The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการดินและปุ๋ย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by keittapong, 2021-06-14 00:50:31

การจัดการดินและปุ๋ย

การจัดการดินและปุ๋ย

เอกสารคำ� แนะน�ำท่ี 2/2559

การจดั การดนิ และปยุ๋ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

พมิ พ์ครง้ั ที่ 1 : จ�ำนวน 20,000 เลม่ มถิ ุนายน พ.ศ. 2559
จัดพมิ พ์ : กรมสง่ เสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พิมพ์ท่ี : ชมุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กดั

คำ� นำ�

   การผลิตพืชเพ่ือให้ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าการลงทุน ก่อนอ่ืนต้องรู้จักธรรมชาติ
ของดนิ ก่อนวา่ มีสมบัตอิ ย่างไร เหมาะสมกบั พชื ท่ีปลูกหรอื ไม่ ถา้ ยงั ไมเ่ หมาะสม
หรือเหมาะสมน้อยก็จะต้องมีการจัดการดิน เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโต
และใหผ้ ลผลติ ไดต้ ามปกติ จากนนั้ จงึ พจิ ารณาในเรอ่ื งของธาตอุ าหาร
ในดนิ วา่ มเี พยี งพอกบั ความตอ้ งการของพชื หรอื ไม่ ควรตอ้ งมกี าร
ใส่ปุ๋ยชนิดใด อัตราเท่าไร ช่วงเวลาใด และมีวิธีการอย่างไร
ให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา
การใช้ประโยชน์จากพื้นท่ีเพาะปลูก และการใช้ปุ๋ย
ของเกษตรกร ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ท�ำให้การใช้ประโยชน์จากท่ีดินและปุ๋ย ยังไม่เกิด
ประสิทธภิ าพเทา่ ทคี่ วร
กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดท�ำเอกสาร
ค�ำแนะน�ำเรื่อง “การจัดการดินและปุ๋ยอย่างมี
ประสิทธิภาพ” ข้ึน เพ่ือให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องที่เก่ียวกับดินและปุ๋ยเบื้องต้น เพื่อน�ำความรู้
ไปจัดการดินและปุ๋ยให้สามารถลดต้นทุนการผลิต และ
เพ่ิมผลผลิตให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้บริโภค และเป็นการรักษาทรัพยากรดิน ให้สามารถ
ผลติ พืชผลได้อยา่ งยั่งยืนตอ่ ไป
กรมสง่ เสริมการเกษตร
2559

สารบัญ

................................................................................................................................................... หนา้
ดนิ 1

ความหมาย 1
สว่ นประกอบของดิน 2
ลักษณะและคุณสมบตั ทิ ั่วไปของดนิ 3
ดนิ ทม่ี ีปัญหาและแนวทางการจดั การ 5
การจัดการความเปน็ กรดเป็นดา่ งของดิน 6
การเก็บตวั อยา่ งดนิ เพอ่ื การตรวจวิเคราะห์ 7
การตรวจวเิ คราะหด์ ิน 9
....................................................................................................

ธาตอุ าหารทจี่ �ำเป็นส�ำหรบั พืช 10
หน้าท่แี ละความส�ำคญั ของธาตอุ าหารพชื
และอาการของพืชเมื่อขาด 11

....................................................................................................

ป๋ยุ และการใชป้ ยุ๋ 14

ความหมาย 14
ประเภทของป๋ยุ 14
สตู รป๋ยุ 18
เรโชของป๋ยุ 18
การเลือกซ้อื ปุย๋ ใหค้ มุ้ ค่า 19
การใชป้ ุ๋ยอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ 21
การใชป้ ุ๋ยตามคา่ วเิ คราะห์ดินหรอื ปุ๋ยส่ังตดั 23
การใช้ปยุ๋ ถกู ต้องช่วยลดต้นทุนการผลิต 24
ข้อดขี อ้ เสียของปุย๋ อินทรยี ์ ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ 26
....................................................................................................

เอกสารอ้างองิ 28

....................................................................................................

1

ดนิ

ความหมาย

ดนิ เปน็ สงิ่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ เองโดยธรรมชาตจิ ากการสลายตวั ผพุ งั ของอนนิ ทรยี สาร
ได้แก่ หินและแร่ กับอินทรีย์สาร ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ ผสมคลุกเคล้ากันอย่าง
ต่อเน่ืองเป็นระยะเวลายาวนาน และเม่ือมีน้�ำและอากาศมารวมกันอย่างเหมาะสม
จะช่วยค�้ำจนุ และเปน็ แหล่งอาหารของพืช

การจดั การดนิ และปยุ๋ อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

2

สว่ นประกอบของดิน

ดินในแต่ละพื้นท่ีจะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน โดยความแตกต่างน้ี
จะมมี ากขน้ึ หากมนษุ ยเ์ ขา้ ไปเกย่ี วขอ้ งและใชป้ ระโยชนจ์ ากดนิ สว่ นประกอบของดนิ
มี 4 สว่ นใหญ่ ๆ คอื
1. อนนิ ทรยี วตั ถุ เปน็ สว่ นทไี่ ดจ้ ากการสลายตวั ผพุ งั ของหนิ และแร่ อนั เปน็
แหลง่ ก�ำเนิดธาตอุ าหารพืชและควบคุมโครงสรา้ งของดิน
2. อินทรียวัตถุ เป็นส่วนท่ีเน่าเปื่อยผุพัง หรือเกิดจากการสลายตัว
ของเศษพืช อันเป็นแหล่งก�ำเนิดธาตุอาหารพืช ให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน และ
ควบคุมสมบตั ิทางกายภาพของดิน และจุลินทรยี ด์ นิ
3. อากาศ เป็นส่วนของก๊าซต่าง ๆ ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดินหรือ
อนภุ าคดนิ
4. นำ�้ เป็นสว่ นของน�ำ้ ท่พี บอยู่ในชอ่ งว่างของดนิ หรอื อนภุ าคของดิน
ดินในอุดมคติท่ีเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรมีส่วนประกอบ
ตามสัดส่วนโดยปริมาตร ดังน้ี อนินทรียวัตถุหรือแร่ธาตุร้อยละ 45 น้�ำหรือ
สารละลายรอ้ ยละ 25 อากาศร้อยละ 25 และอินทรยี วตั ถุร้อยละ 5

25% 25%
5%

อนินทรียวัตถุหรอื แรธ าตุ
45% นำ้ หรือสารละลาย

อากาศ
อินทรียวัตถุ

กรมสง่ เสริมการเกษตร

3

ลักษณะและคณุ สมบัติทัว่ ไปของดิน

1. เนื้อดิน บง่ บอกถงึ ความหยาบ ความละเอยี ดของอนุภาคดนิ โดยทัว่ ไป
เนื้อดินแบ่งออกไดเ้ ปน็ 3 ชนดิ คอื
1.1 ดินทราย ประกอบด้วยอนุภาคทรายตั้งแต่ร้อยละ 85 ข้ึนไป
เปน็ ดนิ ทม่ี คี วามอดุ มสมบรู ณต์ ำ�่ มคี วามสามารถในการอมุ้ นำ้� ตำ�่ นำ้� ซมึ ผา่ นไดง้ า่ ยมาก
1.2 ดินร่วน เป็นดินท่ีประกอบด้วยอนุภาคของทรายและดินเหนียว
ในปริมาณใกล้เคียงกัน เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช ไถพรวนได้ง่าย
มกี ารระบายน�ำ้ และถ่ายเทอากาศด ี มักเปน็ ดนิ ที่มีความอุดมสมบูรณส์ ูง
1.3 ดินเหนียว เป็นดินท่ีมีอนุภาคของดินเหนียว ร้อยละ 40 ข้ึนไป
เน้ือละเอียดแน่น อุ้มน�้ำได้ดี และไม่ยอมให้น�้ำซึมผ่านได้ง่าย ไม่เหมาะสมในการ
เพาะปลูกพืช
2. สีดิน เป็นสมบัติของดินขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ที่เป็นองค์ประกอบในดิน
สภาพแวดลอ้ ม และระยะเวลาการพัฒนา มปี ระโยชนใ์ นการจ�ำแนกชุดของดนิ
3. ความเป็นกรดเปน็ ด่างของดิน หรอื พีเอช (pH) ของดนิ จะบอกเป็น
ตัวเลขตั้งแต่ 0–14 ถ้าดนิ มีคา่ พเี อชน้อยกว่า 7 แสดงวา่ ดนิ น้ันเปน็ ดนิ กรด ยง่ิ มีค่า
น้อยกว่า 7 มาก กจ็ ะเป็นกรดมาก แตถ่ า้ ดนิ มพี ีเอช มากกวา่ 7 จะเป็นดนิ ดา่ ง ยิง่ มี
ค่ามากกว่า 7 มาก ก็จะเป็นด่างมาก ส�ำหรับดินที่มีพีเอชเท่ากับ 7 พอดีแสดงว่า
ดินเป็นกลาง พีเอช (pH) ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชจะมีค่า
อยใู่ นชว่ ง 5.2 ถึง 7.3
พเี อช (pH) ของดนิ มคี วามสำ� คญั ตอ่ การปลกู พชื มาก เพราะเปน็ ตวั ควบคมุ
การละลายธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในสารละลายหรือน�้ำในดิน ถ้าดินมีพีเอช
ไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจจะละลายออกมาได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารบางชนิดอาจจะละลายออกมา
มากเกนิ ไป จนเป็นพิษต่อพชื ได้

การจดั การดนิ และป๋ยุ อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

4

ระดบั pH ของดนิ กับความเปน ประโยชนของธาตอุ าหารพืช
Effects of pH on Nutrient Availability
ระดับ pH

4.0 4.5 5.0 5.5 6.0 6.5 7.0 7.5 8.0
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โพแทสเซียม (K)
กำมะถนั (S)
แคลเซยี ม (Ca)
แมกนีเซยี ม (Mg)
เหล็ก (Fe)

แมงกานสี (Mn)
โบรอน (B)
ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn)

โมลบิ ดนี มั (Mo)

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

5

ดินที่มีปัญหาและแนวทางการจัดการ

ดินมีปัญหา คือ ดินซ่ึงมีสมบัติอย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอย่างที่
ไมเ่ หมาะสมหรือเหมาะสมนอ้ ยต่อการเจรญิ เตบิ โตของพชื
ประเภทของดินมีปัญหา ไดแ้ ก่
1. ดินเค็ม หมายถึง ดินที่
มปี รมิ าณเกลอื ทลี่ ะลายอยใู่ นสารละลายดนิ
มากเกนิ ไป จนมีผลกระทบตอ่ การเจริญ
เติบโตและผลิตผลของพชื
การจดั การแกไ้ ข เลอื กปลกู
พชื ทนเค็ม (เช่น หนอ่ ไมฝ้ รงั่ มะเขอื เทศ
กุยช่าย บรอคโคล่ี คะน้า) ให้น้�ำระบบ
น้�ำหยด คลุมดินเพ่ือรักษาความชื้น และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์
และวสั ดอุ นิ ทรีย์ เชน่ ปุย๋ หมกั ปยุ๋ คอก ป๋ยุ พชื สด แกลบ ข้ีเถ้าแกลบ กากอ้อย
2. ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดก�ำมะถัน หมายถึง ดินท่ีมีสภาพความเป็น
กรดสงู มาก สง่ ผลกระทบตอ่ การปลกู พชื โดยพบแรจ่ าโรไซตจ์ ดุ ประสเี หลอื งฟางขา้ ว
ในหนา้ ตดั ดนิ ความรนุ แรงขึ้นกบั ความลึกทพี่ บแรจ่ าโรไซต์

การจัดการแกไ้ ข เชน่ ใส่ปนู
ใชน้ ำ�้ ขงั แลว้ ระบายออก ควบคมุ ระดบั นำ้�
ใตด้ นิ โดยยกรอ่ งสงู เพอ่ื ปลกู ไมผ้ ล และยก
ร่องต�่ำเม่ือปลูกผัก เพ่ิมเติมอินทรียวัตถุ
ให้แก่ดิน และเลือกปลูกพืชท่ีทนความ
เปน็ กรดสงู

3. ดินตื้น หมายถึง ดินท่ีพบชั้นลูกรัง ช้ันกรวด ช้ันเศษหิน ช้ันหินพื้น
ในระดบั ตน้ื กวา่ 50 เซนติเมตร ดนิ มีปรมิ าณของเน้อื ดินนอ้ ย ส่งผลใหม้ ีการเกาะยึด
ตัวของดนิ ไม่ดี เกิดการชะล้างพังทลายของดินไดง้ า่ ย มปี ญั หาในการไถพรวน ดนิ มี
ความอุดมสมบรู ณต์ ่�ำและความสามารถในการดูดซับน้ำ� ต�ำ่

การจัดการดนิ และป๋ยุ อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

6

การจัดการแก้ไข เช่น
การเตรยี มดนิ ปลกู ไมผ้ ล ควรขดุ หลมุ ปลกู
ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ น�ำหน้าดินจาก
ทอ่ี น่ื มาใสก่ น้ หลมุ พรอ้ มกบั การใสป่ ยุ๋ หมกั
ปุ๋ยคอก ผสมดินรองก้นหลุมช่วยให้
ระบบรากพืชเจริญเติบโตแผ่ขยายได้
เพ่ิมอินทรยี วัตถุ คลมุ ดนิ รกั ษาความชืน้
4. ดินกรด หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต�่ำกว่า 7 โดยดินกรดท่ีมีค่า pH
ของดนิ ต�ำ่ กว่า 5.5 จะมีข้อจ�ำกดั ในดา้ นความเป็นประโยชนข์ องธาตอุ าหารบางชนิด
เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายมากจนเป็นพิษ
กับพชื เชน่ เหล็ก แมงกานีส
การจดั การแกไ้ ข เชน่ ใชป้ นู เพม่ิ อนิ ทรยี วตั ถใุ หแ้ กด่ นิ และเลอื กชนดิ พชื
และพันธพ์ุ ชื ที่เจริญเติบโตไดด้ ีในดินกรด เช่น ข้าว แตงโม ขา้ วโพด ขา้ งฟ่าง อ้อย
มันส�ำปะหลัง ถั่ว ยางพารา ปาล์มน้�ำมัน กาแฟ กล้วย มะม่วง มะม่วงหิมพานต์
ยาสบู และสบั ปะรด เป็นต้น
5. ดินด่าง เป็นดินที่มีระดับ pH สูงกว่า 7 มีเฉพาะบริเวณเขาหินปูน
เชน่ จงั หวัดสระบุรี ลพบรุ ี
การจดั การแก้ไข เชน่ ใส่ธาตกุ ำ� มะถนั ในขณะทดี่ นิ ช้นื ไถดนิ ให้ลกึ เพอ่ื
พลกิ ดนิ บนลงขา้ งลา่ ง และใสป่ ยุ๋ พวกทมี่ ฤี ทธติ์ กคา้ งเปน็ กรด เชน่ แอมโมเนยี มซลั เฟต

การจดั การความเปน็ กรดเป็นดา่ งของดิน

หากผลวเิ คราะหพ์ บว่าดนิ เป็นกรด (พีเอชตำ�่ กว่า 5) ควรต้องยกระดบั พเี อช
ให้สูงขึ้นใกล้เป็นกลาง (พีเอช 5.6-7.3) มิฉะนั้นธาตุอาหารบางชนิดจะอยู่ในรูปที่
ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ส�ำหรับในนาข้าวถ้าค่าพีเอชไม่ต�่ำกว่า 4 ไม่จ�ำเป็น
ต้องใช้ปูน เพราะสภาพน�้ำขงั จะชว่ ยยกระดับพีเอชใหส้ ูงขึน้

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

7

ปริมาณหินปูนบดละเอียดท่ีแนะน�ำให้ใช้ในการแก้ไขความเป็นกรด
ของดนิ เพ่อื ยกระดับ pH ให้เท่ากบั 7

คา่ pH เดมิ หนิ ปูนบดละเอียด (กก./ไร่)
ดนิ รว่ น ดินเหนียว/
5.0 ดนิ ทราย ปนทราย ดินร่วน รว่ นเหนยี ว
4.5
4.0 200 300 400 500
3.5 700 1,100
1,100 800 1,000 2,100
1,600 3,000
1,300 1,800

2,000 2,500

หมายเหตุ : ปูนทใี่ ชแ้ กค้ วามเป็นกรดมีหลายชนิด ถา้ ไมใ่ ชห้ ินปูนบดละเอียด

ใหใ้ ช้ค่าตอ่ ไปนใี้ นการค�ำนวณปริมาณปูนชนิดอน่ื ท่ีตอ้ งการน�ำมาใชแ้ ทน
1. ปนู ขาว = ตวั เลขในตาราง x 0.74 กก./ไร่
2. หินปนู เผา หรือเปลอื กหอยเผา = ตัวเลขในตาราง x 0.56 กก./ไร่
3. ปูนโดโลไมท ์ = ตวั เลขในตาราง x 0.92 กก./ไร่
4. ปนู มาร์ล = ตวั เลขในตาราง x 1.25 กก./ไร่

การเกบ็ ตัวอยา่ งดนิ เพอ่ื การตรวจวเิ คราะห์

มหี ลกั สำ� คัญ คือ
1. ควรเกบ็ หลงั จากเกบ็ เกย่ี วผลผลติ แลว้ หรอื กอ่ นเตรยี มดนิ ปลกู พชื สำ� หรบั
พชื อายสุ ั้น
2. พืน้ ที่เกบ็ ตัวอยา่ งดนิ ไม่ควรเปยี กแฉะหรอื มนี ้ำ� ทว่ มขงั
3. ไม่เกบ็ ตวั อย่างดนิ บรเิ วณท่เี คยเปน็ คอกสตั ว์ หรือบริเวณทีม่ ีป๋ยุ ตกคา้ ง
4. อุปกรณท์ ่ีใช้เกบ็ ตวั อยา่ งดินต้องสะอาด ไมเ่ ปอ้ื นดินอืน่ ปุ๋ย สารปอ้ งกัน
ก�ำจดั ศตั รพู ชื หรือสารเคมอี ื่น ๆ
5. ตอ้ งบนั ทกึ รายละเอยี ดเกย่ี วกบั ตวั อยา่ งดนิ ของแตล่ ะตวั อยา่ งใหม้ ากทสี่ ดุ
เพ่อื เปน็ ประโยชนต์ ่อการใหค้ ำ� แนะนำ� การจดั การดนิ และปยุ๋ ใหถ้ กู ต้องท่สี ุด

การจัดการดนิ และปุย๋ อยา่ งมีประสิทธภิ าพ

8
วิธีเกบ็ ตวั อยา่ งดิน
การเก็บตวั อยา่ งดินไมค่ วรเก็บขณะท่ีดินแฉะหรอื มคี วามชื้นมากเกินไป
1. ถางหญา้ กวาดเศษพืช ออกจากบริเวณที่จะเกบ็ แต่อยา่ แซะหนา้ ดินออก
2. พน้ื ท่ี ไมเ่ กิน 25 ไร่ เกบ็ ตวั อยา่ งดนิ จาก 15-20 จดุ

3. แต่ละจุดขดุ ดนิ เป็นหลมุ รูปล่มิ หรอื รูปคมขวาน ความลึกถึงก้นหลมุ
— ขา้ ว 10 เซนติเมตร
— พืชไร่ 15 เซนติเมตร
— ไม้ผล ไม้ยืนต้น 30 เซนติเมตร (พื้นที่ 10 ไร่ เก็บจาก 6-8 ต้น
ในรัศมีทรงพุ่มท้ัง 4 ทิศ ต้นละ 4 จุด) แล้วแซะดินด้านหน่ึงของหลุมตั้งแต่ผิวดิน
ถึงกน้ หลมุ ใหเ้ ป็นแผน่ หนา 2-3 เซนตเิ มตร น�ำมาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเทา่ ๆ กนั
ตามแนวดิ่ง ใช้เฉพาะส่วนตรงกลางเป็นตัวแทนของดิน 1 จุด น�ำมาคลุกเคล้า
รวมกันในกระปอ๋ งพลาสติก

กรมสง่ เสริมการเกษตร

9
4. เทดินในกระป๋องลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าดินเปียก
ตากในทรี่ ม่ ให้แห้ง หา้ มตากแดด
5. ยอ่ ยดนิ เปน็ ก้อนเลก็ ๆ กองดินเปน็ รูปฝาชี
6. แบ่งดินเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้ส่วนเดียว ท�ำซ�้ำจนได้ดิน 1 ส่วน
หนกั ประมาณ 0.5 กิโลกรัม
7. บดดนิ ใหล้ ะเอียด โดยอาจใชข้ วดแก้วทีส่ ะอาด แล้วเกบ็ ใส่ถงุ เพอื่ นำ� ไป
ตรวจวเิ คราะห์

การตรวจวเิ คราะห์ดิน

หากตอ้ งการไดผ้ ลวเิ คราะหด์ นิ อยา่ งละเอยี ดพรอ้ มคำ� แนะนำ� การจดั การดนิ
และการใชป้ ยุ๋ ใหน้ ำ� ตวั อยา่ งดนิ สง่ วเิ คราะหท์ ห่ี อ้ งปฏบิ ตั กิ ารของกรมวชิ าการเกษตร
หรือ กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซ่ึงส่วนใหญ่ให้บริการ
แกเ่ กษตรกรโดยไมค่ ดิ คา่ ใชจ้ า่ ย หรอื สถาบนั การศกึ ษา เชน่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์
ภาควิชาปฐพีวิทยา ซ่ึงมีค่าบริการตรวจวิเคราะห์ดิน หากไม่สะดวกส่งวิเคราะห์
หอ้ งปฏบิ ตั กิ าร สามารถใชช้ ดุ ตรวจสอบธาตอุ าหาร เอน็ -พ-ี เค (N-P-K) และความเปน็
กรดเปน็ ด่างในดนิ แบบรวดเรว็ (KU Soil test kit) ซง่ึ เกษตรกรสามารถวเิ คราะห์
เองได้และทราบผลวิเคราะห์เบ้ืองต้นว่ามี เอ็น-พี-เค (N-P-K) สูง ปานกลาง ต่�ำ
อย่างไรได้ภายใน 30 นาที

การจดั การดนิ และปยุ๋ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

10

ธาตอุ าหาร
ท่ีจำ� เปน็ ส�ำหรบั พืช

พชื มคี วามตอ้ งการธาตอุ าหารตา่ ง ๆ เพอื่ ใชใ้ นการเจรญิ เตบิ โต ซงึ่ ธาตอุ าหาร
ทีจ่ ำ� เปน็ ส�ำหรบั พชื มีอยดู่ ้วยกนั 16 ธาตุ ได้จากนำ้� และอากาศ 3 ธาตุ คือ คาร์บอน
ไฮโดรเจน ออกซิเจน และได้จากดิน 13 ธาตุ โดยแบ่งตามปริมาณความต้องการ
ของพชื ได้ ดงั น้ี
ธาตุอาหารหลัก 3 ธาตุ เป็นธาตุที่มีความส�ำคัญต่อการเจริญเติบโต
ของพชื และพชื ตอ้ งการในปรมิ าณมากแตใ่ นดนิ มกั จะขาด คอื ไนโตรเจน ฟอสฟอรสั
โพแทสเซียม จึงต้องเพม่ิ เติมใหใ้ นรูปของปยุ๋
ธาตอุ าหารรอง 3 ธาตุ เปน็ ธาตุทมี่ ีความสำ� คัญต่อการเจรญิ เตบิ โตของพืช
และพืชต้องการในปริมาณมากแต่น้อยกว่าธาตุหลัก คือ แคลเซียม ก�ำมะถัน และ
แมกนเี ซียม
ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่พืชจะ
ขาดธาตเุ หล่าน้ีไมไ่ ด้ คือ ทองแดง โบรอน คลอรนี เหล็ก แมงกานสี โมลบิ ดีนมั และ
สังกะสี

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

11

หแลนะ้าอทาแ่ี กลาะรคขวอางมพสืช�ำเคมัญอ่ื ขขาอดงธาตอุ าหารพชื

ธาตอุ าหารพชื หน้าท่แี ละความส�ำคัญต่อพืช อาการของพืชเมอื่ ขาด
ธาตอุ าหารหลัก
1. ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้ ใบเหลอื ง ใบมขี นาดเลก็ ลง
2. ฟอสฟอรสั พืชมสี เี ขียว เร่งการเจรญิ เตบิ โตทางใบ ล�ำต้นแคระแกร็นและให้

3. โพแทสเซยี ม ผลผลติ ตำ่�

ธาตุอาหารรอง เรง่ การเจรญิ เตบิ โตและการแพรก่ ระจาย ระบบรากจะไมเ่ จรญิ เตบิ โต
4. แคลเซยี ม ของราก ควบคุมการออกดอก ออกผล ใบแกจ่ ะเปลย่ี นจากสเี ขยี ว
และการสรา้ งเมล็ด เป็นสีม่วงแล้วกลายเป็น
สีน�้ำตาลและหลุดร่วง
ล�ำต้นแกร็นไม่ผลิดอก
ออกผล

ช่วยในการสงั เคราะห์นำ�้ ตาล แปง้ และ พืชจะไม่แข็งแรง ล�ำต้น
โปรตีน ส่งเสริมการเคล่ือนย้ายน�้ำตาล ออ่ นแอ ผลผลิตไมเ่ ติบโต
จากใบไปสู่ผล ช่วยในการออกดอก มีคุณภาพต�่ำ สีไม่สวย
และสรา้ งเมล็ด ท�ำให้ผลเติบโตเร็วและ รสชาติไม่ดี
มคี ณุ ภาพดี ชว่ ยใหพ้ ชื แขง็ แรง ตา้ นทาน
ต่อโรคและแมลงบางชนิด

ชว่ ยสง่ เสรมิ การนำ� ธาตไุ นโตรเจนจากดนิ พบมากในบริเวณยอด
มาใชใ้ หเ้ ปน็ ประโยชน์ ในระยะออกดอก และปลายราก ยอดอ่อน
และระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความ จะแห้งตาย ใบที่เจริญ
จำ� เปน็ มาก เพราะธาตแุ คลเซยี มจะมสี ว่ น ใหม่จะหงิกงอ รากสั้น
ในการเคล่ือนย้ายและเก็บรักษา ผลแตก และไมม่ คี ณุ ภาพ
คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อ
นำ� ไปใชใ้ นการสร้างผลและเมล็ดต่อไป

การจดั การดนิ และปุ๋ยอยา่ งมีประสิทธิภาพ

12

ธาตุอาหารพชื หนา้ ทีแ่ ละความสำ� คัญต่อพืช อาการของพืชเม่ือขาด
5. กำ� มะถนั เปน็ องคป์ ระกอบของกรดอะมโิ น โปรตนี ใบบนและใบล่างจะมี
6. แมกนีเซยี ม และวิตามิน มีผลต่อการสร้างสีเขียว สีเหลืองซีด และต้น
ธาตุอาหารเสริม ของใบพชื อ่อนแอ
7. ทองแดง
เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว ใบพชื จะเหลอื งซดี ยกเวน้
8. โบรอน ทง้ั ทใี่ บและสว่ นอน่ื ๆ ซงึ่ มบี ทบาทสำ� คญั บรเิ วณเสน้ กลางใบ ถา้ หาก
ในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช อาการขาดรนุ แรงใบแกจ่ ะมี

อาการมากกวา่ ใบออ่ น

ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ใบพชื จะมสี เี ขยี วจดั ผดิ ปกติ
การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง แลว้ ตอ่ มาจะคอ่ ยๆเหลอื งลง
กระตนุ้ การทำ� งานของเอนไซมบ์ างชนดิ โดยแสดงอาการจากยอด

ลงมาถึงโคนตายอดจะ
ชะงกั การเจรญิ เตบิ โตและ
กลายเป็นสีด�ำ ใบอ่อน
เหลือง และพืชท้ังต้นจะ
ชะงักการเจรญิ เติบโต

มีบทบาทต่อการดูดดึงธาตุอาหาร ส่วนท่ียอดและตายอด
พืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียม จะบดิ งอ ใบออ่ นบางและ
และไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมี โปรง่ ใสผดิ ปกติ เสน้ กลาง
ประสิทธิภาพมากข้ึน นอกจากนี้ยัง ใบหนากรา้ น และตกกระ
ชว่ ยใหพ้ ชื ใชธ้ าตโุ พแทสเซยี มไดม้ ากขนึ้ มีสารเหนียวๆ ออกมา
มบี ทบาทในการสงั เคราะหแ์ สง การยอ่ ย ตามเปลือกของล�ำต้น
โปรตนี คารโ์ บไฮเดรต และเพม่ิ คณุ ภาพ ก่ิงก้านจะแลดูเหี่ยว
ทั้งรสชาติ ขนาด และน�้ำหนักของผล ผลเล็กและแข็งผิดปกติ
เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต มีเปลือกหน้า บางทีผล
เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและ แตกเป็นแผลได้ อาการ
คายน�้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหาร ขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัด
อกี ทางหนึ่ง เมื่อต้นพืชกระทบแล้ง
หรือขาดน�้ำมาก ๆ

กรมสง่ เสริมการเกษตร

13

ธาตอุ าหารพชื หนา้ ทีแ่ ละความส�ำคญั ต่อพชื อาการของพืชเม่อื ขาด
9. คลอรนี มบี ทบาทบางประการเกีย่ วกับฮอรโ์ มน พืชจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีด
10. เหล็ก ในพืช และมีความส�ำคัญต่อขบวนการ และบางสว่ นแห้งตาย
11. แมงกานสี สังเคราะห์แสง

12. โมลิบดีนัม ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ใบอ่อนจะมีสีขาวซีด
มีบทบาทส�ำคัญในการสังเคราะห์แสง ในขณะทใ่ี บแกย่ งั เขยี วสด
13. สังกะสี และหายใจ

ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการ ใบอ่อนจะมีสีเหลือง
ท�ำงานของเอนไซม์บางชนดิ ในขณะที่เส้นใบยังเขียว
ตอ่ มาใบทม่ี อี าการดงั กลา่ ว
จะเหย่ี วแลว้ ร่วงหลน่

ชว่ ยใหพ้ ชื ใชไ้ นโตรเจนใหเ้ ปน็ ประโยชน์ พืชจะมีอาการคล้าย
และเก่ยี วข้องกบั การสงั เคราะหโ์ ปรตนี ขาดไนโตรเจน ใบมลี กั ษณะ

โค้งคล้ายถ้วย ปรากฏจุด
เหลือง ๆ ตามแผ่นใบ

เปน็ องคป์ ระกอบจำ� เปน็ ในออกซนิ และ ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีด
ฮอร์โมนพืช ช่วยในการสังเคราะห์ และ ปร ากฏ สีข าว ๆ
ฮอร์โมน IAA จ�ำเป็นต่อสังเคราะห์ ประปรายตามแผ่นใบ
คลอโรฟลิ ล์ และเมลด็ พชื โดยเสน้ ใบยงั เขยี ว รากสนั้
ไมเ่ จริญตามปกติ

การจดั การดนิ และป๋ยุ อยา่ งมีประสิทธภิ าพ

14

ปุ๋ยและการใชป้ ุย๋

ความหมาย

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือส่ิงมีชีวิตที่ก่อให้เกิด
ธาตุอาหารพืช เม่ือใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหาร
ทจี่ ำ� เป็นให้แกพ่ ืช

ประเภทของปยุ๋

ปุย๋ แบง่ เปน็ 3 ประเภท คอื ปยุ๋ อินทรยี ์ ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยชวี ภาพ
1. ปุ๋ยอนิ ทรีย์ คอื สารประกอบทไ่ี ดจ้ ากสิง่ ท่ีมีชีวติ ได้แก่ พชื สตั ว์ และ
จลุ นิ ทรยี ์ ผา่ นกระบวนการผลติ ทางธรรมชาติ ปยุ๋ อนิ ทรยี ส์ ว่ นใหญใ่ ชใ้ นการปรบั ปรงุ
สมบัติทางกายภาพของดนิ ทำ� ใหด้ ินโปร่ง ร่วนซยุ ระบายน้�ำและถา่ ยเทอากาศได้ดี
ท�ำให้รากพชื ชอนไชไปหาธาตอุ าหารไดง้ ่ายขึ้น
ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารน้อยเม่ือเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และ
ธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ พืชไม่สามารถดูดไปใช้
ประโยชน์ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินก่อน แล้วจึง
ปลดปล่อยธาตอุ าหารออกมาในรูปสารประกอบอนิ ทรยี ์ พืชจงึ ดดู ไปใช้ประโยชนไ์ ด้
ปุ๋ยอนิ ทรยี ์ มี 3 ประเภท ไดแ้ ก่

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

15

1.1 ปยุ๋ คอก เป็นปยุ๋ อนิ ทรียท์ ไี่ ด้
มาจากสง่ิ ขับถา่ ยของสตั ว์ เชน่ โค กระบือ สกุ ร
เป็ด ไก่ และห่าน โดยอาจจะใช้ในรูปปุ๋ยคอก
แบบแห้ง หรือน�ำไปหมักให้เกิดการย่อยสลาย
ก่อนแลว้ ค่อยน�ำไปใช้

1.2 ปยุ๋ หมกั เป็นปยุ๋ อินทรยี ช์ นดิ หนงึ่ ซง่ึ ไดจ้ ากการนำ� ชิ้นสว่ นของพชื
วสั ดเุ หลอื ใชท้ างการเกษตร หรอื วสั ดเุ หลอื ใชจ้ ากโรงงานอตุ สาหกรรม เชน่ หญา้ แหง้
ใบไม้ ฟางขา้ ว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานน้�ำตาล แกลบจากโรงสีขา้ ว ขีเ้ ล่ือย
จากโรงงานแปรรปู ไม้ เปน็ ต้น มาหมักในรูปของการกองซอ้ นกนั บนพืน้ ดนิ หรอื อยู่
ในหลุม เพื่อให้ผ่านกระบวนการย่อยสลายให้เน่าเปื่อย โดยอาศัยกิจกรรมของ
จุลินทรียด์ นิ

การจดั การดนิ และปุ๋ยอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

16
1.3 ปยุ๋ พชื สด เปน็ ปยุ
อินทรียซึ่งไดจากการไถกลบตน ใบ
และสวนตางๆ ของพืช โดยเฉพาะ
พืชตระกูลถั่วในระยะชวงออกดอก
จนถงึ ดอกบานเตม็ ท่ี ซงึ่ เปน ชวงทมี่ ี
ธาตุไนโตรเจนในลําตนสูงสุด แลว
ปลอ ยไวใหเ นาเปอ ยผุพัง ยอ ยสลาย
เปนอาหารแกพืชที่จะปลูกตามมา
พืชตระกูลถ่ัวทคี่ วรใช้เปน็ ปุ๋ยพชื สด ไดแ้ ก่ ถ่วั พมุ่ ถ่ัวเขียว ถ่ัวลาย ปอเทือง ถัว่ ขอ
ถว่ั แปบ และโสน เป็นต้น ปุยพชื สด นอกจากจะใหธ าตไุ นโตรเจน ซ่ึงเปนธาตุอาหาร
หลักแกพ ชื แลว ยังใหธ าตุอาหารรองอน่ื ๆ ทจี่ ําเปน แกพ ืชด้วย
2. ปุ๋ยเคมี คอื สารประกอบอนินทรยี ท์ ่ใี ห้ธาตอุ าหารพืช เปน็ สารประกอบ
ท่ีผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เม่ือใส่ลงไปในดินท่ีมีความชื้นที่เหมาะสม ปุ๋ยเคมี
จะละลายให้พชื ดูดไปใช้ประโยชนไ์ ด้อย่างรวดเร็ว
ปยุ๋ เคมแี บง่ เปน็ 2 ประเภท คอื
2.1 ปุ๋ยเด่ียวหรือแม่ปุ๋ย
คอื ปยุ๋ ทมี่ ธี าตอุ าหาร คอื ไนโตรเจน (N)
หรือ ฟอสฟอรัส (P) หรอื โพแทสเซียม
(K) เป็นองค์ประกอบอยู่หน่ึงหรือสอง
ธาตแุ ล้วแต่ชนดิ ของสารประกอบทเ่ี ปน็
แม่ปยุ๋ นั้น ๆ มปี รมิ าณของธาตุอาหารที่
คงท่ี และมคี วามเข้มขน้ สงู มักนำ� มาใช้
ผสมเป็นปยุ๋ สตู รต่าง ๆ ไดแ้ ก่
— ยเู รยี (46-0-0)
— ไดเเอมโมเนยี มฟอสเฟต (18-46-0)
— โพแทสเซยี มคลอไรด์ (0-0-60)

กรมสง่ เสริมการเกษตร

17
2.2 ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยท่ีมีการน�ำเอาแม่ปุ๋ย
หลายชนิดมาผสมรวมกัน เพ่ือให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณ
และสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ
เพื่อใหไ้ ดป้ ุ๋ยท่ีเหมาะท่ีจะใชก้ ับพชื และดนิ ทีแ่ ตกตา่ งกนั
3. ปยุ๋ ชวี ภาพ คอื ปุ๋ยทปี่ ระกอบด้วยจลุ ินทรยี ์ที่ยังมี
ชีวิตอยู่และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง
หรือสามารถเปล่ียนธาตุอาหารพืชท่ีอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้มาอยู่ใน
รปู ที่พืชสามารถดดู ไปใชป้ ระโยชน์ได้ ปยุ๋ ชวี ภาพแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื
3.1 กลุ่มจุลินทรีย์ท่ีสามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืช
ไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมท่ีอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่ว สาหร่ายสีเขียว
แกมนำ�้ เงนิ ทอ่ี ยใู่ นโพรงใบของแหนแดง และยงั มจี ลุ นิ ทรยี ท์ อ่ี าศยั อยใู่ นดนิ อยา่ งอสิ ระ
อีกมาก ท่ีสามารถตรงึ ไนโตรเจนจากอากาศให้แกพ่ ชื ได้เช่นกัน
3.2 กลุ่มจุลินทรีย์ท่ีช่วยท�ำให้ธาตุอาหารพืชในดิน ละลายออกมา
เปน็ ประโยชนต์ อ่ พชื มากขน้ึ เชน่ ไมคอรไ์ รซาทช่ี ว่ ยใหฟ้ อสฟอรสั ทถ่ี ูกตรึงอยใู่ นดนิ
ละลายออกมาอยู่ในรปู ทพ่ี ืชดดู ไปใช้ประโยชนไ์ ด้

การจดั การดนิ และปุ๋ยอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

18

สตู รปุ๋ย

ตัวเลขท่ีปรากฏบนกระสอบปุ๋ย เช่น 16-16-16 หรือ 16-32-16 หรือ
ท่ีเรียกว่า สูตรปุ๋ย คือตัวแทนของธาตุอาหารหลัก ตรงกับต�ำแหน่ง ไนโตรเจน-
ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม (N-P-K) มีความหมายว่า ปุ๋ยน้�ำหนัก 100 กิโลกรัม
มีไนโตรเจน-ฟอสฟอรสั -โพแทสเซียม อย่างละกี่กิโลกรัม
ตัวอยา่ ง เช่น ปยุ๋ สูตร 15-15-15 หมายความวา่ ปุ๋ยน�ำ้ หนัก 100 กโิ ลกรมั
(2 กระสอบ ๆ ละ 50 กโิ ลกรมั ) ประกอบดว้ ย
1. ธาตไุ นโตรเจน หนัก 15 กโิ ลกรมั
2. ธาตุฟอสฟอรัสในรปู ท่เี ปน็ ประโยชน์ (P2O5) หนกั 15 กโิ ลกรัม
3. ธาตุโพแทสเซียมในรูปท่ีเปน็ ละลายนำ้� (K2O) หนกั 15 กโิ ลกรมั
รวมเป็นธาตุอาหารท้ังหมด 45 กิโลกรัม ในปุ๋ยน�้ำหนัก 100 กิโลกรัม
ท่ีเหลือ 55 กิโลกรัม เปน็ สารตัวเตมิ เช่น ดนิ ขาว โดโลไมท์ ยปิ ซัม่ ซึ่งไมไ่ ดใ้ หธ้ าตุ
อาหารพืชโดยตรง

เรโชของปุ๋ย ปยุ mmmmmmmmmmmmmmmmm
mmmmmmmmmmmmmmmmm
"เรโช" ของปยุ๋ คือ สัดส่วน 15-15-15 mmmmmmmmmmmmmmmmm
เปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน mmmmmmmmmmmmmmmmm

ฟอสฟอรัส และโพแทสเซยี มในสตู รป๋ยุ เรโชปุ๋ย
จะบอกเปน็ ตัวเลขลงตัวน้อย ๆ ระหวา่ งไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ของสูตรปุ๋ยน้ัน ๆ เช่น 16-16-8
มีเรโช คือ 2 : 2 : 1 (ได้จากการหารตลอดด้วยตัวเลขท่ีน้อยสุดซึ่งก็คือ 8)
และ 20-10-5 มีเรโช คือ 4 : 2 : 1 (ได้จากการหารตลอดด้วย 5) โดยปุ๋ยที่มี
เรโชเดียวกันสามารถใช้แทนกันได้ แต่ใช้ในปริมาณท่ีแตกต่างกัน เนื่องจากมีความ
เขม้ ข้นของธาตุอาหารต่างกนั

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

19

การเลอื กซือ้ ปุย๋ ใหค้ ้มุ ค่า

เกษตรกรโดยท่ัวไปมักตัดสินใจในการเลือกซ้ือปุ๋ยโดยมักพิจารณาจาก
ราคาต่อกระสอบเป็นหลัก กระสอบใดราคาถูกกว่าก็มักเลือกซื้อปุ๋ยกระสอบน้ัน
วิธีการน้ีเป็นวิธีการท่ีไม่ถูกต้อง การเลือกซ้ือปุ๋ยท่ีมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จะต้อง
ได้ธาตุอาหารพืชคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย ให้ใช้วิธีการค�ำนวณเปรียบเทียบราคาของปุ๋ย
ต่อน�ำ้ หนกั ธาตอุ าหารพชื 1 หนว่ ย (กก.) ตวั อย่างเชน่
1. การเปรยี บเทียบราคาปยุ๋ สตู ร 46-0-0 และปยุ๋ สตู ร 21-0-0
(1) สูตร 46-0-0 ราคาตนั ละ 13,400 บาท
(2) สตู ร 21-0-0 ราคาตันละ 8,000 บาท
วิธคี �ำนวณ
(1) สตู ร 46-0-0 หมายความว่า ป๋ยุ 1,000 กก. มไี นโตรเจน 460 กก.
ราคา = 13,400 บาท
เพราะฉะนั้น ไนโตรเจน 1 กก.ราคา = 13,400/460 = 29.13 บาท
(2) สตู ร 21-0-0 หมายความวา่ ปุ๋ย 1,000 กก. มไี นโตรเจน 210 กก.
ราคา = 8,000 บาท
เพราะฉะนั้น ไนโตรเจน 1 กก. ราคา = 8,000/210 = 38.10 บาท
ดังน้นั สูตร 46-0-0 มีราคาถูกกวา่ สตู ร 21-0-0
2. การเปรยี บเทียบราคาป๋ยุ สูตร 15-15-15 และปุ๋ยสูตร 16-16-16
(1) สตู ร 15-15-15 ราคาตนั ละ 12,000 บาท
(2) สตู ร 16-16-16 ราคาตันละ 12,000 บาท
วิธีคำ� นวณ
(1) สูตร 15-15-15 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีธาตุอาหารพืช
(150+150+150) = 450 กก. ราคา = 12,000 บาท
เพราะฉะนนั้ ธาตุอาหารพืช 1 กก.ราคา = 12,000/450 = 26.67 บาท
(2) สูตร 16-16-16 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีธาตุอาหารพืช
(160+160+160) = 480 กก. ราคา = 12,000 บาท
เพราะฉะนัน้ ธาตอุ าหารพืช 1 กก.ราคา = 12,000/480 = 25.00 บาท
ดังน้นั สูตร 16-16-16 มีราคาถกู กว่าสูตร 15-15-15

การจดั การดินและปยุ๋ อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

20

ตัวอย่างการผสมแม่ปุ๋ยเพ่อื ให้ไดป้ ยุ๋ ผสมตามสตู รที่ต้องการ
กรณีท่ี 1 ถ้าต้องการปุ๋ยสูตร 25-7-7 ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
แมป่ ยุ๋ ไดแอมโมเนยี มฟอสเฟต (18-46-0) และแมป่ ยุ๋ โพแเทสเซยี มคลอไรด์ (0-0-60)
ปรมิ าณอยา่ งละเทา่ ไร การค�ำนวณท�ำได้ ดังน้ี
1. ให้ค�ำนวณแม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ก่อน เพราะมี
ธาตุ N อยู่ด้วยจากสูตร 18-46-0 ฟอสฟอรัส (P) 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย
ไดแอมโมเนยี มฟอสเฟต 100 กิโลกรมั ดังนัน้ ถ้าต้องการฟอสฟอรัส (P) 7 กโิ ลกรมั
ตอ้ งใช้แมป่ ๋ยุ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต = (100 x 7)/46 เพราะฉะนน้ั ตอ้ งใช้แมป่ ๋ยุ
ไดแอมโมเนยี มฟอสเฟต (18-46-0) ~ 16 กโิ ลกรัม
2. แมป่ ยุ๋ ไดแอมโมเนยี มฟอสเฟต (18-46-0) จะมธี าตุ N อยดู่ ว้ ย คอื แมป่ ยุ๋
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต 100 กโิ ลกรัม มธี าตุ N 18 กโิ ลกรัม ดงั นัน้ แมป่ ยุ๋ ไดแอมโมเนยี ม
ฟอสเฟต 16 กิโลกรัม มีธาตุ N = (18 x 16)/100 กิโลกรัม = 2.9 กิโลกรัม
แต่ N ท่ตี อ้ งการ คือ 25 กิโลกรัม จงึ ยงั ขาด N อีก 22.1 กิโลกรัม
3. คำ� นวณแม่ปยุ๋ ยูเรีย (46-0-0) ท่ตี ้องใช้ โดยจากสตู ร 46-0-0 ไนโตรเจน
(N) 46 กโิ ลกรมั ตอ้ งใช้แม่ปยุ๋ ยูเรีย 100 กิโลกรมั ดังนนั้ ถา้ ต้องการไนโตรเจน (N)
22.1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = (100 x 22.1)/46 เพราะฉะนั้น ต้องใช้
แมป่ ุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ~ 48 กโิ ลกรัม
4. ค�ำนวณแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ท่ีต้องใช้ โดยจากสูตร
0-0-60 โพแทสเซียม (K) 60 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์
100 กิโลกรัม ดังน้ัน ถ้าต้องการโพแทสเซียม (K) 7 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย
โพแทสเซียมคลอไรด์ = (100 x 7)/60 เพราะฉะน้ัน ต้องใช้แม่ปุ๋ยโพแทสเซียม
คลอไรด์ (0-0-60) ~ 12 กโิ ลกรมั
สรุป ถ้าตอ้ งการปยุ๋ สตู ร 25-7-7 ต้องใช้
1. แม่ปุ๋ยยูเรยี (46-0-0) จ�ำนวน 48 กโิ ลกรัม
2. แมป่ ุ๋ยไดแอมโมเนยี มฟอสเฟต (18-46-0) จำ� นวน 16 กโิ ลกรัม
3. แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) จำ� นวน 12 กิโลกรมั

หมายเหตุ การค�ำนวณปริมาณปุ๋ย กรณมี ีเศษทศนยิ มให้ปัดเป็นจำ� นวนเต็ม

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

21

ตาราง ตัวอยา่ งการผสมแม่ป๋ยุ เพือ่ ใหไ้ ด้ปยุ๋ ผสมตามสูตรทีต่ อ้ งการ

ปุ๋ยสตู รท่ี จ�ำนวนน้ำ� หนักแมป่ ๋ยุ เคมที ตี่ อ้ งใช้ผสม (กก.) จำ� นวนปยุ๋
ต้องการ ไดแอมโมเนยี ม โพแเทสเซียม ที่ผสมได้
ที่ ยูเรีย ฟอสเฟต คลอไรด์ (กก.)
(46-0-0) (18-46-0) (0-0-60)

1 25-7-7 48 16 12 76

2 15-15-15 20 33 25 78

3 13-13-21 17 28 35 80

4 16-11-14 26 24 23 73

5 14-10-30 22 22 50 94

หมายเหตุ ไมต่ อ้ งเติมสารตัวเติม (filler)

การใช้ป๋ยุ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

การใช้ปยุ๋ เคมีให้มีประสิทธิภาพ มหี ลักเกณฑใ์ นการใสป่ ุ๋ย ดงั นี้
1. ใชป้ ุ๋ยใหถ้ กู สูตร ถกู อัตรา
โดยการวเิ คราะหด์ นิ กอ่ นการปลกู พชื หรอื กอ่ นการใสป่ ยุ๋ เพอ่ื ทราบความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน ณ ขณะน้ัน และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือปุ๋ยสั่งตัด
ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยเท่าท่ีจ�ำเป็น (พอดี) กับความต้องการของพืช ถูกชนิด และ
ถูกอตั รา ลดผลกระทบจากการใชป้ ุ๋ยไม่ถกู ต้อง

การจัดการดนิ และปุย๋ อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

22
การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เป็นการน�ำเฉพาะผลวิเคราะห์
เอ็น-พี-เค (N-P-K) ในดินที่เป็นปัจจุบัน มาตรวจสอบหาค�ำแนะน�ำการใช้ปุ๋ย
ท่ีสอดคล้องกับผลวิเคราะหด์ ิน
การใช้ปุ๋ยสั่งตัด เป็นการน�ำข้อมูลชุดดินของพื้นที่เพาะปลูกโดย
ตรวจสอบจากแผนที่ชุดดินระดับต�ำบล มาพิจารณาประกอบร่วมกับผลวิเคราะห์
ธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค (N-P-K) ในดินท่ีเป็นปัจจุบัน เพื่อได้รับค�ำแนะน�ำการใช้ปุ๋ย
ทม่ี คี วามแมน่ ยำ� เฉพาะพนื้ ทมี่ ากกวา่ วธิ กี ารแรก เนอ่ื งจากคำ� แนะนำ� ไดจ้ ากโปรแกรม
การค�ำนวณทางคณิตศาสตร์ ที่น�ำปัจจัยหลักท่ีเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและ
การให้ผลผลิตของพืชได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้�ำฝน
มาร่วมก�ำหนดค�ำแนะน�ำการใชป้ ยุ๋ ด้วย
2. ใสป่ ุ๋ยให้พืชในขณะทพี่ ชื ต้องการ
การใส่ปุ๋ยต้องตรงกับช่วงเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหารน้ัน ๆ
มากทสี่ ุด ซึง่ พชื แตล่ ะชนิดจะแตกตา่ งกนั ออกไป
2.1 พชื ทม่ี อี ายสุ น้ั เชน่ พชื ไรแ่ ละขา้ ว จะมจี งั หวะการดงึ ดดู ธาตอุ าหาร
ทแี่ ตกตา่ งกนั 3 ช่วง คือ
1) ชว่ งทพ่ี ชื เรม่ิ งอก พชื มกั จะตอ้ งการธาตอุ าหารนอ้ ย เพราะระยะน้ี
ระบบรากยงั น้อย และตน้ ยงั เลก็
2) ช่วงท่ีมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะท่ีพืชต้องการ
ธาตุอาหารเปน็ จ�ำนวนมาก เป็นระยะทีก่ �ำลงั สรา้ งตาดอก ส�ำหรับขา้ วจะเป็นระยะท่ี
กำ� ลงั แตกกอ
3) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มท่ีแล้วและเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือ
สรา้ งผล ความตอ้ งการธาตอุ าหารในระยะนจ้ี ะลดลงเรอื่ ย ๆ จนกระทง่ั ฝกั หรอื เมลด็ แก่
2.2 ไม้ผล ความต้องการปยุ๋ สามารถแบง่ ไดเ้ ปน็ 3 ชว่ ง คือ
1) ระยะสรา้ งใบ ระยะนม้ี กั อยใู่ นชว่ งตน้ ฤดฝู นหรอื ชว่ งทเ่ี กบ็ เกย่ี ว
ผลผลติ หมดแลว้ ตน้ ไมต้ อ้ งการสรา้ งอาหารสะสมไวเ้ พอื่ การออกดอกและใหผ้ ลผลติ
ในฤดกู าลตอ่ ไป ปุ๋ยท่ใี หค้ วรเปน็ ป๋ยุ ทม่ี ีไนโตรเจนสูง เช่น 25-10-10

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

23
2) ระยะสรา้ งดอก ระยะนมี้ กั เปน็ ชว่ งฤดฝู นพชื ตอ้ งการธาตอุ าหาร
ในการสร้างตาและดอกค่อนข้างสูง ปุ๋ยท่ีควรให้จึงเป็นปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น
สตู ร 6-24-6 หรือ 12-24-12
3) ระยะตดิ ผล พชื ตอ้ งการโพแทสเซยี มสงู ขน้ึ เพอ่ื ชว่ ยใหไ้ ดผ้ ลผลติ
ที่มีคุณภาพ ท้ังด้านรสชาติและการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยว ปุ๋ยท่ีควรให้จึงเป็นปุ๋ย
ทีม่ ีโพแทสเซยี มสูง เชน่ สตู ร 13-13-21
3. ใส่ปุย๋ ให้พืชตรงบรเิ วณท่พี ชื สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้งา่ ย
และเรว็ ท่สี ดุ
โดยการใส่ปุ๋ยควรใส่ใกล้รากพอสมควร เพื่อสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์
ได้ทันที แต่ไม่ใกล้จนเป็นอันตรายต่อราก และควรกลบปุ๋ยหลังการใส่ปุ๋ยเพ่ือ
ลดการสูญเสียจาการการระเหิดของปุ๋ย

การใชป้ ยุ๋ ตามคา่ วเิ คราะหด์ นิ หรือปยุ๋ สงั่ ตดั

มีทางเลือก 2 ทาง
1. ใช้ปุ๋ยส�ำเร็จรูป สูตรท่ีให้ธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค (N-P-K) ใกล้เคียงกับ
ค�ำแนะนำ� ตามคา่ วเิ คราะหด์ นิ
2. ผสมปุ๋ยใช้เอง โดยน�ำแม่ปุ๋ย (ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารในสูตรเข้มข้นมาก)
เชน่ ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 มาผสมใชเ้ อง ผลดี คอื แมป่ ุ๋ยมีความ
เข้มข้นของธาตุอาหารสูง ไม่มีสารตัวเติม และ ปลอมยาก สามารถน�ำมาผสม

การจดั การดินและปุ๋ยอย่างมปี ระสิทธิภาพ

24
ให้ได้สูตรหลากหลายตามความต้องการ เกษตรกรไม่ต้องแบกสารตัวเติมที่ไม่ใช่
ธาตอุ าหาร ทมี่ อี ยใู่ นปยุ๋ สำ� เรจ็ รปู ลงไปในเรอื กสวนไรน่ า ซงึ่ เปน็ ประโยชนน์ อ้ ยตอ่ พชื
หรืออาจไมม่ ีประโยชนเ์ ลย

การใช้ปุ๋ยถกู ตอ้ งชว่ ยลดตน้ ทนุ การผลิต

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด ช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยถูกสูตร
และถูกอัตรา ท�ำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ทั้งกรณีท่ีสามารถลดต้นทุนการใช้
ปุ๋ยเคมีลงจากที่เคยใช้ในปริมาณมาก หรืออาจต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพ่ิมมากขึ้น เน่ืองจาก
เม่ือก่อนใช้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่เมื่อใช้ปุ๋ยถูกต้องตามค่าวิเคราะห์ดินหรือ
ปยุ๋ สง่ั ตดั ทำ� ใหต้ อ้ งใสป่ ยุ๋ เคมมี ากขนึ้ แตผ่ ลผลติ ทไี่ ดจ้ ะเพม่ิ ขน้ึ กวา่ การใชป้ ยุ๋ แบบเดมิ
ซ่ึงถอื วา่ เปน็ การลดต้นทุนตอ่ หนว่ ยการผลิต และทำ� ให้ชว่ ยรักษาความอดุ มสมบูรณ์
ไม่ทำ� ใหด้ นิ เส่ือมโทรม

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

25
ตวั อยา่ งการลดตน้ ทนุ จากการใชป้ ยุ๋ ตามคา่ วเิ คราะหด์ นิ และปยุ๋ สงั่ ตดั

หมายเหตุ ขอ้ มลู จากสมาชิกศนู ยจ์ ดั การดนิ ปยุ๋ ชุมชน จำ� นวน 9,250 ราย
สอบถามรายละเอยี ดเพ่มิ เตมิ เรื่องการใช้ปุย๋ ตามค่าวิเคราะหด์ นิ หรือปุย๋ สง่ั ตัด
ไดท้ ่ี : สำ� นักงานเกษตรจงั หวดั ส�ำนกั งานเกษตรอำ� เภอใกล้บา้ นท่าน

การจดั การดินและป๋ยุ อย่างมีประสิทธภิ าพ

26

ขอ้ ดขี ้อเสียของปุย๋ อนิ ทรีย์ ปุย๋ เคมี
และปุ๋ยชีวภาพ

ปยุ๋ อินทรยี ์

ข้อดี ขอ้ เสีย
1. ชว่ ยปรับปรุงโครงสร้างของดินใหด้ ขี ึ้น 1. มปี รมิ าณธาตอุ าหารตอ่ น้ำ� หนกั ปยุ๋ ตำ่�
2. อยใู่ นดนิ นาน (คอ่ ย ๆ ปลอ่ ยธาตอุ าหาร 2. ใชเ้ วลานานในการปลดปล่อย
ใหแ้ กพ่ ืชอย่างต่อเน่ือง) ธาตุอาหารทีเ่ ปน็ ประโยชนต์ อ่ พชื
3. ช่วยให้ป๋ยุ เคมีเปน็ ประโยชนม์ ากขน้ึ 3. ราคาแพง เมื่อเทยี บตอ่ หน่วย
ธาตอุ าหารพชื
4. สง่ เสรมิ สง่ิ มชี ีวติ ทเ่ี ป็นประโยชนใ์ นดิน 4. หาซื้อยากถ้าต้องการในปริมาณมาก
5. เม่ือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ 5. ไมส่ ะดวกในการน�ำไปใช้
ปุย๋ เคมเี ปน็ ประโยชน์แกพ่ ชื มากขึน้

ปยุ๋ เคมี

ขอ้ ดี ขอ้ เสีย
1. มปี รมิ าณธาตุอาหารพืชสงู มาก 1. ป๋ยุ แอมโมเนยี มท�ำให้ดินเป็นกรด
(ใช้ปรมิ าณน้อยก็เพียงพอ) เมอ่ื ใช้ติดตอ่ กนั เป็นเวลานาน
2. ปลอ่ ยธาตุอาหารใหแ้ กพ่ ชื ได้เรว็ 2. ไม่ได้ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ
พืชใช้ประโยชนไ์ ด้ทนั ที ของดิน เชน่ ความโปรง่ ร่วนซยุ
3. ราคาถกู เมอ่ื เทยี บตอ่ หนว่ ยธาตอุ าหารพชื 3. มคี วามเค็ม
4. หาซื้อง่ายและใช้สะดวก 4. ผู้ใชต้ ้องมคี วามรพู้ อสมควร

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

27

ปุ๋ยชีวภาพ ขอ้ เสยี
ขอ้ ดี
1. ใหธ้ าตุอาหารพชื บางชนิด
1. เปน็ จุลนิ ทรียท์ สี่ ามารถสังเคราะห์ 2. ตอ้ งระวงั ในการเก็บรักษา
ธาตุอาหารเป็นประโยชนก์ ับพชื
2. ใช้ไดใ้ นช่วงเวลาจำ� กัด เชน่ ใช้คลุก เนือ่ งจากประกอบดว้ ยจลุ นิ ทรีย์ทมี่ ชี ีวติ

เมลด็ พืช 3. ใช้ได้เฉพาะกบั พืชบางชนดิ

3. เปน็ ปยุ๋ ต้นทนุ ต่�ำ
4. ใช้ร่วมกบั ปุ๋ยเคมี ชว่ ยลดการใช้

ปุ๋ยเคมี

การจดั การดินและป๋ยุ อย่างมปี ระสิทธิภาพ

28

เอกสารอา้ งองิ

กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย 2558. ดินและปุ๋ย. กรมส่งเสริม
การเกษตร. กรุงเทพฯ. 247 หน้า

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2558 ธรรมชาติของดิน
และปยุ๋ .

นภาพร พันธุ์กมลศลิ ป์. 2558. เอกสารประกอบการบรรยายการฝึกอบรมความรู้
ด้านดินและปุ๋ยแก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้โครงการ
สง่ เสรมิ การใชป้ ยุ๋ เพอื่ ลดตน้ ทนุ การผลติ ปี 2559 วนั ที่ 23-27 พฤศจกิ ายน
2558 โรงแรมเอบีนา่ เฮา้ ส์ หลกั ส่ี กรุงเทพฯ

สารานกุ รมไทยสำ� หรบั เยาวชน. ดนิ และปยุ๋ . แหลง่ ทม่ี า : http://kanchanapisek.
or.th/

ส�ำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาท่ีดิน. 2551. เทคนิคการเลือกซื้อ
ปุย๋ ที่ค้มุ คา่ . กรมพฒั นาทดี่ ิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ.์

ส�ำนักส�ำรวจวิจัยทรัพยากรดิน. ความรู้เร่ืองดินส�ำหรับเยาวชน กรมพัฒนาท่ีดิน
แหลง่ ทม่ี า : http://oss101.ldd.go.th/

วิภา เฮ้าจันทึก. การท�ำสวนยางพารา. แหล่งที่มา : http://wipa1234.
blogspot.com/2014_12_01_archive.html

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

เอกสารค�ำแนะน�ำที่ 2/2559
การจัดการดนิ และปยุ๋
อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

ท่ปี รึกษา อธบิ ดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร
รองอธิบดีกรมส่งเสรมิ การเกษตร ฝ่ายบริหาร
นายโอฬาร พิทกั ษ ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝา่ ยวชิ าการ
นายสงกรานต์ ภกั ดีคง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝา่ ยสง่ เสรมิ และฝึกอบรม
นายคนิต ลขิ ิตวทิ ยาวุฒ ิ ผู้อ�ำนวยการส�ำนกั พัฒนาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
นายสดุ สาคร ภัทรกุลนษิ ฐ ์ ผ้อู �ำนวยการกองส่งเสรมิ การอารกั ขาพชื และจัดการดินป๋ยุ
นางอัญชลี สวุ จติ ตานนท์
นายประสงค์ ประไพตระกูล

เรียบเรยี ง

นางชัญญา ทิพานุกะ ผูอ้ ำ� นวยการกลุ่มส่งเสริมการจดั การดนิ ปยุ๋
นางสาวสุมนา สิมาสฤษฎ์ นกั วชิ าการเกษตรช�ำนาญการพเิ ศษ
นางธญั ญา บญุ มา นกั วิชาการเกษตรชำ� นาญการ
กลุ่มสง่ เสริมการจัดการดนิ ปุย๋
กองสง่ เสริมการอารักขาพืชและจดั การดินปยุ๋
กรมส่งเสรมิ การเกษตร

จัดท�ำ

นางอมรทพิ ย์ ภริ มย์บูรณ์ ผอู้ ำ� นวยการกล่มุ พัฒนาส่อื ส่งเสรมิ การเกษตร
นางสาวอ�ำไพพงษ์ เกาะเทยี น นกั วิชาการเผยแพร่ช�ำนาญการ
กลุ่มพฒั นาส่อื สง่ เสริมการเกษตร
ส�ำนักพฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร


Click to View FlipBook Version