The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ข้อมูลชุมชนบางหลวง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ข้อมูลชุมชนบางหลวง

ข้อมูลชุมชนบางหลวง

Keywords: บางหลวง

1


2


3 สารบัญ หน้า ความเป็นมาชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 - ตลาดบน - ตลาดกลาง - ตลาดล่าง - พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง - โรงยาฝิ่น - ร้านตีเหล็ก - ร้านขายยาจีนสมุนไพร - ร้านทันตกรรมโบราณ - โรงวิกหนังบางหลวง - ร้านทองโบราณ - ร้านบัดกรีโลหะ - บ้านดนตรีจีน - ร้านถ่ายรูปเงาศิลป์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในชุมชนบางหลวง - ตรุษจีนและแห่ธงอวยพรฉลองตรุษจีนชุมชนบางหลวง - งานประจำปีวัดบางหลวง - ประเพณีแห่เทียนพรรษา - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีสงกรานต์ - การแต่งงาน - เจ้าแม่ทับทิม - เทศกาลกินเจ - ประเพณีตรุษจีน 1 3 3 4 5 5 5 6 6 6 7 7 7 8 8 9 11 11 12 12 13 13 15 15 16


4 สารบัญ(ต่อ) หน้า - เทศกาลไหว้พระจันทร์ - ประเพณีทิ้งทาน อาหารพื้นถิ่น - ชุนเปี๊ยะ - เป็ดพะโล้สูตรแต้จิ๋ว - ขนมจีบโบราณ - ขนมสาลี - ร้านขนมโบราณ - ก๋วยจั๊บน้ำใส - ก๋วยเตี๋ยวตุ๋นยาจีน (เนื้อตุ๋น หมูตุ๋น) ศิลปกรรมในชุมชน - วงดนตรีรวมมิตรบางหลวง - หนังตะลุง - ลิเก (โรงลิเกเก่า) - สุสานเรือสำเภา - ธรรมมาส วัดบางหลวง - ซุ้มพระ - สถาปัตยกรรมบ้านเก่าเหล่าเต้งไม้ สถานที่สำคัญ - วัดบางหลวง - ประวัติและความเป็นมาของวัดบางหลวง - เกจิดังวัดบางหลวง - โรงเจบ้วนฮกตั๊ว - ศาลเจ้าแม่ทับทิม - โรงเรียนเจี๊ยนหัว - โรงเรียนวัดบางหลวง ภาคผนวก 17 17 17 17 18 18 19 19 19 20 20 20 22 22 23 23 23 24 25 25 25 27 29 30 30 31 32


1 ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เป็นหนึ่งในชุมชนที่เก่าแก่ชุมชนแห่งหนึ่งในนครปฐม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ท่าจีน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเริ่มก่อตั้งชุมชนประมาณปีพุทธศักราช 2447 ตรงกับ ร.ศ. 122 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประกาศจัดตั้ง มณฑล อำเภอและตำบลขึ้น มีชื่อว่า "ชุมชนตลาดบางหลวง" ในอดีตเคยชุมชนการค้าริมแม่น้ำท่าจีนที ่มีขนาดใหญ่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเดินทางในสมัยก่อนเดินทางใช้การสัญจรทางน้ำทางเดียว ทำให้ สะดวกต่อการขนส่งแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้า ต่อมาเมื่อมีความเจริญทางคมนาคมส่งผลให้ตลาดมีความซบเซา ลง แต่ยังคงมีความสำคัญการในการเป็นชุมชนย่านเก่าที่มีคุณค่าในจังหวัดนครปฐมที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ความเป็นมาชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เป็นตลาดโบราณที่มีอายุกว่า 100 ปีตั้งอยู่ที่อำเภอบางเลนจังหวัดนครปฐม มีลักษณะเป็นห้องแถวไม้โบราณ 2 ชั้น หรือ “เหล่าเต๊ง” ที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีน ตั้งอยู่ใน ลักษณะทอดยาวติดกันทั้งสองฟากตั้งแต่ถนนถึงแม่น้ำท่าจีน มีจำนวน 130 ห้อง หรือยาวประมาณ 200 เมตร มี สภาพความค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งในความเป็นตลาดและการอยู่อาศัย บรรยากาศของตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ราย ล้อมไปด้วยบรรยากาศร้านค้าเก่าที่มีมากกว่า 50 ร้าน มีการดำเนินการค้าหรือการประกอบอาชีพที่ต่อเนื่องมาจาก อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการปรับปรุงพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่ยังคงมีลักษณะกิจการแบบดั้งเดิมอยู่เช่นใน อดีต เช่น ร้านขนมโบราณที่ขายหมากฝรั่งมวนบุหรี่ตราแมวสีดำ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์และหมากฝรั่งตรานกแก้ว ร้านถ่ายรูปเงาศิลป์ร้านทัตกรรมโบราณ ร้านยาจีนสมุนไพร เป็นต้น ทำให้ตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ปัจจุบันไม่ เพียงแต่เป็นตลาดโบราณ ยังเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ของเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ การกำเนิดขึ้นของตลาดเก่าบางหลวง ร.ศ. 122 เริ่มต้นจากบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้อพยพมาจาก ซัวเถา มณฑลกวางตุ้งประเทศจีนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เข้ามาตั้งรกรากและประกอบอาชีพในพื้นที่บางหลวง โดย แบ่งกลุ่มคนจีนที่เข้ามาทำมาหากิจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่หนึ่งมาทำอาชีพเกษตรกรรม ส่วนกลุ่มที่สอง


2 เป็นพ่อค้าแม่ขายอาศัยอยู่ในตลาดบ้านเก่าเหล่าเต็งไม้หรือเรียกคนแต่ละกลุ่มตามลักษณะการประกอบอาชีพเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เจ็กตลาด เป็นคนจีนที่ทำอาชีพค้าขายในตลาด กลุ่มสองคือ เจ๊กไร่ เป็นคนจีนที่ทำการเกษตร ส่วนกลุ่มสามคือ เจ๊กโรงหมูเป็นคนจีนที่เลี้ยงหมูและฆ่าหมูเป็นอาชีพ และด้วยชุมชนตลาดบางหลวงเป็นชุมชน ริมแม่น้ำที่มีการสัญจรและค้าขายทางน้ำที่สำคัญในจังหวัดนครปฐมที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดบางหลวงเป็นท่าขึ้น เรือขนส่งสินค้า เป็นตลาดที่แลกเปลี่ยนซื้อขายสำหรับที่ประชาชนในพื้นที่อำเภอบางเลนและพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามา ซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก การเกิดขึ้นของตลาดบางหลวงในยุคแรกมีเพียงร้านค้าไม่กี่หลังคาเรือน ขยับขยายจนกลายเป็นตลาด การค้า เช่น ร้านขายทอง ร้านทำฟัน ร้านขายยา ร้านตีเหล็ก วิกหนัง หรือแม้แต่โรงฝิ่น ทำให้เกิดจากการ แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวจีน ชาวไทย ชาวลาวโซ่ง จนตลาดบางหลวงกลายเป็นตลาดกลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่ สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอบางเลน เป็นจุดพักสินค้า เป็นแหล่งท่าเรือที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งในอดีต มีอยู่ด้วยกัน 3 ตลาด ได้แก่


3 ตลาดบน เป็นในยุคแรกๆ เพียงสองหลังคาเรือนเท่านั้นคือ ร้านเม่งหลีและบ้านหลงปู่เปี้ยน ร้านเม่งหลี ชาวบ้านเรียกขานชื่อว่า ผู้ใหญ่ช้วน แดงอุทัย เป็นคนที่มาอยู่ก่อน เป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นคนริเริ่มสร้างตลาดบนขึ้น ซึ่งอยู่ติดกับทางริมแม่น้ำท่าจีน เป็นตลาดห้องแถวชั้นเดียวหลังคามุงจากหันหน้าบ้าน เข้าหากันเลียบแม่น้ำทำจีน ยาวไปถึง โรงสีตรีสิงห์และตลาดนี้เป็นตลาดหลักที่ค้าขายดีที่สุด ในอดีตจะมีทั้งเรือใหญ่และเรือเล็กมาจอดเทียบ ยาวหน้าตลาด เพื่อมาหาซื้อและแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ต่อมาราวปีพ.ศ.2493 ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตัวบ้าน โดยมี การรื้อแล้วสร้างใหม่เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น และถูกไฟไหม้เมื่อปีพ.ศ. 2538 ตลาดกลาง สร้างโดยหลงจู๊เปี๊ยะ เป็นคนสร้างตลาดกลางขึ้น เป็นลักษณะบ้านไม้2 ชั้น มีร้านค้าขายทอง สองร้าน มีโรงยาฝิ่น โรงทำขนมจันอับ และมีร้านหมอสองร้านร้านแรก ร้านหมอเตี้ย รักษาโรคฉีดยา ร้านที่สอง ร้านหมอจง รักษาโรคกระดูก เมื่อก่อนท่าน้ำจะเป็นท่าจอดเรือขนส่งสินค้า จะมีเรือใหญ่มาส่งสินค้าวันละหลายสิบ ลำนี้ช่วงเช้าจะมีเรือสินค้าจอดกันเต็มหน้าตลาด มีคนจากที่อื่นต้องมาหาซื้อของขายของมาก และถูกไฟไฟม้ไปเมื่อ ปีพ.ศ. 2559 ตลาดล่าง เป็นที่ของกำนันสด โรจนสุรีเริ่มแรกก็เป็นตลาดบ้านชั้นเดียวเหมือนตลาดบน จนถึงปีพศ. 2492 จึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรื้อแล้วสร้างบ้านใหม่เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ขึ้นมายาวดลอดแนว พอสร้างเสร็จแล้วถึง กลับไปเริ่มรื้อและสร้างตลาดบนให้เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ในปัจจุบันตลาดล่างยังคงมีการดำเนินชีวิตที่สืบเนื่องมาแต่


4 อดีตแต่มีการปรับเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัยและความเจริญของสังคม แต่คนในชุมชนยังคงพยายามรักษา คุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้ ปัจจุบันตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลาดโบราณทำให้ตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสะดวกสบายขึ้น และจากการรับรู้ผ่าน สื่อโทรทัศน์เช่น ละครเรื่องคมแฝก รายการพินิจนคร รายการทั่วถิ่นแดนไทย หรือยูทูปเปอร์ที่นำเสนอเรื่องราว ของตลาดบางหลวง ภายในตลาดมีสินค้าหลายประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน พิพิธภัณฑ์เก่า ของกินหลากหลาย ชนิดจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหวาน ขนมโบราณ พร้อมทั้ง สามารถเลือกสินค้าหรือสั่งอาหารมานั่งรับประทาน พร้อมชมวิวบนแพรมแม่น้ำท่าจีน ในช่วงวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ จะมีการบรรเลงดนตรีจีนรวมมิตรบางหลวง วงคนตรีมาเล่นดนตรีให้ฟังฟรีบนแพ ส่งผลให้ตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วไปเพิ่มขึ้น


5 ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ชุมชน ที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนในท้องถิ่นหรือผู้ที่ สนใจ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง เป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่มีการฟื้นฟูตลาดบางหลวงให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้ตึกแถว 1 ห้องเป็นที่จัดแสดง ภายในจัดแสดงวัตถุข้าวของเครื่องใช้ในอดีต อาทิของ เล่น ตะเกียง วิทยุ ภาพถ่ายเก่า เครื่องดนตรีเครื่องมือเกษตร จักรยาน แตร รถเจ๊กหรือรถลาก ธนบัตรโบราณ แผ่นโฆษณาโบราณ ตะเกียง เป็นต้น โรงยาฝิ่น ในอดีตการสูบยาฝืนนั้นถูกกฎหมาย ชาวบ้านที่ได้มีการติดต่อค้าขายก็จะมาแวะพักสูบฝืนที่ แห่งนี้ต่อมาเมื่อมีกฎหมายเรื่องฝืนเป็นยาเสพติด โรงฝืนจึงถูกปิคตัวลงไปปัจจุบันยังคงรักษาโรงยาฝืนไว้เพื่อ ประชาชนที่สนใจจะได้เข้ามาศึกษา ร้านตีเหล็ก ร้านตีเหล็กศรีเจริญผล (เตียหง่วงฮะ) หรือพิพิธภัณฑ์บ้านตีเหล็กบางหลวง ซึ่งคุณลงลุงสมาน ช่างตีเหล็ก ที่ยังตีเหล็กและพร้อมสาธิตการตีเหล็กแบบจีนโบราณที่สืบทอดมากว่า 3 ชั่วอายุคน นอกจากนี้ยังมี ของสะสมเก่า ๆ ของให้ชมด้วย


6 ร้านขายยาจีนสมุนไพร เป็นร้านยาจีน สมุนไพรจีนเป็นสินค้าต่อคนในชุมชนบางหลวง ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ด้านการรักษาโรคจากชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยมมาอยู่ในประเทศไทยนับจากอดีตที่ยังคงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ของชาวจีนและชาวไทย ร้านทันตกรรมโบราณ เป็นร้านทำฟันปลอมแบบโบราณตลาดบางหลวงที่ยังคงเก็บรักษาอุปกรณ์ในการ ทำฟันไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ โรงวิกหนังบางหลวง เป็นวิกหนังเก ่าที่ในอดีตเคยเป็นที่ฉายภาพยนตร์ปัจจุบันแม้ว่าจะไม่ได้ฉาย ภาพยนตร์แล้ว ยังคงอนุรักษ์วิกหนังไว้ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาเข้ามาชม


7 ร้านทองโบราณ เป็นร้านทองในตลาดบางหลวงที่มีการจำหน่ายทองโบราณหายาก สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ เครื่องประดับของเก่า ของโบราณ ซึ่งมีรูปแบบของทองที่แตกต่างจากร้านทองในปัจจุบัน ร้านบัดกรีโลหะ ร้านเหลี่ยวฮัวหลีเป็นร้านเชื่อมต่อโลหะในชุมชนที่ใช้หัวแร้งบัดกรีและตะกั่วบัดกรีใน การเชื่อมประสานกับชิ้นงาน กิจการที่ทำได้แก่ ประตูเหล็ก รางน้ำ อุปกรณ์การเกษตรที่ทำด้วยโลหะ อลูมิเนียม ขายคนในชุมชน เกษตรกร ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว แต่เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ บ้านดนตรีจีน บ้านดนตรีจีน เป็นที่จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องดนตรีจีน และเปิดสอนดนตรีจีนให้กับเยาชนใน ชุมชนและให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และมีการเล่นแสดงโชว์นักท่องเที่ยวในวันหยุด หรือตาม กิจกรรมการเรียนรู้จากบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการเล่นดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง


8 ร้านถ่ายรูปเงาศิลป์เป็นร้านถ่ายรูปโบราณที่อยู่คู่ชุมชนมามากกว่า 50 ปีมีอุปกรณ์ถ่ายรูปแบบโบราณให้ ศึกษาเรียนรู้และปัจจุบันยังคงดำเนินกิจการอยู่แต่มีการปรับกิจการในรูปแบบสมัยใหม่ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เป็นตลาดที่ติดริมแม่น้ำที่มีแม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นทางสัญจรหลัก และมี คลองบางหลวงเป็นเส้นทางสัญจรในชุมชนที่เชื่อมระหว่างวัด ตลาด และประชาชนที่ไม่ได้มีบ้านเรือนตั้งถิ่นอยู่ริม แม่น้ำท่าจีน โดยความสำคัญของแม่น้ำท่าจีนและคลองบางหลวง คือ การเป็นเส้นทางสัญจรจากบ้านมาสู่ตลาด และทั้งจากคนในชุมชนและในพื้นที่ใกล้เคียงที่ต้องอาศัยเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแม่น้ำท่าจีนและคลองบางหลวงเพื่อดำรงชีวิต ทั้งในเรื่องของการอุปโภคและการบริโภค และใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการเกษตร เช่น การทำนา การทำสวน และการทำไร่มาจนถึงทุก วันนี้จนกระทั่งปีพ.ศ. 2543 ช่วงกลางเดือนเมษายน ได้เกิดวิกฤตการณ์แม่น้ำท่าจีนเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อ


9 ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเน่าเสีย มีสีดำและส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ส่งผลต่อปัญหา สุขภาพจิตของคนในชุมชน การเน่าเสียของน้ำเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทำให้สัตว์น้ำลอยตายไปทั่วบริเวณริม ตลาดบางหลวง การเกิดการเน่าเสียของแม่น้ำท่าจีนในครั้งนี้เนืองจากชาวนาในเขตอำเภอสองที่น้อง จึงหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในที่นา ต่างก็ระบายน้ำออกจากนาข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้นาข้าวเกิดน้ำท่วม มีการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำ ท่าจีน ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในแม่น้ำต่ำ เกิดน้ำเน่าเสียขึ้น หน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังคือ ชมรม เรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม ได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล ตรวจสอบคุณภาพน้ำทุกวัน เพื่อแก้วิกฤตคุณภาพของน้ำ และในปัจจุบันผู้นำชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 มีแนวคิดการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน โดยร่วมมือกับชาวบ้านใน ชุมชนนำสารปรับสภาพน้ำเทลงในแม่น้ำท่าจีน เพื่อให้บริเวณตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 มีสภาพน้ำให้ใสสะอาดเพื่อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ปัจจุบันมีสัตว์น้ำมากมายหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำท่าจีนบริเวณตลาดบางหลวง เช่น ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาตะเพียนทอง ปลาแรด ปลากระทิง กุ้ง และ เต่า เป็นต้น สำหรับการ จัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางหลวงนั้น มีระบบจัดการที่ดีจำนวนปริมาณขยะลดลงชาวบ้าน ในชุมชนร่วมมือกันไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำและภายในตลาค ส่งผลให้ชุมชนตลาดบางหลวงมีความสะอาดและน่าอยู่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในชุมชนบางหลวง ชุมชนบางหลวงเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากอยู ่บนผืน แผ่นดินไทยมาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยในพื้นที่ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้แต่ด้วยความที่มีเชื้อชาติจีนมากกว่าร้อยละ 70 มีการใช้ภาษาจีนและภาษาไทย มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเครือญาติของชาวบ้านทำให้เกิดความสัมพันธ์กัน


10 อย่างใกล้ชิด มีความผูกพันสามัคคีเพราะทุกคนนับถือกันเป็นญาติพี่น้อง เสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแสดงให้เห็นผ่านการเรียกขานกันในอดีตและการดำรงชีวิตในแต่ละวัน ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีงานบุญประเพณีต่าง ๆ เมื่อมีคนในชุมชนกำลังปลูกสร้างบ้านเรือน หรือซ่อมแซม ใครที่พบเห็นหรือมีเวลาว่างก็จะมาช่วยกัน โดยไม่มีสิ่งตอบแทน การดูแลกันเมื่อยามเจ็บป่วย มีสูตรยาดีหรือ สมุนไพรก็จะนำมาให้การแบ่งปันอาหารหรือผลผลิตทางการเกษตร เช่น บ้านไหนทำอาหารเป็นจำนวนมาก ก็จะตักแจกจ่ายให้แก่บ้านใกล้เคียง บ่งบอกถึงความเป็นญาติมิตร คนในตลาดบางหลวงให้ความสำคัญกับการเคารพผู้อาวุโส และผู้นำชุมชน มีความรักและมีความเกรงใจ เมื่อสมาชิกมีการทำผิดจากกฎที่ชุมชนตั้งไว้ผู้ใหญ่บ้านหรือคนเฒ่าคนแก่ของชุมชน จะเรียกมาตักเตือนก่อน เพื่อ ไม่ให้มีการทำผิดอีก เหมือนการตักเตือนคนในครอบครัว เมื่อทำผิดและมีการปรับปรุงตนเอง คนในชุมชนก็พร้อม ให้อภัยเสมอ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนอดีต ไม่มีการอพยุพย้ายถิ่นฐานออกไปนอกตลาด เนื่องจาก ชาวบ้านในตลาดสามารถประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้จากความเจริญของตลาดในสมัยนั้น มีแต่ผู้คนอพยพ เข้ามาในตลาดบางหลวงเป็นจำนวนมาก ทั้งคนไทย คนจีน คนลาวโซ่งคนมอญและคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจาก ตลาดบางหลวง มีความสะดวกสบายมากกว่าชุมชนอื่น การค้าขายในตลาดบางหลวงมีความเจริญรุ่งเรืองเพราะมี แม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดไหลผ่านชุมชน ทำให้ตลาดบางหลวงกลายเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจในสมัยนั้น ปัจจุบันสภาพสังคมในตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ได้เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของชาวบ้านในตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 จากเดิมเป็นครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัว เดี่ยว การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมีน้อยลง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนตลาดบางหลวง ไม่แนบแน่น เหมือนครั้งอดีต ซึ่งเป็นไปตามครรลองของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่ย่อมส่งผลกระทบต่อ ชุมชนไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ดีประชาชนในชุมชนบางหลวงก็ยังคงรักและหวงแหนคุณค่าและวัฒนธรรมดั้งเดิม ในอดีตของตนเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ชุมชนตลาดบางหลวงมีสถานที่สำคัญ ซึ ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือ คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือ ศาลอาม่า และวัดบางหลวง ยังมีการประพฤติปฏิบัติและยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและเทศกาลต่างๆ ต ่อเนื ่องกันมาตั้งแต ่อดีตจนถึงปัจจุบันกล ่าวคือในทุกเทศกาลชาวบ้านจะให้ ความสำคัญในการปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ ตรุษจีนและแห่ธงอวยพรฉลองตรุษจีนชุมชนบางหลวง เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน (คล้ายกับวันสงกรานต์ ของไทย) ในช่วง "วันตรุษจีน" จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนอย่างสะอาดสดใส ร้านค้าต่างๆ ต่างเต็มไปด้วย ผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพรในโอกาส


11 มงคล ในตลาดคราคล่ำไปด้วยผู้คน ที่มาซื้อปลา เนื้อสัตว์เป็ดไก่ ฯลฯ ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข เด็กๆ สวม เสื้อใหม่ ทานลูกกวาด ขนมหวาน เล่นพลุประทัด อย่างรื่นเริง ประเพณีแห่งธงอวยพรฉลองตรุษจีนเกิดขึ้นและอยู่คู่กับชุมชนตลาดบางหลวงมายาวนาน และยังคงดำเนิน อย่างต่อเนื่องทุกๆ ปีโดยในอดีตมีจุดเริ่มจากเจตนาเดิมที่ต้องการระดมทุนรับบริจาคเพื่อสร้างและพัฒนาโรงเรียน เจี้ยนหัว ในขบวนธง มีเด็กสาวหรือหญิงสาวถือกระดาษ"ตุ้ยเลี้ยง" และ "ธง" ที่เป็นถ้อยคำอวยพรอันไพเราะมั่งมีศรี สุข ร่ำรวยเงินทอง อายุมั่นขวัญยืน โชคดีมีสุขเด็กสาวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ถือกระดาษและธงในอดีต จะต้อง เป็นหญิงพรหมจรรย์ตุ้ยเลี้ยง หรือ คำมงคลอักษรจีนที่เขียนด้วยพู่กันอย่างพิถีพิถันบนกระดาษสีแดงในอดีตแทบ ทุกบ้านจะติดตุ้ยเลี้ยงไว้ที่ประตูด้านหน้าเพื่อความเป็นสิริมงคล ขบวนแห่รอบตลาด เมื่อผ่านบ้านใดก็จะมอบตุ้ย เลี้ยงให้ไว้ถือว่าเป็นการอำนวยอวยพรแก่กัน แต่ปัจจุบันการอวยพรด้วย "ตุ้ยเลี้ยง" ได้เปลี่ยนมาใช้ "ส้ม"เป็นผลไม้ มงคลแทนเพราะแทบไม่มีใครสะบัดพู่กันเป็นอักษรจีนได้สวยงามเช่นในอดีต และแทบไม่มีใครติด "ตุ้ยเลี้ยง" ไว้ที่ หน้าบ้านอีกแล้วหัวสิงโตยุคแรกคือในขบวนสิงโต มีการเชิดสิงโต "บุ้งกี๋" งานประจำปีวัดบางหลวง งานวัดของชุมชนบางหลวง เป็นกิจกรรมที่มีหลักฐานปรากฎมาตั้งแต่ครั้งอดีต ในสมัยโบราณการจัด งานวัดส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองศาสนสถานและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด รวมถึงการนมัสการวัตถุสำคัญ ของวัดโดยช่วงค่ำคืนจะมีการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก และหนังตะลุง ซึ่งเป็นงานประจำปีของวัดที่จัดขึ้นในเดือน มีนาคมของทุกปีเพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน


12 ประเพณีแห่เทียนพรรษา แห่เทียนจำนำพรรษแห่เทียนพรรษาโรงเรียนบางหลวงวิทยา ได้ริเริ่มการแห่เทียนพรรษาขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นชุมชนแห่งนี้ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือต่อเนื่องกันมาทุกปีเด็กนักเรียนหญิงหน้าตาดีผิวพรรณ สะอาดสะอ้าน มักได้รับการคัดเลือกให้เป็น "นางฟ้า" นำหน้าขบวนแห่นางฟ้าในปัจจุบัน ประทับอยู่บนรถบุปผชาติ แต่นางฟ้าในอดีต สถิตบนรถ "สาลี่" จึงต้องทรงตัวให้ดีๆ มิให้หกหน้าหกหลัง หกคะมำ หกคะเมน ประเพณีลอยกระทง ด้วยชุมชนตั้งอยู่ริมน้ำ ประเพณีลอยกระทงจึงเป็นประเพณีหนึ่งที่ชุมชนให้ความสำคัญ และมีการสืบทอด มายาวนาน โดยมีความเชื่อเหมือนคนไทย คือ การสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่การทำบุญตักบาตร นับว่าเป็น การสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญในลักษณะ นี้มักจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาทำบุญก็จะนำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัดโดยจัดเป็นที่ รวมสำหรับการทำบุญ ในวันเดียวกันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณี


13 ที่สำคัญในวันสงกรานต์ได้แก่การรดน้ำ นับได้ว่าเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกัน น้ำที่นำมาใช้รดหัวในการนี้ มักเป็นน้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมด การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการ จัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติม การบังสุกุลอัฐิสำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็น ลักษณะของเจดีย์จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ มีความหมายกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ใน วันปีใหม่ไทย การแต่งงาน ชุมชนบางหลวงมากกว่าร้อยละ 70 เป็นคนไทยเชื้อสายจีน การแต่งงานแบบธรรมเนียมจีน เป็นสิ่งที่ อยู่คู่กับชุมชนมายาวนาน โดยเริ่มด้วย ทางฝ่ายพ่อและแม่ของคู่บ่าวสาวนำดวงของทั้งคู่ไปให้ซินแซ ดูฤกษ์หา วันที่ดีที่สุดให้เมื่อได้ฤกษ์และตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาเตรียมงานพิธีที่จะเกิดขึ้น โดยมีสิ่งที่ทางฝ่าย เจ้าบ่าวต้องจัดเตรียม คือ เครื่องขันหมาก ซึ่งมีสินสอดทองหมั้น ตลอดจนผลไม้ขนม เครื่องเซ่นไหว้แต่สิ่งที่ ขาดไม่ได้ก็คือ ส้มเซ้งผลสีเขียว ติดตัวอักษรจีน “ซังฮี่” แปลว่า “ความสุขยกกำลังสอง” ไว้ทุกผล จัดเป็นเลข คู่ ส่วนขนมหมั้นได้แก่ จันอับ ขนมเหนียวเคลือบเงา ขนมเปี๊ยะโรยงา ถั่วตัด ข้าวพองทึบ ขนมโก๋อ่อน เสริม ด้วยซาลาเปา พกท้อ สำหรับเจ้าสาวในการเตรียมของเพื่อออกเรือนจะมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย เริ่มจาก เอี๊ยมแต่งงานซึ่งเป็นเอี๊ยมสีแดง ตรงอกเสื้อเอื้อมมีช่องกระเป๋าปักตัวอักษร “แป๊ะนี้ไห่เล่า” แปลว่า อยู่กินกัน จนแก่เฒ่า ในกระเป๋าเอี๊ยมบรรจุห่อเมล็ดพืช 5 ชนิด มีความหมายว่าเจริญงอกงาม พร้อมต้นชุงเฉ้าหรือต้น เมียหลวง 2 ต้น และปิ่นทองที่ทำเป็นตัวลายภาษาจีนว่า “ยู่อี่” แปลว่า สมปรารถนา เสียบไว้ให้ปลายโผล่พ้น ขอบกระเป๋าขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเชือกแดงสำหรับผูกเอี๊ยมมีตัวหนังสือ “ซังฮี้” มีแผ่นหัวใจสีแดงสำหรับติด เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเพชร ซึ่งจะมีมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าสาว ไม่เพียงเท่านั้นเจ้าสาว ยังต้องเตรียมกะละมังสีแดง 2 ใบ ถังน้ำสีแดง 2 ใบ กระป๋องน้ำสีแดง 2 ใบ กระโถน 1 ใบ พร้อมกระจก กรรไกร ด้าย เข็ม ถาดสีแดง และของที่ต้องจัดเป็นจำนวนคู่อย่างตะเกียบ ชุดน้ำชา พัดแดง สำหรับเจ้าสาว ถือตอนส่งตัว อีกทั้งยังมีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม 1 ผืน หมอน 1 ชุด ซึ่งจะมี4 ใบ หรือ 5 ใบก็ได้ประกอบไปด้วย หมอนข้าง 1 คู่ หมอนหนุนใบยาว 1 ใบ ซึ่งหมอนใบยาวนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ถ้าเจ้าสาวฐานะดีพ่อแม่อาจจะจัด


14 เครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ให้ด้วย แล้วสุดท้ายยังมีหวีอีก 4 เล่ม ที่เป็นเคล็ดมงคลตามภาษาจีนเขียนว่า “ซี้ซี้อู่หอซิว” หมายถึงทุกๆเวลาจะได้มีทรัพย์โดยมีลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน คือ 1. เมื่อถึงฤกษ์หมั้น ฝ่ายชายยกขบวนมามอบสินสอด ทองหมั้นสวมแหวนและเครื่องประดับให้ เจ้าสาว เสร็จพิธีคู่บ่าวสาวและแขกรับประทานขนมอี้จากนั้นแบ่งขนมหมั้นให้กับญาติทั้งสองฝ่าย 2. เช้าวันแต่งงาน เจ้าสาวสวมชุดใหม่สวยงาม เสียบปิ่นยู่อี่ และประดับใบทับทิมที่ผม เมื่อใกล้ถึง ฤกษ์เจ้าสาวจะทานอาหารกับครอบครัว 3. เมื่อถึงเวลาเจ้าบ่าวมารับตัว บางบ้านอาจมีการกั้นประตูในช่วงนี้จากนั้นทั้งคู่ไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว (หากอาม่า อากง ยังมีชีวิตอยู่ ก็ไหว้ท่านก่อนยกน้ำชาให้ พ่อแม่เจ้าสาว) 4. ก่อนออกจากบ้าน คู่บ่าวสาวต้องทานขนมอี้จากนั้นพ่อส่งเจ้าสาวไปกับเจ้าบ่าว โดยมีญาติผู้ชาย ของเจ้าสาวถือตะเกียงเซฟ และกระเป๋าซึ่งบรรจุสมบัติส่วนตัวไปด้วย 5. เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว ทั้งคู่ต้องไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ รวมทั้งไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษ ของเจ้าบ่าว จากนั้นยกน้ำชาให้พ่อแม่เจ้าบ่าวและญาติผู้ใหญ่ เสร็จ แล้วคู่บ่าวสาวกินขนมอี้ 6. ฤกษ์เข้าหอ การปูเตียงต้องมีฤกษ์เมื่อผู้ใหญ่ปูเสร็จต้องวางส้มไว้ที่มุมเตียง และอีก 4 ผลวางใส่ จานที่มีตัวซังฮี้และใบทับทิมนำไปวางกลางเตียง 7. เช้าวันรุ่งขึ้น เจ้าสาวต้องยกน้ำล้างหน้าให้พ่อแม่สามีเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นน้องชายเจ้าสาวมารับ ทั้งคู่กลับไปกินข้าวที่บ้านฝ่ายหญิง ถือเป็นอันเสร็จพิธีแต่งงาน


15 เจ้าแม่ทับทิม ชุมชนตลาดบางหลวงมีความเชื่อกันว่าเจ้าแม่ทับทิม มีพระเมตตาช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ/ทางทะเล บรรเทาเหตุร้ายจากดินฟ้าอากาศและภัยพิบัติรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขับไล่ภูติผีปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ผู้ที่บูชาเจ้าแม่ ทับทิมเป็นประจำ จิตใจจะมีความสงบเยือกเย็นไม่มีโรคภัยเบียดเบียน การงานเจริญก้าวหน้าการบูชาเจ้าแม่ทับทิม บูชาด้วยผลไม้สุก ล้างให้สะอาด ใส่ภาขนะยกเป็นเครื่องเช่น (ถ้ามีทับทิมด้วยก็จะดีถ้าเป็นอาหารต้องไม่มีเนื้อสัตว์ อีกทั้งยังมีการกราบไหว้บูชา "ทีตี่แม่ป๊อ" หรือ เทพยดาฟ้าดิน 16 ขั้นฟ้า 15 ขั้นดินเทพยดาฟ้าดินมีบุญคุณกับ มนุษย์มากที่สุด การสักการะบูชาจะช่วยดลบันดาลชีวิตให้มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขและสมบูรณ์พูนผลศ การกราบไหว้เจ้าแม่ทับทิมและเหล่าเทพเจ้า เทพเจ้าเอี่ยม อ๊วง ตั้ว ตี่ และเหล่าแปะกง โรงเจจะมีการนำ งิ้วมาจัดแสดงให้เจ้าแม่กวนอิม มีศาลเจ้าแม่ให้องค์เทพและเจ้าแม่ขมปีละ 3 ครั้งกวนอิมและบ่อเต่ากลางน้ำ เพื่อให้คือเดือน 3, 7, 12 โดยในเดือน 7 จะมีคนมากราบไหว้ขอพร และทำทานด้วยประเพณีทิ้งกระจาด บริจาค สิ่งของการให้อาหารเต่าป้ายสถิตวิญญาณ ด้านหลังสุคือ ป้ายสถิตวิญญาณ ป้ายสลักชื่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เทศกาลกินเจ จะจัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปีเนื่องจากชาวบ้านในตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ส่วนใหญ่เป็นคน ไทยเชื้อสายจีน ถือศีล กินเจ และนุ่งขาวห่มขาวสวดมนต์พร้อมกันที่โรงเจเป็นประจำทุกปีตอนกลางคืนจะมีการ แสคงงิ้ว นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลกินเจมีกิจกรรมที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ กิจกรรมนมัสการศาลเจ้าแม่ทับทิมให้ มาพำนักอยู่ที่โรงเจเป็นเวลา10 วัน 10 คืน โดยชาวบ้านในตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เชื่อว่าการกระทำกังกล่าวเป็น การแสดงความขอบคุณและตอบแทนที่เจ้าแม่ทับทิมช่วยรักษาชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 ให้มีความสงบ เรียบร้อย พอกรบ 10 วัน ในการถืศีลกินเจจะนมัสการเจ้าแม่ทับทิมกลับไปที่ศาลเหมือนในช่วงเวลากลางคืนช่วง เทศกาลกินเจข้งมีการลอยกระทงกันที่อน้ำในโรงเจ เพื่อลอยเอาสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายออกไปจากชีวิต


16 ประเพณีตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีพิธีเฉลิมฉลองโดยจัดงานแห่ธงไปรอบตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 มีเด็กนักเรียน และผู้คนในตลาดบางหลวง ร.ศ.122 เป็นผู้เชิญธงด้วยการแบกไว้ที่บ่า เดินเป็นแถวยาวเรียงต่อ กัน บนผืนธงมีอักษรจีนปรากฏอยู่ซึ่งเป็นคำอวยพรที่เป็นศิริมงคล ต่อด้วยขบวนวงคนตรีจีน บรรเลงขับกล่อม ตลอดขบวน ช่วงเวลากลางคืนมีการจัดงานที่โรงเรียนเจี้ยนหัว ชาวบ้านจะมาแข่งขันกีฬาเพื่อสร้างความสามัคดี ของคนในชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เทศกาลไหว้พระจันทร์ ในเดือนธันวาคม คืนพระจันทร์เต็มดวง ชาวบ้านเกือบทุกบ้านในตลาดบางหลวงจะนำโต๊ะบูชาด้วยขนม และผลไม้มาตั้งหน้าบ้านเรียงราย เพื่อสักการะพระจันทร์ตามความเชื่อของชาวจีน ประเพณีทิ้งทาน เทศกาลสารทจีน จัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปีและ จะมีการจัดประเพณีทิ้งทาน (หรือทิ้ง กระจาด) ควบคู่กันไป โดยประเพณีการทิ้งทาน ทางกลุ่มผู้จัดงานจะทำการขอบริจาคสิ่งของต่าง ๆ ของชาวบ้าน


17 ตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 เช่น ข้าวสารและสิ่งของใช้จำเป็นต่าง ๆ ซึ่งในการทิ้งทาน ผู้จัดงานจะโยนติ้ว (ไม้ซี่เล็กๆ ที่มีตัวเลข) ลงบนพื้นดินเพื่อให้คนที่มารอรับทานยิ่งติ้วที่โยน ติ้วจะมีหมายเลขเพื่อนำมาแลกของรางวัล สำหรับความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ของชาวบ้านในชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 จากอดีตจนถึงปัจจุบันยังคงมีการอนุรักษัวัฒนธรรมทั้งจีนและไทยไว้อาทิเช่น การไหว้เจ้า การกินเจ การไหว้ พระจันทร์การกราบไหว้บรรพบุรุษและการจัดงานประจำปีศาลอาม่า แต่ในปัจจุบันนี้มีขาวบ้านบางกลุ่มได้ขาด ความสามัคดีในการทำกิจกรรม ประเพณีบางประเพณีการร่วมมือแบ่งออกเป็นสองฝ่าย เมื่อความเจริญเข้ามาใน ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ทำให้สภาพวัฒนธรรมและประเพณีแบบดั้งเดิมลดลง การปฏิบัติตามประเพณียังคง อยู่แต่ระดับของความเข้มข้นในการปฏิบัติตามธรรมเนียมและความร่วมมือลดน้อยลง ประกอบกับการเสียผู้เฒ่าผู้ แก่ที่ชาวบ้านให้ความเการพและมีความรู้ในวิธีการปฏิบัติตามประเพณีส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในการคำเนิน กิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ในชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ.122 สภาพทางสังคมของตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 มีเปลี่ยนแปลงไป ความเจริญเข้ามาสู่พื้นที่ ความขัดแข้ง ของคนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกันชาวบ้านในตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 จากเดิมเป็นครอบครัวขยาย ปัจจุบันจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมีน้อยลง ด้านวัฒนธรรมและประเพณียังคง ดำรงอยู่ได้ขาดแต่ความสามัคคีและความร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้านในชุมชน ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่หลากหลายและปัจจุบันยังนำมาใช้กันอยู่ทั้งในด้านวิถีการคำเนินชีวิต อาหารพื้นถิ่น ชุนเปี๊ยะ “ชุนเปี๊ยะ” ชุนเปี๊ยะนั้นเป็นขนมโบราณของคนจีน โดยคนไทยมักจะเรียกชื่อขนมชนิดนี้ว่า “ขนมบ้อง” เป็นเมนูขนมที่คนจีนนิยมทานเป็นของว่าง สูตรขนมชุนเปี๊ยะที่ทำขายในตลาดชุมชนบางหลวงนั้นเป็นสูตรที่ได้รับ การสืบทอดมารุ่นสู่รุ่นโดยใช้สูตรจีนโบราณ ไส้ข้างในจะทำมาจากใบกุยช่ายผัด กุ้งแห้ง และหมูหั่นชิ้นบางๆ เมื่อนำ แผ่นแป้งมาม้วนแล้วทอดให้กรอบ รสชาติจะกลมกล่อมมีทั้ง เค็ม มัน กรอบนอก นุ่มใน รสชาติชวนชิม ปัจจุบัน ขนมชุนเปี๊ยะกลายเป็น“ขนมยอดฮิต” ประจำตลาดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี


18 เป็ดพะโล้สูตรแต้จิ๋ว อาหารที่ผสมผสานระหว่างแพทย์จีนแผนโบราณ สูตรเครื่องยาจีนดีๆ หลายสูตร มาผสมต้มเป็ดพะโล้ เป็นสูตรเฉพาะของตัวเอง สำหรับการเลือกเป็ด ทางร้านเลือกใช้เป็ด ‘ปั๊วฉ่าย’ คือเป็ดที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างเป็ดเทศกับเป็ดพันธุ์ไข่ หรือพันธุ์เนื้อ นำมาต้มในน้ำพะโล้นาน 4 – 5 ชั่วโมงให้น้ำพะโล้แทรกซึมเข้าเนื้อ เป็ด แต่ไม่ทำให้เนื้อนุ่มจนเปื่อยยุ่ย ขนมจีบโบราณ ขนมจีบ เป็นหนึ่งในอาหารคนจีนที่เรียกติ่มซำ สำเนียงกวางตุ้งแปลว่า ตามใจ ตามสั่ง เป็นอาหารว่างหรือ อาหารเรียกน้ำย่อยของจีน นิยมรับประทานกับน้ำชา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นคำเรียกรวมอาหารหลายอย่าง มักเป็นอาหารจำพวกปรุงด้วยการนึ่ง เช่นขนมจีบ ซาลาเปา ฮะเก๋า เกี๊ยวซ่า บรรจุในภาชนะขนาดเล็ก เช่น ในเข่ง ไม้ไผ่ หรือ จานใบเล็ก ขนมสาลี ขนมสาลี่ เป็นขนมท้องถิ่นของคนในจังหวัดสุพรรณบุรีลักษณะเป็นขนมเค้กทำจากแป้งสาลีผสมไข่ไก่ น้ำตาล ตีส่วนผสมจนฟูแล้วเทใส่ถาดขนม นำไปนึ่งจนสุก จะได้ขนมที่แป้งเค้กนุ่มฟูรสชาติหวานอร่อยกำลังดีโดย เพื่อให้เนื้อขนมนุ่มฟูมากขึ้นภายหลังจึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้แป้งเค้กแทนแป้งสาลีจนถึงปัจจุบันคำว่า ขนมสาลี่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้ผลไม้สาลี่ มาเป็นส่วนประกอบแม้แต่นิดเดียว นั่นก็เป็นเพราะ คำว่า สาลี่ นั้น เชื่อกันว่า เพี้ยนมา จากชื่อของตำบลสาลีซึ่งอยู่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีแหล่งกำเนิดและที่วางขายขนมสาลี่แห่งแรก


19 ร้านขนมโบราณ เป็นร้านขนมที่อยู่คู่ชุมชนมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันยังคงดำเนินกิจการอยู่ ร้านขนมโบราณในชุมชนจึง เป็นเสมือนการย้อนอดีตของวัยเด็กในสมัยโบราณ และยังให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมการกินอยู่ หรือการ เล่นของเด็กในสมัยโบราณเป็นอย่างไร โดยที่มีสินค้าให้เลือกซื้อที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ขนมรังผึ้ง ขนมใบไม้ ขนมขี้แมว หมากฝรั่งมวนบุหรี่ตราแมวสีดำ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์และหมากฝรั่งตรานกแก้ว เป็นต้น ก๋วยจั๊บน้ำใส กวยจั๊บ เป็นก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแตกต่างจากก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่นมากพอสมควร เพราะต้องใช้เส้น ก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเส้นกวยจั๊บสดปรุง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กวยจั๊บน้ำข้น และ กวยจั๊บ น้ำใส โดยที่ก๋วยจั๊บน้ำใสนั้นจะมีเครื่องปรุงเหมือนก๋วยจั๊บน้ำข้นทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงน้ำที่เป็นน้ำต้มกระดูกหมู เท่า โดยบางพื้นที่มักเรียกว่ากวยจั๊บญวนและใส่หมูยอ หอมเจียว พริกผัดเป็นต้น


20 ก๋วยเตี๋ยวตุ๋นยาจีน (เนื้อตุ๋น หมูตุ๋น) ร้านเส็ง เป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวมีทั้งหมูตุ๋นและเนื้อตุ๋น ที่มีจุดเด่นคือตรงเครื่องยาจีน ทางร้านมีการแยก โซนของหมูและเนื้อไม่ให้ปนกันให้กับคนที่ไม่ทานเนื้อ สามารถทานได้อย่างสบายใจ ประกอบกับบรรยากาศร้านที่ สามารถที่นั่งของร้านมีให้แต่ถ้าอยากนั่งริมน้ำก็ได้หอมเครื่องยาจีน หมูตุ๋นได้เปื่อยดี - ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ได้เครื่องมา เยอะ รสชาติน้ำซุปคล้ายก๋วยเตี๋ยวหมูแต่รสชาติและความหอมเข้มข้นกว่า เนื้อตุ๋นได้กำลังดี ศิลปกรรมในชุมชน วงดนตรีรวมมิตรบางหลวง ดนตรีจีนบางหลวง คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของชาวชุมชนบางหลวง และมีบทบาทอย่างมากกับ โรงเรียนภายในชุมชนบางหลวง โดยโรงเรียนในท้องถิ่นได้มีการนำดนตรีจีนบางหลวง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญ ช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดดนตรีจีนบาง หลวง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เมื่อในปีพ.ศ. 2547 มีคนไปพบเครื่องดนตรีจีนในโรงเจบ้วนฮกตึ๊ง และมี แนวคิดที่จะฟื้นฟูดนตรีจีนของชุมชนขึ้นมา เพื่อให้ดนตรีจีนของชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้งและมีการบริหารจัดการ งบประมาณและการทำงานในการฟื้นฟูดนตรีจีนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ก่อตั้งวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบาง หลวงที่มีชื่อว่า “วงรวมมิตรบางหลวง” ขึ้นมา โดยวงรวมมิตรบางหลวงได้จัดกิจกรรม ของท้องถิ่นขึ้นหลาย กิจกรรม อาทิเช่น สอนดนตรีจีนให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ร่วมแสดงดนตรีจีนในงานวันเกิดเจ้าแม่ทับทิมงานแห่ ธงตรุษจีน งานแสดงงิ้ว และงานเทศกาลกินเจ นอกจากนั้นยังเป็นงานอื่นๆ ทั้งงานแต่งงาน งานแสดงความเคารพ ศพ ส่งศพถึงสุสาน เป็นต้น โดยไม่เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเลย ด้วยการแสดงดนตรีจีนในงานต่างๆ นั้นทำ ให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือน วงดนตรีจีน “รวมมิตรบางหลวง” ได้สร้างชื่อเสียงด้วยการแสดงดนตรีจีน ให้กับชุมชนจนเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ของตำบลบางหลวง


21 ดนตรีจีนบางหลวงมีประวัติการเล่นที่ยาวนาน ประมาณไม่ต่ำกว่า 80 ปีเกิดขึ้นโดยชาวจีนในชุมชนทั้ง 3 กลุ่มที่มีความสามารถทางดนตรีมารวมตัวกันเล่นดนตรีในช่วงเย็น วัตถุประสงค์เพื่อให้คลายความคิดถึงบ้านของคน จีนที่อพยพมา ต่อมากลุ่มของอาจารย์กิมตี้แซ่ไหล ได้ก่อตั้งวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบางหลวงขึ้น โดยใช้เครื่อง ดนตรีจีนส่วนตัวที่นำติดตัวมาจากเมืองจีนบางคนก็สั่งซื้อเครื่องดนตรีจีน ด้วยการฝากเพื่อนที่เดินทางกลับประเทศ จีนซื้อกลับมาให้ประมาณปีพ.ศ. 2526 ดนตรีจีนได้รับความนิยมน้อยลง ผู้ที่สามารถเล่นดนตรีจีนได้มีจำนวน ลดลงน้อย จึงทำให้วงดนตรีจีนของชุมชนเริ่มสูญหายไป จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2547 มีคนไปพบเครื่องดนตรีจีนใน โรงเจบ้วนฮกตึ๊ง และได้มาบอกกับกลุ่มรักดนตรีจีน ได้แก่ อาจารย์พิบูลย์เลิศมโนรัตน์คุณวิรุฬเหลี่ยววงศ์ภูธร อาจารย์ชาลีศรีพุทธาธรรม ฯลฯ จึงได้ปรึกษาหารือกันถึงวิธีการฟื้นฟูดนตรีจีนของชุมชนบางหลวงเพื่อให้ดนตรีจีน ของชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง จึงได้ขอเงินสนับสนุนจากสมาคมศิษย์เก่าของโรงเรียนเจี้ยนหัว จำนวน 40,000 บาท จัดซื้อเครื่องดนตรีจีน (ฝ่ายบุ๋น) ให้กับชุมชน และมีการบริหารจัดการงบประมาณและการทำงานในการฟื้นฟู ดนตรีจีนขึ้นและได้ก่อเกิดวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบางหลวงที่มีชื่อว่า“วงรวมมิตรบางหลวง”เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีผู้นำชุมชนหลายๆ ท่านเช่นผู้ใหญ่สมศักดิ์อยู่มากที่ให้ความสนใจและมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูและ อนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีจีนให้สืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป จึงได้จัดหาสถานที่ให้เด็กได้ใช้เวลาว่างมาฝึกเล่นดนตรีจีน ที่บ้านดนตรีจีนสมาชิกวงดนตรีรวมมิตรบางหลวงนั้นมีจำนวนมากกว่า 100 คน แต่เนื่องจากสมาชิกเป็นนักเรียน


22 เมื่อจบการศึกษาจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอื่นทำให้สมาชิกต้องออกไปเนื่องจากไม่มีเวลาเรียนส่งผลให้วงดนตรีมี ปัญหาในเรื่องสมาชิกไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องครูที่จะสอนดนตรีจีนอีกด้วย วงรวมมิตรบางหลวงได้จัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่นขึ้นหลายกิจกรรม อาทิเช่น สอนดนตรีจีนให้เด็กและ เยาวชนในชุมชน ร่วมแสดงดนตรีจีนในงานวันเกิดเจ้าแม่ทับทิมงานแห่ธงตรุษจีน งานแสดงงิ้ว และงานเทศกาลกิน เจ นอกจากนั้นยังเป็นงานอื่นๆ ทั้งงานแต่งงาน งานแสดงความเคารพศพ ส่งศพถึงสุสาน เป็นต้น โดยไม่เรียกร้อง ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเลย ด้วยการแสดงดนตรีจีนในงานต่างๆ นั้นทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือน วง ดนตรีจีน “รวมมิตรบางหลวง” เอกลักษณ์สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง “รวมมิตร บางหลวง”คือการใช้โน้ตดนตรีจีนโบราณ ที่มีอายุมากกว่า 4,000 ปีเป็นตัวอักษรจีน หนังตะลุง หนังตะลุงในชุมชนบางหลวง มีโรงหนังตั้งอยู่ในวัดบางหลวง ลักษณะตัวละครตัวหนัง ดนตรีและเครื่อง ดนตรีประกอบและวิธีการเล่นคล้ายกับหนังตะลุงภาคใต้และภาคกลางผสมกัน โดยทำการแสดงตามงานสมโภช งานบุญ และงานแก้บน ซึ่งมีตลอดทั้งปีบางครั้งก็มีการแก้บนพ่วงไปกับการแสดงเพื่อความบันเทิงในเทศกาล งานวัดบางหลวง ลิเก (โรงลิเกเก่า) การแสดงลิเกเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงตามงานสมโภช เทศกาลงานวัด และงานแก้บน มีโรงลิเก ตั้งอยู่ในวัดบางหลวง


23 สุสานเรือสำเภา สุสานเรือสำเภา เจดีย์รูปทรงเรือ 2 หลัง เป็นสุสานที่บรรจุกระดูกของบรรบุรุษรุ่นแรกของคนในชุมชน ที่มี อายุกว่า 100 ปีสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2459 ซึ่งเป็นงานประติมากรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนโล้สำเภามาตั้งรกรากอยู่ ที่บางหลวง ธรรมมาส วัดบางหลวง เป็นธรรมมาส 2 หลัง ที่มีอายุกว่า 100 ปีธรรมาสน์ 2 หลัง หลังแรกสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 หลังที่สอง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2467 ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ ที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ลักษณะงานศิลปกรรม ยังคงมีความวิจิตรสวยงาม และได้รับการจดขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร ซุ้มพระ ซุ้มพระ 2 หลัง รูปทรงคล้ายมณฑป สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2457ปูนปั้นลวดลายสวยงามมาก สำหรับ ประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่หลังพระอุโบสถหลังเก่าซึ่งปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่ารื้อทิ้งแล้ว)


24 สถาปัตยกรรมบ้านเก่าเหล่าเต้งไม้ ลักษณะเป็นห้องแถวไม้โบราณ 2 ชั้น ยาวติดกันทั้งสองฟาก ตั้งแต่ถนนถึงแม่น้ำจำนวน 130 ห้อง หรือ ประมาณ 200 เมตร ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในสภาพสมบูรณ์ถือว่าเป็นอัตลักษณ์เฉพาะอย่างหนึ่งของบางหลวง ห้องแถว ไม้ตั้งขนานกับริมแม่น้ำท่าจีน ก่อสร้างโคยมีลักษณะเป็นเหล่าเต๊งไม้เหล่าเต้ง คือ ชั้นบนของบ้าน หรือที่พักอาศัย เช่น เขาขึ้นไปหยิบของบนเล่าเต๊ง ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีน ซึ ่งได้รับอิทธิพลมาตั้งแต ่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตลาดแห่งนี้ยังคงรายล้อมไปด้วยบรรยากาศร้านค้าเก่า ๆ ที่มี มากกว่า 50 ร้าน เป็นที่ตั้งของร้านค้า เป็นห้องแถวไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากัน ยาวจากหัวตลาดถึงท้ายตลาด ประมาณ ปัจจุบันยังคงสภาพความสวยงามและบรรยากาศ ของสถาปัตยกรรมตลาดเก่าในอดีตไว้อย่างสมบูรณ์ที่ สะท้อนรูปแบบวิถีชีวิต ที่เรียบง่าย ของคนในชุมชน


25 สถานที่สำคัญ วัดบางหลวง ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ เป็นที่ราบลุ่มมีแมกไม้นานาพันธ์ปลูกไว้ทั่วบริเวณวัด ล้อมรอบไป ด้วยหมู่บ้านต่างๆ ถึง 9 หมู่บ้าน ทิศตะวันออกเป็นเขตเทศบาลตำบลบางหลวง และหมู่บ้านหมู่ที่ 1,2,3 ทิศ ตะวันตกเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน หมู่ที่ 5, 6, 7, 8, 10 ทิศเหนือติดถนนหลวงและเป็นที่ตั้งของชาวบ้านหมู่ที่ 6 ทาง ทิศใต้มีคลองน้ำไหลผ่าน และมีทุ่งนาติดอยู่ของวัด ห่างจากวัด 50 เมตรมีหมู่บ้านอีกหมู่คือหมู่ 4 สถานีตำรวจภูธร ห่างจากวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กม. การคมนาคมสะดวกสบาย มีถนนเข้าออกได้ทั้งสี่ทิศ มีทางเรือวิ่ง เลียบผ่านชายวัดทางทิศใต้ออกแม่น้ำท่าจีน ประวัติและความเป็นมาของวัดบางหลวง วัดบางหลวงเริ่มสร้างประมาณปีพ.ศ. 2420 โดยประชาชนชาวบางหลวงกับพระครูส่วน วัดบาง หว้า เป็น ผู้ริเริ่มสร้าง เพราะเห็นว่า บางหลวงเป็นหมู่บ้านใหญ่ยังไม่มีวัดแต่พระครูส่วนไม่ได้อยู่จำ พรรษาที่วัด บางหลวงนี้ ให้หลวงพ่อทิมเป็นเจ้าอาวาสปกครองซึ่งไม่ทราบประวัติท่านแน่ชัด ต่อมาหลวงพ่อทิมได้มรณภาพลงก็มีหลวงพ่อ พุก หลวงพ่อชิด หลวงพ่อรอด ปกครองติดต่อกัน มาตามลำดับเมื่อถึงพ.ศ. 2450 พระอาจารย์แช่ม สุขสมกิจ ซึ่ง เป็นชาวบางหลวงได้ดำ รงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ปลุกสร้างเสนาสนะมีกุฏิมุง ด้วยแฝกคา และจากเป็นที่อยู่ อาศัยให้แก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งในครั้งนั้น มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำ พรรษาไม่ต่ำ กว่า 30 รูป ในสมัยนั้น เอง พระครูอุดตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตกได้มาเป็นผู้ดแลการก่อสร้าง พระอุโบสถและผูกพัทธสีมาจนเสร็จเรียบร้อย ในระหว่างนั้นหลวงพ่อทาได้สร้างวัตถุมงคลขึ้น 1 รุ่น สันนิษฐานว่า ทา ขึ้นเพื่อแจกบรรดาญาติโยม ผู้ร่วมทำบุญ ในการสร้างพระอุโบสถและฝังลูกนิมิต เป็น เหรียญหล่อหัวนมกลมขนาดกว้าง 1.8 ซ.ม. สูง 2.7 ซ.ม. เป็นเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ทองแดงและทองคำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปสมัยอยุธยาสวย งามมาก ด้านหลังมีอักขระ


26 ขอมคำ ว่า อุมะ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด จำนวนเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ตามคำ บอกเล่าท่านได้กล่าวว่า ได้ทำ พิธีเททองหล่อเหรียญที่วัดบาง หลวงจึงนับ ได้ว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อทาและเป็นรุ่นแรกของ วัดบางหลวงประชาชนนิยมบูชา วัตถุมงคลรุ่นนี้มากและเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ (ปัจจุบันนั้นหาได้ยากมาก) หลวงพ่อ ทาไปๆมาๆ ระหว่างวัดบางหลวงกับ วัดพะเนียงแตกจนต่อมาราว พ.ศ. 2460 พระอาจารย์แช่มได้ลาสิกขา ต่อมา ทายกทายิกาวัดบางหลวง ซึ่งมีขุนอภิบาลปัจฉิมเขตกับนายอากรเปี้ยน ศรีภิญโญ และนางสมบุญเป็นหัวหน้าได้ เดินทางไป อาราธนาหลวงพ่อวันสุวัณโณ วัดละมุด อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อ วันได้ 10 ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ทั้งยังได้สร้างกุฎีที่ทำ ด้วยไม้สักทรงสมัยโบราณ รวม 11 หลัง และศาลาการเปรียญอีก 1 หลังในช่วงที่หลวงพ่อวัน เป็นเจ้าอาวาสท่านได้จาริกไปลพบุรีและนำ วัตถุ มงคลจากกรุลพบุรีมามากแล้วท่านก็ได้บรรจุไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปปางอุ้ม บาตรหน้าพระอุโบสถเป็นพระ เนื้อชิน เงิน ชินตะกั่ว มีพระอุปคุต พระลีลา สองหนา้หน้าเดียว ด้านหลังมียันต์อุพระอุปคุตมีหน้าเดียวและ สองหน้า พระ หูยานปัจจุบันเปิดกรุแล้ว (เมื่อ พ.ศ. 2525 ) หายากพอสมควร ต่อมาราวปีพ.ศ. 2464- 2465 ท่านได้จัดให้มี โรงเรียนประชาบาลขึ้น โดยอาศัยศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่เรียน พ.ศ. 2474 ได้จัดให้มีสำนักศึกษาพระปริยัติ ธรรมโดยมีนายเฮง นางฮวย จุฑามณีร่วมสร้างอาคารเรียนทำ ด้วยไม้ผสมคอนกรีต (ปัจจุบันยังคงอยู่) กว้าง 7 เมตร ยาว 10 เมตร มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำ พรรษาประมาณ 50-60 รูป การปกครองในตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จนปีพ.ศ. 2479 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ตำบลสระสี่มุม และวัน ต่อมา ท่านก็ได้ รบการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์จนท่านอายุได้ 86 ปีก็มรณภาพด้วย โรคชราในวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2494 นับ ว่าท่านเป็น เจ้า คณะตำบลบางหลวงและอุปัชฌาย์องค์แรกของ ตำบลบางหลวง ปีพ.ศ. 2495 พระ อาจารย์ผ่อง อาภสฺสโร ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่วัน และเป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวงก็ได้รับตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสสืบมาในขณะที่ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส ท่านได้ก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีก และยังปรับปรุงซ่อมแซมกุฏิ เก่าให้มีสภาพคงเดิม ทั้งได้จัดสร้างโรงเรียน ประชาบาลศาลาการเปรียญหลังใหม่ เมรุสุสาน และพระอุโบสถหลัง ใหม่แทนหลังเก่าที่ชา รุดทรุดโทรมมาก และได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพ.ศ. 2515 ต่อมาท่านก็ได้รับการ แต่งตั้งเป็นเจา้คณะตำบลสระสี่มุม เมื่อปีพ.ศ.2495 ปีพ.ศ. 2502 เป็นพระครูประทวนกรรมการ ที่พระครูผ่อง อาภสฺสโร ปีพ.ศ. 2503 เป็นเจ้าคณะตำบลบางหลวง ปีพ.ศ. 2512 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้น เอกที่ พระครูประภัศร์ธรรมคุณปีพ.ศ.2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ลวงพ่อผ่อง ท่านเป็นพระตัวอย่างใน ด้านความ มักน้อยสันโดษชอบอยู่ในที่สงัด ไม่ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ไม่ถือตัว ตั้งตนอยู่ ในคุณธรรมอัน ดีงาม จนเป็น ที่เคารพนับถือของเหล่าบรรพชิตและคฤหัสถ์จน ปีพ.ศ. 2525 ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและ เจ้าคณะตำบลบางหลวงขออาศัยอยู่เป็นลูกวัดอย่างเดียว ท่านได้มรณภาพลงในวัน เสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2542 รวมอายุได้ 90 ปี 91 วัน พระครูใบฎีกาสง่า ธมฺมโชโต ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน พระครูประภัสร์ธรรมคุณ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2526 ถึงปีพศ.2531 ท่านก็มรณภาพลงด้วยอายุปี


27 พระสุชาติชาตเมโธ ก็ได้รักษาการเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึง ปีพ.ศ.2540 พระสวัสดิ์ธมฺมสุนฺทโร ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวงก็ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส สืบ ต่อมาจนถึงปีพ.ศ.2542 ท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส ปรีชา ภูริปญฺโญ ปธ.7 วัดพระงาม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มารักษาการเจ้าอาวาส พระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ ปธ.7 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหลวงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ท่านได้พัฒนาวัดสืบต่อจากเจ้าอาวาสรูปก่อนๆ จนถึงปัจจุบัน เกจิดังวัดบางหลวง หลวงพ่อทา พระคณาจารย์ยุค เก่าเมืองพระเจดีย์ใหญ่ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต บรรดานัก เลง และเสือร้ายทั้งหลายทั่ว เมืองต่าง เกรงกลัวบารมีของท่าน เวลามีงานประจำปีของวัดพะเนียงแตก มีประชาชน มา เที่ยวเป็นจำนวนมากกลับไม่ต้องใช้ตำรวจมารักษาความปลอดภัยและก็ไม่มีเรื่องนักเลงตีกันในวดัเกิดขึ้นเลย หลวงพ่อมีนามว่า ทา เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2379 ณ. ตำบลบ่อผกักดูอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีท่าน เป็น บุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน หลวงปู่วัน ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 6 เมื่อ พ .ศ. 2475 ต่อจากนั้น มา อีก 4 จนถึง พ.ศ. 2479 ท่านก็ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระคณาธิการในตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลสระสี่มุม และอีก 1 ปีต่อมาคือ พ .ศ. 2480 ท่าน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรในพระพุทธศาสนา ท่าน ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดบาง หลวงนี้เป็นเวลารวม 24 พรรษา ท่านเป็นผู้โอบอ้อมอารีมีความเมตตาต่อพระและชาวบ้านอีกทั้งยังพัฒนาวัดให้ เจริญรุ่งเรือง


28 หลวงพ่อผ่อง อาภัสสโร ท่านเป็นชาวบางระกำ อ.บางหลวง ซึ่งเป็น หลานของหลวงปู่วัน ได้มาปรนนิบัติ ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่อบวชเป็น พระภิกษุต่อมาได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศึกษาของวัดบางหลวง และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหลวง เมื่อ พ.ศ. 2495 ได้ก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีก ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซ่อมกุฏิเก่าให้มีสภาพที่มั่นคง แข็งแรง จัดสร้างโรงเรียนประชาบาลศาลาการเปรียญ สร้างเมรุทำ สุสาน 12 สร้าง พระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2515 มีเนื้อที่กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ทางคณะสงฆ์ได้เล็งเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถ มีปฏิปทา อย่างแน่วแน่ วัตถุมงคล เหรียญหล่อ หลวงพ่อผ่องวัดบางหลวง นครปฐม ซุ้มเสมาหลวงพ่อวันเนื้อนวะ ซุ้มเสมาหลวงพ่อ วันเนื้อ ระฆัง อาคารเสนาสนะต่าง ๆ อุโบสถ กว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตรเริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2514 เป็น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทรง ไทย มีช่อฟ้าใบระกา ตาม แบบศิลปากร แบบ ก. สร้างเสร็จปีพ.ศ. 2527 ภายในพระ อุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง รูปพุทธประวัติและพระเจ้าสิบชาติ หอสวดมนต์กว้าง 15 เมตร ยาว 31 เมตรเริ่มสร้างปีพ.ศ. เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก แบบทรงไทย สองชั้น มีช่อฟ้าใบระกา ชั้นบนเป็นหอสวดมนต์ชั้นล่างเป็นหอฉัน ภายในมีภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ปูชนียวัตถุ พระประธานประจำพระอุโบสถ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ หลังแรก หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2453 เมื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เสร็จก็ได้นำมา ประดิษฐานเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ เป็นที ่สักการะบูชา และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู ่วัดตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน จะเปิดให้ประชาชนปิดทองในงานประจำปี รอยพระพุทธบาท กว้าง 33 นิ้ว ยาว 89 นิ้ว เป็นปูชนียวัตถุที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ไหน มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด (เริ่มสร้างวัด ประมาณปีพ.ศ.2420) ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ ศาลา อเนกประสงค์ประชาชนจะปิดทองตั้งแต่เริ่มสร้างในวันขึ้น 7-8-9 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สูง 1.90 เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2453 สร้างพร้อมพระประธานประจำอุโบสถ หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ สูง 1.70 เมตร ประดิษฐาน ณ ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2455 หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง พระศรีอริยเมตไตย์ หน้าตักกว้าง 39 นิ้ว ประดิษฐาน ณ ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2455 หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง


29 รูปหล่อหลวงปู่ทา (พระครูอุตตรการบดี) วัดพะเนียงแตก และหลวงปู่วัน สุวัณโณ) หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ประดิษฐาน ณ วิหารวัดพบางหลวง เป็นรูปเคารพที่ประชาชนร่วมกันหล่อขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2500 พระพุทธรูปปางถวายเนตร สูง 2.10 เมตร ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2500 รูปหล่อหลวงพ่อผ่อง (พระครูประภัศร์ธรรมคุณ) หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ประดิษฐาน ณ พระวิหาร สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2539 พระพุทธรูปปางสมาธิ (หลวงพ่อเมตตา) หน้าตักกว้าง 80 นิ้ว ประดิษฐาน ณ มณฑปหลวงพ่อเมตตา สร้างปีพ.ศ. 2543 โบราณวัตถุ ซุ้มพระ 2 หลัง รูปทรงคล้ายมณฑป ปูนปั้นลวดลายสวยงามมาก สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่ หลังพระอุโบสถหลังเก่า (พระอุโบสถหลังเก่ารื้อทิ้งแล้ว) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2457 ธรรมาสน์ 2 หลัง หลังแรกสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 หลังที่สองสร้างเมื่อปีพ.ศ.2467 กรมศิลปากรจดขึ้น ทะเบียนไว้แล้ว ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ เจดีย์รูปทรงเรือ 2 หลัง สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2459 กรมศิลปากรจดขึ้นทะเบียนไว้แล้ว อยู่ข้างพระอุโบสถ หลังเก่า โรงเจบ้วนฮกตั๊ว โรงเจบ้วนฮกตั๊ว เป็น โรงเจเก่าแก่เคียงคู่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน ที่ตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ชุมชนตลาดบางหลวงแห่งนี้ในอดีตถือเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งริมแม่ โรงเจบ๊วนฮกตั้วเป็นสถานที่สำคัญของคนในชุมชน สำหรับกิจกรรมช่วงเทศกาลของคนจีนในชุมชน


30 ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแม่ทับทิมตั้งอยู่บนตลิ่งปากคลองบางหลวงที่ยื่นออกไปในแม่น้ำท่าจีนซึ่งในอดีตเป็นเส้นทางสัญจร และการค้าที่สำคัญเป็น จึงเป็นที่กราบไหว้ของคนจีนของคนในพื้นที่และที่สัญจรผ่านไปมา จึงถือว่าศาลเจ้าแม่ ทับทิมเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชนชาวจีนย่านตลาดบางหลวงมายาวนานกว่าร้อยปีทุกคนในชุมชนล้วนศรัทธา ต่อองค์เจ้าแม่ทับทิมที่เมตตาต่อชาวบางหลวงแห่งนี้ดังปรากฎเนื้อความสรรเสริญเจ้าแม่ทับทิมอยู่ในบทเพลงของ คณะดนตรีจีนแห่งตลาดบางหลวงที่จะใช้เล่นเป็นประจำในช่วงงานฉลองสำคัญของชาวชุมชนแห่งนี้ โรงเรียนเจี๊ยนหัว โรงเรียนเจี้ยนหัวเดิมชื่อ โรงเรียนวี่เฉียว ก7อตั้งเมื่อป: พ.ศ. 2467 จากนั้นใน พ.ศ. 2475 ดEวยความพรEอม แรงพรEอมใจของคนจีนในสมัยนั้น ไดEร7วมเปKดดำเนินการสอนอีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเปOนโรงเรียน “เกี่ยงฮัว ฮักหาว” (ภาษาแตEจิ๋ว) และในป: พ.ศ. 2486 ช7วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไดEมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเปOน “โรงเรียน เจี้ยนหัว”


31 ในป:พ.ศ. 2532 ไดEมีการรื้อถอนอาคารเรียนหลังเดิมซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรม และผุพังตามกาลเวลา เพื่อก7อสรEางโรงเรียนหลังใหม7 (อาคารเรียน1) เปOนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น เนื่องจากมีผูEปกครองตEองการ ใหEบุตรหลานเรียนรูEภาษาจีนมากขึ้นทุกวัน ทำใหEอาคารเรียนที่มีอยู7ไม7เพียงพอต7อความตEองการในป: พ.ศ. 2548 ทางคณะกรรมการของมูลนิธิและสมาคมศิษยfเก7าไดEมติอีกครั้ง เพื่อจัดหากองทุนเพื่อสรEางอาคารเรียนหลังที่ 2 ในป:พ.ศ. 2555 โรงเรียนไดEซื้อที่ดินเพิ่มอีก 2 แปลง จำนวน 34 ไร7 1 งาน 72 ตารางวา และไดEก7อสรEาง อาคารเรียนหลังที่ 3 เปOนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 1 หลัง ปgจจุบันโรงเรียนเจี้ยนหัวมีคณะกรรมการบริหาร โรงเรียน โดยนายพีระวัฒนf คEาธัญเอกมงคล เปOนผูEลงนามแทนผูEรับใบอนุญาตคณะเปOนผูEจัดการ และนางสาวสาลี วิบูลยfชาติ เปOนผูEอานวยการโดยเปKดสอนในระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาป:ที่ 6โดยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาจีนเปOนวิชาภาษาต7างประเทศ โรงเรียนวัดบางหลวง โรงเรียนวัดบางหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2465 โดยมีกรรมการ 3 คน คือ ขุนอภิบาล มัจฉเขตร์(นายแปลก สวัสดิ์กิจ) นายถมยา ศรีประมงค์ และ นายเปี้ยน ศรีภิญโญ โดยอาศัยศาลาการเปรียญ วัดบางหลวงเป็นโรงเรียน ต่อมาในปีพ.ศ.2497 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ 100,000 บาท สร้าง อาคารเรียนแบบ ป.2 ขนาด 10 ห้องเรียน ยาว 45 เมตร ในบริเวณเนื้อที่ของวัดบางหลวง 11 ไร่เศษ เสร็จ เรียบร้อยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2497 และทำพิธีเปิดป้ายเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2498 และในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2504–2506 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) พระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หรือสมเด็จพระวันรัต (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เสด็จวางศิลาฤกษ์อาคารหลังยาวโรงเรียน วัดบางหลวง ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


32 ภาคผนวก


33 ขอบเขตพื้นที่เดิมตามฐานข้อมูล ocd.onep.go.th ขอบเขตพื้นที่ใหม่ที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนตลาดบางหลวง


34


35


36 เอกสารอ้างอิง ทรูไอดี. (2564). เทศกาลกินเจ. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566. จาก https://travel. trueid.net /detail/OzAw2ngkN0a7 บดินทร์ศักดาเยี่ยงยงค์. (5 มีนาคม 2559). ขนมชุนเปี๊ยะของว่างโบราณทำเงิน. เดลินิวส์ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566. จาก https://d.dailynews.co.th/article/383696/ ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว และคณะ. (2554). การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมภูมิปัญญาดนตรีจีนชุมชนบางหลวงในรูปแบบ มัคคุเทศก์ท้องถิ่นและเรขศิลป์(การวิจัยแห่งชาติ249789) พงษ์ศิริเทพวงษ์. (2553). ประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร, นครปฐม ศิริพร หมอกใส. (2558). การเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์สลจ. 20(17). 39-51. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.). (2556). เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง. มูลนิธิสร้าง เสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน สำนักงานคณะสงฆ์ภาค14 (2564). ประวัติวัดบางหลวง. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566. จาก www.sangha14.org/index.php?url=temple&id=1097 สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2561). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดนครปฐม ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566. จาก http://cul.npru.ac.th/system/20181106090629_c9f834dd7a81843c372f7c42a4031ff8.pdf


Click to View FlipBook Version