1
การประมวลผลแบบสอบถามความคดิ เห็นของกรรมการ/ผูท้ รงคณุ วฒุ ิขององคก์ รสมาชิก
สภาประชาสังคมชายแดนใต้
โครงการจดั ทารายงานความคดิ เหน็ ภาคประชาสังคมชายแดนใต้
เพอื่ เสนอต่อ Party A และ Party B ของการพูดคยุ สันติภาพ
โดยสภาประชาสงั คมชายแดนใต้ ดว้ ยความร่วมมอื กับศูนย์สนั ติวิธีชายแดนใต้
สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ด้วยความร่วมมือกับศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้ ได้จัดให้มี “โครงการ
จัดทารายงานความคิดเห็นภาคประชาสังคมชายแดนใต้เพื่อเสนอต่อ Party A และ Party B ของการพูดคุย
สันติภาพน้ี” โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีจะสนับสนุนให้การพูดคุยสันติภาพ/เพื่อสันติสุขมีความก้าวหน้าอย่างเป็น
รปู ธรรม โดยการรับฟังความคิดเห็นของคนในพ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสาคัญ จึงมุ่งม่ันที่จะให้ภาคีการ
พูดคุย [ได้แก่ Party A (ฝ่ายรัฐบาล) และParty B (ฝ่ายผู้เห็นต่างประกอบด้วย BRN และ MARA Patani เป็น
หลัก)] เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่เป็นบางส่วนของคนในพ้ืนที่ ได้ประกอบกันเป็นภาคีที่ไม่เป็นทางการ
ของการพูดคุย (เป็น Party of Civil Society หรือ Party C) และมีส่วนร่วมนาข้อคิดเห็นของคนในพ้ืนท่ีเข้าสู่
กระบวนการพดู คยุ ด้วย
โครงการฯตั้งใจจะจัดประชุมกลุ่มจาเพาะ (focus group) ที่ประกอบด้วยกรรมการและ
ผทู้ รงคุณวฒุ ิขององคก์ รทเี่ ป็นสมาชกิ ของสภาประชาสังคมฯ แต่ด้วยข้อจากัดของสถานการณ์โควิด-19 จึง
ได้เปล่ียนจากการประชุมกลุ่มจาเพาะ มาเป็นการจัดทาแบบสอบถามในรูปของ Google form เพื่อสอบถาม
ความเห็นของกรรมการองคก์ รสมาชิกของสภาฯแทน ผลสรปุ จากแบบสอบถามเป็นดังน้ี
1. ข้อมลู เก่ียวกบั ผ้ตู อบแบบสอบถาม
มีตัวแทนองค์กรสมาชิกสภาประชาสังคมฯ เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 27 คน/องค์กร แบ่งเป็น
จาก จงั หวัดปตั ตานแี ละจังหวดั นราธวิ าสจังหวัดละ 9 คน/องค์กร จากจังหวัดยะลา 5 คน/องค์กร จากจังหวัด
สงขลา 2 คน/องคก์ ร จากจังหวดั สตลู และกรงุ เทพฯ จังหวัดละ 1 คน/องคก์ ร
ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย จานวน 18 คน และ หญิง จานวน 9 คน มีเพศหญิงคิดเป็น 1
ใน 3 จากจานวนของผ้ตู อบแบบสอบถามทง้ั หมด
ผู้ตอบแบบสอบถามท่ีมีอายุน้อยท่ีสุดคือ อายุ 25 ปี และอายุมากที่สุด 62 ปี โดยผู้ตอบจานวน
มากมอี ายรุ ะหว่าง 45-62 ปี
ผตู้ อบแบบสอบถามมีอาชพี และภมู ิหลงั ท่ีหลากหลาย ถึงแมว้ า่ จะเปน็ คนทางานภาคประชาสังคม
แต่ก็มีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกร/ประมง จานวน 4 คน นอกนั้นเป็นนักธุรกิจ ผู้รับจ้างสตาร์ทอัพ
นักการเมือง พนักงานเอกชน อาจารย์ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย นักวิชาการ ครู/ครูอัตราจ้าง
ผู้ตอบได้ระบุงานที่ทาในองค์กรภาคประชาสังคมว่าเป็นงานพัฒนา งานสื่อสารเพ่ือสันติภาพ หรืองานอาชีพ
อิสระ (freelance) ฯลฯ ตาแหน่งหน้าที่ในองค์กรภาคประชาสังคมมี อาทิ เป็นประธาน รองประธาน นายก
สมาคม และบางคนมีบทบาทด้านสันติภาพในคณะประสานงานระดับพ้ืนที่ (สล3.) ส่วนกระบวนการทางานมี
อาทิ การขับเคล่ือนเครือข่าย การขับเคล่ือนกิจกรรมชุมชนในพ้ืนท่ี จชต. การเป็นนักปฏิบัติการทางสังคม
นักพัฒนาชมุ ชน การเป็นจติ อาสาเพือ่ สงั คม การขบั เคล่อื นงานเกษตรวิถีธรรม และการเป็นนักกิจกรรมรณรงค์
สนั ตวิ ิธีในชุมชน เป็นต้น ในส่วนของประเด็นงานมีหลายด้าน เช่น ด้านการสื่อสาร (จัดรายการวิทยุ) ด้านเด็ก
และเยาวชน ดา้ นการพฒั นาสตรี ดา้ นการช่วยเหลอื เดก็ กาพร้า ดา้ นการศาสนา เป็นตน้
2
2. ผลกระทบโดยตรงของความรุนแรงตอ่ องคก์ ร/บคุ ลากร/กล่มุ เป้าหมายขององค์กร
ผู้ตอบแบบสอบถามได้สะท้อนถึงผลกระทบของความรุนแรงแตกต่างกัน ซ่ึงอาจประมวลเป็น
ประเด็นได้ ดังนี้
2.1 ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ความไม่สงบในพื้นท่ีส่งผลต่อการดารงชีวิต การเดินทาง
ไปมาหาสู่ทตี่ ้องระวังตวั มากข้ึนเมื่อเดินทางไปยังพ้ืนท่ีท่ีไม่คุ้นเคย หรือแม้กระทั่งในพ้ืนท่ีสาธารณะ เช่น ตลาด
ความรู้สึกถึงทศั นคตใิ นทางลบของคนไทยนอกพืน้ ที่ซง่ึ สง่ ผลด้านการทางานและการประกอบอาชีพ
2.2 ความวิตกกังวล เชน่ การจัดกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนมักเปน็ ทีเ่ พง็ เล็งจากฝา่ ยความมั่นคง
ถกู รฐั สงสยั วา่ เป็นแนวรว่ ม วัยรุ่นขาดโอกาสทจ่ี ะพฒั นาตนเองอย่างเตม็ ขีดความสามารถ มีข้อจากัดทท่ี าให้
สญู เสยี ชว่ งเวลาวัยรุน่ ไป
2.3 ความเดือดรอ้ นในด้านเศรษฐกิจ ดา้ นการประกอบอาชีพ การลดลงของรายไดค้ รอบครัว
2.4 ผลกระทบต่อจิตใจ เกดิ ความหวาดกลัวและความเกลียดชังระหว่างกัน
3. สาเหตุของความขัดแยง้ ถงึ ตายท่ีดาเนินอย่ใู นชายแดนใต้
สาเหตุความขัดแยง้ สามารถจาแนกไดเ้ ป็น
3.1 ปัญหาความไม่เป็นธรรมและความไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะของกระบวนการยุติธรรม ปัญหา
ความเหล่ือมล้าของความเป็นอยู่ ความไมเ่ ทา่ เทยี ม เช่น ในเรอ่ื งเศรษฐกจิ ปากท้อง ทาให้คนจนอย่ยู ากลาบาก
3.2 ความไม่เข้าใจของรัฐบาล ความไมเ่ ขา้ ใจซึง่ กัน ความคิดที่ต่างกัน แนวคิดที่ไม่ตรงกัน การรับ
ข้อมูลทบ่ี ิดเบอื น ระบบการจัดการความรู้และการส่อื สารบกพรอ่ ง
3.3 การปฏิบัตงิ านของเจ้าหนา้ ท่ที าให้ประชาชนไม่พอใจรฐั การถูกกดขี่จากภาครัฐในอดีต จึงทา
ใหเ้ กิดความขดั แย้งของคนมลายกู ับรฐั ไทย หรือสยาม
3.4 การต่อสู้เพื่อเอกราช (มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการแบ่งแยกดินแดนหรือต้องการปกครองตนเอง)
และความขัดแยง้ ในอุดมการณท์ างการเมอื งของชาตนิ ิยมมลายู-ปาตานีกบั ชาตินยิ มสยาม-ไทย
3.5กลุ่มผลประโยชน์ ผู้มีอิทธิพล การขัดแย้งของฝ่ายความม่ันคงท่ีกอบโกยจากนโยบายการ
จัดการความขัดแยง้ การบรหิ ารจดั การงบประมาณ
3.6 ความขัดแยง้ ทางการเมือง ความเป็นเจ้าของของรฐั การอยากมีอานาจการปกครอง
3.7 ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ท่ีดารงอย่างต่อเน่ืองและยืดเยื้อในอดีต ประวัติการสูญเสีย
ดินแดนของอาณาจักรปาตานีในอดีต การปรับเปล่ียนความขัดแย้งตามพลวัตสมัยใหม่ ขบวนการต่อสู้เพ่ือ
เรยี กร้องดินแดนหรือเพอื่ แยกดินแดนเปน็ อิสระ การต่อสูร้ ะหวา่ งฝ่ายขบวนการตอ่ ตา้ นรัฐกับกองกาลังของฝ่าย
รัฐ การตอ่ สูท้ ่มี ีความสลบั ซับซ้อนของตวั แสดงและประเดน็ ปัญหาท่ปี นเปกนั จึงแก้ไขปัญหาดงั กลา่ วได้ยาก
4. การพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐบาลกับตัวแทนบีอาร์เอ็น (ก่อนหน้าน้ีกับ มารา ปาตานี) โดยมี
ตวั แทนรฐั บาลมาเลเซยี เป็นผอู้ านวยความสะดวก
มีผ้ตู อบเหน็ ด้วย จานวน 21 คน ไมเ่ ห็นด้วย 1 คนเพราะเห็นวา่ ไม่ไดผ้ ล
5. จะเกดิ อะไรถ้าไมพ่ ดู คยุ
ประมวลคาตอบไดด้ งั นี้
5.1 สถานการณ์จะแรงกว่าน้ี โดยเฉพาะถ้าเกิดความอยุติธรรมแก่พ้ืนท่ี การปราบปรามจากฝ่าย
รัฐจะรุนแรงขึ้น จะเป็นการแก้ปัญหาฝา่ ยเดียวที่ยากจะแสวงหาสนั ตภิ าพ
3
5.2 ฝา่ ยความมน่ั คงในพนื้ ทเ่ี รยี นรู้และปรับตัว เคารพ ให้เกียรติ พัฒนาทักษะการทางานร่วมกับ
ผู้อื่นสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบข้อสรุปของการพูดคุยและไม่พูดคุย สร้างการดรียนรู้ให้ประชาชน
เขา้ ใจสถานการณ์
5.3 การใช้กฎหมายระหว่างประเทศตามหลักสากลเพ่ือให้คู่ขัดแย้งหลักยุติความรุนแรงทั้งสอง
ฝ่ายและหลังจากนั้น สถานการณ์คลี่คลายสู่การปกครองตนเอง การเข้าหากันโดยยึดหลักความปรองดอง
ชดั เจนมากกว่าขนึ้
อยา่ งไรก็ดี ในการตอบคาถามขอ้ น้ี ยงั มบี างคนทยี่ นื ยนั ว่าการพดู คุยคือทางออกท่ีดีท่ีสดุ
6. ความเหน็ ท่ีขอเสนอสโู่ ต๊ะการพดู คยุ
6.1 ความคิดเห็นในเรื่องความปลอดภัยมีรายละเอียดดังนี้
6.2 ความคิดเหน็ ในเร่อื งทางออกทางการเมอื งมีรายละเอียดดังน้ี
4
6.3 การมีส่วนร่วมทางการเมืองมรี ายละเอยี ดดงั น้ี
7. คาขอให้ Party A Party B ทา ทส่ี อดคลอ้ งกบั วตั ถุประสงคข์ ององคก์ รของทา่ น
7.1 คาขอในด้านสังคม เช่น จัดการศึกษาท่ีสอดคล้องกับการดาเนินชีวิตของพ้ืนท่ีเป็นหลัก การ
ใช้บทบญั ญัติศาสนามาเป็นรากฐานและหลกั การพัฒนาในทกุ พืน้ ท่ี
7.2 คาขอในด้านการบริหาร เช่น การให้บทบาทแก่ผู้นาทุกองค์กร การแต่งตั้งบุคคลเข้าดารง
ตาแหน่งใด ๆ ในพื้นท่ีควรมีเสียงสนับสนุนจากชุมชน การให้ภาคประชาสังคมสามารถตรวจสอบการบริหาร
งบประมาณทุกภาคสว่ น
7.3 คาขอด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถ่ิน เช่น การมีโควตาให้ศาสนิกไม่ว่าศาสนาใด
ได้เปน็ ผ้บู รหิ ารท้องถ่ิน การมีรปู แบบการปกครองท้องถิ่นเฉพาะด้านการศึกษา และวัฒนธรรม การมีผู้นาหญิง
อยู่ในทมี งานการบริหารท้องถน่ิ จานวน 50%
7.4 คาขอดา้ นการเมือง เช่น การทาประชามติตามข้อเสนอจากประชาชน การให้รัฐสภารับรอง
ข้อตกลง
8. ควรมีขอ้ ตกลงใดในเรอ่ื งการมสี ่วนรว่ มทางการเมือง
8.1 การกระจายอานาจทเ่ี ป็นความตอ้ งการของพื้นท่ี
8.2 ให้ประชาชนรับรู้มีสทิ ธใ์ิ นการมีส่วนรว่ มทางการเมืองมากที่สดุ
8.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ
ประชาธปิ ไตย
9. ความคิดเหน็ อืน่ ๆ ทจี่ ะชว่ ยให้เกิดสันตภิ าพ
9.1 ปัจจัยทางสังคม เช่น ความสามัคคี การเรียนรู้ความแตกต่างแบบพหุวัฒนธรรมและการ
เรียนรู้ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมท่ีเป็นจริง การสร้างความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลกันระหว่างคนต่างศาสนาและ
5
เห็นความเป็นมนุษย์เป็นสาคัญ การใช้เวลาเพ่ือสร้างคนรุ่นใหม่ ศึกษาแนวคิดและแนวโน้มเก่ียวกับสันติภาพ
ของคนรนุ่ ใหม่ ศกึ ษาความประสงคห์ รอื ความตอ้ งการองนรุ่นใหม่ สนับสนุนผู้นาในการต่อสู้ให้มีแนวคิดใหม่ใน
การตอ่ ส้ดู ว้ ยสนั ตวิ ิธี พัฒนาการศึกษาท่ีสอดคล้องกบั การเกิดสันตภิ าพระยะยาว รัฐเข้าใจในเรื่องขนบประเพณี
ของพื้นที่สามจงั หวัดชายแดนภาคใตใ้ หม้ าก ตอ้ งเข้าใจในภาษามลายูตัวอักษรยาวีในการสื่อภาษาและเข้าใจใน
ความเป็นอตั ลกั ษณ์ของคนในพน้ื ที่ นกั วชิ าการและองคก์ รภาคประชาสังคมควรพัฒนาศักยภาพในบทบาทของ
การเป็นนักสรา้ งสนั ติภาพภาคประชาชนให้แก่ประชาชนทว่ั ไปใหม้ าก
9.2 ปัจจยั ทางเศรษฐกิจ เชน่ การอานวยให้ชาวบ้านมีเศรษฐกิจครัวเรือนที่ดี ให้อยู่ดีกินดีอย่างมี
ศักด์ิศรี รัฐมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาพัฒนา สร้างคุณภาพชีวิตท่ีดีให้คนในพ้ืนที่ให้ครอบคลุมมากที่สุด
โดยเฉพาะด้านปากท้อง สขุ ภาพ และการศกึ ษา
9.3 ปัจจัยความม่ันคง เช่น ฝ่ายรัฐหยุดสร้างเง่ือนไขให้ฝ่ายปฎิบัติการหรือขบวนการยกเป็น
ข้ออ้างในการใช้ความรุนแรง
9.4 ปัจจัยการมีส่วนร่วม เช่น การสร้างบรรยากาศท่ีเอื้อโดยให้คนในพ้ืนที่มีการแลกเปลี่ยน
ถกเถียงอย่างเสรี มีการจัดวงพูดคุยในวงกว้างเพ่ือให้ประชาชนรับรู้ รับทราบเรื่องราวต่างๆ ในพ้ืนท่ีเพ่ือที่จะ
สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มและขับเคล่ือนสันติภาพ / การตัดสินใจทุกอย่างของรัฐ
ตอ้ งมกี ารมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับสูง (ไม่ใช่เเค่รับฟังความคิดเห็น) ให้ทุกกลุ่มทีเก่ียวข้องสามารถ
มตี ัวแทนบนโต๊ะเจรจา และใชเ้ สยี งของคนในพื้นท่ี จชต. เป็นหลกั ในการพดู คยุ สนั ติภาพ
9.5 ปัจจัยทางการเมือง เช่น ฝ่ายรัฐบาลต้องมีใจในการแก้ปัญหาและเปิดโอกาสให้ประชาชนมี
ส่วนรว่ มในกระบวนการสันติภาพมากข้นึ รฐั ต้องไมใ่ ชอ้ าวุธและตอ้ งรบั ฟังความคิดตา่ งของผู้คิดต่างในการแก้ไข
ปัญหา ให้องคก์ รระหว่างประเทศอ่นื ๆ เขา้ มามสี ่วนรว่ มมากขึ้น ใหม้ กี ารรับรองขอ้ ตกลงสันติภาพจากอาเซยี น
9.6 ปัจจัยการบริหาร เช่น หน่วยงานระดับพื้นท่ีควรมีการประเมินผลอย่างโปร่งใสต่อบทบาท
หน้าท่ี ใหผ้ มู้ อี านาจทกุ ตาแหน่งมีวาระ และอยู่ใหตาแหนง่ ไดส้ ูงสุดไมเ่ กิน 10 ปี
ท้ังนี้ ท้ัง Party A และ Party B ควรรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอและความต้องการของประชาชน
คนในพ้ืนท่ีให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยและความยง่ั ยนื ทัง้ สองฝา่ ยต้องไม่ปลุกระดมสร้างความเกลียดชัง จน
นาไปสู้ความขดั แย้งทางศาสนา
10 เร่อื งท่อี ยากบอกแกช่ าวจงั หวัดชายแดนภาคใต้
ผู้ตอบแบบสอบถามมีเรื่องท่ีจะบอกชาวจังหวัดชายแดนใต้ด้วยกันหลายเร่ืองท่ีพอประมวลเป็น
ขอ้ ๆ ไดด้ งั นี้
10.1 บอกเรื่องท่ีดี ๆ เช่น สันติภาพคือความงดงามของจังหวัดชายแดนใต้ท่ีเป็นต้นทุนอยู่แล้ว
จงรกั ษาไว้ จงทางานดว้ ยใจ รู้บรบิ ท เขา้ ใจภาษา วัฒนธรรม
10.2 ชักชวนให้ช่วยกันสร้างสันติภาพ เช่น มีความอดทน เราต้องทลายความคิดท่ีว่าเราโดน
กระทา แล้วลุกข้ึนมาช่วยกันตามศักยภาพที่ตัวเองมีให้มากขึ้น และมีส่วนร่วมในการกาหนดความต้องการที่
แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ ควรตระหนักและต่ืนรู้ในประเด็นความขัดแย้งที่ยืดเย้ือ และหาแนวทางออก
รว่ มกนั โดยหลกั สนั ติวิธี เพราะประเด็นปัญหานี้คือปัญหาร่วมกัน ดังนั้น การแก้ไขก็ต้องเป็นวาระของชายแดน
ใต้ร่วมกัน คณุ เชอื่ วา่ สนั ติภาพเป็นจริงได้หรือไม่ ?
10.3 บอกหลักการทางการเมือง เช่น ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงตวามต้องการทางการเมือง
เราตา่ งเปน็ คนมลายู แมจ้ ะมกี ารนับถือศาสนาทีแ่ ตกต่างกัน
6
10.4 บอกเร่ืองความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนใช้หลักการดาเนิน
ชีวิตตามวิถี Berdikari (การยืนด้วยตนเองหรือการจัดการตนเอง) เดินทางบนคาสอนศาสนาที่ถูกต้อง อดทน
ซอบารต่อปญั หาทเ่ี กดิ ขึน้
10.5 ขอให้ต่ืนตัว เช่น สนใจเร่ืองกระบวนการพูดคุยสันติภาพอย่างจริงจัง อยากให้คนในพ้ืนที่
ชายแดนใต้ตระหนักและรับรู้ข่าวสารถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ช่วยกันติดตามรับข้อมูลข่าวสารท่ี
ถกู ตอ้ ง เชอ่ื ถือได้
10.6 เรียกรอ้ งความสามัคคีปรองดอง เช่น อยากจะให้พ้ืนที่สามจังหวัดเกิดความสงบสุขข้ึน รัฐ
กับประชาชนสามคั คปี รองดองชว่ ยเหลอื ความสามคั คนี าพาให้ประเทศเกิดความเจริญ เกดิ ความสขุ ทแ่ี ทจ้ ริง
10.7 เรยี กรอ้ งความเห็นอกเห็นใจ กอ่ นจะทาอะไรลงไปให้นึกถึงว่าถ้าเราเป็นผู้ถูกกระทาเราจะ
รสู้ ึกอยา่ งไร เอาใจเขามาใสใ่ จเราทกุ ๆ คน
10.8 ขอใหท้ ้ังสองฝ่ายหยดุ ใช้ความรนุ แรง และประชาชนตอ้ งให้ความรว่ มมือในการหนนุ เสรมิ
กระบวนการสันตภิ าพ และสรา้ งสงั คมท่ดี ใี นบทบาทที่ตัวเองทาได้
10.9 ขอให้ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ต้องเรียนรู้และเข้าใจกันและกันให้มาก
ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแบบพหุวฒั นธรรม
10.10 ขอให้ยอมรับว่าความขัดแย้งคือธรรมชาติ แม้การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วย
วธิ รี ุนแรงอาจจะง่ายกวา่ วิธสี ันติ แต่วิธีสนั ตินัน้ ใหห้ ลักประกันความสาเร็จและความยงั่ ยนื ในสนั ตภิ าพทสี่ ูงกวา่
11. เรอื่ งท่อี ยากบอกแก่คนในสังคมไทยโดยรวม
ผู้ตอบแบบสอบถามมเี รอ่ื งที่อยากบอกคนไทยนอกพ้ืนที่ จชต. อย่หู ลายเรอ่ื ง ดงั นี้
11.1 ชีวติ มนุษย์เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ท่ีเกิดมาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือมนุษย์ที่
เกิดมาในกรุงเทพฯ ทุกคนล้วนอยากได้ความสุข ความสันติ การเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกัน คนใน จชต.
ต้องการความยุตธิ รรม ต้องการประชาธปิ ไตย ไม่ต้องการคอร์รัปช่ัน ไม่ชอบให้รัฐรังแกประชาชน เช่นกัน และ
ขอให้เราอย่ดู ้วยการเคารพความเป็นคนของทกุ ฝา่ ยเปน็ หลกั คดิ ต่างแตก่ เ็ ป็นพ่นี อ้ งกันได้
11.2 ขออย่าได้รังเกียจคนใน จชต. บางครั้งการรับรู้ในบางมุม ทาให้เรารู้สึกและคิดเช่นน้ัน
เช่น รับส่ือด้านการใช้ความรุนแรงก็ทาให้รู้สึกว่าน่ากลัว การได้พบได้เห็นได้ร่วมงานกับพ่ีน้องบางกลุ่มในสาม
จงั หวดั ชายแดนใต้แล้วไม่ประทับใจ เน่ืองจากวัฒนธรรมการปฏิบัติตัวไม่เหมือนกัน ทาให้เรารู้สึกไม่ชอบคนใน
จชต. แต่น่าจะคิดว่า มันเป็นแค่บางส่วนท่ีผิวเผิน ลึก ๆ แล้วสามจังหวัดชายแดนใต้มีเสน่ห์ทั้งผู้คน สถานท่ี
ส่ิงแวดล้อม วิถีชีวิตการเป็นอยู่ แค่ต้องรู้จักเขาให้มากขึ้นเท่าน้ัน พื้นที่น้ีคนดีเยอะ มีความสวยงามอย่าง
หลากหลาย
11.3 หยุดเช่ือ แชร์ ชื่นชอบ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่าย สนับสนุนการสร้าง
สันติภาพในพ้ืนที่ และควรท่ีจะรับข้อมูลรอบด้านเพ่ือไม่ให้เกิดเงื่อนไขความขัดแย้งมากข้ึน ขอให้สนใจและ
เข้าใจปญั หา จชต. ขอให้เห็นใจวา่ ทุกคนเดอื ดรอ้ นเหมือนกนั หมด
11.4 ขอให้สนใจ และให้ความสาคัญแก่สถานการณ์ความขัดแย้งท่ีเกิดขึ้น ไม่ว่าจะในสามจังหวัด
ชายแดนใต้หรือในภาคอื่น ๆ ของสังคมไทยก็ตาม มีความสวยงามอย่างหลากหลาย สนับสนุนกิจกรรมที่
กอ่ ให้เกิดสนั ตภิ าพ และร่วมกนั คิดเสนอหาแนวทางให้แก่พืน้ ทที่ ี่มคี วามขัดแย้งอยู่
7
12. ภาพอนาคตของจังหวดั ชายแดนใต้
ผตู้ อบแบบสอบถามมองภาพอนาคตของจังหวัดชายแดนใต้ ดังนี้
12.1 มองภาพอนาคตในทางบวกมี อาทิ มองอนาคตท่ีไร้ความรุนแรงอย่างน้อยเชิงกายภาพ
เเละมีความเจริญรุง่ เรอื ง ประขาชนมพี ลงั ในการกาหนดวาระของตนเอง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตท่ีดี มีศักดิศรี
ของความเป็นมนุษย์ wellbeing and decent work ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จชต. เป็นพื้นที่ที่อุดม
สมบูรณ์ มากมายด้วยศิลปะวัฒนธรรม ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น สงบสุข และประชาชนในพื้นท่ีมี
รอยย้ิม สงั คมมอี ัตลกั ษณ์เป็นของตวั เองและเกือ้ กลู กบั สังคมภาพใหญ่
12.2 มองภาพอนาคตอย่างไม่ค่อยมน่ั ใจ ไม่ชัดเจนวา่ เรากาลงั เดินทางไปหาสันติภาพแต่ยังไม่รู้ว่า
เส้นทางอีกยาวนานแค่ไหน ลึก ๆ ยังมีความหวังว่าจะเกิดสันติภาพขึ้น แต่ ณ วันนี้ยังไม่เห็นตัวแปร หรือ
ปัจจยั ที่จะเป็นตัวกระตนุ้
12.3 มองภาพอนาคตในทางลบ ความรุนแรงจะทวีคณู และอาจยกระดับเป็นสงครามเต็มรูปแบบ
หากรัฐยังคงบริหารการปกครองอย่างปัจจุบัน ตอนน้ีก็แย่กันทุกคน ทั้งโรคระบาดที่ทวีความรุนแรงและ
เศรษฐกจิ ท่ีต่าลงทุกวัน คนกาลังจะอดตาย ถ้ายังแก้ปัญหาความสงบและต้นเหตุไม่ได้ ก็คงยังเกิดความไม่สงบ
อกี แน่นอน
12.4 มองภาพอนาคตทางการเมืองว่าผู้ว่าราชการจังหว้ดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
ประชาชน รูปแบบปกครองท้องถ่ินเป็นการปกครองตนเอง ในกรอบรัฐธรรมนูญเหมือนกรณีมินดาเนาและอา
เจ๊ะ ประชนชนมีสว่ นร่วมในการบรหิ ารจัดการพนื้ ที่อยา่ งจริงจัง
12.5 มองภาพเศรษฐกจิ ว่า สภาพเศรษฐกิจมคี วามเจริญเติบโตและคล่องตัว เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ธรรมชาติเชิงนเิ วศน์ทีส่ มบรู ณท์ ค่ี นในสังคมอยากที่จะมาเยอื น
12.6 มีการเปล่ียนแปลงในหลายมิตทิ ่ีอาศยั บัญญตั ิศาสนาเป็นรากฐาน
13. ความคดิ เห็นอน่ื ๆ
13.1 ความเข้าใจของทกุ ฝา่ ยในขอ้ จากดั และการหนุนเสรมิ ในข้อที่แตกต่างอย่างเข้าใจจะนาพา
จังหวัดชายแดนภาคใต้สู่ความมนั่ คง มงั่ คงั่ อยา่ งยงั ยนื
13.2 อยากให้การพูดคุยสันติภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการพูดคุยต้องให้มีข้อตกลง เพ่ือ
สรา้ งความมั่นใจแก่ประชาชนในพนื้ ที่ เราเป็นสว่ นหนง่ึ ท่สี ามารถทาใหเ้ กดิ ความสันตสิ ุขได้
13.3 อยากให้ผู้มีอานาจ ใช้อานาจบนฐานความเห็นอกเห็นใจในความเป็นมนุษย์ เปิดพ้ืนที่ให้
ทกุ คนมีสทิ ธไ์ิ ดก้ ลบั บ้าน
13.4 ขบวนการขับเคลื่อนสันติภาพควรมาจากชุมชนอย่างเข้มแข็ง หาใช่จากข้างบนแต่ฝ่าย
เดียว ฝ่ายรัฐบาล (Party A) และฝ่ายผู้เห็นต่าง (Party B) ต้องฟังเสียงคนในพื้นท่ีอย่างจริงจัง เจ้าหน้าท่ีมี
ความโปรง่ ใส ช้ีแจงข้อเทจ็ จรงิ ให้เร็วและทันตามสถานการณ์ทีเ่ กิดขน้ึ
13.5 ขอโดอารต์ อ่ อัลลอฮใ์ ห้พน้ ภยั ทีเ่ กิดขน้ึ นด้ี ้วย
สภาประชาสังคมชายแดนใต้และศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยมหดิ ล ขอขอบคุณทกุ ทา่ นทีใ่ ห้ความร่วมมอื ในครั้งน้ี
สรปุ ณ วนั ท่ี 18 สงิ หาคม 2564