The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chatimontee65, 2022-05-25 22:13:43

คู่มือนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.

คู่มือนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.

พระราชดารัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก

องคพ์ ระบิดาแห่งการแพทย์แผนปจั จุบันของไทย

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง
ประโยชนข์ องเพือ่ นมนุษย์ เป็นกจิ ทีห่ นึง่
ลาภ ทรพั ย์ และเกียรติยศ จะตกแกท่ ่านเอง
ถ้าทา่ น ทรงธรรมะแหง่ อาชีพไว้ใหบ้ รสิ ุทธ์ิ”
----------------------------------------------
“ฉันไมต่ ้องการให้พวกเธอเปน็ เพยี งหมอเทา่ นนั้
แต่ฉันต้องการใหพ้ วกเธอมคี วามเป็นมนษุ ยด์ ้วย "
-----------------------------------------------

พระบรมสาทสิ ลกั ษณ์พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศวร์ มหศิ เรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หวั
ประดษิ ฐานอย่ทู อ่ี าคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

คานา
คู่มือนิสิตแพทย์ฉบับนี้ จัดทาข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคู่มือสาหรับนิสิตในการดูแลตนเองตลอด
ระยะเวลาแห่งการศึกษา ณ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์
ทหารเรือ ซ่ึงประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร. ข้อมูลศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาช้ัน
คลินิกสมเด็จพระป่ินเกล้า สวัสดิการนิสิต หอพัก กิจกรรม และระเบียบวินัย อาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนระเบียบ
และ ข้อพึงปฏิบัติ เพ่ือลดปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคของนิสิตจนเป็นสาเหตุให้นิสิตไม่สามารถสาเร็จการศึกษา
หรือสาเร็จการศึกษาล่าช้า ศูนยแ์ พทยศาสตรศกึ ษาชัน้ คลินกิ โรงพยาบาลสมเดจ็ พระปิ่นเกล้า พร. หวังเป็นอย่างยิ่ง
ว่าคู่มือนิสิตแพทย์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับนิสิตในการช่วยให้นิสิตมีคุณลักษณะบัณฑิตแพทย์ หลักสูตร
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั บูรพา

งานกจิ การนิสิตศนู ย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลนิ ิก
โรงพยาบาลสมเดจ็ พระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

สารบญั

รูปพระบิดา
รูปพระปิน่ ฯ
คานา
สารบญั
รู้จกั รพ.สมเด็จพระปิน่ แกลา้

- ประวัตคิ วามเปน็ มา
- ยทุ ธศาสตร์ วิสัยทศั น์ พันธกิจ
- ผบู้ ริหาร
- โครงสรา้ ง/หน่วยงานต่าง ๆ ใน รพ. ฯ
- โครงสรา้ งศนู ยแ์ พทยศาสตรศึกษา
- แผนท่ใี นรพ. ฯ
ระเบียบวินัยและข้อปฏบิ ัติของนิสิต
- อัตลักษณ์
- การแต่งกาย
- ข้อปฏิบตั ิท่วั ไป
- คาแนะนาในการเรยี นช้นั คลินิก ข้อกาหนดท่เี กยี่ วกับการเรียน การสอบ การประเมิน

การผา่ นชัน้ ปี การจบ การลาเรยี น
บริการต่าง ๆและสวัสดิการ

- ทุนการศึกษา
- การกยู้ ืม
- ประกนั สุขภาพ ประกันอุบัตเิ หตุ รวมถึงการรบั vaccine
- ขนั้ ตอนการเข้ารับบริการทางสุขภาพเม่ือเจ็บปวุ ย
- แนวทางปฏิบัตเิ มื่อนกั ศึกษาแพทยส์ ัมผสั เลอื ดหรือสง่ิ คัดหลั่งของผู้ปวุ ย
- หอพักนสิ ิต กฎระเบียบหอพัก
- บริการดา้ นสารสนเทศ เชน่ WIFI E-journal / E-book up to date
- ห้องสมดุ
อาจารย์ที่ปรึกษา
กจิ กรรม และปฏทิ นิ กิจกรรม
ผนวก : แบบฟอร์มสาคญั ตา่ ง ๆ เช่น ใบลาปวุ ย ลากิจ link ระเบยี บ ม.บรู พา

โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

ยุทธศาสตร์

ประเดน็ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาความเป็นเลิศดา้ นการบรกิ ารสู่มาตรฐานสากล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาความเป็นเลิศดา้ นการบริหารจัดการ
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 พฒั นาองค์กรสู่สถาบันทางการแพทย์ และการวจิ ัย
ประเด็นยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 พฒั นาความเปน็ เลิศด้านบุคลากร

พนั ธกิจ

1. ให้บริการและพัฒนากระบวนงานบริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิท่ีมีคุณภาพระดับประเทศแก่กาลังพล
กองทพั เรอื ครอบครวั และประชาชน

2. จดั การฝกึ ศึกษา และวิจยั ทางการแพทยเ์ พอื่ ม่งุ สร้างนวตั กรรมเพ่ือพัฒนางานบริการ และวชิ าการทางการแพทย์
3. สนับสนุนภารกิจของกองทัพเรือ

วสิ ัยทศั น์

สถาบันทางการแพทยข์ องกองทัพเรือ ที่มีคณุ ภาพระดบั ประเทศ และเปน็ เลศิ ทางดา้ นบริหารจัดการ

ข้อมูลท่ัวไปของโรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกลา้

แต่เดิมโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีช่ือว่า โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ ตั้งอยู่ท่ีปากคลอง
มอญธนบุรี พลเรอื เอกหลวงสนิ ธ์สุ งครามชยั (สินธ์ุ กมลนาวิน) ผู้บัญชาการทหารเรอื ในขณะน้ัน ได้พิจารณาเห็นว่า
กรมแพทย์ทหารเรือ และโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพน้ัน มีบริเวณคับแคบและอยู่ในเขตยุทธศาสตร์ อาจไม่
ปลอดภัยจากการถูกโจมตีทางทหาร จึงมีความประสงค์ย้ายมาอยู่ที่ ตาบลบุคคโล ซ่ึงเป็นทางผ่านไปยัง
ปูอมพระจลุ จอมเกล้า และอยู่ตดิ คลองสาเหร่ สะดวกแก่การขนสง่ ทหารขนึ้ จากเรือรบ การดาเนินการเริ่มขึ้นต้ังแต่
การเวนคืนที่ดินใน พ.ศ. 2487 วางแผนจะสร้างโรงพยาบาลขนาด 1,000 เตียง โดยมีพลเรือตรี เล็ก สุมิตร
นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ เป็นผู้วางแผนผังตลอดจนการปั้นหุ่นจาลองของโรงพยาบาล การก่อสร้างตึกผู้ปุวย
และอาคารสานักงานต่าง ๆ ได้ดาเนินการมาเป็นลาดับอย่างล่าช้า จนกระท่ัง พ.ศ. 2500 กองทัพเรือได้อนุมัติให้
เปิดโรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล เม่ือวันท่ี 27 มีนาคม 2500 โดยมีนาวาโท สนิท โปษะกฤษณะ (ยศขณะนั้น)
เปน็ ผูอ้ านวยการโรงพยาบาลคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2502 ได้รับอนุมัติให้เปล่ียนช่ือจากโรงพยาบาลทหารเรือเป็น
“โรงพยาบาลสมเด็จพระป่นิ เกลา้ ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระนามพระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงก่อกาเนิด
และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือพระองค์แรกแห่งประเทศไทย (หนังสือ 50 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า
27 มนี าคม 2550)

โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร. เป็นโรงพยาบาลขนาด 600.เตียง ได้รับการรับรองคุณภาพ รพ.ฯ
ตามมาตรฐาน ISO 9001-2015 และจากบริษัท United Registrar of System (Thailand) Limited พ.ศ.2561-
2563 ได้รับการรบั รองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (HA).จากสถาบันรบั รองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
(สรพ.) พ.ศ.2561-2564.และได้รับการรับรองการตรวจประเมินคุณภาพสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้านใน
สาขาอายุรศาสตร์ และสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาศัลยศาสตร์
และสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และสาขาเวชศาสตร์ปูองกัน
แขนงเวชศาสตรท์ างทะเล จากสมาคมเวชศาสตร์ปอู งกนั แหง่ ประเทศไทย



แผนที่แสดงที่ต้ัง โรงพยาบาลสมเดจ็ พระป่นิ เกล้า

ท่อี ยู่ 504 ถนนสมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรงุ เทพมหานคร 10600
โทร : 02-4600000, 02-8766120 - 29 , 02-475-2995

ศนู ยแ์ พทยศาสตรศกึ ษาชัน้ คลนิ ิก โรงพยาบาลสมเดจ็ พระป่ินเกลา้ กรมแพทยท์ หารเรือ
วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาของกองทัพเรือที่ผลิตบัณฑิตแพทย์ และแพทย์เช่ียวชาญเฉพาะสาขา
ทมี่ คี ณุ ภาพไดม้ าตรฐานสากล
พนั ธกิจ (Mission)

1. จัดการเรียนการสอนเพื่อผลติ บณั ฑิตแพทย์ท่ีมีคณุ ภาพตามเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา
2. สนับสนนุ การฝึกอบรมแพทย์ประจาบา้ นและแพทยป์ ระจาบ้านต่อยอดตามมาตรฐานสากล
3. สง่ เสรมิ การผลิตงานวจิ ยั และนวตั กรรม
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ (Strategic Issue)
1. พฒั นาการเรียนการสอนแพทยศาสตรศกึ ษาชั้นคลินกิ
2. ส่งเสรมิ งานการเรยี นการสอนแพทยป์ ระจาบ้านและแพทย์ประจาบา้ นต่อยอด
3. สง่ เสริมงานวิจัยและนวตั กรรม
4. พัฒนาอาจารยแ์ พทยแ์ ละบคุ ลากรสายสนบั สนนุ การศึกษา
5. พฒั นาการบรหิ ารจดั การให้มีประสิทธิภาพ

ประวัติศนู ยแ์ พทยศาสตรศกึ ษา โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า กรมแพทย์ทหารเรอื
โรงพยาบาลสมเด็จพระปนิ่ เกล้า กรมแพทยท์ หารเรือ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการแพทย์ของกองทัพเรือ

มาโดยตลอด โดยโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. ได้กาหนดพันธกิจท่ีสาคัญอีกหน่ึงประการนอกเหนือจาก
พันธกิจการให้บริการทางการแพทย์น่ันคือ พันธกิจในการจัดการฝึกศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ โดยมีประเด็น
ยุทธศาสตร์ คือพัฒนาองค์กรสู่สถาบันทางการแพทย์ และการวิจัยที่ผ่านมาโรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า
มีบทบาทในการจดั การฝกึ อบรมแพทยม์ าต้งั แต่ พ.ศ.2524 โดยเร่มิ ต้นจากการเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้าน
ในสาขาศัลยศาสตร์เป็นสาขาแรก จนกระท่ังในปัจจุบัน มีหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้านจานวน 5 สาขา
ประกอบด้วย สาขาศัลยศาสตร์ สาขาอายุรศาสตร์ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาเวชศาสตร์ปูองกัน แขนงเวชศาสตร์
ทางทะเล (โดยกรมแพทย์ทหารเรือ) และสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา นอกจากน้ี โรงพยาบาลยังได้ร่วมมือกับ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเป็นโรงพยาบาลร่วม
สอนนักศึกษาแพทย์ช้ันปีท่ี 6 ใน 5 สาขาประกอบด้วย ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์-นรี
เวชวทิ ยา และศัลยศาสตรอ์ อรโ์ ธปดี ิคส์

ในปี พ.ศ. 2558 กรมแพทยท์ หารเรือได้กาหนดเปูาหมายที่ชดั เจนในการพัฒนาโรงพยาบาลในสังกัดให้เป็น
สถาบันทางการแพทย์ทรี่ ่วมจัดการศกึ ษาแพทยศาสตรบัณฑติ ช้ันคลินิก (ชน้ั ปีท่ี 4-6) และมอบหมายให้โรงพยาบาล
สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. เป็นผู้ดาเนินการตามนโยบายดังกล่าว โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า จึงมีการเตรียม
ความพร้อมโดยการจัดต้ังสานักงานแพทยศาสตรศึกษา ข้ึนในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นหน่วยรับผิดชอบงาน
แพทยศาสตรศึกษาในด้านต่าง ๆ อันประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการเป็นอาจารย์แพทย์

การเตรียมการระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาซ่ึงได้แก่ การจัดหาบุคลากรสายสนับสนุน การปรับปรุงอาคาร
สถานท่ี การจดั หาอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนท่ีทันสมัย ห้องสมุดระบบสารสนเทศ
และการสืบคน้ จดั สภาพแวดลอ้ มที่เออ้ื ตอ่ การเรยี นรขู้ องนิสติ แพทย์

เมอื่ วนั ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2561กรมแพทย์ทหารเรือได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือใน
การผลิตแพทย์ และบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระหว่างกองทัพเรือ และมหาวิทยาลัยบูรพา ต่อมา
โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร. ได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.)
ให้เป็นโรงพยาบาลหลักในการสอนนิสิตแพทย์ช้ันคลินิก ตั้งแต่วันท่ี 19 สิงหาคม 2562 และรับนิสิตแพทย์รุ่นแรก
ซึ่งนับเปน็ รุ่นที่ 13 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบูรพา จานวน 34 คน

ต่อมาในวันท่ี 8 พฤษภาคม 62 โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร. มีการปรับโครงสร้างองค์การเพื่อ
รองรับการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีรองผู้อานวยการโรงพยาบาลฯ ฝุายการศึกษา
อบรมและวิจัย เป็นผู้อานวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษา มีการจัดโครงสร้างภายในหน่วยงาน มีบุคลากรที่มีความ
พร้อม และมีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานสากล โดยศูนย์แพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาล
สมเดจ็ พระป่ินเกล้า พร..รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4-6-.ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั บรู พา

ในวันท่ี 13-15 พฤศจิกายน 2562 สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร (สมพ.) ได้ดาเนินการ
ตรวจประเมินคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศูนย์แพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร.
ก่อนการเปดิ รบั นสิ ิตแพทย์ในหลกั สตู รแพทยศาสตรบณั ฑิต หลักสตู รปรับปรงุ พ.ศ. 2563 ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล

สาหรับแพทยศาสตร์ศึกษาจากแพทยสภา.( World.Federation.for.Medical.Education,.Basic Medical Education

Standard (2017 ) : TMC.WFME.BME.standard (2017) เพื่อให้เกิดความเชื่อม่ันว่าสถาบันท้ังสองมีคุณภาพตาม
เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์สภาได้มาตรฐานสากล และสามารถผลิตบัณฑิตแพทย์ท่ีมี
ความรู้ สามารถประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วยหลักคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความเสียสละ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
โดยไดร้ ับการรับรองเป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ.2562 - พ.ศ.2567)

โครงสร้างของศนู ยแ์ พทยศาสตรศึกษา รพ.สมเดจ็ พระปิ่นเกล้า พร.

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. เป็นหน่วยข้ึนตรง รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. มี

หนา้ ท่บี รหิ ารจัดการงานแพทยศาสตรศึกษาของ รพ.สมเด็จพระป่ินเกล้า พร. ให้สอดคล้องกับมติหรือแนวทางปฏิบัติของ

คณะกรรมการบริหารงานแพทยศาสตรศึกษา รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. ตามแนวทางหลักเกณฑ์ของ คณะกรรมการ

บริหารหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่ร่วมสอน (มหาวิทยาลัยบูรพา) และตามหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ

ของราชวิทยาลัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้าน ภายใต้การกากับดูแลและติดตาม (Control and

Monitor) ของ ผอ.รพ.สมเด็ จพระปิ่ นเกล้ า พร. แบบกระจายอ านาจ (Decentralization)





อตั ลกั ษณน์ สิ ติ แพทยป์ ิ่นเกล้า

ระเบียบการแตง่ กาย และเครือ่ งแบบนิสติ แพทย์
1. การแต่งกาย

1.1 รายละเอียดเครอ่ื งแตง่ กายกาวน์ยาว
1. แตง่ กายตามเครื่องแตง่ กายปกติของนิสติ ชายหรอื ของนสิ ิตหญงิ
2. เสื้อกาวน์ยาว สวมทับเคร่ืองแต่งกายปกติ ทาด้วยผ้าเกลี้ยงสีขาว คอเสื้อแบบคอเช้ิตปกแหลม อกเส้ือ

ด้านขวาปักตราสัญลักษณ์ รพ.สมเด็จพระป่ินเกล้า มีกระเป๋าติดทางอกด้านซ้ายปักตราสัญลักษณ์ คณะ
แพทยศาสตร์ แถบบนกระเปา๋ ปกั นสพ. ตามดว้ ยชือ่ และนามสกุล ด้วยด้ายสีเขียว และกระเป๋าติดทางด้านล่างซ้าย
และขวา ด้านหลังจับจีบข้างละ 1 จีบ มีแถบคาดและติดกระดุมข้างละ 1 เม็ด แขนส้ัน ความยาวไม่ส้ันเหนือเข่า
และไมย่ าวเกนิ ครง่ึ นอ่ ง

1.2 รายละเอียดเคร่อื งแตง่ กายกาวนส์ ้ัน
1. แตง่ กายตามเครอื่ งแตง่ กายปกตขิ องนสิ ติ ชายหรอื ของนิสิตหญงิ เว้นแต่เสือ้
2. เสือ้ กาวน์สั้น สวมแทนเส้ือตามเครื่องแต่งกายปกติ ทาด้วยผ้าเกลี้ยงสีขาว คอเสื้อแบบคอเช้ิตปกแหลม

ปักช่ือและนามสกุลทางอกด้านขวาด้วยด้ายสีเขียว มีกระเป๋าติดทางอกด้านซ้าย ปักตราสัญลักษณ์คณะ
แพทยศาสตร์ แถบบนกระเป๋าปักชื่อศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ขลิบผ้าแถบสีเขียวด้านล่างหรือเป็นไปตาม
ศนู ยแ์ พทยศาสตรศึกษาช้ันคลินิกกาหนด และกระเป๋าจับจีบติดทางด้านล่างซ้ายและขวา ด้านหลังจับจีบข้างละ 2
จีบ มีแถบคาดติดกระดุมขา้ งละ 1 เม็ด แขนส้ัน ความยาวคลมุ สะโพก

กรณีนสิ ิตหญงิ ทนี่ ับถอื ศาสนาอสิ ลามให้ใช้ผา้ คลุมศรี ษะสสี ภุ าพ ขาว ดา กรมท่า เทา
ให้ใส่เสอ้ื กาวนต์ ลอดเวลาทศี่ ึกษาและปฏิบัติงานอย่ใู นบริเวณโรงพยาบาลท้งั ในและนอกเวลาราชการ
2. ทรงผม
2.1 นิสติ แพทย์ชาย ไว้ผมสนั้
2.2 นิสิตแพทย์หญิง หากผมยาวต้องรวบให้เรียบร้อย ห้ามทาสีผมฉูดฉาด อนุญาตให้ย้อมได้เฉพาะสีน้าตาล
เข้มถึงดาเท่านั้น
3. ตา่ งหู อนญุ าตให้ใส่แบบติดหู ขนาดเลก็ เพ่ือความคลอ่ งตวั ในการทางาน
4. ติดบตั รประจาตวั ตลอดเวลาท่ขี น้ึ ปฏิบัติงานในบตั รมี ชือ่ นามสกลุ





คาแนะนาในการเรียนช้ันคลนิ ิก หนว่ ยกติ
1. แผนการศึกษาชั้นคลนิ ิก 4(2-6-4)
2. ขอ้ ปฏบิ ัตใิ นการเรยี น 2(1-3-2)
3. การลา 4(3-3-6)
4. กิจกรรมการเรียนการสอน 3(1-6-2)
5. ข้อปฏิบตั ใิ นการสอบ 3(1-6-2)
6. การวดั และประเมนิ ผล 4(3-3-6)
7. การจดั สอบแก้ตัว 3(1-6-2)
8. เกณฑ์การสาเรจ็ การศกึ ษา 3(0-9-3)
9. การประเมนิ ความรู้ความสามารถในการประกอบวชิ าชีพเวชกรรม(การสอบ ศรว.) 4(3-3-6)
3(1-6-2)
1. แผนการศกึ ษาชน้ั คลินิก 2(0-6-2)
ชัน้ ปีที่ 4 จานวน 15 รายวชิ า 46 หน่วยกติ 3(2-3-4)
3(2-3-4)
ลาดับ รหสั และช่ือรายวิชา 3(1-6-2)
1 570403 บทนาทางคลินกิ 2(1-3-2)
2 578401 รงั สวี ทิ ยาวินิจฉัย
3 580401 อายุรศาสตร์ 1
4 580402 อายุรศาสตร์ 2
5 580403 อายุรศาสตร์ 3
6 590400 ศลั ยศาสตร์ 1
7 590401 ศัลยศาสตร์ 2
8 590410 ศลั ยศาสตรห์ ตั ถการ 1
9 596400 สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 1
10 596401 สูตศิ าสตร์-นรีเวชวิทยา 2
11 596410 สตู ิศาสตร์-นรีเวชวทิ ยาหัตถการ
12 582401 กุมารเวชศาสตร์ 1
13 582402 กุมารเวชศาสตร์ 2
14 582403 กุมารเวชศาสตร์ 3
15 560404 เวชศาสตรค์ รอบครัวและชมุ ชน 4

ชั้นปที ่ี 5 จานวน 18 วชิ า 41 หนว่ ยกติ หนว่ ยกิต
2(1-3-2)
ลาดบั รหสั และชื่อรายวิชา 2(1-3-2)
1 592501 จักษวุ ิทยา 2(1-3-2)
2 592502 โสต ศอ นาสกิ วทิ ยา 2(1-3-2)
3 594501 ออร์โธปดิ กิ ส์ 3(1-6-2)
4 566501 เวชศาสตรฟ์ ้ืนฟู 2(1-3-2)
5 560505 เวชศาสตร์ครอบครวั และชุมชน 5 2(1-3-2)
6 560506 เวชศาสตรป์ ูองกันและการสร้างเสริมสุขภาพ 2(1-3-2)
7 560507 เวชศาสตรผ์ ู้ปวุ ยนอกและการดูแลแบบประคบั ประคอง 3(2-3-4)
8 574501 เวชศาสตรฉ์ ุกเฉนิ 2(1-3-2)
9 568501 นติ เิ วชศาสตร์ 4(2-6-4)
10 564501 อาชวี เวชศาสตร์ 3(2-3-4)
11 562501 จติ เวชศาสตร์ 3(2-3-4)
12 580504 อายรุ ศาสตร์ 4 2(1-3-2)
13 580505 อายรุ ศาสตร์ 5 2(0-6-2)
14 590502 ศลั ยศาสตร์ 3 2(1-3-2)
15 590511 ศลั ยศาสตร์หตั ถการ 2 1(0-3-1)
16 576501 วิสญั ญีวทิ ยาพ้นื ฐาน 2(1-3-2)
17 572503 เวชศาสตร์เชิงประจักษ์
18 572504 วทิ ยาการระบาดและการวิจยั ทางคลินกิ

ชั้นปที ่ี 6 จานวน 17 วชิ า 42 หน่วยกิต หน่วยกติ
2(1-3-2)
ลาดบั รหสั และช่ือรายวิชา 2(1-3-2)
1 560609 การบริหารงานสาธารณสขุ และงานบรกิ ารสุขภาพ 2(1-3-2)
2 588601 เวชศาสตรท์ างทะเลและการเดินทางท่องเทย่ี ว 3(0-9-3)
3 570602 เวชจรยิ ศาสตรแ์ ละทกั ษะการสือ่ สารในเวชปฏิบัติ 3(0-9-3)
4 580606 เวชปฏบิ ัติอายุรศาสตร์ 1 3(0-9-3)
5 580607 เวชปฏบิ ัตอิ ายุรศาสตร์ 2 3(0-9-3)
6 590603 เวชปฏบิ ัติศัลยศาสตร์ 1 2(0-6-2)
7 590604 เวชปฏิบตั ิศลั ยศาสตร์ 2 2(0-6-2)
8 594602 เวชปฏบิ ัติออรโ์ ธปิดกิ ส์ 2(1-3-2)
9 574602 เวชปฏิบัตเิ วชศาสตร์ฉกุ เฉิน 3(0-9-3)
10 560608 เวชปฏิบตั ิผปู้ วุ ยนอกและเวชศาสตรผ์ ุส้ งู อายุ 3(0-9-3)
11 596602 เวชปฏิบัติสตู ิศาสตร์-นรเี วชวทิ ยา 1 3(0-9-3)
12 596611 เวชปฏบิ ัติสตู ศิ าสตร์-นรเี วชวทิ ยา 2 3(0-9-3)
13 582604 เวชปฏิบัตกิ ุมารเวชศาสตร์ 1 2(0-6-2)
14 582605 เวชปฏิบัตกิ มุ ารเวชศาสตร์ 2 2(x-x-x)
15 560610 เวชปฏิบัตเิ วชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 2(x-x-x)
16 xxxxxx วิชาเลือก
17 xxxxxx วชิ าเลือกเสรี

2. ข้อปฏิบัติในการเรยี น
1. นิสิตต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชา.ไม่น้อยกว่าร้อยละ.80.ของเวลาเรียนท้ังหมดของรายวิชาน้ัน

จึงจะมสี ทิ ธ์ิเขา้ สอบในรายวิชานั้น.ๆ (ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา ท่ี 0539/2559 เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี
พ.ศ.2559) ดังนั้น นสิ ิตจึงควรรกั ษาสขุ ภาพขณะศกึ ษาเลา่ เรยี น และลาการเรียนดว้ ยเหตุท่ีจาเปน็ อยา่ งยงิ่

2. การเรยี นทุกรูปแบบ ให้นสิ ติ ปฏบิ ัติตนใหเ้ หมาะสมดงั น้ี
2.1 เข้าเรียนสม่าเสมอ และตรงต่อเวลา ไม่ขาดเรียนโดยไมม่ เี หตอุ ันควร
2.2 แตง่ เครือ่ งแบบนสิ ติ ทีถ่ ูกระเบยี บของศนู ย์แพทยศาสตรศกึ ษา และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลยั
บรู พา
2.3 ปฏิบัตติ ามระเบียบปฏิบัติของรายวิชา และศูนยแ์ พทยศาสตรศกึ ษา รพ.สมเดจ็ พระปิ่นเกลา้ พร.
2.4 รบั ผดิ ชอบต่อผู้ปวุ ยและงานทีไ่ ดร้ ับมอบหมาย ส่งงานภายในเวลาทกี่ าหนด

2.5.ต้ังใจเรยี น.และเคารพสทิ ธิของอาจารย์ และเพอ่ื นรว่ มช้ันเรยี นโดยไม่กระทาการใด.ๆ.ท่ีไม่เหมาะสม
และ/หรอื รบกวนผอู้ ่ืน เช่น รบั ประทานอาหาร คุยเสียงดงั

2.6 เคารพสิทธิและศักด์ิศรีของผูป้ ุวย คานงึ ถงึ ประโยชน์ ความลับ และความปลอดภัยของผปู้ ุวย
2.7 เป็นผู้นอบน้อม ใชก้ ริยาวาจาสภุ าพตอ่ ผปู้ วุ ย ญาติ และผู้รว่ มงาน และแสดงออกถงึ บุคลิกภาพอนั

เป็นที่น่าเช่ือถือ
2.8 ซอื่ สตั ยส์ ุจริต แสดงออกถงึ คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมต่อวิชาชีพ
2.9 การปฏิบตั งิ านเปน็ ระบบทมี นสิ ติ พงึ มีส่วนรว่ มในการทางาน โดยไม่เอาเปรยี บเพือ่ นรว่ มงาน

ชว่ ยเหลือใหเ้ กยี รติ และเคารพในศกั ดศิ์ รีของผอู้ ่ืน ทงั้ เพื่อน และผรู้ ่วมงานวชิ าชีพอน่ื ๆ
3. การลา

3.1 การลากิจ กรณีนสิ ิตมีความจาเปน็ เชน่
3.1.1 กรณีบิดา/มารดา/ญาต/ิ ผปู้ กครอง
- ปวุ ยหนกั อนุญาตใหล้ ากิจเพ่อื ไปเยยี่ ม และชว่ ยเหลอื ตามสมควร
- ถึงแกก่ รรม อนญุ าตให้ลากจิ เพอ่ื ไปรว่ มพิธีศพโดยพจิ ารณาอนุญาตตามสมควร
- การฌาปนกจิ อนญุ าตใหล้ ากจิ ในวนั ฌาปนกิจตามทศี่ ูนยแ์ พทยศาสตรศึกษาฯ เหน็ สมควร
3.1.2 กรณตี ้องไปเปน็ พยานศาล ตอ้ งมหี มายศาลมาแสดง
3.1.3 กรณที ี่เกิดภยั ร้ายแรงต่าง.ๆ แกค่ รอบครวั เชน่ อคั คภี ยั /อทุ กภยั /อบุ ัติเหต/ุ โจรกรรม เปน็ ต้น อนุญาต

ให้ลาได้ตามความจาเป็น
หมายเหตุ : การลากิจต้องได้รับอนุญาตอาจารย์ประจารายวิชา โดยลาเรียนด้วยเหตุผลความจาเป็น ท้ังน้ี

ให้พิจารณาประกอบเกณฑ์เวลาเรียน คือต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดของรายวิชานั้นให้นิสิต
เขียนใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ตามแบบฟอร์มที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษากาหนด และนาส่งงานธุรการ
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาฯ ด้วยตนเอง

กรณีมีเหตุจาเป็นเร่งด่วน/ฉุกเฉิน นิสิตสามารถโทรศัพท์นาเรียนขออนุญาตอาจารย์ประจารายวิชา พร้อม
ระบุเหตุผลความจาเป็น และเขียนใบลานาส่งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาฯ.พร้อมหลักฐาน.ในวันแรกที่กลับเข้า
ชัน้ เรยี น

3.2 การลาปวุ ย
3.2.1 นิสิตแพทย์ปวุ ยขณะอยู่ในหอพกั ให้นสิ ิตแจ้งลาปวุ ยกบั อาจารย์ประจารายวชิ า
3.2.2 นสิ ติ แพทย์ปวุ ยขณะปฏบิ ัตงิ านให้ลากับอาจารยผ์ สู้ อน แลว้ รายงานกบั อาจารย์ประจารายวิชา
3.2.3 นิสิตแพทย์ปุวยขณะเรียน/ขณะสอบ ให้รายงานต่ออาจารย์แพทย์/ผู้คุมสอบ และแจ้งให้อาจารย์

ประจารายวชิ า

หมายเหตุ.:.การลาปุวยกรณีปุวยเล็กน้อย ให้นิสิตพิจารณาประกอบเกณฑ์เวลาเรียนด้วย คือต้องไม่
น้ อ ย ก ว่ า ร้ อ ย ล ะ . 8 0 . ข อ ง เ ว ล า เ รี ย น ทั้ ง ห ม ด ข อ ง ร า ย วิ ช า น้ั น . แ ล ะ ใ ห้ นิ สิ ต เ ขี ย น ใ บ ล า น า ส่ ง ง า น ธุ ร ก า ร
ศูนย์แพทยศาสตรศกึ ษาฯ ในวนั แรกทีก่ ลบั เขา้ ชั้นเรยี น พร้อมใบรบั รองแพทยย์ ืนยันการเจ็บปุวย
ข้นั ตอนการลากจิ ของนสิ ติ แพทย์
การลากจิ

ข้ันตอนการปฏิบตั ิ ผูร้ บั ผิดชอบ เอกสารประกอบ

นิสติ กรอกแบบฟอร์มการลากิจ นสิ ติ ผูข้ อลากิจ แบบฟอรม์
สง่ ให้อาจารย์ประจารายวิชา การลากิจ

ลว่ งหน้าอยา่ งน้อย 5 วนั

อาจารย์ชีแ้ จงเหตผุ ลท่ไี ม่ อาจารยป์ ระจารายวชิ า
อนมุ ตั ิ
นสิ ิต
อาจารย์ประจารายวชิ า งานธุรการ
พจิ ารณาอนมุ ตั ิและแจ้งอาจารยผ์ ้สู อน ศนู ย์แพทยศาสตรศึกษาฯ
งานวิชาการ
N ศูนยแ์ พทยศาสตรศึกษาฯ
Ye
งานธรุ การ
นิสติ สง่ ใบลาท่อี าจารย์เซ็นอนมุ ตั แิ ล้วที่ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาฯ
ธุรการศนู ยแ์ พทยศาสตรศกึ ษาฯ

บนั ทกึ ข้อมลู การขาดเรียน
เพ่ือใช้ตรวจสอบเวลาเรียนของรายวชิ า

เก็บข้อมลู เข้าแฟ้ มประวตั ิ

การลาป่วย

ขั้นตอนการปฏิบัติ ผูร้ ับผดิ ชอบ เอกสารประกอบ
นสิ ิตผู้ขอลาปุวย
นสิ ติ โทรแจ้งการลาป่ วยตอ่ อาจารย์ประจารายวชิ า

อาจารย์ประจารายวชิ าแจ้งอาจารย์ผ้สู อน

และแจ้งนกั วชิ าการงานวิชาการ ศนู ย์ อาจารยป์ ระจารายวชิ า
นักวชิ าการ
แพทยศาสตรศกึ ษาฯรายวชิ า เพอ่ื ลงบนั ทกึ นสิ ิต

นิสติ เขียนใบลาป่ วย พร้อมใบรับรองแพทย์สง่ แบบฟอร์ม
ธรุ การศนู ย์แพทยศาสตรศกึ ษาฯ การลาปวุ ย/ลากิจ
ในวนั แรกทก่ี ลบั เข้าชนั้ เรียน ใบรับรองแพทย์

บนั ทกึ ข้อมลู การขาดเรียน/ฝึกงานของ งานวิชาการ
นสิ ติ เพ่อื ใช้ตรวจสอบเวลาเรียนของ ศนู ย์แพทยศาสตรศึกษาฯ

เก็บข้อมลู เข้าแฟ้ มประวตั ิ งานธุรการ
ศนู ย์แพทยศาสตรศึกษาฯ

4. กจิ กรรมการเรียนการสอนทางคลนิ ิก
4.1 การบรรยาย
การบรรยาย มี 2 รปู แบบ คอื วธิ ีบรรยายลาดับเน้ือหาแบบดั้งเดิม (traditional lecture) และวิธีบรรยาย

โดยใช้ ปัญหานาเข้าสู่เนื้อหา (Case based lecture) ซึ่งวิธีหลังเป็นการเรียนในลักษณะนาชีวิตจริงของเวชปฏิบัติ
เข้าสู่ทฤษฎี.ความรู้ ซ่ึงเป็นการยกกรณีผู้ปุวยตัวอย่าง เร่ิมจากอาการที่นามาหาแพทย์ แล้วสอดแทรกความรู้
วิชาการเขา้ ไปในแต่ละข้นั ตอนทค่ี รูสาธิตการแก้ปัญหา

4.2 การอภิปรายกลุ่มยอ่ ย
เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกแก้ปัญหาผู้ปุวยโดยกลุ่มนิสิตร่วมกันคิด/อภิปราย เริ่มจากอาการ.ที่นามาพบ
แพทย์ ซักประวัติเพ่ิมเติม ตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สรุปผลการวินิจฉัย.และการดูแลรักษา

นิสิตแพทย์แต่ละคนสามารถมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทั่วถึง อาจารย์จะทาหน้าที่กระตุ้นแนะนา ชวนให้คิด
มากกว่าการชีแ้ จงขอ้ มูล

4.3 การเขียนรายงานการศึกษาผู้ปว่ ยใน
นิสิตจะได้รับมอบหมายให้เขียนรายงานผู้ปุวยเฉพาะราย ต้องบันทึกข้อมูลผู้ปุวย และข้อคิดเห็นต่าง.ๆ
ในรายงานผู้ปุวยตามหัวข้อท่ีอาจารย์ประจารายวิชากาหนด และเสนอต่ออาจารย์ท่ี.รับผิดชอบ ตลอดจนบันทึก
ความคิดเห็น วิจารณญาณการแก้ปัญหาผู้ปุวย ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับกรณีผู้ปุวย และการมองผู้ปุวยอย่าง
องคร์ วมในดา้ น Bio–Psychosocial นั่นคอื การเรียนรูท้ งั้ หมดท่เี ก่ียวกับปญั หาผู้ปุวยรายนนั้ .รายงานทีต่ รวจแล้วจะ
ส่งคืนให้นิสิตเพื่อรับทราบข้อช้ีแนะในสิ่งท่ีบกพร่อง เพ่ือนิสิตจะได้ปรับปรุง และพัฒนากระบวนความคิด และ
ทักษะเวชปฏบิ ตั แิ ละการเขียนรายงานผ้ปู ุวยรายต่อไป
4.4 การเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหัวใจของการศึกษาในทุก.ๆ.เรื่อง.และเป็นคุณสมบัติท่ีจาเป็นสาหรับผู้ใฝุรู้
จากอยากรูอ้ ยากเห็น และสนใจที่ค้นคว้า ศึกษาหาความรูอ้ ยู่เสมอ มีความตงั้ ใจแน่วแนใ่ นการคน้ หาความรู้ โดยรู้จัก
ใช้ทรัพยากร.การเรียนรู้ด้วยตนเองมีหลายแบบ.ท้ังในส่วนที่ได้รับมอบหมายเพ่ือศึกษาด้วยตนเอง.(Self.Study)
และในส่วนทีน่ ิสิตสนใจและไปศึกษาค้นควา้ เรยี นรดู้ ว้ ยตนเองเพิ่มเตมิ จากห้องสมุด โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ตลอดจน
การฝกึ ฝนเวชหตั ถการใน Skills lab ซึ่งคือ Self directed learning
4.5 Ward Work
เป็นเวลาท่ีนิสิตจะข้ึนไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ปุวย รับผู้ปุวยใหม่ ติดตามดูแลผู้ปุวยเก่า เขียนรายงาน และ
ปฏิบัติทักษะต่างๆ ภายใต้การควบคุมหรือการช่วยเหลือของอาจารย์ แพทย์พ่ีเลี้ยง แพทย์ใช้ทุน หรือพยาบาล
ประจาหอผู้ปุวย ท้ังน้ีไม่เพียงเฉพาะแต่เวลาที่กาหนดไว้ในตารางสอนเท่าน้ัน นิสิตสามารถศึกษาด้วยตนเองในช่วง
ท่ีว่างจากการปฏิบัติกิจกรรมอ่ืน.ๆ.ในการไปปฏิบัติกับผู้ปุวยจริง นิสิตควรคานึงถึงความเหมาะสม กาลเทศะ
ความปลอดภัยและสิทธิผู้ปุวยด้วย เช่น ควรหลีกเล่ียงการซักประวัติและตรวจร่างกายในยามวิกาลโดยไม่มีเหตุอัน
สมควร ระมัดระวังไม่เปิดเผยความลับของผู้ปุวยแก่ผู้อื่น หลีกเล่ียงการเปลือยสิ่งสงวนของผู้ปุวยต่อสาธารณชน
และควรมีบุคคลที่ 3 อยู่ดว้ ยเวลาตรวจร่างกายในร่มผ้า เปน็ ต้น
4.6 Ward Rounds
เป็นการสังเกตเวชปฏิบัติการดูแลผู้ปุวยใน นิสิตจะมีบทบาทในการสังเกตการณ์อาจารย์แพทย์ แพทย์พี่
เลย้ี งหรือแพทยใ์ ช้ทนุ ประกอบเวชบริการต่อผู้ปุวยในที่รับไว้ดูแลรักษาในหอผู้ปุวย เป็นการเรียนรู้ท่ีหลากหลายไม่
เจาะจงเร่อื ง ในการดแู ลรกั ษาผปู้ ุวยทุกคนในหอผปู้ ุวย ซึง่ อาจเปลย่ี นแปลงได้ในแต่ละเวลา นิสิตอาจมีส่วนร่วมจาก
การได้รับมอบหมายให้ช่วยทาเวชปฏิบัติต่าง ๆ ตามความเหมาะสม นิสิตควรมีสมุดโน๊ตติดตัวไว้จดประเด็นสาคัญ
สิ่งท่ียังไม่รู้ ไม่เข้าใจ เพื่อนาไปค้นคว้าหาคาตอบในภายหลัง คุณภาพของการเรียนรู้ Service round จะอยู่ท่ีการ
เอาใจใส่ จดจอ่ และการสังเกตของนิสิต

4.7 Teaching Round หรอื Bedside Teaching
เป็นการเรียนรู้ข้างเตียงผู้ปุวยท่ีเน้นด้านทักษะ อาจารย์ผู้รับผิดชอบจะสารวจทักษะทางคลินิกของนิสิต
อย่างใกล้ชิด อันได้แก่ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การสื่อสาร และมารยาทของนิสิตต่อผู้ปุวย รวมท้ัง
กระบวนการคิด แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ส่วนใหญ่จะจบกิจกรรมการสอนลงด้วย Feedback และ
การให้นิสิตทบทวนตนเองในด้านความรู้ ทักษะ และการแก้ปัญหาผู้ปุวยแบบองค์รวม และด้วยหัวใจความ
เปน็ มนษุ ย์ นสิ ติ ควรเตรยี มตัวใหพ้ รอ้ มก่อนในเรอื่ งผูป้ ุวยท่ีตนรับผดิ ชอบ ทั้งเหตุผลทางคลินิก การตัดสินใจสรุปการ
วินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค การส่งตรวจเพิ่มเติมและการแปลผล ตลอดจน.เหตุผลของการเลือกวิธีการรักษา
การเรยี นรู้ Teaching round ประกอบด้วย 3 ขัน้ ตอนหลกั คือ

4.7.1 Briefing คือ การขออนุญาตเพ่ือการเรียนรู้กับผู้ปุวย.และหรือญาติ.และการแจ้งให้นิสิต
ทราบถงึ ปญั หาผู้ปุวย อยา่ งคราวๆ เพื่อให้นสิ ิตเตรียมตวั

4.7.2 Clinical Practice คอื การมอบหมายให้นิสิตไดแ้ สดงทกั ษะทางคลนิ ิกรวมท้ังการส่ือสารกับ
ผ้ปู ุวยและหรือญาติ ซง่ึ จะสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถึงระดับทักษะในเร่อื งน้ัน และเจตคติของนสิ ิต

4.7.3 Debriefing คือการช้ีข้อเด่น และข้อควรปรับปรุงของนิสิต ให้ได้เรียนรู้ร่วมกันเพ่ือการ
พัฒนาตอ่ ไป

4.8 Outpatient Practice
เป็นเวชปฏิบัติการดูแลผู้ปุวยนอกซึ่งมีความสาคัญมาก เพราะเป็นด่านแรกในการให้การดูแลรักษาผู้ปุวย
นิสติ จะได้ฝึกทกั ษะทางคลินิก กระบวนการคิด แก้ปัญหา และทักษะการตัดสินใจเบื้องต้นในสถานการณ์ที่ข้อมูลยัง
ไม่ครบถ้วน.ซึ่งอาจจะต้องให้การวินิจฉัย.และการดูแลเบื้องต้นไปก่อน.และจะมีการตรวจเพิ่มเติม.เพ่ือนามา
สนับสนุนหรอื ลบล้างสมมตุ ฐิ านเบ้ืองตน้ นนั้ ต่อไป
4.9 การฝกึ ทักษะเวชหัตถการ
นสิ ิตจะผา่ นการเรยี นรใู้ น 2 ลกั ษณะ แบบแรกคอื การฝึกฝนกับหุ่น หรือสถานการณ์จาลอง แบบท่ีสองเป็น
การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงกับผู้ปุวย เฉพาะหัตถการท่ีเหมาะสมกับระดับชั้นปีและความสามารถของนิสิต
ภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์/แพทย์ใช้ทุน.ทั้งนี้เพ่ือการเคารพในสิทธิและความปลอดภัยของผู้ปุวย
นสิ ิตควรหดั ฝึกปฏบิ ัติในห้องฝึกทักษะให้เสมอื นเปน็ การปฏบิ ตั จิ ริงกบั ผู้ปุวย ตามเกณฑท์ ี่แพทย์สภากาหนดไว้
4.10 การอย่เู วร
ระหว่างการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติในระดับคลินิก รายวิชาจะจัดให้นิสิตแพทย์ฝึกอยู่เวรนอกเวลาราชการ
ในวันและเวลาตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน คือหลังเวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ในวันเสาร์ อาทิตย์ และ
วันหยุดราชการ เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์และความชานาญในการดูแลผู้ปุวย และปลูกฝังเจตคติของ
ความเปน็ แพทย์ ให้มคี วามรบั ผิดชอบในการดแู ลผ้ปู วุ ยไม่เฉพาะในเวลาราชการ

5. การวัดและประเมนิ ผล

กฎระเบยี บหรือหลักเกณฑ์ในการใหร้ ะดับคะแนน (เกรด) และการตดั สินผลเปน็ ไปตามประกาศ

มหาวทิ ยาลัยบูรพาท่ี 0539/2559 เรอ่ื งการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559

5.1 ระบบการให้คะแนนของแต่ละรายวชิ าแสดงเป็นระดบั ข้นั ซึ่งมคี วามหมายแตล่ ะระดบั ข้ัน ดังนี้

ระดบั ขนั้ ความหมาย ค่าระดับขั้น
A ดีเยีย่ ม 4.0
B+ ดีมาก 3.5
B ดี 3.0
C+ คอ่ นข้างดี 2.5
C พอใช้ 2.0
D+ อ่อน 1.5
D อ่อนมาก 1.0
F ตก 0

5.2 ระบบการให้คะแนนของแต่ละรายวชิ าท่ไี มแ่ สดงเป็นค่าระดับขั้น ใหแ้ สดงด้วยสัญลักษณต์ ่างๆ ดงั นี้

สัญลักษณ์ ความหมาย

S ผา่ นตามเกณฑ์ (Satisfactory)

I การประเมนิ ผลยงั ไมส่ มบรู ณ์ (Incomplate)

U ไมผ่ า่ นตามเกณฑ์ (Unsatisfactory)

W งดเรียนโดยได้รบั อนุมัติ (Withdrawn)

Au ลงทะเบยี นเรยี นรายวชิ าโดยไมน่ ับหน่วยกิต

6. ขอ้ ปฏิบตั ใิ นการเข้าสอบสาหรบั นิสติ แพทย์
เพื่อใหก้ ารสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นสิ ติ แพทย์ผูท้ ี่มีสิทธิเ์ ข้าสอบ จะต้องปฏิบัตดิ งั ตอ่ ไปนี้

1. ต้องแตง่ กายตามระเบียบของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา
2. ต้องทาตามคาส่ังของกรรมการ จะเข้าห้องสอบไม่ได้จนกว่ากรรมการจะอนุญาต จะนาตาราหรือ
กระดาษต่าง.ๆ หรอื เคร่ืองมอื ส่ือสารอเิ ลก็ ทรอนิกสท์ กุ ชนิดเข้าไปในห้องสอบไม่ได้ และจะเขียนได้เฉพาะกระดาษท่ี
กรรมการจดั ให้เทา่ นนั้
3. ห้ามลอกข้อสอบออกจากห้องสอบไม่ว่าด้วยวิธีใด.ๆ.และห้ามนากระดาษท่ีเก่ียวกับการสอบออกจาก
ห้องสอบไม่ว่ากรณีใด.ๆ ทงั้ ส้ิน
4. ต้องจัดการเข้าห้องน้าให้เรียบร้อยก่อนสอบ.ในระหว่างสอบจะยอมให้เข้าห้องน้าได้เฉพาะในรายท่ี
จาเป็นจริง.ๆ ในกรณเี ชน่ นี้ให้อยู่ในดลุ ยพินิจของกรรมการผู้คุมสอบ
5. นิสติ แพทยต์ ้องลงชือ่ ในการเข้าสอบตามกาหนดของรายวิชาท่รี บั ผิดชอบ มฉิ ะน้ันจะถอื ว่าขาดสอบ
6. นิสติ แพทยท์ ม่ี าชา้ กว่ากาหนด เกิน 15 นาที จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ ในกรณีอันมีเหตุสุดวิสัย ให้
อยใู่ นดลุ ยพินิจของคณะกรรมการคุมสอบ

7. กรณที ม่ี ีปัญหา ใหผ้ ้เู ข้าสอบยกมือข้ึน และน่ังอยกู่ ับทีจ่ นกว่าผู้คมุ สอบเดินไปถึงจงึ แจง้ ปัญหาให้ทราบ
8. เมื่อเวลาสอบสิ้นสุด และกรรมการคุมสอบส่ังให้หยุดทาคาตอบ นิสิตแพทย์จะต้องหยุดเขียนทันที และ
ใหว้ างกระดาษสอบทงั้ หมดไว้บนท่นี ัง่ สอบ หรือตามทก่ี รรมการคุมสอบส่งั
9. ผู้ที่ฝุาฝืน/ทุจริต จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และถูกดาเนินการตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
บูรพาวา่ ด้วยวนิ ยั นสิ ติ ตอ่ ไป
7. การจดั สอบแกต้ วั
7.1 นสิ ิตแพทย์ที่มีเกรดตา่ กว่า C มโี อกาสสอบแกต้ วั 1 ครงั้ และเกรดสดุ ทา้ ยใหไ้ ด้ไม่เกนิ C
7.2 กรณีท่ีได้ F ภาคทฤษฎี และ/หรอื ภาคปฏบิ ัติ

- แม้วา่ เกรดรวมสดุ ท้ายไมต่ ่ากวา่ เกรด C นิสติ แพทยจ์ ะต้องสอบแก้ตัวในภาคที่ตนเองตกก่อน และ
ไดเ้ กรดสุดทา้ ยเหมือนเดิม

- หากนิสิตแพทย์มีเกรดต่ากว่า C จะต้องสอบแก้ตัวในทักษะที่ตนเองตกก่อน เม่ือนาผลคะแนนมา
ตัดเกรดอีกครั้ง นสิ ิตแพทย์จะได้เกรดสดุ ท้ายไมเ่ กนิ C

7.3 หากนสิ ิตแพทย์ที่มเี กรดตา่ กวา่ C มีปญั หาเรอ่ื งเจตคติ จะไม่มีโอกาสสอบแกต้ วั
หมายเหตุ.:.อาจารยป์ ระจารายวชิ าและอาจารย์ผ้สู อนจะประชมุ หารอื และกาหนดวนั และรายละเอียดท่ีนิสิตจะสอบ
แก้ตัว
8. เกณฑก์ ารสาเรจ็ การศกึ ษา

8.1 สอบผา่ นรายวิชาครบตามจานวนหน่วยกิตทีก่ าหนดไว้ในหลักสูตร
8.2 ได้คา่ ระดบั ขั้นเฉล่ียสะสมไมต่ ่ากว่า 2.00 จากระบบค่าระดับข้ัน 4
8.3 มีระดับความสามารถทักษะทางภาษาอังกฤษตามประกาศมหาวทิ ยาลัย
การสาเร็จการศึกษา การให้ปริญญาของหลักสูตรและการได้รับปริญญาเกียรตินิยม.เป็นไปตามประกาศ
มหาวิทยาลยั บูรพา ท่ี 0539/2559 เรื่อง การศกึ ษาระดบั ปริญญาตรี พ.ศ.2559
9. การประเมนิ ความรูค้ วามสามารถในการประกอบวชิ าชพี เวชกรรม (การสอบ ศรว.)
การประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วยการสอบสาม
ข้นั ตอน ในแต่ละขน้ั ตอนมจี ุดประสงคด์ งั นี้
ขัน้ ตอนที่.1.: .เป็นการสอบเพ่อื ประเมินความร้ทู างดา้ นวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์พ้ืนฐาน (Basic Medical Sciences)
ขั้นตอนท.่ี 2.: .เปน็ การสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลนิ ิก (Clinical Sciences)
ขั้นตอนที่.3.: .เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก ประกอบด้วย Objective Structured
Clinical Examination : OSCE) ซ่ึงศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.)
เป็นผู้ดาเนินการจัดสอบ และการสอบ Modified Essay Question และ Long Case ซึ่งสถาบันการศึกษาเป็น
ผ้จู ดั การสอบ

นสิ ติ สามารถดูรายละเอยี ดการสอบ เช่น ตารางข้อสอบ กาหนดเวลาสอบ การสมัครสอบ ข้อปฏิบัติสาหรับ
ผเู้ ขา้ สอบได้ที่ website : cmethai.org
1. ทนุ การศกึ ษา

งานกิจการนิสิต ได้ดาเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซ่ึงในแต่ละปีจะมี
ทุนการศกึ ษาแต่ละประเภท ดังนี้

ช่ือทนุ ประเภท จานวนเงนิ หมายเหตุ
1. ทุนการศึกษาจากรัฐบาล (กยศ./กรอ.) คา่ เทอมตามจริงและค่าใชจ้ า่ ย
รายปี
2..ทนุ ท่ีได้รบั การจัดสรรจากทางมหาวิทยาลัย ส่วนตัว 2,000บาท/เดอื น
3. ทนุ จากมูลนธิ ิต่างๆ ต่อเน่อื ง 10,000-20,000 บาท
และไมต่ อ่ เน่ือง
- ทนุ มูลนธิ ิสมเดจ็ พระปนิ่ เกลา้
ไม่ต่อเน่ือง

รายละเอยี ดการขอทุนการศกึ ษาจากมหาวิทยาลยั บรู พา ศกึ ษาเพิ่มเตมิ ไดท้ ่ี
http://med.buu.ac.th/student-affairs/doc/order-form/021.pdf
- นสิ ติ ทีไ่ ด้รับทุนการศึกษาใหป้ ฏิบตั ติ ามระเบยี บฯ ของแตล่ ะทนุ อยา่ งเคร่งครดั
- กรณนี ิสิตมปี ญั หาดา้ นการเงนิ ติดตอ่ งานกิจการนิสิต เพื่อประเมนิ ความจาเป็นรายบคุ คล

2. สิทธิการรักษาพยาบาล
นิสิตแพทย์ท่ีเรียนท่ีศูนย์แพทยศาสตรศึกษา.โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร..ยังคงใช้สิทธิประกัน

สขุ ภาพถว้ นหนา้ โรงพยาบาลมหาวทิ ยาลยั บูรพา เมือ่ ต้องการรบั การรักษาพยาบาลใหด้ าเนินการดงั นี้
1. นสิ ติ ทาบตั รใหม่ (OPD Card) ทีห่ ้องบตั รชั้น 1 อาคารผู้ปวุ ยนอก
2. ตรวจสอบสิทธ์ิการรกั ษาพยาบาลทกุ ครง้ั เพื่อจะได้แยกประเภทการใชส้ ิทธกิ ารรกั ษา
3. ดาเนินการตามระบบโรงพยาบาลตามปกติ

Flowchart การตรวจรกั ษาของนิสติ แจ้งอาจารย์ประจารายวชิ า

นสิ ติ มีปญั หาดา้ นสขุ ภาพ

ตรวจสอบสิทธิ ช้นั 1
อาคารผปู้ ุวยนอก

พบแพทย์ทาการรักษา Admit/หยุดเรียน

เสร็จสนิ้

หมายเหตุ
- นสิ ิตแพทย์ส่งใบลาปวุ ย และใบรับรองแพทย์ทธ่ี รุ การศูนยแ์ พทยศาสตรศึกษา ฯ
- อาจารยป์ ระจารายวชิ า แจ้งนักวชิ าการงานวิชาการศูนยแ์ พทยศาสตรศึกษา ฯ

3. ประกันอุบัตเิ หตุ
นิสิตท่ีประสบอุบัติเหตุ สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาล และเอกชน

และคลนิ ิกแผนปัจจบุ นั อืน่ ได้ โดยนิสิตตอ้ งสารองจ่ายคา่ รักษาพยาบาลไปกอ่ น และรวบรวมเอกสารเพื่อขอเบิกเงิน
คา่ รกั ษาพยาบาลคนื เอกสารประกอบดว้ ย

1.1 หนงั สอื เรียกร้องคา่ สนิ ไหมทดแทน (คา่ รักษาพยาบาล) สามารถดาวน์โหลดหนังสือฯ ได้ท่ีเว็บไซต์
กองกิจการนสิ ิต http://affairs.buu.ac.th

1.2 ใบเสรจ็ รับเงินตน้ ฉบับ
1.3 ใบรบั รองแพทยฉ์ บับท่รี ะบสุ าเหตกุ ารบาดเจบ็ (ต้องครอบคลมุ ใบเสร็จที่มที ุกใบ)
1.4 สาเนาบตั รประจาตวั ประชาชน (รบั รองสาเนาถูกตอ้ ง)
1.5 สาเนาบัตรประจาตัวนิสิต (รบั รองสาเนาถูกตอ้ ง)
1.6 สาเนาหน้าสมุดบัญชธี นาคารของนิสิต (ใชเ้ พอ่ื สาหรบั โอนเงินค่าสินไหม)

4. แนวทางปฏบิ ัตเิ มื่อนิสติ แพทยส์ ัมผัสเลอื ดหรือสง่ิ คดั หลั่งของผูป้ ่วย (ตามเอกสารแนบในภาคผนวก)

5. หอพักนสิ ิต และกฎระเบียบการเขา้ พัก
วตั ถุประสงค์

ศูนยแ์ พทยศาสตรศกึ ษา โรงพยาบาลสมเด็จพระป่ินเกล้า พร. ได้จัดที่พักสาหรับนิสิตแพทย์โดยมีวัตถุประสงค์
ดังนี้

1. เพอ่ื ชว่ ยเหลือนิสติ ใหม้ ที ี่พกั อาศัยทเ่ี อื้อต่อการศึกษาเล่าเรียน และสรา้ งเสริมบคุ ลกิ ภาพทพ่ี ึงประสงค์
2. เพ่ือให้นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้ ฝึกฝนตนเองในการอยู่ร่วมกัน และเคารพในสิทธิ และเสรีภาพซ่ึงกัน
และกนั
3. เพอ่ื สร้างเสรมิ ใหน้ ิสติ มพี ลานามัยทสี่ มบูรณท์ ้ังร่างกาย และจิตใจ มีความคดิ ริเร่มิ สร้างสรรค์ รู้จักพัฒนา
ตนเอง และบาเพ็ญประโยชน์ต่อสงั คม
4. เพ่ือฝึกฝนให้นิสิตเป็นผู้มีความกระตือรือร้นใฝุเรียนรู้ รู้จักแสวงหาความรู้และประสบการณ์อยู่เสมอ
เพ่อื ให้เป็นบุคคลทีม่ ีคณุ ภาพของประเทศชาติต่อไป

สทิ ธิการเขา้ พกั ในหอพัก
1. ศนู ยแ์ พทยศาสตรศกึ ษา โรงพยาบาลสมเดจ็ พระปิ่นเกล้า พร. ให้สิทธบิ ุคคลเขา้ พกั ดังน้ี
- นสิ ิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีท่ี 4-6
- แพทยพ์ เี่ ลีย้ ง/แพทย์ประจาบา้ น
- นกั ศกึ ษาแพทย์ตา่ งสถาบนั ขอฝึกปฏบิ ตั งิ าน ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิน่ เกล้า พร.
- บุคลากรภายนอกท่ีได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการหอพักหรือผู้อานวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษา

โรงพยาบาลสมเดจ็ พระป่นิ เกลา้ พร.

2. สิทธใิ นการเขา้ พักอาศัยในหอพัก เปน็ สทิ ธิส่วนบุคคลจะโอนสทิ ธิให้กบั บคุ คลอืน่ ไม่ได้
3. ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในหอพักต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ และปฏิบัติตามกฎระเบียบ คาสั่ง ข้อบังคับที่
เก่ียวกบั หอพกั ซึง่ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระปน่ิ เกล้า พร. ได้กาหนดไวอ้ ยา่ งเครง่ ครดั
4. ผู้ได้รับคัดเลอื กมสี ิทธิเขา้ พักอาศัยในหอพกั ตามวนั เวลาทีค่ ณะกรรมการหอพักกาหนด
5.การเปลี่ยนแปลงหรือย้ายห้องพักจะกระทามิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหอพักหรือ
ผ้อู านวยการศนู ย์แพทยศาสตรศกึ ษา โรงพยาบาลสมเดจ็ พระปน่ิ เกล้า พร. กอ่ นเทา่ นนั้
6. ผมู้ ีสทิ ธเิ ข้าพักอาศัยในหอพักนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 ที่มีการเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาต้องชาระเงิน
คา่ บารุงหอพกั คา่ น้า คา่ ไฟ ตามวัน เวลา ทศี่ นู ย์แพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระปิน่ เกลา้ พร. กาหนด

อตั ราการเกบ็ ค่าบารุงหอพกั

ค่าบรกิ ารหอพัก ให้เรียกเก็บเป็นรายปตี ่อคน ค่าบรกิ ารหอพักให้เรียก
เก็บเป็นรายปตี ่อคน
ช่อื หอพกั ประเภท ค่าหอพกั คา่ น้าประปา คา่ ประกัน
ห้องปรบั อากาศ (ต่อป)ี (ต่อป)ี ของเสียหาย ค่าไฟฟา้

18,000 บาท 600 บาท 5,000 บาท ตามท่ีใชจ้ ริง
หน่วยละ 6 บาท

6.บริการด้านสารสนเทศ
ในการเรียนการสอน นิสิตแพทย์สามารถสืบค้นฐานข้อมูล Access Medicine Clinical.key.และ

UpToDate ผ่านระบบ Internet.ได้ทั้งในรูปแบบของหนังสือ วารสาร วีดีโอ และมัลติมีเดียต่าง ๆ โดยเข้าใช้ผ่าน
User name & Password ท่ีได้ลงทะเบียนกับทางคณะแพทยศาสตร์ ใช้งานได้ทั้ง Personal Computer และ
Mobile Computer

7. หอ้ งสมุด
ระเบยี บการใชง้ านห้องสมดุ
1. ห้องสมดุ ศนู ยแ์ พทยศาสตรศึกษา อาคาร 100 ปี ชนั้ 4 ให้บรกิ ารในเวลาราชการ 08.00 - 16.00 น. และนอก
เวลาราชการ 16.00 - 20.00 น. หยุดวนั เสาร-์ อาทติ ย์ และวันหยดุ นักขตั ฤกษ์
2. กรุณาวางอาหาร (รวมถึงหมากฝรง่ั ของขบเค้ยี ว) และเครื่องด่ืมทุกชนิดบนชัน้ วางทจี่ ดั ไว้ ไม่นาเข้ามาในบรเิ วณหอ้ งสมดุ
3. ฝากกระเปา๋ ถงุ ยา่ ม แฟมู หนงั สอื ส่ิงของ สมั ภาระก่อนเข้าใช้งานหอ้ งสมุด
4. ไม่พูดคุยเสียงดัง สง่ เสียงรบกวนสมาธิผูอ้ ื่น
5. ปิดเสยี งเครือ่ งมือสื่อสาร และอุปกรณท์ ุกชนดิ ท่ีอาจส่งเสยี งรบกวนได้
6. เมื่ออ่านหนังสือเสรจ็ กรุณานาไปไวท้ ่จี ุดพักหนังสอื

7. เน่ืองจากหนงั สือ โสตทศั นูปกรณ์ และสง่ิ ของทุกประเภทเป็นของสว่ นรวมท่ตี อ้ งใช้ร่วมกันจึงขอความกรุณา
ช่วยกันดูแลรักษา ไมข่ ดู ขีด เขียน ฉกี ตัด หรอื สร้างความชารดุ เสียหายแกท่ รัพยากรความรูใ้ นหอ้ งสมุด
8. ไมน่ าหนังสือหรือทรัพย์สินใด ๆ ภายในหอ้ งสมุดออกไปข้างนอกโดยไม่ได้รบั อนญุ าต หากต้องการใชก้ รุณา
ปฏิบตั ติ ามขั้นตอนการยืมหนังสือหรือโสตทศั นูปกรณ์ใหถ้ ูกตอ้ ง
9. ส่งคนื หนงั สอื หรอื โสตทัศนูปกรณท์ ่ีขอยืมภายในเวลาทีก่ าหนด
ระเบียบการยืมหนังสือจากห้องสมดุ
1. แสดงบตั รประจาตัวนิสิตท่ีใช้ใน รพ. สมเดจ็ พระป่ินเกล้า พร. ทกุ ครง้ั ก่อนการยืมและคนื หนังสอื
2. สามารถยมื ได้ครั้งละไมเ่ กนิ 3 เลม่ ระยะเวลาไม่เกิน 10 วนั (รวมวันหยุด)

- กรณีวนั ที่คนื ตรงกบั วนั หยุด จะเลือ่ นวนั ทคี่ นื เป็นวนั ถดั ไป
- หากไม่มีผู้ต้องการยืมหนงั สือ สามารถลงชื่อคนื และยมื ต่อไดอ้ ีก 3 วนั
- เกินกาหนดคนื หนงั สือ มคี า่ ปรับ 20 บาท/เลม่ /วนั
- หากมหี นงั สอื ที่เกนิ กาหนดการคนื ค้างอยู่ จะไมส่ ามารถยืมหนังสือเพิ่มได้
3. ดแู ลรักษาหนังสือขณะยมื ออกนอกบรเิ วณหอ้ งสมดุ ไมเ่ ขียน พับ ฉกี ตดั หนังสอื หลกี เล่ียงสถานการณ์ที่อาจ
กอ่ ใหเ้ กิดความเสยี หายแกห่ นังสอื (เชน่ ฝนตก รับประทานอาหารหรอื เครือ่ งดมื่ ขณะอา่ นหนังสือ)
4. กรณีหนังสือสญู หาย
- ซอื้ หนังสอื ทดแทน โดยเปน็ ปที พ่ี มิ พล์ ่าสดุ หรือเทา่ กบั เล่มท่สี ญู หาย
- ไมส่ ามารถหาซื้อหนงั สือได้ จา่ ยคา่ ปรบั เปน็ 2 เท่าของราคาหนังสือทสี่ ญู หาย

ระเบียบการใช้งานคอมพิวเตอร์สบื คน้ ขอ้ มลู
1. กรณุ าวางอาหาร (รวมถงึ หมากฝรัง่ และของขบเคี้ยว) เคร่ืองด่ืมทกุ ชนดิ บนชนั้ วางท่ีจัดไว้ ห้ามนาเขา้ มาใน
บรเิ วณห้องสบื ค้นโดยเด็ดขาด
2. ลงช่อื ผใู้ ชง้ านพร้อมระบหุ มายเลขเครื่องและเวลาท่ใี ช้งานคอมพวิ เตอร์ทกุ คร้ังก่อนเขา้ ห้องสบื ค้นข้อมูล โดย 1
คนสามารถใช้ไดเ้ พยี ง 1 เครื่อง และหา้ มลงชื่อผู้อนื่ ในการใชง้ าน หา้ มลงช่อื แทน
3. สามารถใช้งานไดน้ าน 2 ชวั่ โมง/คน/ครง้ั (หากมเี ครื่องว่างสามารถลงช่ือใชง้ านต่อได้คร้ังละ 1 ชั่วโมง สูงสุด 2 คร้ัง)
4. ใช้คอมพวิ เตอร์สาหรับสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนนุ การศึกษาเท่านน้ั ไม่เลน่ เกมหรือเข้าเว็บไซต์ใด ๆ ท่ีไม่เหมาะสม
5. ไมด่ าวนโ์ หลดไฟลห์ รือตดิ ต้ังโปรแกรมท่ีอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่คอมพวิ เตอร์ หากต้องการใช้งาน
โปรแกรมนอกเหนอื จากทตี่ ดิ ตั้งไว้ในเครื่อง กรุณาแจง้ เจา้ หน้าที่ประจาห้องสมดุ ก่อนทกุ ครง้ั
6. หากเกดิ ปัญหาขณะใชง้ านคอมพวิ เตอร์ กรุณาแจ้งเจ้าหนา้ ทปี่ ระจาห้องสมดุ ทราบโดยทันที
7. รว่ มกนั ดแู ลรกั ษาเครอื่ งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และพ้นื ท่ีหอ้ งสบื ค้น ไม่สร้างความชารุดเสียหาย

ระเบยี บการใช้งานหอ้ งประชุมย่อย
1. รวมกลมุ่ อย่างน้อย 3 คน เพอ่ื จองใช้ห้องประชมุ ย่อย

- จองไดส้ งู สุด 2 ช่วั โมง/กลุ่ม/วนั
- หากมีหอ้ งว่าง สามารถต่อเวลาใช้งานไดค้ รง้ั ละ 1 ช่ัวโมง (สงู สุด 2 คร้งั )
- ทกุ ช่ือในกลุ่มจะนับเปน็ การจอง 1 ครั้ง ไมส่ ามารถใช้ชือ่ จองซา้ ได้ใน 1 วนั
2. กรอกแบบฟอร์มจองใช้หอ้ งอ่านหนังสือก่อนวนั ทีต่ ้องการใช้ อยา่ งน้อย 1 วันแต่ไม่เกิน 7 วนั ทาการ
- ตรวจสอบตารางหอ้ งว่างได้บนหน้าเว็บไซต์ หรือติดต่อเจ้าหนา้ ท่ีประจาห้องสมดุ
- หากตอ้ งการใช้โสตทศั นูปกรณ์ กรุณาระบุในใบจองโดยละเอยี ด
3. รว่ มกันดแู ลรักษาอุปกรณ์และพ้ืนทห่ี ้องประชมุ ไม่สร้างความชารุดเสยี หาย
- หา้ มเคลือ่ นยา้ ยโตะ๊ และ/หรืออุปกรณ์ขนาดใหญภ่ ายในห้อง
4. ยกเลกิ การจองห้องอย่างน้อย 20 นาที
- หากไมแ่ จง้ ยกเลิกภายในเวลาท่กี าหนดและไมม่ ีผู้มาใช้หอ้ ง จะไม่มีสิทธิ์จองใชห้ ้องประชุมได้อกี 15 วัน
5. หลงั เสรจ็ ส้ินการใช้งาน กรณุ าปดิ ไฟและอุปกรณ์ไฟฟูาทุกชนิดภายในห้อง ลอ็ กหอ้ งให้เรียบร้อยและคืนกญุ แจท่ี
เจ้าหนา้ ที่

ระเบียบการเข้าใช้ Quiet Zone
- งดการพูดคยุ ส่งเสียง หรอื การกระทาท่รี บกวนสมาธผิ ูอ้ ื่น

อาจารยท์ ี่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาสายรหัส หมายถึง อาจารย์ท่ีมีความสมัครใจในการช่วยดูแลนิสิต และได้รับการแต่งต้ังจากศูนย์
แพทย์ศาสตร์ศกึ ษา โรงพยาบาลสมเดจ็ พระป่นิ เกล้า พร.

บทบาทหน้าที่
1.ให้คาปรกึ ษาเร่ืองสว่ นตวั เรื่องการเรียนของนิสติ ในสายรหสั
2.ให้คาปรกึ ษาปัญหาทวั่ ไปของนสิ ิตในสายรหสั
3.ร่วมกจิ กรรมครู-ศิษยส์ ัมพนั ธ์
4.แจง้ ข้อมูลทผ่ี ปู้ ระสานงานใหค้ าปรึกษาศูนย์แพทย์ ฯ เมื่อนิสิตเกิดปัญหาการเรียน พฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม
ทีไ่ ม่สามารถแกไ้ ขจดั การได้ หรือสงสยั อาการทางจิตเวช
5.นัดหมายนสิ ติ เพือ่ ทาความรู้จกั และประเมนิ โดยใช้แบบฟอร์มการประเมนิ อยา่ งนอ้ ยปีละ 2 ครัง้

รายชอ่ื อาจารยท์ ี่ปรึกษา - นสิ ติ แพทย์

ลาดับ รหสั นสิ ติ ช่ือ – สกลุ อาจารยท์ ่ีปรกึ ษา สายรหัส
น.อ.หญงิ จริ พรรณ ตันตมิ งคลสุข A
๑ ๖๑๒๐๐๐๓๒ นางสาว ปาณสิ รา เวชสุวรรณมณี น.ต. ภาคย์ นมิ ิตพรสุโข B
น.อ.หญงิ สรัญญา อรรถไพศาลศรดุ ี C
๒ ๖๑๒๐๐๐๔๘ นาย ภูเบศ โสมาภา น.ต. ภาษติ พไิ ลพันธพ์ ฤกษ์ D
น.อ. คัมภรี ์ วงษส์ ุวรรณ E
๓ ๖๒๒๐๐๐๐๑ MR. EVARITH KHIM น.ท.หญิง ธนสนิ ี เนยี มทนั ต์ F
น.ต. กรี ติ ประเสรฐิ ผล G
๔ ๖๒๒๐๐๐๑๘ นาย กฤตนัย สีมาขจร น.ต.หญงิ ณรี านชุ จอกแก้ว H
น.อ.หญิง ภทั ทชวี ์ องค์มหัทมงคล I
๕ ๖๒๒๐๐๐๑๙ นางสาว กญั ญารตั น์ บุญยะเจรญิ จติ ต์ น.อ. ชลี บัวขา J
น.ท. สรภพ ภักดวี งศ์ K
๖ ๖๒๒๐๐๐๒๐ นาย ขจรศกั ด์ิ จิตแกล้ว น.ต.หญิง ปทมุ รตั น์ พลายเวช L
น.ท. ธรี พล ปญั จชัยพรพล M
๗ ๖๒๒๐๐๐๒๑ นาย คชติณห์ หมัน่ เขตรกรณ์ พญ.กมลมาลย์ เจริญอาภารศั มี N
น.ท. ติรวิทย์ หงสกุล
๘ ๖๒๒๐๐๐๒๒ นางสาว จติ รกัญญา กจิ เฮง ร.อ.หญิง ขวญั ชนก เลศิ สิริภัทรจติ ร
น.อ. กติ ิพจน์ งามละเมียด
๙ ๖๒๒๐๐๐๒๓ นางสาว ชญากานต์ สิงหห์ ริ ัญนุสรณ์ น.ท.หญิง พชั ราพร หวังวรวทิ ย์
น.อ.หญงิ พิมพ์สริ ิ ชมะนนั ทน์
๑๐ ๖๒๒๐๐๐๒๔ นาย ชยณัฐ จันทรด์ า น.ท. กุลวทิ ย์ จันทรศริ ริ ัตน์
น.ท.หญงิ มนันยา ศลิ ปกิจ
๑๑ ๖๒๒๐๐๐๒๕ นาย ชยานันต์ ภัทรเสถยี ร ร.อ. ศุภะโชค วัฒนกจิ ไกรเลศิ
น.อ. นพดล เหตระกูล
๑๒ ๖๒๒๐๐๐๒๖ นาย ทาคุมิ บญุ รตั น์คุณานนท์ น.ต.หญิง ธนิดา เจนบวรกิจ
น.อ. สนธิเดช ศวิ ไิ ลกุล
๑๓ ๖๒๒๐๐๐๒๗ นาย ธนภัทร กรอบรัมย์ น.ท.หญงิ ปยิ ะภัทร สมานพบิ ูลยผ์ ล
น.ต. วรพจน์ ชมศริ ิ
๑๔ ๖๒๒๐๐๐๒๘ นางสาว ธนญั ภรณ์ สุขวารี ร.อ.หญิง นันทรชั ยทุ ธวงศ์

๑๕ ๖๒๒๐๐๐๒๙ นางสาว ธัญวรตั ม์ บุญยง่ิ สถิตย์

๑๖ ๖๒๒๐๐๐๓๐ นาย นครนิ ทร์ บุญบารงุ

๑๗ ๖๒๒๐๐๐๓๑ นางสาว นนลนี เชาวถ์ าวร

๑๘ ๖๒๒๐๐๐๓๒ นางสาว นวรตั น์ บญุ แร่

๑๙ ๖๒๒๐๐๐๓๓ นาย นิธนิ นั ท์ แตงอ่อน

๒๐ ๖๒๒๐๐๐๓๔ นาย ประจักษ์ ร่งุ เชวง

๒๑ ๖๒๒๐๐๐๓๕ นางสาว พรนภสั พรวรนนั ท์

๒๒ ๖๒๒๐๐๐๓๖ นาย เพยี รวิทย์ ตรรี ตั น์สขุ

๒๓ ๖๒๒๐๐๐๓๗ นางสาว มุขสุดา กากระโทก

๒๔ ๖๒๒๐๐๐๓๘ นาย ยศวริศ ไพรวลั ย์

๒๕ ๖๒๒๐๐๐๓๙ นางสาว ลลิตสรา ปรดี ี

๒๖ ๖๒๒๐๐๐๔๐ นาย วรวชิ แซ่เล้า

๒๗ ๖๒๒๐๐๐๔๒ นาย ศุภวุฒิ นาคอร่าม

๒๘ ๖๒๒๐๐๐๔๓ นาย สิรวิชญ์ บวรวนิชพงษ์

ลาดับ รหัสนิสติ ชอ่ื – สกลุ อาจารยท์ ป่ี รึกษา สายรหัส
น.ท. ศราวฒุ ิ พลู ทรัพย์ O
๒๙ ๖๒๒๐๐๐๔๔ นาย สภุ นัย จนั ทวงศ์ น.ต. ธีรพงศ์ หล่ิววรกลู P
น.ต. วชั ระ เพ็ชรรัชตานนท์ Q
๓๐ ๖๒๒๐๐๐๔๕ นางสาว สุริวสั สา สรสงิ หไ์ กรสร น.ต. จตภุ มู ิ ช้นั สมบรู ณ์
น.ท.หญิง ลลิดา หวา่ นพืชน์
๓๑ ๖๒๒๐๐๐๔๖ นางสาว สุวดี กอรัตนโชค น.ท.หญิง ลลิดา หวา่ นพชื น์

๓๒ ๖๒๒๐๐๐๔๗ นางสาว อรณิชา ครอู ุตสาหะ

๓๓ ๖๒๒๐๐๐๔๙ นางสาว อภชิ ญา เจียมสวา่ งพร

๓๔ ๖๒๒๐๐๐๕๐ นาย ปราณยุต ปกี อง

แผนผงั การบริการให้คาปรกึ ษาแกน่ กั ศึกษาแพทยท์ างด้านจติ ใจ

อาจารย์สง่ นิสติ ปรึกษา นสิ ิตมาปรกึ ษาด้วยตนเอง
- อาจารย์ประจารายวิชา
- อาจารยท์ ่ปี รกึ ษาสายรหสั

เจา้ หน้าท่ศี ูนย์แพทย์ผปู้ ระสานงานใหค้ าปรึกษา สมั ภาษณเ์ บ้ืองต้น
-แฟมู แยกประวตั ิ แนบผลการเรียน
-แนบแบบประเมนิ 2Q/9Q และ/หรอื แบบประเมินความเครียด (ST-5)
-แนบฟอร์มเรอื่ งท่ตี ้องการปรึกษาของนิสติ

นัดหมายหนว่ ยตรวจจติ เวช

จนท.นานสิ ติ เขา้ รบั การรักษา
ตดิ ตามผลการบริการรักษาอย่าง

ตอ่ เนื่อง

อาจารยจ์ ติ แพทย์ประชุมเร่ืองการรกั ษานสิ ิต เดือนละ 1 ครั้ง

จนท.รวบรวมผลการปฏิบตั ิงานทกุ การขนึ้ ปฏิบัตงิ านของนสิ ิตทกุ ภาควิชา
การรกั ษาทางจิตใจลงในแฟมู ประวตั ิ

จดั ประชุมคณะกรรมการให้การดูแลชว่ ยเหลือ นสิ ติ ,อาจารยจ์ ิตแพทยแ์ ละอาจารยท์ ่ีปรึกษาที่
เกี่ยวขอ้ ง ทุก 2 เดือน/กรณมี ีเหตเุ ร่งด่วนฉกุ เฉินเชญิ ประชมุ ทันที

ศูนยแ์ พทยศาสตรฯ ทาหนังสือแจง้ ภาควิชาล่วงหนา้ กอ่ นนิสิตจะข้ึนไปปฏบิ ัติงาน
โดยแจง้ กับอาจารย์ที่ดูแลการเรียนการสอนแตล่ ะช้นั ปตี ามกระบวนการรักษาความลบั

สรุปแฟูมเม่ือจบการศกึ ษาหรือพน้ สภาพนิสิต

ภาคผนวก

FM-IC-01-026 R02
20 ต.ค. 60

แบบบันทึก “แนวทางปฏบิ ัติเม่อื บคุ ลากรทางการแพทยป์ ระสบอุบัตเิ หตจุ ากของมคี ม /สมั ผสั เลือด สารคัดหลง่ั ขณะปฏบิ ัติงาน”

Code อุบตั ิเหตุ :ลาดบั ทท่ี บี่ คุ ลากรไดร้ บั อบุ ตั เิ หตใุ นหนว่ ยงานนัน้ ๆ……………..……../ พ.ศ......................../รหัสวอร์ดตาม EMR ...........................

เหตกุ ารณเ์ กดิ อยา่ งไร อธิบาย วนั /เดอื น/ปี ...........................เวลา.....................ทเี่ กดิ เหตุ
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................
เปน็ □ needle stick injury □ sharp injury □mucous membrane exposure

ถา้ ใชค่ วามเสยี่ งดังกล่าว
ผู้ป่วย (Source) เจาะเลือด วันท่.ี ......../.........../.........(รหสั tube เลอื ด:S/ ลาดบั ทที่ ี่บคุ ลากรได้รับอบุ ัติเหตุในหน่วยงานนัน้ ๆ…….….../ พ.ศ............../รหัสวอร์ดตาม EMR..............)

 Anti HIV  HBs Ag  Anti HCV

เจา้ หน้าท่ี(Exposure) เจาะเลอื ดวนั ท.ี่ ........../........../..........(รหสั tube เลอื ด : E/ ลาดับท่ีที่บคุ ลากรได้รบั อบุ ัตเิ หตุในหนว่ ยงานนนั้ ๆ……..../ พ.ศ........../ รหัสวอร์ดตาม EMR............)
 Anti HIV  HBs Ag  Anti HBs  Anti HCV
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณี Anti HIV ผู้ปว่ ย Positive/ไมท่ ราบ source ผปู้ ่วย) กรณี HBs Ag ผูป้ ่วย Positive

ผล Anti HIV เจา้ หน้าท่ี ผล HBsAgเจา้ หน้าที่

Negative Positive Negative Positive

สง่ รบั ยาท□่ี คลินิกใหค้ าปรกึ ษา□หอ้ งยาฉกุ เฉนิ นดั คลนิ ิกใหค้ าปรกึ ษาในเวลาราชการ ผล Anti HBsเจ้าหนา้ ที่ นัดคลนิ กิ ให้คาปรึกษาในเวลาราชการ

เวลา.............................. Negative Positive
วันท.่ี ........../........../............
สง่ รักษาท□่ี คลนิ กิ ใหค้ าปรึกษา□ห้องฉกุ เฉนิ ไมต่ ้องทาอะไร
จานวนยาท่เี บกิ (เม็ด) (ตรวจสอบสทิ ธใ์ิ หแ้ พทย์สั่งการรกั ษา)
1) Truvada
1 tab oralq 24hrs with stat เมอ่ื วนั ท.่ี .................เวลา................จานวน................เม็ด 1) HBIG (เบิกตามสทิ ธกิ ารรกั ษา) วันท.ี่ ..............เวลา ..........ผฉู้ ดี ..........................
2) Atazanavir(300 mg)
1 tab oralq 24hrs with stat เมอ่ื วันท่ี...............เวลา.................จานวน................เมด็ 2) HBV vaccine (เบิกจากโครงการ IC )
3) Ritonavir(100mg) Dose 1 วนั ท…่ี ……………………….เวลา..............................ผู้ฉีด.......................
1 tap oralq 24hrs with stat เมอ่ื วนั ท.ี่ ..............เวลา.................จานวน.................เมด็ Dose 2 วันท…่ี ……………………….เวลา..............................ผ้ฉู ีด…………………
4) ชื่อยา………….................................. Dose 3 วนั ท…่ี ……………………….เวลา..............................ผ้ฉู ีด…………………

วิธใี ช้................................ วนั ที่.............. .เวลา....................จานวน.................เมด็

จา่ ยโดยเภสัชกร.....................................

หมายเหตุ1. การระบุ Code : ลาดับที่ หมายถงึ ลาดับเหตกุ ารณท์ ีเ่ กดิ ในหนว่ ยงานนัน้ ๆ เช่น เกิดเหตกุ ารณ์ของหนว่ ยงานER ลาดับที่ 1, ลาดบั ที่ 2 เป็นต้น
2. จานวนยาตา้ นไวรสั ทเ่ี บกิ ใหเ้ บกิ ถงึ วนั ราชการ เพอื่ รอสง่ พบแพทย์ทค่ี ลินกิ ให้คาปรึกษารกั ษาต่อ
3. ถ้าผลเลอื ดผูป้ ่วยเป็นลบทง้ั Anti HIV และ HBs Ag จะไม่พจิ ารณาใหย้ าตา้ นไวรสั และ HBV vaccine
4. บคุ ลากรทปี่ ระสบอุบตั เิ หตุนาแบบบนั ทึกฯ สง่ คลินกิ ให้คาปรกึ ษาในเวลาราชการ
5. ถ้าพบปัญหาขอ้ ขดั ขอ้ งใหต้ ดิ ต่อน.ท.หญิงวลั ภา โคสติ านนท์ หมายเลขโทรศพั ท์ 08 1621 8136 หรือ น.ท.หญงิ ไขม่ ุก ทองเยน็ หมายเลขโทรศพั ท์ 08 251 2234

กจิ กรรมของนิสิต ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566

1. กจิ กรรมเพื่องานกจิ การนสิ ติ พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
1.1 สานสมั พันธ์นิสิต-อาจารย์
1.2 ปฐมนเิ ทศ
1.3 รบั เส้อื กาวน์
1.4 นพลักษณ์
1.5 ไหว้ครู
1.6 วันมหดิ ล
1.7 กฬี าสัมพนั ธ์

2. กจิ กรรมเพื่อพัฒนานสิ ติ ตามอตั ลกั ษณ์
๒.๑ จดั ค่ายอาสา
๒.๒ กจิ กรรมตรวจสขุ ภาพประชาชน
๒.๓ จติ อาสาเพอื่ ประชาชน








Click to View FlipBook Version