ประเภท
ละครไทย
นางสาว ปิยนันท์ อ้นชาลี
เลขที่ 13 ม.6/1
เสนอ อาจารย์ สินีนาถ ชื่นจิตต์
ละครชาตรี
ละครชาตรี นับเป็นละครที่มีมาแต่สมัยโบราณ และมีอายุเก่า
แก่กว่าละครชนิดอื่นๆ มีลักษณะเป็นละครเร่คล้ายของอินเดีย
ที่เรียกว่า "ยาตรี"
ผู้แสดง
ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน มีตัวละครเพียง ๓ ตัว
คือ ตัวนายโรง ตัวนาง และตัวตลก
สถานที่แสดง
ใช้บริเวณบ้าน ที่กลางแจ้งหรือศาลเจ้าก็ได้
การแต่งกาย
ไม่สวมเสื้อแต่แต่งตัวยืนเครื่อง
ละครนอก
เป็นละครรำที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เล่นนอกวังให้
ชาวบ้านดู มุ่งการดำเนินเรื่องที่รวดเร็วสนุกสนาน
ผู้แสดง
ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน และเริ่มมีผู้หญิง
แสดงละครนอก ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แต่เป็นละครหลวง
สถานที่แสดง
นอกพระราชฐาน
การแต่งกาย
ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบ ถ้าแสดงบทเป็น
ตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงาม
มากขึ้น
ละครใน
พัฒนามาจากรูปแบบละครนอก แบบละครนี้ใช้แสดงในวัง
หลวงเท่านั้น มีท่ารำและคำประพันธ์ที่งดงาม อ่อนช้อย มัก
นิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์
ผู้แสดง
ใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน
สถานที่แสดง
แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่
การแต่งกาย
พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้ง
ตัวพระ และตัวนาง
ละครดึกดำบรรพ์
เกิดจากการที่เจ้าพระยาเทเวศร์ลงศ์วิวัฒน์นำโอเปร่าของ
ยุโรปมาปรับปรุงให้เป็นโอเปร่าของไทย โดยจัดแสดงครั้ง
แรกที่โรงละครดึกดำบรรพ์ จึงมีชื่อตามโรงละคร
ผู้แสดง
ใช้ผู้หญิงล้วนซึ่งต้องมีเสียงดีและงดงาม
สถานที่แสดง
มักแสดงตามโรงละครทั่วไป เพราะต้องมีการจัดฉากประกอบ
ให้ดูสมจริงมากที่สุด
การแต่งกาย
เหมือนอย่างละครในที่เรียกว่า “ยืนเครื่อง”
ละครพันทาง
เป็นละครแบบผสม เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญ
กุล)นำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกของท่านให้มี
แนวแปลกออกไป
ผู้แสดง
มักนิยมใช้ผู้แสดงชาย และหญิงแสดงตามบทบาทตัวละครที่
ปรกกฎในเรื่อง
สถานที่แสดง
แสดงบนเวที มีการจัดฉากไปตามท้องเรื่อง
การแต่งกาย
ไม่แต่งกายตามแบบละครรำทั่วไป แต่จะแต่งกาย
ตามลักษณะเชื้อชาติ
ละครร้อง
ละครร้องกำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากการได้รับอิทธิพลจากต่าง
ประเทศ
ละครร้องสลับพูด
มีทั้งบทร้องและพูดผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน
ยกเว้นตัวตลก
ละครร้องล้วนๆ
ใช้วิธีร้องโต้ตอบเป็นทำนอง
การแต่งกาย
แต่งตามบทบาทของตัวละคร
ละครพูด
ละครพูดใช้ท่าในชีวิตประจำวัน มี 3 แบบ ละครพูดล้วนๆ
ละครพูดร้อยกรอง ละครพูดสลับลำ
ละครพูดล้วนๆ
ดำเนินเรื่องด้วยการพูดแบบธรรมชาติ
ละครพูดร้อยกรอง
ดำเนินด้วยคำประพันธ์ชนิดคำกลอน
ละครพูดสลับลำ
ดำเนินเรื่องด้วยการพูดแต่ความสำคัญ
ละครเสภา
พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงปรับปรุง
ขึ้นใหม่ โดยทรงนำเอาเสภารำมาผสมกับละครพันทาง และยึดรูป
แบบของการแสดงละครพันทางเป็นหลัก
ผู้แสดง
ใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงตามบทบาท
สถานที่แสดง
แสดงบนเวที มีการจัดฉากไปตามท้องเรื่อง
เช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์
การแต่งกาย
แต่งกายแบบละครพันทาง
ละครหลวง
วิจิตรวาทการ
หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร เป็นทั้ง
นักการทูตและนักประวัติศาสตร์ ท่านจึงมองเห็นคุณค่าทางการละครที่จะใช้เป็นสื่อปลุกใจ
ให้ประชานเกิดความรักชาติ จึงเกิดละครนี้ขึ้น
ผู้แสดง
ผู้ชายและผู้หญิงตามเนื้อเรื่อง
ดนตรี
บรรเลงด้วยวงดนตรีไทย และวงดนตรีสา
การแต่งกาย
สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และถูกต้องตามประวัติศาสตร์