The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kanyachan2528, 2020-05-25 01:26:47

หน่วยที่ ๑

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

บทเสภาสามคั คเี สวก

ตอน วิศวกรรมาและสามคั คเี สวก

ความเปน็ มา

บทเสภาสามัคคีเสวก (อ่านว่า เส - วก) หมายถึง
ข้าราชการในราชสํานัก เป็นบทพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หัว พระราชนิพนธ์ข้ึน
เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๗ บทเสภาสามัคคีเสวก เป็นบทท่ีใช้สําหรับ
ขับอธบิ ายนําเรือ่ งในการฟ้อนรําตอนต่างๆ

ประวตั ผิ แู้ ต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอย่หู ัว ทรงอธบิ ายสาเหตุที่ทรงพระราชนพิ นธ์บทเสภาชุดน้ีไว้ ดงั นี้

เมื่อข้าพเจ้าไปพักผ่อนอิริยาบถอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ ได้มีข้าราชบริพารในราชสํานัก ผลัดเปลี่ยนกันจัด
อาหารเลี้ยงกันทุกๆ วันเสาร์ และเม่ือเลี้ยงแล้วมักจะมีอะไรดูกัน เล่นอย่าง ๑ ครั้นเม่ือจวนจะถึงคราว
ท่เี จา้ พระยาธรรมาธกิ รณาธิบดจี ัดเลีย้ ง เจ้าพระยาธรรมา ได้ขอให้ข้าพเจ้าคดิ หาการเลน่ สักอย่าง ๑ ข้าพเจ้าจึงได้คิดผูก
ระบํา “สามัคคีเสวก” ขึ้น ระบําท่ีกล่าวนี้ได้เล่นตามแบบใหม่เป็นคร้ังแรก กล่าวคือ ไม่มีบทร้องเลย มีแต่หน้าพาทย์
ประกอบกับท่าระบําเท่านั้น คราวนี้รําพึงข้ึนว่าในเวลาพักระหว่างตอนแห่งระบําน้ัน คร้ันจะ ให้พิณพาทย์บรรเลง
พณิ พาทย์นัน้ กไ็ ดต้ ีเหน็ดเหนอื่ ยตลอดเวลาท่เี ล่นระบาํ ควรท่ีใหพ้ ิณพาทย์น้นั ได้พักหายเหนื่อยบ้าง ข้าพเจา้ จึงตกลงแต่ง
บทเสภาขนึ้ สาํ หรับขับระหวา่ งตอน

จากคําอธิบายนี้ จะเหน็ ได้ว่า บทเสภาสามัคคีเสวก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์
ข้นึ ตามคาํ กราบบงั คมทูลขอพระราชทานของเจา้ พระยาธรรมาธิกรณาธิบดี โดยครั้งแรกพระองค์ทรงคิดการแสดงช่ือว่า
“ระบําสามัคคีเสวก” ซ่ึงเป็นการรําตามเพลงหน้าพาทย์ ไม่มีบทร้อง และต่อมาได้แต่งบทเสภาขึ้นขับระหว่างเวลาพัก
ตอนเพอื่ ใหพ้ ิณพาทยไ์ ด้พกั เหน่ือยบา้ ง

ลักษณะคําประพนั ธ์

บทเสภาสามัคคเี สวกนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจา้ อย่หู วั ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย บทประพันธป์ ระเภท กลอนเสภา
ซึ่งเป็นกลอนที่แต่งขึ้นสําหรับการขับเสภา โดยพัฒนามาจาก การเล่านิทาน เม่ือการเล่านิทานเป็นร้อยแก้วทําให้ผู้ฟัง
เบื่อหน่าย จึงได้มีผู้คิดแต่งนิทานให้เป็นบทกลอน ที่มีสัมผัสคล้องจองและขับเป็นทํานอง โดยใช้กรับเป็นเคร่ืองประกอบ
จงั หวะ

กลอนเสภามลี ักษณะ ดงั นี้
๑. เนือ้ ความตอนหนง่ึ ๆ จะยาวก่ีคํากลอนก็ได้
๒. จํานวนคําในแต่ละวรรคอาจไมเ่ ท่ากัน คือ มีไดต้ ้ังแต่ 5 คํา ถงึ ๑๐ คาํ ตามความเหมาะสม เพ่ือความชัดเจนของ

เนือ้ ความในแตล่ ะวรรค
๓. การสง่ และการรบั สมั ผสั คอื คําสดุ ท้ายของวรรคหนา้ (วรรคสดับและวรรครอง) นยิ มส่งสัมผัส ไปยังคําท่ี ๑ - ๕

คาํ ใดคาํ หนึ่งของวรรคหลัง (วรรครบั และวรรคสง) และคาํ สดุ ทา้ ยของวรรคสง่ ของ กลอนบทแรกส่งสมั ผัสไปยงั คําสดุ ทา้ ย
ของวรรครบั ในกลอนบทตอ่ ไปด้วย

แผนผังและตัวอยา่ ง กลอนเสภา

ประการหน่งึ พงึ คดิ ในจติ มนั่ วา่ ทรงธรรมเ์ หมอื นบดิ าบงั เกดิ หวั
ควรเคารพยาํ เยงและเกรงกลวั ประโยชน์ตวั นึกน้อยหน่อยจะดี
ควรนึกวา่ บรรดาขา้ พระบาท ลว้ นเป็นราชบรพิ ารพระทรงศรี
เหมอื นลกู เรอื อยใู่ นกลางหวา่ งวารี
จาํ ตอ้ งมมี ติ รจติ สนิทกนั

(บทเสภาสามคั คีเสวก ตอน สามคั คีเสวก : พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อย่หู วั )

เรอ่ื งยอ่

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา กล่าวถึง ประเทศชาติใดท่ีไม่มีความสงบสุข
ประชาชนย่อมไม่มีเวลาสร้างสรรค์งานศิลปะและกล่าวว่า ศิลปะน้ันมีคุณค่าแสดง ถึง
อารยธรรมของชาติ ประเทศไทยก็เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเพราะมีช่างศิลป์ที่มีความ
ชํานาญในศลิ ปะทุกแขนง คนไทยจึงควรสง่ เสริมให้ศลิ ปะของชาติคงอยสู่ ืบไป

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก กล่าวถึงหน้าท่ีของข้าราชบริพารท่ีดี
คือ จะต้องจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี มีวินัย เปรียบเสมือนลูกเรือท่ี
จะต้องเชือ่ ฟังกัปตนั มิฉะน้นั เรอื ทบ่ี งั คับก็จะลม่ ลงในทสี่ ุด

บทวิเคราะห์

คณุ ค่าด้านเน้อื หา

บทเสภาสามคั คเี สวก ตอน วศิ วกรรมา แก่นของเรอ่ื ง คอื การเตอื นใจใหเ้ หน็ คุณค่าของ
ศลิ ปกรรมทาํ ใหจ้ ติ ใจมคี วามสขุ ซง่ึ จะสง่ ผลใหร้ า่ งกายแขง็ แรงสมบรู ณ์ ความสาํ คญั ของศลิ ปิน ใน
ฐานะเป็นผสู้ รา้ งสรรค์งานศลิ ปะและผปู้ ระพนั ธ์มจี ุดมุ่งหมายใหค้ นไทยช่วยกนั สนับสนุนผลงาน
ของศลิ ปิน เพอ่ื ใหศ้ ลิ ปินมรี ายไดพ้ อเลย้ี งชพี และเกดิ กาํ ลงั ใจในการสรา้ งสรรคง์ านศลิ ปะ

บทเสภาสามคั คเี สวก ตอน สามคั คเี สวก แก่นของเร่อื ง คอื ขา้ ราชการเป็นกลไกสําคญั
ในการบรหิ ารราชการแผ่นดนิ ให้เป็นไปตามระบบด้วยความเรยี บร้อย ขา้ ราชการจงึ ต้องตงั้ ใจ
ปฏบิ ตั ิ หน้าท่ี เสยี สละและมคี วามสามคั คี ไม่แก่งแย่งชงิ ดชี งิ เดน่ เช่อื ฟงั คาํ สงั่ ของผบู้ งั คบั บญั ชา
ตระหนกั ในหน้าทแ่ี ละสาํ นึกวา่ เป็นขา้ ของพระเจา้ องคเ์ ดยี วกนั

คุณคา่ ดา้ นวรรณศลิ ป์

บทเสภาสามัคคเี สวก มคี ณุ ค่าและความดเี ด่นดา้ นวรรณศิลป์ ดงั น้ี

๑) การใช้ภาพพจน์ บทเสภาสามัคคีเสวก มีความดีเด่นด้านการใช้ภาพพจน์ แบบอุปมา โดยเฉพาะบทเสภาตอน สามัคคี

เสวก ท่ีรชั กาลท่ี ๖ ทรงเปรียบเทียบประเทศชาติกับเรือใหญ่ท่ีกําลังแล่นอยู่ในทะเล โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นําประเทศเปรียบได้
กบั กัปตันเรือหรือนายเรอื และเหลา่ เสวกหรือข้าราชการทั้งหลายเปรียบได้กับกะลาสีเรือ

การท่ีทรงเปรียบเทียบเช่นน้ี ทําให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศชาติ พระมหากษัตริย์และข้าราชการ
ได้อย่างชัดเจน เน่ืองด้วยรัชกาลที่ ๖ ทรงแสดง ให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์จะทรงนําประเทศชาติ “รัฐนาวา” ให้เคล่ือนที่หรือก้าวหน้า
ต่อไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน ตลอดจนการปฏิบัติงานด้วยความแข็งขันและด้วยความมี ระเบียบวินัยของบรรดาข้าราชการ
จงึ จะสามารถฝา่ คล่ืนลมหรอื อุปสรรคทงั้ หลายไปไดด้ งั บทประพนั ธ์

ควรนกึ วา่ บรรดาข้าพระบาท ล้วนเป็นราชบรพิ ารพระทรงศรี
เหมอื นลูกเรอื อยู่ในกลางหวา่ งวารี จาํ ต้องมมี ิตรจิตสนทิ กนั
แมล้ กู เรอื เชือ่ ถือผูเ้ ป็นนาย ตอ้ งมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน
คอยตง้ั ใจฟังบงั คับกัปปิตัน นาวาน้ันจึงจะรอดตลอดทะเล

๒) การหลากคําและการแตกศพั ท์

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา มีการแตกศัพท์ คําว่า ศิลป์ ให้เป็นคําศัพท์หลายๆ คํา เช่น

ศิลปี ศลิ ปะ ศลิ ปา ศิลปกรรม ศิลปกรรม์ ซึง่ มีความหมายว่า ศลิ ปะเหมือนกนั ทุกคํา เปน็ การแต่คําศัพท์มาใช้

อยา่ งประณตี เพอื่ ให้เกดิ ความไพเราะงดงาม โดยที่ความหมายไมม่ ีเปลีย่ นแปลง

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก มีการหลากคําที่มีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์” โดยใช้
คําว่า ทรงธรรม พระทรงศรี พระภูธร พระจักรี แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่ีส่งสามารถเลือกใช้คําท่ีหลากหลายเพื่อสื่อความหมายเดียวกัน ได้
อยา่ งไพเราะงดงาม

คําท่ีมีความหมายว่า ข้าราชบริพาร มีการหลากคําโดยใช้คําว่า ข้าพระบาท เสวี ข้าฝ่าพระบาท
เสวก- ราชเสวี

คณุ ค่าทางดา้ นสงั คม

๑. สะทอ้ นความงามทางดา้ นศลิ ปะ

ศิ ล ป ะ ย่ อ ม ทํ า ใ ห้ ผู้ ค น เ กิ ด ค ว า ม เ พ ลิ น ต า
เตือนใจจากการท่ีได้พบเห็น ซึ่งเป็นผลงานที่ศิลปิน
หรือช่างแขนงต่างๆ ตามท่ีรัชกาลที่ ๖ จึงกล่าวถึง
เป็นตัวอย่าง คือ ช่างปั้น ช่างเขียน ช่างก่อสร้าง
ช่างทอง ช่างเงิน ช่างถม ช่างทําอัญมณี ได้บรรจง
สร้างสรรค์อย่างประณีตสวยงามและเมื่อเกิดความ
สบายใจแล้วร่างกายก็จะเป็นสุข ซึ่งหมายความไปถึง
การมีกําลังที่จะทําประโยชน์และความเจริญให้แก่
ตนเองและประเทศชาติตอ่ ไป

๒. สะท้อนความรุ่งเรอื งของบา้ นเมือง

ผลงานท่ีศิลปินและช่างทั้งหลายได้ประดิษฐ์
คิ ด ค้ น ขึ้ น ย่ อ ม เ ป็ น เ ค ร่ื อ ง มื อ ท่ี ช่ ว ย “ บํ า รุ ง
แดนดิน” หรือแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของ
บา้ นเมอื ง อีกทงั้ ยงั ภูมิปญั ญาและเกยี รตภิ มู ขิ องชาติ

ด้วยเหตุน้ีนานาประเทศจึงต่างยกย่องศิลปะว่า
เปน็ ส่ิง “ศรวี ิไลวลิ าศดีเป็นศรีเมือง” คือ ศิลปะเป็นสิ่ง
แสดงความเจริญของบ้านเมือง เป็นส่ิงท่ีสวยงามและ
เ ป็ น เ กี ย ร ติ เ ป็ น ศ รี แ ก่ ป ร ะ เ ท ศ ช า ติ น อ ก จ า ก นี้ ศิ ล ป ะ
ยงั เป็นสง่ิ แสดงถงึ ความสงบสุขของชาติ ซ่ึงหากชาติใด
ไม่มีความสงบสขุ คุณในชาติก็จะมุ่งต่อสู้ทําศึกสงคราม
จนไม่มีความสนใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ แต่
หากชาติใดบ้านเมืองสงบสุข คนในชาติก็ย่อม
สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อประดับประดาบ้านเมืองให้
งดงาม

๓. สะท้อนคณุ ธรรมหนา้ ที่และความสามคั คี

บทเสภา ตอน สามัคคีเสวก มุ่งแสดง
ความคิดท่ีว่า ชาติจะดํารงอยู่ได้อย่างม่ันคง
ข้าราชการต้องพร้อมใจการปฏิบัติหน้าที่ใน
ตําแหนง่ ของตนดว้ ยความพยายาม ไมค่ ํานึงถึง
ความสุขส่วนตัว ตลอดจนมีความเคร่งครัดใน
ระเบียบวินัย ซึ่งล้วนแต่เป็นความประพฤติท่ี
แสดงถึงความจงรักภักดีที่ข้าราชการพึงมีต่อ
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น “เหมือนบิดาบังเกิด
หัว” และที่สําคัญที่สุดคือต้องมีความสามัคคี
ป ร อ ง ด อ ง ใ ห้ ส ม กั บ เ ป็ น ข้ า ร า ช ก า ร ใ น
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั องค์เดียวกนั

สรปุ ความรแู้ ละข้อคิด

บทเสภาสามคั คีเสวก ตอน วิศวกรรมา
๑. หากเรามศี ลิ ปะอยใู่ นใจกเ็ หมอื นกบั เรามเี ครอ่ื งผอ่ นคลายความทกุ ขอ์ ยดู่ ว้ ย
๒. ศลิ ปกรรมเป็นสงิ่ ทส่ี วยงามจาํ เรญิ ตา จาํ เรญิ ใจเราจงึ ควรทจ่ี ะชว่ ยกนั สง่ เสรมิ และสนบั สนุน
๓. ชาตทิ ม่ี คี วามเจรญิ รงุ่ เรอื ง จะมศี ลิ ปะประจาํ ชาติ ศลิ ปะหมายถงึ ภาพสะทอ้ นของความสขุ สงบของประเทศ
๔. ชาตทิ ไ่ี มม่ ชี า่ งทางดา้ นศลิ ปะ เหมอื นผหู้ ญงิ ทไ่ี มม่ คี วามงาม
๕. ใครดถู กู งานศลิ ปะ เหมอื นคนปา่ คนดง ไมส่ มควรคบคา้ สมาคมดว้ ย
๖. คนไทยควรชว่ ยรกั ษาศลิ ปะและอนุรกั ษ์ไวใ้ หร้ งุ่ เรอื งตลอดไป เพอ่ื แสดงความเป็นชาตทิ ม่ี วี ฒั นธรรมมายาวนาน

บทเสภาสามัคคเี สวก ตอน สามัคคีเสวก
๑. เหล่าข้าราชการตอ้ งให้ความร่วมมือกบั องคพ์ ระมหากษตั รยิ ์ผู้ทรงเป็นผู้นําของประเทศ
๒. ข้าราชการต้องคํานงึ ถงึ หนา้ ที่ของตนเป็นใหญ่ มคี วามเคร่งครดั ในระเบยี บวินัย
๓. ขา้ ราชการตอ้ งมคี วามจงรักภักดีตอ่ พระเจา้ แผ่นดนิ
๔. ข้าราชการต้องมีความสามัคคปี รองดองเพอ่ื นําชาตใิ หพ้ ฒั นาตอ่ ไป
๕. การที่มีความพยายามในการทําอะไร ก็จะทํางานนั้นได้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะอุปสรรคอะไร ถ้ามีความอดทนอดกล้ัน
กจ็ ะประสบผลสําเร็จ

ขอ้ คดิ ทสี่ ามารถนาํ ไป

ประยกุ ตใ์ ช้
ในชีวติ ประจาํ วัน

ขอ้ คดิ ที่สามารถนําไปประยุกต์ใชใ้ นชีวิตประจําวัน

๑. ให้มีความรักและภูมิใจในศิลปะของชาติ การสร้างเจตคติที่ดีต่อศิลปะ ปลูกฝังจิตสํานึกให้เยาวชนรักศิลปะ
ย่อมจะทําให้ศลิ ปะของชาตดิ ํารงอยไู่ ด้

๒. ให้ตระหนกั ในหน้าทข่ี องตน ประเทศชาติจะพัฒนาได้ย่อมต้องอาศัยบุคคลภายในชาติเป็นกลไกสําคัญ เน่ืองด้วย
แตล่ ะบคุ คลจะดํารงสถานภาพและแสดงบทบาททางสังคมที่แตกต่างกนั โดยท่ีทุกสถานภาพล้วนมีความสาํ คัญเทา่ เทยี ม

๓. ให้เห็นถึงความสําคัญของความสามัคคี ไม่คิดร้ายแก่งแย่งชิงดีหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นท่ีต้ังเป็นเรื่อง
รองลงมาจากผลประโยชน์สว่ นตัวยอ่ มทาํ ใหป้ ระเทศชาตเิ กิดความเสียหายได้ความสามัคคีจะเป็นเคร่ืองผูกรวมจิตใจของคน
ในชาติ

๔. ใหเ้ กดิ ความจงรกั ภักดตี ่อพระมหากษตั รยิ ์ ประชาชนทุกคนจงึ ควรรู้จกั หน้าท่ีของตนเองและปฏิบัติงานในหน้าที่
อยา่ งเตม็ ความสามารถ พรอ้ มทง้ั มีระเบียบวินัยและมีความสมัครสมานสามัคคีกัน บ้านเมืองก็จะมีความสงบสุขและมีความ
เจรญิ รุง่ เรือง


Click to View FlipBook Version