พ่อขุน
รามคำแหง
มหาราช
พระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตริย์ไทย
จัดทำโดย ชุติมา อรรถไชยวุฒิ
ม.4/8 เลขที่ 35
SOCIAL PSYCHOLOGY | 72
ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุ 19
พระองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับ
นางเสือง โดยพระองค์มีพระเชษฐา 2 พรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน
พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ พระ เจ้าเมืองฉอด (อยู่ในบริเวณแม่สอดใกล้จังหวัด
ตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน)
เชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่
พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระ พระบรมชนกนาถจึงทรงขนานพระนามว่า
"พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้า
เชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลา หาญ" ภายหลังเมื่อพระบรมชนกนาถได้เสด็จ
จารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราช
สวรรคต และพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐาธิราช
สมบัติต่อจากพระบรมชนกนาถ และเมื่อ
ได้เสวยราชสมบัติต่อมา พ่อขุนรามคำแหงจึงได้
พ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว
ไปเป็นเจ้าเมืองครองเมืองศรีสัชนาลัย
พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา
ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิม
ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหง
ของพระองค์คือ เจ้าราม เพราะปรากฏพระนาม
มหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายแห่ง เมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัย
ล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็น นั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามพระ
ราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยา
ศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนัก พระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราช
พระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะ นัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุง
ศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดาร
มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามัง
รายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุน กรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้า
เมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยา
รามคำแหงก็น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้ ราม"
การขยายอาณาจักร
เมื่อพระเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ใน
ระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อัน
เป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมือง เป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยา
เม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดน
ของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วน
ทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่
ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล และสุขุมที่สุดเพื่อ
หลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้ง
หลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้อันเป็นดินแดนของขอม และ
ทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้
เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วย
ต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก
แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่าถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑา
ทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญ
ในปี พ.ศ. 1829 กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งฑูตเข้ามาขอทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน
เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความ
สนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น
แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ
คือ ใน พ.ศ. 1823 ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และ
เกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้
ใน พ.ศ. 1842 ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา)
ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบ
เช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิด
พระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์
จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า
มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบ
เสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไป
ตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่อ
อาณาจักรสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคำแหงมิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะ
โท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว”
ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทยในสมัย
พระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศ
ตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขต
ตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่ งซ้าย
แม่น้ำโขง ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยาย
อาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น
การทำนุบำรุงบ้านเมือง
เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง ยังได้ทรง
ทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ เพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น ได้ส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม ถึงกับได้
เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั่ นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะได้
ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น
ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์
สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้
ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา ในขณะพิจารณา
สอบสวนและตัดสินคดี พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรม แสดง
ความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตรทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศล ศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้
พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้งก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน
การปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น
พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิด
เช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะ
ถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออก
ประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม
ในด้านการปกครองเพื่ อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มี
อาการครบ 32 ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มี
ตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ
ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอกและเมืองประเทศราช
สำหรับหัวเมืองชั้นใน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมือง
ศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราช มีเมืองทุ่งยั้งบางยม สองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระ
หลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ
สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไป
ปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบ
ป้องกันเมือง หัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้น ได้แก่ เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี
เพชรบูรณ์ แลเมืองศรีเทพ
ส่วนเมืองประเทศราชนั้น เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปน
อยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี
แลเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย เมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช
มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และเวียงคำ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในปาฐกถาเรื่อง "ลักษณะการ
ปกครองประเทศสยามแต่โบราณ" ว่า เมืองไทยสมัยดังกล่าวปกครองออกเป็นสองแบบ คือ
หัวเมืองเหนือในเขตอำนาจของกรุงสุโขทัย ปกครองอย่างบิดาปกครองบุตร (Paternal
Government) คือ บิดาธิปไตย
ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้ หมายถึงดินแดนสุพรรณบุรีและนครชัยศรี มีการปกครองแบบขอม มีพราหมณ์
เป็นแม่บท กษัตริย์เป็นเทวราชา ใช้อำนาจปกครองแบบนาย ปกครองบ่าว (Antoevatie Government)
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์ การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิม
อยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างบิดาปกครองบุตร หรือปิตุรักษ์ (Paternalism) ดังปรากฏในศิลาจารึกของ
พ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่อง
ความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อ
ราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
"…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บ
ท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก
เมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม.."
วิธีการนี้เป็นที่มาของประเพณีซึ่งเรียกกันว่า "ตีกลองร้องฎีกา"
ในบรรดาหัวเมืองที่อยู่ไกลออกไปและอยู่ในอำนาจ เช่น เมืองคนที เมืองพระบาง เมืองชัยนาท เมือง
แพร่ และเมืองน่านใช้บังคับปกครองแบบภายในวงศ์ญาติ หรือที่เรียกว่า ปิตุบาล(Patriarchal
Government) คือ กำหนดให้ทุกเมืองถือว่ากษัตริย์กรุงสุโขทัยเป็นหัวหน้าหรือหัวหมู่กษัตริย์ในราชธานี
ถือว่าเป็นญาติกับประมุขของหัวเมืองลูกหมู่ ประมุขของแคว้นนั้น ๆ มีอำนาจปกครองผู้คนในหมู่ของตนให้
มีความเป็นอยู่สุขสมบูรณ์และเป็นระเบียบเรียบร้อย
ส่วนบรรดาอาณาจักรเก่า ๆ ที่เข้ามาเป็นประเทศราชภายหลัง เช่น อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมอญ
อาณาจักรล้านช้าง ทำให้อาณาจักรสุโขทัยยิ่งใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว การปกครองจึงต้องเปลี่ยนไปตาม
สภาพ เช่น ทางใต้ และทางตะวันตกกจะเป็นรูปแบบสมาพันธ์ (Confederation) ส่วนทางภาคเหนือ จะเป็น
รูปแบบภักดิ์วงศ์ (Feudalism)
การศาสนา
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงนั้น ปรากฎว่าศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเพราะพระองค์ทรงเลื่ อมใส
ศรัทธาอย่างมาก เช่นเมื่อมีคนไทยเดินทางไปยังเกาะลังกา เพื่อบวชเรียนตามลัทธิลังกาวงศ์ คือถือคติ
อย่างหินยาน มีพระไตรปิฎกเป็นภาษามคธ แล้วเข้ามาตั้งเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่เมืองนครธรรม
ราชนั้น พระเจ้ารามคำแหงยังได้เสร็จไปพบด้วยพระองค์เองแล้วนิมนต์พระภิกษุนั้นขึ้นมาตั้งให้เป็น
สังฆราชกรุงสุโขทัย และได้บวชในคนไทยที่เลื่ อมใสศรัทธาต่อมาตามลำดับ ต่อมาพระเจ้ารามคำแหงได้
ทำไมตรีกับลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา แลนับแต่นั้นมาคนไทยจึงได้นับถือลัทธิลังกาวงศ์
สืบมา
สุโขทัยสมัยนั้น มีศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนามหายาน และเถรวาทปนกันไป มีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่ง
คือ วัดมหาธาตุ กลางกรุงสุโขทัย พระเจดีย์สำคัญวัดนี้ ปัจจุบันยังเหลืออยู่หลายองค์และมีศิลปะแปลก
กว่าเจดีย์อื่ นในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ คือ พระเจดีย์ที่เรียกว่าพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือแบบที่เรียกว่า
เหมือนพุ่มเทียน พระเจดีย์แบบนี้มีเฉพาะ จังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร ไม่เคยพบในจังหวัดอื่ นเลย แต่
แปลกที่เจดีย์แบบนี้ไปมีในเมืองจีนด้วยถึง 2 องค์ ไม่ทราบว่าใครเอาอย่างใคร แต่อย่างไรก็ตามแสดงว่า
ในสมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระพุทธศาสนามั่นคงพอสมควร
นอกจากเมืองสุโขทัยแล้ว ที่เมืองศรีสัชนาลัย ก็ยังมีโบราณวัตถุคล้ายกับสุโขทัย เช่น วัดเจดีย์เจ็ดแถว
พระสถูปทรงข้าวบิณฑ์ มีหลักฐานแสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้น ไทยได้เลิกนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิ
มหายานอย่างขอม ซึ่งลัทธินี้รุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไทยในสมัยนี้ได้รับเอาลัทธิลังกาวงศ์
จากจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้ามา แต่ตั้งแต่นั้นมาไทยไม่เคยเปลี่ยนลัทธิทางพระพุทธศาสนาอีกเลย
แม้การปกครองที่เปลี่ยนจากระบบเทพาวตาร ไทยก็เปลี่ยนมาเป็นระบบพ่อปกครองลูก ข้อนี้เป็นเพราะ
อิทธิพลของอพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท โดยเฉพาะข้อความในจักรวัตติสูตรและอัคคัญญสูตร มี
อิทธิพลอย่างสูงต่อระบบการปกครอง ทำให้กษัตริย์ไทยทรงสำนึกในหน้าที่ในการบำรุงจักรวรรดิต่อ
ประชาชน
ด้านปูชนียวัตถุ มีการสร้างพระสถูปเจดีย์แบบไทยแท้ ตัวอย่าง เช่น พระสถูปวัดช้างร้อง เมืองศรีสัชนาลัย
วัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่เมืองศรีสัชนาลัย
ด้านพระพุทธปฏิมา พุทธศิลป์ในสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่รุ่งเรืองที่สุด ระยะผสม และ
ระยะเสื่อม เราอาจกล่าวได้ว่า ไทยเป็นที่ผลิตพระพุทธรูปมากที่สุดในโลก และพุทธศิลป์ที่งามที่สุดคือสมัย
กรุงสุโขทัย ในการหล่อพระพุทธปฏิมาไทยสามารถหล่อพระพุทธปฏิมาใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น แม้แต่ชาติ
อิตาลีก็ไม่สามารถทำได้ เช่น พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันอยู่ในวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม หน้าตักสามวาเศษ
พระพุทธรูปนิยมสร้างใน 4 อิริยาบถ คือยืน เดิน นั่ง นอน พระยืนนั้นที่เป็นสำริดมีน้อย ไม่เหมือนชนิดปูนั้น
ที่เรียกว่า พระอัฏฐารสอาจดูตัวอย่างได้ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย และพระอัฏฐารสที่วัดสระเกศในปัจจุบัน
พระพุทธลีลาที่ถือว่างามที่สุด อยู่ที่วิหารคต วัดเบญจมบพิตร พระปูนปั้ นขนาดใหญ่ เช่น พระอัจนะ ที่วัด
ศรีชุม ส่วนพระสำริดขนาดใหญ่ เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศาสดา และพระที่ยังมีปัญหาอีก
อยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระทอง วัดไตรมิตร พระปางไสยาสน์นั้นมีอยู่ที่วิหารพระศรีศาสดา ที่วัดบวรนิเวศ
วิหาร
ในสมัยสุโขทัยตอนต้นนั้น คณะสงฆ์ที่มีอยู่สืบต่อมาจากสมัยทวาราวดีพวกหนึ่ง คณะสงฆ์ที่สืบต่อมาแต่
สมัยลพบุรีพวกหนึ่ง ครั้งแรกมีทั้งเถรวาทและมหายาน พอมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ได้ส่งทูต
ไปนิมนต์คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย เพราะฉะนั้นในจารึก
ของพระองค์ จึงพรรณนาความว่า
การวรรณคดี
นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่
เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่าง
หนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 1826 กล่าวกันว่าได้ดัดแปลง
มาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้
ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงใน
บรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมาก
ขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ศิลาจารึก
ศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และนิรุกติศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ใน
ส่วนของเนื้ อหาสาระ ถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ว่ามี
ความเป็นมาอย่างไร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยา
เธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ทรงค้นพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่
๑ อันเป็นหลักลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อปี
พ.ศ.๒๓๗๖ จากนั้นก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของศิลาจารึกอีกหลายหลัก ที่กล่าวถึงเหตุการณ์
ในสมัยสุโขทัย
ศิลาจารึกที่สลักขึ้นในสมัยสุโขทัย ที่มีการชำระ และแปลแล้วนำมาพิมพ์รวบรวมไว้ใน ประชุม
จารึกสยามภาคที่ ๑ พ.ศ.๒๔๖๗ มีจำนวน ๑๕ หลัก จากนั้นได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และจัดพิมพ์เผย
แพร่ โดยมีหอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยหลักหลายครั้ง เฉพาะที่เป็นจารึกสมัยสุโขทัย ได้มีการรวบรวม
จัดพิมพ์อีกในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย โดยกรมศิลปากร เนื่ องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้จัดกลุ่มจารึกสุโขทัยตามลักษณะของตัวอักษร จำแนกไว้เป็น ๕ กลุ่ม คือ
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรธรรมล้านนา
จากรึกสุโขทัยที่พบและอ่านแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หลัก