The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

1S2C_เเนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ทักษะ 1S2C ตัวอย่างกิจกรรม
.
บรรณาธิการกิจและ Published :ส.ส่ใ กิตยาภรณ์ ประยูรพรหม K.PRAYOONPROM
.
ผลงานและลิขสิทธิ์ของ สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by zom Kityaporn OBEC, 2023-08-19 03:52:00

zom_1S2C_เเนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ School

1S2C_เเนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ทักษะ 1S2C ตัวอย่างกิจกรรม
.
บรรณาธิการกิจและ Published :ส.ส่ใ กิตยาภรณ์ ประยูรพรหม K.PRAYOONPROM
.
ผลงานและลิขสิทธิ์ของ สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ

Keywords: 1S2C,Cool_Sungkom

สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการเเละมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวทางการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ISBN : 978-616-564-068-8 ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ จำ�นวนพิมพ์ ๓๐,๐๐๐ เล่ม ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่ สถาบันสังคมศึกษา สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำ�เนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ ๒/๙ ซอยกรุงเทพฯ - นนทบุรี ๓๑ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ๑๐๘๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๙๑๐-๗๐๐๑-๒ โทรสาร ๐-๒๕๘๕-๖๔๖๖ คณะผู้เขียนและบรรณาธิการ ขออภัยที่มิอาจแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างครบถ้วน และขอขอบคุณเจ้าของผลงานทั้งข้อความ ภาพ และอื่น ๆ ที่นำ มาใช้ในเอกสารฉบับนี้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาโดยรวมของชาติ แม้จะมิได้มีหนังสือขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


“...ประวัติศาสตร์ของแต่ละชาติทุกชาติเขาก็ทะนุถนอม และเขาก็เรียนของเขากัน แม้แต่คนต่างประเทศไปเรียน ในประเทศเขาก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์ของเขาด้วย อันนี้ ก็แปลกที่เราไม่มีประวัติศาสตร์ชาติไทย เหมือนอย่างว่า แผ่นดินนี้ได้มาอย่างง่าย ๆ ไม่ต้องคิดถึงพระเดชพระคุณ ของปู่ ย่า ตา ยายที่บุกบั่นฝ่าฟันมา แม้แต่ชีวิตจะสละให้ เพื่อที่จะเป็นหลักประกันของคนไทย ความจริงแล้ว การที่มี แผ่นดินเป็นของตนเองเป็นการประกันค่อนข้างจะปลอดภัย...” พระราชดํารัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเนื่องในวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๓


คำนำ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด และวิกฤต เศรษฐกิจที่เกิดในยุคปัจจุบัน การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่จำ�เป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการดำ�รงอยู่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้ผู้เรียน พร้อมเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาชาติ ด้วยความรักและภาคภูมิใจในประเทศ ถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญเช่นกัน ดังพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีใจความสำ�คัญว่า “...การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน ๒ ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง และมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคง...” การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักความเป็นมา รากเหง้าของตนเอง ท้องถิ่น และประเทศชาติ ให้ได้เรียนรู้แบบอย่างการทำ�ดีเพื่อส่วนรวมจากวีรกรรมของบรรพบุรุษ ให้ได้รู้จัก และเข้าใจแนวคิด ความฉลาดหลักแหลม ที่แฝงอยู่เบื้องหลังประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสม สืบทอดกันมา ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดในตัวผู้เรียน นำ�ไปสู่การมีจิตใจ ที่เข้มแข็ง มั่นคง พร้อมเป็นกำ�ลังในการพัฒนาประเทศต่อไป ในการนี้ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับใส่เกล้าฯ กระแสพระราชดำ�รัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่แสดงความห่วงใยต่อการเรียน การสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ดำ�เนินกิจกรรม “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำ�ริฯ” โดยส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์และปลูกฝังผู้เรียนให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ และได้จัดทำ� ชุดเอกสาร “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น” ขึ้น ประกอบไปด้วย เอกสาร จำ�นวน ๓ เล่ม ได้แก่ ๑. เอกสาร “แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ในท้องถิ่น” ๒. เอกสาร “แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ๗๗ จังหวัดทั่วไทย (ภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)” ๓. เอกสาร “แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ๗๗ จังหวัดทั่วไทย (ภาคกลางและภาคใต้)” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและผู้ที่สนใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ที่นำ�ไปสู่การเสริมสร้างทักษะ สมรรถนะ ความรักและความภาคภูมิใจในรากเหง้า ท้องถิ่นและประเทศชาติ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 11 การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ ในท้องถิ่น


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 147 ประวัติศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเหตุการณ์ ในอดีตที่เกิดในสังคมมนุษย์ เป็นการศึกษาเรื่องราว ในมิติของเวลา โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์จึงเปรียบเสมือนกระจก ที่ส่องให้เห็นสังคมมนุษย์ ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน สอนให้เรารู้จักตนเอง รวมถึงความเป็นมา ของชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ปลูกจิตสำ�นึก ในความเป็นชาติ รักและภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งชาติบ้านเมือง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จึงเป็นพื้นฐาน เบื้องต้นในการรู้จักและเข้าใจคุณค่าความสำ�คัญ ของ “อดีต” เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำ�ถาม ค้นหาคำ�ตอบ รู้จักการสืบค้น ค้นคว้า ศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์พูดคุย การสังเกตและการสำ�รวจ เพื่อนำ�ข้อมูลที่ได้จากหลักฐานต่าง ๆ ที่หลากหลาย มาคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ วินิจฉัย บนพื้นฐาน ของความเป็นเหตุเป็นผล ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด “ทักษะการคิดอย่างนักประวัติศาสตร์” และทักษะ สำ�คัญในศตวรรษที่ ๒๑ เช่น - ทักษะการอ่าน (Reading) - ทักษะการเขียน (Writing) - ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) - ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) - ทักษะการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ (Communication and Media Literacy) - ทักษะการทำ�งานเป็นทีม (Collaboration Teamwork Skill) - ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม (Cross-Cultural Understanding) กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะทางประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 148 เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้เเก่ผู้เรียนเกิดการปรับเปลี่ยน รูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นภาพจำ�ของคนทั่วไปว่า “การสอนประวัติศาสตร์ คือ การสอนเนื้อหา การเรียนรู้แบบท่องจำ�” ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการกำ�หนดรูปแบบการเรียนรู้ การวางแผน การเรียนรู้ รวมทั้งรูปแบบวิธีการวัดและประเมินผล โดยควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน ในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาทในการ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ มีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในการเรียนรู้ อำ�นวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ได้ปฏิบัติ “กระบวนการเรียนรู้” ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเรียก การจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ว่า การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นพัฒนาผู้เรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ และเน้นการพัฒนาทักษะ ให้เกิดแก่ผู้เรียน มากกว่าให้รู้ ให้จำ�เนื้อหา ส่งเสริม ให้ผู้เรียน รู้จักประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยง องค์ความรู้ นำ�ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและ ใช้ประโยชน์ในการดำ�รงชีวิต การจัดการเรียนรู้ รูปแบบดังกล่าว จึงเหมาะอย่างยิ่งสำ�หรับการเรียน การสอนประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพราะ หัวใจสำ คัญของ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรื่องราวสำ�คัญ ๆ ในอดีต เกี่ยวกับประสบการณ์ ความคิด ของมนุษย์ในสังคมต่าง ๆ บนพื้นฐานของ การคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ เพื่อสุดท้ายเกิดความรู้ ความเข้าใจบทเรียนที่เกิดขึ้น เป็นการเรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน จะได้รู้เท่าทันอนาคต


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 149 การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นระบบ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะทางประวัติศาสตร์ ดังนี้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะทำ�กิจกรรมหรือดำ�เนินการสิ่งใด ๆ เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เหลือทิ้งไว้ คือ ร่องรอยของการกระทำ� ซึ่งในทางประวัติศาสตร์เรียกร่องรอยเหล่านี้ว่า “หลักฐานทางประวัติศาสตร์” ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ชั้นดินที่ทับถมตามกาลเวลา และอาจเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มนุษย์จงใจสร้าง เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และ ไม่จงใจสร้าง เช่น เศษซากพืชซากสัตว์ที่เกิดจากการประกอบอาหาร เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ผู้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์จะต้องมีกระบวนการสืบหา สืบค้นเรื่องราว โดยต้องรู้จักแยกแยะข้อเท็จจริง คือ การแยกข้อจริง ออกจากข้อเท็จ ที่ปะปนกันอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด ด้วยวิธีการ ศึกษาอย่างเป็นระบบ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มี ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. การตั้งประเด็นคำถาม เป็นการระบุประเด็น กำ�หนดขอบข่าย ขอบเขตของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่ต้องการศึกษา หัวข้อที่จะศึกษา อาจเริ่มจากความสงสัย อยากรู้ ต้องการคำ�อธิบายเพิ่มเติม ในเบื้องต้น อาจกำ�หนดประเด็น ที่ต้องการศึกษาไว้กว้าง ๆ ก่อน แล้วจึงค่อยจำ�กัดประเด็นลงให้แคบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในภายหลัง ประเด็นที่ศึกษาอาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ความเจริญ ความเสื่อม ของบุคคล สถานที่ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจยาวหรือสั้นตามความเหมาะสมกับช่วงชั้นและศักยภาพของผู้เรียน ๒. การรวบรวมหลักฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะศึกษา ซึ่งมีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ๓. การวิพากษ์และประเมินค่าของหลักฐาน ร่องรอยหลักฐานที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำ�ของมนุษย์ในอดีต มีทั้งข้อเท็จและข้อจริง ปะปนกันอยู่ การประเมินค่าหลักฐาน เป็นขั้นตอนที่จะช่วยบอกเราว่าหลักฐานที่ศึกษาอยู่นั้น มีคุณค่า ควรค่าแก่การเชื่อถือหรือไม่ ก่อนทำ�การศึกษาจึงต้องประเมินค่าของหลักฐานเสียก่อน โดยเบื้องต้น เป็นการประเมินว่า เอกสารหรือหลักฐานที่ศึกษานั้นเป็นของจริงหรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะภายนอก ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ต่อมา จึงประเมินข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลักฐาน เช่น ชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ มีความสอดคล้องกับในบริบทด้านเวลา เพียงใด เพื่อวินิจฉัยว่า หลักฐานนั้นถูกสร้างขึ้น ในยุคสมัยนั้นจริงหรือไม่


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 150 ๔. การวิเคราะห์และตีความข้อมูลหลักฐาน เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นมีความน่าเชื่อถือให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นความจริงในประวัติศาสตร์ จึงนำ�ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ที่สืบค้นมามาจัดหมวดหมู่ ตามประเด็นหัวข้อที่ศึกษา เช่น ความเป็นมา สาเหตุ จุดผลิกผัน และความเสื่อมของเหตุการณ์ แล้วหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่าง ๆ และตีความข้อมูล ว่ามีข้อเท็จจริงใดซ่อนเร้น อำ�พราง ในขั้นตอนนี้ จะต้องมีความละเอียดรอบคอบ ปราศจากอคติ วางตัว เป็นกลาง มีจินตนาการ มีความรอบรู้ ไม่ตัดสินอดีตจากสายตาและมุมมองของคนในยุคปัจจุบัน ๕. การเรียบเรียง สรุปข้อมูลการศึกษา และการนำ เสนอผลการศึกษา ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ จะต้องนำ�ข้อมูลทั้งหมด มารวบรวมและเรียบเรียง หรือนำ�เสนอให้ตรง กับประเด็น หรือหัวเรื่องที่กำ�หนดไว้ โดยควรอธิบายเหตุการณ์ เรื่องราวอย่างมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล มีการอ้างอิงหลักฐานที่สืบค้นเพื่อสนับสนุนผลการศึกษา แล้วจึงนำ�เสนอข้อมูล ที่สรุปเรียบเรียงได้นำ�เสนอแก่ผู้อื่นต่อไป ทั้งนี้ ผู้สอนพึงตระหนักว่า การนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากศึกษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนั้น เป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสื่อในการนำ�เสนอ ที่เหมาะสม ตามความสนใจ และผู้สอนควรให้นํ้าหนักในการพิจารณาความครบถ้วนถูกต้อง เหมาะสม ของการดำ�เนินกระบวนการ ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา การรวบรวมหลักฐานข้อมูล การวิพากษ์และ ประเมินค่าของหลักฐาน การวิเคราะห์และตีความข้อมูลหลักฐาน จนถึงการเรียบเรียง สรุปข้อมูลการศึกษา


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 151 ทักษะทางประวัติศาสตร์ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ Active Learning เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ช่วย สร้างเสริมทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และ “ทักษะทางประวัติศาสตร์” ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงนิยามของคำ�ว่า ทักษะ หมายถึง ความชำ�นาญในการกระทำ�หรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำ�ซํ้า ๆ ในที่นี้ ทักษะทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ความสามารถ ความชำ�นาญในการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ การประเมินค่าหลักฐาน การฝึกคิดวิเคราะห์ตามบริบททางประวัติศาสตร์ คือการต้องรู้จักบุคคล เวลา สถานที่ และรู้จักเชื่อมโยงข้อมูลจากหลักฐานที่ได้รับกับองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ทักษะทางประวัติศาสตร์ จึงเป็นความสามารถ ความชำ�นาญในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วยทักษะต่าง ๆ มีทักษะการคิดวิคราะห์ในมิติประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐาน เน้นการตั้งคำ�ถาม ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงการนำ�ข้อมูล หลักฐานที่รวบรวมได้มาเรียงต่อกัน ทั้งนี้ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำ�หนดทักษะทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน ที่ควรพัฒนาและบ่มเพาะให้เกิดแก่ผู้เรียนเรียกว่า “ทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C” โดยผู้สอน ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถอย่างเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุเป็นผล มีวิจารณญาณ เปิดกว้างทางความคิดเห็น เพื่อสืบสอบเรื่องราวบนพื้นฐานข้อมูลหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ประกอบด้วยทักษะที่เป็นลำ�ดับขั้นตอน ได้แก่ ๑. การสืบค้นและรู้จักเอกสารหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) หลักฐานเป็นพื้นฐานสำ�คัญ ของการสืบค้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กระบวนการรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ จึงเป็น กระบวนการเริ่มต้นที่สำ�คัญของการสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปแล้ว ผู้สอนจึงควรจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการสืบค้นข้อมูล วางแผนรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็น หลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่เกิดร่วมยุคร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือบันทึกร่วมสมัยกัน และหลักฐานชั้นรอง คือ งานเขียนที่ใช้หลักฐานชั้นต้นมาศึกษาวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น เกิดขึ้นภาย หลังเหตุการณ์ ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เรียนอาจพบได้ใกล้ตัว เช่น เอกสารของทางราชการ บทความในหนังสือพิมพ์ การสัมภาษณ์ ภาพถ่าย ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ เช่น - ทักษะการคิดวางแผนเพื่อดำ�เนินกระบวนการสืบค้นหลักฐาน - ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี - ทักษะการสังเกต จากการลงพื้นที่สำ�รวจโบราณสถานและศึกษาโบราณวัตถุ - ทักษะการสื่อสาร ในการสัมภาษณ์บุคคล ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เป็นต้น


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 152 ๒. การสร้างความเชื่อมั่นและประเมินค่าของหลักฐาน (Corroboration) คือ กระบวนการตรวจสอบ ประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏจากข้อมูลภายในหลักฐานเอง เช่น การตรวจสอบวัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือสร้างเอกสาร การตรวจสอบชื่อบุคคล สถานที่ การเทียบศักราชในเอกสาร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เเละความน่าเชื่อถือ อคติของผู้เขียน การบิดเบือนข้อมูลความหมายที่แท้จริง เป็นต้น การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏ ในหลักฐาน โดยเฉพาะ มิติความน่าเชื่อถือ อคติของผู้เขียน ข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูลความหมาย ที่แท้จริง ถือเป็นขั้นตอนสำ�คัญที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดพิจารณาความน่าเชื่อถือ ตามตรรกะและความสมเหตุสมผล ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้ฝึกฝน เช่น - ทักษะการอ่าน - ทักษะการคิดวิเคราะห์ - ทักษะการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ ๓. การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย (Contextualizing) คือ กระบวนการ เปรียบเทียบเนื้อหาและข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทั้งหมดทุกชิ้นที่เป็นข้อมูลเเวดล้อม เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง หรือความจริงทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดเหตุการณ์ ความเป็นไป ของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ อาจจัดกระบวนการให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบระหว่าง เอกสารกับหลักฐานต่าง ๆ เช่น หลักฐานภาพถ่าย แผนที่โบราณ ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการเปรียบเทียบชุดข้อมูล ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูล ทักษะการสรุปเรื่องราว ที่ได้ศึกษาตามตรรกะความน่าเชื่อถือจากหลักฐานที่ปรากฏ จากกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องเปรียบเทียบเอกสารต่าง ๆ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชื่อมโยง / ความเป็นเหตุ เป็นปัจจัยและผลกระทบ/ ความต่อเนื่อง สืบทอดและจุดผลิกผันของสถานการณ์ รวมถึงการวิพากษ์เรื่องราวในอดีตโดยปราศจากอคติจากมุมมองของคนยุคปัจจุบัน เป็นกระบวนการสำ�คัญ ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิด - ทักษะการคิดขั้นสูง - ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 153 เมื่อผู้เรียนรับรู้เเละเกิดความตระหนักว่า วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่สำ�คัญต่อการพัฒนา ทักษะสมรรถนะเเละของตนเอง เป็นการพัฒนา กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบแล้ว ผู้สอนควรเน้นยาํ้ ในรายละเอียดของทักษะทางประวัติศาสตร์และ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมประวัติศาสตร์เพื่อให้ ผู้เรียนสามารถนำ�ความรู้เเละทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำ�วันเช่น การเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การตรวจสอบ ที่มาของข้อมูล การแสดงความคิดเห็นอย่างมีตรรกะ สมเหตุสมผล เป็นต้น ทักษะเหล่านี้จะทำ�ให้ผู้เรียน ไม่โน้มเอียงหรือเชื่อโดยไม่มีหลักฐาน และสามารถ แสดงเหตุผลในการเลือกเชื่อหรือปฏิบัติสิ่งนั้น ๆ ได้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ บรรลุวัตถุประสงค์ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ การคิดขั้นสูง “คิดอย่างนักประวัติศาสตร์” มีทักษะ ที่จำ�เป็นสำ�หรับการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ ๒๑ ผู้สอนควรออกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้น ความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน โดยอาจจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ที่บูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งในเเละนอกห้องเรียน ทั้งนี้ การเรียนรู้เนื้อหาสาระ หลักการและ ทฤษฎีในห้องเรียน จะเป็นรูปธรรม เข้าใจได้ง่าย เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สัมผัส ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ เกิดประสบการณ์ตรงจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือกำ�ลังศึกษาอยู่ จากการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การทำ โครงงานประวัติศาสตร์ การทัศนศึกษา แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งการเรียนรู้ นอกห้องเรียน นอกสถานที่เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ช่วยสร้างประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง เกิดเป็นการสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย ให้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้ แหล่งเรียนรู้่ใกล้ตัวผู้เรียนถือเป็น สื่อการเรียนรู้ที่ช่วยผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงเนื้อหา สาระ จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ไปปรับประยุกต์ใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำ�วันได้อย่างเป็นรูปธรรม


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 154 โครงงานประวัติศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สืบค้นเรื่องราว ในอดีตของสังคมมนุษย์ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตามความสนใจและ ตามศักยภาพของตน โดยใช้วิธีการและทักษะทางประวัติศาสตร์ การทำ�โครงงานประวัติศาสตร์เป็นกิจกรรมต่อเนื่องและมีความจำ�เป็นที่ผู้เรียนต้องดำ�เนินกิจกรรม นอกห้องเรียน จึงต้องมีการเตรียมตัว เตรียมเครื่องมือ และเตรียมความพร้อม เช่น แผนปฏิบัติการ แบบสำ�รวจ ฯลฯ โดยผู้เรียนและผู้สอน มีบทบาทดังนี้ บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน ๑. การคิดประเด็นโครงงานและการเลือกหัวข้อโครงงานประวัติศาสตร์ - สร้างแรงจูงใจหรือกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน - คิด และเลือกประเด็นศึกษา ๒. การศึกษาและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ - แนะนำ�วิธีการทำ�โครงงาน - เสนอแนะแหล่งศึกษาค้นคว้า - ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ๓. การเขียนเค้าโครงของโครงงานประวัติศาสตร์ - แนะนำ�การวางเค้าโครงย่อและการวางแผนงาน - ให้คำ�ปรึกษาดูความเป็นไปได้ของเค้าโครงของ โครงงาน - กำ�หนดขอบข่ายหรือเค้าโครงเรื่องที่จะศึกษา - จัดทำ�เค้าโครงงานนำ�เสนออาจารย์ที่ปรึกษา ๔. การปฏิบัติโครงงานประวัติศาสตร์ - ติดตามความก้าวหน้าของดำ�เนินงาน - ให้คำ�แนะนำ� คำ�ปรึกษา เสนอแนะอย่างใกล้ชิด - ตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำ�เนินงาน - ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับประเด็นศึกษา - สร้างเครื่องมือพร้อมการปรับปรุง - รวบรวมข้อมูลและบันทึกให้ครบถ้วน - ประมวลความรู้ที่ค้นพบ..................................................................... ผู้เรียนสามารถตอบคำ�ถามที่เกิดจากความสงสัย ในประเด็นที่สืบค้นได้ว่า ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทำ�ไม และมีผลต่อสิ่งใดบ้าง ๕. การเขียนรายงาน - ตรวจสอบการเขียนรายงานให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ - เขียนรายงาน - ออกแบบการนำ�เสนอโครงงาน ๖. การแสดงผลงาน - ค้นหาจุดเด่น จุดด้อย - ตรวจสอบปัญหาการทำ�งานที่ผ่านมา และสรุปผลการดำ�เนินงาน - นำ�เสนอผลงานได้หลายรูปแบบตามที่เหมาะสม เช่น การเล่าเรื่อง สถานการณ์จำ�ลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 155 การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ เเละให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญของวิชาประวัติศาสตร์และเนื้อหาประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เกิดความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น และประเทศชาติ ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้น อาจจัดได้ทั้งแบบกิจกรรมในห้องเรียน และกิจกรรมนอกห้องเรียน กิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจและผู้เรียนมักให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คือ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยกิจกรรมทัศนศึกษาในพื้นที่โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ชุมชนหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยกิจกรรมทัศนศึกษา จำ�เป็นต้องมีการวางแผนการดำ�เนินงานที่ดี ดังนี้ ๑. ขั้นเตรียมการก่อนออกเดินทาง ๒. ขั้นศึกษาแหล่งเรียนรู้ ๓. ขั้นนำ�เสนอผลงาน ๑. ขั้นเตรียมการก่อนออกเดินทาง ผู้สอนต้องกำ�หนดเนื้อหาที่ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนในแต่ละระดับชั้น และต้องมี การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเลือกกำ�หนดสถานที่ต่าง ๆ ในพื้นที่แหล่งเรียนรู้สำ�หรับจัดกิจกรรม การเรียนรู้ การเตรียมสื่อ ใบงาน ใบกิจกรรม ใบความรู้เพิ่มเติม เพื่อ่ให้การไปทัศนศึกษาที่แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ไม่เป็นเพียงการเยี่ยมชมสถานที่หรือเป็นการท่องเที่ยวที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ ก่อนการไปทัศนศึกษาที่แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ผู้สอนควรจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและฝึกฝนจนเกิดทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C เช่น กำ�หนดหัวข้อให้ได้ฝึกฝน การวางแผนการสืบค้น การลงมือสืบค้นหลักฐาน การฝึกทำ�กิจกรรมสืบค้นหลักฐานที่หลากหลาย การฝึก การวิพากษ์หลักฐาน การฝึกการวิเคราะห์สรุป และเรียบเรียงข้อมูล เป็นต้น ๒. ขั้นศึกษาแหล่งเรียนรู้ ผู้สอนต้องบอกให้ผู้เรียนทราบถึงวิทยากร กำ�หนดการ สถานที่จะไปศึกษา พร้อมทั้งมอบหมาย ให้ศึกษาใบงานล่วงหน้า อาจให้ผู้เรียนเตรียมอุปกรณ์ สำ�หรับบันทึกภาพ บันทึกเสียง สมุดจดบันทึกไปด้วย เเผนที่ เเผนผัง เป็นต้น ๓. ขั้นนำ เสนอผลงาน ผู้เรียนนำ�ข้อมูลที่ได้จากการไปทัศนศึกษา แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ มาสรุป เรียบเรียง เนื้อหา นำ�เสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้สอน ประเมินผลงานและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และอาจใช้วิธีการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน (Peer Evaluation)


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 156 การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะทางประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่สามารถเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งภายใน ห้องเรียน หรือ ภายนอกห้องเรียน ตัวอย่างการจัดกิจรรมเพื่อให้ผู้เรียนทำ�โครงงานประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น อาจเริ่มกระบวนการ และสิ้นสุดกระบวนการด้วยกิจกรรมภายในห้องเรียน และ ให้มีการสืบค้นข้อมูลที่อยู่ภายนอกห้องเรียน เช่น การให้ผู้เรียนสัมภาษณ์ผู้รู้หรือบุคคลในท้องถิ่น การสำ�รวจ สภาพจริง การบันทึกภาพ การทำ�แผนที่/ แผนผัง เป็นต้น สรุปแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ Active Learning ที่สร้างเสริมทักษะ ทางประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชม ดังตารางต่อไปนี้


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 157 ตาราง การวิเคราะห์ความสอดคล้องของวิธีการเเละทักษะทางประวัติศาสตร์ เเละทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เเละตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ ทักษะทาง ประวัติศาสตร์ 1S2C ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑กิจกรรม ๑. การตั้งประเด็นคำ�ถาม- ทักษะการตั้งคำ�ถาม กิจกรรมในห้องเรียน -การระดมความคิดเห็น ร่วมกันตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H - การกำ�หนดประเด็นที่สนใจศึกษา อยากได้คำ�ตอบ ๒. การรวบรวม หลักฐานข้อมูล Sourcing ทักษะการสืบค้น และรู้จักเอกสาร หลักฐานที่หลากหลาย - ทักษะการคิดวางแผน - ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี - ทักษะการสังเกต - ทักษะการสื่อสาร กิจกรรมในห้องเรียน -การฝึกฝนทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C เพื่อให้เกิดทักษะ ในการสืบค้นและรู้จักเอกสารหลักฐานที่หลากหลาย - การวางแผนและเตรียมการรวบรวมหลักฐาน -การสืบค้นหลักฐาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือ จารึก เอกสารต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ กรณีที่มีข้อจำ�กัด (ขาดแหล่งข้อมูล) ผู้สอนอาจจัดเตรียมสื่อ ชุดเอกสารหลักฐาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางประวัติศาสตร์ โดยอาจจัดเตรียม เอกสารหลักฐาน ทั้งที่เป็นข้อเท็จ และข้อจริง กิจกรรมนอกห้องเรียน/ ที่แหล่งเรียนรู้ -การสัมภาษณ์ผู้รู้ บุคคลในท้องถิ่น ภูมิปัญญา นักโบราณคดี -การสำ�รวจชุมชน ศึกษาโบราณสถานหรือสถานที่/ การถ่ายภาพ -การทำ�แผนผัง/ แผนที่ -การสืบค้นหลักฐาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่อยู่ในแหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียน


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 158วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ทักษะทาง ประวัติศาสตร์ 1S2Cทักษะในศตวรรษที่ ๒๑กิจกรรม๓. การวิพากษ์และประเมินค่าของหลักฐานCorroboration ทักษะการสร้างความเชื่อมั่นและ ประเมินค่าของหลักฐาน- ทักษะการอ่าน- ทักษะการคิดวิเคราะห์ - ทักษะการสื่อสารและ รู้เท่าทันสื่อกิจกรรมในห้องเรียน- การฝึกฝนทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C เพื่อให้เกิดทักษะ การสร้างความเชื่อมั่นและประเมินค่าของหลักฐาน- การประเมินค่าลักษณะและความน่าเชื่อถือของเนื้อหา ที่ปรากฏในหลักฐานแต่ละชิ้น ทุกชิ้น ๔. การวิเคราะห์และ ตีความข้อมูลหลักฐาน Contextualizing ทักษะการเปรียบเทียบ ข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย - ทักษะการคิดขั้นสูง - ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การคิดข้ามวัฒนธรรม กิจกรรมในห้องเรียน - การฝึกฝนทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C เพื่อให้เกิดทักษะ การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย - การตีความ วิเคราะห์ เรียงลำ�ดับเหตุการณ์ หาความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง ความเป็นเหตุปัจจัยและผลที่เกิดขึ้นจากข้อมูล ที่สรุปได้จากเอกสารหลักฐานทุกชิ้นที่มีความน่าเชื่อถือ ๕. การเรียบเรียง สรุปข้อมูลการศึกษา และนำ�เสนอผลการศึกษา - ทักษะการนำ�เสนอ - ทักษะการพูด - ทักษะความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมในห้องเรียน - การสรุปข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหาจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั้งหมด ที่สืบค้นได้ - การนำ�เสนอผลการศึกษาค้นคว้า


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 159 ตัวอย่างเครื่องมือและใบงานที่ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ Active Learning ที่สร้างเสริมทักษะทางประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น นำ�เสนอตามลำ�ดับขั้นตอน วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง กรณี โรงเรียนวัดเทพนิมิตวนาราม จังหวัดชุมพร ซึ่งสถานศึกษาเเห่งนี้ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น คือ พระธาตุมุจลินทร์ อำ�เภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ : การตั้งประเด็นคำถาม เป็นขั้นตอนแรกของการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องระบุประเด็น กำ�หนด ขอบข่ายเเละขอบเขตของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการศึกษา กำ�หนดหัวข้อที่จะศึกษา ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ - การนำ�เข้าสู่บทเรียน นำ�เสนอคำ�ขวัญของจังหวัด อำ�เภอ หมู่บ้าน เพื่อจูงใจให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ ถึงสิ่งที่น่าภูมิใจของท้องถิ่น - การใช้เทคนิคการตั้งคำ�ถามแบบ 5W1H คือ Who : ใคร What : ทำ�อะไร Where : ที่ไหน How : อย่างไร When : เมื่อไหร่ Why : ทำ�ไม ตัวอย่างประเด็นคำ�ถามที่ผู้เรียนร่วมกันเสนอ เช่น - พระธาตุมุจลินทร์ตั้งอยู่ที่ใด ? - ใครเป็นผู้สร้างพระธาตุมุจลินทร์ ? - พระธาตุมุจลินทร์สร้างขึ้นเพื่ออะไร ? - พระธาตุมุจลินทร์สร้างขึ้นสมัยใด ? - พระธาตุมุจลินทร์มีความเป็นมาอย่างไร - พระธาตุมุจลินทร์มีลักษณะ รูปแบบอย่างไร - ทำ�ไมคนในอดีตต้องสร้างพระธาตุขึ้นมา จากประเด็นคำ�ถามของผู้เรียน ผู้สอนใช้คำ�ถามกระตุ้นความสนใจเพิ่มเติม เช่น นักเรียนเคยไป เยี่ยมชมพระธาตุมุจลินทร์หรือไม่ หากเคยไป เห็นอะไรบ้างที่พระธาตุมุจลินทร์ ฯลฯ ในที่นี้ ผู้เรียนได้ร่วมกันสรุป หัวข้อที่จะศึกษา คือ ประวัติความเป็นมาและลักษณะพระธาตุมุจลินทร์ จังหวัดชุมพร


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 160 ขั้นตอนที่ ๒. : การรวบรวมหลักฐานข้อมูล ทักษะทางประวัติศาสตร์ : Sourcing การสืบค้นและรู้จักเอกสารหลักฐานที่หลากหลาย เป็นการรวบรวมหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหัวข้อที่จะศึกษา อาจเป็นได้ทั้ง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการวางแผนการสืบค้น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ - ใบงาน เค้าโครงของโครงงานประวัติศาสตร์ - ใบงาน การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ - ใบงาน แบบสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น - การสืบค้นเอกสารหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีตัวอย่างนี้ ครูผู้สอนได้จัดเตรียมชุดเอกสาร ที่มีทั้งข้อเท็จ และข้อจริง ปะปนกันให้ผู้เรียนได้พิจารณาเลือกสืบค้น เช่น หนังสือ สำ�เนาเอกสาร ตำ�นาน เว็บไซต์ โปรแกรมแสดงแผนที่ Google Earth - การสืบค้นเอกสารที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร - การสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น - การสำ�รวจสภาพพระธาตุมุจรินทร์ - การทำ�แผนผังที่ตั้งพระธาตุมุจรินทร์ - การถ่ายภาพพระธาตุมุจรินทร์


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 161 ตัวอย่าง ใบงาน เค้าโครงของโครงงานประวัติศาสตร์ กิจกรรมโครงงานประวัติศาสตร์ เรื่อง “......................................................................................................” โดย............................................................................. ๑. ชื่อโครงงานประวัติศาสตร์................................................................................................... ๒. ประเด็นคำ�ถามที่สนใจศึกษา (อาจมีได้หลายข้อ โดยที่ผู้เรียนร่วมกันระดมความคิดเห็น) ๒.๑ ...................................................................................................................................... ๒.๒ ...................................................................................................................................... ๓. จากประเด็น คิดว่าหัวข้อใดมีความสำ�คัญและน่าสนใจที่สุด สามารถต่อยอดสืบค้นได้ .......................................................................................................................................... ๔. แหล่งข้อมูลที่จะต้องสืบค้นและศึกษาเพื่อตอบคำ�ถามข้อ ๓ (อาจมีได้หลายข้อ โดยที่ผู้เรียนร่วมกันระดมความคิด) ๔.๑ ...................................................................................................................................... ๔.๒ ...................................................................................................................................... ๔.๓ ...................................................................................................................................... ๕. ความเห็นของครูผู้สอน : เมื่อประเมินความเป็นไปได้ที่มีอยู่แล้ว ครูคิดว่าหัวข้อ จากข้อ ๓ สามารถพัฒนาเป็นโครงงานได้หรือไม่ ได้ ไม่ได้ ๖. ความสำ�คัญและเหตุผลของการทำ�โครงงาน (ผู้เรียนร่วมกันระดมความคิดเห็น เหตุผลในการทำ�/ ประโยชน์ของโครงงานคืออะไร) ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 162 ตัวอย่าง ใบงาน เค้าโครงของโครงงานประวัติศาสตร์ (ต่อ) ๗. วัตถุประสงค์ของการทำ�โครงงาน ๗.๑ ...................................................................................................................................... ๗.๒ ...................................................................................................................................... ๘. วิธีการทางประวัติศาสตร์ : อธิบายการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการทำ�โครงงาน ๘.๑ การตั้งประเด็นคำ�ถาม ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ๘.๒ การรวบรวมหลักฐานข้อมูล ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ๘.๓ การวิพากษ์และประเมินค่าของหลักฐาน ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ๘.๔ การวิเคราะห์และตีความข้อมูลหลักฐาน ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ๘.๕ การเรียบเรียง สรุปข้อมูล และการนำ�เสนอ ………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ๙. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ�โครงงาน ๙.๑ ...................................................................................................................................... ๙.๒ ...................................................................................................................................... ๑๐. เอกสารอ้างอิง ……………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 163 ตัวอย่าง ใบงาน การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หัวข้อที่ศึกษา : ........................................................................ ประเด็นที่ศึกษา การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน วิธีการ เครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล หัวข้อที่ศึกษา รายการหลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูล วิพากษ์ ประเมินค่า แบบวิเคราะห์ วิพากษ์ ประเมินค่า รายชื่อบุคคล ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน สัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพ ชื่อสถานที่ สำ�รวจสถานที่/ พื้นที่ วาดแผนผัง แบบสำ�รวจสถานที่ แผนผัง อุปกรณ์ถ่ายภาพ


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 164 ตัวอย่าง ใบงาน แบบสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ประเด็นในการสัมภาษณ์ แนวทางคำถามสำ คัญ หัวข้อที่ศึกษา : ........................................................................................................................ ส่วนที่ ๑ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูล ๑. ชื่อ................................................ นามสกุล....................................... ๒. อายุ.................ปี ๓. อยู่ในชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ. .................. รวมเวลา................ปี ๔. อาชีพ/ บทบาทหน้าที่ที่มีกับชุมชน..................................................................................... ส่วนที่ ๒ ประเด็นในการสัมภาษณ์และแนวทางคำถามสำ คัญ


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 165 ขั้นตอนที่ ๓ : การวิพากษ์และประเมินค่า ทักษะทางประวัติศาสตร์ : Corroboration ของหลักฐาน การสร้างความเชื่อมั่นและประเมินค่าของหลักฐาน เป็นขั้นตอนที่จะช่วยบอกเราว่าหลักฐานที่ศึกษาอยู่นั้น มีคุณค่า ควรค่าแก่การเชื่อถือ หรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วประเมินว่าเอกสารหรือหลักฐาน ที่ศึกษานั้น เป็นของจริงหรือไม่ จากนั้น ศึกษาว่าข้อมูลที่ได้จากหลักฐาน เช่น ชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ มีความสอดคล้องกับบริบทด้านเวลา เพียงใด ในเบื้องต้น พิจารณาลักษณะภายนอกของหลักฐาน เช่น ใครเป็นผู้ทำ�หรือผู้สร้างหลักฐานชิ้นนั้น/ บุคคลนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อย่างไร/ จุดประสงค์ของการสร้างหลักฐาน คืออะไร/ สร้างขึ้นเมื่อไหร่ / ในบริบทใด/ เป็นหลักฐานดั้งเดิม/ รูปแบบเดิม หรือเป็นการคัดลอก ทำ�สำ�เนา ผลิตซํ้า ต่อมา จึงประเมินข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลักฐาน เช่น ชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ มีความสอดคล้อง กับในบริบทด้านเวลา เพียงใด เพื่อวินิจฉัยว่า หลักฐานนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยนั้นจริงหรือไม่ ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ - ใบงาน การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน - ใบงาน การสรุปข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 166 ตัวอย่าง ใบงาน การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน หัวข้อที่ศึกษา .......................................................................................................................... ช่วงเวลาการเกิดเรื่องราว (หรือเหตุการณ์ สถานที่ วัตถุ) ยุค/ สมัย......................................... เมื่อวัน.....เดือน..........พ.ศ..................... หลักฐาน ช่วงเวลาที่เกิดหลักฐาน ชนิดของ หลักฐาน ความน่าเชื่อถือ ชั้นต้น ชั้นรอง หนังสือ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติชุมพร พ.ศ. ๒๕๔๒ ✓ น่าเชื่อถือ เพราะเป็นหนังสือ ของทางราชการ คือ กรมศิลปากร มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องงานโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ เว็บไซต์ www. ชุมพรชิลชิล.c๐m เผยแพร่ข้อมูล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓ ✓ น่าเชื่อถือน้อย ด้วยไม่ปรากฏ ชื่อให้ข้อมูลและ ขาดการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ สันนิษฐานว่าผู้จัดทำ เว็บไซต์น่าจะเป็น นักท่องเที่ยว และ ข้อมูลที่ปรากฏพบซ้ำ ในอีกหลายเว็บไซต์ ผู้นำชุมชน คุณลุง….……. อาศัยอยู่ในชุมชนกว่า ๗๕ ปี ✓ น่าเชื่อถือ ในส่วนของข้อมูล ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ของคนในชุมชน งานประเพณี การนมัสการพระธาตุ แต่ในส่วนของประวัติ ความเป็นมา ก็ได้รับ การเล่าขานจากผู้เฒ่า ผู้แก่สืบทอดกันมา ประวัติความเป็นมาเเละลักษณะของทรงพระธาตุมุจลินทร์ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 167 หัวข้อที่ศึกษา ............................................................................ ช่วงเวลาการเกิดเรื่องราว (หรือเหตุการณ์ สถานที่ วัตถุ) ยุค/ สมัย............................................. เมื่อวัน.....เดือน..........พ.ศ..................... ตัวอย่าง ใบงาน การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน หลักฐาน ช่วงเวลาที่เกิด หลักฐาน ชนิดของ หลักฐาน วิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ได้ จากหลักฐาน ชั้นต้น ชั้นรอง ๑. ชื่อหลักฐาน .................................... ที่มา............................. .................................... ๒. ชื่อหลักฐาน .................................... ที่มา............................. .................................... ๓. ชื่อหลักฐาน .................................... ที่มา............................. ....................................


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 168 หัวข้อที่ศึกษา ............................................................................ บรรณานุกรม ชื่อผู้นาม-สกุลผู้แต่ง ........................................ ชื่อหนังสือ ................................................ จังหวัดที่พิมพ์............... . สำ�นักพิมพ์............................. , ปี พ.ศ......................... ประเด็นคำถาม คำถามที่ ๑ ............................................................................................................................. ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ ................ ข้อมูล ที่ได้คือ .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... คำถามที่ ๒ ............................................................................................................................. ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ ................ ข้อมูล ที่ได้คือ .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... คำถามที่ ๓ ............................................................................................................................. ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ ................ ข้อมูล ที่ได้คือ .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... ตัวอย่าง ใบงาน การสรุปข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 169 ขั้นตอนที่ ๔ : การวิเคราะห์และตีความข้อมูล ทักษะทางประวัติศาสตร์ : Contextualizing ของหลักฐาน การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย เมื่อพิจารณาว่าหลักฐานมีความน่าเชื่อถือให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์จึงนำข้อมูล ที่ได้จากหลักฐานต่างๆ ที่สืบค้น มาจัดหมวดหมู่ตามประเด็นหัวข้อที่ศึกษาเช่น ความเป็นมาสาเหตุจุดผลิกผัน พัฒนาการและความเสื่อมของเหตุการณ์โดยหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่าง ๆ ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ - เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์Timeline - แผนภูมิก้างปลา - แผนผังการวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ ๕ : การเรียบเรียง สรุปข้อมูลการศึกษา และการนำ เสนอผลการศึกษา เป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้มาสรุป เรียบเรียง ให้ตรงกับประเด็นหรือหัวเรื่องที่กำ หนดไว้ โดยควรอธิบายเหตุการณ์ เรื่องราวอย่างมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล มีการอ้างอิงหลักฐาน ที่สืบค้นเพื่อสนับสนุนผลการศึกษา แล้วจึงนำ เสนอข้อมูลเเก่ผู้อื่นต่อไป ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ - การเรียบเรียงและสรุปข้อมูล ใบงาน การสรุปผลการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ - การนำ เสนอผลการศึกษา ขั้นตอนนี้เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำ เสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่ได้สืบค้นมา ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความสนใจของผู้เรียน เช่น หนังสือเล่มเล็กเว็บไซต์นำ เสนอข้อมูล ป้ายนิทรรศการเเผ่นพับ ฯลฯ เป็นการฝึกทักษะการสื่อสารเเละทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้เเก่ผู้เรียน


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 170 หัวข้อที่ศึกษา ............................................................................ ตัวอย่าง ใบงาน การสรุปข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐาน ข้อมูลที่ได้จากหลักฐาน สรุป


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 171 ตัวอย่างการนำเสนอด้วยหนังสือเล่มเล็ก การศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะ พระธาตุมุจลินทร์ จังหวัดชุมพร


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 172 ตัวอย่างการนำเสนอด้วยบทกลอนสุภาพ การศึกษาประวัติควาเป็นมาและลักษณะ พระธาตุมุจลินทร์ จังหวัดชุมพร บทกลอนสุภาพพระธาตุมุจลินทร์ เมืองตะโกสมัยประวัติศาสตร์ มีพระธาตุมุจลินทร์เป็นสถาน ถือกำ เนิดเมื่อสมัยพุทธกาล เมืองโบราณเก่าแก่แต่นานมา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องค์ภูมินทร์จุลจอมปรากฏหนา เป็นพระธาตุระฆังคว่ำ ไว้บูชา ตระการตาก่อด้วยอิฐและฉาบปูน องค์พระธาตุแต่งลายด้วยปูนปั้น สวยทั้งนั้นด้านเป็นรูปไม่หายสูญ มีรูปยักษ์ขนาบข้างเจิดจำ รูญ ทั้งลายปูนบันไดราหูอมจันทร์ บนฐานนั่นทำล้อเป็นเรือนธาตุ ดั่งภาพวาดสวยสดในความฝัน ปากระฆังรูปสี่เหลี่ยมสาระพัน ซ้อนสามชั้นคอระฆังงดงามจริง มีลูกแก้วรองรับบัวกลุ่มเถา โบราณเก่าควรค่ารักษายิ่ง ศิลปกรรมถนอมไว้ใจประวิง ไม่ละทิ้งศิลปะอันดีงาม อายุราวสองร้อยปีที่สร้างไว้ ให้คนไทยบูชาน่าเกรงขาม ตั้งอยู่ที่บ้านหนองจิกระบือนาม ทุกโมงยามเคารพตามประเพณี ปัจจุบันการสรงนํ้าองค์พระธาตุ ประวัติศาสตร์ทำ มาตามวิถี เหมือนสรงนํ้าพุทธเจ้าทุกนาที เพราะเรามีพระธาตุเนิ่นนานมา ผลงานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนวัดเทพนิมิตวนาราม จังหวัดชุมพร


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 173 ตัวอย่าง แบบประเมินผลการเรียนรู้


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 175 ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมิน กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ที่ใช้วิธีการและทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ ๓ ๒ ๑ การตั้งประเด็นคำ�ถาม กำ�หนดคำ�ถามสำ�คัญ หัวข้อ เกี่ยวกับเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาได้ สอดคล้องกับช่วงเวลา เหมาะสม ชัดเจน กำ�หนดคำ�ถามสำ�คัญ หัวข้อ เกี่ยวกับเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาได้ สอดคล้องกับช่วงเวลา แต่ยังไม่เหมาะสม ขาดรายละเอียด กำ�หนดคำ�ถามสำ�คัญ หัวข้อ เกี่ยวกับเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาได้ แต่ขาดความสอดคล้อง กับช่วงเวลา ไม่เหมาะสม หรือ ขาดรายละเอียด การรวบรวม หลักฐานข้อมูล Sourcing ทักษะการสืบค้นและ รู้จักเอกสารหลักฐาน ที่หลากหลาย เสนอวิธีสืบค้นหลักฐาน ประวัติศาสตร์ได้อย่าง เหมาะสม และระบุ หลักฐานทาประวัติศาสตร์ ที่ต้องการศึกษาได้ถูกต้อง มีตัวอย่างที่หลากหลาย เสนอวิธีสืบค้นหลักฐาน ประวัติศาสตร์ได้อย่าง เหมาะสม และระบุหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่ต้องการศึกษาได้ถูกต้อง มีตัวอย่างบางส่วน เสนอวิธีสืบค้นหลักฐาน ประวัติศาสตร์ได้ แต่ไม่เหมาะสมหรือ ไม่สามารถระบุหลักฐาน ประวัติศาสตร์ ที่ต้องการศึกษาได้ การวิพากษ์และประเมินค่า ของหลักฐาน Corroboration ทักษะการสร้างความเชื่อมั่น และประเมินค่าของหลักฐาน ระบุผู้แต่ง แหล่งที่มา ช่วงเวลาที่สร้างหลักฐาน ได้ถูกต้อง อธิบาย จุดประสงค์ สาระสำ�คัญ ในการสร้างหลักฐาน อย่างมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ แสดงเหตุผลในการประเมิน ความน่าเชื่อถือของ หลักฐานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สมเหตุสมผล ระบุผู้แต่ง แหล่งที่มา ช่วงเวลาที่สร้างหลักฐาน ได้ถูกต้อง อธิบาย จุดประสงค์ สาระสำ�คัญ ในการสร้างหลักฐาน ได้ถูกต้องบางส่วน แต่รายละเอียดไม่ครบถ้วน แสดงเหตุผลในการประเมิน ความน่าเชื่อถือ ของหลักฐานต่าง ๆ ได้แต่ไม่ชัดเจน ระบุผู้แต่ง แหล่งที่มา ช่วงเวลาที่สร้างหลักฐาน ได้ไม่ถูกต้อง ไม่บอกถึงจุด ประสงค์ สาระสำ�คัญ ในการสร้างหลักฐาน ไม่แสดงเหตุผล ในการประเมิน ความน่าเชื่อถือ ของหลักฐานต่าง ๆ การวิเคราะห์และ ตีความข้อมูลหลักฐาน Contextualizing ทักษะการเปรียบเทียบข้อมูล จากหลักฐาน ที่หลากหลาย เปรียบเทียบข้อมูล ข้อค้นพบ ที่ได้จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง สมบูรณ์และ อธิบาย ตีความความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลหลักฐาน ประวัติศาสตร์แต่ละ แหล่งได้อย่างสมเหตุสมผล ครบถ้วน เปรียบเทียบข้อมูล ข้อค้นพบ ที่ได้จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ได้บางส่วน และอธิบาย ตีความ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หลักฐานประวัติศาสตร์ สมเหตุสมผลบางส่วน เปรียบเทียบข้อมูล ข้อค้นพบที่ได้จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถอธิบาย ตีความความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลหลักฐาน ประวัติศาสตร์ได้ การเรียบเรียง สรุปข้อมูล และการนำ�เสนอ เรียบเรียงข้อมูลที่ค้นพบ ได้อย่างต่อเนื่อง ตามลำ�ดับเวลา สอดคล้อง กับบริบททางประวัติศาสตร์ โดยการมียกเหตุผล พร้อมอ้างอิงหลักฐานประกอบ ได้อย่างเหมาะสม สมเหตุสมผล ชัดเจน เรียบเรียงข้อมูลที่ค้นพบ ได้อย่างต่อเนื่อง ตามลำ�ดับเวลา สอดคล้อง กับบริบททางประวัติศาสตร์ บางส่วน โดยการมียกเหตุผล พร้อมอ้างอิงหลักฐานประกอบ แต่ขาดรายละเอียด ไม่เหมาะสม ไม่สมเหตุสมผล นำ�เสนอข้อมูลที่ค้นพบได้ ไม่ถูกต้อง ขาดความต่อเนื่อง ตามลำ�ดับเวลาหรือ ขัดแย้งกับบริบททาง ประวัติศาสตร์ ขาดการยกเหตุผล และ การอ้างอิงหลักฐานประกอบ


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 176 ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมิน การนำ เสนอผลการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รูปแบบ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ Timeline และ หนังสือเล่มเล็ก ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ ๓ ๒ ๑ การนำ�เสนอข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ ในรูปแบบเส้นเวลา ทางประวัติศาสตร์ Timeline แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของเส้นเวลาทาง ประวัติศาสตร์ Timeline ได้ตามตามลำ�ดับ ของช่วงเวลา ทางประวัติศาสตร์ ได้ถูกต้อง แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของเส้นเวลา ทางประวัติศาสตร์ Timeline ได้ตาม ตามลำ�ดับของช่วงเวลา ทางประวัติศาสตร์ ได้ถูกต้อง แต่รายละเอียด เนื้อหา สาระสำ�คัญ ไม่ครบถ้วน แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของเส้นเวลาทาง ประวัติศาสตร์ Timeline ไม่ตามลำ�ดับของช่วงเวลา ทางประวัติศาสตร์ และรายละเอียด เนื้อหา สาระสำ�คัญ ไม่ครบถ้วน การนำ�เสนอข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ ในรูปแบบ หนังสือเล่มเล็ก แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของหนังสือเล่มเล็ก ได้ถูกต้องตามลำ�ดับ ของช่วงเวลา ทางประวัติศาสตร์ เนื้อหา สาระสำ�คัญ ครบถ้วน สอดคล้องกับ บริบททางประวัติศาสตร์ มีการยกเหตุผล พร้อมอ้างอิง หลักฐาน สมบูรณ์ ชัดเจน แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของหนังสือ เล่มเล็ก ได้ถูกต้อง ตามลำ�ดับของช่วงเวลา ทางประวัติศาสตร์ แต่เนื้อหา สาระสำ�คัญ ไม่ครบถ้วน ขาดรายละเอียด ไม่สอดคล้องกับบริบท ทางประวัติศาสตร์ มีการยกเหตุผล แต่ขาดการอ้างอิงหลักฐาน แปลงข้อมูลเพื่อนำ�เสนอ ในรูปแบบของหนังสือเล่มเล็ก ไม่ถูกต้องตามลำ�ดับ ของช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เนื้อหา สาระสำ�คัญ ไม่ครบถ้วน หรือไม่สอดคล้อง กับบริบททางประวัติศาสตร์ ขาดการยกเหตุผลและ การอ้างอิงหลักฐาน องค์ประกอบของ หนังสือเล่มเล็กต่อไปนี้ ครบทุกองค์ประกอบ - ความสะอาด เรียบร้อย - ลายมือสวย - มีภาพประกอบ อย่างสร้างสรรค์ - มีการจัดวางเนื้อหา ได้สัดส่วน ขาดองค์ประกอบของ หนังสือเล่มเล็กต่อไปนี้ ๑ องค์ประกอบ - ความสะอาด เรียบร้อย - ลายมือสวย - มีภาพประกอบ อย่างสร้างสรรค์ - มีการจัดวางเนื้อหา ได้สัดส่วน ขาดองค์ประกอบของ หนังสือเล่มเล็กต่อไปนี้ ๒ องค์ประกอบ ขึ้นไป - ความสะอาด เรียบร้อย - ลายมือสวย - มีภาพประกอบ อย่างสร้างสรรค์ - มีการจัดวางเนื้อหา ได้สัดส่วน


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 177 ตัวอย่างแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายกลุ่ม


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 178 ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมิน ทักษะเเละกระบวนการกลุ่ม


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 179 บรรณานุกรม กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๓). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย จะเรียนจะสอนกันอย่างไร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา. สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๖๓). การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๗). แนวการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำ นึกความเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำ�กัด สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๖๓). แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๘). เอกสารการจัดการเรียนการสอน ที่มีแนวปฏิบัติที่ดีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำ�กัด สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๗). “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู” แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงสำ หรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th (วันที่ค้นข้อมูล ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. อุทยานประวัติศาสตร์เสมือนจริง (Virtual History Park). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th (วันที่ค้นข้อมูล ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓)


แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านเเหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 180 คณะผู้จัดทํา ที่ปรึกษา นายอำ�นาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำ�นวยการสำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางเบญจลักษณ์ นํ้าฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางสาวธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำ�นวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา คณะผู้เขียน รองศาสตราจารย์ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำ� คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม นักวิชาการศึกษา สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นายสิทธิชัย คงนวน ครูโรงเรียนวัดเทพนิมิตวนาราม สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๒ นายขจรศักดิ์ สอนแพร ครูโรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ จัดพิมพ์ต้นฉบับ นางสาวมณฑาทิพย์ มรกต นางสาวพรชนัน บุญประเสริฐ พนักงานบันทึกข้อมูล สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา พิสูจน์อักษร นางสาวสุชาดา อร่ามเรือง เจ้าหน้าที่ สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ว่าที่ร้อยตรีหญิงภูษณิศา สังข์ช่วย เจ้าหน้าที่ สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา บรรณาธิการกิจ นางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม นักวิชาการศึกษา สำ�นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา


ผานแหลงเรียนรูทางประวัติศาสตรในทองถิ่น ประวัติศาสตร แนวทางการจัดการเรียนรู สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการเเละมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เเนวทางการจัดการเรียนรูประวัติศาสตรผานเเหลงเรียนรูทางประวัติศาสตรในทองถิ่น สถาบันสังคมศึกษา สวก. สพฐ.


Click to View FlipBook Version