ่�ท่ีสุด คือ
ข้าวโพดหวาน (0.31) ขา้ วโพดฝกั ออ่ น (0.44) และ มนั ฝรัง่ (0.45)
ตามลำ�ดับ ส่วนกลุ่มสัตว์ ความแปรปรวนด้านการผลิตวัดท่ีอัตรา
การตาย ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมการผลิตสัตว์มีความ
เส่ียงมากกว่าการผลิตพืช คือ มีค่าสัมประสิทธิความแปรปรวนด้าน
การผลิตอยู่ในช่วง 0.68-1.23 โดยการเลี้ยงไก่เน้ือแบบรับจ้างเล้ียง
มีความเสี่ยงด้านผลผลิตสูงที่สุด (1.23) รองลงมาคือ ปลา และ
ไกไ่ ข่ประกันราคา (0.92-0.71) และต�ำ่ ทีส่ ดุ ในการเลย้ี งไกเ่ นื้อประกัน
ราคาและสุกรขุนรับจ้างเลี้ยง ซ่ึงมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน
ใกล้เคยี งกันที่ 0.66 และ 0.68 ตามล�ำ ดับ

32 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ตารางท่ี 4.1 ความแปรปรวนของพืชและสัตว์ในระบบพันธสัญญา

คา่ สมั ประสทิ ธคิ์ วามแปรปรวน

พืชหรือสัตว์ ผลผลิต ราคา

มันฝร่งั 1 0.45 0.21

มะเขอื เทศ1 0.78 0.74

ถ่ัวเหลอื งฝักสด1 0.64 0.12

ข้าวโพดหวาน1 0.31 0.16

ขา้ วโพดฝกั ออ่ น1 0.44 0.08

ขา้ วโพดเมลด็ พันธ์ุ1 0.68 0.28

พริก1 1.35 0.40

ปลาประกันตลาด1 0.92 0.20

สกุ รขุนรบั จา้ งเล้ียง2 0.18 0.68
ไก่เนื้อรบั จา้ งเลี้ยง2 0.20 1.23
ไกเ่ นื้อประกนั ราคา2 0.35 0.66

ไกไ่ ข่ประกันราคา2 0.11 0.71

ทม่ี า: 1เบญจพรรณและคณะ, 2555 และ 2จิรวรรณและพรสริ ิ, 2557

ความเสยี่ งดา้ นรายได้
ความเส่ยี งด้านรายไดส้ ามารถค�ำ นวณไดโ้ ดยการหาโอกาส
ของการขาดทุน โดยใช้ข้อมูลความแปรปรวนด้านผลผลิตและราคา
ย้อนหลัง 10 ปีดังกล่าวมาคำ�นวณหารายได้ที่คาดว่าจะได้รับและ
โอกาสของการเกิดขึ้นของรายได้ท่ีคาดหวังในแต่ละระดับ แล้วนำ�มา
เปรียบเทียบกบั ข้อมลู ต้นทุนการผลติ เฉล่ีย เพื่อดวู า่ โอกาสทร่ี ายได้ที่
คาดหวังจะน้อยกว่าต้นทนุ การผลติ เฉล่ยี เปน็ รอ้ ยละเท่าไร ซง่ึ เรยี กว่า
“โอกาสของการขาดทนุ ” โดยนำ�เสนอใน 2 รปู แบบ คอื โอกาสของ
การขาดทุนในต้นทุนเงินสด (เทียบกับต้นทุนการผลิตท่ีเป็นเงินสด)
และโอกาสของการขาดทนุ ในตน้ ทนุ รวม (เทยี บกบั ตน้ ทนุ การผลติ รวม)
สามารถดูรายละเอียดของการคำ�นวณได้ที่รายงานฉบับเต็มของ
เบญจพรรณและคณะ (2555a,b) และจิรวรรณและพรสิริ (2557)

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 33

ซงึ่ สามารถดาวนโ์ หลดไดจ้ ากเวป็ ไซตข์ องแผนงานสรา้ งเสรมิ นโยบาย
สาธารณะที่ดี ชดุ นโยบายสาธารณะ: ระบบการเกษตร (http://www.
tuhpp.net/?p=7392)
ผลการศกึ ษา พบวา่ โอกาสของการขาดทนุ ในตน้ ทนุ เงนิ สด
ของการผลิตพืชอยู่ในช่วงร้อยละ 13-48 ซ่ึงถ้าจัดแบ่งกลุ่มสามารถ
แบ่งออกไดเ้ ป็นกลมุ่ ท่ีมคี วามเส่ียงตำ่� (รอ้ ยละ 0-25 หรือในการผลติ
4-5 ปีมีความเส่ียงท่ีจะขาดทุนในต้นทุนเงินสด 1 ปี) และกลุ่มท่ีมี
ความเสี่ยงปานกลาง (>ร้อยละ 25-ร้อยละ 50 หรือมีความเสี่ยง
ท่ีจะขาดทุนในต้นทุนเงินสดปีเว้นปี หรือปีเว้น 3 ปี) โดยพืชท่ีมี
ความเสยี่ งต�ำ่ ไดแ้ ก่ ขา้ วโพดหวานและขา้ วโพดเมลด็ พนั ธ์ุ และพชื ทมี่ ี
ความเส่ียงปานกลาง ได้แก่ มันฝร่งั มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน พรกิ
และถว่ั เหลอื งฝักสด (ดังตารางท่ี 4.2)

ตารางที่ 4.2 โอกาสของการขาดทนุ ในการผลิตพชื และปลาพนั ธสัญญา

โอกาสของการขาดทนุ (รอ้ ยละ)

ชนิด ขนาดเฉล่ยี ตน้ ทุนเงนิ สด ต้นทนุ รวม

มนั ฝรง่ั 5.7 ไร่ 48 58

มะเขือเทศ 2.5 ไร่ 39 67

ถ่วั เหลอื งฝกั สด 4.2 ไร่ 28 41

ขา้ วโพดหวาน 3.4 ไร่ 13 53

ขา้ วโพดฝักออ่ น 3.7 ไร่ 34 46

ขา้ วโพดเมล็ดพนั ธุ์ 3.9 ไร่ 20 37

พรกิ 1.8 ไร่ 30 39

ปลา 9,000 ตวั 40 49

ท่ีมา: เบญจพรรณและคณะ, 2555a,b

34 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

สว่ นกรณสี ตั ว์ ใชก้ ารจดั กลมุ่ ความเสยี่ งแบบเดยี วกนั พบวา่ การเลย้ี ง
สุกรขุนแบบรับจ้างเล้ียงและการเล้ียงไก่เน้ือประกันราคาไม่มีความ
เส่ียงหรอื โอกาสของการขาดทนุ ในตน้ ทุนเงินสดเลย ขณะทีก่ ารเลย้ี ง
ไกเ่ น้อื แบบรับจา้ งเลีย้ งมีความเส่ยี งในระดบั ต�ำ่ (น้อยกวา่ รอ้ ยละ 25)
ยกเวน้ ในฟารม์ ขนาดเลก็ ทมี่ โี อกาสของการขาดทนุ รอ้ ยละ 32 สว่ นการ
เล้ียงไก่ไข่ประกันราคาพบว่ามีความเส่ียงในระดับสูง โดยฟาร์มท่ีมี
ขนาดเลก็ กว่าจะมคี วามเสย่ี งสูงกวา่
ส่วนกรณที ี่คิดเทยี บตน้ ทุนรวม ซ่ึงหมายถงึ รวมค่าแรงงาน
ครัวเรอื น และค่าเสื่อมโรงเรือนและอปุ กรณ์การผลติ ด้วย พบว่า พชื
ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีโอกาสของการขาดทุนในต้นทุนรวมมากกว่า
รอ้ ยละ 50 ได้แก่ มะเขือเทศ รองลงมาคอื มนั ฝร่ังและขา้ วโพดหวาน
และพชื ทมี่ คี วามเสย่ี งปานกลางหรอื มโี อกาสของการขาดทนุ ในตน้ ทนุ
รวมระหวา่ งรอ้ ยละ 25-50 ไดแ้ ก่ ข้าวโพดฝกั ออ่ น ถ่วั เหลืองฝกั สด
พรกิ และขา้ วโพดเลีย้ งสตั วเ์ พ่อื การผลิตเมลด็ พันธ์ุ โดยไมม่ พี ชื ใดที่มี
ความเสยี่ งในระดับต่ำ�เลย
สว่ นในการเลยี้ งสตั ว์ พบวา่ การเลยี้ งสตั วท์ ม่ี คี วามเสยี่ งสงู
หรือโอกาสของการขาดทุนในต้นทุนรวมมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่
การเลย้ี งไกไ่ ขป่ ระกนั ราคาและไกเ่ นอื้ รบั จา้ งเลยี้ ง สว่ นการเลยี้ งไกเ่ นอื้
ประกันราคาและสุกรขุนรับจ้างเลี้ยงมีความเส่ียงในระดับปานกลาง
(ตารางที่ 4.3)

ส่ิ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 35

ตารางท่ี 4.3 โอกาสของการขาดทนุ ในการท�ำ ปศสุ ัตวพ์ นั ธสัญญา

โอกาสในการขาดทุนต้นทนุ เงนิ สด

สกุ รขนุ ไกเ่ น้ือ ไกเ่ น้อื ไก่ไข่
ขนาดฟารม์ จ้างเลย้ี ง จา้ งเลี้ยง ประกนั ราคา ประกนั ราคา

เล็กมาก - 20 0 64

เลก็ 0 32 0 66

กลาง 0 20 0 56

ใหญ่ 0 - 0 54

ใหญม่ าก - 6 0 44

ขนาดฟารม์ โอกาสในการขาดทุนตน้ ทุนรวม

เล็กมาก - 100 40 72

เล็ก 31 80 41 71

กลาง 29 58 40 65

ใหญ่ 27 - 40 59

ใหญ่มาก - 63 39 47

การปรบั ตวั และป้องกนั ความเสีย่ งของเกษตรกร
เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีวิธีในการป้องกันความเสี่ยงจาก
การผลติ และการตลาดในระบบพนั ธสญั ญาทชี่ ดั เจน ผลการศกึ ษาของ
เบญจพรรณและคณะ (2555) พบวา่ เกษตรกรผู้ปลกู พชื พนั ธสญั ญา
สว่ นใหญป่ รบั ตวั รบั ความเสย่ี งโดยการพยายามลดคา่ ใชจ้ า่ ย (รอ้ ยละ 30)
วิธีที่นิยมรองลงมาคือ การปลูกพืชอย่างอื่น (ร้อยละ 28) และการ
พดู จาคยุ ปญั หากบั บรษิ ทั คสู่ ญั ญาหรอื นายหนา้ ทเ่ี ปน็ ตวั แทนของบรษิ ทั
(รอ้ ยละ 25) ซงึ่ เปน็ วธิ ที เี่ กษตรกรผปู้ ลกู ถวั่ เหลอื งฝกั สดใชใ้ นการรบั มอื
กบั ความเสยี่ ง นอกจากนยี้ งั มวี ธิ อี นื่ ๆ คอื การออกไปรบั จา้ งนอกฟารม์
เพ่ือหารายได้เสริมสร้างความหลายหลายของรายได้ การกู้ยืมเงิน
จากเพือ่ นบ้าน ญาตพิ ่นี ้องหรือนายทนุ เป็นต้น

36 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ในกรณีของเกษตรกรท่ีทำ�ปศุสัตว์พันธสัญญา จิรวรรณและพรสิริ
(2557) ใชว้ ธิ ปี ระชมุ กลมุ่ ยอ่ ยกบั เกษตรกรเพอื่ ใหแ้ สดงความคดิ เหน็ วา่
เกษตรกรมีวิธีการลดความเส่ยี งอยา่ งไรบ้าง ผลการประชมุ ได้ขอ้ สรปุ
4 วธิ ี คือ
1) การรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อปรึกษาหารือและ
แลกเปลย่ี นความรแู้ ละประสบการณ์ รวมทงั้ เทคโนโลยกี ารเลย้ี งทเ่ี ปน็
ประโยชน์ โดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิด
ปญั หาไวก้ อ่ น
2) การพูดคุยชี้แจ้งปัญหาของเกษตรกรกับบริษัทคู่สัญญา
จากการรวมกลุ่มในข้อแรก สามารถนำ�มาสู่การรวมกลุ่มเพ่ือหา
ข้อตกลงในเรื่องต่างๆ กบั บริษทั โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ กรณีเกดิ ปัญหา
ท่ีเกี่ยวข้องกับบริษัท เพ่ือให้บริษัทมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความ
รับผดิ ชอบดว้ ย
3) การดูแลเอาใจใส่ในการเล้ียงเป็นอย่างดีและหมั่น
ศึกษาหาความรูแ้ ละประสบการณ์ในการเลี้ยง เป็นวธิ กี ารทเ่ี กษตรกร
มองว่าตัวเองต้องมีความขยันหม่ันเพียรและทุ่มเทดูแลกิจการ
ของตนเองให้เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ท่ีมีการจัดการฟาร์มได้ตาม
มาตรฐานฟาร์ม
4) ศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
เป็นมุมมองของเกษตรกรต่อผู้ท่ีสนใจลงทุนแต่ยังไม่ได้ลงทุน
ว่าควรมีการตัดสินใจให้รอบครอบเพราะปัจจุบันค่าก่อสร้างโรงเรือน
และอปุ กรณต์ า่ งๆ มรี าคาสงู มาก รวมทงั้ มขี อ้ ก�ำ หนดมาตรฐานฟารม์
มากมายที่เกษตรกรตอ้ งปฏบิ ัตติ าม
ปจั จยั ทท่ี �ำ ใหป้ ระสบความส�ำ เรจ็ ในการท�ำ ฟารม์ ปศสุ ตั วพ์ นั ธสญั ญา
การประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้เล้ียงสัตว์ในระบบพันธสัญญา
ได้ข้อสรุปถึงปัจจัยท่ีทำ�ให้เกษตรกรประสบความสำ�เร็จในการทำ�
ฟาร์มปศสุ ัตว์พันธสญั ญาอยู่ 7 ประการ ตามลำ�ดบั ความส�ำ คัญมาก
ไปน้อย ดังนี้

สิ่ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 37

1) พนั ธุ์สตั วท์ ีด่ ี สมบรณู แ์ ละแข็งแรง
เป็นปัจจัยท่ีสำ�คัญท่ีสุด แต่เกษตรกรไม่สามารถกำ�หนด
สายพันธ์ุหรือท่ีมาของสัตว์ที่จะเล้ียงได้ ถ้าลูกสัตว์ท่ีเลี้ยงมีสุขภาพ
ไม่ดีมาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้เติบโตช้า มีอัตราการเจ็บป่วยและตายสูง
สง่ ผลท�ำ ใหอ้ ตั ราแลกเนอ้ื สงู และรายไดต้ �่ำ ได้ แตถ่ า้ ไดล้ กู สตั วท์ แ่ี ขง็ แรง
เจรญิ เตบิ โตได้ดี ก็จะทำ�ใหเ้ กษตรกรได้ผลตอบแทนทีด่ ี
2) การเลี้ยงและการจัดการฟารม์ อย่างใกล้ชดิ
เจา้ ของฟารม์ ตอ้ งดแู ลเอาใจใสใ่ นการเลย้ี งสตั วอ์ ยา่ งใกลช้ ดิ
เพราะการเปล่ียนแปลงเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบสูงมาก เช่น
ถ้าพัดลมระบายอากาศในโรงเรอื นดับเพียง 30 นาที สามารถท�ำ ให้
ไก่ตายได้ทั้งโรงเรือน แม้ว่าจะมีแรงงานจ้างแต่เจ้าของฟาร์มก็ต้อง
ควบคมุ ดแู ลทกุ อย่าง
3) สภาพโรงเรือนและอุปกรณ์ในโรงเรอื นที่ได้มาตรฐาน
สภาพโรงเรือนที่ไม่สมบรูณ์ เช่น จำ�นวนหรือขนาดพัดลม
ระบายอากาศไม่เหมาะสมกับจำ�นวนสัตว์ที่เลี้ยง ทำ�ให้ระบบระบาย
อากาศทำ�งานได้ไม่ดี อุณหภูมิผิดปกติ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต
ของสัตว์ได้ รวมถึงสุขาภิบาลในฟาร์มและการจัดการส่ิงแวดล้อม
รอบๆ ฟาร์มดว้ ย อาจส่งผลต่อการเกิดโรคในฟารม์ ได้
4) คณุ ภาพของบริษทั คู่สัญญา
แต่ละบริษัทมีเทคโนโลยีการผลิตและข้อตกลงเงื่อนไข
ท่ีแตกต่างกัน เกษตรกรต้องศึกษาบริษัทท่ีสนใจจะทำ�พันธสัญญา
ด้วยก่อน เพ่ือให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของบริษัท ทั้งในด้าน
เทคโนโลยีการผลิตและการจัดการด้านการตลาดของบรษิ ัท

38 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

5) ลกั ษณะของเกษตรกรท่ีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้
เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องเป็นคนช่างสังเกตและเรียนรู้ด้วย
ตนเอง เชน่ ถ้าไก่มพี ฤตกิ รรมทผ่ี ดิ แปลกไปจากเดมิ ต้องหมั่นสังเกต
ว่าเป็นอะไร ไก่ไข่เครียดไม่ออกไข่หรือจิกกันตายก็ส่งผลต่อรายได้
ทีจ่ ะไดร้ ับ
6) ระยะเวลาจับสตั วข์ ายทีแ่ นน่ อนตามขอ้ ตกลง
ระยะจบั สตั วเ์ ลยี้ งจะมผี ลกระทบมากตอ่ รายไดข้ องเกษตรกร
เพราะเกษตรกรไม่สามารถกำ�หนดได้ว่าจะให้จับสัตว์เลี้ยงได้เม่ือไหร่
แต่บรษิ ัทจะเปน็ ผกู้ �ำ หนด ถา้ สนิ ค้าขาดตลาดบรษิ ทั ก็จะมาจับเร็วกวา่
กำ�หนด ซึ่งสัตว์ท่ีเลี้ยงอาจมีนํ้าหนักน้อยกว่าที่ควร ทำ�ให้เกษตรกร
ไมไ่ ดร้ าคาตามชว่ งทเ่ี หมาะสม แตถ่ า้ ตลาดมสี นิ คา้ เยอะ บรษิ ทั จะมาจบั
ช้ากว่ากำ�หนดที่ควรเป็น ซ่ึงการเล้ียงไปเร่ือยๆ อัตราการเพ่ิมของ
นาํ้ หนกั มนี อ้ ย ท�ำ ใหอ้ ตั ราแลกเนอ้ื สงู สง่ ผลใหร้ ายไดข้ องเกษตรกรต�่ำ
7) การรวมกล่มุ ของเกษตรกร
การรวมกลมุ่ เพอื่ พดู คยุ แลกเปลยี่ นประสบการณใ์ นการเลยี้ ง
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน จะมีผลดีต่อประสิทธิภาพ
การเลี้ยงและการจัดการด้านรายได้ของเกษตรกร การรวมกลุ่ม
เป็นการเพ่ิมอำ�นาจการต่อรองกับบริษัท เช่น สามารถเชิญผู้บริหาร
ของบริษัทมาเข้าร่วมประชุมด้วยได้ โดยใช้เวทีประชุมน้ีในการหา
ขอ้ ตกลงในเรอื่ งตา่ งๆ กบั บริษัท

ส่ิ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 39

5 ขอ้ ควรรูเ้ กยี่ วกับ
เกษตรพันธสญั ญา

ในการทำ�เกษตรพันธสัญญามีหลายประเด็นท่ีเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ที่เกษตรกรที่สนใจทำ�เกษตรพันธสัญญาควรรู้ไว้ก่อนการตัดสินใจทำ�
อนั ไดแ้ ก่ ลกั ษณะของคสู่ ญั ญา ระยะเวลาของสญั ญาและการตอ่ สญั ญา
ข้อตกลงในสัญญา มาตรฐานการผลิตของบริษัทคู่สัญญา ประเด็น
เพ่ิมเติมด้านการลงทุนและผลตอบแทน การแบ่งปันความเสี่ยงของ
คู่สัญญาในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยธรรมชาติ ประเด็นด้านสังคม
สิทธิของเกษตรกร รวมทงั้ ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ ม และสดุ ทา้ ยเป็นการสรปุ
ใหเ้ หน็ ภาพลกั ษณะการไดอ้ ยา่ งเสยี อยา่ งของระบบเกษตรพนั ธสญั ญา
ที่เกษตรกรตอ้ งตระหนกั ไวว้ ่าไม่ไดม้ อี ะไรดไี ปเสียทกุ อยา่ ง
ลกั ษณะของคสู่ ญั ญา
1) คสู่ ญั ญาของเกษตรกรมหี ลายรปู แบบ ไดแ้ ก่ บรษิ ทั แปรรปู
นายหนา้ หรอื โบรกเกอรท์ เี่ ปน็ ตวั แทนของบรษิ ทั โดยตรง และนายหนา้
อสิ ระ
2) ในการผลติ พชื สว่ นใหญเ่ กษตรกรท�ำ สญั ญาผา่ นนายหนา้
ซ่ึงเป็นผู้รวบรวมผลผลิตส่งให้บริษัทอีกต่อหนึ่ง และมักเป็นสัญญา
ปากเปล่า ไม่เปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร ต่างจากการเลี้ยงสตั ว์ทีเ่ กษตรกร
ทำ�สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทโดยตรงหรือนายหน้า
ตวั แทนบริษทั

40 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

3) คู่สญั ญาแตล่ ะรูปแบบ มคี วามแตกต่างกันในด้านขนาด
การรบั ซอื้ ผลผลติ วธิ กี ารสง่ เสรมิ และดแู ลเกษตรกร เทคโนโลยกี ารผลติ
ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของปัจจัยการผลิตและผลผลิต
และเงอ่ื นไขการจา่ ยเงนิ ซง่ึ เกษตรกรจะท�ำ สญั ญากบั ใคร ควรมกี ารศกึ ษา
ในประเดน็ ทแี่ ตกตา่ งกันเหล่านี้ให้ดีกอ่ น เช่น นายหน้าบางรายรบั ซ้ือ
ในราคาประกันท่ีสูงกว่า แต่เกษตรกรต้องรอนานกว่าจะได้รับเงิน
ขณะที่นายหนา้ อกี รายจ่ายเงนิ รวดเรว็ แต่ใหร้ าคาต่�ำ กวา่
4) การส่ือสารระหว่างเกษตรกรกับบริษัทคู่สัญญาเป็นสิ่งที่
ส�ำ คัญมาก ถา้ เกษตรกรทำ�สัญญาผ่านนายหนา้ โดยเฉพาะนายหนา้
อิสระ ปัญหาหรือข้อมูลท่ีเกษตรกรต้องการส่ือสารไปยังบริษัท
อาจไปไมถ่ งึ ท�ำ ใหเ้ กดิ ความไมเ่ ขา้ ใจและการผลติ ไมร่ าบรน่ื ถา้ เกษตรกร
ท�ำ สญั ญากบั บรษิ ทั หรอื ตวั แทนบรษิ ทั โดยตรง และมเี จา้ หนา้ ทสี่ ง่ เสรมิ
ของบริษทั มาเยยี่ มเยยี นเกษตรกรอย่างใกล้ชดิ ทำ�ให้สามารถส่ือสาร
ปัญหากับบริษัทได้รวดเร็วและทันความต้องการ ลดความเสียหาย
จากการผลติ ได้
ระยะเวลาในการท�ำ สัญญาและการต่อสัญญา
1) การทำ�สัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา ส่วนใหญ่
เป็นสัญญาระยะสั้น เช่น สัญญาต่อหน่ึงฤดูกาลผลิตในการผลิตพืช
หรอื สญั ญาแบบปตี อ่ ปหี รอื รนุ่ ตอ่ รนุ่ ในการเลยี้ งสตั ว์ ในพชื อาจไมเ่ ปน็
ปญั หามากนกั แตใ่ นการท�ำ ฟารม์ เลยี้ งสตั ว์ เกษตรกรตอ้ งใชเ้ งนิ ลงทนุ
สูงและใช้ระยะเวลานานกว่าจะคืนทุน แต่บริษัททำ�สัญญาแบบปีต่อปี
ทำ�ให้บริษัทดูมีอำ�นาจมากกว่า เช่น ในกรณีที่ต้องการให้เกษตรกร
ปรบั ปรงุ เทคโนโลยกี ารผลติ บรษิ ทั จะออกจดหมายชแี้ จง้ ใหเ้ กษตรกร
ปฏิบัติตาม ถ้าไมเ่ ชน่ น้นั บริษทั จะไม่ต่อสญั ญาให้ ซงึ่ จะส่งผลกระทบ
ตอ่ ความคุ้มทุนของเกษตรกรได้
2) ในปัจจุบัน เริ่มมีการทำ�สัญญาในระยะที่ยาวข้ึนกับ
เกษตรกร เช่น การเล้ียงไก่เนื้อของบริษัทขนาดใหญ่ทำ�สัญญา 8 ปี
กบั เกษตรกร ดงั นนั้ เกษตรกรทต่ี อ้ งการลงทนุ เลย้ี งสตั วค์ วรศกึ ษาให้
ดีกว่าบรษิ ัทใดมีสัญญาในลกั ษณะใดบ้าง มีระยะสญั ญานานแคไ่ หน

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 41

3) ในกรณพี ชื มกี ารคดั เลอื กเกษตรกรเขา้ รว่ มท�ำ พนั ธสญั ญา
เช่นกัน โดยนายหน้าผู้รวบรวมผลผลิตจะพิจารณาท่ีการดูแล
แปลงปลูกพืชว่าทำ�ได้ดีหรือไม่ ส่วนบริษัทจะพิจารณาจากข้อมูล
การผลิตและผลผลิตของเกษตรกรที่ผ่านมาประกอบการทำ�สัญญา
ในปีตอ่ ไป
ลกั ษณะขอ้ ตกลงในเกษตรพันธสญั ญา
1) ข้อตกลงต่างๆ ท่ีมีในสัญญาบริษัทเป็นผู้กำ�หนดเป็น
สำ�คัญ และมีความแตกต่างกันในแต่บริษัทหรือตามชนิดพืช เช่น
การทำ�พันธสัญญาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดของเกษตรกร
เชียงใหม่และลำ�พูน พบว่า บริษัทมีการประกันรายได้ข้ันตำ่�ต่อไร่
ไว้ในกรณีที่มีปัญหาไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ เกษตรกรจะได้รับ
คา่ ชดเชย 3,500 บาทต่อไร่ เป็นต้น ซึง่ ไมพ่ บในพชื อืน่ หรอื ในกรณี
ของมันฝร่ัง บริษัทได้ระบุไว้ในสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า
หลังจากการปลูก 90 วัน ถ้าแปลงของเกษตรกรคนใดไม่มีโรค
และแมลง นายหน้าจะให้เงินพิเศษเป็นค่าตอบแทนบำ�รุงรักษา
เพอื่ เปน็ โบนสั แกเ่ กษตรกรกโิ ลกรมั ละ 0.20 บาท เทา่ กบั เปน็ แรงจงู ใจ
ใหผ้ ู้ปลูกมันฝรั่งมคี วามตั้งใจและเอาใส่ใจในการดูแลฟาร์มมากขึน้
2) ในการทำ�เกษตรพันธสัญญา ส่วนใหญ่บริษัทจะมี
ข้อกำ�หนดเร่ืองปัจจัยการผลิตไว้ชัดเจน พันธ์ุพืชและสัตว์ส่วนใหญ่
มาจากบริษัท ปัจจัยการผลิตอ่ืนบางคร้ังมีการกำ�หนดทั้งชนิด ย่ีห้อ
ปริมาณการใช้ ระยะเวลาการใช้ โดยเกษตรกรต้องปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด หากเกษตรกรไม่ปฏิบัติตาม และเกิดความเสียหาย
กับผลผลิตและบริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม
เงอื่ นไขดา้ นปจั จยั การผลติ บรษิ ทั อาจไมร่ บั ซอื้ ผลผลติ และไมร่ บั ผดิ ชอบ
ตอ่ ความเสยี หายใดๆ โดยเกษตรกรยงั คงตอ้ งใชห้ นค้ี า่ ปจั จยั การผลติ
ทง้ั หมด

42 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

มาตรฐานการผลิตของบรษิ ัท
1) โดยปกติบริษัทจะมีการกำ�หนดมาตรฐานการผลิตไว้
แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามาตรฐานการผลิตของบริษัทสามารถ
เปลยี่ นแปลงได้ ไมแ่ นน่ อนและขนึ้ อยกู่ บั บรษิ ทั เปน็ ส�ำ คญั เชน่ มาตรฐาน
การพักเล้าสุกรกำ�หนดว่าต้องมีการพักเล้าประมาณ 3 สัปดาห์
เพ่อื การฆา่ เชอ้ื ทำ�ใหโ้ รงเลีย้ งปลอดโรค แตใ่ นสภาวะท่บี ริษทั มลี กู หมู
จำ�นวนมากต้องการปล่อยออกให้เกษตรกรนำ�ไปเล้ียง บริษัทจะให้
สตั วบาลมาขอรอ้ งใหเ้ กษตรกรชว่ ยเอาลกู หมมู าลงฟารม์ กอ่ นก�ำ หนด
แต่ในสภาวะท่ีบริษัทผลิตลูกหมูได้น้อย บริษัทไม่มีลูกหมูมาลงให้
โดยให้เหตุผลเร่ืองการพักเล้าทิ้งระยะปลอดโรค นั่นคือสาเหตุที่
บางฟารม์ เลย้ี งสกุ รได้ 2 รนุ่ ตอ่ ปี ขณะทบ่ี างฟารม์ เลย้ี งสกุ รได้ 2.5 รนุ่
ตอ่ ปี หรอื แมแ้ ตใ่ นฟารม์ ไกก่ ม็ ลี กั ษณะคลา้ ยกนั บางฟารม์ ไดเ้ ลย้ี งไกเ่ นอ้ื
แค่ 4 รนุ่ ต่อปี ขณะที่บางฟารม์ เลี้ยงได้ถงึ 6 รนุ่ ต่อปี เมือ่ สอบถาม
เกษตรกรวา่ ทำ�ไมเลีย้ งแค่ 4 รุ่น เกษตรกรตอบว่าบริษทั ไมเ่ อาลกู ไก่
มาใหเ้ ล้ยี งก็ไม่รู้จะทำ�ยงั ไง
ประเด็นท่คี วรรู้เกีย่ วกบั การลงทนุ และผลตอบแทน
1) เกษตรกรสว่ นใหญเ่ ขา้ รว่ มท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญากบั บรษิ ทั
ดว้ ยเหตผุ ลทส่ี �ำ คญั คอื ตอ้ งการมรี ายไดท้ แ่ี นน่ อนและมน่ั คง เกษตรกร
ควรทราบว่าแม้ว่าเกษตรกรส่วนหนึ่งท่ีเข้าร่วมเกษตรพันธสัญญา
จะประสบความสำ�เร็จด้วยการมีรายได้ท่ีดีข้ึน มีตลาดรองรับสินค้าท่ี
แนน่ อน แตม่ เี กษตรกรสว่ นหนงึ่ เชน่ กนั ทข่ี าดทนุ ไมป่ ระสบความส�ำ เรจ็
ในการทำ�เกษตรพันธสัญญาจนต้องเลิกทำ�ไป และมีภาระหน้ีสิน
มากมายทย่ี งั ตอ้ งชดใชห้ ลงั จากนน้ั สว่ นใหญเ่ ปน็ เกษตรกรทที่ �ำ ฟารม์
เลยี้ งสตั ว์ เพราะการท�ำ ฟารม์ เลย้ี งสตั ว์ ไมว่ า่ จะเปน็ หมู ไกเ่ นอ้ื หรอื ไกไ่ ข่
เกษตรกรตอ้ งเปน็ ผลู้ งทนุ ในปจั จยั การผลติ หลกั อนั ไดแ้ ก่ ทด่ี นิ โรงเรอื น
และอุปกรณ์การเล้ียง เงินลงทุนเหล่าน้ีมีตั้งแต่หลักแสนไปจนถึง
หลักล้านขึ้นอยู่กับขนาดของฟาร์ม บางบริษัทไม่ได้ช้ีแจ้งข้อมูลการ
ลงทุนอย่างครบถ้วนให้แก่เกษตรกร แต่ค่อยๆ ทยอยบอกข้อมูล
เกษตรกรต้องศึกษาหาข้อมูลการลงทุนจากแหล่งอ่ืนท่ีเช่ือถือได้

ส่ิ ง ที่ เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 43

เพ่ิมเติมด้วย เช่น จากเพ่ือนเกษตรกรที่ลงทุนทำ�ฟาร์มมาก่อน
หลายๆ คน
2) มาตรฐานการผลิตหรือมาตรฐานฟาร์มมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บริษัทอาจให้เกษตรกรต้องลงทุนเพิ่ม
เพอ่ื ใหม้ กี ารผลติ เปน็ ไปตามมาตรฐานทภี่ าครฐั ก�ำ หนดหรอื เปน็ ไปตาม
มาตรฐานของบริษัท โดยเกษตรกรต้องเป็นผู้ลงทุนเอง บางบริษัท
อาจให้การสนับสนุนในรูปของสินเช่ือแต่บางบริษัทไม่มี เกษตรกร
ตอ้ งหาแหลง่ เงนิ กเู้ พมิ่ เอง ซงึ่ ท�ำ ใหห้ นส้ี นิ เพม่ิ ขน้ึ แตถ่ า้ ไมป่ ฏบิ ตั ติ าม
บริษัทก็จะไม่เอาสัตว์มาลงฟาร์มให้เล้ียงจนกว่าเกษตรกรจะปฏิบัติ
ตามทีบ่ รษิ ทั ก�ำ หนด
3) การท�ำ พันธสญั ญาแบบจ้างเล้ยี ง แม้ว่าจะมกี ารกำ�หนด
ค่าจ้างเล้ยี งต่อกิโลกรัมที่แน่นอน แต่รายได้ท่ีเกษตรกรจะไดร้ บั ขึน้ อยู่
กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ความรู้ความสามารถของเกษตรกรและ
นกั สตั วบาลทบี่ รษิ ทั สง่ มาชว่ ยดแู ลฟารม์ ซงึ่ สตั วบาลแตล่ ะคนมคี วามรู้
ความสามารถไม่เท่ากัน เกษตรกรต้องเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง
ไม่ใช่คอยพ่ึงแต่สัตวบาล ส่วนหน่ึงขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของบริษัท
เช่น พันธ์ุสตั วท์ ไี่ ด้รบั คณุ ภาพอาหารสตั ว์ ซง่ึ ส่วนนเี้ กษตรกรควบคมุ
ไมค่ อ่ ยได้ สง่ ผลใหก้ ารท�ำ สญั ญาแบบรบั จา้ งเลย้ี งไมไ่ ดท้ �ำ ใหเ้ กษตรกร
มรี ายได้ที่แนน่ อนเสมอไป
การรบั ซ้ือผลผลิตของบรษิ ทั
1) เกษตรกรอาจไม่ไดร้ ับการชี้แจงอย่างชดั เจนในเรือ่ งการ
รบั ซอ้ื ผลผลติ ของบรษิ ทั เชน่ บางบรษิ ทั มกี ารคดั คณุ ภาพของผลผลติ
ที่ไม่แน่นอน ในช่วงท่ีผลผลิตมีมากและบริษัทประกันราคาไว้สูง
บรษิ ทั จะเขม้ งวดในการตรวจคัดเกรดมาก แตถ่ า้ ผลผลิตมไี มม่ ากนัก
ราคาประกันไม่สูงนัก บริษัทจะไม่เข้มงวดในการตรวจคัดเกรด
ซ่ึงอาจทำ�ให้เกษตรกรสับสนในด้านคุณภาพของผลผลิตที่ควรเป็น
และถกู เอารดั เอาเปรยี บได้

44 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

2) ในกรณขี องสตั ว์ พบความไม่แน่นอนในการเขา้ มารบั ซอ้ื
ผลผลิต เช่น ไก่เน้ือ พบปัญหาการทยอยจับไก่ตามความต้องการ
ของตลาด ไมไ่ ดจ้ บั ใหห้ มดในครง้ั เดยี ว สง่ ผลกระทบตอ่ ไก่ พบปญั หา
ไก่ตายมากขึ้นจากการจับหลายครง้ั หรือในกรณีของสกุ รรับจา้ งเลย้ี ง
พบว่า เกษตรกรไม่ได้รับความยุติธรรมในการคำ�นวณอัตราแลกเนื้อ
เม่ือส้ินสุดการเล้ียง โดยกรณีสุกรตาย บริษัทไม่เอาน้ําหนักของสุกร
ทต่ี ายมาค�ำ นวณดว้ ยทง้ั ๆ ทส่ี กุ รกนิ อาหารกอ่ นตายเชน่ กนั หรอื กรณี
สุกรแคระแกรนท่ีบริษัทคัดท้ิง ซึ่งกินอาหารในปริมาณท่ีไม่ต่างจาก
สุกรปกติ ทำ�ให้การคำ�นวณอัตราแลกเน้ือสูงกว่าค่าท่ีบริษัทกำ�หนด
ซึง่ เกษตรกรจะโดนปรับลดค่าจ้างเลยี้ งได้
การแบ่งปันความเสีย่ งในกรณีเกดิ โรคระบาดและภยั ธรรมชาติ
1) จากการศึกษาเรอ่ื งการแบ่งปนั ความเสย่ี ง พบวา่ บรษิ ัท
คสู่ ัญญาแตล่ ะบริษทั มกี ารแบ่งปนั ความเสยี่ งในกรณีท่เี กดิ โรคระบาด
และภัยธรรมชาติแตกต่างกันไป บางบริษัทร่วมรับผิดชอบโดยไม่
เรียกเก็บหรือเรียกเก็บค่าปัจจัยการผลิตท่ีได้จากบริษัทบางส่วน
แต่ต้องมีข้อมูลท่ีแน่ชัดว่าความเสียหายเป็นผลมาจากเหตุท่ีไม่
สามารถควบคุมไดจ้ ริง ไมใ่ ชจ่ ากการไมเ่ อาใจใส่ดแู ลของเกษตรกร
2) เช่น กรณีถ่ัวเหลืองฝักสด ข้าวโพดหวานและข้าวโพด
ฝกั ออ่ นในจงั หวดั เชยี งใหม่ พบวา่ บรษิ ทั มนี โยบายชว่ ยเหลอื คา่ ปจั จยั
การผลิตครึ่งหน่งึ กรณีเกดิ โรคระบาดหรอื ภยั ธรรมชาติ และบางกรณี
พบว่านายหน้าบางรายจะพยายามช่วยเหลือเกษตรกรโดยยกหน้ีให้
เชน่ กนั เพราะต้องการแขง่ ขันกับนายหนา้ รายอื่นในการรกั ษาลกู ไร่ไว้
3) บางกรณบี ริษัทไม่ได้แบ่งปันความเส่ียง แต่ให้เกษตรกร
ตอ้ งรบั ผดิ ชอบในคา่ ปจั จยั การผลติ โดยอาจใหท้ ยอยใชห้ นส้ี นิ จนหมด
4) ในกรณีของการเลี้ยงสัตว์ บริษัทอาจให้ความช่วยเหลือ
ในการขนย้ายหรือจ่ายชดเชยให้ในกรณีเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ
โดยเฉพาะการทำ�สัญญาแบบรับจ้างเลี้ยง เพราะสัตว์ท่ีเล้ียงเป็นของ
บรษิ ัทอยู่แล้ว

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 45

ประเด็นด้านสงั คมและสิทธิในสงั คมท่คี วรรู้
1) การท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญาเปน็ การท�ำ เกษตรแบบเชงิ เดย่ี ว
ใชเ้ ทคโนโลยกี ารผลติ ทที่ นั สมยั เพอื่ ควบคมุ ผลผลติ ใหไ้ ดต้ ามปรมิ าณ
และคุณภาพที่ตลาดต้องการ ทำ�ให้การผลิตต้องอยู่ในความควบคุม
ดูแลอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของบริษัท เกษตรกร
บางรายบอกว่าเกษตรพันธสัญญาเป็นการทำ�การผลิตที่ทำ�ให้ไร้ญาติ
ขาดมติ ร เพราะตอ้ งใชเ้ วลาสว่ นใหญอ่ ยใู่ นไรใ่ นฟารม์ เพอ่ื ใหไ้ ดส้ นิ คา้
ตรงตามเกณฑ์ท่ีบริษัทกำ�หนด เช่น เกษตรกรผู้เล้ียงไก่ ถั่วแขก
ข้าวโพดฝักอ่อน ซึ่งล้วนเป็นผลผลิตที่มีการระบุขนาดและคุณภาพ
ที่ต้องการจากตลาดท้ังในและต่างประเทศ เกษตรกรจึงถูกกำ�หนด
ให้ผลิตให้ได้ตามความต้องการของตลาด โดยมีราคาประกันท่ีสูง
เป็นส่ิงจูงใจ ซ่ึงต้องใช้เวลาในการดูแลเอาใจใส่ฟาร์มเป็นอย่างดี
จนไม่มีเวลาใหก้ บั กิจกรรมสังคมอ่ืนๆ
2) ในการท�ำ เกษตรพนั ธสญั ญา เกษตรกรไดร้ บั การสนบั สนนุ
ปัจจัยการผลิตจากบริษัท ในกระบวนการผลิตมีการกำ�กับดูแล
จากบริษัทผ่านเจ้าหน้าท่ีของบริษัท ในด้านการตลาดมีแหล่งรับซ้ือ
ท่ีแน่นอน เกษตรกรมีหน้าท่ีอย่างเดียวคือการใช้แรงงาน เกษตรกร
จงึ เปรยี บเสมือนแรงงานรบั จ้างของบริษทั แต่เป็นแรงงานนอกระบบ
ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่มี
สวัสดกิ ารดูแลอย่างท่ัวถีง
3) การผลติ พชื บางอยา่ ง เชน่ พรกิ ถว่ั เหลอื งฝกั สด ขา้ วโพด
เมลด็ พนั ธุ์ และมนั ฝรง่ั มมี าตรฐานในการควบคมุ ปรมิ าณและคณุ ภาพ
ของผลผลิตสูง เกษตรกรต้องควบคุมเร่ืองโรคแมลงอย่างมาก
บริษัทกำ�หนดให้ใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชและวัชพืชค่อนข้างมาก
ทำ�ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ แต่บริษัทไม่มีระบบดูแล
สุขภาพให้เกษตรกร ไมม่ ีระบบการจ่ายเงนิ คา่ รกั ษาพยาบาลจากการ
เจ็บป่วยเพราะสารเคมี รวมทง้ั ไมไ่ ดม้ กี ารด�ำ เนินการใดๆ ท่ีเกย่ี วกับ
การลดผลกระทบทจ่ี ะเกดิ ขนึ้ กบั สิ่งแวดลอ้ มในชุมชนดว้ ย

46 คู่ มื อ ก า ร ท ำ� เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

ประเด็นดา้ นสิ่งแวดลอ้ มท่ีตอ้ งพงึ ระวงั
1) ในการท�ำ ฟารม์ ปศสุ ตั วพ์ นั ธสญั ญา เกษตรกรตอ้ งลงทนุ
ทำ�ฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์กำ�หนดด้วยตนเอง
ทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบแต่สามารถให้คำ�แนะนำ�ได้ เกษตรกรต้อง
ใหค้ วามสนใจประเดน็ เรอ่ื งมลภาวะจากฟารม์ เลยี้ งสตั วท์ ม่ี ผี ลกระทบ
ตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มและชมุ ชน เพราะถา้ เกดิ ผลกระทบดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มแลว้
มีผู้ฟ้องร้อง เกษตรกรอาจได้รับผลกระทบโดยการเสียค่าปรับหรือ
โดนปดิ ฟารม์ ได้
2) เกษตรกรต้องศึกษามาตรฐานฟาร์มว่ามีข้อกำ�หนด
เร่ืองอะไรไว้อย่างไรบ้าง เช่น มีการกำ�หนดว่าที่ตั้งฟาร์มต้องอยู่ห่าง
จากแหลง่ ชมุ ชนมากน้อยเพยี งใด ซึง่ มคี วามเกย่ี วข้องกบั ขนาดฟาร์ม
ยง่ิ ฟารม์ ขนาดใหญย่ งิ่ ตอ้ งอยหู่ า่ งจากชมุ ชนมากขนึ้ บางครง้ั เกษตรกร
เจอปัญหาชุมชนขยายตัวเข้ามาใกล้ฟาร์มด้วย และข้อกำ�หนดด้าน
การมีแหล่งนํ้าสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ําใช้ และท่ีสำ�คัญคือ
ขอ้ ก�ำ หนดใหก้ ารตง้ั ฟารม์ ตอ้ งไดร้ บั ความยนิ ยอมจากองคก์ ารบรหิ าร
ราชการสว่ นท้องถน่ิ อนั ไดแ้ ก่ องค์กรบริหารสว่ นต�ำ บลหรือเทศบาล
ซง่ึ ตอ้ งด�ำ เนนิ การผา่ นการท�ำ ประชาคมหมบู่ า้ นกอ่ นจงึ จะไดร้ บั อนญุ าต
จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การดำ�เนินการเพ่ือให้ได้รับความยินยอม
เปน็ หนา้ ทข่ี องเกษตรกรทต่ี อ้ งด�ำ เนนิ การเอง โดยบรษิ ทั ยนิ ดใี หค้ วาม
ชว่ ยเหลือดา้ นข้อมลู ที่ตอ้ งการ
3) ท่ีผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการฝึกอบรมให้แก่
เกษตรกรในเร่ืองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ทุกปี และเกษตรกร
สามารถหาข้อมูลด้านมาตรฐานฟาร์มผ่านเจ้าหน้าท่ีกรมปศุสัตว์
หรอื ผ่านเวปไซตข์ องกรมปศุสตั ว์ได้

สิ่ ง ท่ี เ ก ษ ต ร ก ร ค ว ร รู้ แ ล ะ พึ ง ร ะ วั ง 47

การได้อยา่ งเสยี อย่างในระบบพนั ธสัญญา
การทำ�เกษตรพันธสัญญามีข้อดีและมีข้อเสียท่ีต้องแลกเปลี่ยนกัน
เชน่
1) เกษตรพันธสัญญาช่วยลดภาระในการหาตลาดของ
เกษตรกร แต่เกษตรกรต้องยอมแลกด้วยการยอมรับราคาที่บริษัท
เสนอให้ รวมท้ังเวลาในการเข้ามารับซื้อของบริษัท ซึ่งบริษัทเป็นผู้
ก�ำ หนดฝา่ ยเดียว
2) เกษตรพนั ธสญั ญาชว่ ยลดภาระดา้ นการหาแหลง่ เงนิ ทนุ
ในการซอ้ื ปจั จยั การผลติ ของเกษตรกร เพราะบรษิ ทั เปน็ ผจู้ ดั หาปจั จยั
การผลิตให้เกษตรกร (ในกรณีรับจ้างเลี้ยง) หรือให้สินเช่ือในรูปของ
ปจั จยั การผลติ (กรณปี ระกันราคา) แต่สิ่งทเ่ี กษตรกรต้องแลกเปลีย่ น
คือ การต้องใช้ปัจจยั การผลิตตามคุณภาพที่ได้รบั จากบริษัทอย่างไม่
สามารถเลอื กหรอื ตอ่ รองได้ ซง่ึ มกั พบวา่ เปน็ ปญั หาส�ำ คญั ทเ่ี กษตรกร
กล่าวถึงและส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร เช่น พันธ์ุที่ได้รับ
ไมไ่ ด้คณุ ภาพ

48 คู่ มื อ ก า ร ท �ำ เ ก ษ ต ร พั น ธ สั ญ ญ า

เอกสารอา้ งองิ

กรมปศุสัตว์. 2548. “การเล้ียงสุกร”. สำ�นักพัฒนาการปศุสัตว์และ
ถา่ ยทอดเทคโนโลยี กลมุ่ เผยแพรแ่ ละประชาสมั พนั ธ.์ กรงุ เทพฯ.
กรมปศสุ ัตว.์ 2555. “มาตรฐานฟารม์ เล้ยี งไก่เน้อื ”. (10 ธนั วาคม 2556)
[ระบบออนไลน์]. แหลง่ ข้อมูล: http://www.dld.go.th/home/
stchick.html
กรมปศุสตั ว์. 2555. “มาตรฐานฟารม์ เลี้ยงไกไ่ ข่”. (10 ธนั วาคม 2556)
[ระบบออนไลน]์ . แหลง่ ข้อมลู : http://www.dld.go.th/home/
stchick.html
กรมปศุสัตว์, มปป. “เอกสารแนะนำ�ประเภทของก๊าซชีวภาพ”. (28
พฤษภาคม 2557) [ระบบออนไลน]์ . แหลง่ ขอ้ มลู : http://region6
.dld.go.th/2014/pdf/bo1/Bin2.pdf
จริ วรรณ กจิ ชยั เจรญิ และพรสริ ิ สบื พงษส์ งั ข.์ 2557. ความเสยี่ ง ผลตอบแทน
และการปรบั ตวั ของเกษตรกรในการท�ำ ฟารม์ ปศสุ ตั วภ์ ายใต้
ระบบพันธสัญญาในเขตจังหวัดภาคเหนือ. รายงานวิจัย
ฉบับสมบรูณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จังหวดั เชียงใหม่
นนท์ นชุ หมอน. 2556. การส�ำ รวจองคค์ วามรเู้ พอื่ การปฏริ ปู ประเทศไทย:
เกษตรพันธสัญญา ภาพรวมและบทสำ�รวจประเด็นปัญหาใน
ประเทศไทย. กรงุ เทพฯ: เปนไท.
เบญจพรรณ เอกะสิงห์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และพรสิริ สืบพงษ์สังข์.
2555a. ความเสย่ี งในการเกษตรระบบพนั ธะสญั ญาในจงั หวดั
เชยี งใหม่และล�ำ พูน เล่ม 1: การวเิ คราะห์ภาพรวม. ศูนย์วิจัย
ระบบทรพั ยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่
จังหวัดเชียงใหม่
เบญจพรรณ เอกะสิงห์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และพรสิริ สืบพงษ์สังข์.
2555b. ความเสย่ี งในการเกษตรระบบพนั ธะสญั ญาในจงั หวดั
เชียงใหม่และลำ�พูน เล่ม 2: การวิเคราะห์รายพืช/สัตว์.
ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


Click to View FlipBook Version